เบาหวาน กับ การดำน้ำ

โรคเบาหวานกับการดำน้ำ คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน มีข้อควรระวังหรือกิจกรรมที่ต้องงดเว้นต่างๆ ซึ่งการดำน้ำ ก็เป็นหนึ่งในกิจกรรมเหล่านั้น อาการของโรคเบาหวานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยหมดสติใต้น้ำ เสี่ยงที่จะเกิดอันตรายถึงชีวิต แล้วทุกคนที่เป็นโรคเบาหวานไม่ควรดำน้ำจริงหรือ มีผลต่อความปลอดภัยในการดำน้ำได้อย่างไร เราจะมาทำความรู้จักกับโรคนี้จากบทความของ DAN.org กัน โรคเบาหวานคืออะไร โรคเบาหวานเป็นโรคที่ร่างกายไม่สามารถผลิตหรือตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำตาลในเลือด คนที่มีสุขภาพดีจะรักษาระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงแคบๆ ที่ 70 – 110 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) ของเลือด ส่วนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอาจมีระดับน้ำตาลในเลือดผันผวนมาก ปัญหาหลักคือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอาจทำให้หมดสติได้ และระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจส่งผลให้การไหลเวียนโลหิตและการมองเห็นลดลง ในบทความนี้ได้แบ่งโรคเบาหวานออกเป็น 2 ประเภท ประเภท 1 หรือเบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลิน (Insulin-Requiring Diabetes Mellitus : IRDM) คือการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ ประเภท 2 เป็นการที่ร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือเซลล์ของร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน หรือเบาหวานที่เริ่มมีอาการในวัยผู้ใหญ่ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานโดยเฉพาะกลุ่ม IRDM มีความเสี่ยงสูงที่จะหมดสติกะทันหัน จึงถูกแนะนำให้งดเว้นจากกิจกรรมต่างๆ เช่น การดำน้ำลึก การศึกษาของ DAN เกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือดและการดำน้ำสันทนาการ นักวิจัยของ DAN ศึกษาการตอบสนองของน้ำตาลในเลือดของนักดำน้ำเชิงสันทนาการวัยผู้ใหญ่ ที่เป็นเบาหวานกลุ่ม IRDM เปรียบเทียบกับนักดำน้ำที่ไม่เป็นโรคเบาหวานซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม ซึ่งเงื่อนไขของนักดำน้ำกลุ่ม IRDM ที่นักวิจัยนำมาศึกษามีดังนี้ สามารถควบคุมอาการได้ในระดับปานกลาง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทุติยภูมิ และไม่ได้เข้ารับการรักษาเนื่องจากความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ระดับน้ำตาลในเลือดต้องสูงกว่า 80 mg/dL ก่อนการดำน้ำแต่ละครั้ง นักดำน้ำต้องใช้อุปกรณ์วัดระดับน้ำตาลในเลือดแบบพกพาที่ใช้นิ้ว และบันทึกค่าก่อนและหลังการดำน้ำหลายครั้ง เป็นการดำน้ำเชิงสันทนาการที่มีความตึงเครียดเล็กน้อยถึงปานกลาง ในน่านน้ำเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน เพราะความเครียดจะเพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับความซับซ้อนของอุปกรณ์ ความรุนแรงของน้ำ ลักษณะการดำน้ำ หรือเหตุฉุกเฉิน ซึ่งอาจไปเพิ่มความผันผวนของระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผลการศึกษา ความผันผวนของระดับน้ำตาลในเลือดของนักดำน้ำกลุ่ม IRDM สูงกว่ากลุ่มควบคุม ไม่มีกลุ่มใดมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระหว่างการดำน้ำหรือหลังดำน้ำในทันที ร้อยละ 7 ของกลุ่ม IRDM ระดับน้ำตาลในเลือดหลังการดำน้ำลดลงต่ำกว่า 70 mg/dL (ต่ำสุดคือ 41 mg/dL) และร้อยละ 1 ของกลุ่มควบคุม ต่ำสุดคือ 56 mg/dL แม้ว่านักดำน้ำกลุ่ม IRDM จะไม่ได้รายงานภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำก่อน ระหว่าง หรือหลังการดำน้ำทันที แต่ก็ยังมีอาการต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำน้ำ เช่น คลื่นไส้ วิตกกังวล ตัวสั่น รู้สึกหนาว และปวดศีรษะ ซึ่งอาการเหล่านี้ก็มากพอที่จะปลุกนักดำน้ำให้ตื่นกลางดึกได้ ข้อสรุป การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดของนักดำน้ำกลุ่ม IRDM อยู่ในช่วงตั้งแต่ 283 –…

อ่าน เบาหวาน กับ การดำน้ำ

ตุ่มแดง ผื่นคัน หลังเล่นน้ำทะเล เกิดจากอะไร แก้ไขและป้องกันได้อย่างไร

ผู้ที่ชอบเที่ยวทะเล เล่นน้ำชายหาด หรือดำน้ำดูปะการัง บางคนอาจเคยต้องพบกับความรู้สึกคันยิบๆ ไปจนถึงแสบร้อนตามเนื้อตัวให้รำคาญใจ และแม้ขึ้นจากทะเลแล้วก็อาจพบกับตุ่มเล็กๆ สีแดงบนผิวหนัง หรือผื่นแดงปรากฏขึ้นเป็นพื้นที่ใหญ่ๆ บนร่างกายอีกด้วย ทำเอาเล่นน้ำไม่สนุก หรือต้องทุกข์กับผิวที่เสียโฉมไปหลายวันเลยทีเดียว ปัญหาเหล่านี้เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไร มีวิธีป้องกันหรือไม่ เรามีคำตอบมาให้ สาเหตุ สาเหตุหลักของผื่นคันแดงเหล่านี้เกิดขึ้นจากพิษของสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ หลายชนิดที่อยู่ในน้ำทะเล ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ ตัวอ่อนของสัตว์ในกลุ่มเดียวกับแมงกะพรุน เช่น ปะการัง ดอกไม้ทะเล และแมงกะพรุนชนิดต่างๆ นั่นเอง ตัวอ่อนของสัตว์เหล่านี้ส่วนใหญ่มีขนาดไม่ถึงมิลลิเมตร อาจมีแมงกะพรุนชนิดที่ตัวเต็มวัยก็มีขนาดเพียง 1-2 ซ.ม. บ้าง ซึ่งก็จัดว่ายากจะสังเกตเห็นและหลบหลีกได้อยู่ดี นอกจากสัตว์กลุ่มแมงกะพรุนแล้ว ยังมีสัตว์ในตระกูลอื่นบางชนิดที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ในบางคนได้ พวกเราคงเคยได้ยินชาวบ้านหรือนักท่องเที่ยวที่คุ้นเคยกับทะเล เรียกชื่อสิ่งที่ทำให้เกิดอาการแสบๆ คันๆ แบบนี้ได้ ว่า “แตนทะเล” กันมาบ้างแล้ว ที่จริงชื่อนี้ไม่ได้หมายถึงสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่หมายรวมสัตว์ทะเลหลากหลายชนิดที่มองไม่เห็นตัวเหล่านี้นั่นเอง สัตว์เหล่านี้แม้จะมีขนาดเล็ก หรือยังอ่อนวัย แต่ก็มีเข็มพิษที่พร้อมทำงานได้เช่นกัน แม้จะมีปริมาณหรือความรุนแรงของพิษไม่มากนัก แต่ก็ทำให้เกิดรอยผื่นแดงคันได้ หากร่างกายของเราแพ้สารพิษเหล่านั้น หรือหากในช่วงนั้นมีตัวอ่อนเหล่านี้แพร่กระจายอยู่มาก (อาจจะสัมพันธ์กับฤดูกาล ช่วงเวลาเช้าเย็นหรือน้ำขึ้นน้ำลง) เราก็อาจได้รับพิษจำนวนมาก และแสดงอาการมากตามไปด้วย อาการ โดยทั่วไป อาการอาจเริ่มต้นด้วยอาการคันยุบยิบตามผิวหนัง โดยเฉพาะส่วนที่ไม่มีเสื้อผ้าปกคลุม ระหว่างดำน้ำหรือเล่นนำ้ทะเลอยู่ ในบางคนอาจรู้สึกแค่คันยิบๆ แต่ยังไม่ปรากฏเป็นผื่นหรือตุ่มแดงๆ หรืออาจเริ่มมีบ้างเล็กน้อย บางคนอาจไม่มีอาการเหล่านี้ระหว่างอยู่ในน้ำเลยก็ได้ ส่วนใหญ่อาการมักจะยังไม่เกิดขึ้นในทะเลเพราะเข็มพิษยังไม่ได้สัมผัสกับสิ่งกระตุ้นต่างๆ เมื่อขึ้นจากน้ำทะเลแล้ว อาจรู้สึกคันมากขึ้น และอาจมีผื่นหรือตุ่มแดงปรากฏขึ้นมาอีก และซึ่งก็มักจะมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะไม่ได้อยู่ในน้ำแล้วก็ตาม แสดงว่า เจ้าแพลงก์ตอนพวกนี้ติดมาตามเสื้อผ้าหรือเว็ทสูทของเราด้วย (หรือบางทีก็มีแต่เข็มพิษที่ติดมา ไม่ได้มาทั้งตัว) และเมื่อเราไล่น้ำออกจากเสื้อผ้าของเรามากขึ้น เขาก็ได้สัมผัสผิวหนังของเรามากขึ้น และเข็มพิษของเขาก็เริ่มทำงานมากขึ้นด้วย อาการผื่นแดงคันเหล่านี้ มักจะปรากฏมากบริเวณหน้าอก ข้อพับ ขาหนีบ ซึ่งเป็นบริเวณที่เสียดสีกับเสื้อผ้า หรือเสียดสีกับผิวหนังกันเองบ่อยๆ แล้วกระตุ้นให้เข็มพิษทำงาน ปล่อยพิษใส่ผิวหนังของเรานั่นเอง อาการที่พบในแต่ละคนจะแตกต่างกันไปได้หลายระดับแล้วแต่การตอบสนองของร่างกาย บางคนแค่คันๆ แต่ไม่มีรอยแดง บางคนแพ้เป็นผื่นแดงและหายไปในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน ในขณะที่บางคนก็ใช้เวลาหลายเดือนกว่าร่องรอยจะหายจนหมด สำหรับคนที่มีอาการแพ้รุนแรงอาจถึงขั้นบวมพองเป็นตุ่มน้ำใสๆ แตกเป็นแผลเหวอะหวะ กว่าจะหายก็กินเวลาหลายเดือน และด้วยความที่อยู่ได้นานเป็นเดือนๆ กับคนที่แพ้มาก นี่เองที่ทำให้ใครหลายคนต้องคิดแล้วคิดอีก เมื่อจะตัดสินใจไปลงเล่นน้ำในทะเล แม้ว่าจะรักทะเล อยากเห็นฝูงปลา สัตว์น้ำ และปะการังอันสวยงามมากมาย ก็ตามที เตรียมตัวเที่ยวทะเล การป้องกันที่ดี เริ่มต้นทันทีเมื่อคุณวางแผนทริป 1. วางแผนเที่ยวตามฤดูกาลและแหล่งท่องเที่ยว หลายปีก่อน (หรือกว่าสิบปีมาแล้ว) การเพิ่มปริมาณของแพลงก์ตอน (ซึ่งก็คือช่วงการขยายพันธ์ของสัตว์ทะเลกลุ่มนี้) มักจะสัมพันธ์กับฤดูกาล และอุณหภูมิน้ำทะเล ในแต่ละท้องถิ่นด้วย ซึ่งทำให้เราพอจะวางแผนเที่ยวทะเลที่ต่างๆ เพื่อลดโอกาสเจอแตนทะเลได้บ้าง แต่ปัจจุบันนี้ ด้วยสภาพอากาศที่แปรปรวน จนทำให้เกิดแพลงก์ตอนบูมได้ตลอดทั้งปี ไม่มีระยะเวลาที่แน่นอน เราจึงอาจเลือกฤดูกาลที่จะเลี่ยงหรือลดโอกาสเจอแตนทะเลไม่ได้เท่าใดนัก อย่างไรก็ตาม…

