Garmin-Descent-MK3

เปิดตัว Garmin Descent MK3 ไดฟ์คอมที่เป็นมากกว่าไดฟ์คอม

Garmin Descent MK3 กับคุณสมบัติเด่นที่เป็นยิ่งกว่าไดฟ์คอม เติมเต็มประสบการณ์ดำน้ำ และยังสามารถใส่ได้ในชีวิตประจำวัน กับฟังก์ชันที่ใส่มาแบบตัวเดียวครบ จบ ทุกความต้องการ

อ่าน เปิดตัว Garmin Descent MK3 ไดฟ์คอมที่เป็นมากกว่าไดฟ์คอม

ฟังก์ชันเสริมพิเศษของ BCD

รู้จักกับฟังก์ชันเสริมพิเศษ ที่ช่วยให้นักดำน้ำสามารถควบคุมการทำงานของ BCD ได้อย่างสะดวกง่ายดายหรือเพิ่มความสบายในการดำน้ำมากขึ้น

อ่าน ฟังก์ชันเสริมพิเศษของ BCD

5 ขั้นตอน ตรวจเช็คอุปกรณ์ ก่อนไปทริปดำน้ำ

ต้นเดือนตุลาคม ใกล้เวลาเปิดอุทยานทางทะเลฝั่งอันดามัน ตั้งแต่หมู่เกาะสุรินทร์ สิมิลัน และใกล้เข้าฤดูกาลท่องเที่ยวทะเลภาคตะวันออกของไทย น้ำใสหน้าหนาว ทั้งทะเลพัทยา แสมสาร ระยอง และเกาะช้าง ทะเลตราด หลายคนไม่ได้ใช้อุปกรณ์ดำน้ำมาหลายเดือน บางคนลืมไปแล้วว่าแต่ละชิ้นเก็บไว้ที่ไหน บางคนก็ไม่แน่ใจว่า อุปกรณ์ของตัวเองยังพร้อมใช้งานอยู่รึเปล่า มาเปิด Gear Bag เช็คอุปกรณ์ดำน้ำของคุณก่อนจะถึงวันออกทริปจริงกันดีกว่า กับ 5 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ ตรวจเช็คสภาพภายนอกของอุปกรณ์ดำน้ำแต่ละชิ้น ทั้งหน้ากาก ฟิน เว็ทสูท BCD และเร็กกูเลเตอร์ ดูว่ายังอยู่ในสภาพดี มีความตึงหย่อนอ่อนแข็งและใช้งานได้ปกติหรือไม่ มีชิ้นส่วนใดแตกกรอบ ฉีกขาด หรือเริ่มมีรอยปริ บ้างรึยัง … ไม่แน่ใจชิ้นไหน ทักแชทมาปรึกษาเราได้นะคะ ยินดีให้บริการทุกช่องทาง สำหรับเร็กกูเลเตอร์และ BCD ถ้าเป็นไปได้ ควรลองต่อกับถังอากาศ เพื่อทดสอบการทำงานจริงก่อนเอาไปใช้ในทริปด้วย … ใครไม่มีถังอากาศอยู่ที่บ้าน เชิญแวะมาที่ร้านเราได้เลย บริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายค่าาา (นัดมาก่อนก็ดีนะคะ เผื่อบางวันอากาศหมด ต้องรอเปลี่ยนแทงค์นิดนึงค่ะ) เร็กกูเลเตอร์ของใครไม่ได้เข้าศูนย์นานกว่า 2 ปีแล้ว แนะนำให้เข้าศูนย์ฯ ด่วนเลยนะคะ จะได้ถอดล้าง เปลี่ยนอะไหล่ให้ใหม่กิ๊ก พร้อมใช้งานทันทริปต่อไป … ช่วงนี้คิวงาน overhaul service เริ่มทยอยเข้ามากันมากขึ้นแล้วนะคะ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ไฟฉาย ไดฟ์คอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายรูป แบตเตอรี่ เช็คอีกทีว่า แบตฯ ยังสภาพดี ใช้งานได้อีกนาน … ถ้าเหลือขีดเดียว ไม่มั่นใจว่าจะใช้ได้จบไดฟ์มั้ย ส่งมาเปลี่ยนแบตฯ กันได้เลยค่าาา ครีมกันแดด ของจำเป็นที่เหลือมาจากทริปก่อน หมดอายุแล้วหรือยัง หรือมีไม่พอใช้ในทริปแน่ๆ แวะเข้าร้านไปซื้อเติมกันได้เลย โดยเฉพาะใครที่ผิวขึ้นผื่นแดง คัน จากการลงน้ำทะเล เพราะแพ้แตนทะเลได้ง่าย ต้องใช้ครีมกันแดด Safe Sea ที่ป้องกันพิษสัตว์ทะเลตัวจิ๋วเหล่านี้ได้ด้วย มีคำถามเกี่ยวกับอุปกรณ์ดำน้ำ คอร์สเรียนหรือทริปดำน้ำ ทักสอบถามได้ค่ะ ให้เราเป็นเพื่อนคุณในทุกเรื่องของการดำน้ำนะคะ FreedomDIVE.com Tel: 095-875-5450 Line: @freedomdive หรือ QR Code Facebook: FreedomDIVE Google Map: FreedomDIVE Scuba Outlet Tel: 063-140-0428 Line: @scubaoutlet หรือ QR Code Facebook:…

