“ถังออกซิเจน” ไม่ได้ใช้ในการดำน้ำลึก (ทั่วไป) … นะ จะบอกให้

อ่านข่าวทีไร ตกใจทู้กที เดี๋ยวเจอข่าวที่นั่นที่นี่ว่า นักดำน้ำแบกถังออกซิเจนลงไปดำน้ำบ้าง เจอร้านค้าออนไลน์ต่างๆ เสนอขายถังออกซิเจนขนาดเล็ก (ที่เติม “อากาศ” เข้าไปได้เองด้วยนะ) ไว้ใช้ดำน้ำบ้าง จึงต้องรีบออกมาบอกกันให้ชัดๆ ตรงนี้ว่า… นักดำน้ำไม่ได้ใช้ ถังออกซิเจน ลงไปดำน้ำลึก (นะจ๊ะ) นักดำน้ำไม่ได้ใช้ออกซิเจนบริสุทธิ์ในการดำน้ำโดยปกติ (แปลว่ามีบางกรณีที่ใช้เหมือนกัน ซึ่งเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังต่อไป) และถังที่นักดำน้ำใช้หายใจใต้น้ำก็บรรจุอากาศปกตินี่ล่ะ ดังนั้น เราจึงเรียกมันว่า “ถังอากาศ” เฉยๆ (หรือนักดำน้ำสายทหารเค้าจะเรียกกันว่า “ขวดอากาศ” ซึ่งก็เห็นภาพชัดดี เป็นขวดขนาดใหญ่ยักษ์เลยทีเดียว แต่…) ไม่ใช่ “ถังออกซิเจน” นะจ๊ะ หากใครได้ยินชื่อเรียกแบบนี้ แล้วเอาไปเติมออกซิเจนบริสุทธิ์กลับมาให้นักดำน้ำใช้งาน ก็จะงานเข้าได้ เพราะอันตรายถึงชีวิตเชียวนะ ทำไมจึงไม่ใช้ออกซิเจนในการดำน้ำลึก เหตุผลสำคัญมี 2 เรื่องอันตราย กับ 1 เรื่องปกติ อันตรายเรื่องแรก ออกซิเจนติดไฟได้ง่าย หากมีใครเปิดถังไว้ หรือเกิดการรั่วไหล แล้วรอบข้างเกิดมีประกายไฟขึ้นมา อาจเกิดอัคคีภัยกันกลางทะเลได้เลยทีเดียว อันตรายที่สอง ก๊าซออกซิเจนที่ละลายอยู่ในกระแสเลือดภายในร่างกายเราเองนี้ ที่ความลึกมากๆ กลับเป็นอันตรายต่อร่างกายของเรา โดยจะเพิ่มความเป็นกรดในกระแสเลือด แล้วส่งผลทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานผิดปกติ จนถึงขั้นล้มเหลวได้ ซึ่งนั่นหมายถึงชีวิตของเราเลยเชียว ส่วนเรื่องปกติ ก็คือ ปกติแล้ว มนุษย์เราก็ไม่ได้หายใจด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ซะหน่อย อากาศที่เราหายใจอยู่ทั่วไปประกอบด้วยออกซิเจนเพียงประมาณ 21% ส่วนใหญ่เป็นไนโตรเจนที่ 78% เป็นก๊าซอาร์กอน 1% และที่เหลือก็เป็นก๊าซอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ … การดำน้ำโดยทั่วไป ก็ไม่มีเหตุอะไรให้ต้องใช้ออกซิเจนบริสุทธิ์ซึ่งสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากๆ ในเมื่อสามารถใช้อากาศปกติได้อยู่แล้ว แล้วนักดำน้ำใช้อากาศอะไรดำน้ำ อากาศที่นักดำน้ำพกใส่ขวดอากาศ (ชอบคำนี้จัง เป็นศัพท์ที่ใช้กันในหมู่ทหาร) ลงไปดำน้ำ โดยทั่วไปก็คืออากาศปกติที่เราใช้หายใจบนบกนี่ล่ะ ถ้าไม่เชื่อ ลองไปดูที่เครื่องอัดอากาศลงถังก็ได้ ว่าเค้าต่อสายอากาศเข้ามาจากที่ไหน ลองไล่สายไปเรื่อยๆ จะพบว่าปลายของสาย ก็จ่อรับอากาศอยู่แถวๆ ชั้นบนหรือชั้นดาดฟ้าของเรือนั่นแหละ ไม่ได้ไปต่อมาจากถังออกซิเจนที่ไหนเลย แต่เนื่องจากอากาศปกติก็จะเริ่มเป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์ ที่ความลึกประมาณ 58 เมตรลงไป ลึกสุดไม่เกินราวๆ 66 เมตร (ขึ้นกับความสามารถในการทนพิษออกซิเจนได้ ของแต่ละคน) หากนักดำน้ำต้องการดำน้ำลงไปในที่ลึกกว่านี้ ก็ต้องหาวิธีจัดการกับปัญหานี้ให้ได้ ซึ่งในปัจจุบันทำได้ด้วยการลดปริมาณก๊าซออกซิเจนลงอีกนิด ช่วยให้ลงลึกต่อไปได้อีกหน่อย แต่ลดมากเกินไปก็ไม่ได้ เพราะที่สัดส่วนออกซิเจนต่ำเกินไป มนุษย์ก็จะหมดสติจากการขาดออกซิเจนได้เหมือนกัน ในการลดสัดส่วนออกซิเจนลงนี้ เขาจะไม่ทำโดยการเติมไนโตรเจนให้มากขึ้น เพราะที่จริงไนโตรเจนเป็นก๊าซที่มีโทษต่อนักดำน้ำอยู่แล้วทันทีที่เริ่มดำน้ำลงไปได้ไม่กี่เมตรเลยทีเดียว แต่เขาจะเติมก๊าซที่มีผลน้อยกว่าไนโตรเจนลงไปแทน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้ก๊าซฮีเลียม (Helium) อากาศแบบนี้มีชื่อเรียกว่า Trimix แต่ถ้าใช้ฮีเลียมบริสุทธิ์ผสมกับออกซิเจนบริสุทธิ์เท่านั้น ไม่ปนไนโตรเจนและก๊าซอื่นๆ เลย เขาก็จะเรียกชัดๆ ว่า Heliox…

