แบ่งปันประสบการณ์บ้านหมุนใต้น้ำ

แบ่งปันประสบการณ์บ้านหมุนใต้น้ำ เวลาดำน้ำอย่าซ่า ยาวหน่อยอยากให้อ่าน Day1 เมื่อวันเสาร์มีโอกาสได้ไปดำ Scuba ที่ชุมพร ก็ดำน้ำ dive 1 ไม่เป็นไร พอขึ้น dive 2 อาการมาเลยจ้า คือ ขึ้นมาถึงผิวน้ำปุ๊บอ้วกหนักมาก มากจนไม่เหลืออาหารตอนกลางวันเลย จนต้อง skip dive 3 อาการที่เกิดขึ้นคือ หลับตาไม่ได้ กินอะไรอ้วกหมด ภาพตรงหน้าคือหมุนหมด มือชา เกร็ง ไม่มีแรง เหมือนเวลาเมาเหล้าอ่ะ คิดว่าแฮงค์ทรมานขนาดไหน อาการนี่คูณ 5 ไปเลยจ้า หมดแรง ขาอ่อนแรง ต้องมีคนช่วยพยุง ถอดเวทสูทเองยังถอดไม่ได้เลย กินยาแก้เมาเรือรอดูอาการไปอีกคืน (เพราะถ้าเมาเรือ เมาบก อีกวันต้องหาย) Day2 ตื่นขึ้นมา คิดว่าตัวเองหายแล้วเพราะเหลือดำน้ำอีก 2 dive เลยลองเดิน เชี่ย!!! เอียงจะล้ม เป็นไรวะเนี่ย เลยรู้ตัวเองละว่าไม่ไหว เลยนอนต่อไปอีก โชคดีในกรุ๊ปที่ไปดำด้วยกันมีหมอมาด้วย เลยเขียนใบให้ไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ตอนนั้นยังอ้วกไม่หยุด (ยังไม่ได้กินอะไรเพิ่ม เพราะกินแล้วอ้วกตลอด) กินแต่ยาแก้เมาเรือประคองอาการ จนมาถึงรพ. เข้าห้องฉุกเฉินตอนนั้นหมดแรง มือเย็น ตัวซีดเหลือง ความดันสูง น้ำตาลตก หมอก็จะมีการทดสอบตา หมอแจ้งว่าตาเรากระตุก ทำให้เราบ้านหมุน ส่วนจะเป็นข้างไหนต้องไปตรวจอีกที มีการเจาะเลือดให้ยา (ตอนให้ยาคือทรมานมาก มันแสบไปทั้งตัว น้ำตาไหลกันเลยทีเดียว) ตอนนั้นก็รอดูอาการ หมอยืนยันต้องการให้เราแอดมิตที่รพ. แต่เราก็ยืนยันว่าต้องการกลับกทม. สรุปหมอก็ต้องยอมในความดื้อของเรา Day3 ยังอึน เอียงๆ เดินไกลๆ ไม่ได้ เดินไม่ตรง Day4 วันนี้มาตรวจแบบละเอียดกัน คุณหมอที่รพ.ภูมิพล คือตรวจละเอียดมาก มีการทดสอบหลายอย่าง หลายอย่างที่คิดว่าตัวเองทำได้กลับทำไม่ได้ แต่หมอบอกว่าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นจากเราขึ้นสู่ผิวน้ำเร็วเกินไป ต้องช้าลงกว่านี้ ทำให้แรงดันในหูปรับไม่ทัน อีกอย่างคือไม่ได้เคลียร์หูบ่อยๆ ด้วย วันนี้หมอบอกว่าเราเป็นโรคการบาดเจ็บจากแรงดันต่อหู (Otitic Barotrauma) แล้วทำให้มีอาการบ้านหมุนแบบ Alternobaric vertigo Alternobaric vertigo (reverse squeeze) เกิดจากอากาศในหูชั้นกลางขยายตัวขณะดำขึ้น แต่ Eustachian tube ไม่เปิดให้อากาศระบายออกมาก จนเยื่อแก้วหูฉีกขาดได้ ซึ่งพบได้น้อย อาจเป็นภาวะแทรกซ้อนต่อมาจาก middle ear squeeze ขณะดำน้ำลงหรือการใช้ nasal decongestant แล้วยาหมดฤทธิ์ก่อนที่จะดำน้ำขึ้น จะมีอาการเวียนหัวบ้านหมุน…

