IANTD Wreck Diving Courses - Marlin Divers

IANTD Wreck Diving Courses

นักดำน้ำจำนวนมาก มีความชอบที่จะดำน้ำในซากใต้น้ำต่างๆ เช่นในเรือจม การดำน้ำไปรอบๆ ตัวเรือหรือซากอื่นๆ ที่จมลง เป็นความรู้สึกของการผจญภัยที่ยอดเยี่ยม ยิ่งหากเรือจมลำนั้นมีประวัติศาสตร์ มีเรื่องราวที่น่าสนใจ แรงดึงดูดที่ทำให้นักดำน้ำอยากไปเยี่ยมเยียนเรือจมลำนั้นบ่อยๆ ก็ยิ่งมีมาก แต่ถึงแม้การดำน้ำในซากต่างๆ และในเรือจมจะสนุกมากเพียงใด อันตรายจากการทำกิจกรรมอันน่าตื่นเต้นนี้ก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไปไม่ได้ ในการดำน้ำในเรือจมนั้น อันตรายจากการดำบริเวณนอกลำเรือก็มีมากพอสมควรอยู่แล้ว แต่นักดำน้ำที่แสวงหาความตื่นเต้น ท้าทายในระดับสูงกว่า ก็จะมีความอยากเข้าไปสำรวจบริเวณภายในของเรือจม ซึ่งก็จะยิ่งทำให้การดำน้ำในสถานที่แบบนี้ มีอันตรายเพิ่มขึ้นหลายเท่าทวีคูณ ยิ่งไปกว่านั้น นักดำน้ำอีกจำนวนหนึ่ง ที่ชื่นชอบและหลงใหลการดำน้ำในเรือจมอย่างมากขึ้นไปกว่านั้น นอกจากจะมีความต้องการจะสำรวจภายในตัวเรือให้ครบถ้วนแล้ว ยังจะอยากมีเวลาใต้น้ำกับเรือจมให้มากยิ่งไปกว่าข้อจำกัดของเวลาการอยู่ใต้น้ำที่ความลึกที่เรือจมนั้นจมอยู่ (NDL) นักดำน้ำที่จะดำแบบนี้ได้จึงต้องมีความสามารถที่จะดำน้ำแบบ Decompression ได้อย่างปลอดภัย การดำน้ำแบบนี้จึงเป็นการใช้ความสามารถหลายด้าน ทั้งทักษะการดำเรือจม และความสามารถในการดำน้ำแบบ Technical การจะทำกิจกรรมที่มีอันตรายแบบนี้ให้ปลอดภัยได้นั้น นักดำน้ำที่จะทำการดำจึงต้องผ่านการเรียน ผ่านการฝึกฝน และผ่านประสบการณ์มาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และได้รับการเคี่ยวกรำด้านทักษะ ร่างกาย และจิตใจมาอย่างดีเยี่ยม หลักสูตรการดำน้ำในซากใต้น้ำหลายหลักสูตรของ IANTD จึงเป็นคำตอบสำหรับนักดำน้ำที่แสวงหาความสนุก ความรู้ และการพัฒนาตัวเองในโลกของการดำน้ำในแบบฉบับที่กล่าวมาเบื้องต้นนั่นเอง หลักสูตร Wreck Diver เป็นประตูบานแรกของการฝึกฝนตนเองให้เป็นนักดำน้ำเรือจมที่มีคุณภาพ ในการเรียนจบหลักสูตรนี้ ผู้เรียนจะได้เรียนเรื่องความรู้ ทักษะ ที่จะทำให้สามารถดำน้ำในเรือจมภายใต้ข้อจำกัดของ Recreation Diving เช่นการดำน้ำโดยยังเห็นแสงธรรมชาติตลอดเวลา การดำเข้าไปไม่มากเกิน 40 เมตรจากผิวน้ำ เป็นต้น ในหลักสูตรนี้ ผู้เรียนจะเกิดพื้นฐานการดำน้ำภายใต้สิ่งแวดล้อมเหนือศีรษะ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่นการมี Guideline, การคำนวนอากาศของตนเองและเผื่อของทีมหากเกิดปัญหา การจัดการกับสถานการณ์เช่นไฟฉายดับเสีย ฝุ่นคลุ้งจนมองไม่เห็น การแก้ไขการเกี่ยวติด เป็นต้น นอกจากความรู้แล้ว ผู้เรียนยังจะได้ฝึกทักษะในสิ่งแวดล้อมเหนือศีรษะอีกมากมาย เช่นการใช้รอก การทำ tie off แบบมาตรฐานต่างๆ การดำน้ำตาม Guidelines อย่างปลอดภัย การฝึกดำออกมาจากสิ่งแวดล้อมเหนือศีรษะในสถานการณ์มองไม่เห็น การแชร์อากาศภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ผู้เรียนจะได้เรียนเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงอันตรายจากการเข้าไปในซากใต้น้ำ เช่นการประเมินสภาพของซาก การนำทางในซาก การปรับ Buoyancy การปรับ Trim การเคลื่อนที่ในซากที่มีประสิทธิภาพ หลักสูตร Tec Lite Wreck Diver และหลักสูตร Technical Wreck Diver สำหรับหลักสูตร Tec Lite Wreck Diver และหลักสูตร Technical Wreck Diver นั้น เป็นหลักสูตรสำหรับนักดำน้ำที่เรียนหลักสูตร Wreck Diver ไปแล้ว และต้องการพัฒนาขีดความสามารถของตนในการดำน้ำในซากให้มากขึ้น ในหลักสูตร Tec Lite Wreck Diver…