อ่าน “ถังออกซิเจน” ไม่ได้ใช้ในการดำน้ำลึก (ทั่วไป) … นะ จะบอกให้

เดือนนี้…ไปดำน้ำที่ไหนได้บ้าง

เดือนนี้ จะไปเที่ยวทะเลที่ไหนได้บ้าง จำเป็นต้องดูจากลมมรสุมประจำฤดู ซึ่งถ้าหากเราจำได้ ก็จะช่วยให้เราคิดได้ง่ายเลย ว่าตอนนี้เกาะไหนจะโดนลมมรสุมบ้าง แต่ส่วนใหญ่นานๆ จะเที่ยวซักทีนึง ถึงตอนนั้นก็คงลืมกันไปแล้วแน่ๆ ผมเลยทำสรุปรายเดือนไว้ให้ ด้วยรูปด้านล่างนี้ครับ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลนี้ เป็นการคาดการณ์ตามฤดูปกติเท่านั้น บางปีอากาศแปรปรวนก็ยากจะคาดเดา รวมถึงอากาศช่วงต้นเดือนและปลายเดือน ในช่วงรอยต่อฤดู สภาพอากาศก็ย่อมแตกต่างกันด้วย หากใครอยากศึกษาให้เข้าใจถึงที่มาที่ไปให้มากขึ้น สามารถอ่านเพิ่มเติมจากเนื้อหาด้านล่างได้นะครับ   เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเดือนนี้จะมีสภาพอากาศเป็นอย่างไร หากคุณได้ฟังพยากรณ์อากาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยา และได้เคยอ่าน Tips & Tricks หรือมีความเข้าใจ เรื่องลมมรสุม พายุหมุน และร่องความกดอากาศต่ำ จะทำให้คุณสามารถคาดการณ์ สภาพอากาศของแต่ละพื้นที่ของไทย ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น และยังช่วยวางแผนการเดินทาง และการเตรียมตัวท่องเที่ยว ได้เป็นอย่างดี แต่เพื่อให้ง่ายขึ้น เราจึงได้สรุปสภาพอากาศในแต่ละเดือน และสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเล ให้คุณสามารถเลือกไปได้ในเดือนต่างๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ก่อนอื่นต้องอธิบายถึงตัวย่อกันซักนิดครับ ลมมรสุม ตอ./น. หมายถึง ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลมที่พัดมาจากประเทศจีน พาอากาศแห้งและเย็น ลงมาปกคลุมตอนเหนือ ถึงตอนกลาง ของประเทศไทย แล้วหอบเอาความชื้นในอ่าวไทย ไปตกในแถบภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ลมมรสุม ตต./ต. หมายถึง ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เป็นลมที่พัดจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ประเทศไทย โดยหอบเอาความชื้นจากทะเล มาปะทะแนวเขา เกิดเป็นฝนตกชุกในแถบภาคใต้ฝั่งอันดามัน เดือนมกราคม เดือนนี้มีลมมรสุม ตอ./น. พัดจากประเทศจีนลงมา ก่อให้เกิดความหนาวเย็นในพื้นที่ตอนบนของไทย ส่วนการท่องเที่ยวทางทะเล ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ สำหรับทะเลอันดามัน ก็ไม่มีลมมรสุม ตต./ต. ฝั่งทะเลค่อนข้างสงบ สถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับเดือนมกราคม คือ อันดามันเหนือ (หมู่เกาะสิมิลัน เกาะบอน เกาะตาชัย หมู่เกาะสุรินทร์ กองหินริเชลิว) อันดามันใต้ (ภูเก็ต พีพี ทะเลกระบี่ ทะเลตรัง ลงไปถึงหมู่เกาะตะรุเตา) สำหรับฝั่งอ่าวไทย ถือเป็นช่วงที่ดีมาก สำหรับการดำน้ำที่ พัทยา สัตหีบ แสมสาร เกาะช้าง ส่วนเกาะเต่า และทะเลชุมพร ก็สามารถเริ่มไปได้ตั้งแต่ช่วงนี้ เดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุม ตอ./น. ที่พัดมาจากประเทศจีนเริ่มน้อยลง เป็นเดือนที่สามารถท่องเที่ยวทางทะเลได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย ทั้งฝั่งอ่าวไทย อันดามันเหนือ และอันดามันใต้ สถานที่ที่เหมาะสมที่สุด สำหรับฝั่ง อันดามัน คือ สิมิลัน – สุรินทร์ หินแดง หินม่วง พีพี ทะเลกระบี่…

