การดำน้ำด้วยอุปกรณ์ Sidemount

การดำน้ำแบบนี้ จะใช้ถังอากาศไปอยู่ด้านข้างของลำตัวนักดำน้ำ แตกต่างกับการใช้อุปกรณ์ปกติ ที่ถังอากาศจะอยู่บนหลังของนักดำน้ำ วิธีการนี้มีใช้กันมานานแล้วในหมู่นักดำน้ำในถ้ำหรือในเรือจม ที่จำเป็นจะต้องเข้าไปในที่คับแคบ ถังดำน้ำบนหลังของนักดำน้ำอาจจะเป็นอุปสรรคในการมุด ลอด ช่องต่างๆ ได้ ในระยะหลัง การใช้อุปกรณ์ sidemount ได้เกิดเป็นที่นิยมในหมู่นักดำน้ำทั่วไปที่ไม่ได้เป็นนักดำน้ำในถ้ำหรือในเรือจม เนื่องจากระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดำน้ำแบบนี้ได้เสนอทางเลือกให้ทำอะไรได้มากกว่า และที่สำคัญคือทำให้การลู่น้ำ (stremeline) ของนักดำน้ำดีกว่ามาก นักดำน้ำที่มีข้อจำกัด ไม่สามารถแบกถังอากาศหนักๆ ก่อนจะลงน้ำได้ สามารถใช้อุปกรณ์แบบนี้ลงไปใส่ถังอากาศในน้ำได้อย่างง่ายดาย การใช้อุปกรณ์แบบนี้ทำให้ดำน้ำได้ด้วยถังอากาศใบเดียว หรือหลายๆ ใบ ตามความจำเป็นได้โดยง่าย และการลู่น้ำที่มากกว่าจากการใช้อุปกรณ์แบบนี้ ทำให้นักดำน้ำรู้สึกอิสระ คล่องตัว เคลื่อนไหวไปในน้ำได้อย่างลื่นไหล โดยนักดำน้ำทุกคนที่ทดลองเรียนและดำน้ำด้วยอุปกรณ์ sidemount จะพูดกันเสมอว่ามันทำให้รู้สึกดีและสนุกกับการดำน้ำมากกว่า เมื่อเราไปถามนักดำน้ำ sidemount ว่าอะไรที่พวกเขาชอบมากที่สุดกับการดำน้ำแบบนี้ เรามักจะได้คำตอบคล้ายคลึงกันว่า ‘Freedom” เพราะการดำน้ำแบบ sidemount นี้จะคล้ายกับ Freediving อย่างมาก นั่นคือนักดำน้ำจะรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับผืนน้ำ สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระในทุกทิศทาง ความรู้สึกอิสระภายใต้ภาวะไร้น้ำหนักนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การดำน้ำแบบ sidemount นี้เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในยุคหลังนี้ คุณประโยชน์หลักๆ ของการดำน้ำแบบ sidemount มีดังต่อไปนี้ การลู่น้ำ การทำให้ตัวลู่น้ำนั้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการดำน้ำ เพราะถ้าเราต้องต้านกระแสน้ำตลอดเวลา นอกจากจะใช้อากาศเปลืองกว่าแล้ว สิ่งสำคัญมากกว่านั้นคืออาจจะทำให้เกิดอาการเหนื่อย อาการเครียด ซึ่งจำนำไปสู่ปัญหาใหญ่ๆ อีกมากมายขึ้นมากได้ อุปกรณ์ sidemount ที่ติดตั้งข้างลำตัวนั้นจะช่วยลดพื้นที่ในการต้านกระแสน้ำ ผลก็คือการเคลื่อนไหวจะเบา ง่าย ลื่นไหลมากขึ้น นักดำน้ำก็จะผ่อนคลายและสบายมากขึ้นนั่นเอง การ Trim & Balance  การ Trim หมายถึงทิศทางของศีรษะและเท้า in trim คือการที่ระดับของศีรษะและเท้าอยู่ในระนาบเดียวกัน head down คือศีรษะต่ำกว่าเท้า และ feet down คือเท้าต่ำกว่าศีรษะ การที่นักดำน้ำสามารถ in trim เป็นเรื่องสำคัญในการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพใต้น้ำ ถึงแม้ว่านักดำน้ำที่ใช้อุปกรณ์ธรรมดาจะสามารถทำตัวให้ in trim ได้เช่นกัน แต่การ in trim นี้เรียกได้ว่าเป็นสัญญลักษณ์ของนักดำน้ำแบบ sidemount ที่ดี เนื่องจากในหลักสูตรการดำน้ำแบบนี้ การเรียนการสอนจะเน้นทักษะมากขึ้นกว่าการดำน้ำปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมรูปทรง ความสมดุลย์ และความมั่นคงในน้ำ (ในขณะเดียวกัน ตัวอุปกรณ์ที่มีถังอากาศอยู่ด้านข้างลำตัวนี้ จะช่วยส่งเสริมให้นักดำน้ำ in trim ได้ง่ายขึ้นอย่างมากอีกด้วย) อุปกรณ์ข้างลำตัวนี้จะช่วยให้นักดำน้ำมี balance ที่ดีกว่าด้วย เนื่องจากถังจะอยู่ต่ำและอยู่ข้างลำตัว การพลิกไปทางซ้ายหรือทางขวาก็จะยากกว่าไม่ว่าจะใช้ถังเดียวหรือถังคู่สองข้างก็ตาม (ถึงแม้ใช้ถังด้านข้างลำตัวทั้งสองข้างจะดีกว่า) อุปกรณ์ sidemount นี้จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้นักดำน้ำนิ่ง มั่นคง และลื่นไหลเวลาอยู่ใต้น้ำ…