อ่าน แบ่งปันประสบการณ์บ้านหมุนใต้น้ำ

แชร์ประสบการณ์เกือบตายจาก Decompression Sickness (DCS) หรือ โรคน้ำหนีบ

ให้อ่านและอย่าทำตามโดยเด็ดขาด จากโพสก่อนหน้า(บ้านหมุนใต้น้ำ) : ได้ไปหาหมอมาทั้งหมด 3 รพ.แล้ว การวินิจฉัยส่วนใหญ่ คือ จะเป็นเกี่ยวกับหู มีหลายคนอินบ๊อกซ์มา หลายคนมากบอกว่าแนะนำให้เราเข้ารพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้าโดยด่วนที่สุด โดยเฉพาะคุณนัท ที่โทรมาอธิบายว่าเคยเป็นเหมือนกัน แต่อาการแสดงน้อยกว่าเรา อยากให้รีบไปตรวจและได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด จึงรีบไปตอนเย็นวันนั้นเลย พอถึงรพ.แจ้งว่าดำน้ำมา เค้าจะนำตัวเราเข้าสู่ห้อง ICU ให้ Oxygen โดยทันที มีการซักประวัติเยอะมากกก (ถ้าเอาไดฟ์คอมมาจะดีมาก) ทดสอบเบื้องต้นเรื่องการทรงตัว ประสาทสัมผัส มีเอ็กซเรย์ปอด, EKG วัดคลื่นหัวใจ, วัดชีพจร, ตรวจเลือด CBC แต่กรีนจะมีปัญหาเรื่องความดันสูง (ปกติจะไม่เป็น) หมอเลยแจ้งว่าต้องให้เราเข้าห้องแชมเบอร์ หรือ ห้องปรับแรงดันบรรยากาศสูง (Hyperbaric Chamber) ระหว่างการตรวจคุยกับคุณหมอ คุณหมอขอดู dive computer แต่เราบอกว่าไม่มี คุณหมอบอกไดฟ์คอมสำคัญต่อชีวิตมากเลยนะ เพราะมันจะเตือนเราทุกๆ อย่าง หลังจากนี้สอยแล้วค่ะ เข็ดมากๆๆๆๆๆๆ Dive Computer = ชีวิต ก่อนเข้าห้อง ก็จะมีทำแบบทดสอบความจำ ก่อนเข้าห้อง ถอดเครื่องประดับทุกชนิด สาวๆ แนะนำใส่ sport bra จะได้ไม่ต้อง no-bra นะคะ คอนแทคเลนส์สายตาสามารถใส่เข้าไปเฉพาะชนิด soft lens ของมีค่าแนะนำไว้ในรถ หรือ ไม่ควรเอามานะคะ ถ้ามาคนเดียว สามารถนำน้ำเปล่าเข้ามาจิบได้ค่ะ ใครติดมือถืองดเล่นยาวๆ ค่ะ ได้ใช้ชีวิตในยุค 90 บรรยากาศในห้อง ครั้งที่ 1 (6 ชั่วโมง นิดๆ) เย็นสบายตามราคา เป็นเตียงผู้ป่วย มีจอทีวีให้ดู เลือกหนังได้ค่ะ แต่เจ้าหน้าที่จะกดรีโมทให้นะคะ ตอนแรกจะมีการปรับระดับอยู่ที่ความลึก 60 ฟุต ภายใน 3 นาที ใครเคลียร์หูยากอาจจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่นิดนึงนะคะ แต่กรีนเคลียร์หูง่ายผ่านไปด้วยดี หลังจากนั้นก็ทำตามขั้นตอนมีการพัก 5 นาทีบ้าง 15 นาทีบ้าง โดยคุณหมอจะคอยสังเกตอาการเราอยู่เรื่อยๆ ค่ะ *ส่วนตัวนะคะ อยู่ดีๆ รู้สึกอึดอัด แพนิคหน่อยตอนท้ายๆ แล้วแต่คนนะคะ ถ้าเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ทันทีค่ะ ปล.ในห้องมีห้องน้ำนะคะ หลังจากการทำครั้งที่ 1 เหมือนวิ้งๆ เล็กน้อย สิวผุดขึ้นมาเต็มเลยค่ะ 555+ บางคนบอกหน้าใส แล้วแต่คนเลยค่ะ โดยรวมอาการดีขึ้นแต่ยังไม่ 100% มีการทำแบบทดสอบครั้งแรกอีกครั้ง…

