Garmin-Descent-MK3

เปิดตัว Garmin Descent MK3 ไดฟ์คอมที่เป็นมากกว่าไดฟ์คอม

Garmin Descent MK3 กับคุณสมบัติเด่นที่เป็นยิ่งกว่าไดฟ์คอม เติมเต็มประสบการณ์ดำน้ำ และยังสามารถใส่ได้ในชีวิตประจำวัน กับฟังก์ชันที่ใส่มาแบบตัวเดียวครบ จบ ทุกความต้องการ

อ่าน เปิดตัว Garmin Descent MK3 ไดฟ์คอมที่เป็นมากกว่าไดฟ์คอม

ไดฟ์คอมพิวเตอร์รุ่นใด ใช้อัลกอริธึมอะไร

ข้อมูลอัลกอริธึมคำนวณการดำน้ำของไดฟ์คอมพิวเตอร์ทุกยี่ห้อ สรุปเป็นตาราง อ่านงาน เข้าใจเร็ว เปรียบเทียบได้ง่าย

อ่าน ไดฟ์คอมพิวเตอร์รุ่นใด ใช้อัลกอริธึมอะไร
Imaginary Dive Computer with Mathematics Equations as Background

รู้จักกับอัลกอริธึมคำนวณการดำน้ำในไดฟ์คอมพิวเตอร์

ไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในท้องตลาดทุกวันนี้ มีอยู่หลายรุ่น หลายแบรนด์ และแต่ละรุ่นก็ใช้อัลกอริธึมการคำนวณผลกระทบของการดำน้ำต่อร่างกายของเรา เช่นเรื่องไนโตรเจนหรือก๊าซอื่นๆ ที่สะสมในร่างกายนักดำน้ำ ตลอดจนความเป็นพิษของออกซิเจนที่ความกดสูง แตกต่างกันไป เพื่อบอกเราถึงเวลาดำน้ำที่เหลืออยู่ หรือความลึกและระยะเวลาที่ต้องทำ stop ก่อนขึ้นสู่ผิวน้ำ รวมถึงช่วยคำนวณการระบายก๊าซออกจากร่างกายระหว่างพักน้ำ เพื่อวางแผนการดำน้ำไดฟ์ถัดไป แม้อาจจะบอกได้ยากว่า วิธีการคำนวณของใครดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด แต่อย่างน้อยการได้เข้าใจคุณลักษณะของอัลกอริธึมเหล่านั้นและความแตกต่างระหว่างแต่ละอัน ก็น่าจะพอช่วยให้เราเลือกไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับเราได้ดียิ่งขึ้น หรือใช้งานไดฟ์คอมพิวเตอร์ด้วยความเข้าใจความหมายของการตั้งค่าต่างๆ ในนั้นได้ดียิ่งขึ้น ก่อนจะไปรู้จักกับอัลกอริธึมการคำนวณเหล่านี้ ต้องขอเล่าถึงทฤษฎีเกี่ยวกับการลดความกด (decompression theory) และโมเดลวิธีคิดที่จะช่วยป้องกันหรือลดอาการเจ็บป่วยจากการลดความกดนี้ เท่าที่วงการดำน้ำของเราได้ศึกษาค้นคว้าและพัฒนากันมาจนถึงปัจจุบัน ก่อนสักเล็กน้อย Decompression Theory อาการเจ็บป่วยจากการลดความกดถูกพบเมื่อราว 150 ปีที่แล้ว (ค.ศ. 1871) จากกรณีการสร้างสะพานบรุคลินที่นิวยอร์คด้วยการสร้างกล่องกักอากาศให้คนงานลงไปขุดดินใต้แม่น้ำเพื่อทำฐานรากของสะพานแล้วพบว่าคนงานมีอาการเจ็บป่วยคล้ายๆ กัน ต่อมาเมื่อการดำน้ำลึกแพร่หลายมากขึ้น ก็พบอาการเจ็บป่วยในนักดำน้ำด้วยเช่นกัน ในปี ค.