อ่าน IANTD Wreck Diving Courses

IANTD Cavern Diver Course

นักดำน้ำแบบ Scuba โดยทั่วไป จะถูกสอนไว้ว่าการดำน้ำในสถานที่มีสิ่งแวดล้อมเหนือศีรษะนั้นเป็นเรื่องต้องห้าม คำสอนที่ว่านั้นเป็นเรื่องจริงที่ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แต่สำหรับนักดำน้ำที่ชอบความท้าทาย ชอบการผจญภัยในระดับที่มากกว่าการดำน้ำทั่วไป การเรียนรู้และฝึกฝนในหลักสูตรดำน้ำระดับสูงขึ้น เช่นการเรียนหลักสูตร cavern diver course เป็นคำตอบที่ดีที่สุด

อ่าน IANTD Cavern Diver Course

หลักสูตร PADI Deep Specialty

การเรียนในหลักสูตรนี้ มีผู้สงสัยมักมากมายว่าเหตุใดจึงจำเป็นจะต้องมาเรียนวิชาการดำน้ำลึกเป็นพิเศษแบบนี้ ในเมื่อเราเป็นนักดำน้ำก็น่าจะสามารถดำลงไปเที่ยวกันลึกๆ และระวังไม่ให้ถึงขีดจำกัดของ recreational diver ในความลึกทึ่ 40 เมตรกันอยู่แล้ว แต่การดำลึกในระดับนี้ หากเราไม่มีความรู้ ประสบการณ์ภายใต้การดูแลของผู้สอนมืออาชีพแล้ว โอกาสที่จะเกิดอันตรายยังจะมีมากกว่าที่เราคาดคิดไว้ครับ เราคงจำกันได้ว่า เมื่อเราเรียนดำน้ำในระดับ open water diver น้ัน ครูจะพร่ำบอกเราเสมอว่าขีดจำกัดของการเป็นนักดำนำ้ระดับนี้คือความลึก 18 เมตร และหากเราเรียนถึงระดับ advanced open water diver เราจะดำน้ำได้ถึงระดับ 30 เมตร การที่มีขีดจำกัดดังที่กล่าวมานั้นไม่ใช่ว่าตั้งกันไว้โดยไม่มีเหตุผล แต่เป็นการตั้งขีดจำกัดตามระดับความสามารถและประสบการณ์ของหลักสูตรทั้งสองนั่นเองครับ เมื่อครั้งที่จบ open มานั้น ทักษะและความรู้ที่เรียนมาจะยังอยู่ในระดับไม่สูง หากดำลึกเกิน 18 เมตรและไปเจอปัญหาในที่ลึกอาจจะแก้ไขได้ไม่ดี และเมื่อจบระดับ advanced มาแล้ว ถึงแม้จะมีการปรับการจมลอยที่ดีขึ้น มีความสามารถในการสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากขึ้น แต่ก็ยังมีขีดความเหมาะสมสำหรับความลึกไม่เกิน 30 เมตร เนื่องจากระดับการตระหนักรู้ (awareness) ทักษะการรับรู้ปริมาณอากาศ การรับรู้ NDL ที่จะหมดไปโดยเร็ว และการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในความลึกที่เกิน 30 เมตรนั้น ยังไม่สมบูรณ์พอ นักดำน้ำที่จบมาเพียงระดับ advanced จึงยังไม่เหมาะที่จะลงไปในที่ลึกกว่า 30 เมตรอย่างปลอดภัย อีกประการหนึ่ง หากเรามีประสบการณ์การดำน้ำมามากพอสมควร เราคงจะนึกได้ว่าสภาพสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน ก็ทำให้การดำน้ำที่อาจจะไม่ลึกมาก มีความยาก จนกระทั่งจำเป็นต้องใช้ทักษะการดำน้ำในระดับสูงพอๆ กับการดำน้ำลึกมากๆ เช่นไปดำน้ำในความลึกที่ 12 เมตรแต่มีกระแสน้ำและทัศนวิสัยที่ไม่ดี อาจจะต้องใช้ทักษะระดับสูงกว่าดำน้ำลึก 35 เมตรในที่น้ำใสและนิ่ง การเรียนรู้ทักษะและฝึกประสบการณ์ในหลักสูตร deep specialty จึงมีประโยชน์ไม่ใช่เพียงแต่ใช้ในการดำลึกอย่างเดียว แต่สามารถใช้สำหรับการดำน้ำที่ยากกว่าปกติอีกด้วย ก็อาจจะมีคำถามเกิดขึ้นมาในใจของผู้อ่านอีกว่า “แล้วเราจะดำลึกเกิน 30 เมตร กันไปทำไม ในเมื่อเวลาไปเที่ยว เราก็ดำน้ำกันไม่เกินนั้นอยู่แล้ว” ซึ่งคำตอบสำหรับคำถามนี้เป็นสิ่งที่คนเคยเรียนและเคยลงไปในที่ลึกจะทราบกันดีว่ามันมีหลายสิ่งอย่างที่มีอยู่ในที่ลึกและไม่มีในที่ตื้น เช่นปลาฉลาม ปลาโรนัน ที่จะนอนนิ่งๆ ในความลึกกว่า 30 เมตรในเกือบทุก dive site ที่เราดำเที่ยวกันในทริป live aboard ทั้งหลาย มีเรือจมหลายลำที่น่าสนใจอยู่ในความลึกกว่า 30 เมตร ภูมิทัศน์ใต้น้ำหลายจุดที่น่าตื่นตาตื่นใจในที่ลึกที่คนไม่ได้ลงไปจะไม่เคยเห็นและรับรู้ การดำน้ำนั้นเป็นกิจกรรม adventure ของคนที่ร่วมกิจกรรมนี้อยู่แล้ว เป็นการเติมเต็มหลายด้านของชีวิต และหากมีการเรียนรู้จากการถ่ายทอดที่ดี มีการส่งเสริมประสบการณ์ที่เหมาะสม กิจกรรมดำน้ำก็จะเป็นทักษะที่สามารถถ่ายโยงไปเป็นทักษะชีวิต ทำให้ชีวิตของผู้เรียนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่ที่น่าสนุกและได้ประโยชน์ไปยิ่งกว่านั้น คือ adventure ในระดับ trilling เพราะเราไปแสวงหาความตื่นเต้นอันเกิดจากกิจกรรมที่ท้าทายกว่าปกติ ภายใต้การจัดการกับความเสี่ยงอย่างรับผิดชอบ ที่เราสามารถจะได้รับจากการเรียนและดำน้ำในระดับ…

