โรคหอบหืดกับการดำน้ำ

โรคหอบหืดเป็นปัญหาสำหรับนักดำน้ำ หากคุณหรือผู้ที่คุณดูแลมีโรคหอบหืด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเหมาะสมในการดำน้ำ ตรวจสอบการทดสอบสมรรถภาพปอดและความรุนแรงของโรค

อ่าน โรคหอบหืดกับการดำน้ำ

แบ่งปันประสบการณ์บ้านหมุนใต้น้ำ

แบ่งปันประสบการณ์บ้านหมุนใต้น้ำ เวลาดำน้ำอย่าซ่า ยาวหน่อยอยากให้อ่าน Day1 เมื่อวันเสาร์มีโอกาสได้ไปดำ Scuba ที่ชุมพร ก็ดำน้ำ dive 1 ไม่เป็นไร พอขึ้น dive 2 อาการมาเลยจ้า คือ ขึ้นมาถึงผิวน้ำปุ๊บอ้วกหนักมาก มากจนไม่เหลืออาหารตอนกลางวันเลย จนต้อง skip dive 3 อาการที่เกิดขึ้นคือ หลับตาไม่ได้ กินอะไรอ้วกหมด ภาพตรงหน้าคือหมุนหมด มือชา เกร็ง ไม่มีแรง เหมือนเวลาเมาเหล้าอ่ะ คิดว่าแฮงค์ทรมานขนาดไหน อาการนี่คูณ 5 ไปเลยจ้า หมดแรง ขาอ่อนแรง ต้องมีคนช่วยพยุง ถอดเวทสูทเองยังถอดไม่ได้เลย กินยาแก้เมาเรือรอดูอาการไปอีกคืน (เพราะถ้าเมาเรือ เมาบก อีกวันต้องหาย) Day2 ตื่นขึ้นมา คิดว่าตัวเองหายแล้วเพราะเหลือดำน้ำอีก 2 dive เลยลองเดิน เชี่ย!!! เอียงจะล้ม เป็นไรวะเนี่ย เลยรู้ตัวเองละว่าไม่ไหว เลยนอนต่อไปอีก โชคดีในกรุ๊ปที่ไปดำด้วยกันมีหมอมาด้วย เลยเขียนใบให้ไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ตอนนั้นยังอ้วกไม่หยุด (ยังไม่ได้กินอะไรเพิ่ม เพราะกินแล้วอ้วกตลอด) กินแต่ยาแก้เมาเรือประคองอาการ จนมาถึงรพ. เข้าห้องฉุกเฉินตอนนั้นหมดแรง มือเย็น ตัวซีดเหลือง ความดันสูง น้ำตาลตก หมอก็จะมีการทดสอบตา หมอแจ้งว่าตาเรากระตุก ทำให้เราบ้านหมุน ส่วนจะเป็นข้างไหนต้องไปตรวจอีกที มีการเจาะเลือดให้ยา (ตอนให้ยาคือทรมานมาก มันแสบไปทั้งตัว น้ำตาไหลกันเลยทีเดียว) ตอนนั้นก็รอดูอาการ หมอยืนยันต้องการให้เราแอดมิตที่รพ. แต่เราก็ยืนยันว่าต้องการกลับกทม. สรุปหมอก็ต้องยอมในความดื้อของเรา Day3 ยังอึน เอียงๆ เดินไกลๆ ไม่ได้ เดินไม่ตรง Day4 วันนี้มาตรวจแบบละเอียดกัน คุณหมอที่รพ.ภูมิพล คือตรวจละเอียดมาก มีการทดสอบหลายอย่าง หลายอย่างที่คิดว่าตัวเองทำได้กลับทำไม่ได้ แต่หมอบอกว่าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นจากเราขึ้นสู่ผิวน้ำเร็วเกินไป ต้องช้าลงกว่านี้ ทำให้แรงดันในหูปรับไม่ทัน อีกอย่างคือไม่ได้เคลียร์หูบ่อยๆ ด้วย วันนี้หมอบอกว่าเราเป็นโรคการบาดเจ็บจากแรงดันต่อหู (Otitic Barotrauma) แล้วทำให้มีอาการบ้านหมุนแบบ Alternobaric vertigo Alternobaric vertigo (reverse squeeze) เกิดจากอากาศในหูชั้นกลางขยายตัวขณะดำขึ้น แต่ Eustachian tube ไม่เปิดให้อากาศระบายออกมาก จนเยื่อแก้วหูฉีกขาดได้ ซึ่งพบได้น้อย อาจเป็นภาวะแทรกซ้อนต่อมาจาก middle ear squeeze ขณะดำน้ำลงหรือการใช้ nasal decongestant แล้วยาหมดฤทธิ์ก่อนที่จะดำน้ำขึ้น จะมีอาการเวียนหัวบ้านหมุน…

