Garmin-Descent-MK3

เปิดตัว Garmin Descent MK3 ไดฟ์คอมที่เป็นมากกว่าไดฟ์คอม

Garmin Descent MK3 กับคุณสมบัติเด่นที่เป็นยิ่งกว่าไดฟ์คอม เติมเต็มประสบการณ์ดำน้ำ และยังสามารถใส่ได้ในชีวิตประจำวัน กับฟังก์ชันที่ใส่มาแบบตัวเดียวครบ จบ ทุกความต้องการ

อ่าน เปิดตัว Garmin Descent MK3 ไดฟ์คอมที่เป็นมากกว่าไดฟ์คอม

ฟังก์ชันเสริมพิเศษของ BCD

รู้จักกับฟังก์ชันเสริมพิเศษ ที่ช่วยให้นักดำน้ำสามารถควบคุมการทำงานของ BCD ได้อย่างสะดวกง่ายดายหรือเพิ่มความสบายในการดำน้ำมากขึ้น

อ่าน ฟังก์ชันเสริมพิเศษของ BCD

5 ขั้นตอน ตรวจเช็คอุปกรณ์ ก่อนไปทริปดำน้ำ

ต้นเดือนตุลาคม ใกล้เวลาเปิดอุทยานทางทะเลฝั่งอันดามัน ตั้งแต่หมู่เกาะสุรินทร์ สิมิลัน และใกล้เข้าฤดูกาลท่องเที่ยวทะเลภาคตะวันออกของไทย น้ำใสหน้าหนาว ทั้งทะเลพัทยา แสมสาร ระยอง และเกาะช้าง ทะเลตราด หลายคนไม่ได้ใช้อุปกรณ์ดำน้ำมาหลายเดือน บางคนลืมไปแล้วว่าแต่ละชิ้นเก็บไว้ที่ไหน บางคนก็ไม่แน่ใจว่า อุปกรณ์ของตัวเองยังพร้อมใช้งานอยู่รึเปล่า มาเปิด Gear Bag เช็คอุปกรณ์ดำน้ำของคุณก่อนจะถึงวันออกทริปจริงกันดีกว่า กับ 5 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ ตรวจเช็คสภาพภายนอกของอุปกรณ์ดำน้ำแต่ละชิ้น ทั้งหน้ากาก ฟิน เว็ทสูท BCD และเร็กกูเลเตอร์ ดูว่ายังอยู่ในสภาพดี มีความตึงหย่อนอ่อนแข็งและใช้งานได้ปกติหรือไม่ มีชิ้นส่วนใดแตกกรอบ ฉีกขาด หรือเริ่มมีรอยปริ บ้างรึยัง … ไม่แน่ใจชิ้นไหน ทักแชทมาปรึกษาเราได้นะคะ ยินดีให้บริการทุกช่องทาง สำหรับเร็กกูเลเตอร์และ BCD ถ้าเป็นไปได้ ควรลองต่อกับถังอากาศ เพื่อทดสอบการทำงานจริงก่อนเอาไปใช้ในทริปด้วย … ใครไม่มีถังอากาศอยู่ที่บ้าน เชิญแวะมาที่ร้านเราได้เลย บริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายค่าาา (นัดมาก่อนก็ดีนะคะ เผื่อบางวันอากาศหมด ต้องรอเปลี่ยนแทงค์นิดนึงค่ะ) เร็กกูเลเตอร์ของใครไม่ได้เข้าศูนย์นานกว่า 2 ปีแล้ว แนะนำให้เข้าศูนย์ฯ ด่วนเลยนะคะ จะได้ถอดล้าง เปลี่ยนอะไหล่ให้ใหม่กิ๊ก พร้อมใช้งานทันทริปต่อไป … ช่วงนี้คิวงาน overhaul service เริ่มทยอยเข้ามากันมากขึ้นแล้วนะคะ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ไฟฉาย ไดฟ์คอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายรูป แบตเตอรี่ เช็คอีกทีว่า แบตฯ ยังสภาพดี ใช้งานได้อีกนาน … ถ้าเหลือขีดเดียว ไม่มั่นใจว่าจะใช้ได้จบไดฟ์มั้ย ส่งมาเปลี่ยนแบตฯ กันได้เลยค่าาา ครีมกันแดด ของจำเป็นที่เหลือมาจากทริปก่อน หมดอายุแล้วหรือยัง หรือมีไม่พอใช้ในทริปแน่ๆ แวะเข้าร้านไปซื้อเติมกันได้เลย โดยเฉพาะใครที่ผิวขึ้นผื่นแดง คัน จากการลงน้ำทะเล เพราะแพ้แตนทะเลได้ง่าย ต้องใช้ครีมกันแดด Safe Sea ที่ป้องกันพิษสัตว์ทะเลตัวจิ๋วเหล่านี้ได้ด้วย มีคำถามเกี่ยวกับอุปกรณ์ดำน้ำ คอร์สเรียนหรือทริปดำน้ำ ทักสอบถามได้ค่ะ ให้เราเป็นเพื่อนคุณในทุกเรื่องของการดำน้ำนะคะ FreedomDIVE.com Tel: 095-875-5450 Line: @freedomdive หรือ QR Code Facebook: FreedomDIVE Google Map: FreedomDIVE Scuba Outlet Tel: 063-140-0428 Line: @scubaoutlet หรือ QR Code Facebook:…