อ่าน หลักสูตร PADI Deep Specialty

GF (Gradient Factor) คืออะไร

หลายปีมาแล้ว นักวิชาการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ใต้น้ำ ชื่อ Eric Baker ได้พัฒนาแนวคิดเรื่อง gradient factor หรือปัจจัยความแตกต่างของแรงกดดัน ขึ้นมาเพื่อเป็นเทคนิคในการทำให้สูตรคำนวณการดำน้ำ (algorithm) มีความปลอดภัยสูงขึ้น โดยแนวคิดนี้จะถูกนำมาใช้กับสูตรคำนวณของ buhlmann ZHL-16 แนวคิดนี้ทำให้นักดำน้ำมีความยืดหยุ่นที่จะปรับแต่งโปรไฟล์การดำน้ำของตน ในการจัดการกับความเสี่ยงต่อโรค DCS ข้อดีของการคำนวณจากแนวคิดนี้ คือทำให้นักดำน้ำสามารถเลือกความเข้มข้นในการทำ deep stop ของตนเองได้ และสามารถเลือกได้ว่าจะขึ้นสู่ผิวน้ำด้วยระดับการ Supersaturation มากหรือน้อยเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับ M-Value แนวคิด GF นี้จะมีตัวเลขไว้สื่อสารกับเราสองตัว โดยจะทำการตั้งค่า ตัวอย่างเช่น 50/70 ซึ่งมันจะหมายความว่า เลขตัวแรก GF low คือตัวกำหนดว่าเราจะเริ่มทำ stop แรกที่ความลึกมากหรือน้อย และเลขตัวที่สอง GF high เราสามารถกำหนดได้ว่า stop ตื้นของเราจะยาวนานขนาดไหน หากเราต้องการทำ stop แรกในที่ลึก ให้ลึกสักหน่อย (เช่นการทำ deep stop ที่นิยมกันในช่วงปี 2000) เราก็จะตั้ง GF low ให้มีตัวเลขต่ำๆ เช่น 20 ซึ่งตัวเลขนั้นจะหมายถึงเปอร์เซ็นต์ของ M-Value ถ้าตัวเลขเป็น 20 ก็หมายถึงว่าเราขึ้นจากที่ลึกและมีระดับ Supersaturation เพียง 20% ของค่าสูงสุด (M-Value) เราก็จะต้องหยุดรอแล้ว หากเราตั้งค่าตัวเลขสูงขึ้นเครื่องก็จะอนุญาตให้เราขึ้นไปตื้นกว่า เช่นถ้าตั้งค่าไว้ 50% ก็จะขึ้นจากความลึกไปหยุดทำ stop แรกในที่ตื้นกว่าตั้งค่าไว้ 20% เป็นต้น และหากตัวเลขขึ้นไปสูงสุด เช่น 100% ของ M-Value นั่นคือเราตั้งค่าให้ขึ้นไปสู่ที่ตื้นได้จนถึงขีดจำกัดสูงสุดที่กำหนดไว้ใน M-Value ได้เลยทีเดียว การตั้งตัวเลข GF low น้อยๆ จึงหมายความว่าเราตั้งค่าให้สูตรอนุญาตให้เรามีการ supersaturation ได้น้อย จึงต้องหยุดในที่ลึกมากกว่าเวลาตั้งตัวเลข GF low สูงๆ หรืออีกนัยหนึ่ง คือตั้ง GF low ต่ำต้องทำ stop ในที่ลึกมากกว่านั่นเอง ส่วนการตั้ง GF high คือการตั้งค่าการอนุญาตให้ขึ้นสู่ผิวน้ำ เช่นหากเราตั้งค่า GF high ไว้ต่ำ ตัวอย่างเช่นตั้งไว้ สัก 50 นั่นก็หมายความว่าเครื่องหรือตารางดำน้ำจะสั่งให้เรารอจนอัตราการ supersaturation ของเราลดลงจนเหลือ…

