Diving with current - 001

ดำน้ำในกระแสน้ำแรงทำอย่างไร

เมื่อวานเจอคลิปวิดีโอที่ถ่ายไว้เลยอยากเล่าเรื่องนี้ ให้นักดำน้ำมือใหม่แบบผมฟัง ถ้าเราดำๆ อยู่ แล้วเจอกระแสน้ำแรง เราต้องทำอย่างไร

อ่าน ดำน้ำในกระแสน้ำแรงทำอย่างไร
Diving in coral - 001

วันไหนน้ำใส? วันไหนน้ำไม่แรง?

น้องๆ นักดำน้ำที่เริ่มดำมากขึ้นแล้วและกำลังเลือกทริป วางแผนลางาน มักมีคำถามว่าดำน้ำช่วงไหนถึงน้ำไม่แรงและน้ำไม่ขุ่น ผมตอบแบบนี้ไม่รู้พอช่วยได้ไหม

อ่าน วันไหนน้ำใส? วันไหนน้ำไม่แรง?

กระแสน้ำย้อนกลับ (Rip Current)

กระแสน้ำย้อนกลับ หรือที่เรามักได้ยินชื่อเรียกทับศัพท์ว่า rip current เป็นกระแสน้ำรุนแรงที่เกิดขึ้นช่วงสั้นตามชายหาด จากการที่คลื่นทะเลซัดเข้าหาฝั่ง แล้วเมื่อมวลน้ำเหล่านั้นจะไหลลงทะเล กลับเจอสิ่งกีดขวาง เช่นโขดหินหรือสันทรายขวางอยู่ (โดยเฉพาะสันทรายใต้น้ำซึ่งมองเห็นได้ยากจากผิวน้ำ) ก็จะไหลรวมกันผ่านช่องแคบๆ ระหว่างสิ่งกีดขวางเหล่านั้นกลับลงทะเลไปด้วยความเร็วสูงกว่าตอนที่คลื่นซัดเข้ามา ในบ้านเรา มีชื่อเรียกกระแสน้ำแบบนี้ว่า คลื่นทะเลดูด หรือ คลื่นดูด ซึ่งไม่ใช่คลื่นหรือกระแสน้ำที่ดูดลงใต้ทะเล แต่เป็นกระแสน้ำที่ไหลลงทะเลอย่างรวดเร็ว ซึ่งสำหรับคนคนที่ติดอยู่ในกระแสน้ำ ไม่เข้าใจกลไกหรือกำลังตื่นตกใจ พยายามว่ายทวนน้ำเพื่อจะเข้าฝั่งอย่างเต็มกำลัง ในที่สุดก็จะหมดแรง หรือเหนื่อยหอบจนสำลักน้ำ แล้วจมลงใต้น้ำเสียชีวิต กระแสน้ำแบบนี้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตส่วนใหญ่ของนักท่องเที่ยวเล่นน้ำทะเลชายหาดในหลายประเทศทั่วโลก! และเนื่องจากสันทรายใต้น้ำย่อมเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามแต่คลื่นที่ซัดเข้ามาหาฝั่ง รวมทั้งหากเป็นคลื่นลูกเล็กๆ เบาๆ ซัดเข้ามาก็อาจไม่เกิดเป็นกระแสน้ำรุนแรงเมื่อไหลกลับออกไปก็ได้ การเกิด rip current จึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำนายตำแหน่งและความรุนแรงล่วงหน้าได้ มีเพียงสถิติของชายหาดบางแห่งที่อาจเกิดขึ้นได้บ่อย เนื่องจากสภาพภูมิประเทศบางอย่าง เช่น หาดแม่รำพึง จ. ระยอง ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ วิธีการสังเกตตำแหน่งที่เกิด Rip Current สังเกตสีของน้ำทะเล ซึ่งจะขุ่นขาวกว่าบริเวณอื่น เนื่องจากกระแสน้ำ rip current มักจะพาเอาตะกอนใต้น้ำฟุ้งขึ้นมาและไหลตามกระแสน้ำลงไปด้วย สังเกตแนวน้ำที่ไหลวนปั่นป่วนอยู่ปลายกระแสน้ำ ซึ่งมักเป็นรูปล้ายดอกเห็ด ยื่นจากชายฝั่งลงไปในทะเล ซึ่งถ้ามีขนาดใหญ่หรือระยะทางไกล ก็แสดงว่ามีกำลังมาก สังเกตเศษสิ่งของที่ลอยออกจากชายหาดหรือฟองคลื่นที่ไหลกลับลงทะเล เป็นแนวตั้งฉากกับหน้าคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ซึ่งก็คือแนวของกระแสน้ำ สังเกตหน้าคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ถูกตัดแหว่งเป็นร่องๆ เนื่องจากกระแส rip current ไหลสวนทางตัดกับคลื่นที่ซัดเข้ามา แนวที่คลื่นถูกตัดก็คือแนวของกระแสน้ำ วิธีการป้องกันอันตรายจาก Rip Current ก่อนลงเล่นน้ำที่ชายหาดใดก็ตาม ลองมองหาเจ้าหน้าที่หรือยามชายฝั่ง (coast guard) เพื่อสอบถามสถานการณ์ของ rip current ในบริเวณนั้น รวมถึงสภาพคลื่นลมในขณะนั้นด้วย หรือสังเกตธงเตือนภัยสีแดงที่มีปักอยู่ริมชายหาดเพื่อเตือน สังเกตคลื่นและน้ำทะเลว่ามีจุดใดมีลักษณะคล้ายกับที่เล่าไปในหัวข้อก่อนหน้านี้หรือไม่ ถ้ามี ก็ไม่ควรเล่นน้ำใกล้บริเวณนั้น ถ้าสภาพอากาศไม่ดี มีคลื่นลูกใหญ่ๆ เข้ามาบ่อยๆ ก็ไม่ควรลงเล่นน้ำ (ยกเว้น ถ้าคุณเป็นนักโต้คลื่น หรือทำกิจกรรมกับคลื่นขนาดใหญ่ มีความรู้เข้าใจในคลื่นและทะเลเป็นอย่างดี) วิธีแก้ไขสถานการณ์เมื่อเข้าไปอยู่ใน Rip Current ตั้งสติ ไม่ต้องว่ายทวนกระแสน้ำ ไม่ต้องกลัวว่าน้ำจะซัดไปไกล เพราะยิ่งห่างจากฝั่งไปเรื่อยๆ กระแสน้ำจะเบาลงจนหายไปในที่สุด พยายามลอยตัวให้ศีรษะอยู่เหนือน้ำ หายใจได้ มองหาทิศทางของชายฝั่ง แล้วว่ายน้ำขนานกับชายฝั่งไปก่อน จนกระทั่งพ้นจากแนวกระแส rip current แล้วค่อยว่ายกลับเข้าหาฝั่ง หรือให้คลื่นพาเรากลับเข้าฝั่ง ถ้าว่ายน้ำไม่ได้ หรือไม่มีแรงว่ายน้ำ ก็ประคองตัวให้อยู่เหนือน้ำไว้ และโบกมือขอความช่วยเหลือ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ ถ้าไม่แน่ใจว่า ตนเองเข้าใจและทราบวิธีการช่วยเหลือ อย่าว่ายน้ำลงไปช่วยเด็ดขาด หากมีสิ่งของที่ลอยน้ำได้ เช่น ห่วงยาง เสื้อชูชีพ ให้โยนลงไปตามกระแสน้ำ…

