A freediver among sardine run in Moalboal

ไปดำน้ำหาตัวเล็กฝูงใหญ่ ที่ Moalboal

ข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยวดำน้ำที่ Moalboal เกาะเซบู (Cebu Island) ประเทศฟิลิปปินส์ ที่โด่งดังจากฝูงซาร์ดีนใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก

อ่าน ไปดำน้ำหาตัวเล็กฝูงใหญ่ ที่ Moalboal

เรือดำน้ำประสบเหตุจมกลางทะเล ห่างหมู่เกาะสุรินทร์ 4 ไมล์

เรือดำน้ำ ‘สวรรค์ทัวร์’ นำนักท่องเที่ยวไปดำน้ำ ประสบเหตุจมกลางทะเล ห่างหมู่เกาะสุรินทร์ 4 ไมล์ ช่วยเหลือปลอดภัย 12 คน สูญหาย 2 คน

อ่าน เรือดำน้ำประสบเหตุจมกลางทะเล ห่างหมู่เกาะสุรินทร์ 4 ไมล์

มือใหม่หัดหาของเล็กที่ Dumaguete

แชร์ประสบการณ์ดำน้ำดูตัวเล็ก (macro dive) ที่ Dumaguete ประเทศฟิลิปปินส์ เหมาะกับนักดำน้ำสายมาโครไปจนถึงนักดำน้ำหน้าใหม่ เรายังสามารถไป Oslob เพื่อดูฉลามวาฬได้ในเวลาเพียง 2 ชม.เท่านั้น

อ่าน มือใหม่หัดหาของเล็กที่ Dumaguete
Biolife Seen from Microscope - Imaginary Image

แตนทะเล คืออะไร ทำไมชอบทำร้ายเรา ทั้งเจ็บ ทั้งคัน

รู้จักกับตัวจริงของ “แตนทะเล” สิ่งมีชีวิตที่ทำให้เราแสบคันหรือเกิดผื่นแดง เมื่อเล่นน้ำทะเลหรือดำน้ำ และเราควรทำอย่างไรเพื่อลดอาการนี้