อ่าน GF (Gradient Factor) คืออะไร

Wreck Specialty

  การเรียนในหลักสูตรนี้ ทำให้นักดำน้ำที่หลงใหลในการดำน้ำในซากเรือและซากอื่นๆ ใต้น้ำ สามารถดำน้ำได้อย่างปลอดภัย สนุกสนาน และประทับใจกับความตื่นเต้น กับบรรยากาศของการผจญภัยใต้น้ำ เรือจมและซากยานพาหนะอื่นๆ ที่จมอยู่ใต้น้ำนั้น มีเสน่ห์ มีแรงดึงดูด มีความน่าสนใจในตัวของมัน การได้มีโอกาสเข้าไปใกล้ชิดกับวัตถุที่เปรียบเสมือนตู้บันทึกแห่งกาลเวลา การสนุกกับการค้นคว้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านไป การได้เห็นอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ ของคนในยุคก่อน เป็นสิ่งที่นักดำน้ำจำนวนมากปรารถนาประสบการณ์อันเลิศนั้น สัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในบริเวณซากก็มักจะมีขนาดและจำนวนที่น่าประทับใจ แสง เงา และแง่มุมของโครงสร้างของซากก็มักจะทำให้การถ่ายภาพใต้น้ำมีผลงานออกมาอย่างมีชีวิตชีวา ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาทั้งหมด การดำน้ำแบบ wreck diving จึงเป็นสาขาหนึ่งที่นักดำน้ำสนใจกันมากเป็นพิเศษ แต่ภายใต้ความสนุกสนานและประสบการณ์อันล้ำเลิศนั้น การดำน้ำแบบ wreck diving ก็มีความเสี่ยงที่แอบแฝงอยู่ นักดำน้ำที่ไม่มีความรู้และ/หรือประสบการณ์ อาจจะพบพานกับอันตรายที่มีอยู่มากมายตามธรรมชาติของซากโบราณวัตถุที่อยู่ใต้น้ำเป็นเวลานาน   การดำน้ำแบบนี้จึงเหมาะกับนักดำน้ำที่มีความรอบรู้ มีความเชี่ยวชาญ การเรียนวิชา wreck specialty จึงเป็นหลักสูตรยอดนิยมหลักสูตรหนึ่งในสังคมดำน้ำ ผู้เข้ามาเรียนจะได้รับความรู้และประสบการณ์เรื่องการสำรวจซาก การนำทางอย่างปลอดภัย การระมัดระวังป้องกันอันตรายต่างๆ และที่น่าสนุกตื่นเต้นคือการเรียนรู้วิธีการดำน้ำเข้าไปใต้สิ่งกีดขวางเหนือศีรษะ และการเข้าสำรวจภายในซากอย่างปลอดภัย การจบวิชานี้ จะทำให้นักดำน้ำสามารถมั่นใจได้ว่า จะดำสำรวจ ศึกษา หาประสบการณ์ในการดำน้ำตามซากต่างๆ ได้อย่างสนุกสนานและปลอดภัยได้ตลอดเวลาครับ Cr: Ryan Rod ชั้นเรียน Wreck Specialty@Suddhadib •เรียนรู้การสำรวจซากใต้น้ำ การมองหาอันตรายและจุดสนใจ •เรียนรู้เทคนิกการเข้าใจโครงสร้างของซากจนอยู่ในใจ ฝังใจ หลับตาเห็น ด้วยการฝึกวาดแผนที่ของซาก •เรียนรู้วิธีการใช้รอกและ guideline ภายใต้เหตุการณ์ฉุกเฉิน •เรียนรู้เทคนิกการปรับการจมลอย การเคลื่อนที่ สำหรับการเข้าไปใต้สิ่งแวดล้อมเหนือศีรษะ การฝึกฝนในหลักสูตรนี้ นอกจากจะทำให้ผู้เรียนเป็นนักดำน้ำที่มีความสามารถเพิ่มขึ้น มีจิตใจมั่นคง ไม่กลัวเพราะเตรียมพร้อมมาดี แล้วยังจะถ่ายโยงไปยังการใช้ชีวิตจริง ที่ต้องเตรียมการก่อนที่จะทำเรื่องสำคัญ เป็นหลักสูตรในระดับ Recreation diving ที่พัฒนานักดำน้ำ ยกระดับการตระหนักรู้ถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้อย่างดีครับ #WeDiveForAGreaterLife Cr: Kittithat Gle Srifa

อ่าน Wreck Specialty

หลักสูตร Tec 40

เป็นก้าวแรกสู่การเข้าสู่โลกของการดำน้ำที่ฉีกแนวการดำน้ำทั่วไป ถึงแม้ยังเป็นการดำน้ำแบบนันทนาการ (PADI จึงตั้งชื่อคอร์สเหล่านี้ว่า TecRec) แต่การดำน้ำแบบ Technical นั้นต้องใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์มากขึ้นอีกหลายเท่า ถึงแม้จะมีอีกหลายหลักสูตรในกลุ่ม TecRec ของ PADI แต่หลักสูตรแรกนี้จะวางพื้นฐานสำคัญในการก้าวต่อไปในโลกของการดำน้ำแบบเทคนิคอลให้กับผู้เรียน ความสามารถที่ได้จากการเรียนรู้และฝึกฝน (และเอาไปใช้จริงหลังจากเรียนจบ) จะมีประโยชน์มากในการเป็นนักดำน้ำที่ดี ปลอดภัย และเคร่งครัดต่อมาตรฐาน และจะยิ่งพัฒนามากขึ้นอีกเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น มีการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป ความรู้อย่างเดียวนั้น เทียบไม่ได้กับการมีประสบการณ์จากความรู้นั้น นักกีฬาที่เก่งกาจนั้น ทุกคนรู้ดีว่าต้องจัดการกับอารมณ์ต่างๆ เวลาแข่งขัน แต่เรายังเห็นนักกีฬาชั้นยอดในระดับโลกทั่วไปที่จัดการไม่ได้ สาเหตุก็เพราะพวกเขาไม่ได้ไปเรียนรู้ ฝึกฝน เพื่อให้เกิดความสามารถนั้น แค่รู้ แต่ทำไม่ได้ ในการดำน้ำก็เช่นกัน ทุกคนรู้ว่าการดำน้ำให้ปลอดภัย การหลีกเลี่ยงอันตราย การแก้ปัญหาใต้น้ำควรทำอย่างไร แต่ก็เช่นเดียวกันกับนักกีฬาที่เข้าแข่งขัน แค่รู้ คงไม่สามารถทำได้ดีภายใต้สถานการณ์จริง การเรียนหลักสูตรนี้ ระดับนี้ จึงมีประโยชน์ต่อการเป็นนักดำน้ำทุกระดับมากมายครับ

