การออกกำลังกายก่อน ระหว่าง และภายหลังการดำน้ำ

จากการศึกษาวิจัยในระยะหลังได้พบว่าความสัมพันธฺ์ระหว่างการออกกำลังกายกับการดำน้ำมีแนวทางอย่างไรบ้าง ซึ่งเรื่องการออกกำลังกายกับโอกาสเกิดโรคจาการลดความกดนั้นยังเป็นเรื่องที่ไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ไม่ใช่เพียงแต่เรื่องระยะเวลาระหว่างการออกกำลังกายและการดำน้ำเท่านั้น แต่ประเภท และความเข้มข้นของการออกกำลังกายก็ยังเป็นเรื่องที่ยังไม่แน่นอน คำแนะนำในช่วงก่อนหน้านี้ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จากหลักฐานทั่วไปและจากการคาดหมายจากวิชาการด้านชีวกลศาสตร์และชีวเคมี นอกจากนั้น เนื่องจากโรคจากการลดความกดนั้นเป็นเรื่องคาดเดาหรือทำนายได้ยากภายใต้การดำน้ำแบบระมัดระวังของการดำน้ำแบบนันทนาการ การจะกล่าวถึงอิทธิพลของการออกกำลังกายเรื่องเดียวจึงเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินได้ การออกกำลังกายนั้นมันมีผลทำให้เกิดการเพิ่มของอาการ หรือว่ามันเป็นการลดลงของอาการ เราก็ยังไม่รู้แน่ชัด แต่อย่างไรก็ดี ยังมีหลักฐานเกิดขึ้นมาซึ่งอาจจะทำให้เกิดการแนะแนวทางได้ ไม่นานมานี้ นักวิจัยได้ค้นพบข้อเท็จจริงบางอย่างเกี่ยวกับการออกกำลังกายและการดำน้ำ ซึ่งผลการวิจัยนี้น่าจะช่วยนักดำน้ำแบบนันทนาการวางแผนเวลาระหว่างการดำน้ำละการออกกำลังกายของตนได้อย่างมั่นใจ เมื่อพูดถึงการออกกำลังกาย ก็มีนักดำน้ำสองกลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือพวกคลั่งไคล้ความฟิตที่ต้องการออกกำลังกายทุกเวลาและโอกาสที่ทำได้ ความสนใจของนักดำน้ำกลุ่มนี้คือการลดการออกกำลังหรืออย่างน้อยไม่ออกกำลังมากเกินจนเกิดโรคได้ อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ต้องการรักษาสุขภาพหรือรวมเอากิจกรรมดำน้ำเข้ากับกิจกรรมทางกายอื่นๆ กลุ่มนี้จะต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของการเกิดโรคจากการลดความกด คำแนะนำต่อไปนี้จึงมุ่งตอบโจทย์ของนักดำน้ำสองกลุ่มนี้ เรื่องทั่วไป: สมรรถภาพทางกายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักดำน้ำแบบนันทนาการ ทำให้เกิดความปลอดภัยและความสนุกสนาของกิจกรรมในเวลาเดียวกันก็จะช่วยป้องกันโรคจากการลดความกด ประเภทการออกกำลัง: การออกกำลังแบบแอโรบิกความหนักปานกลาวงที่ไม่เกี่ยวกับการรับแรงรับน้ำหนักของกล้ามเนื้อและข้อต่อเป็นวิธีที่เหมาะสมท การเคลื่อนไหวรวดเร็ว (รอบขาสูงๆ) ของระยางค์ควรหลีกเลี่ยง ออกกำลังก่อนและหลังการดำน้ำ: ควรหลีกเลี่ยงเป็นเวลาสี่ถึงหกชั่วโมงก่อนและหลังการดำน้ำ ก่อนหน้านี้ มันถูกกำหนดไว้ว่าเป็น 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ การออกกำลังกายระหว่างการดำน้ำ: เป้าหมายคือการลดการสะสมแก๊สและทำให้การคลายแก๊สดีที่สุดในสภาวะที่จะมีโอกาสเกิดฟองอากาศน้อยที่สุด