อ่าน 5 ขั้นตอน ตรวจเช็คอุปกรณ์ ก่อนไปทริปดำน้ำ

รู้จักกับสายถัก Miflex

รู้จักกับชนิดของสาย Miflex และคุณสมบัติสำคัญของสายถักแบรนด์นี้ รวมถึงตัวเลือกขนาดและสีสันที่มีให้นักดำน้ำเลือกใช้

อ่าน รู้จักกับสายถัก Miflex

ตุ่มแดง ผื่นคัน หลังเล่นน้ำทะเล เกิดจากอะไร แก้ไขและป้องกันได้อย่างไร

ผู้ที่ชอบเที่ยวทะเล เล่นน้ำชายหาด หรือดำน้ำดูปะการัง บางคนอาจเคยต้องพบกับความรู้สึกคันยิบๆ ไปจนถึงแสบร้อนตามเนื้อตัวให้รำคาญใจ และแม้ขึ้นจากทะเลแล้วก็อาจพบกับตุ่มเล็กๆ สีแดงบนผิวหนัง หรือผื่นแดงปรากฏขึ้นเป็นพื้นที่ใหญ่ๆ บนร่างกายอีกด้วย ทำเอาเล่นน้ำไม่สนุก หรือต้องทุกข์กับผิวที่เสียโฉมไปหลายวันเลยทีเดียว ปัญหาเหล่านี้เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไร มีวิธีป้องกันหรือไม่ เรามีคำตอบมาให้ สาเหตุ สาเหตุหลักของผื่นคันแดงเหล่านี้เกิดขึ้นจากพิษของสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ หลายชนิดที่อยู่ในน้ำทะเล ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ ตัวอ่อนของสัตว์ในกลุ่มเดียวกับแมงกะพรุน เช่น ปะการัง ดอกไม้ทะเล และแมงกะพรุนชนิดต่างๆ นั่นเอง ตัวอ่อนของสัตว์เหล่านี้ส่วนใหญ่มีขนาดไม่ถึงมิลลิเมตร อาจมีแมงกะพรุนชนิดที่ตัวเต็มวัยก็มีขนาดเพียง 1-2 ซ.ม. บ้าง ซึ่งก็จัดว่ายากจะสังเกตเห็นและหลบหลีกได้อยู่ดี นอกจากสัตว์กลุ่มแมงกะพรุนแล้ว ยังมีสัตว์ในตระกูลอื่นบางชนิดที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ในบางคนได้ พวกเราคงเคยได้ยินชาวบ้านหรือนักท่องเที่ยวที่คุ้นเคยกับทะเล เรียกชื่อสิ่งที่ทำให้เกิดอาการแสบๆ คันๆ แบบนี้ได้ ว่า “แตนทะเล” กันมาบ้างแล้ว ที่จริงชื่อนี้ไม่ได้หมายถึงสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่หมายรวมสัตว์ทะเลหลากหลายชนิดที่มองไม่เห็นตัวเหล่านี้นั่นเอง สัตว์เหล่านี้แม้จะมีขนาดเล็ก หรือยังอ่อนวัย แต่ก็มีเข็มพิษที่พร้อมทำงานได้เช่นกัน แม้จะมีปริมาณหรือความรุนแรงของพิษไม่มากนัก แต่ก็ทำให้เกิดรอยผื่นแดงคันได้ หากร่างกายของเราแพ้สารพิษเหล่านั้น หรือหากในช่วงนั้นมีตัวอ่อนเหล่านี้แพร่กระจายอยู่มาก (อาจจะสัมพันธ์กับฤดูกาล ช่วงเวลาเช้าเย็นหรือน้ำขึ้นน้ำลง) เราก็อาจได้รับพิษจำนวนมาก และแสดงอาการมากตามไปด้วย อาการ โดยทั่วไป อาการอาจเริ่มต้นด้วยอาการคันยุบยิบตามผิวหนัง