อ่าน หลักสูตร Tec 40

การดำน้ำ ช่วยให้ใช้ชีวิตเป็น และเข้าใจชีวิตมากขึ้น

จะว่าไปแล้ว ทักษะทุกอย่างในการใช้ชีวิต เมื่อเราทำเป็นประจำจนเกิดความเชี่ยวชาญ และพัฒนากลายเป็นความคุ้นเคย ย่อมน่าจะส่งผลให้เราได้รับประโยชน์อื่นๆ นอกเหนือจากทักษะที่เพิ่มขึ้น เราจึงสงสัยใคร่รู้ว่า สำหรับการดำน้ำ Scuba นั้น จะมีผลดีในด้านอื่น สำหรับผู้ที่นิยมชมชอบไปดำน้ำเป็นร้อยครั้งพันครั้งหรือไม่ ซึ่ง AWAY ได้รับเกียรติจาก ดร.พิชิต เมืองนาโพธิ์ หรือครูเบิ้ม นักจิตวิทยาการกีฬา และยังเป็น dive instructor ที่มีประสบการณ์ ในการดำน้ำมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี มาร่วมสนทนาพูดคุยในประเด็นที่เราสงสัย “หากจะถามว่า ทักษะในการดำน้ำมีผลต่อวิถีการใช้ชีวิต ช่วยให้ใช้ชีวิตได้ดีขึ้นหรือไม่นั้น คงต้องยกตัวอย่างในเรื่องของคนที่ขับรถ กับคนที่ไม่ได้ขับรถก่อน เพราะคนที่ขับรถ ย่อมต้องมีการวางแผนการเดินทางใช่ไหมครับ ว่าจะไปไหน เลือกใช้เส้นทางไหนถึงจะดี คือคนขับรถที่ดีมักมีการเตรียมการ คิด และวางแผนล่วงหน้า จนเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว คนที่ดำน้ำก็จะมีลักษณะที่คล้ายกัน แต่ที่พิเศษกว่าคือจะมีการเน้นในเรื่องประเด็นของ ความปลอดภัยมากกว่า เน้นเรื่องการให้ความสำคัญในการมีสมาธิ เพราะฉะนั้น ทักษะที่เกิดขึ้น จนกลายเป็นอุปนิสัย เป็นทักษะที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการคิดแล้ว คือสามารถทำได้ทันที เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ หรือมีผลกับเรื่อง ความปลอดภัย คนที่ดำน้ำมามากๆ จะมีทักษะในเรื่องนี้ค่อนข้างดีกว่าคนทั่วไป คือจะใจเย็น มีสติและมีสมาธิที่ดี สามารถควบคุมอารมณ์ได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ ที่ไม่คาดคิดขึ้นอย่างทันท่วงที และโดยเฉพาะนักดำน้ำที่พัฒนาจากนักดำน้ำทั่วไป มาเป็น dive master ในส่วนนี้จะเห็นได้ชัดเจน พูดได้เลยว่าทั้ง 100% เต็ม อุปนิสัยการใช้ชีวิตจะเปลี่ยนไปเลย จะกลายเป็นคนละคน รู้จักดูแลตัวเอง และห่วงใย คนอื่นมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการดำน้ำถูกสอนให้ต้องคอยดูแลบัดดี้ ไม่ปล่อยให้ คนที่อยู่ตรงหน้าเราต้องคลาดสายตา และด้วยหน้าที่ของคนที่มาเป็น dive master ที่ต้องเป็นครูสอนในเรื่องทักษะการดำน้ำ ก็จะมีความใจเย็น เข้าใจความแตกต่างของคน แต่ละคน รู้ว่าบางคนเขาใจร้อน บางคนเขาไม่มีกำลังใจ ก็ต้องหาวิธีที่จะช่วยให้เขา สามารถมีทักษะในการดำน้ำที่ดีจนได้ ถือว่าก้าวสู่การเติบโตเป็นคนที่มีความเมตตาสูง ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการได้เริ่มมาดำน้ำ ย่อมเป็นพื้นฐานในการปรับเปลี่ยนอุปนิสัย หลายๆ อย่าง ให้ใจเย็น กลายเป็นคนไม่เร่งรีบในการตัดสินใจ มีความใส่ใจ ที่จะดูแลคนอื่นมากขึ้น อีกส่วนหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือเรื่องระบบการหายใจ เพราะการดำน้ำนั้น ต้องหายใจ เข้าออกให้เหมาะสม และส่วนมากจะเป็นการหายใจยาว ลึก ช้า และสม่ำเสมอ ซึ่งจากประสบการณ์ของผมที่มีโอกาสได้สอนคนที่มาเรียนดำน้ำ พบว่าคนเมือง ส่วนใหญ่หายใจสั้นมากๆ จนเป็นปกตินิสัย การหายใจสั้นนั้น ส่วนหนึ่งก็น่าจะมาจาก ภาวะความเครียดจากการทำงาน ซึ่งบางคนอายุยังน้อยมากแค่ 20 ต้นๆ เท่านั้น แต่หายใจสั้นเหมือนคนแก่เลย แต่หลังจากที่ได้มาเรียนดำน้ำแล้ว ก็จะค่อยๆ มีการควบคุมการหายใจที่ดีขึ้น ใจเย็นขึ้น ผ่อนคลายมากขึ้น…

อ่าน การดำน้ำ ช่วยให้ใช้ชีวิตเป็น และเข้าใจชีวิตมากขึ้น
ภาพนักดำน้ำกำลังตัดเชือกลอบที่มาพันกับสายทุ่น

