เบาหวาน กับ การดำน้ำ

โรคเบาหวานกับการดำน้ำ คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน มีข้อควรระวังหรือกิจกรรมที่ต้องงดเว้นต่างๆ ซึ่งการดำน้ำ ก็เป็นหนึ่งในกิจกรรมเหล่านั้น อาการของโรคเบาหวานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยหมดสติใต้น้ำ เสี่ยงที่จะเกิดอันตรายถึงชีวิต แล้วทุกคนที่เป็นโรคเบาหวานไม่ควรดำน้ำจริงหรือ มีผลต่อความปลอดภัยในการดำน้ำได้อย่างไร เราจะมาทำความรู้จักกับโรคนี้จากบทความของ DAN.org กัน โรคเบาหวานคืออะไร โรคเบาหวานเป็นโรคที่ร่างกายไม่สามารถผลิตหรือตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำตาลในเลือด คนที่มีสุขภาพดีจะรักษาระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงแคบๆ ที่ 70 – 110 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) ของเลือด ส่วนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอาจมีระดับน้ำตาลในเลือดผันผวนมาก ปัญหาหลักคือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอาจทำให้หมดสติได้ และระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจส่งผลให้การไหลเวียนโลหิตและการมองเห็นลดลง ในบทความนี้ได้แบ่งโรคเบาหวานออกเป็น 2 ประเภท ประเภท 1 หรือเบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลิน (Insulin-Requiring Diabetes Mellitus : IRDM) คือการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ ประเภท 2 เป็นการที่ร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือเซลล์ของร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน หรือเบาหวานที่เริ่มมีอาการในวัยผู้ใหญ่ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานโดยเฉพาะกลุ่ม IRDM มีความเสี่ยงสูงที่จะหมดสติกะทันหัน จึงถูกแนะนำให้งดเว้นจากกิจกรรมต่างๆ เช่น การดำน้ำลึก การศึกษาของ DAN เกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือดและการดำน้ำสันทนาการ นักวิจัยของ DAN ศึกษาการตอบสนองของน้ำตาลในเลือดของนักดำน้ำเชิงสันทนาการวัยผู้ใหญ่ ที่เป็นเบาหวานกลุ่ม IRDM เปรียบเทียบกับนักดำน้ำที่ไม่เป็นโรคเบาหวานซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม ซึ่งเงื่อนไขของนักดำน้ำกลุ่ม IRDM ที่นักวิจัยนำมาศึกษามีดังนี้ สามารถควบคุมอาการได้ในระดับปานกลาง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทุติยภูมิ และไม่ได้เข้ารับการรักษาเนื่องจากความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ระดับน้ำตาลในเลือดต้องสูงกว่า 80 mg/dL ก่อนการดำน้ำแต่ละครั้ง นักดำน้ำต้องใช้อุปกรณ์วัดระดับน้ำตาลในเลือดแบบพกพาที่ใช้นิ้ว และบันทึกค่าก่อนและหลังการดำน้ำหลายครั้ง เป็นการดำน้ำเชิงสันทนาการที่มีความตึงเครียดเล็กน้อยถึงปานกลาง ในน่านน้ำเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน เพราะความเครียดจะเพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับความซับซ้อนของอุปกรณ์ ความรุนแรงของน้ำ ลักษณะการดำน้ำ หรือเหตุฉุกเฉิน ซึ่งอาจไปเพิ่มความผันผวนของระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผลการศึกษา ความผันผวนของระดับน้ำตาลในเลือดของนักดำน้ำกลุ่ม IRDM สูงกว่ากลุ่มควบคุม ไม่มีกลุ่มใดมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระหว่างการดำน้ำหรือหลังดำน้ำในทันที ร้อยละ 7 ของกลุ่ม IRDM ระดับน้ำตาลในเลือดหลังการดำน้ำลดลงต่ำกว่า 70 mg/dL (ต่ำสุดคือ 41 mg/dL) และร้อยละ 1 ของกลุ่มควบคุม ต่ำสุดคือ 56 mg/dL แม้ว่านักดำน้ำกลุ่ม IRDM จะไม่ได้รายงานภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำก่อน ระหว่าง หรือหลังการดำน้ำทันที แต่ก็ยังมีอาการต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำน้ำ เช่น คลื่นไส้ วิตกกังวล ตัวสั่น รู้สึกหนาว และปวดศีรษะ ซึ่งอาการเหล่านี้ก็มากพอที่จะปลุกนักดำน้ำให้ตื่นกลางดึกได้ ข้อสรุป การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดของนักดำน้ำกลุ่ม IRDM อยู่ในช่วงตั้งแต่ 283 –…

อ่าน เบาหวาน กับ การดำน้ำ

แบ่งปันประสบการณ์บ้านหมุนใต้น้ำ

แบ่งปันประสบการณ์บ้านหมุนใต้น้ำ เวลาดำน้ำอย่าซ่า ยาวหน่อยอยากให้อ่าน Day1 เมื่อวันเสาร์มีโอกาสได้ไปดำ Scuba ที่ชุมพร ก็ดำน้ำ dive 1 ไม่เป็นไร พอขึ้น dive 2 อาการมาเลยจ้า คือ ขึ้นมาถึงผิวน้ำปุ๊บอ้วกหนักมาก มากจนไม่เหลืออาหารตอนกลางวันเลย จนต้อง skip dive 3 อาการที่เกิดขึ้นคือ หลับตาไม่ได้ กินอะไรอ้วกหมด ภาพตรงหน้าคือหมุนหมด มือชา เกร็ง ไม่มีแรง เหมือนเวลาเมาเหล้าอ่ะ คิดว่าแฮงค์ทรมานขนาดไหน อาการนี่คูณ 5 ไปเลยจ้า หมดแรง ขาอ่อนแรง ต้องมีคนช่วยพยุง ถอดเวทสูทเองยังถอดไม่ได้เลย กินยาแก้เมาเรือรอดูอาการไปอีกคืน (เพราะถ้าเมาเรือ เมาบก อีกวันต้องหาย) Day2 ตื่นขึ้นมา คิดว่าตัวเองหายแล้วเพราะเหลือดำน้ำอีก 2 dive เลยลองเดิน เชี่ย!!! เอียงจะล้ม เป็นไรวะเนี่ย เลยรู้ตัวเองละว่าไม่ไหว เลยนอนต่อไปอีก โชคดีในกรุ๊ปที่ไปดำด้วยกันมีหมอมาด้วย เลยเขียนใบให้ไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ตอนนั้นยังอ้วกไม่หยุด (ยังไม่ได้กินอะไรเพิ่ม เพราะกินแล้วอ้วกตลอด) กินแต่ยาแก้เมาเรือประคองอาการ จนมาถึงรพ. เข้าห้องฉุกเฉินตอนนั้นหมดแรง มือเย็น ตัวซีดเหลือง ความดันสูง น้ำตาลตก หมอก็จะมีการทดสอบตา หมอแจ้งว่าตาเรากระตุก ทำให้เราบ้านหมุน ส่วนจะเป็นข้างไหนต้องไปตรวจอีกที มีการเจาะเลือดให้ยา (ตอนให้ยาคือทรมานมาก มันแสบไปทั้งตัว น้ำตาไหลกันเลยทีเดียว) ตอนนั้นก็รอดูอาการ หมอยืนยันต้องการให้เราแอดมิตที่รพ. แต่เราก็ยืนยันว่าต้องการกลับกทม. สรุปหมอก็ต้องยอมในความดื้อของเรา Day3 ยังอึน เอียงๆ เดินไกลๆ ไม่ได้ เดินไม่ตรง Day4 วันนี้มาตรวจแบบละเอียดกัน คุณหมอที่รพ.ภูมิพล คือตรวจละเอียดมาก มีการทดสอบหลายอย่าง หลายอย่างที่คิดว่าตัวเองทำได้กลับทำไม่ได้ แต่หมอบอกว่าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นจากเราขึ้นสู่ผิวน้ำเร็วเกินไป ต้องช้าลงกว่านี้ ทำให้แรงดันในหูปรับไม่ทัน อีกอย่างคือไม่ได้เคลียร์หูบ่อยๆ ด้วย วันนี้หมอบอกว่าเราเป็นโรคการบาดเจ็บจากแรงดันต่อหู (Otitic Barotrauma) แล้วทำให้มีอาการบ้านหมุนแบบ Alternobaric vertigo Alternobaric vertigo (reverse squeeze) เกิดจากอากาศในหูชั้นกลางขยายตัวขณะดำขึ้น แต่ Eustachian tube ไม่เปิดให้อากาศระบายออกมาก จนเยื่อแก้วหูฉีกขาดได้ ซึ่งพบได้น้อย อาจเป็นภาวะแทรกซ้อนต่อมาจาก middle ear squeeze ขณะดำน้ำลงหรือการใช้ nasal decongestant แล้วยาหมดฤทธิ์ก่อนที่จะดำน้ำขึ้น จะมีอาการเวียนหัวบ้านหมุน…