อ่าน การดำน้ำด้วยอุปกรณ์ Sidemount

การลดความเสี่ยงต่อ DCS ด้วยการดื่มน้ำ

ถึงแม้กิจกรรมการดำน้ำจะนับได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ปลอดภัยมากที่สุดกิจกรรมหนึ่ง แต่ทุกกิจกรรมต่างก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน หลายคนคงเคยได้ยินว่า การดื่มน้ำเยอะ ๆ จะช่วยทำให้การดำน้ำปลอดภัยขึ้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องและสำคัญมาก ที่นักดำน้ำทุกคนควรระวังและป้องกันโอกาสที่เกิดจากการเจ็บป่วยจากการดำน้ำให้ได้มากที่สุด โรคจากการดำน้ำที่หลายคนกังวลคือ โรคจากการลดความกด (Decompression sickness, DCS) หรือน้ำหนีบ หรือ bend หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของ DCS ที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุดและแก้ไขง่ายที่สุดคือ Dehydration หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ภาวะการขาดน้ำ การป้องกันทำได้หลายอย่าง โดยสิ่งที่สำคัญและแก้ไขง่ายที่สุดคือการ “ดื่มน้ำ”​ คำถามคือ ทำไมเราถึง “ขาดน้ำ” ตอนดำน้ำ มีหลายปัจจัย แต่อธิบายปัจจัยหลักง่าย ๆ คือ ระหว่างการดำน้ำ 40-60 นาที เราไม่สามารถดื่มน้ำได้ และหากมีการหายใจเอาละอองน้ำทะเลหรือกลืนน้ำทะเลเข้าไปเล็กน้อย จะทำให้ร่างกายเราขาดน้ำมากขึ้นเนื่องจากน้ำทะเลมีความเข้มข้นสูงกว่าเนื้อเยื่อของร่างกายเรา การออกกำลังกายระหว่างการดำน้ำ เช่น การว่ายน้ำ จะทำให้เพิ่มการสูญเสีย เหงื่อและเสียความร้อน โดยจะมีน้ำบางส่วนออกจากร่างกายเราเพื่อดึงความร้อนออกไป ขณะเราดำน้ำ มนุษย์จะมีปฏิกิริยาตอบสนองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่เรียกว่า ​Mammalian Diving Reflex ซึ่งจะมีหลายส่วน เช่น หัวใจเต้นช้าลง เส้นเลือดส่วนปลายหดตัว เลือดเพิ่มปริมาณการเลี้ยงอวัยวะสำคัญ และม้ามบีบตัว ซึ่งมีส่วนทำให้ไตเราเข้าใจว่าปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น (จริงแล้วลดลง) จะทำให้มีการส่งสัญญาณประสาทให้กรองเลือดออกมาเป็นปัสสาวะมากขึ้น จึงไม่แปลกที่เราปัสสาวะเพิ่มขึ้นเวลาว่ายน้ำ หรือดำน้ำ โดยเฉพาะน้ำเย็นจะมีการกระตุ้น reflex นี้มากขึ้น โดยการกระตุ้นมากที่สุดจะเกิดเมื่อน้ำที่เย็นสัมผัสบริเวณหน้าซึ่งจะกระตุ้นเส้นประสาทที่เรียกว่า Trigeminal nerve ซึ่งจะทำให้ reflex นี้ชัดเจนขึ้นมากในน้ำที่เย็นขึ้น และมีการสัมผัสน้ำโดยตรงเช่น ไม่ใส่ wetsuit หรือ ใส่ wetsuit ที่บาง จากที่เราทราบกันว่า silent bubble เกิดขึ้นตลอดในทุก dive ของการดำน้ำ จะมากน้อยขึ้นกับหลายปัจจัย การทำให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เป็นสิ่งสำคัญที่ป้องกันไม่ให้เลือดอยู่ในสภาวะข้นซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด DCS ที่อวัยวะต่าง ๆ สรุป การป้องกันการเกิด DCS มีหลายวิธี ตั้งแต่ปัจจัยส่วนบุคคล หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ การดำน้ำอย่าง conservative และปัจจัยที่ดูแลง่ายที่สุดอย่างนึงคือการ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ทั้งก่อนและหลังดำน้ำถึงแม้ไม่มีข้อมูลชัดเจนเรื่องปริมาณน้ำที่ควรดื่มก่อนหรือหลังดำน้ำ แต่อย่างน้อยควรทานตั้งแต่ก่อนลงซักพักและควรดื่มน้ำอีกครั้งหลังจากดำน้ำขึ้นมาทันที เพราะ silent bubbles และอุบัติการณ์ของ DCS เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทันทีจนถึงหลายชั่วโมงหลังดำน้ำ ปกติมนุษย์ผลิตปัสสาวะ ชั่วโมงละ 1.5 ถึง 2 ml/kg/hr…. ตัวผมเองทานอย่างน้อย​ 300 –…

อ่าน การลดความเสี่ยงต่อ DCS ด้วยการดื่มน้ำ

Sliding D-ring

อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่ดูจะเหมาะสมกับการดำน้ำที่มีถังอากาศห้อยข้างๆ ลำตัว ไม่ว่าจะเป็นการห้อยถัง stage/deco ตามปกติ หรือการเอาถังไว้ข้างลำตัวเมื่อใช้อุปกรณ์แบบ sidemount ก็ตาม คือ sliding D-ring Sliding D-ring มันทำให้เราสามารถปรับให้ถังอากาศอยู่ในแนวนอนข้างลำตัวตลอดการไดว์ได้ เพราะถังอากาศอลูมีเนียมตามปกติที่เรานิยมใช้นั้น เวลาอากาศใช้ไปได้สักระยะหนึ่งมันจะลอย และชี้ปลายถังขึ้นด้านบน ทำให้เกิดการต้านน้ำ และนำไปสู่การเหนื่อย และความเครียดของนักดำน้ำในที่สุด Sliding D-ring จะช่วยให้เราสามารถเลื่อนจุดที่ติดถังอากาศไว้กับเอวของนักดำน้ำให้ลงไปได้ทุกระยะตามความมากน้อยของการลอยของถัง สะดวกกว่าการติด D-ring ปกติ ไว้เป็นระยะรอบเอวของเรา ที่จะทำให้นักดำน้ำต้องปลดและคลิปใหม่ โดยระยะห่างก็ไม่สามารถปรับได้อย่างละเอียดเหมือน sliding D-ring ส่วนนักดำน้ำที่ใช้ถัง stage/deco และมักติด D-ring เพียงตัวเดียวไว้ตรงด้านข้างของเอวเลยนั้น เวลาถังเต็มก็จะตกห้อยข้างลำตัว และเมื่อถังเริ่มลอยก็จะตั้งมากขึ้นเรื่อยๆ จนท้ายไดว์อาจจะแทบตั้งฉากเลย (มีส่วนที่ช่วยให้ลอยอีกคือหัวถังที่ไม่ได้รัดติดไหล่แบบที่ sidemount ใช้กันด้วย) การใช้ sliding D-ring ก็น่าจะเหมาะสมกับการนี้ด้วยครับ

