Biolife Seen from Microscope - Imaginary Image

แตนทะเล คืออะไร ทำไมชอบทำร้ายเรา ทั้งเจ็บ ทั้งคัน

รู้จักกับตัวจริงของ “แตนทะเล” สิ่งมีชีวิตที่ทำให้เราแสบคันหรือเกิดผื่นแดง เมื่อเล่นน้ำทะเลหรือดำน้ำ และเราควรทำอย่างไรเพื่อลดอาการนี้

อ่าน แตนทะเล คืออะไร ทำไมชอบทำร้ายเรา ทั้งเจ็บ ทั้งคัน

เบาหวาน กับ การดำน้ำ

โรคเบาหวานกับการดำน้ำ คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน มีข้อควรระวังหรือกิจกรรมที่ต้องงดเว้นต่างๆ ซึ่งการดำน้ำ ก็เป็นหนึ่งในกิจกรรมเหล่านั้น อาการของโรคเบาหวานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยหมดสติใต้น้ำ เสี่ยงที่จะเกิดอันตรายถึงชีวิต แล้วทุกคนที่เป็นโรคเบาหวานไม่ควรดำน้ำจริงหรือ มีผลต่อความปลอดภัยในการดำน้ำได้อย่างไร เราจะมาทำความรู้จักกับโรคนี้จากบทความของ DAN.org กัน โรคเบาหวานคืออะไร โรคเบาหวานเป็นโรคที่ร่างกายไม่สามารถผลิตหรือตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำตาลในเลือด คนที่มีสุขภาพดีจะรักษาระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงแคบๆ ที่ 70 – 110 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) ของเลือด ส่วนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอาจมีระดับน้ำตาลในเลือดผันผวนมาก ปัญหาหลักคือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอาจทำให้หมดสติได้ และระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจส่งผลให้การไหลเวียนโลหิตและการมองเห็นลดลง ในบทความนี้ได้แบ่งโรคเบาหวานออกเป็น 2 ประเภท ประเภท 1 หรือเบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลิน (Insulin-Requiring Diabetes Mellitus : IRDM) คือการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ ประเภท 2 เป็นการที่ร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือเซลล์ของร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน หรือเบาหวานที่เริ่มมีอาการในวัยผู้ใหญ่ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานโดยเฉพาะกลุ่ม IRDM มีความเสี่ยงสูงที่จะหมดสติกะทันหัน จึงถูกแนะนำให้งดเว้นจากกิจกรรมต่างๆ เช่น การดำน้ำลึก การศึกษาของ DAN เกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือดและการดำน้ำสันทนาการ นักวิจัยของ DAN ศึกษาการตอบสนองของน้ำตาลในเลือดของนักดำน้ำเชิงสันทนาการวัยผู้ใหญ่ ที่เป็นเบาหวานกลุ่ม IRDM เปรียบเทียบกับนักดำน้ำที่ไม่เป็นโรคเบาหวานซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม ซึ่งเงื่อนไขของนักดำน้ำกลุ่ม IRDM ที่นักวิจัยนำมาศึกษามีดังนี้ สามารถควบคุมอาการได้ในระดับปานกลาง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทุติยภูมิ และไม่ได้เข้ารับการรักษาเนื่องจากความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ระดับน้ำตาลในเลือดต้องสูงกว่า 80 mg/dL ก่อนการดำน้ำแต่ละครั้ง นักดำน้ำต้องใช้อุปกรณ์วัดระดับน้ำตาลในเลือดแบบพกพาที่ใช้นิ้ว และบันทึกค่าก่อนและหลังการดำน้ำหลายครั้ง เป็นการดำน้ำเชิงสันทนาการที่มีความตึงเครียดเล็กน้อยถึงปานกลาง ในน่านน้ำเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน เพราะความเครียดจะเพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับความซับซ้อนของอุปกรณ์ ความรุนแรงของน้ำ ลักษณะการดำน้ำ หรือเหตุฉุกเฉิน ซึ่งอาจไปเพิ่มความผันผวนของระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผลการศึกษา ความผันผวนของระดับน้ำตาลในเลือดของนักดำน้ำกลุ่ม IRDM สูงกว่ากลุ่มควบคุม ไม่มีกลุ่มใดมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระหว่างการดำน้ำหรือหลังดำน้ำในทันที ร้อยละ 7 ของกลุ่ม IRDM ระดับน้ำตาลในเลือดหลังการดำน้ำลดลงต่ำกว่า 70 mg/dL (ต่ำสุดคือ 41 mg/dL) และร้อยละ 1 ของกลุ่มควบคุม ต่ำสุดคือ 56 mg/dL แม้ว่านักดำน้ำกลุ่ม IRDM จะไม่ได้รายงานภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำก่อน ระหว่าง หรือหลังการดำน้ำทันที แต่ก็ยังมีอาการต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำน้ำ เช่น คลื่นไส้ วิตกกังวล ตัวสั่น รู้สึกหนาว และปวดศีรษะ ซึ่งอาการเหล่านี้ก็มากพอที่จะปลุกนักดำน้ำให้ตื่นกลางดึกได้ ข้อสรุป การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดของนักดำน้ำกลุ่ม IRDM อยู่ในช่วงตั้งแต่ 283 –…