อ่าน 5 ขั้นตอน ตรวจเช็คอุปกรณ์ ก่อนไปทริปดำน้ำ

วิธีการทำความสะอาดและดูแลรักษาเร็กกูเลเตอร์

เร็กกูเลเตอร์เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในชุดอุปกรณ์ดำน้ำของเรา เพราะเป็นตัวจ่ายอากาศให้กับเราตลอดไดฟ์ การดูแลอย่างเหมาะสมจะช่วยให้เราใช้งานได้อย่างปลอดภัย ป้องกันอันตรายที่คาดไม่ถึง และยืดอายุการใช้งาน ช่วยประหยัดเงินจากการซ่อมแซมด้วยเหตุที่ไม่สมควรเกิด ได้อีกด้วย การทำความสะอาดเร็กกูเลเตอร์หลังดำน้ำเสร็จเป็นสิ่งที่ควรทำ ยิ่งปล่อยไว้นาน วัสดุก็ยิ่งมีโอกาสเสื่อมสภาพมากขึ้น ไม่ใช่แค่หลังจากดำน้ำทะเลเท่านั้น แม้กระทั่งในสระว่ายน้ำหรือน้ำจืดก็เช่นเดียวกัน น้ำทะเลจะมีผลึกเกลือและอนุภาคทรายที่ทำให้วัสดุเกิดการกัดกร่อนได้ ส่วนสระว่ายน้ำก็มีคลอรีนและกรด และทะเลสาบน้ำจืดก็ยังมีแร่ธาตุ และอาจมีเกลือ รวมถึงตะกอนที่เป็นด่าง ที่จะทำให้เร็กกูเลเตอร์เสื่อมสภาพได้เช่นกัน ในการทำความสะอาดเร็กกูเลเตอร์มีเรื่องที่ควรทำอย่างระมัดระวัง และมีบางเรื่องที่ไม่ควรทำเพราะจะสร้างความเสียหายให้กับเร็กกูเลเตอร์ได้ หากศึกษาแล้วยังไม่เข้าใจชัดเจนเรื่องใด สามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมได้ ขั้นตอนการทำความสะอาดเร็กกูเลเตอร์ เริ่มต้นตั้งแต่หลังการดำน้ำทุกไดฟ์ หลังจากจบการดำน้ำแต่ละไดฟ์ อย่างน้อยควรล้างเร็กกูเลเตอร์แบบง่ายๆ ขณะที่ยังต่ออยู่กับถังอากาศและเปิดวาล์วอากาศไว้ เพราะแรงดันจากถังจะช่วยป้องกันไม่ให้มีน้ำย้อนเข้ามาในระบบได้ โดยใช้น้ำสะอาดเทราดลงไปพร้อมกับถูเบาๆ ให้สิ่งที่ติดมาจากทะเลหลุดออกไปบ้าง หลังจากทำความสะอาดแบบง่ายๆ ไวๆ และปิดถังอากาศเรียบร้อยแล้ว หากอยู่บนเรือ liveaboard นักดำน้ำส่วนใหญ่มักจะวางเร็กกูเลเตอร์ทิ้งไว้กับวาล์วถังอากาศ เพื่อรอใช้งานในไดฟ์ถัดไป แต่ท่านที่ต้องการดูแลเร็กกูเลเตอร์อย่างจริงจัง ควรจะปลด 1st stage ออกจากถังอากาศแล้วปิด dust cap ให้เรียบร้อยด้วยตัวเอง เนื่องจากในระหว่างพักน้ำรอไดฟ์ถัดไปนั้น ลูกเรือจำเป็นต้องถอด 1st stage ออกจากถังเพื่ออัดอากาศเข้าถังด้วย บางครั้งลูกเรืออาจไม่ได้ระมัดระวัง ถอดและวาง 1st stage