อ่าน กระแสน้ำย้อนกลับ (Rip Current)

ทำไมบางวันน้ำขึ้นน้ำลงเกิดแค่รอบเดียว และบางวันก็มีมากกว่า 2 รอบ

เรารู้กันมานานแล้วว่า น้ำขึ้นน้ำลงเกิดขึ้นจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ แต่ทำไมบางแห่งเกิดไม่เหมือนกับที่อื่น และบางแห่งก็ไม่เหมือนกันในแต่ละวัน

อ่าน ทำไมบางวันน้ำขึ้นน้ำลงเกิดแค่รอบเดียว และบางวันก็มีมากกว่า 2 รอบ

เราจะคาดคะเนกระแสน้ำก่อนลงดำน้ำได้อย่างไร

กระแสน้ำ เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่นักดำน้ำอยากรู้ก่อนจะกระโดดลงไปในน้ำ หรือแม้แต่ลีดดำน้ำ (dive lead หรือ dive guide) ก็ควรต้องรู้ก่อนเพื่อที่จะวางแผนจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดการดำน้ำแต่ละไดฟ์ ลีดดำน้ำที่รอบรู้และใส่ใจ จะมีความสามารถในการสังเกตสภาพแวดล้อมและทิศทางของกระแสน้ำก่อนการลงดำน้ำได้เป็นอย่างดี นำไปสู่การวางแผนเส้นทางการดำน้ำได้ดี ซึ่งนอกจากจะมีผลต่อความเพลิดเพลินในการดำน้ำไดฟ์นั้นแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ไม่คาดคิดใต้น้ำได้ เช่น การคลาดกันระหว่างลงสู่หมายดำน้ำแล้วต้องกลับมาลงใหม่ การพลัดหลงกันระหว่างดำน้ำ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ความสูญเสียถึงชีวิตด้วย วิธีการคาดคะเนกระแสน้ำมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน และก็แตกต่างกันไปตามจุดดำน้ำด้วย แต่ส่วนใหญ่ก็จะคล้ายๆ กันคือขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 3-4 อย่าง เช่น น้ำขึ้นน้ำลง กระแสลมผิวน้ำ ลักษณะของพื้นที่ เป็นต้น (อ่านเพิ่มเติม “กระแสน้ำในทะเลเกิดขึ้นจากอะไรบ้าง“) ถ้าเรามีโอกาสได้ดำน้ำกับไดฟ์ลีดที่ดูกระแสน้ำเป็น ลองสังเกตดูครับว่า เขาใช้วิธีใดบ้างในการคาดคะเนกระแสน้ำที่จุดดำน้ำนั้นๆ ดูตารางน้ำขึ้นน้ำลง ประกอบกับความรู้เรื่องจุดดำน้ำ น้ำขึ้นน้ำลงเป็นปัจจัยสำคัญของกระแสน้ำในทะเลแทบทุกจุดทั่วโลก และปัจจุบันการคาดการณ์น้ำขึ้นน้ำลงของพื้นที่ต่างๆ ในโลกทำได้ค่อนข้างแม่นยำจากการเก็บข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลมานานหลายสิบปี คาดการณ์ล่วงหน้าได้เป็นปีๆ เลยทีเดียว ดังนั้นการดูตารางน้ำขึ้นน้ำลงก่อนไปดำน้ำนับเป็นสิ่งที่นักดำน้ำทั่วไปสามารถทำได้ไม่ยาก หรืออย่างน้อยผู้จัดทริปก็ควรต้องรู้ก่อนออกทริปเพื่อกำหนดจุดดำน้ำได้อย่างเหมาะสมกับเวลาลงดำและทักษะของนักดำน้ำ ตารางน้ำขึ้นน้ำลงของจุดดำน้ำ (หรือถ้าไม่มีตรงเป๊ะ ก็ใช้จุดตรวจวัดใกล้เคียงได้ครับ) จะบอกเป็นความสูงของระดับน้ำในแต่ละช่วงเวลาของวัน ซึ่งช่วยบอกเป็นนัยแก่เราได้ว่า จะมีมวลน้ำเคลื่อนเข้า (น้ำขึ้น) หรือออก (น้ำลง) จากบริเวณนั้นมากน้อยเพียงใดในเวลาที่เรากำลังจะดำน้ำ (อ่านเพิ่มเติม “วิธีการดูตารางน้ำ”) เมื่อนำมาประกอบกับลักษณะของอ่าวและสภาพพื้นที่ใต้น้ำ ก็จะพอคาดคะเนได้ว่า กระแสใต้น้ำจะไหลไปในทิศทางใดและไหลแรงเพียงใด ทั้งนี้ ต้องเข้าใจด้วยครับว่า ระดับน้ำที่อ่านได้จากตารางน้ำของคนละพื้นที่ แม้จะเป็นตัวเลขเดียวกัน ก็มิได้หมายความว่ากระแสน้ำจะแรงใกล้เคียงกัน ตัวอย่างเช่น น้ำขึ้น 20 ซม. ต่อ 1 ชม. ที่ทะเลแสมสาร จะทำให้เกิดกระแสน้ำที่แรงกว่า น้ำขึ้นในอัตราเดียวกันที่สิมิลัน มากครับ และแน่นอนว่าทิศทางของกระแสน้ำก็แตกต่างกันไปตามลักษณะอ่าว ดังนั้น แม้จะอ่านตารางน้ำเป็นแล้ว แต่ก็ต้องรู้ลักษณะพื้นที่จุดดำน้ำประกอบด้วย ดูวัตถุหรือฟองอากาศที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ วิธีต่อมา หากไปอยู่ที่จุดดำน้ำแล้ว จะเช็คเพื่อความชัวร์อีกทีว่าตรงกับตารางน้ำที่ดูมาก่อนมั้ย (หรือถ้าไม่ได้ดูตารางน้ำมาก่อน ก็มาดูของจริงกันหน้างานนี่ล่ะ) สามารถทำได้โดยดูวัตถุที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ อาจเป็นเศษใบไม้หรือฟองอากาศ (ถ้าไม่มีก็สร้างฟองอากาศขึ้นเองเลยก็ได้) แล้วสังเกตทิศทางและความเร็วที่วัตถุเหล่านั้นลอยเคลื่อนไป ก็พอจะคาดคะเนความเร็วกระแสน้ำได้ ทั้งนี้ ต้องเข้าใจด้วยครับว่า กระแสน้ำจริงๆ จะไหลเร็วกว่าวัตถุที่ถูกกระแสน้ำพัดพาไป อีกพอสมควร กระแสน้ำที่ใต้น้ำ อาจมีทิศทางแตกต่างออกไปอีกเนื่องจากสภาพแวดล้อมใต้น้ำ เช่น หากเป็นร่องน้ำหรือช่องหิน กระแสน้ำก็จะไหลไปตามแนวช่องเหล่านั้น วิธีนี้ใช้ไม่ได้กับกรณีที่มีลมแรง จนกระทั่งกระแสน้ำที่ผิวน้ำเป็นไปตามทิศทางลมมากกว่าจะเป็นไปตามกระแสน้ำจริงด้านล่าง หมายเหตุ: บางท่านอาจคิดว่า เราดูจากแนวทิศทางที่เรือลอยลำอยู่ได้หรือไม่ ก็ต้องบอกว่า พอดูได้หากลมค่อนข้างสงบ แต่ถ้ามีลมพอประมาณ เรือจะหันทิศเข้าหาลม ทอดตัวตามแนวกระแสลมมากกว่าแนวกระแสน้ำครับ (ทิศผลลัพธ์จะเป็นผลรวมของแรงลมและแรงน้ำประกอบกัน โดยขึ้นกับพื้นที่รับลมและรับน้ำของเรือด้วย) กรณีที่ลมผิวน้ำแรง กระแสน้ำจะมีทิศทางเบนจากทิศทางลม ในกรณีที่กระแสลมเหนือผิวน้ำมีกำลังค่อนข้างแรงและเกิดขึ้นต่อเนื่องมาพักใหญ่ กระแสน้ำที่เราเห็นบนผิวน้ำจะได้รับอิทธิพลจากกระแสลม โดยมีทิศทางเบนไปจากทิศลมประมาณ 45 องศาและเบนมากขึ้นเรื่อยๆ ตามความลึก ถ้าเป็นซีกโลกเหนือ…