อ่าน เดือนนี้…ไปดำน้ำที่ไหนได้บ้าง

ให้ DiveAssure คุ้มครองการดำน้ำของพวกเรา

ก่อนลงรายละเอียดว่า Dive Assure คุ้มครองอะไรบ้าง ต้องขอทำความเข้าใจก่อนว่า DiveAssure มิใช่บริษัทประกันดำน้ำโดยตรง แต่ DiveAssure เป็นองค์กรที่รับสมัครสมาชิก และมีสิทธิประโยชน์ให้กับสมาชิก เป็นความคุ้มครองเกี่ยวกับความปลอดภัยในการดำน้ำ โดยให้ GBG Insurance Limited เป็นผู้ทำหน้าที่รับประกันในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลต่างๆ จ่ายเงินชดเชย สำหรับกรณีอุบัติต่างๆ โดย GBG Insurance Limited ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายต่างๆ อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการดำน้ำ แก่สมาชิกของ DiveAssure Association โดยบริษัท GBG (ผู้รับประกัน) จะจ่ายหรือชดใช้เงินให้ตามตารางในกรมธรรม์ ภายใต้ข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อจำกัดของกรรมธรรม์ ในกรณีที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากกิจกรรมที่คุ้มครองเท่านั้น (ดูรายละเอียดเพิ่มในกรมธรรม์) ประเภทของสมาชิก DiveAssure DiveSafe ความคุ้มครองที่ได้รับจากการเป็นสมาชิก DiveAssure ประเภท DiveSafe การดำน้ำทั้งในประเทศ และต่างประเทศ การเข้ารักษาตัวใน Hyperbaric Chamber ค่าเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน ค่ารักษาพยาบาลในระหว่างพักฟื้นที่บ้าน จ่ายตรงกับสถานพยาบาล ไม่ต้องสำรองเงินก่อน ค่าใช้จ่ายเดินทาง และที่พัก ส่วนเพิ่มเนื่องจากอุบัติเหตุ ผู้ช่วยเหลือ แนะนำการเดินทาง อุปกรณ์ดำน้ำสูญหาย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุการดำน้ำ ไม่จำกัดความลึก ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับอากาศที่ใช้ คุ้มครองการดำน้ำแบบ Technical Diving สามารถสมัครสมาชิกประเภท รายปี หรือรายวัน *หมายเหตุ: นักดำน้ำจะต้องปฎิบัติตาม 1) ระดับประกาศนียบัตรดำน้ำที่ได้รับ และ 2) มาตรฐานและกระบวนการดำน้ำที่กำหนดขึ้นโดย Agency ผู้ออกบัตรดำน้ำอย่างเคร่งครัด (ในตารางกรมธรรม์) 3) นักดำน้ำห้ามดำน้ำเกินความลึกที่กำหนด และ/หรือ เวลาใต้น้ำที่กำหนดจาก Agency ผู้ออกบัตรดำน้ำชนิดนั้นๆ << ข้อมูลเพิ่มเติม >> << สมัครสมาชิก >> Dive & Travel ความคุ้มครองที่ได้รับจากการเป็นสมาชิก DiveAssure ประเภท Dive & Travel คุ้มครองทั้งทริปดำน้ำ และไม่ดำน้ำ การถูกยกเลิกทริป สูงสุด 7,500 USD ต่อทริป การถูกยกเลิกในระหว่างทริป สูงสุด 3,750 USD ต่อทริป การพลาดการต่อเที่ยวบิน สูงสุด 500 USD ต่อทริป การลดจำนวนวันเดินทาง เนื่องจากเหตุผลด้านสภาพอากาศ และการรักษาพยาบาล ความสูญหาย…