ไว้โดยไม่ได้ปิด dust cap ซึ่งทำให้มีน้ำ ความชื้น หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปใน 1st stage เสี่ยงต่อปัญหาอื่นที่ตามมาได้ วิธีการทำความสะอาด dust cap ก่อนจะปิด dust cap เข้ากับเร็กกูเลเตอร์ทุกครั้ง ต้องล้าง dust cap ให้สะอาดก่อน โดยทั่วไปมักจะใช้อากาศจากถังอากาศ โดยเปิดวาล์วทีละน้อย ปล่อยลมออกมา ให้ลมแรงพอที่จะไล่น้ำและฝุ่นออกจากหน้าสัมผัสของ dust cap ซึ่งมักจะสะอาดกว่าการใช้ผ้าเช็ด สังเกตว่าหน้าสัมผัสของ dust cap แห้งสนิทและสะอาด ปราศจากน้ำ เม็ดทราย หรือฝุ่นผงแล้ว จึงปิดเข้ากับช่องอากาศของ 1st stage หมุนปิดให้แน่นพอดีๆ ไม่แน่นจนเกินไปจนทำให้ dust cap เสียหาย (หลวมไป ก็อาจปิดไม่สนิท) ล้างเร็กกูเลเตอร์หลังเสร็จจากการดำน้ำ ขั้นตอนต่อไปนี้ บางคนอาจทำทุกไดฟ์ บางคนอาจทำหลังไดฟ์สุดท้ายของวัน หรือบางคนอาจทำหลังไดฟ์สุดท้ายของทริปทีเดียวเลยก็ได้ ขึ้นกับความต้องการและปริมาณน้ำจืดที่เรือมีพอให้ใช้งาน วิธีที่ดีที่สุด คือล้างขณะที่เร็กกูเลเตอร์ยังต่ออยู่กับถังอากาศดังที่กล่าวไว้ข้างต้น หากเร็กกูเลเตอร์ไม่ได้ต่ออยู่กับถังอากาศ ให้ปิด dust cap ให้สนิท (อย่าลืมทำความสะอาด dust cap ก่อนตามวิธีการข้างต้น) ห้ามแช่ 1st stage ลงในน้ำ เพราะตัว…

อ่าน วิธีการทำความสะอาดและดูแลรักษาเร็กกูเลเตอร์

รู้จักกับสายถัก Miflex

รู้จักกับชนิดของสาย Miflex และคุณสมบัติสำคัญของสายถักแบรนด์นี้ รวมถึงตัวเลือกขนาดและสีสันที่มีให้นักดำน้ำเลือกใช้

อ่าน รู้จักกับสายถัก Miflex

หน้ากากดำน้ำ สำหรับคนสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง

ทางเลือกใหม่ สำหรับคนที่มีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง ที่อยากมองโลกใต้ทะเลให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องใส่คอนแทกเลนส์

อ่าน หน้ากากดำน้ำ สำหรับคนสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง

การใช้สาย Miflex ให้ปลอดภัย และทนนาน

ทุกเรื่องที่ควรรู้ในการใช้งานสายถัก Miflex ตั้งแต่การประกอบสาย การใช้งาน ข้อควรระวัง การดูแลและบำรุงรักษา จนถึงการทำความสะอาดประจำปี