อ่าน แบ่งปันประสบการณ์บ้านหมุนใต้น้ำ

แชร์ประสบการณ์เกือบตายจาก Decompression Sickness (DCS) หรือ โรคน้ำหนีบ

ให้อ่านและอย่าทำตามโดยเด็ดขาด จากโพสก่อนหน้า(บ้านหมุนใต้น้ำ) : ได้ไปหาหมอมาทั้งหมด 3 รพ.แล้ว การวินิจฉัยส่วนใหญ่ คือ จะเป็นเกี่ยวกับหู มีหลายคนอินบ๊อกซ์มา หลายคนมากบอกว่าแนะนำให้เราเข้ารพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้าโดยด่วนที่สุด โดยเฉพาะคุณนัท ที่โทรมาอธิบายว่าเคยเป็นเหมือนกัน แต่อาการแสดงน้อยกว่าเรา อยากให้รีบไปตรวจและได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด จึงรีบไปตอนเย็นวันนั้นเลย พอถึงรพ.แจ้งว่าดำน้ำมา เค้าจะนำตัวเราเข้าสู่ห้อง ICU ให้ Oxygen โดยทันที มีการซักประวัติเยอะมากกก (ถ้าเอาไดฟ์คอมมาจะดีมาก) ทดสอบเบื้องต้นเรื่องการทรงตัว ประสาทสัมผัส มีเอ็กซเรย์ปอด, EKG วัดคลื่นหัวใจ, วัดชีพจร, ตรวจเลือด CBC แต่กรีนจะมีปัญหาเรื่องความดันสูง (ปกติจะไม่เป็น) หมอเลยแจ้งว่าต้องให้เราเข้าห้องแชมเบอร์ หรือ ห้องปรับแรงดันบรรยากาศสูง (Hyperbaric Chamber) ระหว่างการตรวจคุยกับคุณหมอ คุณหมอขอดู dive computer แต่เราบอกว่าไม่มี คุณหมอบอกไดฟ์คอมสำคัญต่อชีวิตมากเลยนะ เพราะมันจะเตือนเราทุกๆ อย่าง หลังจากนี้สอยแล้วค่ะ เข็ดมากๆๆๆๆๆๆ Dive Computer = ชีวิต ก่อนเข้าห้อง ก็จะมีทำแบบทดสอบความจำ ก่อนเข้าห้อง ถอดเครื่องประดับทุกชนิด สาวๆ แนะนำใส่ sport bra จะได้ไม่ต้อง no-bra นะคะ คอนแทคเลนส์สายตาสามารถใส่เข้าไปเฉพาะชนิด soft lens ของมีค่าแนะนำไว้ในรถ หรือ ไม่ควรเอามานะคะ ถ้ามาคนเดียว สามารถนำน้ำเปล่าเข้ามาจิบได้ค่ะ ใครติดมือถืองดเล่นยาวๆ ค่ะ ได้ใช้ชีวิตในยุค 90 บรรยากาศในห้อง ครั้งที่ 1 (6 ชั่วโมง นิดๆ) เย็นสบายตามราคา เป็นเตียงผู้ป่วย มีจอทีวีให้ดู เลือกหนังได้ค่ะ แต่เจ้าหน้าที่จะกดรีโมทให้นะคะ ตอนแรกจะมีการปรับระดับอยู่ที่ความลึก 60 ฟุต ภายใน 3 นาที ใครเคลียร์หูยากอาจจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่นิดนึงนะคะ แต่กรีนเคลียร์หูง่ายผ่านไปด้วยดี หลังจากนั้นก็ทำตามขั้นตอนมีการพัก 5 นาทีบ้าง 15 นาทีบ้าง โดยคุณหมอจะคอยสังเกตอาการเราอยู่เรื่อยๆ ค่ะ *ส่วนตัวนะคะ อยู่ดีๆ รู้สึกอึดอัด แพนิคหน่อยตอนท้ายๆ แล้วแต่คนนะคะ ถ้าเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ทันทีค่ะ ปล.ในห้องมีห้องน้ำนะคะ หลังจากการทำครั้งที่ 1 เหมือนวิ้งๆ เล็กน้อย สิวผุดขึ้นมาเต็มเลยค่ะ 555+ บางคนบอกหน้าใส แล้วแต่คนเลยค่ะ โดยรวมอาการดีขึ้นแต่ยังไม่ 100% มีการทำแบบทดสอบครั้งแรกอีกครั้ง…