อ่าน แชร์ประสบการณ์เกือบตายจาก Decompression Sickness (DCS) หรือ โรคน้ำหนีบ

รีวิวเรือจมสันทัดสมุทร 4

สันทัดสมุทร 4 เป็นเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ขนาดไม่ใหญ่มาก ยาว 79 ม. กว้าง 12 ม. จมในระดับความลึกประมาณ 35-40 ม. สาเหตุที่จมก็เพราะเผชิญกับคลื่นลมที่มีความรุนแรง จมวันเดียวกันกับเรือหลวงสุโขทัยนั่นแหละครับ การที่เราจะไปดำน้ำที่เรือสันทัดสมุทร 4 ไม่ง่ายอย่างที่ทุกคนเข้าใจ แต่ก็ไม่ยากอย่างที่ทุกคนคิด เดี๋ยวผมจะมาอธิบายให้เพื่อนๆได้ฟังกันครับ ทริปนี้ผมไปกับเรือชุมพรสคูบาของครูก็อต เป็นเรือน้องใหม่ลำใหญ่ของชุมพร เรือกว้างขวางนั่งสบาย มีห้องซาลูนติดแอร์เย็นฉ่ำให้ด้วยนะ เราออกเดินทางกันแต่เช้า ด้วยความที่เข้าใจว่ามันจมอยู่หลังเกาะแรด แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่อย่างที่เราคิดเลย เพราะจุดที่เรือจมนั้น อยู่เกือบกึ่งกลางเส้นทางระหว่างปากน้ำชุมพรกับเกาะเต่า เรือใช้เวลาเดินทางเกือบ 2:30 ชั่วโมง ถือว่านานพอสมควรทีเดียว พอไปถึงจุดหมาย ทีมเรือวางแผนส่งหน่วยกล้าตายลงไปผูกเชือกทุ่นให้ก่อน ครูก็อตบอกว่าเคยผูกเอาไว้แล้ว แต่มันขาด อาจจะโดนตัดหรือไม่ก็เชือกเล็กจนเกินไป เมื่อถึงเวลา ทุ่นพร้อม คนพร้อม โดดสิครับรออะไร เราค่อยๆ ไต่ลงตามเชือกไปสู่ความลึก จากระดับความลึกตั้งแต่ผิวน้ำไปจนถึงความลึกประมาณ 10 ม. น้ำมีตะกอนเยอะพอสมควร ในใจก็คิดว่าเอาแล้วกรู!!! เจอน้ำราดหน้าอีกแล้ว แต่พอเราผ่านความลึกตั้งแต่ 10 ม.ลงไป น้ำกลับใสอย่างเหลือเชื่อ ลงตามสายทุ่นไปอีกนิด เงาทะมึนของเรือสันทัดสมุทร 4 ก็ปรากฏตัวขึ้น พร้อมกับขนาดอันใหญ่โตของเรือก็เผยโฉมให้เราได้เห็น สิ่งที่ผมเจอที่เรือสันทัดสมุทร 4 ก็คือฝูงปลาอันมากมายมหาศาล แหวกว่ายไปมาเยอะแยะเต็มไปหมด บางครั้งมันเยอะมากๆ จนบดบังตัวเรือไปจนหมด ไม่ว่าจะเป็นฝูงปลาสากเหลือง ปลาสากดำ ฝูงปลากะพง ปลาหูช้าง ปลาข้างเหลือง เเละยังแอบเห็นปลาเก๋าตัวใหญ่ๆ อีกหลายตัว ไม่น่าเชื่อว่าเพียงแค่ไม่กี่เดือน จะมีฝูงปลามากมายขนาดนี้ และด้วยขนาดตัวเรือที่ยาว 79 ม. กว้างกว่า 12 ม. เราจึงไม่สามารถดำจบในไดฟ์เดียวได้เลยครับ การมาดำน้ำที่นี่แนะนำว่าต้องอย่างน้อย 2 ไดฟ์ ขอบคุณครูก็อต ครูป๊อก และน้องๆ ทีมงานเรือชุมพรสคูบา ที่ช่วยดูแลและอำนวยความสะดวกให้ เดี๋ยวได้จังหวะดีๆ จะไปจัดอีกครั้ง เพื่อนๆ ท่านใดสนใจ ติดต่อที่ครูก็อตได้โดยตรง ทราบข่าวว่า 27 พ.ด.นี้จะไปดำที่เรือจมสันทัดสมุทร 4 อีกครั้งครับ เดี๋ยวผมทิ้งเบอร์โทรเอาไว้ให้นะ ครูก็อต ชุมพรสคูบา: 095-2677929 เครดิตภาพโดย: Pongsakorn Pruktara ลิงก์ต้นเรื่อง: facebook.com/Jakkee Wongkeawprasert

