มือใหม่หัดหาของเล็กที่ Dumaguete

แชร์ประสบการณ์ดำน้ำดูตัวเล็ก (macro dive) ที่ Dumaguete ประเทศฟิลิปปินส์ เหมาะกับนักดำน้ำสายมาโครไปจนถึงนักดำน้ำหน้าใหม่ เรายังสามารถไป Oslob เพื่อดูฉลามวาฬได้ในเวลาเพียง 2 ชม.เท่านั้น

อ่าน มือใหม่หัดหาของเล็กที่ Dumaguete

วิธีการทำความสะอาดและดูแลรักษาเร็กกูเลเตอร์

เร็กกูเลเตอร์เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในชุดอุปกรณ์ดำน้ำของเรา เพราะเป็นตัวจ่ายอากาศให้กับเราตลอดไดฟ์ การดูแลอย่างเหมาะสมจะช่วยให้เราใช้งานได้อย่างปลอดภัย ป้องกันอันตรายที่คาดไม่ถึง และยืดอายุการใช้งาน ช่วยประหยัดเงินจากการซ่อมแซมด้วยเหตุที่ไม่สมควรเกิด ได้อีกด้วย การทำความสะอาดเร็กกูเลเตอร์หลังดำน้ำเสร็จเป็นสิ่งที่ควรทำ ยิ่งปล่อยไว้นาน วัสดุก็ยิ่งมีโอกาสเสื่อมสภาพมากขึ้น ไม่ใช่แค่หลังจากดำน้ำทะเลเท่านั้น แม้กระทั่งในสระว่ายน้ำหรือน้ำจืดก็เช่นเดียวกัน น้ำทะเลจะมีผลึกเกลือและอนุภาคทรายที่ทำให้วัสดุเกิดการกัดกร่อนได้ ส่วนสระว่ายน้ำก็มีคลอรีนและกรด และทะเลสาบน้ำจืดก็ยังมีแร่ธาตุ และอาจมีเกลือ รวมถึงตะกอนที่เป็นด่าง ที่จะทำให้เร็กกูเลเตอร์เสื่อมสภาพได้เช่นกัน ในการทำความสะอาดเร็กกูเลเตอร์มีเรื่องที่ควรทำอย่างระมัดระวัง และมีบางเรื่องที่ไม่ควรทำเพราะจะสร้างความเสียหายให้กับเร็กกูเลเตอร์ได้ หากศึกษาแล้วยังไม่เข้าใจชัดเจนเรื่องใด สามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมได้ ขั้นตอนการทำความสะอาดเร็กกูเลเตอร์ เริ่มต้นตั้งแต่หลังการดำน้ำทุกไดฟ์ หลังจากจบการดำน้ำแต่ละไดฟ์ อย่างน้อยควรล้างเร็กกูเลเตอร์แบบง่ายๆ ขณะที่ยังต่ออยู่กับถังอากาศและเปิดวาล์วอากาศไว้ เพราะแรงดันจากถังจะช่วยป้องกันไม่ให้มีน้ำย้อนเข้ามาในระบบได้ โดยใช้น้ำสะอาดเทราดลงไปพร้อมกับถูเบาๆ ให้สิ่งที่ติดมาจากทะเลหลุดออกไปบ้าง หลังจากทำความสะอาดแบบง่ายๆ ไวๆ และปิดถังอากาศเรียบร้อยแล้ว หากอยู่บนเรือ liveaboard นักดำน้ำส่วนใหญ่มักจะวางเร็กกูเลเตอร์ทิ้งไว้กับวาล์วถังอากาศ เพื่อรอใช้งานในไดฟ์ถัดไป แต่ท่านที่ต้องการดูแลเร็กกูเลเตอร์อย่างจริงจัง ควรจะปลด 1st stage ออกจากถังอากาศแล้วปิด dust cap ให้เรียบร้อยด้วยตัวเอง เนื่องจากในระหว่างพักน้ำรอไดฟ์ถัดไปนั้น ลูกเรือจำเป็นต้องถอด 1st stage ออกจากถังเพื่ออัดอากาศเข้าถังด้วย บางครั้งลูกเรืออาจไม่ได้ระมัดระวัง ถอดและวาง 1st stage ไว้โดยไม่ได้ปิด dust cap ซึ่งทำให้มีน้ำ ความชื้น หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปใน 1st stage เสี่ยงต่อปัญหาอื่นที่ตามมาได้ วิธีการทำความสะอาด dust cap ก่อนจะปิด dust cap เข้ากับเร็กกูเลเตอร์ทุกครั้ง ต้องล้าง dust cap ให้สะอาดก่อน โดยทั่วไปมักจะใช้อากาศจากถังอากาศ โดยเปิดวาล์วทีละน้อย ปล่อยลมออกมา ให้ลมแรงพอที่จะไล่น้ำและฝุ่นออกจากหน้าสัมผัสของ dust cap ซึ่งมักจะสะอาดกว่าการใช้ผ้าเช็ด สังเกตว่าหน้าสัมผัสของ dust cap แห้งสนิทและสะอาด ปราศจากน้ำ เม็ดทราย หรือฝุ่นผงแล้ว จึงปิดเข้ากับช่องอากาศของ 1st stage หมุนปิดให้แน่นพอดีๆ ไม่แน่นจนเกินไปจนทำให้ dust cap เสียหาย (หลวมไป ก็อาจปิดไม่สนิท) ล้างเร็กกูเลเตอร์หลังเสร็จจากการดำน้ำ ขั้นตอนต่อไปนี้ บางคนอาจทำทุกไดฟ์ บางคนอาจทำหลังไดฟ์สุดท้ายของวัน หรือบางคนอาจทำหลังไดฟ์สุดท้ายของทริปทีเดียวเลยก็ได้ ขึ้นกับความต้องการและปริมาณน้ำจืดที่เรือมีพอให้ใช้งาน วิธีที่ดีที่สุด คือล้างขณะที่เร็กกูเลเตอร์ยังต่ออยู่กับถังอากาศดังที่กล่าวไว้ข้างต้น หากเร็กกูเลเตอร์ไม่ได้ต่ออยู่กับถังอากาศ ให้ปิด dust cap ให้สนิท (อย่าลืมทำความสะอาด dust cap ก่อนตามวิธีการข้างต้น) ห้ามแช่ 1st stage ลงในน้ำ เพราะตัว…