ศ. 1906 ราชนาวีอังกฤษจึงได้ว่าจ้าง J. S. Haldane ให้วิจัยหาสาเหตุและวิธีการป้องกันอาการดังกล่าว และต่อมาก็ได้เผยแพร่ผลการวิจัยแก่สาธารณะ ทฤษฎีของ Haldane เสนอว่า เมื่อคนหรือสัตว์ได้รับอากาศความกดแตกต่างจากเดิม ก็จะมีการดูดซับเข้าหรือคายออกจากเนื้อเยื่อต่างๆ โดยที่อัตราการดูดซับและคายออกของเนื้อเยื่อจะแตกต่างกันไปหลายระดับ รวมทั้งค่าความอิ่มตัวสูงสุดที่เนื้อเยื่อแต่ละชนิดจะทนได้ก่อนจะแสดงอาการเจ็บป่วยก็แตกต่างกันไปด้วย เขาสรุปทฤษฎีออกมาเป็นโมเดลเนื้อเยื่อสมมติ (theoretical tissue compartment) 5 ชนิดที่มีอัตราการดูดซับแตกต่างกัน 5 ระดับเพื่อใช้เป็นตัวแทนในการคำนวณหาขีดจำกัดระยะเวลาที่จะดำน้ำได้ที่แต่ละระดับความลึก และเกิดเป็นตารางดำน้ำ (dive table) เพื่อใช้วางแผนการดำน้ำ จากนั้นก็ได้มีการปรับปรุงทฤษฎีนี้โดยนักวิจัยจากองค์กรต่างๆ อีกหลายครั้ง มีการเพิ่มเนื้อเยื่อสมมติเข้าไปอีก เป็น 6 ชนิด 9 ชนิด มีการปรับปรุงค่าความอิ่มตัวสูงสุดที่เนื้อเยื่อจะทนได้ ให้เป็นค่าที่แปรผันสัมพันธ์กับความกดที่เปลี่ยนแปลงไป (หรือก็คือความลึกนั่นเอง) ไม่ใช่ค่าคงที่ตายตัวของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด อย่างในทฤษฎีเดิม เรียกชื่อใหม่ว่า M-value ค่าความอิ่มตัวสูงสุดที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่นๆ แบบนี้ทำให้เหมาะจะใช้การคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ มากกว่าจะเป็นตารางคำนวณแบบตายตัวอย่างตอนแรกเริ่ม นักวิจัยคนสำคัญที่ทำให้ทฤษฎีนี้เข้าใกล้ความสมบูรณ์มากที่สุด ก็คือ Albert A. Bühlmann ที่ได้พยายามค้นหาเนื้อเยื่อที่มีอัตราการดูดซับมากที่สุด (นานที่สุดกว่าจะอิ่มตัว) ซึ่งมีผลต่อการคำนวณระยะเวลาการพักน้ำเพื่อการดำน้ำไดฟ์ถัดไป (repetitive dive) จนมีการเพิ่มเนื้อเยื่อสมมติเข้าไปอีกรวมทั้งหมดเป็น 16 ชนิด และยังได้พัฒนาต่อยอดทฤษฎีเดิมอีกหลายเรื่อง เพื่อการดำน้ำในที่สูง หรือใช้อากาศผสมก๊าซอื่นๆ ด้วย เมื่อทฤษฎีและโมเดลการคำนวณ ได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ตารางดำน้ำเดิมของ US Navy ก็ได้รับการปรับปรุงตามมาเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน เมื่อการดำน้ำเริ่มเป็นที่นิยมของบุคคลทั่วไปมากยิ่งขึ้น เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสันทนาการมากขึ้น นักวิจัยของ PADI ก็ได้ปรับปรุงแนวโมเดลการคำนวณใหม่เป็นของตัวเอง เรียกว่า DSAT Model หรือ DSAT Algorithm…

อ่าน รู้จักกับอัลกอริธึมคำนวณการดำน้ำในไดฟ์คอมพิวเตอร์
Blood Cells with Air Bubbles and Physics Equations (as banner for article)

ความเป็นมาของทฤษฎีการลดความกดในการดำน้ำ (Dive Decompression Theory)

ความเป็นมาของการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายของมนุษย์ ภายใต้ความกดอากาศสูงกว่าปกติ เพื่อออกแบบมาตรการความปลอดภัยในการดำน้ำ

อ่าน ความเป็นมาของทฤษฎีการลดความกดในการดำน้ำ (Dive Decompression Theory)
Diving with shark - FreedomDive - 001

NDL เธอเหลือเท่าไร?

ในคลิป มีฉลามชื่ออะไรบ้างลองเดากันดูครับ แต่ที่อยากเล่า คือประสบการณ์ในการเช็ค NDL จำได้เลยตอนถ่ายคลิปนี้ ดำอยู่ที่ 20 กว่าเมตร กำลังเกี่ยวฮุกอยู่ พอมอง NDL ผมเหลือ 5

อ่าน NDL เธอเหลือเท่าไร?

GF (Gradient Factor) คืออะไร

หลายปีมาแล้ว นักวิชาการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ใต้น้ำ ชื่อ Eric Baker ได้พัฒนาแนวคิดเรื่อง gradient factor หรือปัจจัยความแตกต่างของแรงกดดัน ขึ้นมาเพื่อเป็นเทคนิคในการทำให้สูตรคำนวณการดำน้ำ (algorithm) มีความปลอดภัยสูงขึ้น โดยแนวคิดนี้จะถูกนำมาใช้กับสูตรคำนวณของ buhlmann ZHL-16 แนวคิดนี้ทำให้นักดำน้ำมีความยืดหยุ่นที่จะปรับแต่งโปรไฟล์การดำน้ำของตน ในการจัดการกับความเสี่ยงต่อโรค DCS ข้อดีของการคำนวณจากแนวคิดนี้ คือทำให้นักดำน้ำสามารถเลือกความเข้มข้นในการทำ deep stop ของตนเองได้ และสามารถเลือกได้ว่าจะขึ้นสู่ผิวน้ำด้วยระดับการ Supersaturation มากหรือน้อยเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับ M-Value แนวคิด GF นี้จะมีตัวเลขไว้สื่อสารกับเราสองตัว โดยจะทำการตั้งค่า ตัวอย่างเช่น 50/70 ซึ่งมันจะหมายความว่า เลขตัวแรก GF low คือตัวกำหนดว่าเราจะเริ่มทำ stop แรกที่ความลึกมากหรือน้อย และเลขตัวที่สอง GF high เราสามารถกำหนดได้ว่า stop ตื้นของเราจะยาวนานขนาดไหน หากเราต้องการทำ stop แรกในที่ลึก ให้ลึกสักหน่อย (เช่นการทำ deep stop ที่นิยมกันในช่วงปี 2000) เราก็จะตั้ง GF low ให้มีตัวเลขต่ำๆ เช่น 20 ซึ่งตัวเลขนั้นจะหมายถึงเปอร์เซ็นต์ของ M-Value ถ้าตัวเลขเป็น 20 ก็หมายถึงว่าเราขึ้นจากที่ลึกและมีระดับ Supersaturation เพียง 20% ของค่าสูงสุด (M-Value) เราก็จะต้องหยุดรอแล้ว หากเราตั้งค่าตัวเลขสูงขึ้นเครื่องก็จะอนุญาตให้เราขึ้นไปตื้นกว่า เช่นถ้าตั้งค่าไว้ 50% ก็จะขึ้นจากความลึกไปหยุดทำ stop แรกในที่ตื้นกว่าตั้งค่าไว้ 20% เป็นต้น และหากตัวเลขขึ้นไปสูงสุด เช่น 100% ของ M-Value นั่นคือเราตั้งค่าให้ขึ้นไปสู่ที่ตื้นได้จนถึงขีดจำกัดสูงสุดที่กำหนดไว้ใน M-Value ได้เลยทีเดียว การตั้งตัวเลข GF low น้อยๆ จึงหมายความว่าเราตั้งค่าให้สูตรอนุญาตให้เรามีการ supersaturation ได้น้อย จึงต้องหยุดในที่ลึกมากกว่าเวลาตั้งตัวเลข GF low สูงๆ หรืออีกนัยหนึ่ง คือตั้ง GF low ต่ำต้องทำ stop ในที่ลึกมากกว่านั่นเอง ส่วนการตั้ง GF high คือการตั้งค่าการอนุญาตให้ขึ้นสู่ผิวน้ำ เช่นหากเราตั้งค่า GF high ไว้ต่ำ ตัวอย่างเช่นตั้งไว้ สัก 50 นั่นก็หมายความว่าเครื่องหรือตารางดำน้ำจะสั่งให้เรารอจนอัตราการ supersaturation ของเราลดลงจนเหลือ…