โดยเฉพาะส่วนที่ไม่มีเสื้อผ้าปกคลุม ระหว่างดำน้ำหรือเล่นนำ้ทะเลอยู่ ในบางคนอาจรู้สึกแค่คันยิบๆ แต่ยังไม่ปรากฏเป็นผื่นหรือตุ่มแดงๆ หรืออาจเริ่มมีบ้างเล็กน้อย บางคนอาจไม่มีอาการเหล่านี้ระหว่างอยู่ในน้ำเลยก็ได้ ส่วนใหญ่อาการมักจะยังไม่เกิดขึ้นในทะเลเพราะเข็มพิษยังไม่ได้สัมผัสกับสิ่งกระตุ้นต่างๆ เมื่อขึ้นจากน้ำทะเลแล้ว อาจรู้สึกคันมากขึ้น และอาจมีผื่นหรือตุ่มแดงปรากฏขึ้นมาอีก และซึ่งก็มักจะมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะไม่ได้อยู่ในน้ำแล้วก็ตาม แสดงว่า เจ้าแพลงก์ตอนพวกนี้ติดมาตามเสื้อผ้าหรือเว็ทสูทของเราด้วย (หรือบางทีก็มีแต่เข็มพิษที่ติดมา ไม่ได้มาทั้งตัว) และเมื่อเราไล่น้ำออกจากเสื้อผ้าของเรามากขึ้น เขาก็ได้สัมผัสผิวหนังของเรามากขึ้น และเข็มพิษของเขาก็เริ่มทำงานมากขึ้นด้วย อาการผื่นแดงคันเหล่านี้ มักจะปรากฏมากบริเวณหน้าอก ข้อพับ ขาหนีบ ซึ่งเป็นบริเวณที่เสียดสีกับเสื้อผ้า หรือเสียดสีกับผิวหนังกันเองบ่อยๆ แล้วกระตุ้นให้เข็มพิษทำงาน ปล่อยพิษใส่ผิวหนังของเรานั่นเอง อาการที่พบในแต่ละคนจะแตกต่างกันไปได้หลายระดับแล้วแต่การตอบสนองของร่างกาย บางคนแค่คันๆ แต่ไม่มีรอยแดง บางคนแพ้เป็นผื่นแดงและหายไปในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน ในขณะที่บางคนก็ใช้เวลาหลายเดือนกว่าร่องรอยจะหายจนหมด สำหรับคนที่มีอาการแพ้รุนแรงอาจถึงขั้นบวมพองเป็นตุ่มน้ำใสๆ แตกเป็นแผลเหวอะหวะ กว่าจะหายก็กินเวลาหลายเดือน และด้วยความที่อยู่ได้นานเป็นเดือนๆ กับคนที่แพ้มาก นี่เองที่ทำให้ใครหลายคนต้องคิดแล้วคิดอีก เมื่อจะตัดสินใจไปลงเล่นน้ำในทะเล แม้ว่าจะรักทะเล อยากเห็นฝูงปลา สัตว์น้ำ และปะการังอันสวยงามมากมาย ก็ตามที เตรียมตัวเที่ยวทะเล การป้องกันที่ดี เริ่มต้นทันทีเมื่อคุณวางแผนทริป 1. วางแผนเที่ยวตามฤดูกาลและแหล่งท่องเที่ยว หลายปีก่อน (หรือกว่าสิบปีมาแล้ว) การเพิ่มปริมาณของแพลงก์ตอน (ซึ่งก็คือช่วงการขยายพันธ์ของสัตว์ทะเลกลุ่มนี้) มักจะสัมพันธ์กับฤดูกาล และอุณหภูมิน้ำทะเล ในแต่ละท้องถิ่นด้วย ซึ่งทำให้เราพอจะวางแผนเที่ยวทะเลที่ต่างๆ เพื่อลดโอกาสเจอแตนทะเลได้บ้าง แต่ปัจจุบันนี้ ด้วยสภาพอากาศที่แปรปรวน จนทำให้เกิดแพลงก์ตอนบูมได้ตลอดทั้งปี ไม่มีระยะเวลาที่แน่นอน เราจึงอาจเลือกฤดูกาลที่จะเลี่ยงหรือลดโอกาสเจอแตนทะเลไม่ได้เท่าใดนัก อย่างไรก็ตาม…