อ่าน วิธีการทำความสะอาดและดูแลรักษาเร็กกูเลเตอร์

โรคหอบหืดกับการดำน้ำ

การดำน้ำลึกเป็นกิจกรรมที่ไม่สามารถหายใจในสภาพแวดล้อมและวิธีการตามปกติได้ ต้องอาศัยเครื่องช่วยจ่ายอากาศให้เรา ผู้ป่วยจากโรคหอบหืดหลายคนที่สนใจการดำน้ำลึก แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะอันตรายกับตัวเองถึงชีวิตหรือไม่ หากเกิดอาการหอบหืดระหว่างอยู่ใต้น้ำ รวมถึงครูสอนดำน้ำเองก็ไม่แน่ใจว่า หากสอนหรือพาผู้ป่วยโรคหอบหืดไปดำน้ำ จะปลอดภัยหรือไม่ หรือมีข้อควรระวังหรือมาตรการป้องกันอย่างไรได้บ้างหรือไม่ วันนี้เรามีบทความจาก DAN.org มาฝากกัน โรคหอบหืดกับการดำน้ำ โรคหอบหืดเป็นโรคที่มีลักษณะการตีบของท่อหายใจ (หลอดลม) เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ซึ่งการการตอบสนองจะไม่คงที่ และปอดอาจทำงานแย่ลงอย่างฉับพลันทำให้เกิดอาการของโรคได้ อาการจะเกิดขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นโดยละอองเกสรดอกไม้ สารก่อภูมิแพ้ อากาศเย็น สารก่อความระคายเคืองในอากาศ หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ โรคหอบหืดกับการดำน้ำเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักดำน้ำมานาน ในอดีตคนที่เป็นโรคหอบหืดจะต้องหลีกเลี่ยงการดำน้ำ แล้วโรคหอบหืดส่งผลต่อการดำน้ำได้อย่างไร และไม่ควรดำน้ำจริงหรือ อาการที่อาจเกิดขึ้นจากการดำน้ำ การตีบของหลอดลมส่งผลกระทบดังนี้ ปริมาณอากาศที่สามารถเคลื่อนเข้าและออกจากปอดลดลง ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการออกกำลังลดลงด้วย โดยเฉพาะในนักดำน้ำที่ถูกลดความสามารถในการหายใจเนื่องมาจากความต้านทานของอุปกรณ์ช่วยหายใจจากความลึกที่เพิ่มขึ้น การตีบของหลอดลมจะทำให้อากาศค้างอยู่ในปอด เมื่อขึ้นสู่ที่ตื้น อากาศที่ค้างอยู่จะขยายตัวเร็วเกินกว่าจะระบายออกผ่านทางเดินหายใจแคบๆ ปอดอาจฉีกและเกิดภาวะฟองอากาศอุดตันในหลอดเลือดแดง (arterial gas embolism) หรือปอดรั่ว (pneumothorax) นักดำน้ำที่เป็นโรคหอบหืดไม่เพียงจะมีความเสี่ยงจากอากาศอุดตันเท่านั้น แต่ความสามารถในการออกแรงยังลดลงด้วย แม้การหยุดพักหายใจขณะอยู่บนบกจะเป็นเรื่องง่าย แต่เมื่ออยู่ใต้น้ำอาจทำได้ยาก สมาคมการเวชศาสตร์ใต้น้ำแห่งแปซิฟิกใต้ (SPUMS) ระบุว่าการดำน้ำอาจทำให้เกิดอาการของโรคหอบหืด ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะหายใจติดขัด ตื่นตระหนก และจมน้ำได้ การจัดการกับโรคหอบหืด โรคหอบหืดแบ่งเป็น 4 กลุ่มตามความรุนแรง ได้แก่ ไม่สม่ำเสมอ (Mild Intermittent Asthma) มีอาการนานๆ ครั้ง ช่วงที่มีอาการ สั้นกว่า 1 ครั้ง/สัปดาห์ หรือมีอาการกลางคืนน้อยกว่า 2 ครั้ง/เดือน รุนแรงน้อย (Mild Persistent Asthma) มีอาการมากกว่า 1 ครั้ง/สัปดาห์ หรือมีอาการกลางคืนมากกว่า 2 ครั้ง/เดือน รุนแรงปานกลาง (Moderate Persistent Asthma) มีอาการเกือบทุกวัน หรือมีอาการกลางคืนมากกว่า 2 ครั้ง/สัปดาห์ รุนแรงมาก (Severe Persistent Asthma) มีอาการตลอดเวลา การรักษาโรคหอบหืดสัมพันธ์กับความรุนแรงและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำน้ำ จากการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำและเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง (Undersea and Hyperbaric Medical Society หรือ UHMS) นักดำน้ำที่เป็นโรคหอบหืดใน 3 กลุ่มแรก อาจได้รับอนุญาตให้ดำน้ำได้ หากควบคุมโรคหอบหืดได้ดี และรักษาให้ผลการทดสอบสมรรถภาพปอดเป็นปกติ โดยเฉพาะหลังการออกกำลังกาย ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดก็อาจดำน้ำได้อย่างปลอดภัย คำแนะนำในการดำน้ำ สำหรับนักดำน้ำ แต่ละประเทศมีแนวทางที่แตกต่างกันว่าผู้ที่เป็นโรคหอบหืดสามารถดำน้ำได้หรือไม่ – ในอังกฤษ ผู้ที่ควบคุมโรคหอบหืดได้ดีสามารถดำน้ำได้ หากไม่จำเป็นต้องใช้ยาขยายหลอดลมภายใน 48 ชั่วโมง และไม่มีอาการของหอบหืดหลังจากการออกกำลังกาย…

อ่าน โรคหอบหืดกับการดำน้ำ

หน้ากากดำน้ำ สำหรับคนสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง

ทางเลือกใหม่ สำหรับคนที่มีปัญหาสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง ที่อยากมองโลกใต้ทะเลให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องใส่คอนแทกเลนส์

อ่าน หน้ากากดำน้ำ สำหรับคนสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง

ที่พักในดูมาเกเต้: Mahi Mahi Diver Resort

โรงแรม Mahi Mahi Dive Resort อยู่ในแถบ Zamboanguita ที่บริการอย่างอบอุ่นเพราะดูแลโดยเจ้าของ คู่สามี-ภรรยาเอง โรงแรมนี้เสมือนก่อตั้งโดยนักดำน้ำเพื่อนักนักดำน้ำ การออกแบบนั้นมีสไตล์แบบร่วมสมัย สรรค์สร้างโดยสถาปนิกชาวรัสเซีย ส่วนห้องพักนั้น พักได้สูงสุดห้องละ 3 คน และหันหน้าไปทางทะเลทุกห้อง บรรดาเจ้าของรีสอร์ทบางส่วนเป็นนักดำน้ำมีชื่อจากสัญชาติฟิลิปปินส์และรัสเซีย ทำให้ Dive center ของ Mahi Mahi รวมเอาไว้ด้วยผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้บริการดำน้ำและถ่ายภาพใต้น้ำ house reef ของที่นี่ขึ้นชื่อว่าเป็นจุดดำน้ำแบบ Muck dive ระดับดีมากแห่งนึงในโซนนี้ เป็นที่อาศัยของปลากบ ไปป์ฟิช และกุ้งปูสีสันสะดุดตาจำนวนมาก สังเกตุดูจากภาพถ่ายในเวบไซต์ของทางโรงแรมก็รู้แล้วว่าไม่หลอกดาวแน่ๆ ส่วนบริการอื่นๆก็มีไว้รองรับไม่ขาด เช่นทัวร์เที่ยวบก ไม่ว่าจะเป็น ทะเลสาบแฝด Balisasayao & Danao ทัวร์​ ATV ชมน้ำพุร้อนและวิวแบบพาโนรามาพร้อมบริการถ่ายและแต่งภาพ หรือว่าทัวร์ชมฉลามวาฬแบบไม่ต้องลุ้นที่ Oslob ก็มี Click here for English ห้องพัก Superior Queen Bed – 5800 เปโซต่อคืน พักได้ 2 ท่าน Deluxe Twin และ Deluxe Queen – ห้องขนาดเล็กสุด พักได้ 2 ท่าน ราคา 5300 เปโซต่อคืน รวมอาหารเช้าแบบ A la carte Deluxe Double Twin – ห้องสำหรับ 3 ท่าน โดยมีเตียงคู่ และเดียงเดี่ยวอย่างละหนึ่งเตียง ราคา 5500 เปโซต่อคืน (+1500 สำหรับแขกท่านที่ 3) Facility นอกจากสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานแล้ว ที่นี่ยังออกแบบสระว่ายน้ำลึกของที่นี่ยังอยู่เกือบติดทะเลถือว่าวิวดีสุดๆ การดำน้ำที่นี่ เริ่มต้นที่ราคา 1,600 เปโซ/ไดฟ์ และรับได้สุดสุด 15 ท่านต่อการออกเรือ 1 รอบ ที่นี่โฟกัสการดำน้ำเป็นหลัก ถ้าต้องการจะไปดำน้ำในแถบใกล้ๆกับ Dumaguete ทาง dive center ก็มีทริปให้เลือกหลายทริป     Source: Mahi Mahi Dive Resort

อ่าน ที่พักในดูมาเกเต้: Mahi Mahi Diver Resort

ที่พักในดูมาเกเต้: Thalatta Resort

ที่พักสำหรับนักดำน้ำในแถบ Dauin, Dumaguete ที่น่าสนใจอีกแห่งคือ Thalatta Resort รีสอร์ทที่ดูธรรมดาๆ เข้าถึงง่าย แต่ก็มีทุกอย่างครบ สะอาดสะอ้าน บริการดี และที่สำคัญ ราคาน่ารักน่าเอ็นดูที่สุด อยู่ที่ 3,800 เปโซหรือราวๆ 2,500 บาท ต่อห้องเท่านั้น ซึ่งราคานี้รวมอาหารเช้าสำหรับสองคนแล้วด้วย ที่นี่มีแพ็คเกจดำน้ำให้เลือกตั้งแต่ 1 ถึง 30 ไดฟ์ ซึ่งฟังดูเยอะมากแต่ถ้าเทียบกับการที่ house reef บริเวณรีสอร์ทเป็นปะการังเทียมที่อุดมสมบูรณ์ สามารถดำน้ำลงไปเจอสัตว์น้ำได้เยอะแยะทั้งกลางวันและกลางคืนแบบไม่ต้องกลัวเบื่อ 30 ไดฟ์อาจจะไม่พอก็เป็นได้ และแม้จะไม่ได้พักที่นี่ก็ยังสามารถมา muck dive ดูปลากบ ปลาหมึก และถ่ายภาพมาโครได้อยู่ โดยเสียค่าเข้าให้เจ้าของพื้นที่นิดหน่อย ที่นี่มีห้องพักทั้งหมดเพียง 16 ห้องเท่านั้น ทำให้บริการลูกค้าได้ทั่วถึง สำหรับห้องอาหารจะรองรับได้ราวๆ 60 คน  ที่เห็นว่าต่างจากโรงแรมอื่นคือทริปดำน้ำของรีสอร์ทนี้มีให้เลือกแบบมีกล้องกับไม่มีกล้องด้วย แบบมีกล้องจะแพงกว่ากัน 50 เปโซ น่าสนถ้าไปกับแก๊งค์ที่ไม่ถ่ายรูปแต่อยากมีภาพตัวเองในบรรยากาศใต้น้ำของดูมาเกเต้ Click here for English source: Thalatta Resort