อ่าน แบ่งปันประสบการณ์บ้านหมุนใต้น้ำ

แชร์ประสบการณ์เกือบตายจาก Decompression Sickness (DCS) หรือ โรคน้ำหนีบ

จากโพสก่อนหน้า(บ้านหมุนใต้น้ำ) : ได้ไปหาหมอมาทั้งหมด 3 รพ.แล้ว การวินิจฉัยส่วนใหญ่ คือ จะเป็นเกี่ยวกับหู มีหลายคนอินบ๊อกซ์มา หลายคนมากบอกว่าแนะนำให้เราเข้ารพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้าโดยด่วนที่สุด

อ่าน แชร์ประสบการณ์เกือบตายจาก Decompression Sickness (DCS) หรือ โรคน้ำหนีบ

14 ข้อควรระวังที่คน เรียน Freedive ต้องรู้

การเรียนฟรีไดฟ์ จะทำให้เราเป็นอิสระมากกว่าที่เคย เมื่ออยู่ในทะเล ได้รู้สึกสนุกกับการไปเที่ยวทะเลสามารถดำลงไปชมความสวยงามใต้ท้องทะเลด้วยตัวเอง แต่ก็มีข้อควรระวัง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้และนำไปปฏิบัติ 1.ห้ามหายใจแบบ hyperventilation Hyperventilation เป็นการหายใจที่มากเกินกว่าการหายใจแบบปกติตามธรรมชาติ ทำให้ระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดลดลงต่ำเกินไป ซึ่งทำให้เวลาเราดำฟรีไดฟ์ไม่รู้ตัวว่าออกซิเจนกำลังจะหมดแล้ว ทำให้เกิดการหมดสติใต้น้ำ นอกจากการหายใจแบบ hyperventilation จะไม่ช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น ยังไปขัดขวาง mammalian dive reflex ซึ่งเป็นผลเสียมากกว่าจะเป็นประโยชน์ แค่หายใจมากกว่าปกติเพียง 6 – 7 ครั้งก็อาจทำให้เกิดอาการ hyperventilation ได้ ถ้าสังเกตให้ดีจะรู้ได้ถึงความผิดปกติ เช่น มือชา เท้าชา รู้สึกมึนๆนิดๆ ถ้ามีอาการเหล่านี้ ควรงดดำน้ำสัก 3 – 4 นาทีเพื่อรอให้ร่างกายกลับสู่สภาวะปกติ ก่อนดำน้ำใหม่อีกครั้ง 2.อย่าดำน้ำคนเดียว ต้องมีเพื่อนที่ช่วยเราได้ never freedive alone อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอในขณะฟรีไดฟ์ คือ หมดสติขณะดำน้ำ วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันก่อนที่เรื่องจะเกิด นักดำน้ำต้องรู้จักขีดจำกัดและธรรมชาติ ของร่างกายตนเอง โดยปกติการหมดสติขณะดำน้ำ ไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรง จนถึงแก่ชีวิต มันเป็นกลไกตามธรรมชาติ ที่ช่วยไม่ให้เราจมน้ำ สามารถแก้ไขอาการได้อย่างง่ายๆ ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม ไม่ควรดำน้ำคนเดียว ควรมีเพื่อนที่ผ่านการเรียนฟรีไดฟ์ ไปดำน้ำกับเราด้วยเสมอเพื่อความปลอดภัย 3.ถ้าจะให้ดี ควรเอาบุย (buoy) ไปด้วย เรือที่ผ่านไปมาในทะเล มองเห็นคนในทะเลได้ยากเนื่องจากสภาพแวดล้อมในทะเลแตกต่างจากบนบก ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงเวลาดำฟรีไดฟ์ ยิ่งเราดำขึ้นลงระหว่างผิวน้ำกับใต้น้ำ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากกว่าปกติเพราะตอนเราอยู่ใต้น้ำไม่มีอะไร เป็นที่สังเกตได้ ดังนั้นหากเราต้องไป ฟรีไดฟ์ควรนำบุยไปด้วย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าบริเวณนี้มีคนกำลังดำน้ำอยู่ทำให้เรือที่ผ่านไปมาจะสังเกตได้ และระวังมากขึ้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่พักหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 4.อย่าคาบท่อ snorkel ไว้ในปากเวลาฟรีไดฟ์ การคาบ snorkel ไว้ในปากอาจน้ำให้เราหายใจได้สะดวกตอนลอยอยู่บนผิวน้ำ แต่จะเป็นอุปสรรคเวลาดำน้ำเนื่องจากทำให้เคลียร์หูไม่สะดวก และเมื่อกลับสู่ผิวน้ำแล้วยังเป็นอุปสรรคต่อการทำ Recovery breath เนื่องจากต้องใช้แรงเป่าเคลียร์น้ำในท่อ snorkel ออกไป และหายใจเอาอากาศเข้ามาใหม่ต้องใช้แรงมากกว่าปกติ นอกจากนี้หากหมดสติใต้น้ำ ก็อาจทำให้น้ำไหลเข้าปากได้ เป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือของเพื่อน เพราะเวลาคนหมดสติปากมักจะปิดโดยอัตโนมัติ การเอาท่อ snorkel ออกจากปากก็จะทำได้ยาก ทำให้ recovery breath ไม่ได้ 5.ห้าม เคลียร์หู (equalize) แรงๆ หรือฝืน equalize “การเคลียร์หูที่ถูกต้อง” จะต้องไม่ใช้ความพยายาม หรือแรงมากจนเกินไป ถ้าหากไม่มีอะไรไปกีดขวางการทำงานของท่อยูสเตเชียน อากาศจะสามารถผ่านเข้าไปในหูชั้นกลางได้ การเคลียร์หูแรงๆ อาจทำให้เยื่อแก้วหูได้รับบาดเจ็บ อาจถึงกับทะลุได้ หรือในกรณีที่ร้ายแรงหูชั้นในได้รับความเสียหาย ทำให้มีปัญหาในการได้ยิน ดังนั้นถ้าหากดำน้ำลงไปแล้วพบความผิดปกติ ไม่สามารถเคลียร์หูได้ไม่ควรฝืนเป่าแรงๆ…