อ่าน เบาหวาน กับ การดำน้ำ

ตุ่มแดง ผื่นคัน หลังเล่นน้ำทะเล เกิดจากอะไร แก้ไขและป้องกันได้อย่างไร

ผู้ที่ชอบเที่ยวทะเล เล่นน้ำชายหาด หรือดำน้ำดูปะการัง บางคนอาจเคยต้องพบกับความรู้สึกคันยิบๆ ไปจนถึงแสบร้อนตามเนื้อตัวให้รำคาญใจ และแม้ขึ้นจากทะเลแล้วก็อาจพบกับตุ่มเล็กๆ สีแดงบนผิวหนัง หรือผื่นแดงปรากฏขึ้นเป็นพื้นที่ใหญ่ๆ บนร่างกายอีกด้วย ทำเอาเล่นน้ำไม่สนุก หรือต้องทุกข์กับผิวที่เสียโฉมไปหลายวันเลยทีเดียว ปัญหาเหล่านี้เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไร มีวิธีป้องกันหรือไม่ เรามีคำตอบมาให้ สาเหตุ สาเหตุหลักของผื่นคันแดงเหล่านี้เกิดขึ้นจากพิษของสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ หลายชนิดที่อยู่ในน้ำทะเล ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ ตัวอ่อนของสัตว์ในกลุ่มเดียวกับแมงกะพรุน เช่น ปะการัง ดอกไม้ทะเล และแมงกะพรุนชนิดต่างๆ นั่นเอง ตัวอ่อนของสัตว์เหล่านี้ส่วนใหญ่มีขนาดไม่ถึงมิลลิเมตร อาจมีแมงกะพรุนชนิดที่ตัวเต็มวัยก็มีขนาดเพียง 1-2 ซ.ม. บ้าง ซึ่งก็จัดว่ายากจะสังเกตเห็นและหลบหลีกได้อยู่ดี นอกจากสัตว์กลุ่มแมงกะพรุนแล้ว ยังมีสัตว์ในตระกูลอื่นบางชนิดที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ในบางคนได้ พวกเราคงเคยได้ยินชาวบ้านหรือนักท่องเที่ยวที่คุ้นเคยกับทะเล เรียกชื่อสิ่งที่ทำให้เกิดอาการแสบๆ คันๆ แบบนี้ได้ ว่า “แตนทะเล” กันมาบ้างแล้ว ที่จริงชื่อนี้ไม่ได้หมายถึงสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่หมายรวมสัตว์ทะเลหลากหลายชนิดที่มองไม่เห็นตัวเหล่านี้นั่นเอง สัตว์เหล่านี้แม้จะมีขนาดเล็ก หรือยังอ่อนวัย แต่ก็มีเข็มพิษที่พร้อมทำงานได้เช่นกัน แม้จะมีปริมาณหรือความรุนแรงของพิษไม่มากนัก แต่ก็ทำให้เกิดรอยผื่นแดงคันได้ หากร่างกายของเราแพ้สารพิษเหล่านั้น หรือหากในช่วงนั้นมีตัวอ่อนเหล่านี้แพร่กระจายอยู่มาก (อาจจะสัมพันธ์กับฤดูกาล ช่วงเวลาเช้าเย็นหรือน้ำขึ้นน้ำลง) เราก็อาจได้รับพิษจำนวนมาก และแสดงอาการมากตามไปด้วย อาการ โดยทั่วไป อาการอาจเริ่มต้นด้วยอาการคันยุบยิบตามผิวหนัง โดยเฉพาะส่วนที่ไม่มีเสื้อผ้าปกคลุม ระหว่างดำน้ำหรือเล่นนำ้ทะเลอยู่ ในบางคนอาจรู้สึกแค่คันยิบๆ แต่ยังไม่ปรากฏเป็นผื่นหรือตุ่มแดงๆ หรืออาจเริ่มมีบ้างเล็กน้อย บางคนอาจไม่มีอาการเหล่านี้ระหว่างอยู่ในน้ำเลยก็ได้ ส่วนใหญ่อาการมักจะยังไม่เกิดขึ้นในทะเลเพราะเข็มพิษยังไม่ได้สัมผัสกับสิ่งกระตุ้นต่างๆ เมื่อขึ้นจากน้ำทะเลแล้ว อาจรู้สึกคันมากขึ้น และอาจมีผื่นหรือตุ่มแดงปรากฏขึ้นมาอีก และซึ่งก็มักจะมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะไม่ได้อยู่ในน้ำแล้วก็ตาม แสดงว่า เจ้าแพลงก์ตอนพวกนี้ติดมาตามเสื้อผ้าหรือเว็ทสูทของเราด้วย (หรือบางทีก็มีแต่เข็มพิษที่ติดมา ไม่ได้มาทั้งตัว) และเมื่อเราไล่น้ำออกจากเสื้อผ้าของเรามากขึ้น เขาก็ได้สัมผัสผิวหนังของเรามากขึ้น และเข็มพิษของเขาก็เริ่มทำงานมากขึ้นด้วย อาการผื่นแดงคันเหล่านี้ มักจะปรากฏมากบริเวณหน้าอก ข้อพับ ขาหนีบ ซึ่งเป็นบริเวณที่เสียดสีกับเสื้อผ้า หรือเสียดสีกับผิวหนังกันเองบ่อยๆ แล้วกระตุ้นให้เข็มพิษทำงาน ปล่อยพิษใส่ผิวหนังของเรานั่นเอง อาการที่พบในแต่ละคนจะแตกต่างกันไปได้หลายระดับแล้วแต่การตอบสนองของร่างกาย บางคนแค่คันๆ แต่ไม่มีรอยแดง บางคนแพ้เป็นผื่นแดงและหายไปในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน ในขณะที่บางคนก็ใช้เวลาหลายเดือนกว่าร่องรอยจะหายจนหมด สำหรับคนที่มีอาการแพ้รุนแรงอาจถึงขั้นบวมพองเป็นตุ่มน้ำใสๆ แตกเป็นแผลเหวอะหวะ กว่าจะหายก็กินเวลาหลายเดือน และด้วยความที่อยู่ได้นานเป็นเดือนๆ กับคนที่แพ้มาก นี่เองที่ทำให้ใครหลายคนต้องคิดแล้วคิดอีก เมื่อจะตัดสินใจไปลงเล่นน้ำในทะเล แม้ว่าจะรักทะเล อยากเห็นฝูงปลา สัตว์น้ำ และปะการังอันสวยงามมากมาย ก็ตามที เตรียมตัวเที่ยวทะเล การป้องกันที่ดี เริ่มต้นทันทีเมื่อคุณวางแผนทริป 1. วางแผนเที่ยวตามฤดูกาลและแหล่งท่องเที่ยว หลายปีก่อน (หรือกว่าสิบปีมาแล้ว) การเพิ่มปริมาณของแพลงก์ตอน (ซึ่งก็คือช่วงการขยายพันธ์ของสัตว์ทะเลกลุ่มนี้) มักจะสัมพันธ์กับฤดูกาล และอุณหภูมิน้ำทะเล ในแต่ละท้องถิ่นด้วย ซึ่งทำให้เราพอจะวางแผนเที่ยวทะเลที่ต่างๆ เพื่อลดโอกาสเจอแตนทะเลได้บ้าง แต่ปัจจุบันนี้ ด้วยสภาพอากาศที่แปรปรวน จนทำให้เกิดแพลงก์ตอนบูมได้ตลอดทั้งปี ไม่มีระยะเวลาที่แน่นอน เราจึงอาจเลือกฤดูกาลที่จะเลี่ยงหรือลดโอกาสเจอแตนทะเลไม่ได้เท่าใดนัก อย่างไรก็ตาม…