อ่าน ตุ่มแดง ผื่นคัน หลังเล่นน้ำทะเล เกิดจากอะไร แก้ไขและป้องกันได้อย่างไร

โรคหอบหืดกับการดำน้ำ

การดำน้ำลึกเป็นกิจกรรมที่ไม่สามารถหายใจในสภาพแวดล้อมและวิธีการตามปกติได้ ต้องอาศัยเครื่องช่วยจ่ายอากาศให้เรา ผู้ป่วยจากโรคหอบหืดหลายคนที่สนใจการดำน้ำลึก แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะอันตรายกับตัวเองถึงชีวิตหรือไม่ หากเกิดอาการหอบหืดระหว่างอยู่ใต้น้ำ รวมถึงครูสอนดำน้ำเองก็ไม่แน่ใจว่า หากสอนหรือพาผู้ป่วยโรคหอบหืดไปดำน้ำ จะปลอดภัยหรือไม่ หรือมีข้อควรระวังหรือมาตรการป้องกันอย่างไรได้บ้างหรือไม่ วันนี้เรามีบทความจาก DAN.org มาฝากกัน โรคหอบหืดกับการดำน้ำ โรคหอบหืดเป็นโรคที่มีลักษณะการตีบของท่อหายใจ (หลอดลม) เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ซึ่งการการตอบสนองจะไม่คงที่ และปอดอาจทำงานแย่ลงอย่างฉับพลันทำให้เกิดอาการของโรคได้ อาการจะเกิดขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นโดยละอองเกสรดอกไม้ สารก่อภูมิแพ้ อากาศเย็น สารก่อความระคายเคืองในอากาศ หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ โรคหอบหืดกับการดำน้ำเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักดำน้ำมานาน ในอดีตคนที่เป็นโรคหอบหืดจะต้องหลีกเลี่ยงการดำน้ำ แล้วโรคหอบหืดส่งผลต่อการดำน้ำได้อย่างไร และไม่ควรดำน้ำจริงหรือ อาการที่อาจเกิดขึ้นจากการดำน้ำ การตีบของหลอดลมส่งผลกระทบดังนี้ ปริมาณอากาศที่สามารถเคลื่อนเข้าและออกจากปอดลดลง ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการออกกำลังลดลงด้วย โดยเฉพาะในนักดำน้ำที่ถูกลดความสามารถในการหายใจเนื่องมาจากความต้านทานของอุปกรณ์ช่วยหายใจจากความลึกที่เพิ่มขึ้น การตีบของหลอดลมจะทำให้อากาศค้างอยู่ในปอด เมื่อขึ้นสู่ที่ตื้น อากาศที่ค้างอยู่จะขยายตัวเร็วเกินกว่าจะระบายออกผ่านทางเดินหายใจแคบๆ ปอดอาจฉีกและเกิดภาวะฟองอากาศอุดตันในหลอดเลือดแดง (arterial gas embolism) หรือปอดรั่ว (pneumothorax) นักดำน้ำที่เป็นโรคหอบหืดไม่เพียงจะมีความเสี่ยงจากอากาศอุดตันเท่านั้น แต่ความสามารถในการออกแรงยังลดลงด้วย แม้การหยุดพักหายใจขณะอยู่บนบกจะเป็นเรื่องง่าย แต่เมื่ออยู่ใต้น้ำอาจทำได้ยาก สมาคมการเวชศาสตร์ใต้น้ำแห่งแปซิฟิกใต้ (SPUMS) ระบุว่าการดำน้ำอาจทำให้เกิดอาการของโรคหอบหืด ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะหายใจติดขัด ตื่นตระหนก และจมน้ำได้ การจัดการกับโรคหอบหืด โรคหอบหืดแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามความรุนแรง ได้แก่ ไม่สม่ำเสมอ (Mild Intermittent Asthma) มีอาการนานๆ ครั้ง ช่วงที่มีอาการ สั้นกว่า 1 ครั้ง/สัปดาห์ หรือมีอาการกลางคืนน้อยกว่า 2 ครั้ง/เดือน รุนแรงน้อย (Mild Persistent Asthma) มีอาการมากกว่า 1 ครั้ง/สัปดาห์ หรือมีอาการกลางคืนมากกว่า 2 ครั้ง/เดือน รุนแรงปานกลาง (Moderate Persistent Asthma) มีอาการเกือบทุกวัน หรือมีอาการกลางคืนมากกว่า 2 ครั้ง/สัปดาห์ รุนแรงมาก (Severe Persistent Asthma) มีอาการตลอดเวลา การรักษาโรคหอบหืดสัมพันธ์กับความรุนแรงและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำน้ำ จากการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำและเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง (Undersea and Hyperbaric Medical Society หรือ UHMS) นักดำน้ำที่เป็นโรคหอบหืดใน 3 กลุ่มแรก อาจได้รับอนุญาตให้ดำน้ำได้ หากควบคุมโรคหอบหืดได้ดี และรักษาให้ผลการทดสอบสมรรถภาพปอดเป็นปกติ โดยเฉพาะหลังการออกกำลังกาย ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดก็อาจดำน้ำได้อย่างปลอดภัย คำแนะนำในการดำน้ำ สำหรับนักดำน้ำ แต่ละประเทศมีแนวทางที่แตกต่างกันว่าผู้ที่เป็นโรคหอบหืดสามารถดำน้ำได้หรือไม่ – ในอังกฤษ ผู้ที่ควบคุมโรคหอบหืดได้ดีสามารถดำน้ำได้ หากไม่จำเป็นต้องใช้ยาขยายหลอดลมภายใน 48 ชั่วโมง และไม่มีอาการของหอบหืดหลังจากการออกกำลังกาย…