อ่าน การใช้สาย Miflex ให้ปลอดภัย และทนนาน
Banner - Mask on the sand beach

มารู้จักส่วนประกอบของหน้ากากดำน้ำกันเถอะ

หน้ากากเป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการดำน้ำที่ช่วยให้เราเห็นสิ่งต่างๆ ใต้น้ำได้ชัดเจน และช่วยไม่ให้แสบตาถ้าต้องให้ดวงตาสัมผัสกับน้ำทะเล นอกจากนี้ หน้ากากยังต้องครอบลงมาถึงจมูกไม่ให้เราสำลักน้ำ แต่ที่จริงยังมีหน้าที่สำคัญมากกว่านี้อีกเรื่อง ซึ่งจะเล่าให้ฟังต่อไปในรายละเอียดอีกที หน้าที่สำคัญเหล่านี้ทำให้หน้ากากดำน้ำต้องมีส่วนประกอบต่างๆ หลายอย่าง ที่เหมาะต่อการใช้งาน ทั้งขนาด รูปทรง วัสดุ ให้ตอบโจทย์การดำน้ำทุกรูปแบบ และความต้องการที่ต่างกันไปของนักดำน้ำแต่ละคน ลองมาทำความรู้จักกับส่วนประกอบต่างๆ ของหน้ากากดำน้ำกันดีกว่า เลนส์ (Lens) เลนส์ของหน้ากากดำน้ำส่วนใหญ่ทำมาจากกระจกนิรภัย (tempered glass) ซึ่งมีความแข็งแรง ทนแรงกดได้ดี เป็นคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมดำน้ำ เมื่อแตกจะมีลักษณะเหมือนเม็ดข้าวโพด อันตรายน้อยกว่ากระจกทั่วไป นอกจากนี้ยังมีเลนส์ที่ทำจากโพลีคาร์บอเนต (polycarbonate) ซึ่งดัดโค้งได้ ให้มุมมองสายตาที่กว้างขึ้น โดยไม่เพิ่มปริมาตรอากาศภายในหน้ากาก (low volume) อีกทั้งยังมีน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมักจะใช้กับหน้ากากฟรีไดฟ์ การจัดวางเลนส์โดยพื้นฐานมี 2 แบบ คือแบบเลนส์ชิ้นเดียว (single-len) ที่ให้มุมมองโปร่งโล่ง และแบบเลนส์แยก 2 ชิ้น (double-len) อีกทั้งยังมีหน้ากากที่มีเลนส์ใสๆ อยู่ด้านข้างด้วย (ที่เรียกกันว่าแบบ 3-window และ 4-window) จะให้มุมมองด้านข้างเพิ่มเข้ามา แต่ก็จะทำให้มีปริมาตรมากขึ้นด้วย ทำให้ต้องใช้อากาศในการเคลียร์หน้ากากมากกว่าแบบอื่นๆ เลนส์ของหน้ากากบางรุ่นถูกออกแบบมาให้สามารถเปลี่ยนเป็นเลนส์สายตาสำหรับคนที่สายตาสั้นหรือยาวได้ด้วย ทั้งยังเพิ่มฟังก์ชั่นเสริม เช่น เคลือบสารกันฝ้าหรือติดฟิล์มกันฝ้ามาให้ในตัว เพิ่มเลนส์ UV Cut ที่ช่วยถนอมสายตาจากแสง UV และเลนส์สีเหลือง (amber lens) ที่ช่วยชดเชยสีที่หายไปใต้น้ำ ช่วยให้มองเห็นสีของสิ่งต่างๆ ใต้น้ำได้ตรงความจริงมากขึ้น กรอบเลนส์ (Frame) เป็นส่วนที่ยึดเกาะกับเลนส์และขอบหน้ากาก มักทำด้วยพลาสติก บางรุ่นก็ทำจากอลูมิเนียมเพื่อความสวยงาม อีกทั้งยังสามารถผลิตให้มีสีสันและดีไซน์หลากหลายแบบ ในปัจจุบัน มีหน้ากากหลายรุ่นไม่มีกรอบมาเป็นตัวยึดเกาะเลนส์ แต่ใช้ซิลิโคนหุ้มขอบเลนส์เป็นชิ้นเดียวกับขอบหน้ากาก ทำให้มีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบา หรือที่เราเรียกกันว่า frameless รูปร่างของกรอบเลนส์ จะมีผลต่อทัศนวิสัยของนักดำน้ำ เช่น หน้ากากบางรุ่นมีรูปร่างที่ฉีกออกด้านข้างมากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่มองเห็นด้านข้างได้อีก บางรุ่นยังเพิ่มระยะของกรอบด้านล่าง ทำให้มองเห็นด้านล่างได้มากขึ้น ส่วนความหนาของกรอบเลนส์ (ระยะจากกรอบเลนส์ถึงขอบหน้ากากที่สัมผัสกับใบหน้า) ก็มีผลต่อทัศนวิสัยเช่นกัน คือยิ่งบาง (low profile) ก็จะเพิ่มองศาการมองเห็นได้มากขึ้น และยังมีผลต่อปริมาตรอากาศในหน้ากากด้วย คือยิ่งบางก็ยิ่งทำให้ปริมาตรอากาศน้อย (low volume) สามารถเคลียร์หน้ากากเวลาน้ำเข้าได้ง่ายขึ้น แต่ก็มีโอกาสที่จะกดทับบริเวณโหนกคิ้วหรือจมูกได้ ขอบหน้ากาก (Skirt) เป็นส่วนที่ยึดเกาะกับใบหน้าของเรา มักจะเป็นซิลิโคนที่ให้ความนิ่มสบาย ยืดหยุ่นกระชับใบหน้า เป็นวัสดุที่ไม่ระคายเคือง ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ ทั้งยังแข็งแรงทนทาน หากดูแลรักษาดีๆ อาจมีอายุการใช้งานได้เกิน 10 ปีเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีขอบหน้ากากที่ทำจาก PVC ซึ่งราคาถูกกว่ามาก แต่ใส่แล้วอาจไม่นิ่มสบายนักและไม่กระชับใบหน้า น้ำรั่วเข้ามาง่าย…