อ่าน ตุ่มแดง ผื่นคัน หลังเล่นน้ำทะเล เกิดจากอะไร แก้ไขและป้องกันได้อย่างไร

โรคหอบหืดกับการดำน้ำ

การดำน้ำลึกเป็นกิจกรรมที่ไม่สามารถหายใจในสภาพแวดล้อมและวิธีการตามปกติได้ ต้องอาศัยเครื่องช่วยจ่ายอากาศให้เรา ผู้ป่วยจากโรคหอบหืดหลายคนที่สนใจการดำน้ำลึก แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะอันตรายกับตัวเองถึงชีวิตหรือไม่ หากเกิดอาการหอบหืดระหว่างอยู่ใต้น้ำ รวมถึงครูสอนดำน้ำเองก็ไม่แน่ใจว่า หากสอนหรือพาผู้ป่วยโรคหอบหืดไปดำน้ำ จะปลอดภัยหรือไม่ หรือมีข้อควรระวังหรือมาตรการป้องกันอย่างไรได้บ้างหรือไม่ วันนี้เรามีบทความจาก DAN.org มาฝากกัน โรคหอบหืดกับการดำน้ำ โรคหอบหืดเป็นโรคที่มีลักษณะการตีบของท่อหายใจ (หลอดลม) เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ซึ่งการการตอบสนองจะไม่คงที่ และปอดอาจทำงานแย่ลงอย่างฉับพลันทำให้เกิดอาการของโรคได้ อาการจะเกิดขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นโดยละอองเกสรดอกไม้ สารก่อภูมิแพ้ อากาศเย็น สารก่อความระคายเคืองในอากาศ หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ โรคหอบหืดกับการดำน้ำเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักดำน้ำมานาน ในอดีตคนที่เป็นโรคหอบหืดจะต้องหลีกเลี่ยงการดำน้ำ แล้วโรคหอบหืดส่งผลต่อการดำน้ำได้อย่างไร และไม่ควรดำน้ำจริงหรือ อาการที่อาจเกิดขึ้นจากการดำน้ำ การตีบของหลอดลมส่งผลกระทบดังนี้ ปริมาณอากาศที่สามารถเคลื่อนเข้าและออกจากปอดลดลง ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการออกกำลังลดลงด้วย โดยเฉพาะในนักดำน้ำที่ถูกลดความสามารถในการหายใจเนื่องมาจากความต้านทานของอุปกรณ์ช่วยหายใจจากความลึกที่เพิ่มขึ้น การตีบของหลอดลมจะทำให้อากาศค้างอยู่ในปอด เมื่อขึ้นสู่ที่ตื้น อากาศที่ค้างอยู่จะขยายตัวเร็วเกินกว่าจะระบายออกผ่านทางเดินหายใจแคบๆ ปอดอาจฉีกและเกิดภาวะฟองอากาศอุดตันในหลอดเลือดแดง (arterial gas embolism) หรือปอดรั่ว (pneumothorax) นักดำน้ำที่เป็นโรคหอบหืดไม่เพียงจะมีความเสี่ยงจากอากาศอุดตันเท่านั้น แต่ความสามารถในการออกแรงยังลดลงด้วย แม้การหยุดพักหายใจขณะอยู่บนบกจะเป็นเรื่องง่าย แต่เมื่ออยู่ใต้น้ำอาจทำได้ยาก สมาคมการเวชศาสตร์ใต้น้ำแห่งแปซิฟิกใต้ (SPUMS) ระบุว่าการดำน้ำอาจทำให้เกิดอาการของโรคหอบหืด ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะหายใจติดขัด ตื่นตระหนก และจมน้ำได้ การจัดการกับโรคหอบหืด โรคหอบหืดแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามความรุนแรง ได้แก่ ไม่สม่ำเสมอ (Mild Intermittent Asthma) มีอาการนานๆ ครั้ง ช่วงที่มีอาการ สั้นกว่า 1 ครั้ง/สัปดาห์ หรือมีอาการกลางคืนน้อยกว่า 2 ครั้ง/เดือน รุนแรงน้อย (Mild Persistent Asthma) มีอาการมากกว่า 1 ครั้ง/สัปดาห์ หรือมีอาการกลางคืนมากกว่า 2 ครั้ง/เดือน รุนแรงปานกลาง (Moderate Persistent Asthma) มีอาการเกือบทุกวัน หรือมีอาการกลางคืนมากกว่า 2 ครั้ง/สัปดาห์ รุนแรงมาก (Severe Persistent Asthma) มีอาการตลอดเวลา การรักษาโรคหอบหืดสัมพันธ์กับความรุนแรงและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำน้ำ จากการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำและเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง (Undersea and Hyperbaric Medical Society หรือ UHMS) นักดำน้ำที่เป็นโรคหอบหืดใน 3 กลุ่มแรก อาจได้รับอนุญาตให้ดำน้ำได้ หากควบคุมโรคหอบหืดได้ดี และรักษาให้ผลการทดสอบสมรรถภาพปอดเป็นปกติ โดยเฉพาะหลังการออกกำลังกาย ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดก็อาจดำน้ำได้อย่างปลอดภัย คำแนะนำในการดำน้ำ สำหรับนักดำน้ำ แต่ละประเทศมีแนวทางที่แตกต่างกันว่าผู้ที่เป็นโรคหอบหืดสามารถดำน้ำได้หรือไม่ – ในอังกฤษ ผู้ที่ควบคุมโรคหอบหืดได้ดีสามารถดำน้ำได้ หากไม่จำเป็นต้องใช้ยาขยายหลอดลมภายใน 48 ชั่วโมง และไม่มีอาการของหอบหืดหลังจากการออกกำลังกาย…