อ่าน ตุ่มแดง ผื่นคัน หลังเล่นน้ำทะเล เกิดจากอะไร แก้ไขและป้องกันได้อย่างไร

การใช้สาย Miflex ให้ปลอดภัย และทนนาน

ทุกเรื่องที่ควรรู้ในการใช้งานสายถัก Miflex ตั้งแต่การประกอบสาย การใช้งาน ข้อควรระวัง การดูแลและบำรุงรักษา จนถึงการทำความสะอาดประจำปี

อ่าน การใช้สาย Miflex ให้ปลอดภัย และทนนาน
Banner - Mask on the sand beach

มารู้จักส่วนประกอบของหน้ากากดำน้ำกันเถอะ

หน้ากากเป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการดำน้ำที่ช่วยให้เราเห็นสิ่งต่างๆ ใต้น้ำได้ชัดเจน และช่วยไม่ให้แสบตาถ้าต้องให้ดวงตาสัมผัสกับน้ำทะเล นอกจากนี้ หน้ากากยังต้องครอบลงมาถึงจมูกไม่ให้เราสำลักน้ำ แต่ที่จริงยังมีหน้าที่สำคัญมากกว่านี้อีกเรื่อง ซึ่งจะเล่าให้ฟังต่อไปในรายละเอียดอีกที หน้าที่สำคัญเหล่านี้ทำให้หน้ากากดำน้ำต้องมีส่วนประกอบต่างๆ หลายอย่าง ที่เหมาะต่อการใช้งาน ทั้งขนาด รูปทรง วัสดุ ให้ตอบโจทย์การดำน้ำทุกรูปแบบ และความต้องการที่ต่างกันไปของนักดำน้ำแต่ละคน ลองมาทำความรู้จักกับส่วนประกอบต่างๆ ของหน้ากากดำน้ำกันดีกว่า เลนส์ (Lens) เลนส์ของหน้ากากดำน้ำส่วนใหญ่ทำมาจากกระจกนิรภัย (tempered glass) ซึ่งมีความแข็งแรง ทนแรงกดได้ดี เป็นคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมดำน้ำ เมื่อแตกจะมีลักษณะเหมือนเม็ดข้าวโพด อันตรายน้อยกว่ากระจกทั่วไป นอกจากนี้ยังมีเลนส์ที่ทำจากโพลีคาร์บอเนต (polycarbonate) ซึ่งดัดโค้งได้ ให้มุมมองสายตาที่กว้างขึ้น โดยไม่เพิ่มปริมาตรอากาศภายในหน้ากาก (low volume) อีกทั้งยังมีน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมักจะใช้กับหน้ากากฟรีไดฟ์ การจัดวางเลนส์โดยพื้นฐานมี 2 แบบ คือแบบเลนส์ชิ้นเดียว (single-len) ที่ให้มุมมองโปร่งโล่ง และแบบเลนส์แยก 2 ชิ้น (double-len) อีกทั้งยังมีหน้ากากที่มีเลนส์ใสๆ อยู่ด้านข้างด้วย (ที่เรียกกันว่าแบบ 3-window และ 4-window) จะให้มุมมองด้านข้างเพิ่มเข้ามา แต่ก็จะทำให้มีปริมาตรมากขึ้นด้วย ทำให้ต้องใช้อากาศในการเคลียร์หน้ากากมากกว่าแบบอื่นๆ เลนส์ของหน้ากากบางรุ่นถูกออกแบบมาให้สามารถเปลี่ยนเป็นเลนส์สายตาสำหรับคนที่สายตาสั้นหรือยาวได้ด้วย ทั้งยังเพิ่มฟังก์ชั่นเสริม เช่น เคลือบสารกันฝ้าหรือติดฟิล์มกันฝ้ามาให้ในตัว เพิ่มเลนส์ UV Cut ที่ช่วยถนอมสายตาจากแสง UV และเลนส์สีเหลือง (amber lens) ที่ช่วยชดเชยสีที่หายไปใต้น้ำ ช่วยให้มองเห็นสีของสิ่งต่างๆ ใต้น้ำได้ตรงความจริงมากขึ้น กรอบเลนส์ (Frame) เป็นส่วนที่ยึดเกาะกับเลนส์และขอบหน้ากาก มักทำด้วยพลาสติก บางรุ่นก็ทำจากอลูมิเนียมเพื่อความสวยงาม อีกทั้งยังสามารถผลิตให้มีสีสันและดีไซน์หลากหลายแบบ ในปัจจุบัน มีหน้ากากหลายรุ่นไม่มีกรอบมาเป็นตัวยึดเกาะเลนส์ แต่ใช้ซิลิโคนหุ้มขอบเลนส์เป็นชิ้นเดียวกับขอบหน้ากาก ทำให้มีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบา หรือที่เราเรียกกันว่า frameless รูปร่างของกรอบเลนส์ จะมีผลต่อทัศนวิสัยของนักดำน้ำ เช่น หน้ากากบางรุ่นมีรูปร่างที่ฉีกออกด้านข้างมากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่มองเห็นด้านข้างได้อีก บางรุ่นยังเพิ่มระยะของกรอบด้านล่าง ทำให้มองเห็นด้านล่างได้มากขึ้น ส่วนความหนาของกรอบเลนส์ (ระยะจากกรอบเลนส์ถึงขอบหน้ากากที่สัมผัสกับใบหน้า) ก็มีผลต่อทัศนวิสัยเช่นกัน คือยิ่งบาง (low profile) ก็จะเพิ่มองศาการมองเห็นได้มากขึ้น และยังมีผลต่อปริมาตรอากาศในหน้ากากด้วย คือยิ่งบางก็ยิ่งทำให้ปริมาตรอากาศน้อย (low volume) สามารถเคลียร์หน้ากากเวลาน้ำเข้าได้ง่ายขึ้น แต่ก็มีโอกาสที่จะกดทับบริเวณโหนกคิ้วหรือจมูกได้ ขอบหน้ากาก (Skirt) เป็นส่วนที่ยึดเกาะกับใบหน้าของเรา มักจะเป็นซิลิโคนที่ให้ความนิ่มสบาย ยืดหยุ่นกระชับใบหน้า เป็นวัสดุที่ไม่ระคายเคือง ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ ทั้งยังแข็งแรงทนทาน หากดูแลรักษาดีๆ อาจมีอายุการใช้งานได้เกิน 10 ปีเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีขอบหน้ากากที่ทำจาก PVC ซึ่งราคาถูกกว่ามาก แต่ใส่แล้วอาจไม่นิ่มสบายนักและไม่กระชับใบหน้า น้ำรั่วเข้ามาง่าย…