อ่าน แตนทะเล คืออะไร ทำไมชอบทำร้ายเรา ทั้งเจ็บ ทั้งคัน

เบาหวาน กับ การดำน้ำ

โรคเบาหวานกับการดำน้ำ คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน มีข้อควรระวังหรือกิจกรรมที่ต้องงดเว้นต่างๆ ซึ่งการดำน้ำ ก็เป็นหนึ่งในกิจกรรมเหล่านั้น อาการของโรคเบาหวานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยหมดสติใต้น้ำ เสี่ยงที่จะเกิดอันตรายถึงชีวิต แล้วทุกคนที่เป็นโรคเบาหวานไม่ควรดำน้ำจริงหรือ มีผลต่อความปลอดภัยในการดำน้ำได้อย่างไร เราจะมาทำความรู้จักกับโรคนี้จากบทความของ DAN.org กัน โรคเบาหวานคืออะไร โรคเบาหวานเป็นโรคที่ร่างกายไม่สามารถผลิตหรือตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำตาลในเลือด คนที่มีสุขภาพดีจะรักษาระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงแคบๆ ที่ 70 – 110 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) ของเลือด ส่วนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอาจมีระดับน้ำตาลในเลือดผันผวนมาก ปัญหาหลักคือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอาจทำให้หมดสติได้ และระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจส่งผลให้การไหลเวียนโลหิตและการมองเห็นลดลง ในบทความนี้ได้แบ่งโรคเบาหวานออกเป็น 2 ประเภท ประเภท 1 หรือเบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลิน (Insulin-Requiring Diabetes Mellitus : IRDM) คือการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ ประเภท 2 เป็นการที่ร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือเซลล์ของร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน หรือเบาหวานที่เริ่มมีอาการในวัยผู้ใหญ่ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานโดยเฉพาะกลุ่ม IRDM มีความเสี่ยงสูงที่จะหมดสติกะทันหัน จึงถูกแนะนำให้งดเว้นจากกิจกรรมต่างๆ เช่น การดำน้ำลึก การศึกษาของ DAN เกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือดและการดำน้ำสันทนาการ นักวิจัยของ DAN ศึกษาการตอบสนองของน้ำตาลในเลือดของนักดำน้ำเชิงสันทนาการวัยผู้ใหญ่ ที่เป็นเบาหวานกลุ่ม IRDM เปรียบเทียบกับนักดำน้ำที่ไม่เป็นโรคเบาหวานซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม ซึ่งเงื่อนไขของนักดำน้ำกลุ่ม IRDM ที่นักวิจัยนำมาศึกษามีดังนี้ สามารถควบคุมอาการได้ในระดับปานกลาง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทุติยภูมิ และไม่ได้เข้ารับการรักษาเนื่องจากความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ระดับน้ำตาลในเลือดต้องสูงกว่า 80 mg/dL ก่อนการดำน้ำแต่ละครั้ง นักดำน้ำต้องใช้อุปกรณ์วัดระดับน้ำตาลในเลือดแบบพกพาที่ใช้นิ้ว และบันทึกค่าก่อนและหลังการดำน้ำหลายครั้ง เป็นการดำน้ำเชิงสันทนาการที่มีความตึงเครียดเล็กน้อยถึงปานกลาง ในน่านน้ำเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อน เพราะความเครียดจะเพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับความซับซ้อนของอุปกรณ์ ความรุนแรงของน้ำ ลักษณะการดำน้ำ หรือเหตุฉุกเฉิน ซึ่งอาจไปเพิ่มความผันผวนของระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผลการศึกษา ความผันผวนของระดับน้ำตาลในเลือดของนักดำน้ำกลุ่ม IRDM สูงกว่ากลุ่มควบคุม ไม่มีกลุ่มใดมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระหว่างการดำน้ำหรือหลังดำน้ำในทันที ร้อยละ 7 ของกลุ่ม IRDM ระดับน้ำตาลในเลือดหลังการดำน้ำลดลงต่ำกว่า 70 mg/dL (ต่ำสุดคือ 41 mg/dL) และร้อยละ 1 ของกลุ่มควบคุม ต่ำสุดคือ 56 mg/dL แม้ว่านักดำน้ำกลุ่ม IRDM จะไม่ได้รายงานภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำก่อน ระหว่าง หรือหลังการดำน้ำทันที แต่ก็ยังมีอาการต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำน้ำ เช่น คลื่นไส้ วิตกกังวล ตัวสั่น รู้สึกหนาว และปวดศีรษะ ซึ่งอาการเหล่านี้ก็มากพอที่จะปลุกนักดำน้ำให้ตื่นกลางดึกได้ ข้อสรุป การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดของนักดำน้ำกลุ่ม IRDM อยู่ในช่วงตั้งแต่ 283 –…