อ่าน โรคหอบหืดกับการดำน้ำ

หน้ากากดำน้ำ สำหรับคนสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง

ทางเลือกใหม่ สำหรับคนที่มีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง ที่อยากมองโลกใต้ทะเลให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องใส่คอนแทกเลนส์

อ่าน หน้ากากดำน้ำ สำหรับคนสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง

ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อการกลั้นหายใจมากที่สุด

เมื่อเราดำน้ำ สิ่งที่เป็นปัญหาหลักๆ คือ เราไม่สามารถหายใจใต้น้ำได้โดยไม่อาศัยเครื่องมือช่วย ซึ่งแตกต่างกับแมวน้ำที่สามารถกลั้นหายใจดำน้ำได้นานถึงสองชั่วโมง โดยไม่ต้องใช้ถังออกซิเจน แล้วถ้าถามว่าทำไมแมวน้ำถึงกลั้นหายใจได้นานขนาดนั้น นั่นก็เพราะว่า ร่างกายของแมวน้ำมีความสามารถในการกักเก็บ และใช้ออกซิเจนน้อยมากเวลาดำน้ำ โดยมีกลไกส่งออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ และสมอง เส้นเลือดในอวัยวะอื่นๆที่ไม่สำคัญจะหดตัว (peripheral constriction) และหัวใจจะเต้นช้าลง (bradycardia) เปรียบเทียบกับแมวน้ำแล้ว มนุษย์มีความสามารถในการดำน้ำน้อยกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งคนส่วนมากสามารถ กลั้นหายใจแบบสบายๆ ได้น้อยกว่า 1 นาที แต่ร่างกายของมนุษย์ก็มีระบบที่ใช้ในการดำน้ำเหมือนกับแมวน้ำ และโลมา ดังนั้นหากเรารู้ว่า กลไกอะไรที่ส่งผลต่อความสามารถของร่างกาย ในการกักเก็บออกซิเจน ก็จะทำให้เราฝึกฝน และสามารถดำฟรีไดฟ์ได้นานมากยิ่งขึ้น การทดลองปัจจัยในการกลั้นหายใจแต่ละแบบ การทดลองจะมุ่งเน้นไปที่ การวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่ลดลง (Bradycardia) เนื่องจากเป็นสิ่งที่สังเกตได้ง่ายเพื่อเปรียบเทียบว่าปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อ mammalian dive reflex มากกว่ากัน โดยวัดผลระหว่างกลั้นหายใจเป็นเวลา 30 วินาที   สภาวะการกลั้นหายใจ No. เปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ สภาวะดำน้ำ กับ ไม่ดำน้ำ 1 หายใจธรรมดา กับ การกลั้นหายใจในน้ำ เปรียบเทียบการหายใจกับการกลั้นหายใจ 2 หายใจธรรมดา กับ การกลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ 3 หายใจผ่านท่อ snorkel ในน้ำ กับ กลั้นหายใจในน้ำ ใบหน้าสัมผัสน้ำ 4 หายใจผ่านท่อ snorkel โดยหน้าไม่เปียกน้ำ กับ หายใจผ่านท่อ snorkel ในน้ำ 5 กลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ กับ กลั้นหายใจในน้ำเย็น 6 กลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ กับ กลั้นหายใจในน้ำธรรมดา อุณหภูมิ 7 ใช้เจลประคบร้อนบริเวณใบหน้า กับ ใช้เจลประคบเย็นบริเวณใบหน้า 8 กลั้นหายใจในน้ำอุ่น กับ กลั้นหายใจในน้ำเย็น   ผลการทดลอง กลั้นหายใจ แบบต่างๆ 30 วินาที สภาวะการกลั้นหายใจ No. เปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจ วินาทีที่15 – 30 (ครั้ง / นาที) สภาวะดำน้ำ กับ ไม่ดำน้ำ 1 การหายใจแบบธรรมดา กับ 76 การกลั้นหายใจในน้ำ 56.1 เปรียบเทียบการหายใจกับการกลั้นหายใจ 2…