อ่าน แชร์ประสบการณ์เกือบตายจาก Decompression Sickness (DCS) หรือ โรคน้ำหนีบ

มันไม่ใช่เรื่องสุดวิสัย

#มันไม่ใช่เรื่องสุดวิสัย 20.7.60 สัปดาห์ที่แล้วฉันกับเพื่อนสนิทไปเรียนดำน้ำลึก (scuba diving) กันมา ในเบื้องแรก สิ่งที่ดูน่ากลัวที่สุด สำหรับคนที่รู้แค่ทฤษฎี แต่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ตรง คือ ภาวะประเภทที่ทำให้ต้องเข้าโรงพยาบาล อย่างเช่น Decompression sickness, ปอดแตก (pneumothorax) เป็นต้น คิดแล้วรู้สึกปอดแหกหน่อยๆ ต่อเมื่อได้ลงน้ำ เราจึงประจักษ์ว่า โอกาสเกิดภาวะร้ายแรงแบบนั้น มันมีน้อยยยจริงๆ … มันไม่ได้เกิดกับใครง่ายๆ คล้ายๆ กับที่ว่า คนหล่อหรือสวยจัดๆ ก็มีแค่หยิบมือของสังคม … และมักไม่ได้ตกมาเป็นแฟนเรา ตอนเรียนภาคทฤษฎี ข้อสอบข้อหนึ่งถามว่า “ถ้าหากช่วงดำน้ำลงไป เกิดอาการหูอื้อ จัดการไม่ได้ จะต้องทำอย่างไร?” ฉันกับเพื่อน ลังเลระหว่างคำตอบสองข้อ 1. หยุดอยู่กับที่ แล้วเคลียร์หูจนกว่าจะได้ ค่อยลงต่อ 2. ลอยขึ้นไปสูงขึ้น 1-2เมตร แล้วเคลียร์หูจนกว่าจะได้ ค่อยลงต่อ เราไม่แน่ใจว่าหมายถึง ได้พยายามเคลียร์แล้วแต่ไม่สำเร็จ หรือ สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อเจอปัญหานี้ ครูเฉลยข้อ 2. ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อไป หากข้อ 1. ไม่ได้ผล เราสองคนจำวิธีแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้แม่น เพราะครูเน้นมากว่า ต้องเคลียร์หูให้ได้ เพราะถ้าไม่ได้จะเจ็บ …. ซึ่งจะเจ็บไปตลอด คงไม่ใช่ตลอดชีวิต แต่อาจจะเป็นตลอดเวลาเกือบชั่วโมงในแต่ละไดฟ์ (ทั้งหมด 4 ครั้ง ใน 2 วัน) หรือตลอดสัปดาห์ พวกเราไม่ได้ถามละเอียดไปกว่านั้น เพราะในเมื่อเรามีวิธีรับมือ ก็ไม่ต้องกังวลอะไรเกินไป เราสอบในทะเลครั้งแรก ที่เกาะง่ามใหญ่ ทักษะที่เคยฝึกในสระว่ายน้ำลึก 2 เมตร เรามาทำมันที่ 12 เมตรใต้ทะเล แต่เพียงไม่กี่เมตรจากผิวน้ำ ทั้งฉันและเพื่อนก็รู้สึกปวดหู มันไม่ใช่แค่การอื้อแบบเวลาเครื่องบินขึ้น แต่มันคือความรู้สึกปวดจี๊ด เราพยายาม “เคลียร์หู” อยู่ตลอด – เบ่งลมออกหู โดยหายใจออกทางจมูกที่ถูกบีบไว้ (Valsalva Maneuver) แต่อาการปวดก็แหลมเสียดขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะทางที่เราดิ่งลงไปเบื้องล่าง ทั้งฉันและเพื่อนพยายามส่งสัญญาณมือว่า “ไม่โอเค” แล้วชี้ที่หู ครูรับรู้ แต่ก็เพียงทำท่าบีบจมูกเบ่งลมออกหูตอบ … ก่อนจะพาเราทั้งคู่ลงลึกไปอีก มืออูมๆ จากร่างอวบอ้วนราวร้อยกิโลของเขา ดึงเราลงไปห่างจากผิวน้ำเรื่อยๆ ไม่ว่าเราจะพยายามแค่ไหน ที่จะบอกเค้าว่าหูเราปวด ปวด ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ผลลัพธ์สุดท้าย ทุกครั้งเวลาขึ้นมาถึงผิวน้ำ คือ เลือดกำเดา…

