การดำน้ำหลังการได้รับวัคซีนโควิด และภายหลังการติดเชื้อโควิด

This entry is part 1 of 2 in the series covid-19

การติดเชื้อไวรัสโคโรนาก่อนโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการดำน้ำสคูบาไม่แตกต่างไปจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประเภทอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน 64 ในประเทศที่ผ่านมา ลักษณะของกิจกรรมดำน้ำ การที่ต้องอยู่ใกล้ชิด และรวมเป็นกลุ่มก้อน มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ หากสัมผัสกับผู้ติดเชื้อไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่มีอาการ ดังตัวอย่างที่พบเหตุการณ์ในเรือลีฟอบอร์ด (liveaboard) …………………………………….. เนื่องด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อมีจำนวนมากขึ้นอย่างมากในประเทศทำให้มีโอกาสที่นักดำจะได้รับเชื้อแต่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยและไม่ได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัย อย่างไรก็ตามแม้มีอาการเพียงเล็กน้อย หรือกระทั่งไม่มีอาการ ปอดและหัวใจของนักดำซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญและเปราะบางต่อการชี้ชัดถึงสมรรถนะสุขภาพในการดำน้ำ อาจได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อ และเป็นอันตรายในการดำน้ำ นักดำเหล่านี้จึงควรอย่างน้อยประเมินตนเอง เช่นประวัติเจ็บป่วยหรือพบหลักฐานการติดเชื้อโควิด-19 หรือมีประวัติมีอาการเข้าได้กับการติดเชื้อ หรือประวัติสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยต้องสงสัยแต่ไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัย หรือมีอาการเปลี้ยเพลียไม่สามารถออกแรงได้เป็นปกติ เป็นต้น นักดำกลุ่มเหล่านี้ควรได้รับการประเมินจากแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำ ซึ่งอาจจำเป็นต้องมีการตรวจเพิ่มเติมเช่นภาพรังสีทรวงอก การทดสอบการออกกำลัง เป็นต้น …………………………………….. นอกเหนือจากการปฏิบัติตามวิถีชีวิตใหม่ หรือนิวนอร์มัลแล้ว วัคซีนโควิดเป็นอีกหนึ่งความหวังของนักดำน้ำในการที่จะทำให้อุตสาหกรรมการดำน้ำกลับมาใกล้เคียงสภาพปกติ อย่างน้อยก็อาจทำให้นักดำน้ำสามารถกลับไปดำน้ำได้ใกล้เคียงไลฟ์สไตล์เดิมของนักดำ แต่เนื่องจากอาจพบมีผลข้างเคียงของวัคซีน และอาจทำให้เกิดความสับสนกับการป่วยเป็นโรคเหตุลดความดันอากาศ วัคซีนในปัจจุบันหลักๆประกอบไปด้วย วัคซีนเชื้อตายหรือใช้โปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Inactivated and Protein Subunit) วัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral Vector) และวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) สำหรับในประเทศไทย ปัจจุบัน ได้แก่วัคซีนโคโรนาแว็ก (Coronavac) ของบริษัทซิโนแว็ค (Sinovac) ซึ่งเป็นวัคซีนเชื้อตาย และวัคซีนโควิด-19 ChAdOx1 ของบริษัทแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ซึ่งเป็นวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ …………………………………….. โดยวัคซีนทั้งสองอาจพบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีน (adverse event following immunization; AEFI) ซึ่งอาจเกิดจากวัคซีน (adverse event) หรือไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (1) ให้คำแนะนำสำหรับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนไว้ว่า พบการแพ้รุนแรง หรือ แอนาฟายแล็กซิส 5 รายต่อ 1 ล้านโดส และอาการชาหรืออ่อนแรงจากภาวะความวิตกกังวลในระหว่างการได้รับวัคซีน หรือที่เรียกว่า Immunization stress related reaction (ISRR) 43 รายต่อล้านโดส สำหรับการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอดยังไม่พบรายงานในประเทศที่เชื่อได้ว่าเกิดจากวัคซีน และอุบัติการณ์ของต่างประเทศพบเพียง 2.5 รายต่อประชากร 1 ล้านคนที่ได้รับวัคซีน (2) อาการข้างเคียงหรือผลข้างเคียง (1) หรืออาการที่คาดเดาได้ว่าอาจจะเกิดขึ้น เช่น ปวด บวม ร้อนบริเวณที่ฉีด และอาการตามระบบ อื่น ๆ เช่น ไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อย ใจสั่น หมดแรง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง และเวียนศีรษะ…