อ่าน Sliding D-ring

PADI Self Reliant Diver

ไม่นานมานี้ ผมได้พบว่ามีหลักสูตรการดำน้ำขึ้นมาอีกหลักสูตรหนึ่งที่น่าสนใจอย่างมาก ชื่อหลักสูตร PADI Self Reliant Diver เมื่อเห็นครั้งแรก ผมรู้สึกว่าน่าสนใจมาก และคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับนักดำน้ำทุกคน รวมถึงนักดำน้ำที่เป็นมืออาชีพ เช่นผู้สอนดำน้ำหรือไดว์มาสเตอร์ เพราะการดำน้ำเป็นอาชีพนั้น โอกาสที่จะดำน้ำกับคนที่สามารถดูแลตัวเราได้อย่างดีนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นบ่อยนัก การพานักเรียนดำน้ำหรือนักดำน้ำหน้าใหม่ไปดำน้ำนั้น มีความปลอดภัยไม่ต่างกับ (หรือน้อยกว่า) ดำน้ำคนเดียวเลย แต่ถึงแม้กับนักดำน้ำทั่วไปที่ไม่ต้องทำหน้าที่ดูแลนักดำน้ำหน้าใหม่ การมีความสามารถในการดำน้ำและสามารถดูแลตนเองได้อย่างเบ็ดเสร็จนั้น จะเป็นเรื่องที่ดีงามและปลอดภัยอย่างยิ่ง ไม่ว่าเราจะดำน้ำกับกลุ่ม กับบัดดี้ หรือกับทีมดำน้ำของเรา นักดำน้ำบางคนที่ดำน้ำแล้วทำกิจกรรมบางอย่าง เช่นการถ่ายภาพใต้น้ำ การที่จะต้องรีบร้อนตามกลุ่ม หรือต้องคอยเกรงใจบัดดี้เป็นสิ่งนี่น่าลำบากใจและรำคาญใจอย่างมาก หรือนักดำน้ำบางคนที่ต้องท่องเที่ยวไปเพียงคนเดียว และไม่สามารถหาบัดดี้ที่เหมาะสมได้ในทริปนั้น การเรียนหลักสูตรนี้จะเป็นเรื่องที่ดีมาก ต่อให้ไม่ได้วางแผนจะดำน้ำคนเดียว หลักสูตรนี้ก็จะมีประโยชน์อยู่ดี มันจะสอนเราตามชื่อหลักสูตรเลย คือการเป็นนักดำน้ำที่พึ่งพาตนเองได้อย่างสมบูรณ์ สำหรับการดำน้ำตามปกตินั้น มาตรฐานทั่วไปที่เคยเป็นมาคือต้องมีการดำน้ำกับบัดดี้เสมอ ทุกคนได้รับการสอนมาตั้งแต่เรียนระดับโอเพ่นวอเตอร์ ว่าต้องดำน้ำกับบัดดี้เท่านั้นจึงจะปลอดภัย อย่างไรก็ดี มันก็มีเหตุผลที่นักดำน้ำที่มีประสบการณ์บางคนจะดำน้ำได้โดยไม่มีบัดดี้ การเรียนรู้ที่จะทำการดำน้ำคนเดียวอาจจะทำให้นักดำน้ำผู้นั้นมีความสามารถสูงกว่าในสถานการณ์การดำน้ำส่วนมาก การจะดำน้ำคนเดียวได้อย่างปลอดภัยนั้น จำเป็นจะต้องมีการฝึกฝนที่เหมาะสม มีอุปกรณ์ครบครับ และมีทัศนคติที่ถูกต้องในการยอมรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องสำหรับการดำน้ำโดยอิสระดังที่กล่าวมา นักดำน้ำที่มีประสบการณ์จะสามารถดำน้ำโดยไม่มีบัดดี้อย่างรับผิดชอบได้ การดำน้ำแบบนี้เราเรียกกันว่า Self Reliant Diving หรือการดำน้ำแบบพึ่งพาตนเอง เป็นกิจกรรมผจญภัยที่อาจจะไม่เหมาะสำหรับทุกคน แต่มันก็มีที่ของมันอยู่ในสังคมดำน้ำ หากท่านมีวินัยทางจิตใจ มีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ ฝึกฝน และทำตามเทคนิกของการดำน้ำแบบพึ่งพาตนเองแล้ว ท่านจะพัฒนาทักษะและความเชื่อมั่นในตนเองเวลาดำน้ำคนเดียว เวลาดำน้ำกับบัดดี้ หรือเวลาเป็นส่วนหนึ่งของทีม สำหรับผู้สนใจจะเรียนรู้และฝึกฝนการดำน้ำแบบนี้ ท่านจำเป็นต้องเป็นนักดำน้ำระดับ Advanced Open Water Diver หรือเทียบเท่า ต้องมีอายุมากกว่า 18 ปี และดำน้ำมาแล้วไม่ต่ำกว่า 100 dives และก่อนจะได้รับการยอมรับเข้าสู่การเรียนหลักสูตรนี้ ท่านจะถูกประเมินทักษะทั้งหมดจากผู้สอนวิชาการดำน้ำแบบพึ่งพาตนเองนี้ก่อนที่จะได้รับการยอมรับให้เข้าเรียนในหลักสูตรนี้ได้ การเรียนในหลักสูตรนี้ ผู้เรียนจะได้เรียนวิชาเกี่ยวกับความปลอดภัยในการดำน้ำในระดับสูง เช่นการวางแผนคำนวนอัตราการบริโภคอากาศของตนเอง การใช้ระบบดูแลชีวิตสำรอง และการจัดการเหตุการณ์ฉุกเฉินในการดำน้ำด้วยตนเอง ในการฝึกภาคทะเลนั้น ผู้เรียนจะได้ฝึกการดำน้ำทั้งสิ้น 3 Dives ซึ่งจะได้รับการฝึกดังนี้ ว่ายน้ำเพื่อหาอัตรการบริโภคอากาศของตนเอง และการคำนวนในภายหลัง สลับใช้แหล่งอากาศสำรองอิสระระหว่างการจำลองสถานการณ์ฉุกเฉิน ดำน้ำโดยไม่มีหน้ากาก นำทางไปยังจุดหมายต่างๆ รวมถึงไปยังที่ที่จะขึ้นจากน้ำ การใช้ Delay Surface Marker Buoy (DSMB) เวลาไปเรียนจริงๆ หลักสูตรนี้จะสนุกและน่าสนใจมาก ผู้เรียนจะได้ใช้อุปกรณ์สนุกๆ ที่จะทำให้ดำน้ำปลอดภัยกว่าเดิม เช่นการห้อยถังอากาศไปอีกใบหนึ่ง และฝึกฝนจนรู้สึกว่ามันลู่น้ำ ง่ายดาย ไม่ได้เกะกะอะไรเลย ผู้เรียนจะได้ฝึกการยิง Safety Sausage ได้ในระดับเทพ ในขณะรักษาความลึกไว้ที่เดิม ไม่ว่าจะตัดสินใจยิงมันในความลึกใดก็ตาม เรื่องน่าสนใจมากๆ อีกเรื่องหนึ่งคือผู้เรียนจะหัดคำนวนอัตราการบริโภคอากาศของตนเอง จนกระทั่งสามารถนำมาใช้ในการวางแผนหาเวลา dive time ของการดำน้ำในแต่ละครั้งได้อย่างแม่นยำ ยังมีเรื่องอีกมากมาย…

อ่าน PADI Self Reliant Diver

กระแสน้ำแนวตั้ง (Vertcal Current)

