ตุ่มแดง ผื่นคัน หลังเล่นน้ำทะเล เกิดจากอะไร แก้ไขและป้องกันได้อย่างไร

ผู้ที่ชอบเที่ยวทะเล เล่นน้ำชายหาด หรือดำน้ำดูปะการัง บางคนอาจเคยต้องพบกับความรู้สึกคันยิบๆ ไปจนถึงแสบร้อนตามเนื้อตัวให้รำคาญใจ และแม้ขึ้นจากทะเลแล้วก็อาจพบกับตุ่มเล็กๆ สีแดงบนผิวหนัง หรือผื่นแดงปรากฏขึ้นเป็นพื้นที่ใหญ่ๆ บนร่างกายอีกด้วย ทำเอาเล่นน้ำไม่สนุก หรือต้องทุกข์กับผิวที่เสียโฉมไปหลายวันเลยทีเดียว

ปัญหาเหล่านี้เกิดจากอะไร แก้ไขอย่างไร มีวิธีป้องกันหรือไม่ เรามีคำตอบมาให้

สาเหตุ

สาเหตุหลักของผื่นคันแดงเหล่านี้เกิดขึ้นจากพิษของสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ หลายชนิดที่อยู่ในน้ำทะเล ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ ตัวอ่อนของสัตว์ในกลุ่มเดียวกับแมงกะพรุน เช่น ปะการัง ดอกไม้ทะเล และแมงกะพรุนชนิดต่างๆ นั่นเอง ตัวอ่อนของสัตว์เหล่านี้ส่วนใหญ่มีขนาดไม่ถึงมิลลิเมตร อาจมีแมงกะพรุนชนิดที่ตัวเต็มวัยก็มีขนาดเพียง 1-2 ซ.ม. บ้าง ซึ่งก็จัดว่ายากจะสังเกตเห็นและหลบหลีกได้อยู่ดี นอกจากสัตว์กลุ่มแมงกะพรุนแล้ว ยังมีสัตว์ในตระกูลอื่นบางชนิดที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ในบางคนได้

พวกเราคงเคยได้ยินชาวบ้านหรือนักท่องเที่ยวที่คุ้นเคยกับทะเล เรียกชื่อสิ่งที่ทำให้เกิดอาการแสบๆ คันๆ แบบนี้ได้ ว่า “แตนทะเล” กันมาบ้างแล้ว ที่จริงชื่อนี้ไม่ได้หมายถึงสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่หมายรวมสัตว์ทะเลหลากหลายชนิดที่มองไม่เห็นตัวเหล่านี้นั่นเอง

Photo of marine zooplankton
A collection of marine zooplankton composed of copepods, Daphnia (water fleas), and other tiny animals. จาก Encyclopædia Britannica

สัตว์เหล่านี้แม้จะมีขนาดเล็ก หรือยังอ่อนวัย แต่ก็มีเข็มพิษที่พร้อมทำงานได้เช่นกัน แม้จะมีปริมาณหรือความรุนแรงของพิษไม่มากนัก แต่ก็ทำให้เกิดรอยผื่นแดงคันได้ หากร่างกายของเราแพ้สารพิษเหล่านั้น หรือหากในช่วงนั้นมีตัวอ่อนเหล่านี้แพร่กระจายอยู่มาก (อาจจะสัมพันธ์กับฤดูกาล ช่วงเวลาเช้าเย็นหรือน้ำขึ้นน้ำลง) เราก็อาจได้รับพิษจำนวนมาก และแสดงอาการมากตามไปด้วย

อาการ

โดยทั่วไป อาการอาจเริ่มต้นด้วยอาการคันยุบยิบตามผิวหนัง โดยเฉพาะส่วนที่ไม่มีเสื้อผ้าปกคลุม ระหว่างดำน้ำหรือเล่นนำ้ทะเลอยู่ ในบางคนอาจรู้สึกแค่คันยิบๆ แต่ยังไม่ปรากฏเป็นผื่นหรือตุ่มแดงๆ หรืออาจเริ่มมีบ้างเล็กน้อย บางคนอาจไม่มีอาการเหล่านี้ระหว่างอยู่ในน้ำเลยก็ได้ ส่วนใหญ่อาการมักจะยังไม่เกิดขึ้นในทะเลเพราะเข็มพิษยังไม่ได้สัมผัสกับสิ่งกระตุ้นต่างๆ