อ่าน การดำน้ำหลังการได้รับวัคซีนโควิด และภายหลังการติดเชื้อโควิด

ข้อปฏิบัติสำหรับการเดินทางเข้าภูเก็ตในสถานการณ์ Covid-19

นักดำน้ำที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปจังหวัดภูเก็ตในช่วงเวลานี้ คงมีความกังวลอยู่ไม่น้อยว่ายังสามารถเดินทางได้ไหม ต้องกักตัว 14 วันหรือไม่ และต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการระบาดของ Covid-19 ตามคำแนะนำของภาครัฐ วันนี้แอดมินมีคำตอบค่ะ ตามประกาศคำสั่งจังหวัดภูเก็ตที่ 101/2564 เรื่อง มาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) สำหรับบุคคลที่เดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ต ซึ่งลงนามโดยผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 9 ม.ค.64 ที่ผ่านมา สรุปใจความได้ว่า ผู้ที่ต้องการเดินทางเข้าภูเก็ตแบบชั่วคราว (ไม่เกิน 14 วัน) และมาจากพื้นที่ควบคุม ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ ดาวน์โหลดแอพ “หมอชนะ” ก่อนการเดินทาง (Play store คลิก / App Store คลิก) ลงทะเบียนรายงานตัวการเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ตในเวบไซต์  gophuget.com กรอกข้อมูลลงในแบบบันทึกการติดตามผู้เดินทางรายบุคคล Covid-19 ไม่เดินทางไปยังแหล่งชุมชน เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัยและหมั่นล้างมือตลอดการเดินทาง เมื่อเดินทางไปถึงเรือ จะมีเจ้าหน้าฝ่ายปกครองมาช่วยอำนวยความสะดวกในการคัดกรอง วัดไข้ และเก็บประวัติผู้เดินทาง โดยประกาศนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 9-31 ม.ค. 64 หรือจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย หากเราปฏิบัติตามขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น ก็สามารถเดินทางผ่านจังหวัดภูเก็ตได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ ผู้เดินทางก็ควรป้องกันตัวเองและผู้อื่นให้ห่างไกลจากไวรัสโคโรน่า รักษาระยะห่างตามหลัก Social distancing กินร้อน ช้อนกลาง หมั่นล้างมือบ่อยๆ และสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา แต่ถ้าหากผู้เดินทางอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ก็ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงนี้ไปก่อน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19  หากพวกเราทุกคนร่วมมือร่วมใจช่วยกันลดความเสี่ยงในการระบาดของโคโรน่าไวรัส เชื่อว่าเราจะผ่านสถานการณ์นี้ไปได้อย่างรวดเร็วในไม่ช้า ที่มา :  สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต เขียนโดย รัตติยา แวนวน เผยแพร่ครั้งแรก 10 ม.ค. 64  