อ่าน เบาหวาน กับ การดำน้ำ

วิธีการทำความสะอาดและดูแลรักษาเร็กกูเลเตอร์

เร็กกูเลเตอร์เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในชุดอุปกรณ์ดำน้ำของเรา เพราะเป็นตัวจ่ายอากาศให้กับเราตลอดไดฟ์ การดูแลอย่างเหมาะสมจะช่วยให้เราใช้งานได้อย่างปลอดภัย ป้องกันอันตรายที่คาดไม่ถึง และยืดอายุการใช้งาน ช่วยประหยัดเงินจากการซ่อมแซมด้วยเหตุที่ไม่สมควรเกิด ได้อีกด้วย การทำความสะอาดเร็กกูเลเตอร์หลังดำน้ำเสร็จเป็นสิ่งที่ควรทำ ยิ่งปล่อยไว้นาน วัสดุก็ยิ่งมีโอกาสเสื่อมสภาพมากขึ้น ไม่ใช่แค่หลังจากดำน้ำทะเลเท่านั้น แม้กระทั่งในสระว่ายน้ำหรือน้ำจืดก็เช่นเดียวกัน น้ำทะเลจะมีผลึกเกลือและอนุภาคทรายที่ทำให้วัสดุเกิดการกัดกร่อนได้ ส่วนสระว่ายน้ำก็มีคลอรีนและกรด และทะเลสาบน้ำจืดก็ยังมีแร่ธาตุ และอาจมีเกลือ รวมถึงตะกอนที่เป็นด่าง ที่จะทำให้เร็กกูเลเตอร์เสื่อมสภาพได้เช่นกัน ในการทำความสะอาดเร็กกูเลเตอร์มีเรื่องที่ควรทำอย่างระมัดระวัง และมีบางเรื่องที่ไม่ควรทำเพราะจะสร้างความเสียหายให้กับเร็กกูเลเตอร์ได้ หากศึกษาแล้วยังไม่เข้าใจชัดเจนเรื่องใด สามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมได้ ขั้นตอนการทำความสะอาดเร็กกูเลเตอร์ เริ่มต้นตั้งแต่หลังการดำน้ำทุกไดฟ์ หลังจากจบการดำน้ำแต่ละไดฟ์ อย่างน้อยควรล้างเร็กกูเลเตอร์แบบง่ายๆ ขณะที่ยังต่ออยู่กับถังอากาศและเปิดวาล์วอากาศไว้ เพราะแรงดันจากถังจะช่วยป้องกันไม่ให้มีน้ำย้อนเข้ามาในระบบได้ โดยใช้น้ำสะอาดเทราดลงไปพร้อมกับถูเบาๆ ให้สิ่งที่ติดมาจากทะเลหลุดออกไปบ้าง หลังจากทำความสะอาดแบบง่ายๆ ไวๆ และปิดถังอากาศเรียบร้อยแล้ว หากอยู่บนเรือ liveaboard