Banner for the article "Brands of Freediving Fins in Thailand 2022"

แนะนำฟินฟรีไดฟ์หลายแบรนด์น่าสนใจ ประจำปี 2566

ฟินฟรีไดฟ์ที่มีจำหน่ายในเมืองไทย มีด้วยกันหลายแบรนด์ และแต่ละแบรนด์ก็ยังมีหลายรุ่น ที่มีคุณสมบัติต่างกัน เหมาะกับการใช้งานหรือความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกันด้วย เราจะพาคุณไปรู้จักกับฟินฟรีไดฟ์แต่ละแบรนด์ว่า มีคุณสมบัติอย่างไรกันบ้าง และผู้ผลิตแต่ละรายนั้นมีประวัติความเป็นมา หรือมีปรัชญาการทำงานอย่างไร เพื่อให้คุณได้รู้จักฟินฟรีไดฟ์แต่ละแบรนด์ได้ลึกซึ้งขึ้น และลองมองแบรนด์และรุ่นที่สนใจไว้เบื้องต้นได้ ก่อนจะไปสัมผัสของจริงที่ร้านของเรา ในที่นี้ ขอเล่าไปตามลำดับตัวอักษรชื่อแบรนด์เลยนะครับ Alchemy C4 CarbonioGFT Cetma Composites DiveR Double K Leaderfins Molchanovs Odyssey Pathos Penetrator Prussian Blue Spierre Water Pro Alchemy แบรนด์จากประเทศกรีซ ก่อตั้งเมื่อปี 2006 ผลิตฟินฟรีไดฟ์แบบคาร์บอนไฟเบอร์ระดับ hi-end เท่านั้น โรงงานผลิตของ Alchemy เป็น 1 ในไม่กี่แบรนด์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2015 และให้การรับประกันคุณภาพใบฟินถึง 5 ปี Alchemy มีฟินฟรีไดฟ์ 2 ตระกูล คือ V3 และ S โดย V3 เป็นกลุ่มฟินสำหรับนักดำน้ำฟรีไดฟ์ ส่วน S สำหรับนักดำน้ำยิงปลา (spearfishing) และในตระกูล V3 ยังแบ่งออกเป็น V3 กับ V330 โดยต่างกันที่ V3 จะมีมุมใบฟินอยู่ที่ 23 องศา ส่วน V330 มีมุมใบฟิน 30 องศา และแต่ละรุ่นยังมีแบบฟินยาวธรรมดากับแบบ Pro ที่จะสั้นกว่าปกติด้วย ซึ่งเหมาะกับการใช้งานคนละแบบ ดังที่ทางแบรนด์ได้สรุปมาให้เป็นตารางต่อไปนี้ Alchemy เป็นอีก 1 แบรนด์ที่นักกีฬาฟรีไดร์ฟทั่วโลกเลือกใช้ ด้วยเกรดของวัสดุคาร์บอน นวัตกรรมในการออกแบบ เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง ขั้นตอนทุกขั้นตอนทำให้ฟินออกมามีคุณภาพสูงมาก ถือว่าเป็นฟินเกรด performance โดยเฉพาะจริงๆ นอกจากฟินแล้ว แบรนด์นี้ยังมี accessory อื่นๆ ที่มีคุณภาพสูง น่าใช้งาน อีกมากมายด้วย ข้อมูลจาก https://alchemy.gr/about C4 แบรนด์อุปกรณ์ฟรีไดฟ์จากอิตาลี ที่มีต้นกำเนิดมาจาก Nicoletta และ Marco Bonfanti สองผู้ก่อตั้งแบรนด์ที่มีความเชี่ยวชาญในวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ สามารถผลิตโครงรถจักรยานแบบไร้รอยต่อ (No Joint Construction: NJC) มาตั้งแต่ปี 1986…