อ่าน ข้อปฏิบัติสำหรับการเดินทางเข้าภูเก็ตในสถานการณ์ Covid-19

ท่าอากาศยานภูเก็ตพร้อมให้บริการ 13 มิ.ย.63 นี้

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ล่าสุด (12 มิ.ย.63) ที่รายงานว่า ประเทศไทยไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ภายในประเทศต่อเนื่องกันเป็นเวลานานถึง 18 วัน นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ในฐานะโฆษก ศบค. เปิดเผยว่า ที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ มีมติยกเลิกการห้ามออกจากเคหสถาน (เคอร์ฟิว) โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย.2563 แต่ยังคงมาตรการควบคุมการเดินทางเข้าราชอาณาจักร ทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศต่อไป ทั้งนี้ การยกเลิกเคอร์ฟิวดังกล่าว จะควบคู่ไปกับการผ่อนคลายมาตรการระยะที่ 4 ซึ่งเป็นกลุ่มกิจการและกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง นอกจากนี้ ในรายงานยังระบุว่า การเดินทางด้วยเครื่องบินสามารถนั่งแบบเต็มพื้นที่ 100% โดยไม่ต้องนั่งแบบที่เว้นที่ เนื่องจากเป็นการเดินทางระยะสั้น ประมาณ 1 ชั่วโมง รวมถึงมีระบบระบายอากาศที่ดี อย่างไรก็ตาม ผู้โดยสารยังต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดการเดินทางอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ภายในวันเดียวกัน นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ได้มีประกาศให้เพิ่มท่าอากาศยานภูเก็ตในรายชื่อท่าอากาศยานที่เปิดให้อากาศยานขึ้นลงได้ ตั้งแต่วันที่ 13 มิ.ย.63 เวลา 0:01 น.เป็นต้นไป มีผลให้ ท่าอากาศยานภูเก็ต พร้อมเปิดให้บริการ (เฉพาะการบินภายในประเทศ) ตามประกาศของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ ๕ แต่อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังคงต้องระมัดระวังเรื่องการรักษาระยะห่าง และการรักษาความสะอาดส่วนบุคคล สวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาด และติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อความปลอดภัยของท่านและส่วนรวม     ที่มา สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ท่าอากาศยานภูเก็ต รูปภาพจาก Phuketairportonline เขียนโดย รัตติยา แวนวน เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 63  

อ่าน ท่าอากาศยานภูเก็ตพร้อมให้บริการ 13 มิ.ย.63 นี้

มาเลเซียขยายเวลาล็อกดาวน์ถึง 9 มิ.ย.63

เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 63 มูห์ยิดดิน ยัสซิน นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ประกาศขยายระยะเวลาบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ออกไปอีกจนถึง 9 มิ.ย. 63 เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพของประชาชนจากเดิมที่มีกำหนดบังคับใช้ถึงวันที่ 12 พ.ค. 63 ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลามาตรการล็อกดาวน์เป็นครั้งที่ 5 นับตั้งแต่เริ่มบังคับใช้ครั้งแรกเมื่อ 18 มี.ค. 63 โดยจะพิจารณาต่อเวลามาตรการดังกล่าวทุก 14 วัน (เช่นเดียวกับในประเทศไทย) อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการลงมากตั้งแต่ 4 พ.ค. 63 โดยอนุญาตให้สถานประกอบการกลับมาเปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไขการรักษาระยะห่างทางสังคม โดยเว้นระยะห่างไม่ต่ำกว่า 1 เมตร และต้องสวมหน้ากากอนามัย รวมถึงอนุญาตให้พาหนะส่วนบุคคลมีผู้ร่วมเดินทางได้ไม่เกิน 4 คน (รวมคนขับรถ) และยังคงห้ามการชุมนุมของคนจำนวนมาก ห้ามการเดินทางข้ามรัฐที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน มาเลเซียพบผู้ติดเชื้อยืนยันแล้ว 6,726 คน เสียชีวิต 109 คน และสถานการณ์ล่าสุดวันที่ 12 พ.ค. 63 พบผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวน 70 ราย ทั้งนี้ มาเลเซียได้ประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์บางส่วนทั่วประเทศมาตั้งแต่วันที่ 18 มี.ค. โดยมีการสั่งการให้ปิดชายแดน โรงเรียน และธุรกิจต่าง ๆ จนกระทั่งจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในประเทศเริ่มลดลงเหลือตัวเลขสองหลักตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา มาเลเซียเคยเป็นประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อช่วงกลางเดือนเมษายน แต่ปัจจุบันยอดจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมเริ่มลดลงจนอยู่ในลำดับที่ 9 ของอาเซียน (6,726 คน) ถัดมาเป็นประเทศไทย อยู่ในลำดับที่ 10 (3,017 คน) นับว่ามาเลเซียเป็นประเทศหนึ่งที่สามารถรับมือกับวิกฤติโควิดได้ดีทีเดียว หากมาเลเซียยังควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าได้ดีเช่นนี้ต่อไป ในอีกไม่นานพวกเรานักดำน้ำคงได้กลับไปดำน้ำที่ “สิปาดัน” แหล่งดำน้ำที่สวยติดอันดับโลกได้ในไม่ช้าแน่นอน ที่มา แถลงสถานการณ์ COVID-19 โดย ศบค. (12 พ.ค.63) ไทยโพสต์ เขียนโดย รัตติยา แวนวน เผยแพร่ครั้งแรก 12 พ.ค. 63  