การออกแรงให้น้อยที่สุดจึงควรทำระหว่างช่วงการสะสมแก๊ส (ขณะที่ดำลงและช่วงเวลาใต้น้ำ) การออกแรงน้อยๆ ที่ไม่รุนแรงมากเกินไป (ขยับแขน ขา ว่ายน้ำเบาๆ) เป็นเรื่องที่ควรจะทำในช่วงคลายแก๊ส (ระหว่างขึ้นและการทำเซฟตี้สตอป) อย่างไรก็ดี ต้องระวังเมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำแล้วว่าจะต้องหลีกเลี่ยงการยกของหนักขึ้นบันได หลีกเลี่ยงการรับน้ำหนักที่แขนขาและข้อต่อ ควรถอดอุปกรณ์หนักๆ ถ้าทำได้ เช่นการส่งอุปกรณ์ให้กับคนบนเรือก่อนที่จะขึ้นบันได จากนั้นให้ผ่อนคลายให้นานที่สุดก่อนที่จะเริ่มทำงานอื่นๆ เช่นถอด เปลี่ยน อุปกรณ์ ยกของ หรือทำความสะอาด การออกกำลังกายระหว่างดำน้ำ: ให้ทำตัวให้อบอุ่นและรักษากิจกรรมทางกายเบาๆ ระหว่างและหลังการดำน้ำ การทำแบบนี้จะช่วยให้การคลายแก๊สออกได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น การนอนหลับทันทีหลังจากการดำน้ำไม่ใช่เรื่องที่ควรทำเพราะการไหลเวียนโลหิตอาจจะถูกขวางกั้นได้และหากมีอาการจากโรคลดความกดก็จะไม่รู้สึกตัว นอกจากนั้นยังมีผลการศึกษาของงานวิจัยอีกหลายงานที่ให้คำแรนะนำ การศึกษาในสัตว์ที่นอร์เวย์แสดงว่าหนูที่ออกกำลังกาย 24 ชม. ก่อนการดำน้ำมีฟองอากาศในเส้นเลือดดำน้อยกว่า ซึ่งถึงแม้ฟองอากาศเหล่านี้ไม่ได้เป็นเหตุโดยตรงของโรคลดความกด แต่แสดงให้เห็นว่าร่างกายมีความเครียดจากการลดความกดน้อยกว่าและเป็นปัจจัยที่นำมาใช้เปรียบเทียบระหว่างรูปแบบการดำน้ำที่ระมัดระวังหรือไม่ได้ นักวิจัยกลุ่มเดียวกันได้พบเพิ่มเติมจากงานวิจัยต่อเนื่อง ว่าผลสามารถใช้กับมนุษย์ได้ ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบหนักสลับพักสั้นๆ ด้วยการวิ่งบนลู่กลเป็นเวลา 40 นาที โดยทำ 24 ชั่วโมงก่อนการดำน้ำ 18 เมตร 80 นาทีในห้องปรับความดัน ผลออกมาว่าทำให้เกิดการลดฟองอากาศในหัวใจ จากนั้นมา การแข่งขันกันศึกษาว่าเวลาที่เหมาะสมของการออกกำลังกายก่อนการดำน้ำควรจะเป็นเท่าไรก็เริ่มขึ้น การศึกษาของนักดำน้ำทหารเรืออเมริกันทดสอบการออกกำลังกายเป็นเวลา 45 นาที สองชั่วโมงก่อนการดำน้ำ ใช้รูปแบบการออกกำลังกายต่างจากเดิมนิดหน่อย และดำน้ำลึก 30 เมตรเป็นเวลา 30 นาที ผลจองงานวิจัยนี้ยังพบว่ามีการลดระดับของฟองอากาศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นักวิจัยสรุปว่าการออกกำลังกายใกล้การดำน้ำเพียง 2 ชั่วโมงอาจจะคาดหมายว่าจะลดจำนวนของฟองอากาศ และลดโอกาศที่จะเกิดโรคจากการลดความกดได้ จากนั้นมีนักวิจัยของฝรั่งเศสทำการทดลองที่เข้มข้นกว่านั้นอีกด้วยการออกกำลังหนึ่งชั่วโมงก่อนการดำน้ำและสังเกตปริมาณฟองอากาศขณะที่ขึ้นมาจากน้ำ และเช่นเคย นักวิจัยพบว่ามีการลดของฟองอากาศทั้งระดับและปริมาณ ในปี 2006 นักดำน้ำกลุ่มหนึ่งทดลองออกกำลังกายเป็นเวลา 10 นาทีหลังจากการขึ้นมาจากน้ำที่ความลึก 30 เมตรเป็นเวลา 30 นาที หลังจากการใช้เครื่อง Doppler…

