ทำไม เรามักจะลอยขึ้นเร็ว จนหยุดที่ความลึกที่ต้องการไม่ได้

รู้จักกับสาเหตุหลักที่นักดำน้ำใหม่มักจะไม่สามารถควบคุมการลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำได้อย่างใจต้องการ และวิธีการแก้ไขปัญหานี้

อ่าน ทำไม เรามักจะลอยขึ้นเร็ว จนหยุดที่ความลึกที่ต้องการไม่ได้
Diver Flying over Coral Reefs

ปัญหาการลอยตัวของนักดำน้ำใหม่ ถ้าแก้ได้ก็ดำน้ำสบายเลย

บทความสำหรับนักดำน้ำใหม่ ที่พบว่ายังควบคุมการลอยตัวไม่ได้อย่างใจสักที มาลองทบทวนความเข้าใจเรื่องนี้กันอีกครั้ง และเริ่มฝึกทักษะการลอยตัวกัน

อ่าน ปัญหาการลอยตัวของนักดำน้ำใหม่ ถ้าแก้ได้ก็ดำน้ำสบายเลย

วิธีการทำความสะอาดและดูแลรักษาเร็กกูเลเตอร์

เรียนรู้วิธีการทำความสะอาดและดูแลรักษาเร็กกูเลเตอร์ของคุณ ทั้งระหว่างใช้งานดำน้ำ และหลังจบทริป ให้อยู่กับเราไปได้ยาวนาน

อ่าน วิธีการทำความสะอาดและดูแลรักษาเร็กกูเลเตอร์

ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อการกลั้นหายใจมากที่สุด

เมื่อเราดำน้ำ สิ่งที่เป็นปัญหาหลักๆ คือ เราไม่สามารถหายใจใต้น้ำได้โดยไม่อาศัยเครื่องมือช่วย ซึ่งแตกต่างกับแมวน้ำที่สามารถกลั้นหายใจดำน้ำได้นานถึงสองชั่วโมง โดยไม่ต้องใช้ถังออกซิเจน แล้วถ้าถามว่าทำไมแมวน้ำถึงกลั้นหายใจได้นานขนาดนั้น นั่นก็เพราะว่า ร่างกายของแมวน้ำมีความสามารถในการกักเก็บ และใช้ออกซิเจนน้อยมากเวลาดำน้ำ โดยมีกลไกส่งออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ และสมอง เส้นเลือดในอวัยวะอื่นๆที่ไม่สำคัญจะหดตัว (peripheral constriction) และหัวใจจะเต้นช้าลง (bradycardia) เปรียบเทียบกับแมวน้ำแล้ว มนุษย์มีความสามารถในการดำน้ำน้อยกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งคนส่วนมากสามารถ กลั้นหายใจแบบสบายๆ ได้น้อยกว่า 1 นาที แต่ร่างกายของมนุษย์ก็มีระบบที่ใช้ในการดำน้ำเหมือนกับแมวน้ำ และโลมา ดังนั้นหากเรารู้ว่า กลไกอะไรที่ส่งผลต่อความสามารถของร่างกาย ในการกักเก็บออกซิเจน ก็จะทำให้เราฝึกฝน และสามารถดำฟรีไดฟ์ได้นานมากยิ่งขึ้น การทดลองปัจจัยในการกลั้นหายใจแต่ละแบบ การทดลองจะมุ่งเน้นไปที่ การวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่ลดลง (Bradycardia) เนื่องจากเป็นสิ่งที่สังเกตได้ง่ายเพื่อเปรียบเทียบว่าปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อ mammalian dive reflex มากกว่ากัน โดยวัดผลระหว่างกลั้นหายใจเป็นเวลา 30 วินาที   สภาวะการกลั้นหายใจ No. เปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ สภาวะดำน้ำ กับ ไม่ดำน้ำ 1 หายใจธรรมดา กับ การกลั้นหายใจในน้ำ เปรียบเทียบการหายใจกับการกลั้นหายใจ 2 หายใจธรรมดา กับ การกลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ 3 หายใจผ่านท่อ snorkel ในน้ำ กับ กลั้นหายใจในน้ำ ใบหน้าสัมผัสน้ำ 4 หายใจผ่านท่อ snorkel โดยหน้าไม่เปียกน้ำ กับ หายใจผ่านท่อ snorkel ในน้ำ 5 กลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ กับ กลั้นหายใจในน้ำเย็น 6 กลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ กับ กลั้นหายใจในน้ำธรรมดา อุณหภูมิ 7 ใช้เจลประคบร้อนบริเวณใบหน้า กับ ใช้เจลประคบเย็นบริเวณใบหน้า 8 กลั้นหายใจในน้ำอุ่น กับ กลั้นหายใจในน้ำเย็น   ผลการทดลอง กลั้นหายใจ แบบต่างๆ 30 วินาที สภาวะการกลั้นหายใจ No. เปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจ วินาทีที่15 – 30 (ครั้ง / นาที) สภาวะดำน้ำ กับ ไม่ดำน้ำ 1 การหายใจแบบธรรมดา กับ 76 การกลั้นหายใจในน้ำ 56.1 เปรียบเทียบการหายใจกับการกลั้นหายใจ 2…