อ่าน รีวิวเรือจมสันทัดสมุทร 4

มันไม่ใช่เรื่องสุดวิสัย

#มันไม่ใช่เรื่องสุดวิสัย 20.7.60 สัปดาห์ที่แล้วฉันกับเพื่อนสนิทไปเรียนดำน้ำลึก (scuba diving) กันมา ในเบื้องแรก สิ่งที่ดูน่ากลัวที่สุด สำหรับคนที่รู้แค่ทฤษฎี แต่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ตรง คือ ภาวะประเภทที่ทำให้ต้องเข้าโรงพยาบาล อย่างเช่น Decompression sickness, ปอดแตก (pneumothorax) เป็นต้น คิดแล้วรู้สึกปอดแหกหน่อยๆ ต่อเมื่อได้ลงน้ำ เราจึงประจักษ์ว่า โอกาสเกิดภาวะร้ายแรงแบบนั้น มันมีน้อยยยจริงๆ … มันไม่ได้เกิดกับใครง่ายๆ คล้ายๆ กับที่ว่า คนหล่อหรือสวยจัดๆ ก็มีแค่หยิบมือของสังคม … และมักไม่ได้ตกมาเป็นแฟนเรา ตอนเรียนภาคทฤษฎี ข้อสอบข้อหนึ่งถามว่า “ถ้าหากช่วงดำน้ำลงไป เกิดอาการหูอื้อ จัดการไม่ได้ จะต้องทำอย่างไร?” ฉันกับเพื่อน ลังเลระหว่างคำตอบสองข้อ 1. หยุดอยู่กับที่ แล้วเคลียร์หูจนกว่าจะได้ ค่อยลงต่อ 2. ลอยขึ้นไปสูงขึ้น 1-2เมตร แล้วเคลียร์หูจนกว่าจะได้ ค่อยลงต่อ เราไม่แน่ใจว่าหมายถึง ได้พยายามเคลียร์แล้วแต่ไม่สำเร็จ หรือ สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อเจอปัญหานี้ ครูเฉลยข้อ 2. ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อไป หากข้อ 1. ไม่ได้ผล เราสองคนจำวิธีแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้แม่น เพราะครูเน้นมากว่า ต้องเคลียร์หูให้ได้ เพราะถ้าไม่ได้จะเจ็บ …. ซึ่งจะเจ็บไปตลอด คงไม่ใช่ตลอดชีวิต แต่อาจจะเป็นตลอดเวลาเกือบชั่วโมงในแต่ละไดฟ์ (ทั้งหมด 4 ครั้ง ใน 2 วัน) หรือตลอดสัปดาห์ พวกเราไม่ได้ถามละเอียดไปกว่านั้น เพราะในเมื่อเรามีวิธีรับมือ ก็ไม่ต้องกังวลอะไรเกินไป เราสอบในทะเลครั้งแรก ที่เกาะง่ามใหญ่ ทักษะที่เคยฝึกในสระว่ายน้ำลึก 2 เมตร เรามาทำมันที่ 12 เมตรใต้ทะเล แต่เพียงไม่กี่เมตรจากผิวน้ำ ทั้งฉันและเพื่อนก็รู้สึกปวดหู มันไม่ใช่แค่การอื้อแบบเวลาเครื่องบินขึ้น แต่มันคือความรู้สึกปวดจี๊ด เราพยายาม “เคลียร์หู” อยู่ตลอด – เบ่งลมออกหู โดยหายใจออกทางจมูกที่ถูกบีบไว้ (Valsalva Maneuver) แต่อาการปวดก็แหลมเสียดขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะทางที่เราดิ่งลงไปเบื้องล่าง ทั้งฉันและเพื่อนพยายามส่งสัญญาณมือว่า “ไม่โอเค” แล้วชี้ที่หู ครูรับรู้ แต่ก็เพียงทำท่าบีบจมูกเบ่งลมออกหูตอบ … ก่อนจะพาเราทั้งคู่ลงลึกไปอีก มืออูมๆ จากร่างอวบอ้วนราวร้อยกิโลของเขา ดึงเราลงไปห่างจากผิวน้ำเรื่อยๆ ไม่ว่าเราจะพยายามแค่ไหน ที่จะบอกเค้าว่าหูเราปวด ปวด ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ผลลัพธ์สุดท้าย ทุกครั้งเวลาขึ้นมาถึงผิวน้ำ คือ เลือดกำเดา…

อ่าน มันไม่ใช่เรื่องสุดวิสัย
cover image of Mares gears in white

Mares แบรนด์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน คู่กับวงการดำน้ำโลก

เมื่อเอ่ยถึงแบรนด์อุปกรณ์ดำน้ำที่เก่าแก่ อยู่คู่กับวงการดำน้ำมาอย่างยาวนาน Mares จะเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่เรานึกถึง แม้อาจจะมีบางช่วงเวลาที่ชื่อเสียงของแบรนด์นี้แผ่วเบาลง โดนแบรนด์อื่นเป็นที่แซงหน้าไปบ้าง ก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่นักดำน้ำในยุค 10-20 ปีที่แล้วจะจำได้อย่างแน่นอน ก็คือ Mares เป็นผู้ผลิตฟินที่มีประสิทธิภาพสูงรายหนึ่งของโลก อย่างไรก็ตาม คงมีไม่กี่คนที่รู้ว่า Mares และ Ludovico Mares (หรือ Ludwig) ผู้ก่อตั้ง Mares ยังมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีอุปกรณ์ดำน้ำอีกหลายอย่าง ที่เราอยากเล่าให้คุณฟัง หน้ากากดำน้ำชิ้นแรกของโลก ในยุคก่อนจะมีการประดิษฐ์อุปกรณ์ดำน้ำลึกโดย Jacques Cousteau (อย่างที่เรามักจะได้รู้จักในระหว่างการเรียนดำน้ำขั้นต้น เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การดำน้ำลึก) นั้น มนุษย์เราก็ลงดำน้ำหาสิ่งต่างๆ จากก้นทะเลขึ้นมาใช้ประโยชน์นานแล้ว ไม่ว่าจะเป็น จับปลา หาหอย หามุก และฟองน้ำ เป็นต้น ในสมัยนั้นมีการพัฒนา “แว่นสองตา” ลักษณะคล้ายกับที่ปัจจุบันคือ แว่นตาว่ายน้ำ หรือ goggles ขึ้นมาโดยการขัดเปลือกหอยบางชนิดจนมีความใสระดับหนึ่ง พอใช้งานได้ แต่แว่นสองตาแบบนี้ ใช้ดำน้ำได้ไม่ลึกมาก แค่ไม่กี่เมตรจากผิวน้ำเท่านั้น เพราะหากลงลึกกว่านั้นจะประสบกับปัญหา eye squeeze ถึงขั้นเส้นเลือดฝอยในตาแตก เพราะไม่สามารถปรับความดันอากาศในช่องแว่นตาได้ ราวปี ค.ศ. 1920 Ludwig ในวัย 22 ปี หลังปลดประจำการจากกองทัพ เขาหยิบเอาทักษะและประสบการณ์การดำน้ำที่ได้มาจากกองทัพ และทักษะการยิงปลาที่เคยฝึกฝนมาในสมัยวัยรุ่น มาประกอบอาชีพจับปลาขาย ที่เมือง Pula ประเทศโครเอเชีย ริมทะเลเอเดรียติก (Adriatic) ที่นี่เองที่เขาได้ทดลองประดิษฐ์หน้ากากดำน้ำขึ้น โดยใช้ กระจกกลมใส กับ ยางในของล้อรถยนต์ เพื่อใช้ในการดำน้ำหาปลา ซึ่งทำให้เขาเห็นภาพใต้น้ำชัดขึ้น และลงดำน้ำได้ลึกขึ้นจากการที่สามารถ equalize อากาศในหูและหน้ากากได้ ผลลัพธ์ก็คือ เขาลงจับปลาได้จำนวนมากขึ้นมาก จนมีชาวประมงคนอื่นได้ทราบข่าวและมาขอให้เขาทำหน้ากากดำน้ำให้หลายต่อหลายคน ต่อมาอีกหลายปี สิ่งประดิษฐ์ของเขาชิ้นนี้ก็ค่อยๆ ได้รับการปรับปรุงต่อยอดมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นหน้ากากดำน้ำแบบที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ฟินที่ใช้วัสดุ 2 ชนิด หลังจากที่ Ludwig ได้ก่อตั้งโรงงาน Mares Sub ขึ้นในปี ค.ศ. 1949 (ตอนที่เขาอายุ 50 ปีแล้ว) ก็มีการพัฒนาอุปกรณ์ดำน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือมีคุณสมบัติต่างๆ เพิ่มขึ้น ใช้งานได้ดีขึ้น ออกมาเรื่อยๆ ในปี ค.ศ. 1973 Mares ได้พัฒนาเทคนิคการผลิตฟินที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญจากฟินในอดีตมาเป็นต้นแบบของฟินในยุคนี้ นั่นคือ การผลิตฟินจากวัสดุ 2 ชนิด ซึ่งทำให้สามารถเลือกใช้วัสดุให้เหมาะกับฟังก์ชั่นที่ต่างกันของแต่ละจุด คือ ใบฟิน…