อ่าน แนะนำฟินฟรีไดฟ์หลายแบรนด์น่าสนใจ ประจำปี 2566

เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพฟิน เรื่องใกล้ตัวที่น่ารู้

ถ้าลองมองดูฟินดำน้ำลึกแบบใบเดียว (paddle fins) ที่เราใช้ดำน้ำกันอยู่ทุกวันนี้ เราคงพอจะคาดเดาได้ว่า มันน่าจะได้รับการออกแบบมาจากรูปเท้าของสัตว์จำพวกกบหรือเป็ด หรือใบพายสำหรับพายเรือนั่นเอง ซึ่งเริ่มต้นก็คงเลียนแบบออกมาได้เป็นฟินแบนๆ ธรรมดาๆ เท่านั้น ก่อนจะค่อยๆ พัฒนามาเป็นฟินที่มีลวดลายแปลกใหม่ มีการสอดแทรกคุณสมบัติที่ดีขึ้นในด้านต่างๆ จนกลายเป็นฟินอย่างที่เราเห็นในทุกวันนี้ การพัฒนาเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้โดยผู้ผลิตฟินแบรนด์ต่างๆ ได้ศึกษาวิจัยคิดออกแบบกันขึ้นมา ซึ่งทำให้เรามีฟินคุณภาพดี เบาแรง ได้ประสิทธิภาพสูง อย่างที่ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้นั่นเอง ในที่นี้จะขอเล่าถึงเทคโนโลยีที่น่าสนใจ เพื่อเป็นความรู้ในการเลือกซื้อและใช้งานฟินของนักดำน้ำทุกท่าน Channel Thrust และ Superchannel เป็นเทคโนโลยีจากแบรนด์ Mares ที่ออกแบบให้ฟินมีรูปโค้งตรงปลายฟินขณะวาดฟินในน้ำ ทำให้เกิดเป็นโพรงน้ำ ให้น้ำที่ถูกดันไหลผ่านออกไป มีลักษณะที่พุ่งไปในทิศทางเดียวมากที่สุด ไม่กระจายออกด้านข้างซึ่งเป็นแบบที่เสียพลังงานไปเปล่าๆ การสร้างลักษณะโพรงน้ำแบบนี้ ทำได้โดยแทรกวัสดุที่ยืดหดได้มากกว่าเนื้อใบฟินปกติ เข้าไปในใบฟิน (ในที่นี้คือ แทรกแผ่นยางเข้าไประหว่างเนื้อพลาสติก) เป็นร่องยาวไล่จากตรงกลางถึงปลายใบฟิน เมื่อตีฟินให้กวาดน้ำไป ร่องเหล่านี้จะยืดตัวออก เปลี่ยนรูปร่างของใบฟินทั้งหน้าจากแผ่นแบนๆ ให้กลายเป็นโพรง เพื่อให้น้ำไหลผ่านไปตามแนวของโพรงนี้ ลองดูตัวอย่างได้จากฟินหลายรุ่นของแบรนด์ Mares นอกจากนี้ ขณะที่นักดำน้ำวาดฟินถึงตำแหน่งกว้างสุดและกำลังจะเปลี่ยนทิศทางการวาดฟินนั้น โดยปกติจะเป็นตำแหน่งที่ใบฟินไม่เกิดแรงผลักน้ำแล้ว หรือแย่กว่านั้นคือ สร้างความต้านทานกับน้ำ เสียพลังงานของนักดำน้ำไปโดยไม่จำเป็น