อ่าน ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อการกลั้นหายใจมากที่สุด

2 วิธีฝึก Freedive กลั้นหายใจ ได้นานและสบายกว่าเดิม

หนึ่งในปัญหาที่ทรมานคนที่ฝึกฟรีไดฟ์ใหม่ๆ คือ อาการ contraction ซึ่งเป็นอุปสรรคในการกลั้นหายใจ และสิ่งที่คิดจะทำเป็นอย่างแรกเพื่อทำให้ร่างกายทนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้น คือ ให้ฝึกตาราง CO2 โดยมีความเชื่อผิดๆว่าจะทำให้ contraction มาช้าลงกว่าเดิม เพราะเชื่อว่ายิ่งฝึกร่างกายจะยิ่งทนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ฝึก Freedive อย่างไรให้ Contraction มาช้าลง ในการเรียนฟรีไดฟ์ระดับเริ่มต้น เราจะถูกสอนให้ฝึกร่างกายให้ทนต่อระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อทำให้กลั้นหายใจได้นานขึ้นโดยไม่ทำ hyperventilation ซึ่งนั่นเป็นวิธีที่ถูกต้องและปลอดภัย แต่ความคิดที่ว่ายิ่งฝึกให้ทนต่อ คาร์บอนไดออกไซด์นานขึ้นเรื่อยๆ เพื่อทำให้สามารถกลั้นหายใจได้นานขึ้นไปเรื่อยๆ หรืออีกนัยหนึ่งก็เป็นการฝึกฝืนจิตใจให้ทนได้มากกว่าเดิม ทนทรมานได้มากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเป็นความคิดที่ผิดถนัด แน่นอนว่าการฝึกตาราง CO2 เป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้คุ้นเคยกับอาการ contraction แต่มันมีประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจให้ดี ประเด็นแรก คือการฝึกจิตใจให้คุ้นเคยกับอาการ Contraction เป้าหมายการฝึกนี้คือ ทำให้เกิดความเข้าใจและรู้สึกเฉยๆในสภาวะของการเกิด contraction ว่าเกิดมาจากระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้นไม่ได้เกิดเพราะกำลังขาดออกซิเจน และกำลังจะตาย ปัญหาคือเราไม่มีทางที่จะรู้สึกสบายได้จากการที่คาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ได้มาจากการฝึกตาราง CO2 คือเราสามารถฝืนทนความทรมานได้มากขึ้น เเต่ผลเสียที่เกิดขึ้นจากวิธีแบบนี้ คือเราไม่มีทางที่จะรู้สึกดีได้เลย จิตใจจะต่อต้านการฝึก เกิดความเบื่อหน่ายและเลิกฝึกไปในที่สุด การฝึกที่ให้ประสิทธิผลมากกว่าคือ การฝึกให้จิตใจผ่อนคลาย ฝึกเพื่อให้เกิดความรู้สึกดี และเกิดเชื่อมั่นว่าเราสามารถทำได้ เช่นการกลั้นหายใจพียง 2-3 รอบ ให้สามารถกลั้นหายใจได้ตามระยะเวลา contraction ที่กำหนด เป็นการฝึกเพียงให้เกิดความเข้าใจ ว่าเราสามารถทำได้ก็พอ ไม่จำเป็นต้องทำถึง 8 รอบ ประเด็นต่อมาคือการฝึกร่างกายให้เคยชินกับ CO2 เป้าหมายในการฝึกคือ ทำให้ คาร์บอนไดออกไซด์มีผลกระทบต่อ อาการ contraction หรือ อาการ urge to breath ของร่างกายในขณะกลั้นหายใจน้อยลง แล้วคิดว่า contraction จะมาช้าลง ซึ่งในความจริงเป็นความเข้าใจผิด สิ่งที่ส่งผลต่ออาการ urge to breath ไม่ใช่คาร์บอนไดออกไซด์ ซะทีเดียว แต่สิ่งที่ร่างกายตรวจจับ และส่งผลให้กิด contraction ตามมา คือ ความเป็นกรดในกระแสเลือด ยิ่งเลือดเป็นกรดมากเท่าไหร่ เวลากลั้นหายใจอาการ urge to breath จะยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ซึ่งค่า ph ในกระแสเลือดนั้น มีปัจจัยมาจากหลายสาเหตุ ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ระดับ ph ในร่างกายมาจาก 2 สาเหตุหลักๆ คือ เปอร์เซ็นต์ของ CO2 และ ปริมาณ lactic acid ในร่างกาย ดังนั้น การฝึกตาราง CO2 เพื่อทำให้ร่างกาย…