อ่าน ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อการกลั้นหายใจมากที่สุด

ระบบน้ำหนักเพื่อการดำฟรีไดฟ์ (Weight System for Freediving)

วิธีการประเมินน้ำหนักตะกั่วเบื้องต้น และการจัดระบบน้ำหนักเพื่อการดำฟรีไดฟ์ ด้วยอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมคำแนะนำและข้อควรระวัง

อ่าน ระบบน้ำหนักเพื่อการดำฟรีไดฟ์ (Weight System for Freediving)

หลักพื้นฐานเกี่ยวกับการลอยตัว เพื่อการดำน้ำ

หลักวิทยาศาสตร์พื้นฐานเกี่ยวกับการลอยตัวในน้ำ เป็นความรู้ที่สำคัญมากในการทำกิจกรรมใต้น้ำทุกชนิด โดยเฉพาะ สำหรับผู้ที่ต้องการทำความเข้าใจเรื่องระบบการจัดการน้ำหนักสำหรับนักดำน้ำ ทั้งสคูบ้า (scuba diving) และฟรีไดฟ์ (freediving) ให้ได้อย่างลึกซึ้ง เพื่อที่จะได้จัดการกับสภาพการลอยตัวของตัวเอง ด้วยเครื่องมือต่างๆ นับตั้งแต่ ตะกั่วถ่วงน้ำหนัก, BCD, จนถึงปอดของตัวเราเอง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเพื่อแนะนำเพื่อนร่วมกิจกรรมหรือนักเรียนดำน้ำได้อย่างละเอียด ชัดเจน และถูกต้อง ตลอดจนการพัฒนาเทคนิคการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เราทำกิจกรรมดำน้ำได้อย่างสะดวก ราบรื่น ปลอดภัย ช่วยลดอันตรายหรือแก้ปัญหา เท่านั้น แต่ยังช่วยให้เราผ่อนคลายและสนุกสนานในการดำน้ำมากขึ้นด้วย หากรู้จักประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ การลอยตัว คือสภาพการจมลอยของวัตถุหนึ่งๆ ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มันอยู่ หากสิ่งแวดล้อมมีแรงยกวัตถุนั้นมากกว่าน้ำหนักของมัน วัตถุนั้นก็จะลอยอยู่ได้ “บน” สิ่งแวดล้อมนั้น (ที่ต้องหมายเหตุคำว่า “บน” ก็เพราะว่า ในการลอยตัวนั้น จะมีบางส่วนจมอยู่กับสิ่งแวดล้อมเสมอ เพราะส่วนที่จมในสิ่งแวดล้อมนั่นเองที่ทำให้เกิดแรงยกขึ้นมา) เราเรียกสภาพการลอยตัวแบบนี้ว่า มีการลอยตัวเป็นบวก แต่ถ้ามีแรงยกไม่มากพอ วัตถุนั้นจะจมลงไปอยู่ภายในสิ่งแวดล้อมนั้นทั้งชิ้น ส่วนจะจมลงไปเรื่อยๆ หรือหยุดนิ่งกลางสิ่งแวดล้อมได้ ก็ขึ้นกับว่า แรงยกนั้นเท่ากับหรือน้อยกว่าน้ำหนักของวัตถุ หากเท่ากันพอดี