นักดำน้ำส่วนใหญ่มักจะวางเร็กกูเลเตอร์ทิ้งไว้กับวาล์วถังอากาศ เพื่อรอใช้งานในไดฟ์ถัดไป แต่ท่านที่ต้องการดูแลเร็กกูเลเตอร์อย่างจริงจัง ควรจะปลด 1st stage ออกจากถังอากาศแล้วปิด dust cap ให้เรียบร้อยด้วยตัวเอง เนื่องจากในระหว่างพักน้ำรอไดฟ์ถัดไปนั้น ลูกเรือจำเป็นต้องถอด 1st stage ออกจากถังเพื่ออัดอากาศเข้าถังด้วย บางครั้งลูกเรืออาจไม่ได้ระมัดระวัง ถอดและวาง 1st stage ไว้โดยไม่ได้ปิด dust cap ซึ่งทำให้มีน้ำ ความชื้น หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปใน 1st stage เสี่ยงต่อปัญหาอื่นที่ตามมาได้ วิธีการทำความสะอาด dust cap ก่อนจะปิด dust cap เข้ากับเร็กกูเลเตอร์ทุกครั้ง ต้องล้าง dust cap ให้สะอาดก่อน โดยทั่วไปมักจะใช้อากาศจากถังอากาศ โดยเปิดวาล์วทีละน้อย ปล่อยลมออกมา ให้ลมแรงพอที่จะไล่น้ำและฝุ่นออกจากหน้าสัมผัสของ dust cap ซึ่งมักจะสะอาดกว่าการใช้ผ้าเช็ด สังเกตว่าหน้าสัมผัสของ dust cap แห้งสนิทและสะอาด ปราศจากน้ำ เม็ดทราย หรือฝุ่นผงแล้ว จึงปิดเข้ากับช่องอากาศของ 1st stage หมุนปิดให้แน่นพอดีๆ ไม่แน่นจนเกินไปจนทำให้ dust cap เสียหาย (หลวมไป ก็อาจปิดไม่สนิท) ล้างเร็กกูเลเตอร์หลังเสร็จจากการดำน้ำ ขั้นตอนต่อไปนี้ บางคนอาจทำทุกไดฟ์ บางคนอาจทำหลังไดฟ์สุดท้ายของวัน หรือบางคนอาจทำหลังไดฟ์สุดท้ายของทริปทีเดียวเลยก็ได้ ขึ้นกับความต้องการและปริมาณน้ำจืดที่เรือมีพอให้ใช้งาน วิธีที่ดีที่สุด คือล้างขณะที่เร็กกูเลเตอร์ยังต่ออยู่กับถังอากาศดังที่กล่าวไว้ข้างต้น หากเร็กกูเลเตอร์ไม่ได้ต่ออยู่กับถังอากาศ ให้ปิด dust cap ให้สนิท (อย่าลืมทำความสะอาด dust cap ก่อนตามวิธีการข้างต้น) ห้ามแช่ 1st stage ลงในน้ำ เพราะตัว…