อ่าน 2 วิธีฝึก Freedive กลั้นหายใจ ได้นานและสบายกว่าเดิม

9 ขั้นตอน Freedive ฝึก Frenzel Equalization

วิธีเคลียร์หูแบบ frenzel เป็นวิธีที่นิยมมากสำหรับคนที่ เรียน freedive เพราะเป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อหูมากกว่าวิธีการเคลียร์หูแบบ valsava และสามารถดำลงไปได้ลึกกว่ามาก แต่ก็ต้องใช้เวลาในการฝึกอยู่พอสมควรเพราะ มีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าวิธีอื่น เเต่มีขั้นตอนฝึกสำหรับผู้หัดใหม่ในบทความนี้ Freedive Physiology ส่วนต่างๆ ส่วนที่เชื่อมปอดและลำคอคือ trachea สามารถเปิด-ปิดโดย epiglottis ส่วนที่เชื่อมไปยังกระเพาะอาหารคือ esophagus โดยปกติจะปิด การหายใจเข้า-ออก จะผ่านเพดานอ่อน (soft palate) เข้าสู่ปอด ถ้าเพดานอ่อนอยู่ตำแหน่งกึ่งกลาง ลมจะสามารถถ่ายเทจากปากเข้าจมูกได้ ถ้าเพดานอ่อนยกขึ้น ลมจะผ่านเข้าปากได้ แต่ลมจะถูกกั้น ไม่สามารถเข้าไปในโพรงจมูกได้ ถ้าเพดานอ่อนลดลง ลมจะผ่านเข้าจมูกได้แต่ผ่านเข้าไปในช่องปากไม่ได้ ท่อยูสเตเชียนอยู่บริเวณด้านหลังโพรงจมูก การเคลียร์หูคือการดันลมให้เข้าไปในท่อนี้ จากรูปเป็นวิธีเคลียร์หูแบบ frenzel เราจะใช้มือปิดจมูก ใช้ลิ้นดันลมในช่องปาก ในขณะเดียวกันก็ปิดหลอดลมไว้ ลมจะถูกดันผ่านเพดานอ่อนที่เปิดอยู่เข้าไปในท่อยูสเตเชียน และเข้าไปในหูชั้นกลาง วิธีเคลียร์หู แบบ Frenzel ใช้มือปิดจมูก เอาลมจากปอดมาไว้ในปาก ปิดหลอดลม ทำให้เพดานอ่อนมาอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางหระหว่างโพรงจมูก กับ ช่องปาก ใช้ลิ้นดันลมให้เข้าไปในโพรงจมูก 9 ขั้นตอน ฝึก