วัตถุจะหยุดนิ่งกลางสิ่งแวดล้อมนั้นได้ จับไปวางตรงไหนก็อยู่ตรงนั้น ไม่จมลงหรือลอยขึ้น (เมื่อไม่มีแรงอย่างอื่นมากระทำ) เรียกว่ามีการลอยตัวเป็นกลาง หากแรงยกน้อยกว่า วัตถุจะจมลงไปเรื่อยๆ เรียกว่ามีการลอยตัวเป็นลบ สำหรับนักดำน้ำ ในสถานการณ์ทั่วไป เราต้องการสภาพการลอยตัวที่เป็นกลาง ซึ่งก็คือ สภาพที่แรงยกเท่ากับน้ำหนักตัวของเราพอดี เพราะเราสามารถควบคุมการขึ้นลงด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องมีอิทธิพลจากแรงภายนอกมาทำให้เราต้องยุ่งยากขึ้น (มีบางสถานการณ์ที่เราอาจต้องการแรงยกหรือแรงกดมาช่วยด้วย เช่น เมื่อเจอกระแสน้ำแนวตั้ง ที่คอยกดเราให้จมลงหรือลอยขึ้นอย่างหนักหน่วง จนจัดการด้วยตัวเราเองล้วนๆ ทำได้ยาก) แต่เรื่องที่เราต้องเข้าใจเพิ่มเติมก็คือ ด้วยคุณสมบัติภายในร่างกายของมนุษย์เอง คือการมี ถุงลม คือ ปอด ที่หดขยายขนาดได้ ทำให้จุดที่เราจะมีสภาพการลอยตัวเป็นกลางนั้น ไม่ตายตัว แต่เปลี่ยนไปตามระดับความลึกด้วย เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ต้องค่อยๆ ทำความเข้าใจกันครับ โดยเริ่มต้นจาก ที่มาของ “แรงลอยตัว” หรือ “แรงยก” ก่อนจะไปต่อด้วยว่า ทำไมสภาพการลอยตัวของมนุษย์มีปอดอย่างเราจึงมีสภาพการลอยตัวที่ไม่ตายตัว แรงลอยตัว หรือ แรงยก เกิดขึ้นได้อย่างไร แรงยกที่ของเหลวดันวัตถุใดๆ เอาไว้นั้น เกิดขึ้นจากการที่วัตถุนั้นพยายามจะเข้าไปแทนที่ของเหลว (อธิบายแบบให้เห็นภาพนิดนึงว่า) ของเหลวก็จะมีแรงดันสู้กลับไป เท่ากับน้ำหนักของตัวเองในปริมาตรที่เท่ากับส่วนที่วัตถุนั้นพยายามจะเข้ามาแทนที่ หรืออธิบายแบบทางการนิดนึง ก็คือ แรงยกจะมีขนาดเท่ากับ น้ำหนักของของเหลวส่วนที่ถูกแทนที่นั้น หรือก็คือ น้ำหนักของของเหลวที่มีปริมาตรเท่ากับวัตถุส่วนที่จมอยู่ในของเหลว หากวัตถุมีความหนาแน่นน้อยกว่าของเหลว เมื่อวัตถุนั้นจมลงไปในของเหลว (คือ ไปแทนที่ของเหลว) เพียงปริมาณนิดเดียว ก็เกิดแรงยกจากของเหลวเพียงพอที่จะชนะน้ำหนักของวัตถุทั้งชิ้นแล้ว ทำให้วัตถุนั้นไม่จมลงไปในของเหลวอีกต่อไป หยุดอยู่เพียงแค่ส่วนที่แรงยกจากของเหลวจะพอดีกับน้ำหนักของมัน … ซึ่งเราเรียกสถานะแบบนี้ว่า…