อ่าน GF (Gradient Factor) คืออะไร

Suunto D5 ไดฟ์คอมพิวเตอร์รุ่นล่าสุดจาก Suunto

This entry is part 2 of 2 in the series sunnto

Suunto D5 ไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่หลายคนรอคอย มาดูฟีเจอร์เด่นๆ ของเค้ากันก่อนตัดสินใจซื้อกันดีกว่า

อ่าน Suunto D5 ไดฟ์คอมพิวเตอร์รุ่นล่าสุดจาก Suunto

เปิดตัว Suunto D4i Novo 2 สีใหม่ล่าสุด พร้อมลดราคา D4i Novo ทุกสี

This entry is part 1 of 2 in the series sunnto

เปิดตัว Suunto D4i Novo สีใหม่ Copper และ Light Gold พร้อมข่าวดีลดราคา D4i Novo ทุกสีเหลือเพียง 19,990 บาทเท่านั้น

อ่าน เปิดตัว Suunto D4i Novo 2 สีใหม่ล่าสุด พร้อมลดราคา D4i Novo ทุกสี

ระบบการคำนวณของ Dive Computer

รูปแบบของการคำนวณ ปริมาณไนโตรเจนในร่างกาย ของ dive computer นั้น ไม่ได้แตกต่างไป กับที่ใช้ในตารางดำน้ำ หรือจาก The Wheel แต่อย่างใด เพียงแต่ dive computer จะคำนวณจากความลึก และเวลาจริงที่นักดำน้ำทำการดำน้ำ รวมทั้งจากการพักน้ำด้วย ทำให้เวลาในการดำน้ำ มีมากกว่าการใช้ตารางดำน้ำทั่วไป เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลากับความลึกที่ไม่ได้ดำ dive computer ก็มีความแตกต่างกันไปในการคำนวณ เราสามารถแบ่งกลุ่ม dive computer ออกได้เป็นสามกลุ่มหลักๆ ดังนี้ Spencer Limit, EE Washout dive computer กลุ่มนี้ จะมีค่า M-Value คล้ายกันกับตารางดำน้ำทั่วไป และค่าขีดจำกัดของเวลาในการดำน้ำ สำหรับการดำน้ำครั้งเดียว ก็ไม่แตกต่างจากของตารางดำน้ำ เช่นกัน ในขณะที่พักน้ำ เวลาในการกำจัดไนโตรเจนในร่างกาย ก็จะใช้การคำนวณ halftime เท่ากันกับเวลา ที่ไนโตรเจนเข้าสู่ร่างกาย (EE จึงหมายถึง Exponential Uptake, Exponential Release) Spencer Limit, 60 Minutes Washout dive computer กลุ่มนี้ ใช้การคำนวณแบบเดียวกันกับตารางดำน้ำ เช่นเดียวกันกับแบบแรก แตกต่างจากแบบแรก เพียงเรื่องของการคำนวณ การกำจัดไนโตรเจนในร่างกาย ซึ่งจะคำนวณให้ compartment ที่มี halftime เท่ากับหรือน้อยกว่า 60 นาที ใช้การสลายไนโตรเจนออกจากร่างกายที่ระดับ halftime 60 นาที ส่วน compartment ที่ใช้เวลาช้ากว่านี้ ให้ใช้การสลายไนโตรเจนออกจากร่างกาย ตามเวลา halftime ของแต่ละ compartment นั้นๆ dive computer กลุ่มนี้ จะมีความคล้ายคลึงกับตารางดำน้ำทั่วไปมากที่สุด Buhlmann Limit, EE Washout dive computer กลุ่มนี้ จะใช้ค่า M-Value ที่ต่ำกว่า ตามการคำนวณของ Dr Buhlmann และเวลาในการกำจัดไนโตรเจนออกจากร่างกาย จะเป็นไปตามเวลา halftime ของแต่ละ compartment นั้น dive computer กลุ่มนี้ จึงให้เวลาขีดจำกัดในการดำน้ำ น้อยกว่าตารางดำน้ำทั่วไป dive computer รุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบัน สามารถคำนวณ และลดเวลาในการดำน้ำให้เราได้ หากเรามีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็น…

อ่าน ระบบการคำนวณของ Dive Computer