อ่าน มาเลเซียขยายเวลาล็อกดาวน์ถึง 9 มิ.ย.63

Air Asia ขยายระยะเวลาการเก็บวงเงินเครดิต ได้สูงสุด 2 ปี

จากการประกาศ หยุดทำการบินในเส้นทางต่างๆ ที่ประกาศโดยผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท. หรือ CAAT) เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 63 ที่ผ่านมา ตามมาตรการการป้องกันการระบาดของโรค COVID-19 ที่ผ่านมานั้น เพื่อนนักดำน้ำหลายๆท่านอาจได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า ตอนนี้ทาง Air Asia ได้ประกาศนโยบายสำหรับผู้โดยสารที่ถูกยกเลิกตั๋วมาเพิ่มเติมค่ะ เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 63 ที่ผ่านมา สายการบินแอร์เอเชียประกาศขยายระยะเวลาการเก็บวงเงินเครดิต สำหรับผู้โดยสารที่ถูกยกเลิกเที่ยวบินในช่วงสถานการณ์ COVID-19 โดยสามารถจองตั๋วได้ใหม่ภายใน 730 วัน (2 ปี) นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนแปลงวันเดินทางได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง สำหรับผู้โดยสารที่ได้สำรองที่นั่งไว้แล้ว ก่อนหรือภายในวันที่ 17 เมษายน 2563 โดยมีกำหนดการเดินทางวันที่ตั้งแต่ 23 มี.ค.63 – 30 มิ.ย. 63 โดย เปลี่ยนแปลงวันเดินทางได้ไม่จำกัดครั้งในเส้นทางเดิม : โดยมีกำหนดการเดินทางใหม่ไม่เกินวันที่ 31 ต.ค. 63 โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่งว่างในแต่ละเที่ยวบิน หมายเหตุ: กรณีที่ผู้โดยสารต้องการเปลี่ยนแปลงวันเดินทางด้วยตัวเองโดยสายการบินฯ ยังคงให้บริการเที่ยวบินนั้นอยู่  จะต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้เรียบร้อยก่อนกำหนดวันเดินทางเดิม การเก็บวงเงินไว้ใช้: ผู้โดยสารสามารถเก็บมูลค่าบัตรโดยสารไว้ในบัญชีสะสมวงเงินเครดิตใน AirAsia BIG เพื่อใช้สำรองที่นั่งในอนาคตกับแอร์เอเชียได้ โดยต้องทำการสำรองที่นั่งใหม่ภายใน 730 วันปฏิทิน นับจากวันที่วงเงินเครดิตได้รับการอนุมัติ ทั้งนี้ วันเดินทางใหม่อาจเกิดขึ้นหลังจากวันหมดอายุของวงเงินเครดิตได้ตามตารางบินที่มีให้บริการ สำหรับผู้โดยสารที่ได้ยื่นเรื่องขอรับวงเงินเครดิตไปแล้วก่อนหน้าประกาศฉบับนี้ สามารถขอขยายระยะเวลาการใช้วงเงินเครดิตได้ผ่านทาง AVA โดยมีเงื่อนไข คือ ต้องเป็นผู้โดยสารที่ทำการสำรองที่นั่งผ่านช่องทางออนไลน์ของแอร์เอเชียโดยตรง (airasia.com) เท่านั้น สำหรับผู้โดยสารที่สำรองที่นั่งผ่านตัวแทนจำหน่ายหรือตัวแทนการท่องเที่ยวออนไลน์จะต้องดำเนินการผ่านตัวแทนที่ทำการจองนั้นๆ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ แอร์เอเชียขยายระยะเวลาการเก็บวงเงินเครดิต ดำเนินการจองใหม่ได้ภายใน 2 ปี! คู่มือการรับข้อเสนอกรณีได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ข้อมูลที่ต้องรู้เกี่ยวกับบัญชีบัตรเครดิต ช่องทางการส่งเรื่องร้องเรียน ที่มา Air Asia รูปประกอบจาก Flickr เขียนโดย รัตติยา แวนวน เผยแพร่ครั้งแรก 8 พ.ค. 63  