อีกด้วย ด้วยใบฟินขณะทำงาน มีรูปร่างเป็นโพรงและเคลื่อนตามหลังขอบใบฟิน 2 ข้างไปอยู่นั้น จะยังเคลื่อนไปไม่ถึงตำแหน่งกว้างสุดของการวาดขา ยังไม่สร้างความต้านทานกับน้ำมากนัก ก็จะถูกวาดกลับ เปลี่ยนทิศการกินน้ำ และเริ่มทำงานในรอบใหม่ต่อไปได้ทันที เทคโนโลยีนี้จึงช่วยลดการต้านน้ำโดยรวมในระหว่างการดำน้ำได้อีกด้วย Mares ได้พัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้ดีขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน และตั้งชื่อเทคโนโลยีนี้รุ่นใหม่ว่า Superchannel ซึ่งจะพบได้ในฟินรุ่น Avanti Excel และ Avanti Superchannel ที่ผ่านมามีแบรนด์อุปกรณ์ดำน้ำหลายแบรนด์ได้ซื้อสิทธินำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ผลิตฟินของตัวเองหลายรุ่น จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีมานี้ สิทธิบัตรเทคโนโลยี Channel Thrust นี้หมดอายุลงแล้ว จึงมีฟินจากแบรนด์อื่นๆ ที่ใช้เทคโนโลยีนี้ออกมาวางจำหน่ายในท้องตลาดมากขึ้น Optimized Pivoting Blade (OPB) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาโดย Mares อีกเช่นกัน หลังจากที่ได้เห็นว่า ตำแหน่งกว้างสุดของการวาดฟินนั้น ไม่เกิดแรงผลักน้ำ แต่กลับสร้างความต้านน้ำอีกด้วย จึงหาวิธีออกแบบให้ฟินสามารถหักงอได้มากกว่าฟินปกติ และจุดที่จะให้หักงอนี้อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุด (optimized pivoting) ที่จะให้ผลแบบนั้น ซึ่งก็ได้ออกมา 2 แนวทางด้วยกัน คือ เพิ่มวัสดุที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าปกติ และออกแบบเป็นรูปโค้งที่ให้ตัวได้ ตรงตำแหน่งใกล้โคนใบฟิน ซึ่งต้องการให้เกิดมุมงอได้มาก เช่นในฟินตระกูล Volo ลดความหนาของแกน rib ข้างๆ ใบฟิน ซึ่งปกติทำด้วยวัสดุแข็งไม่ยืดหยุ่นมาก จุดที่ถูกลดความหนานี้เองจะเป็นจุดที่เกิดการหักงอได้มากกว่าจุดอื่นของใบฟิน แนวทางนี้ใช้อยู่ในฟินตระกูล Avanti Excel ลองดูคลิปวิดีโอประกอบได้เลย (ในคลิปนี้จะมีเรื่อง Superchannel…