อ่าน ให้ DiveAssure คุ้มครองการดำน้ำของพวกเรา
ไฟฉายดำน้ำ Diving Light

การดูแลไฟฉายดำน้ำ และถ่านไฟฉายแบบชาร์จ

ก่อนเดินทาง ตรวจสอบทำงานของไฟฉายให้ครบทุกฟังก์ชั่น ตรวจสอบรอยขูดขีดบนผิวของ O-ring และร่องสำหรับใส่ O-ring รวมถึงเปลี่ยน O-ring ทุกๆ ปี ในระหว่างเดินทาง ควรแยกเบตเตอรี่ออกจากตัวไฟฉาย ในกรณีที่เดินทางด้วยเครื่องบิน และช่องใส่แบตเตอรี่เป็นแบบเกลียวหมุน ให้คลายฝาปิดเปิดเล็กน้อย เพื่อป้องกันแรงดูดของอากาศหลังจากลงเครื่องบิน หากหมุนปิดสนิทไว้ หลังจากลงเครื่องบินแล้ว จะหมุนออกยากมาก เนื่องจากการขยายตัว และหดตัวของอากาศระหว่างเดินทาง ก่อนลงดำน้ำ ตรวจสอบตามขอบของไฟฉาย ว่ามีส่วนไหนบุบ-แตก หรือไม่ ตรวจสอบเศษผม เศษฝุ่นที่ O-ring หลังจบไดฟ์ ล้างผิวภายนอกของไฟฉายด้วยน้ำจืดทุกครั้งหลังขึ้นจากน้ำทะเล กรณีที่ใช้สวิตซ์เปิดปิดไฟฉายแบบปุ่มกด ควรกดปุ่มในน้ำจืดประมาณ 10 ครั้ง เพื่อไล่น้ำเกลือที่อยู่ในช่องว่างระหว่างปุ่มกดและสปริงออกไป การเก็บรักษา ล้างไฟฉายเหมือนหลังจบไดฟ์ และผึ่งให้แห้งทั้งภายนอกและภายใน ก่อนเก็บเป็นระยะเวลานาน ไม่เก็บแบตเตอรี่ไว้ในกระบอกไฟฉาย และไม่เก็บในที่ร้อน ชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มก่อนเก็บ หรือนำมาชาร์จทุกๆ 3 เดือน เพื่อป้องกัน over-discharging ซึ่งจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็ว