Frenzel Technique สำหรับคนเรียนฟรีไดฟ์ใหม่ๆอาจจะยังไม่รู้ว่าจะควบคุมหลอดลม เพดานอ่อน หรือใช้ลิ้นดันลมให้เข้าไปในท่อยูสเตเชียนได้อย่างไร ขั้นตอนด้านล่างจะเป็นวิธีฝึกเพื่อให้คุ้นเคยกับการควบคุมส่วนต่างๆที่ใช้ในการเคลียร์หู ขั้นตอนที่ 1 : ฝึกดึงลมจากปอดเข้ามาในปาก ให้ดันลมจากปอดเข้ามาไว้ในปาก จนกว่าจะเต็มกระพุ้งแก้ม ลองเคลื่อนลมจากเไป-มา ระหว่างปากกับปอดให้คล่อง ขั้นตอนที่ 2 : ฝึกเปิด-ปิด หลอดลม (Epiglottis) มีหลายวิธีที่ใช้ในการฝึกเปิด-ปิดหลอดลม วิธีที่ 1 : กลั้วคอด้วยน้ำ จิบน้ำไว้ในปาก แล้วเงยหน้าขึ้นให้น้ำไหลไปด้านหลังของปาก แต่อย่าให้น้ำไหลผ่านลำคอลงไป วิธีที่ 2 : หายใจออก และสะกัดลมไว้ไม่ให้ออกมา ให้อ้าปากออกแล้วหายใจออกผ่านปาก สะกัดลมไว้ไม่ให้ออกมา ลองใช้กระบังลมดันปอดถ้าลมไม่ไหลออกมาแสดงว่าปิดหลอดลมได้ วิธีที่ 3 : หายใจเข้าแล้ว สะกัดลมไว้ไม่ให้เข้าไป อ้าปากแล้วหายใจเข้า สะกัดลมไว้ ไม่ให้เข้าปอด เมื่อลมไม่สามารถเข้าไปในปอดได้จะรู้สึกตึงบริเวณ epiglottis วิธีที่ 4 : ปิดหลอดลมไว้แล้วหายใจออก ต่อจากวิธีที่ 2 อ้าปากไว้ แต่ปิดหลอดลมไว้ในขณะที่หายใจออก ออกแรงดันลมให้ออกทางปากแล้ว เปิดหลอดลม จะมีสียงลมที่ดันผ่านปากออกมา (ฝรั่งเรียก K sound) วิธีที่ 5 : ปิดหลอดลมไว้แล้วหายใจเข้า…

อ่าน 9 ขั้นตอน Freedive ฝึก Frenzel Equalization

Spleen Effect เคล็ดไม่ลับ ทำให้กลั้นหายใจได้นาน

รู้จักกับ “ม้าม” และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการดำฟรีไดฟ์ จนถึงวิธีการฝึกฝนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำฟรีไดฟ์