อ่าน เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพฟิน เรื่องใกล้ตัวที่น่ารู้
cover image for Mares divign equipment or Avanti Quattro fins

รู้จักกับฟินรุ่นต่างๆ จาก Mares — เจ้าแห่งฟินดำน้ำลึก

รู้จักกับฟินรุ่นดั้งเดิมของ Mares หลากหลายรุ่น และพัฒนาการของเทคโนโลยีเกี่ยวกับฟิน ก่อนจะมาเป็นรุ่นที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน

อ่าน รู้จักกับฟินรุ่นต่างๆ จาก Mares — เจ้าแห่งฟินดำน้ำลึก
cover image of Mares gears in white

Mares แบรนด์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน คู่กับวงการดำน้ำโลก

เมื่อเอ่ยถึงแบรนด์อุปกรณ์ดำน้ำที่เก่าแก่ อยู่คู่กับวงการดำน้ำมาอย่างยาวนาน Mares จะเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่เรานึกถึง แม้อาจจะมีบางช่วงเวลาที่ชื่อเสียงของแบรนด์นี้แผ่วเบาลง โดนแบรนด์อื่นเป็นที่แซงหน้าไปบ้าง ก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่นักดำน้ำในยุค 10-20 ปีที่แล้วจะจำได้อย่างแน่นอน ก็คือ Mares เป็นผู้ผลิตฟินที่มีประสิทธิภาพสูงรายหนึ่งของโลก อย่างไรก็ตาม คงมีไม่กี่คนที่รู้ว่า Mares และ Ludovico Mares (หรือ Ludwig) ผู้ก่อตั้ง Mares ยังมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีอุปกรณ์ดำน้ำอีกหลายอย่าง ที่เราอยากเล่าให้คุณฟัง หน้ากากดำน้ำชิ้นแรกของโลก ในยุคก่อนจะมีการประดิษฐ์อุปกรณ์ดำน้ำลึกโดย Jacques Cousteau (อย่างที่เรามักจะได้รู้จักในระหว่างการเรียนดำน้ำขั้นต้น เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การดำน้ำลึก) นั้น มนุษย์เราก็ลงดำน้ำหาสิ่งต่างๆ จากก้นทะเลขึ้นมาใช้ประโยชน์นานแล้ว ไม่ว่าจะเป็น จับปลา หาหอย หามุก และฟองน้ำ เป็นต้น ในสมัยนั้นมีการพัฒนา “แว่นสองตา” ลักษณะคล้ายกับที่ปัจจุบันคือ แว่นตาว่ายน้ำ หรือ goggles ขึ้นมาโดยการขัดเปลือกหอยบางชนิดจนมีความใสระดับหนึ่ง พอใช้งานได้ แต่แว่นสองตาแบบนี้ ใช้ดำน้ำได้ไม่ลึกมาก แค่ไม่กี่เมตรจากผิวน้ำเท่านั้น เพราะหากลงลึกกว่านั้นจะประสบกับปัญหา eye squeeze ถึงขั้นเส้นเลือดฝอยในตาแตก เพราะไม่สามารถปรับความดันอากาศในช่องแว่นตาได้ ราวปี ค.ศ. 1920 Ludwig ในวัย 22 ปี หลังปลดประจำการจากกองทัพ เขาหยิบเอาทักษะและประสบการณ์การดำน้ำที่ได้มาจากกองทัพ และทักษะการยิงปลาที่เคยฝึกฝนมาในสมัยวัยรุ่น มาประกอบอาชีพจับปลาขาย ที่เมือง Pula ประเทศโครเอเชีย ริมทะเลเอเดรียติก (Adriatic) ที่นี่เองที่เขาได้ทดลองประดิษฐ์หน้ากากดำน้ำขึ้น โดยใช้ กระจกกลมใส กับ ยางในของล้อรถยนต์ เพื่อใช้ในการดำน้ำหาปลา ซึ่งทำให้เขาเห็นภาพใต้น้ำชัดขึ้น และลงดำน้ำได้ลึกขึ้นจากการที่สามารถ equalize อากาศในหูและหน้ากากได้ ผลลัพธ์ก็คือ เขาลงจับปลาได้จำนวนมากขึ้นมาก จนมีชาวประมงคนอื่นได้ทราบข่าวและมาขอให้เขาทำหน้ากากดำน้ำให้หลายต่อหลายคน ต่อมาอีกหลายปี สิ่งประดิษฐ์ของเขาชิ้นนี้ก็ค่อยๆ ได้รับการปรับปรุงต่อยอดมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นหน้ากากดำน้ำแบบที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ฟินที่ใช้วัสดุ 2 ชนิด หลังจากที่ Ludwig ได้ก่อตั้งโรงงาน Mares Sub ขึ้นในปี ค.ศ. 1949 (ตอนที่เขาอายุ 50 ปีแล้ว) ก็มีการพัฒนาอุปกรณ์ดำน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือมีคุณสมบัติต่างๆ เพิ่มขึ้น ใช้งานได้ดีขึ้น ออกมาเรื่อยๆ ในปี ค.ศ. 1973 Mares ได้พัฒนาเทคนิคการผลิตฟินที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญจากฟินในอดีตมาเป็นต้นแบบของฟินในยุคนี้ นั่นคือ การผลิตฟินจากวัสดุ 2 ชนิด ซึ่งทำให้สามารถเลือกใช้วัสดุให้เหมาะกับฟังก์ชั่นที่ต่างกันของแต่ละจุด คือ ใบฟิน…