อ่าน Air Asia ขยายระยะเวลาการเก็บวงเงินเครดิต ได้สูงสุด 2 ปี

เรื่องของ “พะยูน” ตำนานนางเงือกแห่งท้องทะเล

หากใครเคยไปเที่ยวที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี อาจแปลกใจไม่น้อยที่ได้เจอกับรูปปั้นพะยูนตั้งโชว์ไว้อย่างเงียบเหงาในมุมหนึ่งภายในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนของศูนย์ศึกษาฯ เนื่องจากครั้งหนึ่งในอดีต บริเวณนี้เคยเป็นแหล่งหญ้าทะเลอันอุดมสมบูรณ์และเป็นที่อยู่อาศัยชั้นดีของพะยูนมากมาย ดังข้อมูลการสำรวจย้อนหลังไป 60 ปีก่อนระบุว่ามีรายงานการพบเห็นพะยูนมากกว่า 40 ตัวที่อ่าวคุ้งกระเบน และเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว ยังเคยพบพะยูนฝูงใหญ่กว่า 20 ตัวหากินในบริเวณปากน้ำประแส จ.ระยอง อีกด้วย ดังจะเห็นได้จากการตั้งชื่อ “หาดพยูน” ไว้เป็นที่รำลึกถึงสถานที่อันเป็นที่กล่าวขานกันในอดีตว่าเคยมีพะยูนอาศัยจำนวนไม่น้อยในจ.ระยอง แต่ในเวลาต่อมา สภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเลเริ่มถูกคุกคามด้วยกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นของมนุษย์อย่างรวดเร็ว ทำให้จำนวนพะยูนเริ่มลดน้อยถอยลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมนุษย์มีความเชื่อผิดๆในการนำเขี้ยวพะยูนไปทำเครื่องรางของขลัง นำกระดูกไปยาโป๊ว นำน้ำตาพะยูนไปทำยาเสน่ห์ ทำให้มีการลักลอบล่าพะยูนเป็นจำนวนมาก แม้ว่าพะยูนจะถูกเลือกให้เป็นสัตว์ป่าสงวนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ก็ตาม แต่พวกเค้าก็ยังถูกไล่ล่าจนเกือบสูญพันธุ์ไปจากทะเลไทย โดยเฉพาะทะเลในฟากฝั่งตะวันออก ที่มีบันทึกว่าพะยูนได้สูญหายไปจากน่านน้ำย่านนี้มาเป็นเวลานานปลายปีแล้ว อนุสรณ์ “หมูดุด เจ้าแห่งคุ้งกระเบน” ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี จนเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 63 ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในช่วงสถานการณ์ปิดเมืองในวิกฤติการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 มีผู้พบเห็นพะยูนแม่ลูก รวม 2 ตัว เข้ามาหากินบริเวณหน้าหาดสวนสน เกาะเสม็ด ใกล้เขื่อนกันคลื่นท่าเรือบ้านเพ จ.ระยอง จึงนับได้ว่าเป็นข่าวดีให้คนไทยได้ชื่นหัวใจในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าเช่นนี้ บ้างก็กล่าวว่า อาจเป็นเพราะการหยุด Lockdown ทำให้กิจกรรมทางทะเลของมนุษย์ลดน้อยลง พะยูนจึงกล้าเข้ามาเล็มหาหญ้าทะเลกินใกล้พื้นที่ชายฝั่งมากขึ้น อย่างไรก็ตามในโอกาสดีเช่นนี้แอดมินจึงขอรวบรวมข้อมูลของพะยูนมานำเสนอเพื่อให้เพื่อนๆได้รู้จักพวกเค้ากันมากขึ้นนะคะ ภาพพะยูนจาก FB : ทิ้ง บ้านเพ เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 63 ที่ชายหาดสวนสน จ.ระยอง พะยูน หรือหมูน้ำ หรือวัวน้ำ (Dugong or Sea Cow) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในทะเล ตัวอ้วนกลมเทอะทะคล้ายแมวน้ำ ผิวหนังหนามีสีเทาอมชมพู มีขนสั้นๆทั่วลำตัวและมีขนหนาบริเวณปาก ออกลูกเป็นตัวครั้งละ 1-2 ตัว กินพืชทะเลเป็นอาหาร หากินเป็นฝูงตามแนวหญ้าทะเลชายฝั่งหรืออาจพบเจอหากินแบบเดี่ยวก็ได้เช่นกัน มีครีบหน้า 2 ครีบที่พัฒนามาจากขาหน้า ไม่มีครีบหลัง ตัวเมียมีเต้านม 2 เต้าถัดลงมาจากครีบหน้า ตัวผู้เมื่อโตเต็มวัยจะมีเขี้ยวงอกพ้นริมฝีปากออกมา ตาและหูมีขนาดเล็ก ไม่มีใบหู มีหางแฉกคล้ายโลมา (ญาติสนิทในสกุลใกล้ชิดกันคือ Manatee จะมีหางกลม) พะยูนวัยเด็กจะกินนมแม่จนถึง 8 เดือน จากนั้นแม่พะยูนจะยังคงดูแลลูกจนถึงอายุ 2 ปีจึงจะแยกจากแม่ได้ พะยูนมีขนาดยาวสุดได้ถึง 3 เมตรและหนักได้ถึง 400 กิโลกรัม มีอายุยืนยาวถึง 70 ปี พะยูนไม่ใช่ปลา เราจึงไม่เรียกพวกเค้าว่าปลาพะยูน แต่จะเรียกว่า…