อ่าน การดูแลไฟฉายดำน้ำ และถ่านไฟฉายแบบชาร์จ
Banner for Value-Added Tax

รู้จักกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ก่อนเริ่มขยายธุรกิจ

ถ้าเข้าใจที่มาของภาษีมูลค่าเพิ่ม และคำนวณราคาซื้อขาย ตั้งราคาได้ตามหลักการที่ถูกต้องแล้ว จะพบว่า การเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้เสียประโยชน์อะไรมากนัก และบางธุรกิจอาจได้ประโยชน์มากกว่า เสียภาษีน้อยลงกว่าเดิมด้วย

อ่าน รู้จักกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ก่อนเริ่มขยายธุรกิจ
Banner for Value-Added Tax

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำธุรกิจอย่างสบายใจ ถ้าเข้าใจที่มาและกำหนดราคาเป็น

เรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มที่หลายคนไม่ชอบไม่อยากจ่าย แต่ถ้าได้รู้ได้เข้าใจที่มาอย่างถ่องแท้ และวางระบบราคาสินค้าได้ถูกต้องแล้ว อาจทำให้ยอดเสียภาษีรวมทั้งปีลดลงไปด้วยซ้ำ (เพราะแท้ที่จริงแล้ว ภาษีมูลค่าเพิ่มถูกออกแบบมาเพื่อลดความซ้ำซ้อนของระบบภาษีแบบเดิมต่างหาก) เป็นไปได้อย่างไร มาลองทำความเข้าใจกันเถอะ

อ่าน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำธุรกิจอย่างสบายใจ ถ้าเข้าใจที่มาและกำหนดราคาเป็น
Overbalanced Regulator from Apeks, Aqua Lung, ScubaPro

Overbalanced Regulator ดีอย่างไร จำเป็นต้องใช้หรือไม่

รู้จักกับ Overbalanced Regulator เทียบกับ Unbalanced และ Balanced แล้วไปหาคำตอบกันว่า นักดำน้ำอย่างเรา จำเป็นต้องใช้หรือไม่

อ่าน Overbalanced Regulator ดีอย่างไร จำเป็นต้องใช้หรือไม่
Diving & Vertigo

Vertigo: วิธีป้องกันอาการโลกหมุนในขณะที่ดำน้ำลึก

อาการเวียนหัวหรือ Vertigo อาจเกิดขึ้นได้ในที่ที่คุณคาดไม่ถึงมากที่สุด มาเรียนรู้กันว่า Vertigo คืออะไรและคุณจะป้องกันมันได้อย่างไรผ่านเคล็ดลับต่อไปนี้ Q: ในบางครั้งฉันเกิดอาการ Vertigo ในขณะที่ดำน้ำ ฉันสามารถป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นได้ไหม  A: Vertigo คืออาการที่คุณรู้สึกว่าโลกรอบ ๆ ตัวคุณเคลื่อนที่ หมุนวน หรือว่ากำลังเอียงอยู่ในขณะที่คุณอยู่นิ่ง ๆ Vertigo อาจเป็นผลมาจากอาการเจ็บป่วยหลาย ๆ อย่าง ตั้งแต่การติดเชื้อในหูชั้นในไปจนถึงปัญหาเรื้อรังอย่าง โรคมีเนียร์ Vertigo ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ในหมู่นักดำน้ำ ประสบการณ์ที่คุณเคยสัมผัสถึงอาการแบบนี้เมื่อดำลงไปในที่ที่ลึกมาก ๆ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างธรรมดา วิชาฟิสิกส์การดำน้ำบอกไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงของแรงดันจะเกิดขึ้นมากที่สุดเมื่อเข้าใกล้ผิวน้ำ แต่ในขณะที่นักดำน้ำดำลงไปด้านล่าง การปรับแรงดันที่หูชั้นกลางก็ยังคงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ อยู่ นักดำน้ำหลายคนยังคงดำลงต่อไป แม้ว่าจะเคลียร์หูได้อย่างยากลำบาก นอกจากนั้นยังจำเป็นต้องปรับแรงดันที่หูชั้นกลางในขณะที่ลอยขึ้นด้านบนด้วยเช่นกัน คุณกำลังเผชิญกับอาการที่เรียกว่า alternobaric vertigo ซึ่งมีสาเหตุมาจากแรงดันที่ไม่เท่ากันระหว่างโพรงหูชั้นกลางของคุณ ความแตกต่างของแรงดันตรงนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องแตกต่างกันมาก ๆ ถึงจะเกิดอาการได้ โดยความไม่สมดุลนี้จะถูกส่งต่อไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของหูชั้นใน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการวิงเวียนศรีษะ  นักดำน้ำหลายคนจะมีอาการคลื่นใส้และอาเจียนร่วมด้วย โดยทั่วไปแล้ว Vertigo มักเกิดขึ้นเมื่อนักดำน้ำอยู่ในขาขึ้นมากกว่าขาลง Vertigo ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดอาการไม่สบายตัวเท่านั้น แต่ยังอาจนำไปสู่ปัญหาร้ายแรงกับนักดำน้ำได้อีกด้วย นอกจากนี้ Vertigo ยังสามารถเกิดขึ้นได้ในเวลาที่เราสวมฮูดดำน้ำและฮูดด้านหนึ่งปิดหูแน่นกว่าอีกด้านหนึ่งด้วย สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิดอาการ Vertigo ในระหว่างที่ดำน้ำนั้น นักดำน้ำจะต้องหมั่นปรับแรงดันภายในหูชั้นกลางหรือที่เรียกว่าการเคลียร์หูอย่างระมัดระวัง โดยให้ทำทีละน้อยแต่สม่ำเสมอ และทำต่อเนื่องไปตลอดทั้งการดำน้ำ อ้างอิง: https://www.scubadiving.com/how-to-prevent-vertigo-while-scuba-diving แปลและเรียบเรียงโดย HesitantPatcha