อ่าน ที่พักในดูมาเกเต้: Thalatta Resort

ที่พักในดูมาเกเต้: Atlantis Dive Resort

สำหรับผู้ที่เห็นคนเยอะแล้วรู้สึกอุ่นใจ Atlantis Dive Resort – Dumageute ดูจะตอบโจทย์ เพราะที่นี่ใหญ่มาก มีห้องพักให้บริการถึง 40 ห้อง นอนได้ประมาณห้องละ 2 – 4 คน ที่นี่ให้ความรู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติ ด้วยความที่ห้องพักทั้งหลายนั้นมีต้นไม้ล้อมหน้าล้อมหลังแบบเต็มที่ สำหรับผู้ที่ต้องการวิวทะเล ที่นี่มีห้องพักแบบติดทะเลให้เลือกด้วย ในส่วนของการดำน้ำ ที่นี่นับว่าเป็นรีสอร์ทที่สอนดำน้ำหลักสูตร SSI ที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณแห่งหนึ่ง นอกจากจะมีอุปกรณ์พร้อมตามความจำเป็นแล้ว ที่นี่ยังมีจัดทริปดำน้ำทั้งแบบรายวัน Night Dive และ Liveaboard ในบริเวณใกล้เคียง Click here for English ห้องพัก Deluxe room – มีให้เลือกทั้งเตียงเดี่ยวและเตียงคู่ มีทั้งแอร์และพัดลมทุกห้อง บางห้องเป็นห้องเชื่อมต่อกันได้ อย่าลืมรีเควสตอนจอง (ราคาประมาน 7,000 บาท) Garden Suite – ห้องแบบนี้จะมีระเบียงหรือนอกชานที่กว้างขวางกว่าห้องปกติ (ราคาประมาน 9,000 บาท) Ocean Front – ห้องติดทะเล (ราคาประมาน 9,000 บาท) Premium Garden Suite – เป็นห้องแบบสองห้องนอน พักได้ 4 ท่าน (ราคาประมาน 12,000 บาท) Facility ห้องอาหารที่นี่ขึ้นชื่อว่ามีอาหารที่ดีเกินกว่าไดฟ์รีสอร์ทหลายๆที่มากและได้รับการกล่าวถึงในหนังสือ Lonely Planet ว่าเป็นห้องอาหารที่ดีระดับโลก Diving ไดฟ์เซ็นเตอร์ของ Atlantis นี่ถือว่าจัดเต็มอยู่ มีบริการถ่ายภาพใต้น้ำและมีพื้นที่เตรียมกล้องที่สะดวกสบายพร้อมด้วยปลั๊กไฟ ปืนเป่าแห้ง และคอมพิวเตอร์สำหรับเช็ครูปภาพเผื่อใครขี้เกียจแบกคอมมาเอง Source: dumaguete.com/atlantis-dive-resort/ Atlantis Hotel