เมื่อขึ้นจากน้ำทะเลแล้ว อาจรู้สึกคันมากขึ้น และอาจมีผื่นหรือตุ่มแดงปรากฏขึ้นมาอีก และซึ่งก็มักจะมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะไม่ได้อยู่ในน้ำแล้วก็ตาม แสดงว่า เจ้าแพลงก์ตอนพวกนี้ติดมาตามเสื้อผ้าหรือเว็ทสูทของเราด้วย (หรือบางทีก็มีแต่เข็มพิษที่ติดมา ไม่ได้มาทั้งตัว) และเมื่อเราไล่น้ำออกจากเสื้อผ้าของเรามากขึ้น เขาก็ได้สัมผัสผิวหนังของเรามากขึ้น และเข็มพิษของเขาก็เริ่มทำงานมากขึ้นด้วย

อาการผื่นแดงคันเหล่านี้ มักจะปรากฏมากบริเวณหน้าอก ข้อพับ ขาหนีบ ซึ่งเป็นบริเวณที่เสียดสีกับเสื้อผ้า หรือเสียดสีกับผิวหนังกันเองบ่อยๆ แล้วกระตุ้นให้เข็มพิษทำงาน ปล่อยพิษใส่ผิวหนังของเรานั่นเอง

อาการที่พบในแต่ละคนจะแตกต่างกันไปได้หลายระดับแล้วแต่การตอบสนองของร่างกาย บางคนแค่คันๆ แต่ไม่มีรอยแดง บางคนแพ้เป็นผื่นแดงและหายไปในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน ในขณะที่บางคนก็ใช้เวลาหลายเดือนกว่าร่องรอยจะหายจนหมด สำหรับคนที่มีอาการแพ้รุนแรงอาจถึงขั้นบวมพองเป็นตุ่มน้ำใสๆ แตกเป็นแผลเหวอะหวะ กว่าจะหายก็กินเวลาหลายเดือน

และด้วยความที่อยู่ได้นานเป็นเดือนๆ กับคนที่แพ้มาก นี่เองที่ทำให้ใครหลายคนต้องคิดแล้วคิดอีก เมื่อจะตัดสินใจไปลงเล่นน้ำในทะเล แม้ว่าจะรักทะเล อยากเห็นฝูงปลา สัตว์น้ำ และปะการังอันสวยงามมากมาย ก็ตามที

เตรียมตัวเที่ยวทะเล

การป้องกันที่ดี เริ่มต้นทันทีเมื่อคุณวางแผนทริป

1. วางแผนเที่ยวตามฤดูกาลและแหล่งท่องเที่ยว

หลายปีก่อน (หรือกว่าสิบปีมาแล้ว) การเพิ่มปริมาณของแพลงก์ตอน (ซึ่งก็คือช่วงการขยายพันธ์ของสัตว์ทะเลกลุ่มนี้) มักจะสัมพันธ์กับฤดูกาล และอุณหภูมิน้ำทะเล ในแต่ละท้องถิ่นด้วย ซึ่งทำให้เราพอจะวางแผนเที่ยวทะเลที่ต่างๆ เพื่อลดโอกาสเจอแตนทะเลได้บ้าง แต่ปัจจุบันนี้ ด้วยสภาพอากาศที่แปรปรวน จนทำให้เกิดแพลงก์ตอนบูมได้ตลอดทั้งปี ไม่มีระยะเวลาที่แน่นอน เราจึงอาจเลือกฤดูกาลที่จะเลี่ยงหรือลดโอกาสเจอแตนทะเลไม่ได้เท่าใดนัก

อย่างไรก็ตาม ด้วยสื่อสังคมที่รวดเร็วในสมัยนี้ เรายังพอจะเช็คข่าวคราวของชายหาดหรือท้องทะเลที่เราจะไปเล่นน้ำหรือดำน้ำได้อยู่บ้าง และถ้าคุณเป็นคนแพ้แตนทะเลง่าย ลองเช็คข่าวของแหล่งท่องเที่ยวนั้นก่อนที่คุณจะเดินทางไป อาจช่วยให้คุณเปลี่ยนแผน หรือเตรียมของเพื่อป้องกัน เตรียมตัว (หรือเตรียมใจ) ได้มากขึ้น