อ่าน 14 ข้อควรระวังที่คน เรียน Freedive ต้องรู้

มันไม่ใช่เรื่องสุดวิสัย

เรื่องราวของนักเรียนดำน้ำที่ได้รับการดูแลฝึกทักษะใต้น้ำจากครูผู้สอนอย่างไม่ถูกต้อง จนทำให้บาดเจ็บเยื่อแก้วหู และมีอาการเจ็บหูตลอดไป

อ่าน มันไม่ใช่เรื่องสุดวิสัย

สิ่งที่ควรระวังหรือไม่ควรทำ หลังการดำน้ำใหม่ๆ

นักดำน้ำอย่างเราคงจะได้เรียนรู้เรื่องสิ่งที่ควรทำ สิ่งที่ควรเช็คก่อนดำน้ำ และจดจำไว้ได้เป็นอย่างดี แต่เรื่องสิ่งที่ไม่ควรทำหลังดำน้ำ อาจเป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยได้ยินใครพูดถึง เราจึงขอใช้โอกาสนี้ เล่าถึงสิ่งที่ไม่ควรทำ หรือควรหลีกเลี่ยงหลังดำน้ำ เพื่อความปลอดภัยของทุกคนกัน การเดินทางโดยเครื่องบิน เรื่องนี้คงเป็นเรื่องที่นักดำน้ำทุกคนรู้อยู่แล้ว เพราะทริปดำน้ำส่วนใหญ่มักจะเดินทางไปด้วยเครื่องบิน สิ่งที่ต้องนึกถึงคือ ‘เวลาพักน้ำ’ ตามกฎดังนี้ หากเราดำน้ำหนึ่งไดฟ์ เราควรพัก 12 ชั่วโมงก่อนขึ้นเครื่องบิน หากเราดำน้ำหลายไดฟ์ในหนึ่งวันหรือดำน้ำหลายวัน ควรพักอย่างน้อย 18 ชั่วโมง พักอย่างน้อย 24 ชั่วโมง หากเราติดดีคอม หากไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ แนะนำให้พักนานกว่านี้ ก็ควรปฏิบัติตาม หากจำกฎหลายข้อแบบนี้ไม่ไหว อาจใช้กฎพื้นฐานก็ได้ คือ เราควรพัก 24 ชั่วโมงก่อนเดินทางโดยเครื่องบิน เรื่องนี้แม้นักดำน้ำใหม่ซึ่งอาจยังไม่แม่นยำ ไม่ทันระวังมากนัก แต่ร้านดำน้ำหรือครูดำน้ำก็มักจะจัดและตรวจสอบแผนการเดินทางให้กับนักดำน้ำที่มาร่วมทริปอยู่แล้ว ที่ผ่านมาจึงแทบไม่พบเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความผิดพลาดในเรื่องนี้ การปีนเขา การทำกิจกรรมบนที่สูง เรื่องนี้มีเหตุผลเช่นเดียวกับการขึ้นเครื่องบิน คือเมื่อขึ้นที่สูงมากหลังการดำน้ำใหม่ๆ ก๊าซไนโตรเจนที่ยังหลงเหลืออยู่ในร่างกายของเรา อาจนำไปสู่ decompression sickness (DCS) ได้ แม้ที่ความสูงไม่เท่ากับระดับเพดานบินปกติของเครื่องบินโดยสารทั่วไปก็ตาม (ความสูงที่ใช้ในการวิจัยเรื่องนี้อยู่ที่ประมาณ 600-2,400 เมตร) นอกจากการปีนเขาแล้ว กิจกรรมผจญภัยหลายประเภทก็มักจะจัดกันในที่สูง เช่น ไต่สะพานเชือกชมธรรมชาติ (canopy walk) บันจี้จัมพ์ (bungee jump) หรือ ซิปไลน์ (zipline) ดังนั้น หากคุณวางแผนท่องเที่ยว ทำกิจกรรมต่างๆ ภายหลังการดำน้ำ ควรอยู่ที่ระดับพื้นราบเดียวกับที่คุณเริ่มดำน้ำ สัก 18-24 ชั่วโมง