อ่าน ที่พักในดูมาเกเต้: Atlantis Dive Resort

ที่พักในดูมาเกเต้: Atmosphere Resorts & Spa Dumaguete

Atmosphere Resorts & Spa ตัวเลือกระดับ 5 ดาว ที่น่าสนใจในโซน Dauin หนึ่งในที่พักที่ได้รับความนิยมในหมูนักท่องเที่ยวและผู้ที่มาดำน้ำที่ดูมาเกเต้ ประเทศฟิลิปปินส์ ที่นี่มีบรรยากาศร่มรื่น ภายในรีสอร์ทตกแต่งแบบโมเดิร์น ขาวสะอาดสบายตา กว้างขวาง แต่แบ่งเป็นสัดส่วนดูไม่วุ่นวาย มีห้องพักให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น pool villa สำหรับสองท่าน หรือว่า ห้องที่เหมาะกับหมู่คณะ แบบห้อง duplex ที่สามารถพักได้สูงสุดถึง 6 คน สำหรับผู้ที่มากับครอบครัวที่นี่ก็มีกิจกรรมและบริการครบครันไม่ว่าจะเป็นสปา ยิม สระว่ายน้ำถึง 3 สระ และกิจกรรมทางน้ำอื่นๆ แถมอาหารยังดูดีและอร่อยอีกด้วย ดูเผินๆที่นี่ไม่เหมือนไดฟ์รีสอร์ทที่คุ้นเคย ที่ปกติจะมีความลุยๆอยู่ แต่ house reef ที่อยู่บริเวณหาดของรีสอร์ทถือเป็นหนึ่งในจุดดำน้ำที่ดีมากแห่งหนึ่ง เพียงแค่ลงไปตื้นๆ 6 – 7 เมตร ก็ได้ดูสัตว์น้ำน้อยใหญ่แบบแทบไม่ต้องตามหา Click here for English ห้องพักมีทั้งหมด 6 แบบ Deluxe Suite Room – ห้องแบบธรรมดาที่สุดในรีสอร์ท มีระเบียงหน้าห้องกว้างขวางและมีห้องน้ำเอาท์ดอร์ พักได้สูงสุด 3 ท่าน ราคาประมาน 17,000 เปโซ หรือประมาน 15,000 บาท Premium Pool Suite – พูลวิลล่าหนึ่งเดียวที่นี่ สระน้ำส่วนตัวขนาดไม่เล็ก ราวๆ 20 ตรม. มีเพียง 8 ห้องเท่านั้น ราคา 25,000 เปโซ Premium Suite Room – เหมือน Deluxe Suite แบบมีพื้นที่มากกว่า ราคา 20,000 เปโซต่อคืน Family Suite Room – พักได้ 4 คนแบบไม่ต้องจ่ายเพิ่มเติม ราคา 22,000 เปโซ Garden Apartment – ห้องชนิดหนึ่งห้องนอนแยก พักได้สูงสุด 3 คน พื้นที่เยอะมาก Penthouse & Duplex Family Suite – ห้องแบบสองห้องนอน…