วันที่เจอเชือกลอบติดสายทุ่น

โดยปกติก่อนลงน้ำ เราก็จะมี mindset ไว้ว่า จะเผชิญหน้ากับความลึกด้วยจิตใจที่สงบ ผ่อนคลาย มีการฝึก psychological skill บางอย่างที่ประยุกต์มาจากโลกของกีฬามาใช้ก่อนลงเสมอ และมันก็ใช้ได้จริงเวลามีเหตุขึ้นมา

อ่าน วันที่เจอเชือกลอบติดสายทุ่น

การออกกำลังกายก่อน ระหว่าง และภายหลังการดำน้ำ

จากการศึกษาวิจัยในระยะหลังได้พบว่าความสัมพันธฺ์ระหว่างการออกกำลังกายกับการดำน้ำมีแนวทางอย่างไรบ้าง ซึ่งเรื่องการออกกำลังกายกับโอกาสเกิดโรคจาการลดความกดนั้นยังเป็นเรื่องที่ไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ไม่ใช่เพียงแต่เรื่องระยะเวลาระหว่างการออกกำลังกายและการดำน้ำเท่านั้น แต่ประเภท และความเข้มข้นของการออกกำลังกายก็ยังเป็นเรื่องที่ยังไม่แน่นอน คำแนะนำในช่วงก่อนหน้านี้ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จากหลักฐานทั่วไปและจากการคาดหมายจากวิชาการด้านชีวกลศาสตร์และชีวเคมี นอกจากนั้น เนื่องจากโรคจากการลดความกดนั้นเป็นเรื่องคาดเดาหรือทำนายได้ยากภายใต้การดำน้ำแบบระมัดระวังของการดำน้ำแบบนันทนาการ การจะกล่าวถึงอิทธิพลของการออกกำลังกายเรื่องเดียวจึงเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินได้ การออกกำลังกายนั้นมันมีผลทำให้เกิดการเพิ่มของอาการ หรือว่ามันเป็นการลดลงของอาการ เราก็ยังไม่รู้แน่ชัด แต่อย่างไรก็ดี ยังมีหลักฐานเกิดขึ้นมาซึ่งอาจจะทำให้เกิดการแนะแนวทางได้ ไม่นานมานี้ นักวิจัยได้ค้นพบข้อเท็จจริงบางอย่างเกี่ยวกับการออกกำลังกายและการดำน้ำ ซึ่งผลการวิจัยนี้น่าจะช่วยนักดำน้ำแบบนันทนาการวางแผนเวลาระหว่างการดำน้ำละการออกกำลังกายของตนได้อย่างมั่นใจ เมื่อพูดถึงการออกกำลังกาย ก็มีนักดำน้ำสองกลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือพวกคลั่งไคล้ความฟิตที่ต้องการออกกำลังกายทุกเวลาและโอกาสที่ทำได้ ความสนใจของนักดำน้ำกลุ่มนี้คือการลดการออกกำลังหรืออย่างน้อยไม่ออกกำลังมากเกินจนเกิดโรคได้ อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ต้องการรักษาสุขภาพหรือรวมเอากิจกรรมดำน้ำเข้ากับกิจกรรมทางกายอื่นๆ กลุ่มนี้จะต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของการเกิดโรคจากการลดความกด คำแนะนำต่อไปนี้จึงมุ่งตอบโจทย์ของนักดำน้ำสองกลุ่มนี้ เรื่องทั่วไป: สมรรถภาพทางกายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักดำน้ำแบบนันทนาการ ทำให้เกิดความปลอดภัยและความสนุกสนาของกิจกรรมในเวลาเดียวกันก็จะช่วยป้องกันโรคจากการลดความกด ประเภทการออกกำลัง: การออกกำลังแบบแอโรบิกความหนักปานกลาวงที่ไม่เกี่ยวกับการรับแรงรับน้ำหนักของกล้ามเนื้อและข้อต่อเป็นวิธีที่เหมาะสมท การเคลื่อนไหวรวดเร็ว (รอบขาสูงๆ) ของระยางค์ควรหลีกเลี่ยง ออกกำลังก่อนและหลังการดำน้ำ: ควรหลีกเลี่ยงเป็นเวลาสี่ถึงหกชั่วโมงก่อนและหลังการดำน้ำ ก่อนหน้านี้ มันถูกกำหนดไว้ว่าเป็น 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ การออกกำลังกายระหว่างการดำน้ำ: เป้าหมายคือการลดการสะสมแก๊สและทำให้การคลายแก๊สดีที่สุดในสภาวะที่จะมีโอกาสเกิดฟองอากาศน้อยที่สุด การออกแรงให้น้อยที่สุดจึงควรทำระหว่างช่วงการสะสมแก๊ส (ขณะที่ดำลงและช่วงเวลาใต้น้ำ) การออกแรงน้อยๆ ที่ไม่รุนแรงมากเกินไป (ขยับแขน ขา ว่ายน้ำเบาๆ) เป็นเรื่องที่ควรจะทำในช่วงคลายแก๊ส (ระหว่างขึ้นและการทำเซฟตี้สตอป) อย่างไรก็ดี ต้องระวังเมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำแล้วว่าจะต้องหลีกเลี่ยงการยกของหนักขึ้นบันได หลีกเลี่ยงการรับน้ำหนักที่แขนขาและข้อต่อ ควรถอดอุปกรณ์หนักๆ ถ้าทำได้ เช่นการส่งอุปกรณ์ให้กับคนบนเรือก่อนที่จะขึ้นบันได จากนั้นให้ผ่อนคลายให้นานที่สุดก่อนที่จะเริ่มทำงานอื่นๆ เช่นถอด เปลี่ยน อุปกรณ์ ยกของ หรือทำความสะอาด การออกกำลังกายระหว่างดำน้ำ: ให้ทำตัวให้อบอุ่นและรักษากิจกรรมทางกายเบาๆ ระหว่างและหลังการดำน้ำ การทำแบบนี้จะช่วยให้การคลายแก๊สออกได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น การนอนหลับทันทีหลังจากการดำน้ำไม่ใช่เรื่องที่ควรทำเพราะการไหลเวียนโลหิตอาจจะถูกขวางกั้นได้และหากมีอาการจากโรคลดความกดก็จะไม่รู้สึกตัว นอกจากนั้นยังมีผลการศึกษาของงานวิจัยอีกหลายงานที่ให้คำแรนะนำ การศึกษาในสัตว์ที่นอร์เวย์แสดงว่าหนูที่ออกกำลังกาย 24 ชม. ก่อนการดำน้ำมีฟองอากาศในเส้นเลือดดำน้อยกว่า ซึ่งถึงแม้ฟองอากาศเหล่านี้ไม่ได้เป็นเหตุโดยตรงของโรคลดความกด แต่แสดงให้เห็นว่าร่างกายมีความเครียดจากการลดความกดน้อยกว่าและเป็นปัจจัยที่นำมาใช้เปรียบเทียบระหว่างรูปแบบการดำน้ำที่ระมัดระวังหรือไม่ได้ นักวิจัยกลุ่มเดียวกันได้พบเพิ่มเติมจากงานวิจัยต่อเนื่อง ว่าผลสามารถใช้กับมนุษย์ได้ ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบหนักสลับพักสั้นๆ ด้วยการวิ่งบนลู่กลเป็นเวลา 40 นาที โดยทำ 24 ชั่วโมงก่อนการดำน้ำ 18 เมตร 80 นาทีในห้องปรับความดัน ผลออกมาว่าทำให้เกิดการลดฟองอากาศในหัวใจ จากนั้นมา การแข่งขันกันศึกษาว่าเวลาที่เหมาะสมของการออกกำลังกายก่อนการดำน้ำควรจะเป็นเท่าไรก็เริ่มขึ้น การศึกษาของนักดำน้ำทหารเรืออเมริกันทดสอบการออกกำลังกายเป็นเวลา 45 นาที สองชั่วโมงก่อนการดำน้ำ ใช้รูปแบบการออกกำลังกายต่างจากเดิมนิดหน่อย และดำน้ำลึก 30 เมตรเป็นเวลา 30 นาที ผลจองงานวิจัยนี้ยังพบว่ามีการลดระดับของฟองอากาศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นักวิจัยสรุปว่าการออกกำลังกายใกล้การดำน้ำเพียง 2 ชั่วโมงอาจจะคาดหมายว่าจะลดจำนวนของฟองอากาศ และลดโอกาศที่จะเกิดโรคจากการลดความกดได้ จากนั้นมีนักวิจัยของฝรั่งเศสทำการทดลองที่เข้มข้นกว่านั้นอีกด้วยการออกกำลังหนึ่งชั่วโมงก่อนการดำน้ำและสังเกตปริมาณฟองอากาศขณะที่ขึ้นมาจากน้ำ และเช่นเคย นักวิจัยพบว่ามีการลดของฟองอากาศทั้งระดับและปริมาณ ในปี 2006 นักดำน้ำกลุ่มหนึ่งทดลองออกกำลังกายเป็นเวลา 10 นาทีหลังจากการขึ้นมาจากน้ำที่ความลึก 30 เมตรเป็นเวลา 30 นาที หลังจากการใช้เครื่อง Doppler…

อ่าน การออกกำลังกายก่อน ระหว่าง และภายหลังการดำน้ำ