อ่าน เราจะคาดคะเนกระแสน้ำก่อนลงดำน้ำได้อย่างไร

ตะขอ–อุปกรณ์เสริมสำหรับการดำน้ำในที่น้ำแรงและต้องการจะลงไปรอดูปลาต่างๆ ว่ายน้ำผ่านเท่านั้น

ตะขอ–อุปกรณ์เสริมสำหรับการดำน้ำในที่น้ำแรงและต้องการจะลงไปรอดูปลาต่างๆ ว่ายน้ำผ่านเท่านั้น ใช้อย่างไร เก็บอย่างไร เลือกซื้ออย่างไร

อ่าน ตะขอ–อุปกรณ์เสริมสำหรับการดำน้ำในที่น้ำแรงและต้องการจะลงไปรอดูปลาต่างๆ ว่ายน้ำผ่านเท่านั้น
Dynamic Earth: Ocean Currents

กระแสน้ำในทะเลเกิดขึ้นจากอะไรบ้าง

เรื่องราวของ “กระแสน้ำ” ที่นักดำน้ำเข้าใจได้ไม่ยาก และไดฟ์ลีดควรเข้าใจ เพื่อการวางแผนการดำน้ำที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

อ่าน กระแสน้ำในทะเลเกิดขึ้นจากอะไรบ้าง

เทคนิคการดำน้ำในกระแสน้ำ

เมื่ออยู่ในกระแสน้ำแรง และต้องสู้กระแสน้ำให้อยู่กับที่ หรือต้องเคลื่อนไปข้างหน้าด้วย หากใช้วิธีการตีฟินเต็มแรงตลอดเวลา ในที่สุดอาจพบกับความเหนื่อยล้า สูญเสียแรงและประสิทธิภาพในการตีฟินลงไปเรื่อยๆ … และบางทีวิธีการดำน้ำในกระแสน้ำแบบนี้ อาจฝึกฝนได้ไม่ยาก เพียงรู้วิธีการที่ต้องทำและทักษะที่ต้องฝึกฝนให้ดีไม่กี่ข้อเท่านั้น

อ่าน เทคนิคการดำน้ำในกระแสน้ำ