อ่าน ที่พักในดูมาเกเต้: Atmosphere Resorts & Spa Dumaguete

หลักพื้นฐานเกี่ยวกับการลอยตัว เพื่อการดำน้ำ

หลักวิทยาศาสตร์พื้นฐานเกี่ยวกับการลอยตัวในน้ำ เป็นความรู้ที่สำคัญมากในการทำกิจกรรมใต้น้ำทุกชนิด โดยเฉพาะ สำหรับผู้ที่ต้องการทำความเข้าใจเรื่องระบบการจัดการน้ำหนักสำหรับนักดำน้ำ ทั้งสคูบ้า (scuba diving) และฟรีไดฟ์ (freediving) ให้ได้อย่างลึกซึ้ง เพื่อที่จะได้จัดการกับสภาพการลอยตัวของตัวเอง ด้วยเครื่องมือต่างๆ นับตั้งแต่ ตะกั่วถ่วงน้ำหนัก, BCD, จนถึงปอดของตัวเราเอง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเพื่อแนะนำเพื่อนร่วมกิจกรรมหรือนักเรียนดำน้ำได้อย่างละเอียด ชัดเจน และถูกต้อง ตลอดจนการพัฒนาเทคนิคการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เราทำกิจกรรมดำน้ำได้อย่างสะดวก ราบรื่น ปลอดภัย ช่วยลดอันตรายหรือแก้ปัญหา เท่านั้น แต่ยังช่วยให้เราผ่อนคลายและสนุกสนานในการดำน้ำมากขึ้นด้วย หากรู้จักประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ การลอยตัว คือสภาพการจมลอยของวัตถุหนึ่งๆ ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มันอยู่ หากสิ่งแวดล้อมมีแรงยกวัตถุนั้นมากกว่าน้ำหนักของมัน วัตถุนั้นก็จะลอยอยู่ได้ “บน” สิ่งแวดล้อมนั้น (ที่ต้องหมายเหตุคำว่า “บน” ก็เพราะว่า ในการลอยตัวนั้น จะมีบางส่วนจมอยู่กับสิ่งแวดล้อมเสมอ เพราะส่วนที่จมในสิ่งแวดล้อมนั่นเองที่ทำให้เกิดแรงยกขึ้นมา) เราเรียกสภาพการลอยตัวแบบนี้ว่า มีการลอยตัวเป็นบวก แต่ถ้ามีแรงยกไม่มากพอ วัตถุนั้นจะจมลงไปอยู่ภายในสิ่งแวดล้อมนั้นทั้งชิ้น ส่วนจะจมลงไปเรื่อยๆ หรือหยุดนิ่งกลางสิ่งแวดล้อมได้ ก็ขึ้นกับว่า แรงยกนั้นเท่ากับหรือน้อยกว่าน้ำหนักของวัตถุ หากเท่ากันพอดี วัตถุจะหยุดนิ่งกลางสิ่งแวดล้อมนั้นได้ จับไปวางตรงไหนก็อยู่ตรงนั้น ไม่จมลงหรือลอยขึ้น (เมื่อไม่มีแรงอย่างอื่นมากระทำ) เรียกว่ามีการลอยตัวเป็นกลาง หากแรงยกน้อยกว่า วัตถุจะจมลงไปเรื่อยๆ เรียกว่ามีการลอยตัวเป็นลบ สำหรับนักดำน้ำ ในสถานการณ์ทั่วไป เราต้องการสภาพการลอยตัวที่เป็นกลาง ซึ่งก็คือ สภาพที่แรงยกเท่ากับน้ำหนักตัวของเราพอดี เพราะเราสามารถควบคุมการขึ้นลงด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องมีอิทธิพลจากแรงภายนอกมาทำให้เราต้องยุ่งยากขึ้น (มีบางสถานการณ์ที่เราอาจต้องการแรงยกหรือแรงกดมาช่วยด้วย เช่น เมื่อเจอกระแสน้ำแนวตั้ง ที่คอยกดเราให้จมลงหรือลอยขึ้นอย่างหนักหน่วง จนจัดการด้วยตัวเราเองล้วนๆ ทำได้ยาก) แต่เรื่องที่เราต้องเข้าใจเพิ่มเติมก็คือ ด้วยคุณสมบัติภายในร่างกายของมนุษย์เอง คือการมี ถุงลม คือ ปอด ที่หดขยายขนาดได้ ทำให้จุดที่เราจะมีสภาพการลอยตัวเป็นกลางนั้น ไม่ตายตัว แต่เปลี่ยนไปตามระดับความลึกด้วย เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ต้องค่อยๆ ทำความเข้าใจกันครับ โดยเริ่มต้นจาก ที่มาของ “แรงลอยตัว” หรือ “แรงยก” ก่อนจะไปต่อด้วยว่า ทำไมสภาพการลอยตัวของมนุษย์มีปอดอย่างเราจึงมีสภาพการลอยตัวที่ไม่ตายตัว แรงลอยตัว หรือ แรงยก เกิดขึ้นได้อย่างไร แรงยกที่ของเหลวดันวัตถุใดๆ เอาไว้นั้น เกิดขึ้นจากการที่วัตถุนั้นพยายามจะเข้าไปแทนที่ของเหลว (อธิบายแบบให้เห็นภาพนิดนึงว่า) ของเหลวก็จะมีแรงดันสู้กลับไป เท่ากับน้ำหนักของตัวเองในปริมาตรที่เท่ากับส่วนที่วัตถุนั้นพยายามจะเข้ามาแทนที่ หรืออธิบายแบบทางการนิดนึง ก็คือ แรงยกจะมีขนาดเท่ากับ น้ำหนักของของเหลวส่วนที่ถูกแทนที่นั้น หรือก็คือ น้ำหนักของของเหลวที่มีปริมาตรเท่ากับวัตถุส่วนที่จมอยู่ในของเหลว หากวัตถุมีความหนาแน่นน้อยกว่าของเหลว เมื่อวัตถุนั้นจมลงไปในของเหลว (คือ ไปแทนที่ของเหลว) เพียงปริมาณนิดเดียว ก็เกิดแรงยกจากของเหลวเพียงพอที่จะชนะน้ำหนักของวัตถุทั้งชิ้นแล้ว ทำให้วัตถุนั้นไม่จมลงไปในของเหลวอีกต่อไป หยุดอยู่เพียงแค่ส่วนที่แรงยกจากของเหลวจะพอดีกับน้ำหนักของมัน … ซึ่งเราเรียกสถานะแบบนี้ว่า…

อ่าน หลักพื้นฐานเกี่ยวกับการลอยตัว เพื่อการดำน้ำ