อ่าน โรคหอบหืดกับการดำน้ำ

หน้ากากดำน้ำ สำหรับคนสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง

ทางเลือกใหม่ สำหรับคนที่มีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง ที่อยากมองโลกใต้ทะเลให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องใส่คอนแทกเลนส์

อ่าน หน้ากากดำน้ำ สำหรับคนสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง

Spleen Effect เคล็ดไม่ลับ ทำให้กลั้นหายใจได้นาน

ม้าม ( spleen effect )เป็นอวัยวะที่อยู่ในช่องท้องด้านซ้าย ด้านล่างของกระบังลม บริเวณด้านหลังของกระเพาะอาหาร สามารถขยายและหดตัวได้ หน้าที่หลักๆของมันคือ เป็นตัวกรองเลือดที่ได้รับความเสียหายออกจากระบบหมุนเวียนโลหิต เมื่อเม็ดเลือดแดงเข้าไปในม้ามจะต้องไหลผ่านเข้าไปในเส้นเลือดมากมาย ที่มีลักษณะคล้ายเขาวงกต เม็ดเลือดที่ดีจะไหลผ่านม้ามออกไปได้ ส่วนเม็ดเลือดที่คุณภาพไม่ดีจะถูกย่อยสลายโดยเม็ดเลือดขาวที่อยู่ในม้าม จะได้แร่ธาตุเหล็กออกมา เพื่อส่งไปผลิตเม็ดเลือดใหม่ที่ไขกระดูก หน้าที่สำคัญอีกอย่างของม้าม คือ เป็นที่เก็บเลือดสำรอง เนื่องจากม้ามสามารถขยายและหดตัวได้ในเวลาที่ร่างกายต้องการเลือดมากขึ้น เช่น ประสบอุบัติเหตุสูญเสียเลือด ม้ามจะหดตัวเพื่อปล่อยเม็ดเลือดเข้ามาในระบบหมุนเวียนโลหิตเพิ่มมากขึ้น Spleen Effect สำคัญต่อ Freedive อย่างไร เนื่องจากม้ามมีเลือดเก็บสำรองไว้ มันจึงเป็นอวัยวะที่ช่วยในการดำน้ำฟรีไดฟ์โดยช่วยปล่อยเลือดที่เก็บสำรองไว้ออกมา เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดให้มากขึ้น เช่น แมวน้ำจะมีปริมาณเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเริ่มดำน้ำ ทำให้สามารถกลั้นหายใจได้นานถึงหนึ่งชั่วโมง แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ไม่ได้ดำน้ำบ่อยๆเช่น มนุษย์ จะสามารถเพิ่มระยะเวลาในการกลั้นหายใจได้อย่างไร การทดลอง Spleen Effect ของมนุษย์ การดำน้ำของคนโดยทั่วไปจะประกอบด้วย 2 ช่วง คือ ช่วงแรกกลั้นหายใจแบบสบายๆ (easy-going phase) ไม่รู้สึกอึดอัด และช่วงที่สองจะรู้สึกอึดอัด(struggle phase) อยากหายใจเนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นจนกระทั่งทนไม่ไหว การทดลองจะแบ่งคนเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มคนที่มีม้ามปกติ (Intact) 10 คน และกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ถูกตัดม้ามออกไปแล้ว (splenectomized) 10 คน ทั้งสองกลุ่มไม่เคยฝึกกลั้นหายใจในน้ำมาก่อน โดยให้กลั้นหายใจ 5 ครั้ง (AFI 1 – 5) เพื่อทดสอบระยะเวลาที่กลั้นหายใจได้ และวัดปริมาณของเม็ดเลือดแดง (hemoglobin และ hematocrit) ผลที่ได้จากการทดลอง หลังจากกลั้นหายใจดำน้ำไป 5 ครั้ง พบว่าระยะเวลาในการดำน้ำ (apneic time) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในกลุ่มของผู้ที่มีม้ามปกติ (Intact) และผู้ที่ตัดม้ามออกไปแล้ว (splenectomized) ระยะเวลาในการดำน้ำ (apneic time) ของคนปกติจะนานกว่า คนที่ไม่มีม้ามตั้งแต่ครั้งแรก (AFI : apneas with face immersion) ส่วนช่วง easy-going phase ของคนทั้งสองกลุ่มจะเท่าๆกันในสองครั้งแรก แต่ในกลุ่มของคนที่ม้ามปกติ เวลาในช่วง easy phase จะเพิ่มขึ้น ในครั้งที่3 (AFI 3) และระยะเวลารวมก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปริมาณของเลือด และ ฮีโมโกลบินใน กลุ่มของคนที่ม้ามเป็นปกติจะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และ จะค่อยๆลดลงสู่ระดับปกติ เมื่อผ่านไป 10 นาที หลังจากดำน้ำครั้งสุดท้าย…