อ่าน หลักพื้นฐานเกี่ยวกับการลอยตัว เพื่อการดำน้ำ

แบ่งปันประสบการณ์บ้านหมุนใต้น้ำ

แบ่งปันประสบการณ์บ้านหมุนใต้น้ำ เวลาดำน้ำอย่าซ่า ยาวหน่อยอยากให้อ่าน Day1 เมื่อวันเสาร์มีโอกาสได้ไปดำ Scuba ที่ชุมพร ก็ดำน้ำ dive 1 ไม่เป็นไร พอขึ้น dive 2 อาการมาเลยจ้า คือ ขึ้นมาถึงผิวน้ำปุ๊บอ้วกหนักมาก มากจนไม่เหลืออาหารตอนกลางวันเลย จนต้อง skip dive 3 อาการที่เกิดขึ้นคือ หลับตาไม่ได้ กินอะไรอ้วกหมด ภาพตรงหน้าคือหมุนหมด มือชา เกร็ง ไม่มีแรง เหมือนเวลาเมาเหล้าอ่ะ คิดว่าแฮงค์ทรมานขนาดไหน อาการนี่คูณ 5 ไปเลยจ้า หมดแรง ขาอ่อนแรง ต้องมีคนช่วยพยุง ถอดเวทสูทเองยังถอดไม่ได้เลย กินยาแก้เมาเรือรอดูอาการไปอีกคืน (เพราะถ้าเมาเรือ เมาบก อีกวันต้องหาย) Day2 ตื่นขึ้นมา คิดว่าตัวเองหายแล้วเพราะเหลือดำน้ำอีก 2 dive เลยลองเดิน เชี่ย!!! เอียงจะล้ม เป็นไรวะเนี่ย เลยรู้ตัวเองละว่าไม่ไหว เลยนอนต่อไปอีก โชคดีในกรุ๊ปที่ไปดำด้วยกันมีหมอมาด้วย เลยเขียนใบให้ไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ตอนนั้นยังอ้วกไม่หยุด (ยังไม่ได้กินอะไรเพิ่ม เพราะกินแล้วอ้วกตลอด) กินแต่ยาแก้เมาเรือประคองอาการ จนมาถึงรพ. เข้าห้องฉุกเฉินตอนนั้นหมดแรง มือเย็น ตัวซีดเหลือง ความดันสูง น้ำตาลตก หมอก็จะมีการทดสอบตา หมอแจ้งว่าตาเรากระตุก ทำให้เราบ้านหมุน ส่วนจะเป็นข้างไหนต้องไปตรวจอีกที มีการเจาะเลือดให้ยา (ตอนให้ยาคือทรมานมาก มันแสบไปทั้งตัว น้ำตาไหลกันเลยทีเดียว) ตอนนั้นก็รอดูอาการ หมอยืนยันต้องการให้เราแอดมิตที่รพ. แต่เราก็ยืนยันว่าต้องการกลับกทม. สรุปหมอก็ต้องยอมในความดื้อของเรา Day3 ยังอึน เอียงๆ เดินไกลๆ ไม่ได้ เดินไม่ตรง Day4 วันนี้มาตรวจแบบละเอียดกัน คุณหมอที่รพ.ภูมิพล คือตรวจละเอียดมาก มีการทดสอบหลายอย่าง หลายอย่างที่คิดว่าตัวเองทำได้กลับทำไม่ได้ แต่หมอบอกว่าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นจากเราขึ้นสู่ผิวน้ำเร็วเกินไป ต้องช้าลงกว่านี้ ทำให้แรงดันในหูปรับไม่ทัน อีกอย่างคือไม่ได้เคลียร์หูบ่อยๆ ด้วย วันนี้หมอบอกว่าเราเป็นโรคการบาดเจ็บจากแรงดันต่อหู (Otitic Barotrauma) แล้วทำให้มีอาการบ้านหมุนแบบ Alternobaric vertigo Alternobaric vertigo (reverse squeeze) เกิดจากอากาศในหูชั้นกลางขยายตัวขณะดำขึ้น แต่ Eustachian tube ไม่เปิดให้อากาศระบายออกมาก จนเยื่อแก้วหูฉีกขาดได้ ซึ่งพบได้น้อย อาจเป็นภาวะแทรกซ้อนต่อมาจาก middle ear squeeze ขณะดำน้ำลงหรือการใช้ nasal decongestant แล้วยาหมดฤทธิ์ก่อนที่จะดำน้ำขึ้น จะมีอาการเวียนหัวบ้านหมุน…

อ่าน แบ่งปันประสบการณ์บ้านหมุนใต้น้ำ