อ่าน Mares แบรนด์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน คู่กับวงการดำน้ำโลก

Role Model ที่นักดำน้ำรุ่นพี่ควรทำให้เด็กๆดู

สิ่งที่นักดำน้ำระดับ Dive Master หลายๆคนมักจะถูกครูสอนดำน้ำพูดกรอกหูให้ฟังอยู่เป็นประจำก็คือ ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำน้ำ หรือการทำตัวเป็น Role Model ให้น้องนักดำน้ำรุ่นใหม่ทำตาม แล้ว Role Model ที่ว่านั่นมันคืออิหยังวะ? ทำยังไงถึงจะเป็นต้นแบบดีๆได้ อันที่จริง ถ้าจะให้เหลาทั้งหมดก็คงต้องจับเข่าคุยกันทั้งคืน เอาเป็นว่า ทำให้ได้ซักข้อสองข้อตามลิสต์ด้านล่างนี้ก็พอแล้วล่ะ ติด Snorkel ไว้กับหน้ากากทุกครั้งที่ดำน้ำ แม้ว่าสิ่งนี้มันจะทำให้เราดูไม่คูลไปบ้าง แต่มันจัดเป็นอุปกรณ์มาตรฐานชิ้นหนึ่งของ scuba เลยทีเดียว ในเวลาคับขันที่อากาศในถังหมด (บนผิวน้ำ) snorkel จะกลายเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตเราได้เลย Role Model ที่ดีควรติด snorkel ไว้ในตำแหน่งซ้ายมือของหน้ากากให้คุ้นชิน หากเกิดสถานการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมาเราก็ยังอุ่นใจมากกว่าไม่มีอะไรเลย เหลือก็ดีกว่าขาดแหละ จริงไม๊ ………………….. ยกตัวอย่างเช่น ในวันที่โชคไม่ดี คลื่นลมแรงพัดนักดำน้ำไปไกล เกิดพายุฝนฟ้ากระหน่ำ เรือมองเราไม่เห็น พลัดหลงกันไป ต้องลอยคอเท้งเต้งกลางทะเลนานนับชั่วโมง ท่ามกลางคลื่นลมพายุฝน เราจะอาศัยบุญเก่าจากอากาศที่เหลือในแทงก์คงใช้ได้ไม่นานก็หมด แต่ในเวลาคับขันเช่นนี้ snorkel สามารถช่วยท่านได้ ………………….. หรืออย่างน้อยก็เอาไว้ใช้ตอนเริ่มต้นไดฟ เพื่อหายใจว่ายบนผิวน้ำไปยังจุดดำน้ำ หรือเอาไว้หายใจบนผิวน้ำระหว่างรอนักดำน้ำคนอื่นลงมาครบ มันก็ช่วยประหยัดอากาศได้เยอะเลย ตอนท้ายไดฟเราจะมีอากาศเหลือมากกว่าใครๆ เป็นที่พึ่งพาของสาวๆได้ หล่อไปอีก ………………….. ใส่หน้ากากตลอดเวลาที่ดำน้ำจนกว่าจะกลับขึ้นเรือ แต่ถ้าคิดว่ามันทำให้สาวๆมองเห็นหน้าเราไม่ชัด ก็ต้องห้อยคอไว้เสมอ! อย่าเอาแปะไว้ที่หน้าผากเด็ดขาด วันไหนซวยหน้ากากตกน้ำหายไปไม่รู้ตัว นอกจากเสียเงินซื้อหน้ากากใหม่แล้วยังเสียหน้าอีกด้วย นี่เตือนแล้วนะ (ทำเสียงแบบเชฟป้อม)ตอนที่เราเป็นนร. Open water ครูมักพูดเสมอว่า “ให้ใส่หน้ากากตลอดเวลาที่อยู่ในน้ำ หากไม่ต้องการใส่ ให้คล้องคอไว้ อย่าเอาคาดหน้าผาก” เพราะนอกจากจะช่วยให้ไม่ให้หน้ากากหล่นน้ำหายไปแล้ว ในวันที่ฟ้าฝนไม่เป็นใจ คลื่นสูงจนซัดน้ำทะเลเข้าหน้าเข้าตาในเวลาที่เราต้องอยู่บนผิวน้ำ การใส่หน้ากากจะช่วยไม่ให้เราสำลักน้ำจนน้ำมูกไหลย้อย เสียลุค role model หมด ………………….. Predive Safety Check ยังจำตอนที่เรียนดำน้ำครั้งแรกได้ไหม ครูจะให้เราท่องประโยคสั้นๆ แต่จำยากๆ ว่า Begin With Review And Friend พร้อมกับการตรวจเช็คความพร้อมของอุปกรณ์ดำน้ำก่อนที่ลงดำน้ำในทุกๆไดฟ ซึ่งส่วนใหญ่หลังเรียนจบก็แทบไม่เห็นใครทำกันเลย นักดำน้ำมักจะมองข้ามเรื่องนี้ไปเพราะเห็นว่ามีน้องๆสตาฟเรือที่น่ารักช่วยจัดการดูแลทุกอย่างให้เราหมดแล้ว แต่นั่นมันผิดถนัดเลยล่ะ เพราะมันสำคัญกับชีวิตของเรามากๆเลยนะ เอาล่ะ มาย้อนความทรงจำไปพร้อมกันดีกว่า Begin – BCD ให้ตรวจเช็คสภาพความพร้อมของ BCD ดังนี้ – เช็คว่าต่อสาย low pressure hose เข้ากับท่อเรียบร้อย เวลาดึงสายต้องแน่นไม่หลุดออกง่ายๆ – เติมลมเข้าให้เต็มเสื้อจนดัมพ์วาล์วทำงาน เพื่อเช็คว่าดัมพ์วาล์วยังเวิร์ก – ลองฟังเสียงลมว่ารั่วไหม…