อ่าน Spleen Effect เคล็ดไม่ลับ ทำให้กลั้นหายใจได้นาน

Lung Stretching เพื่อเพิ่มความจุปอด

หลังจาก Jaques Mayol พบว่า การยืดเหยียดกล้ามเนื้อเเบบโยคะส่งผลต่อการดำน้ำเเบบฟรีไดฟ์ นักฟรีไดฟ์ระดับโลกทุกคนก็ฝึก lung stretching เพื่อช่วยให้ร่างกายยืดหยุ่น เวลาที่เผชิญกับเเรงดันน้ำเมื่อดำลงไปลึกๆได้ดี ยิ่งร่างกายมีความยืดหยุ่นดีมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เคลื่อนไหวใต้น้ำได้ง่ายป้องกันการเกิดตะคริว ความยืดหยุ่นในกล้ามเนื้อเเต่ละส่วนก็มีประโยชน์ ในการฟรีไดฟ์ต่างกัน เช่น การยืดกล้ามเนื้อช่วงหัวไหล่จะทำให้ ร่างกายลู่น้้ำ ช่วยให้ใช้เเรงเตะขาน้อยลง ความยืดหยุ่นในกล้ามเนื้อช่วงปอด จะทำให้ ร่างกายผ่อนคลายต่อเเรงดันน้ำได้มากขึ้น เคลียร์หูได้ง่ายเมื่อดำลงไปลึกๆ Lung Stretching คืออะไร การยืดกล้ามเนื้อรอบๆปอด คือการเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับ กล้ามเนื้อบริเวณอกซี่โครง เเละ กล้ามเนื้อกระบังลม ปกติโดยทั่วไป ปอดของผู้ชายจะจุอากาศได้เฉลี่ย 6 ลิตร เเละปอดของผู้หญิงสามารถจุอากาศได้เฉลี่ย 4.2 ลิตร Lung Exercise ไปเพื่ออะไร นักฟรีไดฟ์จะฝึกยืดกล้ามเนื้อรอบๆปอดประจำ เพื่อทำให้ความจุของปอดเพิ่มขึ้น และสามารถ ทนต่อเเรงดำน้ำได้ดี มีส่วนช่วยให้การเคลียร์หูทำได้ง่ายเวลาที่ดำลงไปลึกๆ เพราะ residual volume ลดลง การยืดกล้ามเนื้อช่วงอก จะทำให้ร่างกายสามารถผ่อนคลายได้เมื่อเผชิญกับเเรงดันน้ำมากๆเเละยิ่งดำลงไปลึกมากขึ้นเท่าไหร่ เเรงดันน้ำจะยิ่งทำให้ปอดเล็กลง ซี่โครงยิ่งถูกบีบเเรงขึ้นเรื่อยๆ จนรู้สึกเจ็บบริเวณอก เเละ คอหอย ร่างกายที่เครียดเกร็งยังเป็นสาเหตุให้เกิด lung mask squeeze ได้ง่าย ขั้นตอนเเละอุปกรณ์ ในการฝึก lung stretching เทคนิค เพิ่มความจุปอด เมื่อคนพูดถึงการเพิ่มความจุปอด มักนึกถึงการเพิ่มขนาดของปอด เเต่พื้นฐานอันดันเเรกคือ วิธีการใช้งานปอดให้มีประสิทธิภาพเต็มที่ ด้วยการหายใจที่ถูกต้อง 1.