อ่าน เรื่องของ “พะยูน” ตำนานนางเงือกแห่งท้องทะเล

ชาวเกาะเต่าเตรียมเฮ สถานการณ์ COVID-19 มีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ

เมื่อวันที่ 2พ.ค.63 ที่ผ่านมา นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ลงนามในคำสั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ ๒๗๒๗/๒๕๖๓ เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) (ฉบับที่๑๕) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีแนวโน้มสถานการณ์ที่ดีขึ้น โดยไม่พบผู้ป่วยรายใหม่เป็นระยะเวลาติดต่อกันเกินกว่า 14 วันแล้ว และเพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตในสถานการณ์ดังกล่าวได้ จึงออกประกาศให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ทุกประเภท และสถานประกอบการที่เปิดให้บริการที่พักในลักษณะเดียวกันทุกแห่ง เปิดให้บริการเฉพาะการให้บริการห้องพักและห้องอาหารหรือร้านอาหาร โดยให้ปิดการให้บริการห้องประชุม สระว่ายน้ำ ฟิตเนส สปา และแผนกนวดเพื่อสุขภาพหรือนวดแผนโบราณ และให้ถือปฏิบัติภายใต้เงื่อนไขการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด ได้แก่ ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกออล์ เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค อย่างทั่วถึงและเพียงพอต่อจำนวนผู้ใช้บริการ ให้ผู้ประกอบการ พนักงาน ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา ให้มีการลงทะเบียนผู้เข้าพักในบัตรทะเบียนผู้เข้าพักโรงแรม (ร.ร.๓) และทะเบียนผู้พักในโรงแรม (ร.ร.๔) ทุกรายอย่างเคร่งครัด ให้มีการเว้นระยะห่างของผู้รับบริการอย่างน้อย 1 เมตร ให้ทำความสะอาดบริเวณจุดบริการและพื้นผิวสัมผัสทุก 2 ชั่วโมง และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน สำหรับร้านอาหารภายในโรงแรมให้ถือปฏิบัติภายใต้เงื่อนไขการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด ดังนี้ ห้ามมิให้มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในร้าน ห้ามจัดให้มีการบริการอาหารในรูปแบบอาหารบุฟเฟ่ต์ ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกออล์ เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค อย่างทั่วถึงและเพียงพอต่อจำนวนผู้ใช้บริการ ทำความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ ได้แก่ พื้นโต๊ะ เก้าอี้ ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน ให้ผู้ประกอบการ พนักงาน ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า ให้เว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะ และระหว่างที่นั่ง รวมถึงระยะระหว่างการเดินอย่างน้อย 1 เมตร ให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการ มิให้แออัด และให้จัดระบบถ่ายเทอากาศอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดสุราษฎร์ธานี, FB : ที่ว่าการอำเภอส่วนหน้าเกาะเต่า เผยแพร่เมื่อ : 4 พ.ค.63