2. เลือกเวลาลงเล่นน้ำ

แม้เราจะวางแผนเรื่องฤดูกาลไม่ได้มากนัก แต่ถ้าเป็นเรื่องเวลาลงน้ำ ยังอาจพอเลือกได้อยู่บ้าง เพราะสัตว์ทะเลที่กำหนดทิศทางตัวเองไม่ได้มากนัก จะล่องลอยไปตามการหมุนเวียนของน้ำทะเล และทำให้เราได้พบแพลงก์ตอนที่ผิวน้ำในช่วงเช้ามากกว่าช่วงเวลาอื่น สำหรับคนที่แพ้แตนทะเล จึงควรหลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำในช่วงเช้า

3. เรียนรู้เทคนิคก่อนลงน้ำ

หากลงเล่นน้ำทะเลแล้ว เราว่ายไปตรงที่มีปลาเยอะๆ มันก็อาจจะมีแหล่งอาหารของปลาเยอะด้วย ซึ่งก็คือ เหล่าแพลงก์ตอนทั้งหลายนั่นเอง ตอนที่เราว่ายผ่านไป บางคนอาจจะรู้สึกคันๆ แสบ ๆ ที่ผิวหนัง ซึ่งถ้าไปลูบหรือเกาบริเวณนั้น ก็เท่ากับไปกระตุ้นให้เข็มพิษของเค้าทำงานมากขึ้น วิธีการง่ายๆ คือ ให้ว่ายผ่านจุดนั้นออกไป ให้น้ำทะเลไหลผ่านตัวเรา ช่วยชะล้างพวกเค้าหรือเข็มพิษของเค้าที่ติดผิวหนังเราอยู่ ออกไปเอง สักพักก็จะหายคัน

4. เตรียมของใช้ที่จำเป็นให้พร้อม

ชุดว่ายน้ำแขนยาว ขายาว ที่มีเนื้อแน่น และพอดีตัว แนบติดผิว ช่วยลดช่องว่างที่จะมีน้ำทะเลไหลเข้าไปสัมผัสตัวเราได้มากหน่อย หรืออาจใช้เว็ทสูทแบบที่นักดำน้ำหรือนักกระดานโต้คลื่น (surfer) ใช้กันก็ได้

น้ำส้มสายชูขวดเล็กๆ ที่จะช่วยหยุดยั้งการทำงานของเข็มพิษได้ และยาแก้แพ้กลุ่ม Antihistamine เพื่อใช้แก้ไขอาการแพ้ สิ่งเหล่านี้จำเป็นสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้

ครีมกันแดดบางแบรนด์สามารถป้องกันพิษแตนทะเลและแมงกะพรุนได้ด้วย ซึ่งถ้าอยู่ในกรุงเทพฯ คุณสามารถหาซื้อได้จากร้านขายอุปกรณ์ดำน้ำหลายแห่งหรือไตรกีฬาได้ รวมถึงสั่งซื้อออนไลน์ก็ได้ หรือหากไปถึงริมทะเลแล้ว อาจลองถามจากรีสอร์ตหรือร้านขายยาในบริเวณนั้นดูก็ได้

เตรียมตัวลงน้ำ

หากเป็นเมื่อหลายสิบปีก่อน คงไม่มีวิธีป้องกันได้เท่าไหร่ บางคนอาจใช้วิธีสวมเสื้อผ้าที่มีเนื้อแน่นและขนาดพอดีตัวให้แนบเนื้อมากที่สุด เพื่อไม่ให้มีพื้นที่ที่น้ำทะเลจะไหลเข้ามาสัมผัสผิวหนังได้มาก ซึ่งก็พอช่วยได้บ้าง

บางคนอาจใช้ครีมหรือเจลที่มีเนื้อหนาและติดผิวหนังได้ทนนาน เช่น วาสลีน ซึ่งก็ช่วยได้ แต่ก็ต้องทนกับความเหนอะหนะของเนื้อครีมไปแทน ทำให้ไม่ค่อยสบายตัวเท่าไหร่ ตลอดเวลาที่อยู่ในน้ำ และต้องยุ่งยากในการล้างออกอีกที

แต่ถ้าเป็นสมัยนี้ เรามีตัวเลือกที่สะดวก และมีประสิทธิภาพกว่ามาก นั่นคือ การใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถป้องกันพิษของสัตว์ทะเลเหล่านี้ได้ด้วย นั่นคือ ครีมกันแดดกันพิษแมงกะพรุน Safe Sea ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นและจดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกา มีจำหน่ายมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 แล้ว

ครีมกันแดดแบรนด์นี้ มีสารที่ช่วยป้องกันพิษสัตว์ในกลุ่มแมงกะพรุนได้1 ซึ่งก็คือสัตว์ส่วนใหญ่ในกลุ่ม “แตนทะเล” เหล่านี้ด้วย โดยอาศัย 3 วิธีการป้องกัน คือ