พื้นฐานการหายใจเเบบ pranayama เป็นวิธีการหายใจโดย เเบ่งกล้ามเนื้อที่ใช้หายใจเป็นส่วนๆ คนที่ฝึกกลั้นหายใจใหม่ๆ มักใช้ กล้ามเนื้อหน้าอกในการหายใจ เพราะรู้สึกเป็นธรรมชาติมากกว่าเพราะรู้สึกเคยชินกับการหายใจเเบบนี้ เเต่เป็นวิธีการหายใจที่ผิดเพราะ การใช้กล้ามเนื้ออกทำให้ร่างกายใช้ออกซิเจนในการหายใจมาก การหายใจถูกจำกัดด้วยกระดูกซี่โครง ทำให้หายใจตื้นเเละเร็วการฝึกหายใจจะเริ่มต้นด้วยการหายใจด้วยกระบังลม ซึ่งกระบังลมเป็นแผ่นกล้ามเนื้อที่ เเบ่งระหว่างทรวงอก กับช่องท้อง เป็นส่วนที่ใช้ในการหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อหายใจเข้า กระบังลมจะลดต่ำลง ช่องท้องจะขยายออก เเละเมื่อหายใจออก กล้ามเนื้อกระบังลมจะผ่อนคลาย ช่องท้องยุบลง จะไม่ใช้กล้ามเนื้อกระบังลมหรืออกในการหายใจออก เพียงเเค่ผ่อนคลายเฉยๆ เมื่อหายใจโดยใช้กระบังลมจนเต็มเเล้ว ให้หยุดเเละผ่อนคลาย เเล้วเริ่มขยายกล้ามเนื้ออกหายใจเข้าช้าๆหลังจากอกขยายจนเต็ม ให้หยุดผ่อนคลายสักครู่เเล้วจึงหายใจออก ส่วนสุดท้ายของ การหายใจแบบ pranayama คือการใช้หัวไหล่ บางคนก็เรียกว่า การหายใจโดยใช้กระดูกไหปลาร้าเป็นการหายใจเพิ่มส่วนบนสุดของปอดให้เต็ม หายใจด้วยกระบังลมให้เต็ม หยุดเเล้วผ่อนคลายเเล้วหายใจด้วยอกให้เต็ม หยุดเเล้วผ่อนคลาย หลังจากนั้นหายใจเข้ายกไหล่ขึ้น ให้ลมเข้าไปจนเต็มหลอดลม ปิดหลอดลมเเล้วเอาไหล่ลง ผ่อนคลาย เเล้วค่อยเปิดหลอดลมหายใจออก ***ฝึกบ่อยๆจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการหายใจ ช่วยให้ปอดจุอากาศได้มากและฟรีไดฟ์ได้นาน*** 2. Thoracic stretching ยิ่งกล้ามเนื้อเเละกระดูกบริเวณทรวงอกยืดหยุ่น…