อ่าน ชาวเกาะเต่าเตรียมเฮ สถานการณ์ COVID-19 มีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ

1 พ.ค.63 สายการบินในประเทศเตรียมพร้อมเปิดให้บริการอีกครั้ง

เมื่อวันที่ 23 เม.ย.63 ที่ผ่านมา สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ได้ทำการหารือกับผู้ประกอบการสายการบินต่างๆ ก่อนที่จะเริ่มกลับมาทำการบินอีกครั้งภายในวันที่ 1 พ.ค. 2563 หลังจากที่ก่อนหน้านี้สายการบินส่วนใหญ่ได้ประกาศหยุดให้บริการชั่วคราว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 แต่อย่างไรก็ตาม ทุกสายการบินจะต้องปฏิบัติตามมาตรการการควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด เช่น การขายบัตรโดยสารแบบที่นั่งเว้นที่นั่ง เพื่อรักษาระยะห่างระหว่างผู้โดยสาร (Social Distancing) ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเช็คอิน การเข้าออกห้องโดยสาร และงดบริการอาหารและเครื่องดื่มระหว่างเที่ยวบิน นอกจากนี้ ลูกเรือจะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย ถุงมือ และ Face Shield ส่วนผู้โดยสารก็ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดการเดินทาง รวมถึงไม่สามารถนำอาหารของตนเองมารับประทานในเครื่องบินได้ ตารางการเปิดให้บริการของสายการบิน สายการบิน เที่ยวบินภายในประเทศ เที่ยวบินระหว่างประเทศ การบินไทย 25 ตุลาคม 2563 1 มิถุนายน 2563 ไทยสมายล์แอร์เวย์ 1 มิถุนายน 2563 1 มิถุนายน 2563 บางกอกแอร์เวย์ส 1 พฤษภาคม 2563 (ภูเก็ต-กรุงเทพฯ, ภูเก็ต-สมุย) 25 ตุลาคม 2563 แอร์เอเชีย 1 พฤษภาคม 2563 1 มิถุนายน 2563 นกแอร์ 1 พฤษภาคม 2563 1 มิถุนายน 2563 ไทยไลอ้อนแอร์ 1 พฤษภาคม 2563 1 มิถุนายน 2563 (ภูเก็ต) *ปิดชั่วคราว ไม่มีกำหนด* อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกท่านหมั่นตรวจสอบตารางบิน หรือรอประกาศอย่างเป็นทางการของแต่ละสายการบินอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากอาจจะยังไม่เปิดให้บริการในทุกเส้นทาง และสามารถติดตามประกาศการเดินทางทางอากาศที่เกี่ยวกับ COVID-19 ได้ที่ www.caat.or.th/corona ที่มา : trueid.net เผยแพร่เมื่อ : 26 เม.ย.63

อ่าน 1 พ.ค.63 สายการบินในประเทศเตรียมพร้อมเปิดให้บริการอีกครั้ง

ประกาศปิดการท่องเที่ยวในเขตอุทยานฯ ตั้งแต่ 25 มี.ค. 63 เป็นต้นไป

ประกาศปิดการท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติและวนอุทยานทุกแห่ง ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะเข้าสู่สภาวการณ์ปกติ (ประกาศ ณ วันที่ 23 มี.ค.63)

อ่าน ประกาศปิดการท่องเที่ยวในเขตอุทยานฯ ตั้งแต่ 25 มี.ค. 63 เป็นต้นไป