อ่าน Mares แบรนด์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน คู่กับวงการดำน้ำโลก
Boots and Fins - Keng Krob - 001

การเลือกซื้อบูทกับฟิน

มีน้องมาถามว่า พี่ หนูไปซื้อบูทมา จะซื้อฟินอะไรดี
ผมเลยตอบไปว่า เดี๋ยวว่างๆ จะเขียนเรื่องนี้และก็ว่างแล้ว 555
“บูทกับฟิน เพราะเราคู่กัน”
คำเตือน!!!! นักดำน้ำมือใหม่ใจเย็นๆ อย่าเพิ่งรีบซื้อบูทก่อนฟิน

อ่าน การเลือกซื้อบูทกับฟิน
ฟินฟรีไดฟ์ วัสดุไฟเบอร์กลาส

รู้จักฟินฟรีไดฟ์ (Freediving Fins) ก่อนตัดสินใจซื้อ

เพราะมนุษย์มิได้มีอวัยวะที่ช่วยให้เคลื่อนที่ใต้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฟิน (fins) จึงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้นักดำน้ำอย่างเรา สามารถเคลื่อนที่ไปในน้ำได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว แหวกว่ายไปในที่ต่างๆ ได้อย่างใจต้องการ ก่อนที่เราจะคุยกันถึงเรื่องวิธีการเลือกซื้อฟินฟรีไดฟ์ที่เหมาะกับเรา ก็ต้องมาศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับฟินฟรีไดฟ์กันเสียก่อน ในที่นี้เราได้รวบรวมข้อมูลสำคัญๆ ที่จำเป็นต่อการเลือกซื้อฟินฟรีไดฟ์มาให้แล้ว ได้แก่ ชนิดของฟินฟรีไดฟ์ แยกตามวัสดุที่ใช้ทำใบฟิน (blade) ความอ่อนแข็งของใบฟิน เทคโนโลยีเสริมสมรรถนะ ของฟินแต่ละยี่ห้อ ชนิดของฟินฟรีไดฟ์ แยกตามวัสดุที่ใช้ทำใบฟิน (Blade) ใบฟิน เป็นส่วนที่กินน้ำ ผลักดันน้ำ และทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนตัวนักดำน้ำไปในทิศทางต่างๆ ถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่บ่งชี้ประสิทธิภาพของฟิน และด้วยความที่ใบของฟินฟรีไดฟ์มีลักษณะยาวมาก จึงไม่สามารถออกแบบรูปร่างลักษณะพิเศษแบบ 3 มิติที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพได้มากนัก ทำได้เพียงเป็นแผ่นแบนราบ ยาวๆ เท่านั้น วัสดุที่ใช้ทำฟินจึงอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของฟินมากที่สุด วัสดุที่ใช้ทำใบฟินฟรีไดฟ์ส่วนใหญ่ มีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ พลาสติก, ไฟเบอร์กลาส (fiberglass), และคาร์บอนไฟเบอร์ (carbon fiber) กับที่เพิ่งมีการริเร่มใช้งานมากขึ้นเมื่อไม่นานนี้คือ ยาง และ ซิลิโคน ใบฟินพลาสติก (Plastic Blade) พลาสติก เป็นวัสดุพื้นฐานที่ใช้ทำใบฟินมาแต่ดั้งเดิม และก็ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน ด้วยจุดเด่นสำคัญคือ ราคาถูก เพราะมีต้นทุนต่ำ ทั้งในเรื่องราคาวัสดุและกรรมวิธีการผลิต ซึ่งก็สอดคล้องกับจุดอ่อนสำคัญ คือ มีน้ำหนักมาก เพราะต้องทำให้มีความหนาพอสมควรจึงจะไม่ฉีกขาดหรือแตกหักง่าย ส่วนประสิทธิภาพก็ถือว่าธรรมดาที่สุดในบรรดาวัสดุ 3 ชนิด นอกจากนี้ ฟินแบบพลาสติก เมื่อใช้งานไปนาน จะเกิดการเปลี่ยนรูปตามการใช้งาน (บางคนจะเรียกว่า มีความจำ หรือ memory) ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพลดลงไป ซึ่งฟินจากไฟเบอร์กลาสและคาร์บอนไฟเบอร์ไม่มีอาการแบบนี้ ราคาของฟินแบบนี้อยู่ราว 3-6 พันบาทเท่านั้น ใบฟินไฟเบอร์กลาส (Fiberglass Blade) ไฟเบอร์กลาส คือ วัสดุผสมระหว่างพลาสติกชนิดต่างๆ เสริมแรงด้วยใยแก้ว (glass fiber) เพื่อช่วยให้วัสดุผลลัพธ์มีความยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าพลาสติกเพียงอย่างเดียว สำหรับฟินฟรีไดฟ์มักจะใช้อีพ็อกซี่ (epoxy resin) เป็นวัสดุในส่วนของพลาสติก คุณสมบัติของใบฟินที่ได้คือ มีความยืดหยุ่น (resilient) มากขึ้น น้ำหนักเบาขึ้น โดยที่ยังได้ความเหนียว ทนทาน เหมือนพลาสติก สามารถใช้งานใกล้แนวหินหรือปะการังโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการแตกหัก ใบฟินแบบไฟเบอร์กลาสนี้ หลายแบรนด์นิยมปิดผิวด้วยฟิล์มสติกเกอร์ลวดลายต่างๆ อย่างสวยงาม เป็นแบบเฉพาะของแบรนด์ตัวเอง ซึ่งอาจมีผลต่อประสิทธิภาพเล็กน้อย ไม่น่าห่วงอะไรมาก ดังรูป ราคาของฟินแบบนี้ อยู่ระหว่าง 7 พันถึง 1 หมื่นกว่าบาท ใบฟินคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon Fiber Blade) คาร์บอนไฟเบอร์…