อ่าน มารู้จักส่วนประกอบของหน้ากากดำน้ำกันเถอะ
Banner - How to choose mask

เลือกหน้ากากดำน้ำอย่างไร ให้ถูกใจ ใช้ดี ดำน้ำสบาย

5 ข้อพิจารณเพื่อการเลือกหน้ากากดำน้ำที่ถูกใจ เหมาะกับการใช้งาน พอดีกับใบหน้าของคุณ และใช้ดำน้ำไปได้นานๆ

อ่าน เลือกหน้ากากดำน้ำอย่างไร ให้ถูกใจ ใช้ดี ดำน้ำสบาย

Neoprene, Elastane, Yamamoto, Geoprene, Yulex – เรื่องของวัสดุผลิตเว็ทสูท

ในอดีตเมื่อครั้งผมยังดำน้ำใหม่ๆ (ก็ราว 20 กว่าปีโน้นนนมาแล้ว) จำได้ว่า นักดำน้ำเรารู้กันง่ายๆ แค่ว่า เว็ทสูท ทำจากนีโอพรีน (Neoprene) ซึ่งเป็นยางที่มีรูพรุน ช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนของร่างกายเรา ในระหว่างดำน้ำ แค่นั้นเอง ต่อมาไม่นาน เราก็เริ่มได้ยินชื่อวัสดุใหม่ๆ บ้างอย่างเช่น Elastiprene ของเว็ทสูทแบรนด์ Pinnacle ซึ่งที่จริงก็ยังคงมีวัสดุหลักเป็นนีโอพรีน แต่เพิ่มความยืดหยุ่นให้มากขึ้น (ด้วยเทคนิคประการใด ไม่อาจทราบได้ เพราะทางแบรนด์ก็ไม่ได้บอกไว้ชัดเจน) แต่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เราได้เห็นเว็ทสูทรุ่นใหม่ๆ ของแบรนด์ดังหลายแบรนด์ แนะนำชื่อวัสดุใหม่ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน มากมายหลายชื่อกันเลยทีเดียว ทั้งอ้างว่า ดีกว่านีโอพรีนบ้าง ดีกว่าอีกอย่างหนึ่งบ้าง จนพลิกตำรากันไม่ทันว่าอะไรเป็นอะไร ดีกว่าอีกอย่างตามคำโฆษณานั้นหรือไม่ ตัดสินใจกันไม่ถูกว่า รุ่นไหน แบบใด จะเหมาะกับเรากันแน่ ผมจึงต้องไปค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับชื่อวัสดุเหล่านี้ มาให้พวกเราชาวนักดำน้ำได้รู้จักกันจริงๆ จะได้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกใช้เว็ทสูทได้ตรงตามความต้องการจริงๆ ในที่นี้จะขอเล่าถึงวัสดุผลิตเว็ทสูทดังต่อไปนี้ … แต่ก่อนจะไปเล่าถึงวัสดุผลิตเว็ทสูท ขอทำความเข้าใจกันก่อนว่า วัสดุที่เรียกว่า นีโอพรีน ซึ่งเราได้เรียนกันมาว่าเป็นวัสดุหลักของเว็ทสูทนั้น