อ่าน การออกกำลังกายก่อน ระหว่าง และภายหลังการดำน้ำ

การดำน้ำด้วยอุปกรณ์ Sidemount

การดำน้ำแบบนี้ จะใช้ถังอากาศไปอยู่ด้านข้างของลำตัวนักดำน้ำ แตกต่างกับการใช้อุปกรณ์ปกติ ที่ถังอากาศจะอยู่บนหลังของนักดำน้ำ วิธีการนี้มีใช้กันมานานแล้วในหมู่นักดำน้ำในถ้ำหรือในเรือจม ที่จำเป็นจะต้องเข้าไปในที่คับแคบ ถังดำน้ำบนหลังของนักดำน้ำอาจจะเป็นอุปสรรคในการมุด ลอด ช่องต่างๆ ได้ ในระยะหลัง การใช้อุปกรณ์ sidemount ได้เกิดเป็นที่นิยมในหมู่นักดำน้ำทั่วไปที่ไม่ได้เป็นนักดำน้ำในถ้ำหรือในเรือจม เนื่องจากระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดำน้ำแบบนี้ได้เสนอทางเลือกให้ทำอะไรได้มากกว่า และที่สำคัญคือทำให้การลู่น้ำ (stremeline) ของนักดำน้ำดีกว่ามาก นักดำน้ำที่มีข้อจำกัด ไม่สามารถแบกถังอากาศหนักๆ ก่อนจะลงน้ำได้ สามารถใช้อุปกรณ์แบบนี้ลงไปใส่ถังอากาศในน้ำได้อย่างง่ายดาย การใช้อุปกรณ์แบบนี้ทำให้ดำน้ำได้ด้วยถังอากาศใบเดียว หรือหลายๆ ใบ ตามความจำเป็นได้โดยง่าย และการลู่น้ำที่มากกว่าจากการใช้อุปกรณ์แบบนี้ ทำให้นักดำน้ำรู้สึกอิสระ คล่องตัว เคลื่อนไหวไปในน้ำได้อย่างลื่นไหล โดยนักดำน้ำทุกคนที่ทดลองเรียนและดำน้ำด้วยอุปกรณ์ sidemount จะพูดกันเสมอว่ามันทำให้รู้สึกดีและสนุกกับการดำน้ำมากกว่า เมื่อเราไปถามนักดำน้ำ sidemount ว่าอะไรที่พวกเขาชอบมากที่สุดกับการดำน้ำแบบนี้ เรามักจะได้คำตอบคล้ายคลึงกันว่า ‘Freedom” เพราะการดำน้ำแบบ sidemount นี้จะคล้ายกับ Freediving อย่างมาก นั่นคือนักดำน้ำจะรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับผืนน้ำ สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระในทุกทิศทาง ความรู้สึกอิสระภายใต้ภาวะไร้น้ำหนักนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การดำน้ำแบบ sidemount นี้เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในยุคหลังนี้ คุณประโยชน์หลักๆ ของการดำน้ำแบบ sidemount มีดังต่อไปนี้ การลู่น้ำ การทำให้ตัวลู่น้ำนั้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการดำน้ำ เพราะถ้าเราต้องต้านกระแสน้ำตลอดเวลา นอกจากจะใช้อากาศเปลืองกว่าแล้ว สิ่งสำคัญมากกว่านั้นคืออาจจะทำให้เกิดอาการเหนื่อย อาการเครียด ซึ่งจำนำไปสู่ปัญหาใหญ่ๆ อีกมากมายขึ้นมากได้ อุปกรณ์ sidemount ที่ติดตั้งข้างลำตัวนั้นจะช่วยลดพื้นที่ในการต้านกระแสน้ำ ผลก็คือการเคลื่อนไหวจะเบา ง่าย ลื่นไหลมากขึ้น นักดำน้ำก็จะผ่อนคลายและสบายมากขึ้นนั่นเอง การ Trim & Balance  การ Trim หมายถึงทิศทางของศีรษะและเท้า in trim คือการที่ระดับของศีรษะและเท้าอยู่ในระนาบเดียวกัน head down คือศีรษะต่ำกว่าเท้า และ feet down คือเท้าต่ำกว่าศีรษะ การที่นักดำน้ำสามารถ in trim เป็นเรื่องสำคัญในการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพใต้น้ำ ถึงแม้ว่านักดำน้ำที่ใช้อุปกรณ์ธรรมดาจะสามารถทำตัวให้ in trim ได้เช่นกัน แต่การ in trim นี้เรียกได้ว่าเป็นสัญญลักษณ์ของนักดำน้ำแบบ sidemount ที่ดี เนื่องจากในหลักสูตรการดำน้ำแบบนี้ การเรียนการสอนจะเน้นทักษะมากขึ้นกว่าการดำน้ำปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมรูปทรง ความสมดุลย์ และความมั่นคงในน้ำ (ในขณะเดียวกัน ตัวอุปกรณ์ที่มีถังอากาศอยู่ด้านข้างลำตัวนี้ จะช่วยส่งเสริมให้นักดำน้ำ in trim ได้ง่ายขึ้นอย่างมากอีกด้วย) อุปกรณ์ข้างลำตัวนี้จะช่วยให้นักดำน้ำมี balance ที่ดีกว่าด้วย เนื่องจากถังจะอยู่ต่ำและอยู่ข้างลำตัว การพลิกไปทางซ้ายหรือทางขวาก็จะยากกว่าไม่ว่าจะใช้ถังเดียวหรือถังคู่สองข้างก็ตาม (ถึงแม้ใช้ถังด้านข้างลำตัวทั้งสองข้างจะดีกว่า) อุปกรณ์ sidemount นี้จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้นักดำน้ำนิ่ง มั่นคง และลื่นไหลเวลาอยู่ใต้น้ำ…

อ่าน การดำน้ำด้วยอุปกรณ์ Sidemount

การลดความเสี่ยงต่อ DCS ด้วยการดื่มน้ำ

ถึงแม้กิจกรรมการดำน้ำจะนับได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ปลอดภัยมากที่สุดกิจกรรมหนึ่ง แต่ทุกกิจกรรมต่างก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน หลายคนคงเคยได้ยินว่า การดื่มน้ำเยอะ ๆ จะช่วยทำให้การดำน้ำปลอดภัยขึ้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องและสำคัญมาก ที่นักดำน้ำทุกคนควรระวังและป้องกันโอกาสที่เกิดจากการเจ็บป่วยจากการดำน้ำให้ได้มากที่สุด โรคจากการดำน้ำที่หลายคนกังวลคือ โรคจากการลดความกด (Decompression sickness, DCS) หรือน้ำหนีบ หรือ bend หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของ DCS ที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุดและแก้ไขง่ายที่สุดคือ Dehydration หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ภาวะการขาดน้ำ การป้องกันทำได้หลายอย่าง โดยสิ่งที่สำคัญและแก้ไขง่ายที่สุดคือการ “ดื่มน้ำ”​ คำถามคือ ทำไมเราถึง “ขาดน้ำ” ตอนดำน้ำ มีหลายปัจจัย แต่อธิบายปัจจัยหลักง่าย ๆ คือ ระหว่างการดำน้ำ 40-60 นาที เราไม่สามารถดื่มน้ำได้ และหากมีการหายใจเอาละอองน้ำทะเลหรือกลืนน้ำทะเลเข้าไปเล็กน้อย จะทำให้ร่างกายเราขาดน้ำมากขึ้นเนื่องจากน้ำทะเลมีความเข้มข้นสูงกว่าเนื้อเยื่อของร่างกายเรา การออกกำลังกายระหว่างการดำน้ำ เช่น การว่ายน้ำ จะทำให้เพิ่มการสูญเสีย เหงื่อและเสียความร้อน โดยจะมีน้ำบางส่วนออกจากร่างกายเราเพื่อดึงความร้อนออกไป ขณะเราดำน้ำ มนุษย์จะมีปฏิกิริยาตอบสนองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่เรียกว่า ​Mammalian Diving Reflex ซึ่งจะมีหลายส่วน เช่น หัวใจเต้นช้าลง เส้นเลือดส่วนปลายหดตัว เลือดเพิ่มปริมาณการเลี้ยงอวัยวะสำคัญ และม้ามบีบตัว ซึ่งมีส่วนทำให้ไตเราเข้าใจว่าปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น (จริงแล้วลดลง) จะทำให้มีการส่งสัญญาณประสาทให้กรองเลือดออกมาเป็นปัสสาวะมากขึ้น จึงไม่แปลกที่เราปัสสาวะเพิ่มขึ้นเวลาว่ายน้ำ หรือดำน้ำ โดยเฉพาะน้ำเย็นจะมีการกระตุ้น reflex นี้มากขึ้น โดยการกระตุ้นมากที่สุดจะเกิดเมื่อน้ำที่เย็นสัมผัสบริเวณหน้าซึ่งจะกระตุ้นเส้นประสาทที่เรียกว่า Trigeminal nerve ซึ่งจะทำให้ reflex นี้ชัดเจนขึ้นมากในน้ำที่เย็นขึ้น และมีการสัมผัสน้ำโดยตรงเช่น ไม่ใส่ wetsuit หรือ ใส่ wetsuit ที่บาง จากที่เราทราบกันว่า silent bubble เกิดขึ้นตลอดในทุก dive ของการดำน้ำ จะมากน้อยขึ้นกับหลายปัจจัย การทำให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เป็นสิ่งสำคัญที่ป้องกันไม่ให้เลือดอยู่ในสภาวะข้นซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด DCS ที่อวัยวะต่าง ๆ สรุป การป้องกันการเกิด DCS มีหลายวิธี ตั้งแต่ปัจจัยส่วนบุคคล หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ การดำน้ำอย่าง conservative และปัจจัยที่ดูแลง่ายที่สุดอย่างนึงคือการ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ทั้งก่อนและหลังดำน้ำถึงแม้ไม่มีข้อมูลชัดเจนเรื่องปริมาณน้ำที่ควรดื่มก่อนหรือหลังดำน้ำ แต่อย่างน้อยควรทานตั้งแต่ก่อนลงซักพักและควรดื่มน้ำอีกครั้งหลังจากดำน้ำขึ้นมาทันที เพราะ silent bubbles และอุบัติการณ์ของ DCS เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทันทีจนถึงหลายชั่วโมงหลังดำน้ำ ปกติมนุษย์ผลิตปัสสาวะ ชั่วโมงละ 1.5 ถึง 2 ml/kg/hr…. ตัวผมเองทานอย่างน้อย​ 300 –…

อ่าน การลดความเสี่ยงต่อ DCS ด้วยการดื่มน้ำ

ข้อปฏิบัติสำหรับการเดินทางเข้าภูเก็ตในสถานการณ์ Covid-19

นักดำน้ำที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปจังหวัดภูเก็ตในช่วงเวลานี้ คงมีความกังวลอยู่ไม่น้อยว่ายังสามารถเดินทางได้ไหม ต้องกักตัว 14 วันหรือไม่ และต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการระบาดของ Covid-19 ตามคำแนะนำของภาครัฐ วันนี้แอดมินมีคำตอบค่ะ ตามประกาศคำสั่งจังหวัดภูเก็ตที่ 101/2564 เรื่อง มาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) สำหรับบุคคลที่เดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ต ซึ่งลงนามโดยผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 9 ม.ค.64 ที่ผ่านมา สรุปใจความได้ว่า ผู้ที่ต้องการเดินทางเข้าภูเก็ตแบบชั่วคราว (ไม่เกิน 14 วัน) และมาจากพื้นที่ควบคุม ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ ดาวน์โหลดแอพ “หมอชนะ” ก่อนการเดินทาง (Play store คลิก / App Store คลิก) ลงทะเบียนรายงานตัวการเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ตในเวบไซต์  gophuget.com กรอกข้อมูลลงในแบบบันทึกการติดตามผู้เดินทางรายบุคคล Covid-19 ไม่เดินทางไปยังแหล่งชุมชน เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัยและหมั่นล้างมือตลอดการเดินทาง เมื่อเดินทางไปถึงเรือ จะมีเจ้าหน้าฝ่ายปกครองมาช่วยอำนวยความสะดวกในการคัดกรอง วัดไข้ และเก็บประวัติผู้เดินทาง โดยประกาศนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 9-31 ม.ค. 64 หรือจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย หากเราปฏิบัติตามขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น ก็สามารถเดินทางผ่านจังหวัดภูเก็ตได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ ผู้เดินทางก็ควรป้องกันตัวเองและผู้อื่นให้ห่างไกลจากไวรัสโคโรน่า รักษาระยะห่างตามหลัก Social distancing กินร้อน ช้อนกลาง หมั่นล้างมือบ่อยๆ และสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา แต่ถ้าหากผู้เดินทางอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ก็ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงนี้ไปก่อน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19  หากพวกเราทุกคนร่วมมือร่วมใจช่วยกันลดความเสี่ยงในการระบาดของโคโรน่าไวรัส เชื่อว่าเราจะผ่านสถานการณ์นี้ไปได้อย่างรวดเร็วในไม่ช้า ที่มา :  สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต เขียนโดย รัตติยา แวนวน เผยแพร่ครั้งแรก 10 ม.ค. 64  

อ่าน ข้อปฏิบัติสำหรับการเดินทางเข้าภูเก็ตในสถานการณ์ Covid-19
Diving in coral - 001

วันไหนน้ำใส? วันไหนน้ำไม่แรง?

การเลือกเวลาดำน้ำควรคำนึงถึงสถานการณ์ของน้ำ และการวางแผนการดำน้ำให้เหมาะสมกับเวลาและสภาพอากาศ เพื่อความปลอดภัยและประสบการณ์ดีที่สุด การเรียนรู้และการตัดสินใจที่ดีก็เป็นสิ่งสำคัญในการดำน้ำอย่างมืออาชีพ แต่ยังคงมีความสนุกสนานและตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้ลงไปสำรวจใต้ผืนน้ำอันงดงามด้วย

อ่าน วันไหนน้ำใส? วันไหนน้ำไม่แรง?
Diving with Manta - Keng Krob

เรียนดำน้ำที่ไหนดี ที่ไหนถูกกว่ากัน

การเลือกสถานที่เรียนดำน้ำควรพิจารณาวันหยุด, เดือนที่สามารถเรียนได้, แบบการเรียน, และครูที่น่าเชื่อถือเพื่อประสบการณ์การเรียนที่เหมาะสมและปลอดภัย. การทราบข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้น้องๆ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นในการเลือกเรียนดำน้ำ

อ่าน เรียนดำน้ำที่ไหนดี ที่ไหนถูกกว่ากัน
Diving with Manta - Keng Krob - 002

Refresh ความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้าม

เพราะโควิด​ทำให้นักดำน้ำหลายคนอดไปดำน้ำตามแผนที่วางไว้​ ว่างเว้นไปเกือบ 4 เดือน คำว่า​ refresh หรือ​ reactive เลยลอยมา​ตามลม

อ่าน Refresh ความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้าม

PADI Self Reliant Diver

ไม่นานมานี้ ผมได้พบว่ามีหลักสูตรการดำน้ำขึ้นมาอีกหลักสูตรหนึ่งที่น่าสนใจอย่างมาก ชื่อหลักสูตร PADI Self Reliant Diver เมื่อเห็นครั้งแรก ผมรู้สึกว่าน่าสนใจมาก และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับนักดำน้ำทุกคน รวมถึงนักดำน้ำที่เป็นมืออาชีพ เช่นผู้สอนดำน้ำหรือไดว์มาสเตอร์ เพราะการดำน้ำเป็นอาชีพนั้น โอกาสที่จะดำน้ำกับคนที่สามารถดูแลตัวเราได้อย่างดีนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นบ่อยนัก การพานักเรียนดำน้ำหรือนักดำน้ำหน้าใหม่ไปดำน้ำนั้น มีความปลอดภัยไม่ต่างกับ (หรือน้อยกว่า) ดำน้ำคนเดียวเลย แต่ถึงแม้กับนักดำน้ำทั่วไปที่ไม่ต้องทำหน้าที่ดูแลนักดำน้ำหน้าใหม่ การมีความสามารถในการดำน้ำและสามารถดูแลตนเองได้อย่างเบ็ดเสร็จนั้น จะเป็นเรื่องที่ดีงามและปลอดภัยอย่างยิ่ง ไม่ว่าเราจะดำน้ำกับกลุ่ม กับบัดดี้ หรือกับทีมดำน้ำของเรา นักดำน้ำบางคนที่ดำน้ำแล้วทำกิจกรรมบางอย่าง เช่นการถ่ายภาพใต้น้ำ การที่จะต้องรีบร้อนตามกลุ่ม หรือต้องคอยเกรงใจบัดดี้เป็นสิ่งนี่น่าลำบากใจและรำคาญใจอย่างมาก หรือนักดำน้ำบางคนที่ต้องท่องเที่ยวไปเพียงคนเดียว และไม่สามารถหาบัดดี้ที่เหมาะสมได้ในทริปนั้น การเรียนหลักสูตรนี้จะเป็นเรื่องที่ดีมาก ต่อให้ไม่ได้วางแผนจะดำน้ำคนเดียว หลักสูตรนี้ก็จะมีประโยชน์อยู่ดี มันจะสอนเราตามชื่อหลักสูตรเลย คือการเป็นนักดำน้ำที่พึ่งพาตนเองได้อย่างสมบูรณ์ สำหรับการดำน้ำตามปกตินั้น มาตรฐานทั่วไปที่เคยเป็นมาคือต้องมีการดำน้ำกับบัดดี้เสมอ ทุกคนได้รับการสอนมาตั้งแต่เรียนระดับโอเพ่นวอเตอร์ ว่าต้องดำน้ำกับบัดดี้เท่านั้นจึงจะปลอดภัย อย่างไรก็ดี มันก็มีเหตุผลที่นักดำน้ำที่มีประสบการณ์บางคนจะดำน้ำได้โดยไม่มีบัดดี้ การเรียนรู้ที่จะทำการดำน้ำคนเดียวอาจจะทำให้นักดำน้ำผู้นั้นมีความสามารถสูงกว่าในสถานการณ์การดำน้ำส่วนมาก การจะดำน้ำคนเดียวได้อย่างปลอดภัยนั้น จำเป็นจะต้องมีการฝึกฝนที่เหมาะสม มีอุปกรณ์ครบครับ และมีทัศนคติที่ถูกต้องในการยอมรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องสำหรับการดำน้ำโดยอิสระดังที่กล่าวมา นักดำน้ำที่มีประสบการณ์จะสามารถดำน้ำโดยไม่มีบัดดี้อย่างรับผิดชอบได้ การดำน้ำแบบนี้เราเรียกกันว่า Self Reliant Diving หรือการดำน้ำแบบพึ่งพาตนเอง เป็นกิจกรรมผจญภัยที่อาจจะไม่เหมาะสำหรับทุกคน แต่มันก็มีที่ของมันอยู่ในสังคมดำน้ำ หากท่านมีวินัยทางจิตใจ มีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ ฝึกฝน และทำตามเทคนิกของการดำน้ำแบบพึ่งพาตนเองแล้ว ท่านจะพัฒนาทักษะและความเชื่อมั่นในตนเองเวลาดำน้ำคนเดียว เวลาดำน้ำกับบัดดี้ หรือเวลาเป็นส่วนหนึ่งของทีม สำหรับผู้สนใจจะเรียนรู้และฝึกฝนการดำน้ำแบบนี้ ท่านจำเป็นต้องเป็นนักดำน้ำระดับ Advanced Open Water Diver หรือเทียบเท่า ต้องมีอายุมากกว่า 18 ปี และดำน้ำมาแล้วไม่ต่ำกว่า 100 dives และก่อนจะได้รับการยอมรับเข้าสู่การเรียนหลักสูตรนี้ ท่านจะถูกประเมินทักษะทั้งหมดจากผู้สอนวิชาการดำน้ำแบบพึ่งพาตนเองนี้ก่อนที่จะได้รับการยอมรับให้เข้าเรียนในหลักสูตรนี้ได้ การเรียนในหลักสูตรนี้ ผู้เรียนจะได้เรียนวิชาเกี่ยวกับความปลอดภัยในการดำน้ำในระดับสูง เช่นการวางแผนคำนวนอัตราการบริโภคอากาศของตนเอง การใช้ระบบดูแลชีวิตสำรอง และการจัดการเหตุการณ์ฉุกเฉินในการดำน้ำด้วยตนเอง ในการฝึกภาคทะเลนั้น ผู้เรียนจะได้ฝึกการดำน้ำทั้งสิ้น 3 Dives ซึ่งจะได้รับการฝึกดังนี้ ว่ายน้ำเพื่อหาอัตรการบริโภคอากาศของตนเอง และการคำนวนในภายหลัง สลับใช้แหล่งอากาศสำรองอิสระระหว่างการจำลองสถานการณ์ฉุกเฉิน ดำน้ำโดยไม่มีหน้ากาก นำทางไปยังจุดหมายต่างๆ รวมถึงไปยังที่ที่จะขึ้นจากน้ำ การใช้ Delay Surface Marker Buoy (DSMB) เวลาไปเรียนจริงๆ หลักสูตรนี้จะสนุกและน่าสนใจมาก ผู้เรียนจะได้ใช้อุปกรณ์สนุกๆ ที่จะทำให้ดำน้ำปลอดภัยกว่าเดิม เช่นการห้อยถังอากาศไปอีกใบหนึ่ง และฝึกฝนจนรู้สึกว่ามันลู่น้ำ ง่ายดาย ไม่ได้เกะกะอะไรเลย ผู้เรียนจะได้ฝึกการยิง Safety Sausage ได้ในระดับเทพ ในขณะรักษาความลึกไว้ที่เดิม ไม่ว่าจะตัดสินใจยิงมันในความลึกใดก็ตาม เรื่องน่าสนใจมากๆ อีกเรื่องหนึ่งคือผู้เรียนจะหัดคำนวนอัตราการบริโภคอากาศของตนเอง จนกระทั่งสามารถนำมาใช้ในการวางแผนหาเวลา dive time ของการดำน้ำในแต่ละครั้งได้อย่างแม่นยำ ยังมีเรื่องอีกมากมาย…

อ่าน PADI Self Reliant Diver

กระแสน้ำแนวตั้ง (Vertcal Current)

ในชั้นเรียนดำน้ำ เราเคยเรียนการจัดการกับกระแสน้ำกันทุกคน ว่าให้เริ่มดำน้ำไปในทิศทางสวนกระแสน้ำ และกลับมาในทิศทางตามกระแสน้ำ หากกระแสน้ำนั้นไม่รุนแรงเกินไป แต่ในบางกรณี เราอาจจะพบกับกระแสน้ำในรูปแบบอื่น ไม่ใช่การพัดไปในแนวนอนแบบที่เราเคยเรียนรู้กันมา เข่น กระแสน้ำแนวตั้ง หรือที่เรียกกันว่า Vertical current กระแสน้ำแนวตั้งนี้ทั่วไปมีสองแบบ คือกระแสน้ำดึงขึ้น (Upwelling) และกระแสน้ำดันลง (Downwelling) ซึ่งการพบกับกระแสน้ำแบบนี้จะดูเป็นเรื่องตื่นเต้น ท้าทายกว่าการดำน้ำทั่วไป และอาจจะไม่เหมาะกับนักดำน้ำมือใหม่ ประสบการณ์และการเรียนรู้ยังน้อยครับ การเกิดกระแสน้ำแนวตั้งนั้นอาจจะมีปัจจัยหลากหลายแตกต่างกัน โดยส่วนมากมักจะในสถานที่ที่มีการทำให้เกิดการขวางทางของกระแสน้ำ เช่นตามกำแพงใต้น้ำ ซากเรือจมที่ขวางเส้นทางน้ำ หรือจากสภาพทางภูมิศาสตร์ ที่มีพื้นที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างกันอย่างมาก เป็นต้น กระแสน้ำกดลงนั้น จะกดเราลงไปลึก ไม่สามารถขึ้นสู่ความตื้นได้ จะทำให้เกิดปัญหาการดำลึกเกินแผนที่วางไว้ หรือเกินกำหนดของตารางดำน้ำ ส่วนกระแสน้ำดันขึ้นนั่นจะยิ่งอันตรายกว่า เพราะมันจะดันตัวนักดำน้ำขึ้นมาอย่างรวดเร็วสู่ผิวน้ำ และนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับโรค DCI การที่เราจะแก้ไขสถานการณ์ก็จำเป็นต้องตัดสินใจอย่างแน่นอน รวดเร็ว หากพบกับกระแสน้ำแนวตั้ง โดยทั่วไปนักดำน้ำควรแก้ไขด้วยการถอยกลับมาและว่ายกลับไปในทิศทางเดิม หากพบว่าตนตกอยู่ในการดูดลงหรือดันขึ้นของกระแสน้ำ ให้รีบหนีออกมาให้พ้นก่อนที่แรงดูดหรือดันจะแรงเกินไป สำหรับกระแสน้ำดันลง สิ่งแรกที่ต้องทำคือทำใจให้สงบ และตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างรวดเร็ว สิ่งที่ต้องทำคือให้ว่ายขึ้นเฉียงประมาณ 45 องศาในทิศทางออกจากกระแสน้ำ เติมลมเข้าใน BCD โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมากเกินไป เราจะสามารถจัดการกับมันได้ภายหลังจากเราแก้ไขสถานการณ์ได้แล้ว เพียงแต่ให้ถือ Inflator ไว้เตรียมที่จะปล่อยลมเมื่อเราพ้นจากเงื้อมมือของกระแสน้ำแล้ว นอกจากนั้น หากเราไม่สามารถขึ้นได้ด้วยวิธีนี้เพราะกระแสน้ำกดแรงเกินไป เราก็จะต้องคิดถึงการเกาะกับวัตถุใต้น้ำที่ทำให้เราสามารถดึงตัวขึ้นมาได้ ภายใต้กระแสน้ำกดลงนี้ โอกาสเดียวของเราคือออกมาให้พ้นจากแรงกดของมัน โชคดีที่ธรรมชาติของกระแสน้ำกดลงนี้ กระแสจะอ่อนกำลังลงเมื่อลงไปลึกมากขึ้น บางสถานการณ์เราต้องปล่อยตัวให้ไหลไปกับมันและขึ้นมาเมื่อกระแสน้ำเบาลงพอ ความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นคือนักดำน้ำไปว่ายต้านกระแสน้ำจนออกแรงเกินความสามารถของตนเอง และนำไปสู่อาการทางกายคือเหนื่อยเกินไป หรืออาการทางใจคือตกใจ สำหรับกระแสน้ำดันขึ้น อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือการถูกทำให้พุ่งขึ้นสู่ความตื้นด้วยความเร็วที่สูงเหินไป อาจจะก่อให้เกิดโรคเบนด์หรือการบาดเจ็บจากการขยายตัวของอากาศได้ เมื่อเราเจอกระแสน้ำดันขึ้น เราต้องทำใจให้สงบ และว่ายออกไปจากกระแสน้ำนั้นด้วยเทคนิคการว่ายลงเป็นมุม 45 องศาในขณะเดียวกันก็ปล่อยลมออกจากบีซีดีด้วย ถ้าบีซีดีของเราเป็นแบบมี Dump Valve ด้านล่างก็จะทำให้การปล่อยลมนี้สะดวกขึ้น ให้ว่ายไปแบบนี้เรื่อยๆ จนกว่าจะพ้นจากกระแสน้ำ เมื่อพ้นแล้ว ควรหยุดทำ Safety Stop ในความลึกนั้นสักครู่สั้นๆ และขึ้นตามปกติต่อไป กระแสน้ำแนวตั้งนี้มีไม่มากนัก เราควรศึกษาว่าสถานที่ใดมีกระแสน้ำดังกล่าวนี้ และระมัดระวังเมื่อไปดำน้ำตามสถานที่เหล่านั้นครับ แหล่งความรู้: Dive Training magazine

อ่าน กระแสน้ำแนวตั้ง (Vertcal Current)

ท่าอากาศยานภูเก็ตพร้อมให้บริการ 13 มิ.ย.63 นี้

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ล่าสุด (12 มิ.ย.63) ที่รายงานว่า ประเทศไทยไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ภายในประเทศต่อเนื่องกันเป็นเวลานานถึง 18 วัน นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ในฐานะโฆษก ศบค. เปิดเผยว่า ที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ มีมติยกเลิกการห้ามออกจากเคหสถาน (เคอร์ฟิว) โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย.2563 แต่ยังคงมาตรการควบคุมการเดินทางเข้าราชอาณาจักร ทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศต่อไป ทั้งนี้ การยกเลิกเคอร์ฟิวดังกล่าว จะควบคู่ไปกับการผ่อนคลายมาตรการระยะที่ 4 ซึ่งเป็นกลุ่มกิจการและกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ ในรายงานยังระบุว่า การเดินทางด้วยเครื่องบินสามารถนั่งแบบเต็มพื้นที่ 100% โดยไม่ต้องนั่งแบบที่เว้นที่ เนื่องจากเป็นการเดินทางระยะสั้น ประมาณ 1 ชั่วโมง รวมถึงมีระบบระบายอากาศที่ดี อย่างไรก็ตาม ผู้โดยสารยังต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดการเดินทางอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ภายในวันเดียวกัน นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ได้มีประกาศให้เพิ่มท่าอากาศยานภูเก็ตในรายชื่อท่าอากาศยานที่เปิดให้อากาศยานขึ้นลงได้ ตั้งแต่วันที่ 13 มิ.ย.63 เวลา 0:01 น.เป็นต้นไป มีผลให้ ท่าอากาศยานภูเก็ต พร้อมเปิดให้บริการ (เฉพาะการบินภายในประเทศ) ตามประกาศของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๕ แต่อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังคงต้องระมัดระวังเรื่องการรักษาระยะห่าง และการรักษาความสะอาดส่วนบุคคล สวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาด และติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อความปลอดภัยของท่านและส่วนรวม     ที่มา สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ท่าอากาศยานภูเก็ต รูปภาพจาก Phuketairportonline เขียนโดย รัตติยา แวนวน เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 63  

อ่าน ท่าอากาศยานภูเก็ตพร้อมให้บริการ 13 มิ.ย.63 นี้