อ่าน รู้จักฟินฟรีไดฟ์ (Freediving Fins) ก่อนตัดสินใจซื้อ

การทำงานของฟินแฉก (Split Fins)

เป็นที่ทราบกันดีว่า ตีนกบ (Fins) หรือที่เราเรียกกันทับศัพท์ว่า ” ฟิน “ นั้น มีอยู่ 2 ลักษณะใหญ่ๆ นั่นคือ ฟินแบบธรรมดา (Paddle Fin) ฟินแบบแฉก (Split Fin) ซึ่งทั้งสองลักษณะ มีวิธีการทำงานค่อนข้างแตกต่างกันอย่างมาก ใช้แรงในการตีฟินต่างกัน และให้ประสิทธิภาพ ต่างกันด้วย โดยเราจะพบว่า ฟินแฉกมักจะนำเสนอว่า มีประสิทธิภาพสูง คือ ใช้แรงน้อยกว่าฟินแบบธรรมดา เพื่อให้เกิดแรงพอๆ กัน แต่เราก็พบว่า นักดำน้ำส่วนใหญ่ โดยเฉพาะ กลุ่มที่มีประสบการณ์สูง ก็ยังนิยมใช้แบบธรรมดากันอยู่ โดยที่ฟินแฉกยังไม่ได้มาแทนที่ไปทั้งหมด แสดงว่า ต้องมีอะไรที่เด่นและด้อย ให้พิจารณา ก่อนตัดสินใจเลือกใช้ฟินแบบนี้ อย่างแน่นอน เรามาลองทำความเข้าใจ การทำงานของฟินแฉก และความแตกต่างของฟินทั้งสองแบบนี้ กันเสียหน่อยดีกว่าครับ ฟินแฉก (Split Fins) ทำงานอย่างไร ฟินแฉก ทำงานโดยอาศัย การเคลื่อนที่ของใบฟินไปในน้ำ ทำให้เกิดความต่างของความดันน้ำระหว่าง 2 ด้านของใบฟิน ตามกฎของแบร์นูลี (Bernoulli’s Principle) และทำให้เกิดแรงที่ผลักตัวเราไปข้างหน้าได้ แบบเดียวกับปีกของเครื่องบิน ที่ทำให้เกิดแรงยกได้ เมื่อเคลื่อนที่ไปในอากาศ และยิ่งเคลื่อนเร็ว ก็ยิ่งเกิดแรงยกมาก แต่อันที่จริง ต้นแบบของฟินแฉก ไม่ได้มาจาก ปีกเครื่องบินหรอกครับ แต่เป็นใบพัดเครื่องยนต์เรือ (และใบพัดเครื่องบินด้วย) ต่างหาก โดยที่ใบของใบพัดเหล่านี้ นอกจากจะมีรูปหน้าตัดเหมือนปีกเครื่องบิน เพื่อให้เกิด แรงผลักจากความต่างของความดันแล้ว ใบของใบพัด ยังจะบิดโค้ง เพื่อเรียงแนวการไหลของน้ำ ให้ออกไป ด้านหลังตรงๆ และผลักเรือให้ไปข้างหน้าได้เต็มที่ ซึ่งจะเห็นได้ว่า รูปร่างของใบฟิน แบบแฉก ขณะวาดไปในน้ำ จะบิดไปเป็นแบบเดียวกัน กับใบพัดเรือด้วย นอกจากนี้ น้ำที่ไหลผ่านด้านหน้าฟินขณะตีฟิน จะถูกบีบให้ไปรวมกันตรงกลาง และไหลผ่านฟินออกไป ตรงรอยแยกของฟินนั่นเอง ซึ่งการไหลผ่านออกไปนี้ ช่วยลดแรงลาก (Drag — เป็นแรงเสียดทานรูปแบบหนึ่ง) ที่เกิดขึ้น ระหว่างน้ำกับใบฟิน ในกรณีที่ไม่มีแฉก น้ำต้องไหลผ่านหน้าใบฟินทั้งใบ ออกไปทางด้านหลัง สำหรับผู้ที่เคยใช้ฟินแบบแฉก จะพบว่า แรงที่ต้องใช้ในการตีฟินนั้นน้อยมาก ผู้ใช้จะรู้สึกเบา และแทบไม่เชื่อว่า ฟินแบบนี้ ทำงานได้ทัดเทียมฟินแบบธรรมดา จนกว่า จะเอานาฬิกาจับเวลา และสายวัดระยะทาง มาลองวัดกันจริงๆ สำหรับคนที่เป็นตะคริวบ่อยๆ กับฟินแบบธรรมดาที่ใช้อยู่ คุณน่าจะรู้สึกดีขึ้นมาก เมื่อลองใช้ฟินแฉก อย่างไรก็ตาม ฟินแฉกแบบ open-heel จะมีมวลมาก และแรงที่เราต้องใช้ในการเคลื่อนที่วัตถุนั้น ยังแปรผันตามมวลของมันด้วยเช่นกัน (ไม่ใช่แค่รูปร่างของมันเท่านั้น) การทำงานของฟินแฉก  …

อ่าน การทำงานของฟินแฉก (Split Fins)
Diving with Mola Mola - FreedomDIVE - 001

ฟิน แบบไหนที่ใช้แล้วฟิน

สำหรับนักดำน้ำมือใหม่แบบผม มักมีข้อสงสัยว่า ฟินแบบไหน ดีกว่ากัน
คำถามที่มักถามกันคือ ฟินอันนี้เบาหรือหนัก? ฟินอันนี้ลอยไหม? ฟินอันนี้ตีง่ายไหม?

อ่าน ฟิน แบบไหนที่ใช้แล้วฟิน