Safety Stop

ในปัจจุบัน เราจะพบว่านักดำน้ำดำน้ำกันลึกเป็นเรื่องปกติธรรมดา และการทำ deep stop และ safety stop ก็เป็นเรื่องปกติที่นักดำน้ำทำกันเพื่อความปลอดภัยโดยทั่วกัน นับตั้งแต่มีการนำเอาหลักการของการทำ safety stop มาใช้เมื่อยี่สิบกว่าปีมาแล้ว เราคงคิดว่า เทคนิคการทำ safety stop คงจะไม่มีอะไรยากเย็นหรือซับซ้อน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การทำ safety stop นั้นมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง และเทคนิคทักษะที่ละเอียดอ่อนหลายอย่าง หากต้องการจะได้รับประโยชน์เต็มที่จากการทำสิ่งนี้ เราควรทำ safety stop ก่อนจะจบทุกไดฟ์ เพราะมันจะทำให้เราคำนึงถึงการขึ้นสู่ผิวน้ำ และทำให้เราได้ฝึกทักษะการดำน้ำมากขึ้น รวมถึงเราจะคำนึงถึงการหลีกเลี่ยงและป้องกัน DCS ในเวลาเดียวกัน และเช่นเดียวกันกับทักษะทุกชนิด การที่จะเกิดความเชี่ยวชาญได้นั้น จะต้องมีการฝึกฝนทักษะเหล่านั้นจนกระทั่งกลายเป็นการกระทำโดยอัตโนมัติ หรือทำจนรู้สึกเป็นธรรมชาติ นั่นเอง การทำ safety stop นั้น เริ่มตั้งแต่ใต้ทะเลตรงพื้นนั่นแหละครับ โดยเราจะต้องคิดอยู่เสมอว่า จะต้องขึ้นสู่ผิวน้ำหรือขึ้นสู่จุดที่จะทำ safety stop ให้ช้า สิ่งแรกคือต้องเอาอากาศออกจาก BCD เสียก่อนเพื่อไม่ให้เราลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำเร็วเกินไปจนควบคุมไม่ได้ การมีลมใน BCD นิดหน่อยเพื่อไม่ให้ต้องเตะขามากเกินไปนั้นเป็นเรื่องพอรับได้ แต่พลังหลักที่ใช้ในการขึ้นจะต้องเกิดจากแรงขาของเรา ไม่ใช่เกิดจากแรงยกของลมใน BCD ครับ การจมลอยของเราจะพอดีก็ต่อเมื่อเราหยุดลอยขึ้นเมื่อเราหยุดเตะขา หากเราหยุดเตะขาแล้วแต่ตัวยังลอยอยู่ ก็หมายความว่า เรามีอากาศใน BCD มากเกินไปแล้วครับ ความเร็วในการขึ้นสู่ผิวน้ำ ในปัจจุบัน มีการตกลงกันในหมู่องค์กรเกี่ยวกับเวชศาสตร์ใต้น้ำว่า ความเร็ว 9 เมตรต่อนาทีนั้นเหมาะสมกว่าความเร็ว 18 เมตรต่อนาทีที่เคยเข้าใจกัน เพราะฉะนั้น หากใครใช้ Dive Computer ดำน้ำที่เตือนที่ความเร็ว 18 เมตรต่อนาที ก็ถึงเวลาที่จะเปลี่ยน Dive Computer ได้แล้วครับ ทักษะต่อมาในการทำ safety stop ก็คือ การเตรียมพร้อมที่จะหยุดกลางน้ำ ทักษะนี้จะยากยิ่งขึ้นหากเราไม่มีเชือกหรือทุ่นที่จะเป็นแนวกำหนด นักดำน้ำจำเป็นต้องสังเกตว่ามีอากาศเพิ่มเข้ามาใน BCD ของตนหรือไม่ขณะกำลังขึ้นนะครับ เพราะอากาศเพียงเล็กน้อยที่อยู่ใน BCD ที่ความลึก จะขยายตัวได้มากขึ้นเมื่อเราขึ้นมาสู่ความตื้น หากเราไม่คอยสังเกตและปล่อยอากาศออกจาก BCD เราอาจจะลอยขึ้นเร็วโดยไม่รู้ตัว และไม่สามารถหยุดตรงจุดที่เราจะทำ safety stop ได้ครับ สิ่งที่ต้องคิดถึงอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ ถังอากาศของเรานั้น หากใช้จนเกือบหมดแล้ว จะลอยตัวมากกว่าตอนที่มีอากาศอยู่เต็ม เมื่อเราทำ safety stop ท้ายไดฟ์ที่อากาศในถังมีอยู่น้อย เราอาจจะตัวลอยมากกว่าที่คิดไว้ และทำ safety stop ด้วยความทุลักทุเลก็เป็นได้ วิธีป้องกัน คือ ควรหาจำนวนตะกั่วที่เราต้องใช้ด้วยการทำ Buoyancy Weight Check ในขณะที่อากาศมีอยู่น้อยในถังครับ…