ในชั้นเรียนดำน้ำ เราเคยเรียนการจัดการกับกระแสน้ำกันทุกคน ว่าให้เริ่มดำน้ำไปในทิศทางสวนกระแสน้ำ และกลับมาในทิศทางตามกระแสน้ำ หากกระแสน้ำนั้นไม่รุนแรงเกินไป แต่ในบางกรณี เราอาจจะพบกับกระแสน้ำในรูปแบบอื่น ไม่ใช่การพัดไปในแนวนอนแบบที่เราเคยเรียนรู้กันมา เข่น กระแสน้ำแนวตั้ง หรือที่เรียกกันว่า Vertical current กระแสน้ำแนวตั้งนี้ทั่วไปมีสองแบบ คือกระแสน้ำดึงขึ้น (Upwelling) และกระแสน้ำดันลง (Downwelling) ซึ่งการพบกับกระแสน้ำแบบนี้จะดูเป็นเรื่องตื่นเต้น ท้าทายกว่าการดำน้ำทั่วไป และอาจจะไม่เหมาะกับนักดำน้ำมือใหม่ ประสบการณ์และการเรียนรู้ยังน้อยครับ การเกิดกระแสน้ำแนวตั้งนั้นอาจจะมีปัจจัยหลากหลายแตกต่างกัน โดยส่วนมากมักจะในสถานที่ที่มีการทำให้เกิดการขวางทางของกระแสน้ำ เช่นตามกำแพงใต้น้ำ ซากเรือจมที่ขวางเส้นทางน้ำ หรือจากสภาพทางภูมิศาสตร์ ที่มีพื้นที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างกันอย่างมาก เป็นต้น กระแสน้ำกดลงนั้น จะกดเราลงไปลึก ไม่สามารถขึ้นสู่ความตื้นได้ จะทำให้เกิดปัญหาการดำลึกเกินแผนที่วางไว้ หรือเกินกำหนดของตารางดำน้ำ ส่วนกระแสน้ำดันขึ้นนั่นจะยิ่งอันตรายกว่า เพราะมันจะดันตัวนักดำน้ำขึ้นมาอย่างรวดเร็วสู่ผิวน้ำ และนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับโรค DCI การที่เราจะแก้ไขสถานการณ์ก็จำเป็นต้องตัดสินใจอย่างแน่นอน รวดเร็ว หากพบกับกระแสน้ำแนวตั้ง โดยทั่วไปนักดำน้ำควรแก้ไขด้วยการถอยกลับมาและว่ายกลับไปในทิศทางเดิม หากพบว่าตนตกอยู่ในการดูดลงหรือดันขึ้นของกระแสน้ำ ให้รีบหนีออกมาให้พ้นก่อนที่แรงดูดหรือดันจะแรงเกินไป สำหรับกระแสน้ำดันลง สิ่งแรกที่ต้องทำคือทำใจให้สงบ และตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างรวดเร็ว สิ่งที่ต้องทำคือให้ว่ายขึ้นเฉียงประมาณ 45 องศาในทิศทางออกจากกระแสน้ำ เติมลมเข้าใน BCD โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมากเกินไป เราจะสามารถจัดการกับมันได้ภายหลังจากเราแก้ไขสถานการณ์ได้แล้ว เพียงแต่ให้ถือ Inflator ไว้เตรียมที่จะปล่อยลมเมื่อเราพ้นจากเงื้อมมือของกระแสน้ำแล้ว นอกจากนั้น หากเราไม่สามารถขึ้นได้ด้วยวิธีนี้เพราะกระแสน้ำกดแรงเกินไป เราก็จะต้องคิดถึงการเกาะกับวัตถุใต้น้ำที่ทำให้เราสามารถดึงตัวขึ้นมาได้ ภายใต้กระแสน้ำกดลงนี้ โอกาสเดียวของเราคือออกมาให้พ้นจากแรงกดของมัน โชคดีที่ธรรมชาติของกระแสน้ำกดลงนี้ กระแสจะอ่อนกำลังลงเมื่อลงไปลึกมากขึ้น บางสถานการณ์เราต้องปล่อยตัวให้ไหลไปกับมันและขึ้นมาเมื่อกระแสน้ำเบาลงพอ ความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นคือนักดำน้ำไปว่ายต้านกระแสน้ำจนออกแรงเกินความสามารถของตนเอง และนำไปสู่อาการทางกายคือเหนื่อยเกินไป หรืออาการทางใจคือตกใจ สำหรับกระแสน้ำดันขึ้น อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือการถูกทำให้พุ่งขึ้นสู่ความตื้นด้วยความเร็วที่สูงเหินไป อาจจะก่อให้เกิดโรคเบนด์หรือการบาดเจ็บจากการขยายตัวของอากาศได้ เมื่อเราเจอกระแสน้ำดันขึ้น เราต้องทำใจให้สงบ และว่ายออกไปจากกระแสน้ำนั้นด้วยเทคนิคการว่ายลงเป็นมุม 45 องศาในขณะเดียวกันก็ปล่อยลมออกจากบีซีดีด้วย ถ้าบีซีดีของเราเป็นแบบมี Dump Valve ด้านล่างก็จะทำให้การปล่อยลมนี้สะดวกขึ้น ให้ว่ายไปแบบนี้เรื่อยๆ จนกว่าจะพ้นจากกระแสน้ำ เมื่อพ้นแล้ว ควรหยุดทำ Safety Stop ในความลึกนั้นสักครู่สั้นๆ และขึ้นตามปกติต่อไป กระแสน้ำแนวตั้งนี้มีไม่มากนัก เราควรศึกษาว่าสถานที่ใดมีกระแสน้ำดังกล่าวนี้ และระมัดระวังเมื่อไปดำน้ำตามสถานที่เหล่านั้นครับ แหล่งความรู้: Dive Training magazine