  1. ลื่น ทำให้หนวดหรือเข็มพิษ ไม่สามารถเข้าถึงและสัมผัสกับผิวหนังของเราได้
  2. หลอก ว่าไม่ใช่เหยื่อ หากหนวดหรือเซลเข็มพิษสามารถเข้าถึงและสัมผัสกับผิวของเราได้บางแห่ง เพื่อให้เข็มพิษเหล่านั้นไม่ทำงาน
  3. ทำลาย ความสามารถในการยิงเข็มพิษของเขาไปเลย หากยังฝ่า 2 ด่านแรก เข้ามาสัมผัสถึงผิวของเราได้

ผลที่เกิดขึ้นคือ คนที่เคยแพ้มากๆ ลงทะเลครั้งใด ขึ้นมาไม่นานก็มีตุ่มแดง ผื่นแดงเต็มตัว กลับพบว่าแทบไม่มีตุ่มหรือผื่นแดงปรากฏอยู่เลย อาจมีปรากฏอยู่บ้างเพราะบางทีอยู่ในน้ำทะเลนานๆ หรือโดนผ้าเช็ดตัวหรือเครื่องเล่นต่างๆ ถูเอาครีมหลุดไปบ้าง แต่ก็ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก รู้สึกปลอดภัยและสบายใจขึ้นมากที่จะลงเล่นน้ำในทะเลอีกครั้ง

วิธีแก้ไขอาการแพ้

โดยพื้นฐานแล้ว แพทย์หรือนักวิชาการจะแนะนำให้ขึ้นจากน้ำทันทีที่มีอาการคันหรือแสบร้อน แต่สำหรับนักดำน้ำลึกซึ่งไม่สามารถขึ้นสู่ผิวน้ำได้ทันที หรือคนที่รู้ว่าตัวเองไม่ได้มีอาการแพ้รุนแรงและรักกิจกรรมในทะเลที่กำลังทำอยู่มากเกินกว่าจะทิ้งโอกาสนั้นไปได้ อาจไม่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวอย่างเคร่งครัดนัก

อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่มีอาการแพ้ค่อนข้างมาก ควรปฏิบัติตามโดยเร็วที่สุด เพราะหากพบกับแพลงก์ตอนจำนวนมากหรือมีพิษรุนแรง แผลเหล่านั้นอาจลุกลามบานปลายและทำให้ต้องใช้เวลารักษานานหลายเดือนได้

เมื่อขึ้นจากน้ำแล้ว ควรปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. ถอดเสื้อผ้าที่ใช้เล่นน้ำออก แล้วล้างตัวด้วยน้ำทะเล อย่าใช้น้ำจืดเพราะจะกระตุ้นการปล่อยเข็มพิษออกมามากขึ้น
  2. ห้ามขัดถูหรือเกาบริเวณที่มีอาการคันก็จะจะยิ่งกระตุ้นเช่นกัน ให้ใช้น้ำส้มสายชูหรือน้ำมะนาวผสมน้ำให้เจือจาง อาบหรือชำระล้างในบริเวณนั้น
  3. อาจใช้ยา TA Lotion (Triamcinolone Acetonide) ทาบริเวณที่คันหรือมีผื่นขึ้นวันละ 2-3 ครั้ง
  4. การทานยาแก้แพ้กลุ่ม Antihistamine อาจช่วยลดอาการผื่นคันลงได้เช่นกัน
  5. หากอาการรุนแรง เช่น มีไข้ตัวร้อน หน้าตาบวม หายใจติดขัด ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
  6. หากยังมีอาการบนผิวหนังเหลืออยู่นาน หายช้า ควรปรึกษาแพทย์ด้านโรคผิวหนังเพื่อรักษาเป็นการเฉพาะต่อไป
แหล่งข้อมูล

Footnotes

  1. ไม่รวมพิษของสัตว์ทะเลกลุ่มอื่น ที่ทำให้เกิดอาการแบบเดียวกันได้ เช่น สัตว์ในกลุ่ม Crustacea (สัตวมีเปลือก เป็นญาติใกล้ชิดกับ ปู กุ้ง) บางชนิด รวมถึงแมงกะพรุนกล่อง (box jellyfish) และแมงกะพรุนไฟขวดเขียว (Protugese Man of War) ซึ่งเป็นสัตว์คนละชนิด มีระบบพิษต่างจากแมงกะพรุนทั่วไป