โดยพื้นฐานแล้วเราแทบไม่เคยเห็นมันจริงๆ เลย เพราะนีโอพรีนจะเป็นชั้นที่แทรกอยู่ตรงกลางของเว็ทสูท และถูกปิดผิวภายนอกด้วยผ้าไนลอน, โพลีเอสเตอร์ หรือเส้นใยแบบอื่นๆ เอาไว้ ซึ่งมีทั้ง แบบปิดผิวสองด้าน (double lining) ซึ่งจะปิดผิวทั้งด้านนอกที่มีลวดลายสีสัน และด้านในที่สัมผัสผิวของเรา และ แบบปิดผิวด้านเดียว (single lining) ปิดผิวด้านในด้วยผ้าเพียงด้านเดียว ส่วนด้านนอกต้องผ่านกรรมวิธีปิดรูพรุนของเนื้อยาง ทำให้เป็นผิวแบบ closed cell ทำให้พวกเราส่วนใหญ่ไม่เคยเห็นเนื้อวัสดุนีโอพรีนดั้งเดิมกันเลย และบางครั้งก็เข้าใจว่า ผิวผ้าที่เห็นคือสิ่งที่เรียกว่า นีโอพรีน กันไปแทน ที่จริง สมัยนี้ก็ยังมีแบบไม่ปิดผิวเลยทั้ง 2 ด้าน (no lining) แต่ก็จะมีกรรมวิธีทำให้ผิวด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านเป็นผิวแบบ close cell และอาจทำให้เป็นผิวมันลื่นพอจะกันน้ำภายนอกและสวมใส่กับผิวของเราได้ด้วย แต่ก็มีจุดอ่อนคือ อาจฉีกขาดได้ง่าย จากการจิกหรือดึงแรงๆ ระหว่างใช้งาน ใครจะซื้อเว็ทสูทแบบนี้ใช้งานต้องระวังมากๆ นะครับ ใครสนใจเรื่องนี้แบบละเอียด ต้องคลิกไปอ่านเรื่อง รู้จักทุกแง่มุมของเว็ทสูท กันต่อครับ จากนี้เราก็จะไปทำความรู้จักกับวัสดุชื่อต่างๆ กันได้แล้วครับ นีโอพรีน (Neoprene) ที่จริงคำนี้ก็เป็นชื่อทางการค้าที่ตั้งขึ้นโดยดูปองต์ (DuPont) ซึ่งเป็นบริษัทผู้คิดค้นประดิษฐ์วัสดุนี้ขึ้นในโลกเมื่อราวปีค.ศ. 1930 (ชื่อทางการค้าดั้งเดิมคือ DuPrene แต่ได้ปรับให้เป็นคำสามัญมากขึ้นเรียกว่า neoprene ด้วยเหตุผลทางตลาด) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของวัสดุนี้คือ โพลีคลอโรพรีน (Polychloroprene) มีชื่อย่อว่า CR (มาจากคำว่า Chloroprene Rubber) ซึ่งเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่ง ที่มีคุณสมบัตินิ่ม ยืดหยุ่นดี…

อ่าน Neoprene, Elastane, Yamamoto, Geoprene, Yulex – เรื่องของวัสดุผลิตเว็ทสูท