อ่าน มารู้จักส่วนประกอบของหน้ากากดำน้ำกันเถอะ
Banner - How to choose mask

เลือกหน้ากากดำน้ำอย่างไร ให้ถูกใจ ใช้ดี ดำน้ำสบาย

5 ข้อพิจารณเพื่อการเลือกหน้ากากดำน้ำที่ถูกใจ เหมาะกับการใช้งาน พอดีกับใบหน้าของคุณ และใช้ดำน้ำไปได้นานๆ

อ่าน เลือกหน้ากากดำน้ำอย่างไร ให้ถูกใจ ใช้ดี ดำน้ำสบาย

เว็ทสูท (Wetsuit) ตัวแรก เลือกยังไงดีนะ

เว็ทสูทเป็นอุปกรณ์ดำน้ำชิ้นหนึ่งที่มีประโยชน์มากในการรักษาพลังงานของร่างกายไว้ให้เราทำกิจกรรมใต้น้ำได้นาน ช่วยรักษาสุขภาพของเรา ลดโอกาสเกิดความเจ็บป่วยจากการสูญเสียความร้อนในร่างกายด้วย ด้วยความที่เป็นสินค้าที่มีราคาเริ่มต้นไม่สูงนัก แต่เป็นสิ่งที่ต้องใช้ติดกับเนื้อตัวเราโดยตรง นักดำน้ำที่เริ่มดำน้ำจริงจังแล้วส่วนใหญ่จึงมักจะหาซื้อเว็ทสูทดำน้ำไว้เป็นของส่วนตัวมากกว่าจะเช่าจากร้านดำน้ำ บางคนก็มีเป็นของตัวเองตั้งแต่เริ่มต้นเรียนดำน้ำกันเลยทีเดียว มาดูกันดีกว่าว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่เราควรพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อเว็ทสูทตัวแรกของเรา 1. เริ่มจาก อุณหภูมิน้ำ และความขี้หนาวขี้ร้อนของเรา ลองดูว่า ปกติเราน่าจะไปดำน้ำแถบไหนบ้าง แล้วน้ำทะเลแถวนั้นมีอุณหภูมิประมาณเท่าไหร่ อย่างในบ้านเราน้ำทะเลมีอุณหภูมิระหว่าง 28-30 °c บางปีร้อนหน่อยก็ถึง 31 °c แต่น้อยปีที่จะมีน้ำเย็นเข้ามาจนทำให้ลดต่ำกว่า 27 °c มาก สำหรับอุณหภูมิน้ำระดับนี้ คนที่ไม่ขี้หนาวอาจใช้เว็ทสูทความหนาประมาณ 1-1.5 ม.ม. (ซึ่งมักจะเรียกว่า skin suit ให้รู้กันไปเลยว่า บางจริงๆ นะ) ก็ได้ หรือคนที่ขี้ร้อนอาจใช้แค่ rashguard ก็เพียงพอ (ชาวเมืองประเทศหนาว มาดำน้ำบ้านเรา ใส่แค่ชุดว่ายน้ำหรือชุดบิกินี่ก็แฮปปี้แล้ว) นอกจากนี้ บางคนที่ไม่ขี้หนาวอาจเลือกใช้เว็ทสูทแบบแขนสั้นขาสั้น แทนเว็ทสูทแบบเต็มตัว ก็ได้ อย่างน้อยก็ช่วยให้ความอบอุ่นบริเวณท้องและหน้าอกซึ่งเป็นส่วนแกนกลางของลำตัว มีอวัยวะภายในหลายอย่างที่ไม่ควรให้สูญเสียความร้อนไป แต่สำหรับคนไทยทั่วไป เว็ทสูทความหนา 2-3 ม.ม. เป็นขนาดมาตรฐานที่เหมาะกับการดำน้ำในอุณหภูมิระดับนี้ และบางคนที่ขี้หนาวมาก อาจใช้เว็ทสูทแบบผสม 3/5 (หรือ 5/3 คือเพิ่มความหนาช่วงท้องและอกเป็น 5 ม.ม.) เลยก็ได้ รวมถึงคนขี้ร้อนก็อาจใช้แบบ 2/3 (หรือ 3/2 แล้วแต่จะเรียก) ต่อจากนั้น ถ้าเห็นว่าเราน่าจะไปดำน้ำที่น้ำเย็นกว่านี้ เช่น แถบบาหลี หรือ ฟิลิปปินส์ ที่อุณหภูมิน้ำอยู่ระหว่าง 25-28 °c เพิ่มความหนาเว็ทสูทเข้าไปอีก 2-3 ม.ม. จากที่เล่าไปข้างต้นนี้ ก็จะเหมาะสมกับการใช้งานได้พอดี   2. เลือกคุณสมบัติวัสดุ และวิธีการตัดเย็บ แม้เว็ทสูทจะทำจากนีโอพรีนเป็นหลักเหมือนๆ กัน แต่เดี๋ยวนี้มีการพัฒนาคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำเว็ทสูทเพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง ทำให้ได้เว็ทสูทนีโอพรีนที่ดูเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกัน จะขอยกมาเล่าไว้ 2-3 อย่างที่สำคัญๆ ก่อน แล้วไว้ถ้ามีเวลาจะมาเล่าให้ฟังเพิ่มอีก หมายเหตุ แผ่นยางนีโอพรีนมีความยืดหยุ่นดี แต่ก็มีโอกาสฉีกขาดได้หากถูกดึงแรงๆ จึงมีการปิดผิว 2 ด้านด้วยผ้าชนิดต่างๆ ในที่นี้จะขอเรียกว่า “ผ้านีโอพรีน” เพื่อหมายถึงแผ่นยางนีโอพรีนที่ปิดผิวด้วยผ้าแล้ว ความหนาแน่นของเนื้อนีโอพรีน – แน่นกว่า ทนทานกว่า จากข้อแรก เราเลือกเว็ทสูทโดยดูความหนาของนีโอพรีนเป็นหลัก แต่นีโอพรีนหนาเท่ากัน อาจมีความหนาแน่นของเนื้อยางไม่เท่ากันก็ได้ และสำหรับเว็ทสูทดำน้ำลึกซึ่งใช้งานภายใต้ความกดดันมากกว่าปกตินั้น เมื่อใช้ไปนานๆ เนื้อนีโอพรีนก็จะยุบตัวลงเรื่อยๆ ซึ่งเท่ากับบางลงเรื่อยๆ นั่นเอง และความสามารถในการป้องกันการสูญเสียความร้อนก็จะลดลงตามไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นความหนาแน่นของนีโอพรีนที่ใช้จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดอายุการใช้งานของเว็ทสูทด้วย…

อ่าน เว็ทสูท (Wetsuit) ตัวแรก เลือกยังไงดีนะ

ไดฟ์คอมพิวเตอร์รุ่นใด ใช้อัลกอริธึมอะไร

ข้อมูลอัลกอริธึมคำนวณการดำน้ำของไดฟ์คอมพิวเตอร์ทุกยี่ห้อ สรุปเป็นตาราง อ่านงาน เข้าใจเร็ว เปรียบเทียบได้ง่าย

อ่าน ไดฟ์คอมพิวเตอร์รุ่นใด ใช้อัลกอริธึมอะไร