Biolife Seen from Microscope - Imaginary Image

แตนทะเล คืออะไร ทำไมชอบทำร้ายเรา ทั้งเจ็บ ทั้งคัน

รู้จักกับตัวจริงของ “แตนทะเล” สิ่งมีชีวิตที่ทำให้เราแสบคันหรือเกิดผื่นแดง เมื่อเล่นน้ำทะเลหรือดำน้ำ และเราควรทำอย่างไรเพื่อลดอาการนี้

อ่าน แตนทะเล คืออะไร ทำไมชอบทำร้ายเรา ทั้งเจ็บ ทั้งคัน

ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อการกลั้นหายใจมากที่สุด

เมื่อเราดำน้ำ สิ่งที่เป็นปัญหาหลักๆ คือ เราไม่สามารถหายใจใต้น้ำได้โดยไม่อาศัยเครื่องมือช่วย ซึ่งแตกต่างกับแมวน้ำที่สามารถกลั้นหายใจดำน้ำได้นานถึงสองชั่วโมง โดยไม่ต้องใช้ถังออกซิเจน แล้วถ้าถามว่าทำไมแมวน้ำถึงกลั้นหายใจได้นานขนาดนั้น นั่นก็เพราะว่า ร่างกายของแมวน้ำมีความสามารถในการกักเก็บ และใช้ออกซิเจนน้อยมากเวลาดำน้ำ โดยมีกลไกส่งออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ และสมอง เส้นเลือดในอวัยวะอื่นๆที่ไม่สำคัญจะหดตัว (peripheral constriction) และหัวใจจะเต้นช้าลง (bradycardia) เปรียบเทียบกับแมวน้ำแล้ว มนุษย์มีความสามารถในการดำน้ำน้อยกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งคนส่วนมากสามารถ กลั้นหายใจแบบสบายๆ ได้น้อยกว่า 1 นาที แต่ร่างกายของมนุษย์ก็มีระบบที่ใช้ในการดำน้ำเหมือนกับแมวน้ำ และโลมา ดังนั้นหากเรารู้ว่า กลไกอะไรที่ส่งผลต่อความสามารถของร่างกาย ในการกักเก็บออกซิเจน ก็จะทำให้เราฝึกฝน และสามารถดำฟรีไดฟ์ได้นานมากยิ่งขึ้น การทดลองปัจจัยในการกลั้นหายใจแต่ละแบบ การทดลองจะมุ่งเน้นไปที่ การวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่ลดลง (Bradycardia) เนื่องจากเป็นสิ่งที่สังเกตได้ง่ายเพื่อเปรียบเทียบว่าปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อ mammalian dive reflex มากกว่ากัน โดยวัดผลระหว่างกลั้นหายใจเป็นเวลา 30 วินาที   สภาวะการกลั้นหายใจ No. เปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ สภาวะดำน้ำ กับ ไม่ดำน้ำ 1 หายใจธรรมดา กับ การกลั้นหายใจในน้ำ เปรียบเทียบการหายใจกับการกลั้นหายใจ 2 หายใจธรรมดา กับ การกลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ 3 หายใจผ่านท่อ snorkel ในน้ำ กับ กลั้นหายใจในน้ำ ใบหน้าสัมผัสน้ำ 4 หายใจผ่านท่อ snorkel โดยหน้าไม่เปียกน้ำ กับ หายใจผ่านท่อ snorkel ในน้ำ 5 กลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ กับ กลั้นหายใจในน้ำเย็น 6 กลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ กับ กลั้นหายใจในน้ำธรรมดา อุณหภูมิ 7 ใช้เจลประคบร้อนบริเวณใบหน้า กับ ใช้เจลประคบเย็นบริเวณใบหน้า 8 กลั้นหายใจในน้ำอุ่น กับ กลั้นหายใจในน้ำเย็น   ผลการทดลอง กลั้นหายใจ แบบต่างๆ 30 วินาที สภาวะการกลั้นหายใจ No. เปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจ วินาทีที่15 – 30 (ครั้ง / นาที) สภาวะดำน้ำ กับ ไม่ดำน้ำ 1 การหายใจแบบธรรมดา กับ 76 การกลั้นหายใจในน้ำ 56.1 เปรียบเทียบการหายใจกับการกลั้นหายใจ 2…