อ่าน วิธีการทำความสะอาดและดูแลรักษาเร็กกูเลเตอร์

โรคหอบหืดกับการดำน้ำ

การดำน้ำลึกเป็นกิจกรรมที่ไม่สามารถหายใจในสภาพแวดล้อมและวิธีการตามปกติได้ ต้องอาศัยเครื่องช่วยจ่ายอากาศให้เรา ผู้ป่วยจากโรคหอบหืดหลายคนที่สนใจการดำน้ำลึก แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะอันตรายกับตัวเองถึงชีวิตหรือไม่ หากเกิดอาการหอบหืดระหว่างอยู่ใต้น้ำ รวมถึงครูสอนดำน้ำเองก็ไม่แน่ใจว่า หากสอนหรือพาผู้ป่วยโรคหอบหืดไปดำน้ำ จะปลอดภัยหรือไม่ หรือมีข้อควรระวังหรือมาตรการป้องกันอย่างไรได้บ้างหรือไม่ วันนี้เรามีบทความจาก DAN.org มาฝากกัน โรคหอบหืดกับการดำน้ำ โรคหอบหืดเป็นโรคที่มีลักษณะการตีบของท่อหายใจ (หลอดลม) เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ซึ่งการการตอบสนองจะไม่คงที่ และปอดอาจทำงานแย่ลงอย่างฉับพลันทำให้เกิดอาการของโรคได้ อาการจะเกิดขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นโดยละอองเกสรดอกไม้ สารก่อภูมิแพ้ อากาศเย็น สารก่อความระคายเคืองในอากาศ หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ โรคหอบหืดกับการดำน้ำเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักดำน้ำมานาน ในอดีตคนที่เป็นโรคหอบหืดจะต้องหลีกเลี่ยงการดำน้ำ แล้วโรคหอบหืดส่งผลต่อการดำน้ำได้อย่างไร และไม่ควรดำน้ำจริงหรือ อาการที่อาจเกิดขึ้นจากการดำน้ำ การตีบของหลอดลมส่งผลกระทบดังนี้ ปริมาณอากาศที่สามารถเคลื่อนเข้าและออกจากปอดลดลง ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการออกกำลังลดลงด้วย โดยเฉพาะในนักดำน้ำที่ถูกลดความสามารถในการหายใจเนื่องมาจากความต้านทานของอุปกรณ์ช่วยหายใจจากความลึกที่เพิ่มขึ้น การตีบของหลอดลมจะทำให้อากาศค้างอยู่ในปอด เมื่อขึ้นสู่ที่ตื้น อากาศที่ค้างอยู่จะขยายตัวเร็วเกินกว่าจะระบายออกผ่านทางเดินหายใจแคบๆ ปอดอาจฉีกและเกิดภาวะฟองอากาศอุดตันในหลอดเลือดแดง (arterial gas embolism) หรือปอดรั่ว (pneumothorax) นักดำน้ำที่เป็นโรคหอบหืดไม่เพียงจะมีความเสี่ยงจากอากาศอุดตันเท่านั้น แต่ความสามารถในการออกแรงยังลดลงด้วย แม้การหยุดพักหายใจขณะอยู่บนบกจะเป็นเรื่องง่าย แต่เมื่ออยู่ใต้น้ำอาจทำได้ยาก สมาคมการเวชศาสตร์ใต้น้ำแห่งแปซิฟิกใต้ (SPUMS) ระบุว่าการดำน้ำอาจทำให้เกิดอาการของโรคหอบหืด ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะหายใจติดขัด ตื่นตระหนก และจมน้ำได้ การจัดการกับโรคหอบหืด โรคหอบหืดแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามความรุนแรง ได้แก่ ไม่สม่ำเสมอ (Mild Intermittent Asthma) มีอาการนานๆ ครั้ง ช่วงที่มีอาการ สั้นกว่า 1 ครั้ง/สัปดาห์ หรือมีอาการกลางคืนน้อยกว่า 2 ครั้ง/เดือน รุนแรงน้อย (Mild Persistent Asthma) มีอาการมากกว่า 1 ครั้ง/สัปดาห์ หรือมีอาการกลางคืนมากกว่า 2 ครั้ง/เดือน รุนแรงปานกลาง (Moderate Persistent Asthma) มีอาการเกือบทุกวัน หรือมีอาการกลางคืนมากกว่า 2 ครั้ง/สัปดาห์ รุนแรงมาก (Severe Persistent Asthma) มีอาการตลอดเวลา การรักษาโรคหอบหืดสัมพันธ์กับความรุนแรงและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำน้ำ จากการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำและเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง (Undersea and Hyperbaric Medical Society หรือ UHMS) นักดำน้ำที่เป็นโรคหอบหืดใน 3 กลุ่มแรก อาจได้รับอนุญาตให้ดำน้ำได้ หากควบคุมโรคหอบหืดได้ดี และรักษาให้ผลการทดสอบสมรรถภาพปอดเป็นปกติ โดยเฉพาะหลังการออกกำลังกาย ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดก็อาจดำน้ำได้อย่างปลอดภัย คำแนะนำในการดำน้ำ สำหรับนักดำน้ำ แต่ละประเทศมีแนวทางที่แตกต่างกันว่าผู้ที่เป็นโรคหอบหืดสามารถดำน้ำได้หรือไม่ – ในอังกฤษ ผู้ที่ควบคุมโรคหอบหืดได้ดีสามารถดำน้ำได้ หากไม่จำเป็นต้องใช้ยาขยายหลอดลมภายใน 48 ชั่วโมง และไม่มีอาการของหอบหืดหลังจากการออกกำลังกาย…