อ่าน Lung Stretching เพื่อเพิ่มความจุปอด

มันไม่ใช่เรื่องสุดวิสัย

#มันไม่ใช่เรื่องสุดวิสัย 20.7.60 สัปดาห์ที่แล้วฉันกับเพื่อนสนิทไปเรียนดำน้ำลึก (scuba diving) กันมา ในเบื้องแรก สิ่งที่ดูน่ากลัวที่สุด สำหรับคนที่รู้แค่ทฤษฎี แต่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ตรง คือ ภาวะประเภทที่ทำให้ต้องเข้าโรงพยาบาล อย่างเช่น Decompression sickness, ปอดแตก (pneumothorax) เป็นต้น คิดแล้วรู้สึกปอดแหกหน่อยๆ ต่อเมื่อได้ลงน้ำ เราจึงประจักษ์ว่า โอกาสเกิดภาวะร้ายแรงแบบนั้น มันมีน้อยยยจริงๆ … มันไม่ได้เกิดกับใครง่ายๆ คล้ายๆ กับที่ว่า คนหล่อหรือสวยจัดๆ ก็มีแค่หยิบมือของสังคม … และมักไม่ได้ตกมาเป็นแฟนเรา ตอนเรียนภาคทฤษฎี ข้อสอบข้อหนึ่งถามว่า “ถ้าหากช่วงดำน้ำลงไป เกิดอาการหูอื้อ จัดการไม่ได้ จะต้องทำอย่างไร?” ฉันกับเพื่อน ลังเลระหว่างคำตอบสองข้อ 1. หยุดอยู่กับที่ แล้วเคลียร์หูจนกว่าจะได้ ค่อยลงต่อ 2. ลอยขึ้นไปสูงขึ้น 1-2เมตร แล้วเคลียร์หูจนกว่าจะได้ ค่อยลงต่อ เราไม่แน่ใจว่าหมายถึง ได้พยายามเคลียร์แล้วแต่ไม่สำเร็จ หรือ สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อเจอปัญหานี้ ครูเฉลยข้อ 2. ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อไป หากข้อ 1. ไม่ได้ผล เราสองคนจำวิธีแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้แม่น เพราะครูเน้นมากว่า ต้องเคลียร์หูให้ได้ เพราะถ้าไม่ได้จะเจ็บ …. ซึ่งจะเจ็บไปตลอด คงไม่ใช่ตลอดชีวิต แต่อาจจะเป็นตลอดเวลาเกือบชั่วโมงในแต่ละไดฟ์ (ทั้งหมด 4 ครั้ง ใน 2 วัน) หรือตลอดสัปดาห์ พวกเราไม่ได้ถามละเอียดไปกว่านั้น เพราะในเมื่อเรามีวิธีรับมือ ก็ไม่ต้องกังวลอะไรเกินไป เราสอบในทะเลครั้งแรก ที่เกาะง่ามใหญ่ ทักษะที่เคยฝึกในสระว่ายน้ำลึก 2 เมตร เรามาทำมันที่ 12 เมตรใต้ทะเล แต่เพียงไม่กี่เมตรจากผิวน้ำ ทั้งฉันและเพื่อนก็รู้สึกปวดหู มันไม่ใช่แค่การอื้อแบบเวลาเครื่องบินขึ้น แต่มันคือความรู้สึกปวดจี๊ด เราพยายาม “เคลียร์หู” อยู่ตลอด – เบ่งลมออกหู โดยหายใจออกทางจมูกที่ถูกบีบไว้ (Valsalva Maneuver) แต่อาการปวดก็แหลมเสียดขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะทางที่เราดิ่งลงไปเบื้องล่าง ทั้งฉันและเพื่อนพยายามส่งสัญญาณมือว่า “ไม่โอเค” แล้วชี้ที่หู ครูรับรู้ แต่ก็เพียงทำท่าบีบจมูกเบ่งลมออกหูตอบ … ก่อนจะพาเราทั้งคู่ลงลึกไปอีก มืออูมๆ จากร่างอวบอ้วนราวร้อยกิโลของเขา ดึงเราลงไปห่างจากผิวน้ำเรื่อยๆ ไม่ว่าเราจะพยายามแค่ไหน ที่จะบอกเค้าว่าหูเราปวด ปวด ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ผลลัพธ์สุดท้าย ทุกครั้งเวลาขึ้นมาถึงผิวน้ำ คือ เลือดกำเดา…

อ่าน มันไม่ใช่เรื่องสุดวิสัย

โรคเบาหวานและการดำน้ำสันทนาการ

ความเสี่ยงของโรคเบาหวานที่มีผลต่อการดำน้ำ หากเป็นเบาหวานจะดำน้ำได้อย่างไร และคำแนะนำในการเตรียมตัวไปดำน้ำสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

อ่าน โรคเบาหวานและการดำน้ำสันทนาการ
Coral - FreedomDIVE - 002

เคลียร์หูพลาดอาจโดนใบแดง

ผมมีเรื่องที่เกิดกับตัวเองมาเล่าให้ฟังครับ ในฐานะนักดำน้ำมือใหม่ เราคงต้องเคยพลาดในการเคลียร์หู (Ear Equalization) บ้างไม่ครั้งก็ 2 ครั้ง

ท้ายบทความนี้จะมีวิธีการเคลียร์หูด้วยวิธีต่างๆ

อ่าน เคลียร์หูพลาดอาจโดนใบแดง

สูบบุหรี่บนเรือยังไงไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน

ผมมีข้อเสนอแนะ (ไม่ได้เขียนเอาฮาหรือเสียดสีนะครับ) ผมว่า กัปตันกับเจ้าหน้าที่เรือส่วนใหญ่ เขารู้หน้าที่และรู้ความรับผิดชอบอยู่แล้ว เค้าไม่มาทำลายอาชีพเพราะแค่อยากสูบบุหรี่หรอกครับ dive lead ก็เช่นกัน

อ่าน สูบบุหรี่บนเรือยังไงไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน