เว็ทสูท (Wetsuit) ตัวแรก เลือกยังไงดีนะ

เว็ทสูทเป็นอุปกรณ์ดำน้ำชิ้นหนึ่งที่มีประโยชน์มากในการรักษาพลังงานของร่างกายไว้ให้เราทำกิจกรรมใต้น้ำได้นาน ช่วยรักษาสุขภาพของเรา ลดโอกาสเกิดความเจ็บป่วยจากการสูญเสียความร้อนในร่างกายด้วย ด้วยความที่เป็นสินค้าที่มีราคาเริ่มต้นไม่สูงนัก แต่เป็นสิ่งที่ต้องใช้ติดกับเนื้อตัวเราโดยตรง นักดำน้ำที่เริ่มดำน้ำจริงจังแล้วส่วนใหญ่จึงมักจะหาซื้อเว็ทสูทดำน้ำไว้เป็นของส่วนตัวมากกว่าจะเช่าจากร้านดำน้ำ บางคนก็มีเป็นของตัวเองตั้งแต่เริ่มต้นเรียนดำน้ำกันเลยทีเดียว มาดูกันดีกว่าว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่เราควรพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อเว็ทสูทตัวแรกของเรา 1. เริ่มจาก อุณหภูมิน้ำ และความขี้หนาวขี้ร้อนของเรา ลองดูว่า ปกติเราน่าจะไปดำน้ำแถบไหนบ้าง แล้วน้ำทะเลแถวนั้นมีอุณหภูมิประมาณเท่าไหร่ อย่างในบ้านเราน้ำทะเลมีอุณหภูมิระหว่าง 28-30 °c บางปีร้อนหน่อยก็ถึง 31 °c แต่น้อยปีที่จะมีน้ำเย็นเข้ามาจนทำให้ลดต่ำกว่า 27 °c มาก สำหรับอุณหภูมิน้ำระดับนี้ คนที่ไม่ขี้หนาวอาจใช้เว็ทสูทความหนาประมาณ 1-1.5 ม.ม. (ซึ่งมักจะเรียกว่า skin suit ให้รู้กันไปเลยว่า บางจริงๆ นะ) ก็ได้ หรือคนที่ขี้ร้อนอาจใช้แค่ rashguard ก็เพียงพอ (ชาวเมืองประเทศหนาว มาดำน้ำบ้านเรา ใส่แค่ชุดว่ายน้ำหรือชุดบิกินี่ก็แฮปปี้แล้ว) นอกจากนี้ บางคนที่ไม่ขี้หนาวอาจเลือกใช้เว็ทสูทแบบแขนสั้นขาสั้น แทนเว็ทสูทแบบเต็มตัว ก็ได้ อย่างน้อยก็ช่วยให้ความอบอุ่นบริเวณท้องและหน้าอกซึ่งเป็นส่วนแกนกลางของลำตัว มีอวัยวะภายในหลายอย่างที่ไม่ควรให้สูญเสียความร้อนไป แต่สำหรับคนไทยทั่วไป เว็ทสูทความหนา 2-3 ม.ม. เป็นขนาดมาตรฐานที่เหมาะกับการดำน้ำในอุณหภูมิระดับนี้ และบางคนที่ขี้หนาวมาก อาจใช้เว็ทสูทแบบผสม 3/5 (หรือ 5/3 คือเพิ่มความหนาช่วงท้องและอกเป็น 5 ม.ม.) เลยก็ได้ รวมถึงคนขี้ร้อนก็อาจใช้แบบ 2/3 (หรือ 3/2 แล้วแต่จะเรียก) ต่อจากนั้น ถ้าเห็นว่าเราน่าจะไปดำน้ำที่น้ำเย็นกว่านี้ เช่น แถบบาหลี หรือ ฟิลิปปินส์ ที่อุณหภูมิน้ำอยู่ระหว่าง 25-28 °c เพิ่มความหนาเว็ทสูทเข้าไปอีก 2-3 ม.ม. จากที่เล่าไปข้างต้นนี้ ก็จะเหมาะสมกับการใช้งานได้พอดี   2. เลือกคุณสมบัติวัสดุ และวิธีการตัดเย็บ แม้เว็ทสูทจะทำจากนีโอพรีนเป็นหลักเหมือนๆ กัน แต่เดี๋ยวนี้มีการพัฒนาคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำเว็ทสูทเพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง ทำให้ได้เว็ทสูทนีโอพรีนที่ดูเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกัน จะขอยกมาเล่าไว้ 2-3 อย่างที่สำคัญๆ ก่อน แล้วไว้ถ้ามีเวลาจะมาเล่าให้ฟังเพิ่มอีก หมายเหตุ แผ่นยางนีโอพรีนมีความยืดหยุ่นดี แต่ก็มีโอกาสฉีกขาดได้หากถูกดึงแรงๆ จึงมีการปิดผิว 2 ด้านด้วยผ้าชนิดต่างๆ ในที่นี้จะขอเรียกว่า “ผ้านีโอพรีน” เพื่อหมายถึงแผ่นยางนีโอพรีนที่ปิดผิวด้วยผ้าแล้ว ความหนาแน่นของเนื้อนีโอพรีน – แน่นกว่า ทนทานกว่า จากข้อแรก เราเลือกเว็ทสูทโดยดูความหนาของนีโอพรีนเป็นหลัก แต่นีโอพรีนหนาเท่ากัน อาจมีความหนาแน่นของเนื้อยางไม่เท่ากันก็ได้ และสำหรับเว็ทสูทดำน้ำลึกซึ่งใช้งานภายใต้ความกดดันมากกว่าปกตินั้น เมื่อใช้ไปนานๆ เนื้อนีโอพรีนก็จะยุบตัวลงเรื่อยๆ ซึ่งเท่ากับบางลงเรื่อยๆ นั่นเอง และความสามารถในการป้องกันการสูญเสียความร้อนก็จะลดลงตามไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นความหนาแน่นของนีโอพรีนที่ใช้จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดอายุการใช้งานของเว็ทสูทด้วย…

อ่าน เว็ทสูท (Wetsuit) ตัวแรก เลือกยังไงดีนะ

ไดฟ์คอมพิวเตอร์รุ่นใด ใช้อัลกอริธึมอะไร

ข้อมูลอัลกอริธึมคำนวณการดำน้ำของไดฟ์คอมพิวเตอร์ทุกยี่ห้อ สรุปเป็นตาราง อ่านงาน เข้าใจเร็ว เปรียบเทียบได้ง่าย

อ่าน ไดฟ์คอมพิวเตอร์รุ่นใด ใช้อัลกอริธึมอะไร
Imaginary Dive Computer with Mathematics Equations as Background

รู้จักกับอัลกอริธึมคำนวณการดำน้ำในไดฟ์คอมพิวเตอร์

ไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในท้องตลาดทุกวันนี้ มีอยู่หลายรุ่น หลายแบรนด์ และแต่ละรุ่นก็ใช้อัลกอริธึมการคำนวณผลกระทบของการดำน้ำต่อร่างกายของเรา เช่นเรื่องไนโตรเจนหรือก๊าซอื่นๆ ที่สะสมในร่างกายนักดำน้ำ ตลอดจนความเป็นพิษของออกซิเจนที่ความกดสูง แตกต่างกันไป เพื่อบอกเราถึงเวลาดำน้ำที่เหลืออยู่ หรือความลึกและระยะเวลาที่ต้องทำ stop ก่อนขึ้นสู่ผิวน้ำ รวมถึงช่วยคำนวณการระบายก๊าซออกจากร่างกายระหว่างพักน้ำ เพื่อวางแผนการดำน้ำไดฟ์ถัดไป แม้อาจจะบอกได้ยากว่า วิธีการคำนวณของใครดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด แต่อย่างน้อยการได้เข้าใจคุณลักษณะของอัลกอริธึมเหล่านั้นและความแตกต่างระหว่างแต่ละอัน ก็น่าจะพอช่วยให้เราเลือกไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับเราได้ดียิ่งขึ้น หรือใช้งานไดฟ์คอมพิวเตอร์ด้วยความเข้าใจความหมายของการตั้งค่าต่างๆ ในนั้นได้ดียิ่งขึ้น ก่อนจะไปรู้จักกับอัลกอริธึมการคำนวณเหล่านี้ ต้องขอเล่าถึงทฤษฎีเกี่ยวกับการลดความกด (decompression theory) และโมเดลวิธีคิดที่จะช่วยป้องกันหรือลดอาการเจ็บป่วยจากการลดความกดนี้ เท่าที่วงการดำน้ำของเราได้ศึกษาค้นคว้าและพัฒนากันมาจนถึงปัจจุบัน ก่อนสักเล็กน้อย Decompression Theory อาการเจ็บป่วยจากการลดความกดถูกพบเมื่อราว 150 ปีที่แล้ว (ค.ศ. 1871) จากกรณีการสร้างสะพานบรุคลินที่นิวยอร์คด้วยการสร้างกล่องกักอากาศให้คนงานลงไปขุดดินใต้แม่น้ำเพื่อทำฐานรากของสะพานแล้วพบว่าคนงานมีอาการเจ็บป่วยคล้ายๆ กัน ต่อมาเมื่อการดำน้ำลึกแพร่หลายมากขึ้น ก็พบอาการเจ็บป่วยในนักดำน้ำด้วยเช่นกัน ในปี ค.ศ. 1906 ราชนาวีอังกฤษจึงได้ว่าจ้าง J. S. Haldane ให้วิจัยหาสาเหตุและวิธีการป้องกันอาการดังกล่าว และต่อมาก็ได้เผยแพร่ผลการวิจัยแก่สาธารณะ ทฤษฎีของ Haldane เสนอว่า เมื่อคนหรือสัตว์ได้รับอากาศความกดแตกต่างจากเดิม ก็จะมีการดูดซับเข้าหรือคายออกจากเนื้อเยื่อต่างๆ โดยที่อัตราการดูดซับและคายออกของเนื้อเยื่อจะแตกต่างกันไปหลายระดับ รวมทั้งค่าความอิ่มตัวสูงสุดที่เนื้อเยื่อแต่ละชนิดจะทนได้ก่อนจะแสดงอาการเจ็บป่วยก็แตกต่างกันไปด้วย เขาสรุปทฤษฎีออกมาเป็นโมเดลเนื้อเยื่อสมมติ (theoretical tissue compartment) 5 ชนิดที่มีอัตราการดูดซับแตกต่างกัน 5 ระดับเพื่อใช้เป็นตัวแทนในการคำนวณหาขีดจำกัดระยะเวลาที่จะดำน้ำได้ที่แต่ละระดับความลึก และเกิดเป็นตารางดำน้ำ (dive table) เพื่อใช้วางแผนการดำน้ำ จากนั้นก็ได้มีการปรับปรุงทฤษฎีนี้โดยนักวิจัยจากองค์กรต่างๆ อีกหลายครั้ง มีการเพิ่มเนื้อเยื่อสมมติเข้าไปอีก เป็น 6 ชนิด 9 ชนิด มีการปรับปรุงค่าความอิ่มตัวสูงสุดที่เนื้อเยื่อจะทนได้ ให้เป็นค่าที่แปรผันสัมพันธ์กับความกดที่เปลี่ยนแปลงไป (หรือก็คือความลึกนั่นเอง) ไม่ใช่ค่าคงที่ตายตัวของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด อย่างในทฤษฎีเดิม เรียกชื่อใหม่ว่า M-value ค่าความอิ่มตัวสูงสุดที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่นๆ แบบนี้ทำให้เหมาะจะใช้การคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ มากกว่าจะเป็นตารางคำนวณแบบตายตัวอย่างตอนแรกเริ่ม นักวิจัยคนสำคัญที่ทำให้ทฤษฎีนี้เข้าใกล้ความสมบูรณ์มากที่สุด ก็คือ Albert A. Bühlmann ที่ได้พยายามค้นหาเนื้อเยื่อที่มีอัตราการดูดซับมากที่สุด (นานที่สุดกว่าจะอิ่มตัว) ซึ่งมีผลต่อการคำนวณระยะเวลาการพักน้ำเพื่อการดำน้ำไดฟ์ถัดไป (repetitive dive) จนมีการเพิ่มเนื้อเยื่อสมมติเข้าไปอีกรวมทั้งหมดเป็น 16 ชนิด และยังได้พัฒนาต่อยอดทฤษฎีเดิมอีกหลายเรื่อง เพื่อการดำน้ำในที่สูง หรือใช้อากาศผสมก๊าซอื่นๆ ด้วย เมื่อทฤษฎีและโมเดลการคำนวณ ได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ตารางดำน้ำเดิมของ US Navy ก็ได้รับการปรับปรุงตามมาเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน เมื่อการดำน้ำเริ่มเป็นที่นิยมของบุคคลทั่วไปมากยิ่งขึ้น เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสันทนาการมากขึ้น นักวิจัยของ PADI ก็ได้ปรับปรุงแนวโมเดลการคำนวณใหม่เป็นของตัวเอง เรียกว่า DSAT Model หรือ DSAT Algorithm…

อ่าน รู้จักกับอัลกอริธึมคำนวณการดำน้ำในไดฟ์คอมพิวเตอร์
Blood Cells with Air Bubbles and Physics Equations (as banner for article)

ความเป็นมาของทฤษฎีการลดความกดในการดำน้ำ (Dive Decompression Theory)

ความเป็นมาของการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายของมนุษย์ ภายใต้ความกดอากาศสูงกว่าปกติ เพื่อออกแบบมาตรการความปลอดภัยในการดำน้ำ

อ่าน ความเป็นมาของทฤษฎีการลดความกดในการดำน้ำ (Dive Decompression Theory)

เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพฟิน เรื่องใกล้ตัวที่น่ารู้

ถ้าลองมองดูฟินดำน้ำลึกแบบใบเดียว (paddle fins) ที่เราใช้ดำน้ำกันอยู่ทุกวันนี้ เราคงพอจะคาดเดาได้ว่า มันน่าจะได้รับการออกแบบมาจากรูปเท้าของสัตว์จำพวกกบหรือเป็ด หรือใบพายสำหรับพายเรือนั่นเอง ซึ่งเริ่มต้นก็คงเลียนแบบออกมาได้เป็นฟินแบนๆ ธรรมดาๆ เท่านั้น ก่อนจะค่อยๆ พัฒนามาเป็นฟินที่มีลวดลายแปลกใหม่

อ่าน เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพฟิน เรื่องใกล้ตัวที่น่ารู้
cover image for Mares divign equipment or Avanti Quattro fins

รู้จักกับฟินรุ่นต่างๆ จาก Mares — เจ้าแห่งฟินดำน้ำลึก

รู้จักกับฟินรุ่นดั้งเดิมของ Mares หลากหลายรุ่น และพัฒนาการของเทคโนโลยีเกี่ยวกับฟิน ก่อนจะมาเป็นรุ่นที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน

อ่าน รู้จักกับฟินรุ่นต่างๆ จาก Mares — เจ้าแห่งฟินดำน้ำลึก
cover image of Mares gears in white

Mares แบรนด์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน คู่กับวงการดำน้ำโลก

เมื่อเอ่ยถึงแบรนด์อุปกรณ์ดำน้ำที่เก่าแก่ อยู่คู่กับวงการดำน้ำมาอย่างยาวนาน Mares จะเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่เรานึกถึง แม้อาจจะมีบางช่วงเวลาที่ชื่อเสียงของแบรนด์นี้แผ่วเบาลง โดนแบรนด์อื่นเป็นที่แซงหน้าไปบ้าง ก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่นักดำน้ำในยุค 10-20 ปีที่แล้วจะจำได้อย่างแน่นอน ก็คือ Mares เป็นผู้ผลิตฟินที่มีประสิทธิภาพสูงรายหนึ่งของโลก

อ่าน Mares แบรนด์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน คู่กับวงการดำน้ำโลก

ทำไมเราจึงใช้เว็ทสูท? รู้จักทุกแง่มุมของเว็ทสูทและการเลือกซื้อ

ชวนนักดำน้ำทุกท่าน มาทำความรู้จักกับเว็ทสูทในแง่มุมต่างๆ เพื่อช่วยให้คุณหาคำตอบได้ว่า ควรใช้เว็ทสูทหรือไม่?

อ่าน ทำไมเราจึงใช้เว็ทสูท? รู้จักทุกแง่มุมของเว็ทสูทและการเลือกซื้อ

วิธีตรวจเช็คเร็กกูเลเตอร์ด้วยตัวคุณเอง

รายการตรวจเช็คเร็กกูเลเตอร์ (regulator) เบื้องต้น ที่นักดำน้ำสามารถจัดการได้เอง ก่อนออกทริป หรือหลังจากรับคืนอุปกรณ์จากศูนย์บริการ

อ่าน วิธีตรวจเช็คเร็กกูเลเตอร์ด้วยตัวคุณเอง
Mask with Side-Window

รู้จักกับหน้ากากดำน้ำแบบมีกระจกข้าง 3- และ 4-window

หน้ากากดำน้ำทั่วไปที่เรามักจะเห็นกันอยู่ทั่วไป จะมีกระจกใสด้านหน้าเป็นแนวระนาบอยู่แผ่นเดียวเต็มหน้าหรือ 2 ข้าง-ซ้ายขวา แต่ยังมีหน้ากากดำน้ำอีกแบบหนึ่งที่ทุกยี่ห้อจะต้องผลิตออกมาจำหน่ายสัก 1-2 รุ่นเสมอ และก็เป็นที่สนใจของนักดำน้ำไม่น้อยเลยทีเดียว นั่นคือหน้ากากแบบ 3-window และ 4-window หน้ากากแบบ 3-window ก็คือหน้ากากที่มีกระจกในด้านหน้า 1 ด้านและมีกระจกใสด้านข้างอีก 2 ด้าน ส่วนหน้ากากแบบ 4-window ก็จะมีกระจกหน้าแบ่งเป็น 2 ข้าง-ซ้ายขวา และมีกระจกใสด้านข้างอีก 2 ด้านเช่นเดียวกัน ข้อดีของหน้ากากดำน้ำที่มีกระจกข้าง คงจะเดากันได้ทันทีว่า ก็คือทัศนวิสัยที่กว้างขึ้นมาก เพิ่มมุมการมองเห็นจากด้านข้างได้อีก และยังมีเรื่องของความรู้สึกสว่างจากแสงที่เข้ามาจากด้านข้างได้มากขึ้นด้วย จึงเหมาะกับคนที่ไม่ชอบความมืดทึบหรือคับแคบอึดอัดได้เป็นอย่างดี ข้อพิจารณา 1: ปริมาตรภายในสูง (High Volume) แต่ด้วยความที่ต้องเพิ่มกระจกข้างเข้ามา จึงทำให้ต้องขยับระยะกระจกหน้าจนห่างจากใบหน้ามากกว่าหน้ากากปกติ ส่งผลให้ปริมาตรอากาศภายในหน้ากากเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับหน้ากากปกติ ผลกระทบต่อผู้ใช้ก็คือ หากเกิดน้ำเข้าหน้ากากจนเต็มก็อาจจะต้องหายใจออกเพื่อเคลียร์หน้ากากหลายรอบ และสำหรับคนที่สำลักน้ำง่าย หรือตกใจง่ายจากน้ำในหน้ากาก ก็อาจมีความเสี่ยงอันตรายจากการใช้หน้ากากแบบนี้ได้ สำหรับนักดำน้ำใหม่ ที่อาจกังวลเรื่องน้ำเข้าหน้ากาก ขอบอกให้สบายใจได้ว่า ถ้าหากได้ทดลองแล้วว่าขอบหน้ากากรุ่นนั้นรับกับใบหน้าของเราได้ การที่น้ำจะเข้าจนเต็มหน้ากากระหว่างการดำน้ำ ก็ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ นะ แต่สำหรับนักดำน้ำที่มีประสบการณ์ก็คงพอจะทราบจากอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ และจากบัดดี้ของตัวเองว่าชอบกวัดแกว่งตีนกบมาโดนหน้าเราบ่อยแค่ไหน ก็พิจารณากันได้เองเลย ข้อพิจารณา 2: ทัศนวิสัยแนวตั้ง (ด้านบนและด้านล่าง) ลดลง จากการที่ต้องยื่นระยะกระจกด้านหน้าออกไปอีก ทำให้ขอบของกระจกกลับมาบดบังมุมมองด้านบนกับด้านล่างมากกว่าหน้ากากปกติอีกเล็กน้อย ข้อพิจารณา 3: ภาพวัตถุบริเวณมุมกระจกมีอาการกระโดดๆ เนื่องจากแสงมีการหักเหเมื่อเคลื่อนผ่านตัวกลางน้ำทะเลและกระจกใส ประกอบกับกระจก 2 ด้านที่ทำมุมกันอยู่ราว 90 องศาตรงมุมทั้ง 2 ข้าง ทำให้เกิดจุดบอดที่ตาจะมองไม่เห็นวัตถุในตำแหน่งหนึ่ง และจะมองเห็นภาพของวัตถุขณะที่กำลังเคลื่อนผ่านกระจกด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งเหมือนกับกระโดดจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง (หายไปชั่วขณะหนึ่ง ก่อนจะปรากฏขึ้นในอีกด้านหนึ่ง) ซึ่งสำหรับนักดำน้ำบางคนอาจรู้สึกรำคาญตาเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ถูกค้นพบมานานแล้ว และผู้ผลิตหน้ากากหลายยี่ห้อก็ได้ปรับปรุงหน้ากากของตัวเองจนลดอาการรบกวนดังกล่าวลงไปได้อย่างมากแล้วในปัจจุบัน ข้อพิจารณา 4: ลดความลู่น้ำลงไปอีกนิด เมื่อกระจกหน้ายื่นไปข้างหน้า ก็เท่ากับเพิ่มระยะด้านการเคลื่อนที่ของน้ำขึ้นไปอีกนิดด้วย ซึ่งในกรณีทั่วไปผลกระทบกับการเคลื่อนที่อาจไม่มากนัก แต่อาจมีผลมากขึ้นรวมถึงเกิดความรำคาญเป็นอย่างมากหากดำน้ำอยู่ในกระแสน้ำแรงๆ ข้อพิจารณา 5: น้ำหนักหน้ากากที่เพิ่มขึ้นอีกหน่อย เมื่อจำนวนชิ้นกระจกเพิ่มมากขึ้น กรอบก็ต้องเพิ่มขึ้นอีกนิด น้ำหนักรวมของหน้ากากทั้งชิ้น ที่แก้มและใบหูของเราจะต้องรองรับ ก็เพิ่มตามไปด้วย … เรื่องนี้ก็คงต้องแล้วแต่ความชอบของแต่ละคนแล้วล่ะ ดังนั้น นักดำน้ำที่สนใจหน้ากากแบบนี้ ควรจะลองพิจารณาตามหัวข้อข้างต้น ให้แน่ใจว่าตนเองเหมาะจะใช้หน้ากากแบบนี้หรือไม่ ก่อนการตัดสินใจซื้อ แหล่งข้อมูล HOW TO BUY A MASK โดย Reef Seekers Dive Co. Any issues with Panoramic Dive…

อ่าน รู้จักกับหน้ากากดำน้ำแบบมีกระจกข้าง 3- และ 4-window