อ่าน โรคหอบหืดกับการดำน้ำ

แบ่งปันประสบการณ์บ้านหมุนใต้น้ำ

แบ่งปันประสบการณ์บ้านหมุนใต้น้ำ เวลาดำน้ำอย่าซ่า ยาวหน่อยอยากให้อ่าน Day1 เมื่อวันเสาร์มีโอกาสได้ไปดำ Scuba ที่ชุมพร ก็ดำน้ำ dive 1 ไม่เป็นไร พอขึ้น dive 2 อาการมาเลยจ้า คือ ขึ้นมาถึงผิวน้ำปุ๊บอ้วกหนักมาก มากจนไม่เหลืออาหารตอนกลางวันเลย จนต้อง skip dive 3 อาการที่เกิดขึ้นคือ หลับตาไม่ได้ กินอะไรอ้วกหมด ภาพตรงหน้าคือหมุนหมด มือชา เกร็ง ไม่มีแรง เหมือนเวลาเมาเหล้าอ่ะ คิดว่าแฮงค์ทรมานขนาดไหน อาการนี่คูณ 5 ไปเลยจ้า หมดแรง ขาอ่อนแรง ต้องมีคนช่วยพยุง ถอดเวทสูทเองยังถอดไม่ได้เลย กินยาแก้เมาเรือรอดูอาการไปอีกคืน (เพราะถ้าเมาเรือ เมาบก อีกวันต้องหาย) Day2 ตื่นขึ้นมา คิดว่าตัวเองหายแล้วเพราะเหลือดำน้ำอีก 2 dive เลยลองเดิน เชี่ย!!! เอียงจะล้ม เป็นไรวะเนี่ย เลยรู้ตัวเองละว่าไม่ไหว เลยนอนต่อไปอีก โชคดีในกรุ๊ปที่ไปดำด้วยกันมีหมอมาด้วย เลยเขียนใบให้ไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ตอนนั้นยังอ้วกไม่หยุด (ยังไม่ได้กินอะไรเพิ่ม เพราะกินแล้วอ้วกตลอด) กินแต่ยาแก้เมาเรือประคองอาการ จนมาถึงรพ. เข้าห้องฉุกเฉินตอนนั้นหมดแรง มือเย็น ตัวซีดเหลือง ความดันสูง น้ำตาลตก หมอก็จะมีการทดสอบตา หมอแจ้งว่าตาเรากระตุก ทำให้เราบ้านหมุน ส่วนจะเป็นข้างไหนต้องไปตรวจอีกที มีการเจาะเลือดให้ยา (ตอนให้ยาคือทรมานมาก มันแสบไปทั้งตัว น้ำตาไหลกันเลยทีเดียว) ตอนนั้นก็รอดูอาการ หมอยืนยันต้องการให้เราแอดมิตที่รพ. แต่เราก็ยืนยันว่าต้องการกลับกทม. สรุปหมอก็ต้องยอมในความดื้อของเรา Day3 ยังอึน เอียงๆ เดินไกลๆ ไม่ได้ เดินไม่ตรง Day4 วันนี้มาตรวจแบบละเอียดกัน คุณหมอที่รพ.ภูมิพล คือตรวจละเอียดมาก มีการทดสอบหลายอย่าง หลายอย่างที่คิดว่าตัวเองทำได้กลับทำไม่ได้ แต่หมอบอกว่าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นจากเราขึ้นสู่ผิวน้ำเร็วเกินไป ต้องช้าลงกว่านี้ ทำให้แรงดันในหูปรับไม่ทัน อีกอย่างคือไม่ได้เคลียร์หูบ่อยๆ ด้วย วันนี้หมอบอกว่าเราเป็นโรคการบาดเจ็บจากแรงดันต่อหู (Otitic Barotrauma) แล้วทำให้มีอาการบ้านหมุนแบบ Alternobaric vertigo Alternobaric vertigo (reverse squeeze) เกิดจากอากาศในหูชั้นกลางขยายตัวขณะดำขึ้น แต่ Eustachian tube ไม่เปิดให้อากาศระบายออกมาก จนเยื่อแก้วหูฉีกขาดได้ ซึ่งพบได้น้อย อาจเป็นภาวะแทรกซ้อนต่อมาจาก middle ear squeeze ขณะดำน้ำลงหรือการใช้ nasal decongestant แล้วยาหมดฤทธิ์ก่อนที่จะดำน้ำขึ้น จะมีอาการเวียนหัวบ้านหมุน…