อ่าน Role Model ที่นักดำน้ำรุ่นพี่ควรทำให้เด็กๆดู

Hypoxia – อาการขาดออกซิเจนขณะดำน้ำ

เกริ่นนำ: เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่คุณ Wobbegong เล่าไว้ในเว็บ siamscubadiving.com และทาง FreedomDIVE เห็นว่ามีประโยชน์มาก จึงเอามาฝากให้นักดำน้ำทุกท่านได้อ่านกัน เมื่อเร็วๆ นี้ มีเหตุการณ์ประเภท Near Miss (เกือบจะเป็น Accident) เกิดขึ้นกับตัวเองมาครับ.. หลังจากได้คุยกับผู้รู้ เลยรู้ว่าจริงๆ แล้วเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง ตอนนี้ ก็เลยอยากมาบอกเล่าให้กับเพื่อนๆ ได้รับทราบกัน จะได้ระวังไว้ และรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น หากเกิดขึ้นกับตัวเอง เหตุการณ์เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2546 ที่ผ่านมานี่เองครับ ผมกับเพื่อนๆ อีกกลุ่มหนึ่ง ได้นัดกันไปดำน้ำที่ หินเพิง จ. ระยอง เพื่อทำการตัด และเก็บอวนที่เข้ามาติดอยู่ที่นั่นออก ในวันนั้น เดิมทีกำหนดกันไว้ว่าจะทำงานเก็บอวน 2 ไดฟ์ แล้วไดฟ์ที่ 3 จะไปดำเที่ยวกันที่อื่น ไดฟ์แรก ลงดำที่กองหินเพิงด้านตะวันออก พบเศษอวนขนาดเล็กบ้างประปราย ส่วนใหญ่เป็นอวนที่เริ่มเก่าแล้ว น้ำเริ่มซัดมาม้วนรวมกันเป็นมัดใหญ่ ทุกคนที่ลงดำน้ำ ใช้มีด กรรไกร และคัทเตอร์ ช่วยกันตัดให้เล็กลง ม้วนเป็นก้อน ผูกไว้ด้วยเชือก และใช้ถุงพลาสติก ทำเป็น Liftbag เพื่อปล่อยให้ลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ และจะใช้เรือตามเก็บภายหลัง ในไดฟ์นี้ ไม่มีปัญหาเท่าไร เศษอวนไม่มาก เราดำน้ำทั้งหมดประมาณ 30 – 45 นาที ความลึกจำไม่ได้ครับ ต้องไปเอาไดฟ์คอมมาดูอีกทีแล้วจะบอก หลังจากนั้น ก็ขึ้นมาทานข้าวกัน ประมาณบ่ายโมงนิดๆ ก็ลงดำไดฟ์ที่ 2 กัน ที่หินเพิงกองกลาง (หินเพิง มีเรียงกันอยู่ 3 ยอด แต่ละยอดห่างกันประมาณ 15 – 20 เมตรได้) กองกลางนี้ ยอดกองอยู่ลึกที่สุด เรือต้องใช้ Sounder กวาดหา ที่นี่ พบอวนมากกว่าที่คาดไว้ Liftbag ที่ทำจากถุงพลาสติกที่นำลงน้ำไปด้วย หมดก่อนที่จะเอาอวนขึ้นได้หมด รวมทั้งพบอวนผืนใหญ่ ซึ่งเมื่อแกะออกจากกองหิน และแนวปะการังแล้ว รวมกันเป็นก้อนสูงเกือบเท่าเอวผู้ใหญ่ ใช้ถุงพลาสติกผูกเข้าไปแล้ว 6 ถุง ก็ยกไม่ขึ้น เราจึงทดลองใช้ Dive Sausage ผูกเข้าไป เพื่อให้ช่วยในการยก ครั้งแรกเกือบสำเร็จ เชือกที่ผูกไว้ขาดไปก่อน ผมเลยเอา Sausage ของผม ผูกติดเข้าไปใหม่ เติมอากาศ…