อ่าน มันไม่ใช่เรื่องสุดวิสัย

โรคเบาหวานและการดำน้ำสันทนาการ

ความเสี่ยงของโรคเบาหวานที่มีผลต่อการดำน้ำ หากเป็นเบาหวานจะดำน้ำได้อย่างไร และคำแนะนำในการเตรียมตัวไปดำน้ำสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

อ่าน โรคเบาหวานและการดำน้ำสันทนาการ
Coral - FreedomDIVE - 002

เคลียร์หูพลาดอาจโดนใบแดง

ผมมีเรื่องที่เกิดกับตัวเองมาเล่าให้ฟังครับ ในฐานะนักดำน้ำมือใหม่ เราคงต้องเคยพลาดในการเคลียร์หู (Ear Equalization) บ้างไม่ครั้งก็ 2 ครั้ง

ท้ายบทความนี้จะมีวิธีการเคลียร์หูด้วยวิธีต่างๆ

อ่าน เคลียร์หูพลาดอาจโดนใบแดง
DCS Case Kitthanes - EP2 - chamber

เปิดประสบการณ์กับการเป็น DCS Type 2 EP.3 + Final

ผลการรักษา DCS type 2 คุณหมอหาสาเหตุของอาการ ไขข้อสงสัยจากผู้มีประสบการณ์เป็น DCS และความสำคัญในการซื้อประกันดำน้ำ

อ่าน เปิดประสบการณ์กับการเป็น DCS Type 2 EP.3 + Final
DCS Case Kitthanes - EP2 - 010

เปิดประสบการณ์กับการเป็น DCS Type 2 EP.2

เปิดประสบการณ์การรักษา DCS กับทีมงานกองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน บอกเล่าความต่างของตู้ chamber 2 แบบ คือแบบ multiplace และ monoplace

อ่าน เปิดประสบการณ์กับการเป็น DCS Type 2 EP.2