อ่าน ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อการกลั้นหายใจมากที่สุด

ระบบน้ำหนักเพื่อการดำฟรีไดฟ์ (Weight System for Freediving)

วิธีการประเมินน้ำหนักตะกั่วเบื้องต้น และการจัดระบบน้ำหนักเพื่อการดำฟรีไดฟ์ ด้วยอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมคำแนะนำและข้อควรระวัง

อ่าน ระบบน้ำหนักเพื่อการดำฟรีไดฟ์ (Weight System for Freediving)

หลักพื้นฐานเกี่ยวกับการลอยตัว เพื่อการดำน้ำ

หลักวิทยาศาสตร์พื้นฐานเกี่ยวกับการลอยตัวในน้ำ เป็นความรู้ที่สำคัญมากในการทำกิจกรรมใต้น้ำทุกชนิด โดยเฉพาะ สำหรับผู้ที่ต้องการทำความเข้าใจเรื่องระบบการจัดการน้ำหนักสำหรับนักดำน้ำ ทั้งสคูบ้า (scuba diving) และฟรีไดฟ์ (freediving) ให้ได้อย่างลึกซึ้ง เพื่อที่จะได้จัดการกับสภาพการลอยตัวของตัวเอง ด้วยเครื่องมือต่างๆ นับตั้งแต่ ตะกั่วถ่วงน้ำหนัก, BCD, จนถึงปอดของตัวเราเอง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเพื่อแนะนำเพื่อนร่วมกิจกรรมหรือนักเรียนดำน้ำได้อย่างละเอียด ชัดเจน และถูกต้อง ตลอดจนการพัฒนาเทคนิคการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เราทำกิจกรรมดำน้ำได้อย่างสะดวก ราบรื่น ปลอดภัย ช่วยลดอันตรายหรือแก้ปัญหา เท่านั้น แต่ยังช่วยให้เราผ่อนคลายและสนุกสนานในการดำน้ำมากขึ้นด้วย หากรู้จักประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ การลอยตัว คือสภาพการจมลอยของวัตถุหนึ่งๆ ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มันอยู่ หากสิ่งแวดล้อมมีแรงยกวัตถุนั้นมากกว่าน้ำหนักของมัน วัตถุนั้นก็จะลอยอยู่ได้ “บน” สิ่งแวดล้อมนั้น (ที่ต้องหมายเหตุคำว่า “บน” ก็เพราะว่า ในการลอยตัวนั้น จะมีบางส่วนจมอยู่กับสิ่งแวดล้อมเสมอ เพราะส่วนที่จมในสิ่งแวดล้อมนั่นเองที่ทำให้เกิดแรงยกขึ้นมา) เราเรียกสภาพการลอยตัวแบบนี้ว่า มีการลอยตัวเป็นบวก แต่ถ้ามีแรงยกไม่มากพอ วัตถุนั้นจะจมลงไปอยู่ภายในสิ่งแวดล้อมนั้นทั้งชิ้น ส่วนจะจมลงไปเรื่อยๆ หรือหยุดนิ่งกลางสิ่งแวดล้อมได้ ก็ขึ้นกับว่า แรงยกนั้นเท่ากับหรือน้อยกว่าน้ำหนักของวัตถุ หากเท่ากันพอดี วัตถุจะหยุดนิ่งกลางสิ่งแวดล้อมนั้นได้ จับไปวางตรงไหนก็อยู่ตรงนั้น ไม่จมลงหรือลอยขึ้น (เมื่อไม่มีแรงอย่างอื่นมากระทำ) เรียกว่ามีการลอยตัวเป็นกลาง หากแรงยกน้อยกว่า วัตถุจะจมลงไปเรื่อยๆ เรียกว่ามีการลอยตัวเป็นลบ สำหรับนักดำน้ำ ในสถานการณ์ทั่วไป เราต้องการสภาพการลอยตัวที่เป็นกลาง ซึ่งก็คือ สภาพที่แรงยกเท่ากับน้ำหนักตัวของเราพอดี เพราะเราสามารถควบคุมการขึ้นลงด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องมีอิทธิพลจากแรงภายนอกมาทำให้เราต้องยุ่งยากขึ้น (มีบางสถานการณ์ที่เราอาจต้องการแรงยกหรือแรงกดมาช่วยด้วย เช่น เมื่อเจอกระแสน้ำแนวตั้ง ที่คอยกดเราให้จมลงหรือลอยขึ้นอย่างหนักหน่วง จนจัดการด้วยตัวเราเองล้วนๆ ทำได้ยาก) แต่เรื่องที่เราต้องเข้าใจเพิ่มเติมก็คือ ด้วยคุณสมบัติภายในร่างกายของมนุษย์เอง คือการมี ถุงลม คือ ปอด ที่หดขยายขนาดได้ ทำให้จุดที่เราจะมีสภาพการลอยตัวเป็นกลางนั้น ไม่ตายตัว แต่เปลี่ยนไปตามระดับความลึกด้วย เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ต้องค่อยๆ ทำความเข้าใจกันครับ โดยเริ่มต้นจาก ที่มาของ “แรงลอยตัว” หรือ “แรงยก” ก่อนจะไปต่อด้วยว่า ทำไมสภาพการลอยตัวของมนุษย์มีปอดอย่างเราจึงมีสภาพการลอยตัวที่ไม่ตายตัว แรงลอยตัว หรือ แรงยก เกิดขึ้นได้อย่างไร แรงยกที่ของเหลวดันวัตถุใดๆ เอาไว้นั้น เกิดขึ้นจากการที่วัตถุนั้นพยายามจะเข้าไปแทนที่ของเหลว (อธิบายแบบให้เห็นภาพนิดนึงว่า) ของเหลวก็จะมีแรงดันสู้กลับไป เท่ากับน้ำหนักของตัวเองในปริมาตรที่เท่ากับส่วนที่วัตถุนั้นพยายามจะเข้ามาแทนที่ หรืออธิบายแบบทางการนิดนึง ก็คือ แรงยกจะมีขนาดเท่ากับ น้ำหนักของของเหลวส่วนที่ถูกแทนที่นั้น หรือก็คือ น้ำหนักของของเหลวที่มีปริมาตรเท่ากับวัตถุส่วนที่จมอยู่ในของเหลว หากวัตถุมีความหนาแน่นน้อยกว่าของเหลว เมื่อวัตถุนั้นจมลงไปในของเหลว (คือ ไปแทนที่ของเหลว) เพียงปริมาณนิดเดียว ก็เกิดแรงยกจากของเหลวเพียงพอที่จะชนะน้ำหนักของวัตถุทั้งชิ้นแล้ว ทำให้วัตถุนั้นไม่จมลงไปในของเหลวอีกต่อไป หยุดอยู่เพียงแค่ส่วนที่แรงยกจากของเหลวจะพอดีกับน้ำหนักของมัน … ซึ่งเราเรียกสถานะแบบนี้ว่า…

อ่าน หลักพื้นฐานเกี่ยวกับการลอยตัว เพื่อการดำน้ำ
Blood Cells with Air Bubbles and Physics Equations (as banner for article)

ความเป็นมาของทฤษฎีการลดความกดในการดำน้ำ (Dive Decompression Theory)

ความเป็นมาของการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายของมนุษย์ ภายใต้ความกดอากาศสูงกว่าปกติ เพื่อออกแบบมาตรการความปลอดภัยในการดำน้ำ

อ่าน ความเป็นมาของทฤษฎีการลดความกดในการดำน้ำ (Dive Decompression Theory)

GF (Gradient Factor) คืออะไร

หลายปีมาแล้ว นักวิชาการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ใต้น้ำ ชื่อ Eric Baker ได้พัฒนาแนวคิดเรื่อง gradient factor หรือปัจจัยความแตกต่างของแรงกดดัน ขึ้นมาเพื่อเป็นเทคนิคในการทำให้สูตรคำนวณการดำน้ำ (algorithm) มีความปลอดภัยสูงขึ้น โดยแนวคิดนี้จะถูกนำมาใช้กับสูตรคำนวณของ buhlmann ZHL-16 แนวคิดนี้ทำให้นักดำน้ำมีความยืดหยุ่นที่จะปรับแต่งโปรไฟล์การดำน้ำของตน ในการจัดการกับความเสี่ยงต่อโรค DCS ข้อดีของการคำนวณจากแนวคิดนี้ คือทำให้นักดำน้ำสามารถเลือกความเข้มข้นในการทำ deep stop ของตนเองได้ และสามารถเลือกได้ว่าจะขึ้นสู่ผิวน้ำด้วยระดับการ Supersaturation มากหรือน้อยเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับ M-Value แนวคิด GF นี้จะมีตัวเลขไว้สื่อสารกับเราสองตัว โดยจะทำการตั้งค่า ตัวอย่างเช่น 50/70 ซึ่งมันจะหมายความว่า เลขตัวแรก GF low คือตัวกำหนดว่าเราจะเริ่มทำ stop แรกที่ความลึกมากหรือน้อย และเลขตัวที่สอง GF high เราสามารถกำหนดได้ว่า stop ตื้นของเราจะยาวนานขนาดไหน หากเราต้องการทำ stop แรกในที่ลึก ให้ลึกสักหน่อย (เช่นการทำ deep stop ที่นิยมกันในช่วงปี 2000) เราก็จะตั้ง GF low ให้มีตัวเลขต่ำๆ เช่น 20 ซึ่งตัวเลขนั้นจะหมายถึงเปอร์เซ็นต์ของ M-Value ถ้าตัวเลขเป็น 20 ก็หมายถึงว่าเราขึ้นจากที่ลึกและมีระดับ Supersaturation เพียง 20% ของค่าสูงสุด (M-Value) เราก็จะต้องหยุดรอแล้ว หากเราตั้งค่าตัวเลขสูงขึ้นเครื่องก็จะอนุญาตให้เราขึ้นไปตื้นกว่า เช่นถ้าตั้งค่าไว้ 50% ก็จะขึ้นจากความลึกไปหยุดทำ stop แรกในที่ตื้นกว่าตั้งค่าไว้ 20% เป็นต้น และหากตัวเลขขึ้นไปสูงสุด เช่น 100% ของ M-Value นั่นคือเราตั้งค่าให้ขึ้นไปสู่ที่ตื้นได้จนถึงขีดจำกัดสูงสุดที่กำหนดไว้ใน M-Value ได้เลยทีเดียว การตั้งตัวเลข GF low น้อยๆ จึงหมายความว่าเราตั้งค่าให้สูตรอนุญาตให้เรามีการ supersaturation ได้น้อย จึงต้องหยุดในที่ลึกมากกว่าเวลาตั้งตัวเลข GF low สูงๆ หรืออีกนัยหนึ่ง คือตั้ง GF low ต่ำต้องทำ stop ในที่ลึกมากกว่านั่นเอง ส่วนการตั้ง GF high คือการตั้งค่าการอนุญาตให้ขึ้นสู่ผิวน้ำ เช่นหากเราตั้งค่า GF high ไว้ต่ำ ตัวอย่างเช่นตั้งไว้ สัก 50 นั่นก็หมายความว่าเครื่องหรือตารางดำน้ำจะสั่งให้เรารอจนอัตราการ supersaturation ของเราลดลงจนเหลือ…

อ่าน GF (Gradient Factor) คืออะไร
ภาพนักดำน้ำกำลังตัดเชือกลอบที่มาพันกับสายทุ่น

วันที่เจอเชือกลอบติดสายทุ่น

โดยปกติก่อนลงน้ำ เราก็จะมี mindset ไว้ว่า จะเผชิญหน้ากับความลึกด้วยจิตใจที่สงบ ผ่อนคลาย มีการฝึก psychological skill บางอย่างที่ประยุกต์มาจากโลกของกีฬามาใช้ก่อนลงเสมอ และมันก็ใช้ได้จริงเวลามีเหตุขึ้นมา

อ่าน วันที่เจอเชือกลอบติดสายทุ่น

การดำน้ำด้วยอุปกรณ์ Sidemount

การดำน้ำแบบนี้ จะใช้ถังอากาศไปอยู่ด้านข้างของลำตัวนักดำน้ำ แตกต่างกับการใช้อุปกรณ์ปกติ ที่ถังอากาศจะอยู่บนหลังของนักดำน้ำ วิธีการนี้มีใช้กันมานานแล้วในหมู่นักดำน้ำในถ้ำหรือในเรือจม ที่จำเป็นจะต้องเข้าไปในที่คับแคบ ถังดำน้ำบนหลังของนักดำน้ำอาจจะเป็นอุปสรรคในการมุด ลอด ช่องต่างๆ ได้ ในระยะหลัง การใช้อุปกรณ์ sidemount ได้เกิดเป็นที่นิยมในหมู่นักดำน้ำทั่วไปที่ไม่ได้เป็นนักดำน้ำในถ้ำหรือในเรือจม เนื่องจากระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดำน้ำแบบนี้ได้เสนอทางเลือกให้ทำอะไรได้มากกว่า และที่สำคัญคือทำให้การลู่น้ำ (stremeline) ของนักดำน้ำดีกว่ามาก นักดำน้ำที่มีข้อจำกัด ไม่สามารถแบกถังอากาศหนักๆ ก่อนจะลงน้ำได้ สามารถใช้อุปกรณ์แบบนี้ลงไปใส่ถังอากาศในน้ำได้อย่างง่ายดาย การใช้อุปกรณ์แบบนี้ทำให้ดำน้ำได้ด้วยถังอากาศใบเดียว หรือหลายๆ ใบ ตามความจำเป็นได้โดยง่าย และการลู่น้ำที่มากกว่าจากการใช้อุปกรณ์แบบนี้ ทำให้นักดำน้ำรู้สึกอิสระ คล่องตัว เคลื่อนไหวไปในน้ำได้อย่างลื่นไหล โดยนักดำน้ำทุกคนที่ทดลองเรียนและดำน้ำด้วยอุปกรณ์ sidemount จะพูดกันเสมอว่ามันทำให้รู้สึกดีและสนุกกับการดำน้ำมากกว่า เมื่อเราไปถามนักดำน้ำ sidemount ว่าอะไรที่พวกเขาชอบมากที่สุดกับการดำน้ำแบบนี้ เรามักจะได้คำตอบคล้ายคลึงกันว่า ‘Freedom” เพราะการดำน้ำแบบ sidemount นี้จะคล้ายกับ Freediving อย่างมาก นั่นคือนักดำน้ำจะรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับผืนน้ำ สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระในทุกทิศทาง ความรู้สึกอิสระภายใต้ภาวะไร้น้ำหนักนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การดำน้ำแบบ sidemount นี้เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในยุคหลังนี้ คุณประโยชน์หลักๆ ของการดำน้ำแบบ sidemount มีดังต่อไปนี้ การลู่น้ำ การทำให้ตัวลู่น้ำนั้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการดำน้ำ เพราะถ้าเราต้องต้านกระแสน้ำตลอดเวลา นอกจากจะใช้อากาศเปลืองกว่าแล้ว สิ่งสำคัญมากกว่านั้นคืออาจจะทำให้เกิดอาการเหนื่อย อาการเครียด ซึ่งจำนำไปสู่ปัญหาใหญ่ๆ อีกมากมายขึ้นมากได้ อุปกรณ์ sidemount ที่ติดตั้งข้างลำตัวนั้นจะช่วยลดพื้นที่ในการต้านกระแสน้ำ ผลก็คือการเคลื่อนไหวจะเบา ง่าย ลื่นไหลมากขึ้น นักดำน้ำก็จะผ่อนคลายและสบายมากขึ้นนั่นเอง การ Trim & Balance  การ Trim หมายถึงทิศทางของศีรษะและเท้า in trim คือการที่ระดับของศีรษะและเท้าอยู่ในระนาบเดียวกัน head down คือศีรษะต่ำกว่าเท้า และ feet down คือเท้าต่ำกว่าศีรษะ การที่นักดำน้ำสามารถ in trim เป็นเรื่องสำคัญในการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพใต้น้ำ ถึงแม้ว่านักดำน้ำที่ใช้อุปกรณ์ธรรมดาจะสามารถทำตัวให้ in trim ได้เช่นกัน แต่การ in trim นี้เรียกได้ว่าเป็นสัญญลักษณ์ของนักดำน้ำแบบ sidemount ที่ดี เนื่องจากในหลักสูตรการดำน้ำแบบนี้ การเรียนการสอนจะเน้นทักษะมากขึ้นกว่าการดำน้ำปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมรูปทรง ความสมดุลย์ และความมั่นคงในน้ำ (ในขณะเดียวกัน ตัวอุปกรณ์ที่มีถังอากาศอยู่ด้านข้างลำตัวนี้ จะช่วยส่งเสริมให้นักดำน้ำ in trim ได้ง่ายขึ้นอย่างมากอีกด้วย) อุปกรณ์ข้างลำตัวนี้จะช่วยให้นักดำน้ำมี balance ที่ดีกว่าด้วย เนื่องจากถังจะอยู่ต่ำและอยู่ข้างลำตัว การพลิกไปทางซ้ายหรือทางขวาก็จะยากกว่าไม่ว่าจะใช้ถังเดียวหรือถังคู่สองข้างก็ตาม (ถึงแม้ใช้ถังด้านข้างลำตัวทั้งสองข้างจะดีกว่า) อุปกรณ์ sidemount นี้จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้นักดำน้ำนิ่ง มั่นคง และลื่นไหลเวลาอยู่ใต้น้ำ…

อ่าน การดำน้ำด้วยอุปกรณ์ Sidemount

การลดความเสี่ยงต่อ DCS ด้วยการดื่มน้ำ

ถึงแม้กิจกรรมการดำน้ำจะนับได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ปลอดภัยมากที่สุดกิจกรรมหนึ่ง แต่ทุกกิจกรรมต่างก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน หลายคนคงเคยได้ยินว่า การดื่มน้ำเยอะ ๆ จะช่วยทำให้การดำน้ำปลอดภัยขึ้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องและสำคัญมาก ที่นักดำน้ำทุกคนควรระวังและป้องกันโอกาสที่เกิดจากการเจ็บป่วยจากการดำน้ำให้ได้มากที่สุด โรคจากการดำน้ำที่หลายคนกังวลคือ โรคจากการลดความกด (Decompression sickness, DCS) หรือน้ำหนีบ หรือ bend หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของ DCS ที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุดและแก้ไขง่ายที่สุดคือ Dehydration หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ภาวะการขาดน้ำ การป้องกันทำได้หลายอย่าง โดยสิ่งที่สำคัญและแก้ไขง่ายที่สุดคือการ “ดื่มน้ำ”​ คำถามคือ ทำไมเราถึง “ขาดน้ำ” ตอนดำน้ำ มีหลายปัจจัย แต่อธิบายปัจจัยหลักง่าย ๆ คือ ระหว่างการดำน้ำ 40-60 นาที เราไม่สามารถดื่มน้ำได้ และหากมีการหายใจเอาละอองน้ำทะเลหรือกลืนน้ำทะเลเข้าไปเล็กน้อย จะทำให้ร่างกายเราขาดน้ำมากขึ้นเนื่องจากน้ำทะเลมีความเข้มข้นสูงกว่าเนื้อเยื่อของร่างกายเรา การออกกำลังกายระหว่างการดำน้ำ เช่น การว่ายน้ำ จะทำให้เพิ่มการสูญเสีย เหงื่อและเสียความร้อน โดยจะมีน้ำบางส่วนออกจากร่างกายเราเพื่อดึงความร้อนออกไป ขณะเราดำน้ำ มนุษย์จะมีปฏิกิริยาตอบสนองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่เรียกว่า ​Mammalian Diving Reflex ซึ่งจะมีหลายส่วน เช่น หัวใจเต้นช้าลง เส้นเลือดส่วนปลายหดตัว เลือดเพิ่มปริมาณการเลี้ยงอวัยวะสำคัญ และม้ามบีบตัว ซึ่งมีส่วนทำให้ไตเราเข้าใจว่าปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น (จริงแล้วลดลง) จะทำให้มีการส่งสัญญาณประสาทให้กรองเลือดออกมาเป็นปัสสาวะมากขึ้น จึงไม่แปลกที่เราปัสสาวะเพิ่มขึ้นเวลาว่ายน้ำ หรือดำน้ำ โดยเฉพาะน้ำเย็นจะมีการกระตุ้น reflex นี้มากขึ้น โดยการกระตุ้นมากที่สุดจะเกิดเมื่อน้ำที่เย็นสัมผัสบริเวณหน้าซึ่งจะกระตุ้นเส้นประสาทที่เรียกว่า Trigeminal nerve ซึ่งจะทำให้ reflex นี้ชัดเจนขึ้นมากในน้ำที่เย็นขึ้น และมีการสัมผัสน้ำโดยตรงเช่น ไม่ใส่ wetsuit หรือ ใส่ wetsuit ที่บาง จากที่เราทราบกันว่า silent bubble เกิดขึ้นตลอดในทุก dive ของการดำน้ำ จะมากน้อยขึ้นกับหลายปัจจัย การทำให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เป็นสิ่งสำคัญที่ป้องกันไม่ให้เลือดอยู่ในสภาวะข้นซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด DCS ที่อวัยวะต่าง ๆ สรุป การป้องกันการเกิด DCS มีหลายวิธี ตั้งแต่ปัจจัยส่วนบุคคล หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ การดำน้ำอย่าง conservative และปัจจัยที่ดูแลง่ายที่สุดอย่างนึงคือการ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ทั้งก่อนและหลังดำน้ำถึงแม้ไม่มีข้อมูลชัดเจนเรื่องปริมาณน้ำที่ควรดื่มก่อนหรือหลังดำน้ำ แต่อย่างน้อยควรทานตั้งแต่ก่อนลงซักพักและควรดื่มน้ำอีกครั้งหลังจากดำน้ำขึ้นมาทันที เพราะ silent bubbles และอุบัติการณ์ของ DCS เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทันทีจนถึงหลายชั่วโมงหลังดำน้ำ ปกติมนุษย์ผลิตปัสสาวะ ชั่วโมงละ 1.5 ถึง 2 ml/kg/hr…. ตัวผมเองทานอย่างน้อย​ 300 –…

อ่าน การลดความเสี่ยงต่อ DCS ด้วยการดื่มน้ำ
Hardeep - Keng Krob - 001

เรือจมสุทธาทิพย์ เสน่ห์ที่ลึกลับ

ผมว่าเรือจมสุทธาทิพย์เป็นชื่อที่นักดำน้ำไทยส่วนมากจะรู้จัก เพราะอยู่ที่สัตหีบใกล้กับ กทม. มาก สามารถขับรถไปดำแบบเช้าเย็นกลับได้สบายๆ หรือจะค้างที่พัทยาก็ได้ ขับรถประมาณ 40 นาทีก็ถึง

อ่าน เรือจมสุทธาทิพย์ เสน่ห์ที่ลึกลับ