อ่าน Spleen Effect เคล็ดไม่ลับ ทำให้กลั้นหายใจได้นาน

เทคนิคพื้นฐานการฝึก Freedive

Freedive เป็นกีฬาที่เรียนและฝึกฝนทักษะในการกลั้นหายใจในการดำน้ำ ถูกเเบ่งออกหลักๆได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เรียนรู้การกลั้นหายใจได้นาน , กลั้นหายใจดำน้ำได้ไกล เเละกลั้นหายใจดำน้ำได้ลึก เเต่ละแบบก็มีหัวข้อในการฝึกฝนเเตกต่างกันไปบ้าง ตามรูปแบบของการเเข่งขัน 1. Freedive กลั้นหายใจนาน (Static Apnea) – Relaxation and Breathing Technic Relaxation and breathing technic ส่วนเเรกที่ผู้เรียนฟรีไดฟ์จะได้ฝึกฝน เนื่องจากเป็นหัวใจของฟรีไดฟ์ คือ การไม่เครียด การฝึกนี้เป็นรากฐานของฟรีไดฟ์เเบบอื่นๆทั้งหมด ได้เเก่ 1.หายใจโดยใช้กระบังลม /ท้องน้อย (Diaphragm / Belly Breathing) เวลาหายใจเข้า หน้าท้องจะป่องออก เเละเวลาหายใจออก หน้าท้องจะยุบลง หายใจเข้าออกเเบบสบายๆ เหมือนเวลาปกติ (tidal volume) ไม่หายใจมากหรือถี่เกินไปเพราะ จะทำให้เกิด hyperventilation ***ถ้าฝึกใหม่ๆ ให้หายใจเข้า 1 ส่วน หายใจออก 2ส่วน โดยนับเลขเเทน เช่น หายใจเข้า 3 วินาที หายใจออก 6 วินาที เพื่อป้องกัน hyperventilation 2. การกลั้นหายใจ (Hold Breathing) การกลั้นหายใจ ประกอบไปด้วย 3 ช่วงคือ 2.1 ผ่อนคลาย (relax) : ช่วงเเรกร่างกายยังไม่มีผลกระทบ จากการกลั้นหายใจ มีเเค่ความคิดที่คอยรบกวนเเละทำให้จิตใจไม่สงบ 2.2 อุปสรรค (struggle) : ช่วงนี้จะเริ่มตั้งเเต่ เกิดการหดตัวของกระบังลม เป็นต้นไป ทำให้เกิดความยากลำบากในการกลั้นหายใจ เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซในเลือดเพิ่มขึ้น 2.3 อันตราย : ร่างกายจะเริ่มเกิดความรู้สึกทรมาน ริมฝีปากจะเริ่มเป็นสีม่วง เนื่องจากออกซิเจนในกระเเสเลือด ลดลงมาก ทำให้เสี่ยงต่อการเกิด LMC หรือ blackout 3. Recovery Breathing หลังจากกลั้นหายใจจนออกซิเจนในเลือดลดลงต่ำ โดยให้หายใจเข้าให้เต็มปอดให้เร็วที่สุดเเล้วกลั้นหายใจไว้ 2 วินาที ทำซ้ำ 3-4 รอบ – Full Lung Stretching ยืดเหยียดกล้ามเนื้อรอบๆ ทรวงอก ด้วยการหายใจเข้าให้เต็มปอด เมื่อฝึกเป็นประจำ จะช่วยให้ปริมาตรความจุอากาศของปอดเพิ่มขึ้น –…

อ่าน เทคนิคพื้นฐานการฝึก Freedive
Diving with current - 001

Check Dive ใครว่าไม่สำคัญ

เรื่อง “Check dive? สำคัญไฉน?” ผมเคยได้ยินคำนี้มานานแล้ว เวลาไป liveaboard แล้วจะได้ยินคำนี้ ด้วยความที่ยังเป็นนักดำน้ำมือใหม่ ก็ดำไปตามปกติทุกครั้ง

อ่าน Check Dive ใครว่าไม่สำคัญ
Diving with shark - FreedomDive - 001

NDL เธอเหลือเท่าไร?

ในคลิป มีฉลามชื่ออะไรบ้างลองเดากันดูครับ แต่ที่อยากเล่า คือประสบการณ์ในการเช็ค NDL จำได้เลยตอนถ่ายคลิปนี้ ดำอยู่ที่ 20 กว่าเมตร กำลังเกี่ยวฮุกอยู่ พอมอง NDL ผมเหลือ 5

อ่าน NDL เธอเหลือเท่าไร?