อ่าน Vertigo: วิธีป้องกันอาการโลกหมุนในขณะที่ดำน้ำลึก

3 คำถามง่ายๆ เลือกไฟฉายดำน้ำให้ตรงใจ สำหรับมือใหม่

วิธีการเลือกไฟฉายดำน้ำ สำหรับมือใหม่ Q: อยากได้ไฟฉายดำน้ำซักอัน เลือกยังไงดี A: ไฟฉาย สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ spot light กับ flood light Spot Light คือ ไฟฉายที่ไฟบริเวณกลางวง มีแสงเข้มกว่าบริเวณรอบนอก Flood Light  คือ ไฟฉายที่ให้แสงไฟสว่างเท่ากันหรือพอๆ กันเฉลี่ยทั้งวง Q: จะเลือกใช้แบบไหนดี A: ประโยชน์ของ spot light สำหรับการดำน้ำ คือ เอาไว้ชี้ของต่างๆ ใต้น้ำ ที่เราต้องการดูแบบเฉพาะเจาะจง หรือต้องการชี้ให้เพื่อนๆ ดู ประโยชน์ของ flood light สำหรับการดำน้ำ คือ เอาไว้เป็น focus light เพื่อการถ่ายรูป หรือใช้เป็น video light สำหรับการถ่ายวิดีโอ โดยใช้ได้ทั้งการถ่าย macro และถ่าย wide Q: จะเลือกความสว่างเท่าไหร่ดี A: – Spot Light สำหรับดำน้ำกลางคืน ความสว่าง 230 ลูเมน (Lumen) ก็เป็นความสว่างที่เพียงพอแล้ว แต่หากจะเอาไว้ใช้งานกลางวันด้วย ก็เลือกความสว่างประมาณ 1,000 ลูเมน ซึ่งในสมัยนี้ มีไฟฉายหลายรุ่นที่สามารถปรับความสว่างได้ ทำให้เราพกไฟฉายเพียงกระบอกเดียวก็สามารถใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน – Flood Light หากนำไปใช้เป็น focus light ใช้ความสว่างตั้งแต่ 650 – 1,500 ลูเมน และใช้ ความสว่างตั้งแต่ 2,000 ลูเมน ขึ้นไป หากนำไปใช้เป็น video light และนี่ก็เป็นคำแนะนำเบื้องต้น สำหรับใครที่ยังไม่รู้จะเลือกไฟฉายดำน้ำยังไง ส่วนรายละเอียดในการนำไปใช้เพื่อการถ่ายรูปและถ่ายวิดีโอ จะมาเล่าให้ฟังในครั้งหน้านะครับ

อ่าน 3 คำถามง่ายๆ เลือกไฟฉายดำน้ำให้ตรงใจ สำหรับมือใหม่