ไดฟ์คอมพิวเตอร์รุ่นใด ใช้อัลกอริธึมอะไร

ข้อมูลอัลกอริธึมคำนวณการดำน้ำของไดฟ์คอมพิวเตอร์ทุกยี่ห้อ สรุปเป็นตาราง อ่านงาน เข้าใจเร็ว เปรียบเทียบได้ง่าย

อ่าน ไดฟ์คอมพิวเตอร์รุ่นใด ใช้อัลกอริธึมอะไร
Imaginary Dive Computer with Mathematics Equations as Background

รู้จักกับอัลกอริธึมคำนวณการดำน้ำในไดฟ์คอมพิวเตอร์

ไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในท้องตลาดทุกวันนี้ มีอยู่หลายรุ่น หลายแบรนด์ และแต่ละรุ่นก็ใช้อัลกอริธึมการคำนวณผลกระทบของการดำน้ำต่อร่างกายของเรา เช่นเรื่องไนโตรเจนหรือก๊าซอื่นๆ ที่สะสมในร่างกายนักดำน้ำ ตลอดจนความเป็นพิษของออกซิเจนที่ความกดสูง แตกต่างกันไป เพื่อบอกเราถึงเวลาดำน้ำที่เหลืออยู่ หรือความลึกและระยะเวลาที่ต้องทำ stop ก่อนขึ้นสู่ผิวน้ำ รวมถึงช่วยคำนวณการระบายก๊าซออกจากร่างกายระหว่างพักน้ำ เพื่อวางแผนการดำน้ำไดฟ์ถัดไป แม้อาจจะบอกได้ยากว่า วิธีการคำนวณของใครดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด แต่อย่างน้อยการได้เข้าใจคุณลักษณะของอัลกอริธึมเหล่านั้นและความแตกต่างระหว่างแต่ละอัน ก็น่าจะพอช่วยให้เราเลือกไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับเราได้ดียิ่งขึ้น หรือใช้งานไดฟ์คอมพิวเตอร์ด้วยความเข้าใจความหมายของการตั้งค่าต่างๆ ในนั้นได้ดียิ่งขึ้น ก่อนจะไปรู้จักกับอัลกอริธึมการคำนวณเหล่านี้ ต้องขอเล่าถึงทฤษฎีเกี่ยวกับการลดความกด (decompression theory) และโมเดลวิธีคิดที่จะช่วยป้องกันหรือลดอาการเจ็บป่วยจากการลดความกดนี้ เท่าที่วงการดำน้ำของเราได้ศึกษาค้นคว้าและพัฒนากันมาจนถึงปัจจุบัน ก่อนสักเล็กน้อย Decompression Theory อาการเจ็บป่วยจากการลดความกดถูกพบเมื่อราว 150 ปีที่แล้ว (ค.ศ. 1871) จากกรณีการสร้างสะพานบรุคลินที่นิวยอร์คด้วยการสร้างกล่องกักอากาศให้คนงานลงไปขุดดินใต้แม่น้ำเพื่อทำฐานรากของสะพานแล้วพบว่าคนงานมีอาการเจ็บป่วยคล้ายๆ กัน ต่อมาเมื่อการดำน้ำลึกแพร่หลายมากขึ้น ก็พบอาการเจ็บป่วยในนักดำน้ำด้วยเช่นกัน ในปี ค.ศ. 1906 ราชนาวีอังกฤษจึงได้ว่าจ้าง J. S. Haldane ให้วิจัยหาสาเหตุและวิธีการป้องกันอาการดังกล่าว และต่อมาก็ได้เผยแพร่ผลการวิจัยแก่สาธารณะ ทฤษฎีของ Haldane เสนอว่า เมื่อคนหรือสัตว์ได้รับอากาศความกดแตกต่างจากเดิม ก็จะมีการดูดซับเข้าหรือคายออกจากเนื้อเยื่อต่างๆ โดยที่อัตราการดูดซับและคายออกของเนื้อเยื่อจะแตกต่างกันไปหลายระดับ รวมทั้งค่าความอิ่มตัวสูงสุดที่เนื้อเยื่อแต่ละชนิดจะทนได้ก่อนจะแสดงอาการเจ็บป่วยก็แตกต่างกันไปด้วย เขาสรุปทฤษฎีออกมาเป็นโมเดลเนื้อเยื่อสมมติ (theoretical tissue compartment) 5 ชนิดที่มีอัตราการดูดซับแตกต่างกัน 5 ระดับเพื่อใช้เป็นตัวแทนในการคำนวณหาขีดจำกัดระยะเวลาที่จะดำน้ำได้ที่แต่ละระดับความลึก และเกิดเป็นตารางดำน้ำ (dive table) เพื่อใช้วางแผนการดำน้ำ จากนั้นก็ได้มีการปรับปรุงทฤษฎีนี้โดยนักวิจัยจากองค์กรต่างๆ อีกหลายครั้ง มีการเพิ่มเนื้อเยื่อสมมติเข้าไปอีก เป็น 6 ชนิด 9 ชนิด มีการปรับปรุงค่าความอิ่มตัวสูงสุดที่เนื้อเยื่อจะทนได้ ให้เป็นค่าที่แปรผันสัมพันธ์กับความกดที่เปลี่ยนแปลงไป (หรือก็คือความลึกนั่นเอง) ไม่ใช่ค่าคงที่ตายตัวของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด อย่างในทฤษฎีเดิม เรียกชื่อใหม่ว่า M-value ค่าความอิ่มตัวสูงสุดที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่นๆ แบบนี้ทำให้เหมาะจะใช้การคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ มากกว่าจะเป็นตารางคำนวณแบบตายตัวอย่างตอนแรกเริ่ม นักวิจัยคนสำคัญที่ทำให้ทฤษฎีนี้เข้าใกล้ความสมบูรณ์มากที่สุด ก็คือ Albert A. Bühlmann ที่ได้พยายามค้นหาเนื้อเยื่อที่มีอัตราการดูดซับมากที่สุด (นานที่สุดกว่าจะอิ่มตัว) ซึ่งมีผลต่อการคำนวณระยะเวลาการพักน้ำเพื่อการดำน้ำไดฟ์ถัดไป (repetitive dive) จนมีการเพิ่มเนื้อเยื่อสมมติเข้าไปอีกรวมทั้งหมดเป็น 16 ชนิด และยังได้พัฒนาต่อยอดทฤษฎีเดิมอีกหลายเรื่อง เพื่อการดำน้ำในที่สูง หรือใช้อากาศผสมก๊าซอื่นๆ ด้วย เมื่อทฤษฎีและโมเดลการคำนวณ ได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ตารางดำน้ำเดิมของ US Navy ก็ได้รับการปรับปรุงตามมาเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน เมื่อการดำน้ำเริ่มเป็นที่นิยมของบุคคลทั่วไปมากยิ่งขึ้น เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสันทนาการมากขึ้น นักวิจัยของ PADI ก็ได้ปรับปรุงแนวโมเดลการคำนวณใหม่เป็นของตัวเอง เรียกว่า DSAT Model หรือ DSAT Algorithm…