อ่าน แบ่งปันประสบการณ์บ้านหมุนใต้น้ำ

แชร์ประสบการณ์เกือบตายจาก Decompression Sickness (DCS) หรือ โรคน้ำหนีบ

ให้อ่านและอย่าทำตามโดยเด็ดขาด จากโพสก่อนหน้า(บ้านหมุนใต้น้ำ) : ได้ไปหาหมอมาทั้งหมด 3 รพ.แล้ว การวินิจฉัยส่วนใหญ่ คือ จะเป็นเกี่ยวกับหู มีหลายคนอินบ๊อกซ์มา หลายคนมากบอกว่าแนะนำให้เราเข้ารพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้าโดยด่วนที่สุด โดยเฉพาะคุณนัท ที่โทรมาอธิบายว่าเคยเป็นเหมือนกัน แต่อาการแสดงน้อยกว่าเรา อยากให้รีบไปตรวจและได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด จึงรีบไปตอนเย็นวันนั้นเลย พอถึงรพ.แจ้งว่าดำน้ำมา เค้าจะนำตัวเราเข้าสู่ห้อง ICU ให้ Oxygen โดยทันที มีการซักประวัติเยอะมากกก (ถ้าเอาไดฟ์คอมมาจะดีมาก) ทดสอบเบื้องต้นเรื่องการทรงตัว ประสาทสัมผัส มีเอ็กซเรย์ปอด, EKG วัดคลื่นหัวใจ, วัดชีพจร, ตรวจเลือด CBC แต่กรีนจะมีปัญหาเรื่องความดันสูง (ปกติจะไม่เป็น) หมอเลยแจ้งว่าต้องให้เราเข้าห้องแชมเบอร์ หรือ ห้องปรับแรงดันบรรยากาศสูง (Hyperbaric Chamber) ระหว่างการตรวจคุยกับคุณหมอ คุณหมอขอดู dive computer แต่เราบอกว่าไม่มี คุณหมอบอกไดฟ์คอมสำคัญต่อชีวิตมากเลยนะ เพราะมันจะเตือนเราทุกๆ อย่าง หลังจากนี้สอยแล้วค่ะ เข็ดมากๆๆๆๆๆๆ Dive Computer = ชีวิต ก่อนเข้าห้อง ก็จะมีทำแบบทดสอบความจำ ก่อนเข้าห้อง ถอดเครื่องประดับทุกชนิด สาวๆ แนะนำใส่ sport bra จะได้ไม่ต้อง no-bra นะคะ คอนแทคเลนส์สายตาสามารถใส่เข้าไปเฉพาะชนิด soft lens ของมีค่าแนะนำไว้ในรถ หรือ ไม่ควรเอามานะคะ ถ้ามาคนเดียว สามารถนำน้ำเปล่าเข้ามาจิบได้ค่ะ ใครติดมือถืองดเล่นยาวๆ ค่ะ ได้ใช้ชีวิตในยุค 90 บรรยากาศในห้อง ครั้งที่ 1 (6 ชั่วโมง นิดๆ) เย็นสบายตามราคา เป็นเตียงผู้ป่วย มีจอทีวีให้ดู เลือกหนังได้ค่ะ แต่เจ้าหน้าที่จะกดรีโมทให้นะคะ ตอนแรกจะมีการปรับระดับอยู่ที่ความลึก 60 ฟุต ภายใน 3 นาที ใครเคลียร์หูยากอาจจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่นิดนึงนะคะ แต่กรีนเคลียร์หูง่ายผ่านไปด้วยดี หลังจากนั้นก็ทำตามขั้นตอนมีการพัก 5 นาทีบ้าง 15 นาทีบ้าง โดยคุณหมอจะคอยสังเกตอาการเราอยู่เรื่อยๆ ค่ะ *ส่วนตัวนะคะ อยู่ดีๆ รู้สึกอึดอัด แพนิคหน่อยตอนท้ายๆ แล้วแต่คนนะคะ ถ้าเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ทันทีค่ะ ปล.ในห้องมีห้องน้ำนะคะ หลังจากการทำครั้งที่ 1 เหมือนวิ้งๆ เล็กน้อย สิวผุดขึ้นมาเต็มเลยค่ะ 555+ บางคนบอกหน้าใส แล้วแต่คนเลยค่ะ โดยรวมอาการดีขึ้นแต่ยังไม่ 100% มีการทำแบบทดสอบครั้งแรกอีกครั้ง…

อ่าน แชร์ประสบการณ์เกือบตายจาก Decompression Sickness (DCS) หรือ โรคน้ำหนีบ