อ่าน Hypoxia – อาการขาดออกซิเจนขณะดำน้ำ

การดำน้ำ ช่วยให้ใช้ชีวิตเป็น และเข้าใจชีวิตมากขึ้น

จะว่าไปแล้ว ทักษะทุกอย่างในการใช้ชีวิต เมื่อเราทำเป็นประจำจนเกิดความเชี่ยวชาญ และพัฒนากลายเป็นความคุ้นเคย ย่อมน่าจะส่งผลให้เราได้รับประโยชน์อื่นๆ นอกเหนือจากทักษะที่เพิ่มขึ้น เราจึงสงสัยใคร่รู้ว่า สำหรับการดำน้ำ Scuba นั้น จะมีผลดีในด้านอื่น สำหรับผู้ที่นิยมชมชอบไปดำน้ำเป็นร้อยครั้งพันครั้งหรือไม่ ซึ่ง AWAY ได้รับเกียรติจาก ดร.พิชิต เมืองนาโพธิ์ หรือครูเบิ้ม นักจิตวิทยาการกีฬา และยังเป็น dive instructor ที่มีประสบการณ์ ในการดำน้ำมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี มาร่วมสนทนาพูดคุยในประเด็นที่เราสงสัย “หากจะถามว่า ทักษะในการดำน้ำมีผลต่อวิถีการใช้ชีวิต ช่วยให้ใช้ชีวิตได้ดีขึ้นหรือไม่นั้น คงต้องยกตัวอย่างในเรื่องของคนที่ขับรถ กับคนที่ไม่ได้ขับรถก่อน เพราะคนที่ขับรถ ย่อมต้องมีการวางแผนการเดินทางใช่ไหมครับ ว่าจะไปไหน เลือกใช้เส้นทางไหนถึงจะดี คือคนขับรถที่ดีมักมีการเตรียมการ คิด และวางแผนล่วงหน้า จนเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว คนที่ดำน้ำก็จะมีลักษณะที่คล้ายกัน แต่ที่พิเศษกว่าคือจะมีการเน้นในเรื่องประเด็นของ ความปลอดภัยมากกว่า เน้นเรื่องการให้ความสำคัญในการมีสมาธิ เพราะฉะนั้น ทักษะที่เกิดขึ้น จนกลายเป็นอุปนิสัย เป็นทักษะที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการคิดแล้ว คือสามารถทำได้ทันที เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ หรือมีผลกับเรื่อง ความปลอดภัย คนที่ดำน้ำมามากๆ จะมีทักษะในเรื่องนี้ค่อนข้างดีกว่าคนทั่วไป คือจะใจเย็น มีสติและมีสมาธิที่ดี สามารถควบคุมอารมณ์ได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ ที่ไม่คาดคิดขึ้นอย่างทันท่วงที และโดยเฉพาะนักดำน้ำที่พัฒนาจากนักดำน้ำทั่วไป มาเป็น dive master ในส่วนนี้จะเห็นได้ชัดเจน พูดได้เลยว่าทั้ง 100% เต็ม อุปนิสัยการใช้ชีวิตจะเปลี่ยนไปเลย จะกลายเป็นคนละคน รู้จักดูแลตัวเอง และห่วงใย คนอื่นมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการดำน้ำถูกสอนให้ต้องคอยดูแลบัดดี้ ไม่ปล่อยให้ คนที่อยู่ตรงหน้าเราต้องคลาดสายตา และด้วยหน้าที่ของคนที่มาเป็น dive master ที่ต้องเป็นครูสอนในเรื่องทักษะการดำน้ำ ก็จะมีความใจเย็น เข้าใจความแตกต่างของคน แต่ละคน รู้ว่าบางคนเขาใจร้อน บางคนเขาไม่มีกำลังใจ ก็ต้องหาวิธีที่จะช่วยให้เขา สามารถมีทักษะในการดำน้ำที่ดีจนได้ ถือว่าก้าวสู่การเติบโตเป็นคนที่มีความเมตตาสูง ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการได้เริ่มมาดำน้ำ ย่อมเป็นพื้นฐานในการปรับเปลี่ยนอุปนิสัย หลายๆ อย่าง ให้ใจเย็น กลายเป็นคนไม่เร่งรีบในการตัดสินใจ มีความใส่ใจ ที่จะดูแลคนอื่นมากขึ้น อีกส่วนหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือเรื่องระบบการหายใจ เพราะการดำน้ำนั้น ต้องหายใจ เข้าออกให้เหมาะสม และส่วนมากจะเป็นการหายใจยาว ลึก ช้า และสม่ำเสมอ ซึ่งจากประสบการณ์ของผมที่มีโอกาสได้สอนคนที่มาเรียนดำน้ำ พบว่าคนเมือง ส่วนใหญ่หายใจสั้นมากๆ จนเป็นปกตินิสัย การหายใจสั้นนั้น ส่วนหนึ่งก็น่าจะมาจาก ภาวะความเครียดจากการทำงาน ซึ่งบางคนอายุยังน้อยมากแค่ 20 ต้นๆ เท่านั้น แต่หายใจสั้นเหมือนคนแก่เลย แต่หลังจากที่ได้มาเรียนดำน้ำแล้ว ก็จะค่อยๆ มีการควบคุมการหายใจที่ดีขึ้น ใจเย็นขึ้น ผ่อนคลายมากขึ้น…

อ่าน การดำน้ำ ช่วยให้ใช้ชีวิตเป็น และเข้าใจชีวิตมากขึ้น

The Best Diving Day at Samaesan 4 July 2010

Date: 4 July 2010 Dive No.: 1507 Time In: 10:31 Max Depth 24.4 m Dive Time: 60 mins Water Temp.: 31 c Location: Japanese Cape, Koh Juang แผนการดำน้ำวันนี้คือ พวกเราจะดำน้ำลงไปตามแนวแหลมเพื่อหาความลึก ครั้งที่แล้วฉันจำได้ว่า ฉันได้เจอกระเบน (stingray) ตัวใหญ่ประมาณ 1 เมตรที่นี่ ครั้งนี้จึงคิดว่าจะลองลงไปตามหาดูอีกที เนื่องจากลักษณะไดฟ์ไซต์ที่เป็นแหลม เมื่อไต่ระดับลงไปเรื่อยๆ จนถึงประมาณ 20 เมตร ฉันจะรู้สึกได้ถึงกระแสน้ำที่พัดผ่านทางหัวแหลมนี้ เราต้องดำน้ำกันแบบ low low ละเลียดติดพื้นทราย และให้หินหรือกองปะการังบังกระแสน้ำบ้างบางครั้ง ที่ความลึก 20 เมตร จะมีลานทราย และกองหินเป็นหย่อมๆ มีต้นปะการังดำขึ้นสลับกับแส้ทะเลอยู่มากมาย (สวยมากในแถบนี้) เมื่อไปถึงตรงนั้นฉันจึงหยุดเพื่อดูฝูงปลาข้างเหลืองที่ว่ายน้ำทวนกระแสนิดๆ อยู่ เมื่อมองเลยเจ้าฝูงปลาข้างเหลืองนี้ ฉันเห็น Great Barracuda ตัวใหญ่ จึงรีบหันไปเรียกครูดำ (Team Tec Diving ของเรา) “ครู……ดำำำ…….” และรีบหันกลับไป ทันทีที่หันหน้ากลับไปทางเจ้า Barracuda ฉันไม่เห็นเจ้า Barracuda อีกแล้ว แต่ฉันต้องผงะถอยหลัง เพราะมีฉลามตัวใหญ่ว่ายโฉบมาข้างหน้า ทำให้ฉันสติแตก ทีนี้ตะโกนสุดเสียงเรียก “คคคคคคครรรรรรรรู ดดดดดดำำำำำำำำ ำ ำ ำ ำ ำ ำ ำ” แต่ของอย่างนี้ แถวนี้ มันเป็นแค่ตำนาน มาแว๊บ ไปแว๊บ โชคดี ฉันมีนักเรียน advanced มาดำน้ำเล่นด้วย ชื่อคุณใหม่ ฉันรึบหันไปข้างๆ เอานี้วจิ้มที่หน้ากากตัวเอง แล้วก็เอามือยกขึ้นมาทำท่าตั้งฉากกับหน้ากาก เป็นภาษามือว่า เห็นฉลามรึเปล่า คุณใหม่พยักหน้า …..ฉันค่อยโล่งใจว่า ไม่ได้เห็นคนเดียว (หรือไม่ได้ตาฝาด) ฉลาม Grey Reef ?????? ตัวสองเมตร????? อ้วนพี ที่แสมสาร??????? เป็นไปได้ไง และเหมือนเคย เมื่อครูดำโผล่มา มันก็หายไปแล้ว ให้มันได้อย่างนี้ทุกที ฉันได้แต่ส่งสัญญาน เอามือตั้งฉากกับหน้าผากตัวเอง แล้วก็กางมือทั้งสองข้างออก…

อ่าน The Best Diving Day at Samaesan 4 July 2010