อ่าน Safety Stop

Safety Stop กับการเตะขาเบาๆ

This entry is part 4 of 6 in the series ทบทวนทักษะการดำน้ำ

แง่มุมเล็กๆ ของเรื่อง Safety Stop ที่นักดำน้ำทุกคนควรเข้าใจ และทำได้ถูกต้อง

อ่าน Safety Stop กับการเตะขาเบาๆ

Deep Stop: ความสำคัญในการทำการพักน้ำที่ความลึกหลายๆ ขั้น

ก่อนที่จะเริ่มต้นอ่านต่อไป ขอให้ผู้อ่านทุกท่านทำความเข้าใจอย่างดีก่อนนะว่า พอดีฉันได้มีโอกาสไปอ่านบทความนี้  เห็นว่าน่าสนใจและคิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ นักดำน้ำทุกคน อย่างไรก็ดีขอให้ใช้วิจารณญาณและประสบการณ์ดำน้ำแต่ละคน ตัดสินใจหรือถามจากผู้รู้ท่านอื่น ขอทำความเข้าใจอีกนิดว่าฉันไม่ได้แปลบทความมาให้อ่าน แต่ขอสรุปและเรียบเรียงตามความเข้าใจของฉันเอง และก็ด้วยภาษาของตัวเองแบบเล่าสู่กันฟัง ถ้าคุณผู้อ่านสนใจที่จะอ่านต่อไป ก็ให้เข้าใจสองข้อนี้ไว้ในขณะที่อ่านบทความต่อไปนี้ ขอเริ่มต้นกล่าวถึงผู้เขียน นาย Richard L. Pyle ก่อนว่า เขาเป็นนักวิจัยปลา ต้องลงไปเก็บตัวอย่างปลาที่ความลึกต่างๆ ลึกสุดก็ช่วง 180-220 ฟุตหรือประมาณ 36-66 เมตร ลงบ่อยจนนับจำนวนไดฟ์ไม่ถ้วนแล้ว และเริ่มสังเกตถึงอาการป่วยเหมือนๆ กันที่เกิดหลังดำน้ำ คือหลังจากไดฟ์ก็จะเริ่มรู้สึกเหนื่อยหรือคลื่นเหียนวิงเวียนศีรษะ และก็เห็นได้ชัดว่า อาการหลังดำน้ำพวกนี้เกิดจากการที่มี Nitrogen สะสมอยู่ในร่างกายมากเกินไป เพราะอาการพวกนี้จะเป็นหนักจากไดฟ์ที่ลงไปไม่ถึงครึ่งชั่วโมงที่ความลึก 200 ฟุตหรือ 60 เมตร มากกว่าที่จะเป็นในไดฟ์ที่ลงนานถึง 4-6 ชั่วโมงแต่ตื้นๆ สิ่งที่น่าสนใจและน่าปวดหัวก็คือ อาการนี้ไม่ได้เกิดสม่ำเสมอทุกไดฟ์ บางครั้งก็ไม่มีอาการอะไรเลย บางครั้งเพลียจนขับรถกลับบ้านหลังดำน้ำไม่ได้ และด้วยความเป็นนักวิทยาศาสตร์ นาย Richard ก็พยายามหาความสัมพันธ์ระหว่างไดฟ์ที่มีอาการป่วยหนักๆ กับทุกการกระทำ ตั้งแต่ก่อนดำน้ำ จนหัวจมน้ำ คือคิดตั้งแต่ อุณหภูมิใต้น้ำ, คลื่นที่ผิวน้ำ, อาการขาดน้ำ, การอดหลับอดนอนก่อนการดำน้ำ และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ก็ไม่มีอะไรที่สามารถบอกผลได้แน่ชัด สุดท้ายก็ได้คำตอบ ว่า …………เป็นเพราะ……..ปลา !!!! แล้วมันเกี่ยวกันยังไง สรุปคือ ไดฟ์ไหนที่ลงไปแล้วจับปลาและนำปลาขึ้นมาได้ ไดฟ์นั้นแทบจะไม่มีอาการป่วยอะไรเลย แต่ไดฟ์ไหนที่จับปลาไม่ได้ก็จะมีอาการป่วยเกิดขึ้น ปอดของปลา กับอากาศในร่างกายของเรา อ่านมาถึงตรงนี้แล้วทุกคนคงจะคิดว่าจะเป็นไปได้อย่างไร? มันไปเกี่ยวกับการจับปลาได้ไง คนเขียนนี่ต้องมั่วสรุปแน่เลย จับปลานะ (ไม่ใช่ตกปลา) เขาต้องไปว่ายไล่จับปลาซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ลงไปจับปลานี่ต้องออกแรงและซดอากาศ เป็นการอัดไนโตรเจนเข้าร่างกายแน่นอน ข้อนี้เราน่าจะรู้กัน แต่ที่ทุกคนไม่รู้คือ เวลานำปลาขึ้นมาจากความลึก นาย Richard ต้องหยุดบ่อยๆ เพื่อคอยเอาเข็มแทงเข้าไปที่ปอดปลาเพื่อลดความดันในตัวปลา (เดี๋ยวปลาปอดแตก…ตาย) เพราะตัวอย่างปลาที่ต้องการ คือ ปลาเป็นๆ ไม่ใช่ปลาตาย ซึ่งการหยุดเพื่อที่จะเจาะถุงลมปลาก็จะหยุดที่ระดับลึกกว่าการบังคับพักน้ำขั้นแรกของการดำแบบติด Decompression (หรือการดำแบบมีการหยุดเพื่อลดแรงกดดันในร่างกาย) อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ แบบยกตัวอย่างให้เห็นก็คือ เมื่อนาย Richard นำปลาขึ้นมาจากความลึก 200 ฟุตหรือ 60เมตร การหยุดขั้นแรกตามตารางการหยุดเพื่อลดแรงกดดันน้ำ (Decompression Table) คืออยู่ราวๆ 50 ฟุตหรือ 15 เมตร แต่นาย Richard จะต้องลดแรงกดดันน้ำในตัวปลาที่ความลึก 125 ฟุตหรือ 37 เมตรก่อน โดยจะใช้เวลา 2-3 นาทีที่ความลึกนั้น ทีนี้เราลองคิดตาม…

อ่าน Deep Stop: ความสำคัญในการทำการพักน้ำที่ความลึกหลายๆ ขั้น