ก่อนจะเริ่มขึ้นสู่ที่สูงเพื่อทำกิจกรรมอื่นๆ การดื่มหนักหลังดำน้ำทันที โดยปกติการดื่มเครื่องดื่มแลกอฮอล์พูดได้ว่าเป็นการเพิ่มสารพิษเข้าร่างกายอยู่แล้ว แต่สำหรับการดำน้ำแอลกอฮอล์ทำให้ร่างกายของเราสูญเสียน้ำมากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่า กระบวนการขับไนโตรเจนออกจากร่างกายจะยิ่งล่าช้ามากขึ้นอีก และเพิ่มโอกาสที่จะทำให้เกิด DCS ได้ง่ายขึ้น หลังดำน้ำ เราควรดื่มน้ำให้มาก และรอให้เวลาผ่านไปหลายชั่วโมง ก่อนที่จะเริ่มดื่มและปาร์ตี้กัน การดำฟรีไดฟ์ เป็นที่ทราบกันดีว่า การดำฟรีไดฟ์ต้องมีการลงสู่ที่ลึกและขึ้นสู่ที่ตื้นในเวลาอันรวดเร็วมาก ดังนั้นหลังการดำน้ำลึกแบบ scuba แล้วควรงดการดำฟรีไดฟ์ต่อเนื่องทันที ด้วยกฎการพักน้ำแบบเดียวกับการงดเดินทางด้วยเครื่องบิน นั่นคือ หากเราดำน้ำหนึ่งไดฟ์ เราควรพัก 12 ชั่วโมงก่อนดำฟรีไดฟ์ หากเราดำน้ำหลายไดฟ์ในหนึ่งวันหรือดำน้ำหลายวัน ควรพักอย่างน้อย 18 ชั่วโมง พักอย่างน้อย 24 ชั่วโมง หากเราติดดีคอม หากไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ แนะนำให้พักนานกว่านี้ ก็ควรปฏิบัติตาม การแช่น้ำร้อน น้ำอุ่น หรือซาวน่า ตอนที่เรานอนแช่น้ำร้อนอย่างสบายใจ เราอาจไม่รู้เลยว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้น จะเพิ่มโอกาสที่จะเกิดฟองก๊าซไนโตรเจนขึ้นในร่างกายด้วย และแม้ความร้อนก็ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตด้วย ซึ่งน่าจะช่วยระบายก๊าซไนโตรเจนจากร่างกายได้เร็วขึ้น แต่ที่จริงแล้วความร้อนแบบนี้ส่งผลต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อมากกว่าระบบไหลเวียนโลหิต จึงเพิ่มโอกาสการเกิด…

อ่าน สิ่งที่ควรระวังหรือไม่ควรทำ หลังการดำน้ำใหม่ๆ
Diving with shark - FreedomDive - 001

NDL เธอเหลือเท่าไร?

ในคลิป มีฉลามชื่ออะไรบ้างลองเดากันดูครับ แต่ที่อยากเล่า คือประสบการณ์ในการเช็ค NDL จำได้เลยตอนถ่ายคลิปนี้ ดำอยู่ที่ 20 กว่าเมตร กำลังเกี่ยวฮุกอยู่ พอมอง NDL ผมเหลือ 5

อ่าน NDL เธอเหลือเท่าไร?
Depth and pressure - Keng Krob - 001

ทำไมดำน้ำลึกๆ ดำง่ายกว่าดำตื้นๆ และที่มาของ Safety Stop

เมื่อวานมีโอกาสอธิบายให้เพื่อนที่เป็นอาจารย์คณะวิศวะ ที่เพิ่งได้บัตรดำน้ำมาฟัง เรื่องที่ว่าทำไมลึกๆ แล้วเคลียร์หูง่าย ลองดูรูป แล้วอ่านดูครับ

อ่าน ทำไมดำน้ำลึกๆ ดำง่ายกว่าดำตื้นๆ และที่มาของ Safety Stop