อ่าน รู้จักกับอัลกอริธึมคำนวณการดำน้ำในไดฟ์คอมพิวเตอร์
Blood Cells with Air Bubbles and Physics Equations (as banner for article)

ความเป็นมาของทฤษฎีการลดความกดในการดำน้ำ (Dive Decompression Theory)

ความเป็นมาของการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายของมนุษย์ ภายใต้ความกดอากาศสูงกว่าปกติ เพื่อออกแบบมาตรการความปลอดภัยในการดำน้ำ

อ่าน ความเป็นมาของทฤษฎีการลดความกดในการดำน้ำ (Dive Decompression Theory)

โรคเบาหวานและการดำน้ำสันทนาการ

ความเสี่ยงของโรคเบาหวานที่มีผลต่อการดำน้ำ หากเป็นเบาหวานจะดำน้ำได้อย่างไร และคำแนะนำในการเตรียมตัวไปดำน้ำสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

อ่าน โรคเบาหวานและการดำน้ำสันทนาการ
Diving with shark - FreedomDive - 001

NDL เธอเหลือเท่าไร?

ความสำคัญของการเช็ค NDL ในการดำน้ำ และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อ NDL เฉียดๆ จริงๆ นักดำน้ำที่ดีควรรู้จักการใช้ไดฟ์คอมของตนเองให้แม่นยำ เพื่อป้องกันการติด decomp หรือ NDL เหลือน้อยลงขณะดำน้ำ

อ่าน NDL เธอเหลือเท่าไร?