อ่าน กระแสน้ำแนวตั้ง (Vertcal Current)

ทำไมถึงจะอยากเป็นนักดำน้ำแบบเทคนิคอล?

ดำน้ำเทคนิคอลเป็นอย่างไร ? เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า เราสามารถเป็นนักดำน้ำชั้นยอดที่ประสบความสำเร็จในการดำน้ำตลอดชีวิตโดยไม่ต้องดำน้ำแบบเทคนิคอล การเป็นนักดำน้ำแบบนันทนาการนั้นเป็นเรื่องยอดเยี่ยมอยู่แล้ว แต่สำหรับคนบางประเภท ที่มีความรู้สึกอยากจะสำรวจ ค้นหา มากไปกว่าภายใต้ขีดจำกัดของการดำน้ำแบบนันทนาการทั่วๆไป ในโลกใต้น้ำยังมีเรือจมที่น่ามหัศจรรย์ ที่ผู้คนไม่ค่อยมีโอกาสได้ไปสัมผัส จมอยู่อีกมากมายในที่ลึก มีแนวปะการังน้ำลึกที่มีสัตว์ทะเลที่ยากจะพบพานที่เราจะไม่เจอในที่ตื้นกว่านั้น นักดำน้ำบางคนก็ชื่นชอบกับความท้าทายและสมาธิที่ต้องใช้ในการดำน้ำประเภทนี้ หรือบางคนก็ชอบมากที่จะดำน้ำด้วยอุปกรณ์และกระบวนการที่ทันสมัย หลายคนมีความต้องการที่จะนำเอาความรู้ความสามารถและทักษะของการดำน้ำแบบเทคนิคอลนี้ไปถ่ายโยงใช้กับการทำงานและชีวิตประจำวัน เหตุผลเหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้การดำน้ำแบบเทคนิคอลดึงดูดใจนักดำน้ำหลายคน การดำน้ำแบบเทคนิคอลต้องใช้ความพยายาม วินัย และอุปกรณ์ที่มากกว่าการดำน้ำแบบนันทนาการทั่วๆไป ซึ่งหมายความว่ามันไม่ได้เหมาะกับทุกคน แต่สำหรับท่านที่มีความใฝ่ฝันที่จะฝึกฝน ชอบความท้าทาย มีความทุ่มเทในการฝึกฝนตนเอง การเรียนและการดำน้ำแบบเทคนิคอลนี้จะให้รางวัลแก่ชีวิตของท่านอย่างไม่น่าเชื่อ ก้าวแรกของการเริ่มต้นทำอย่างไร? PADI มีหลักสูตรที่น่าสนใจ ที่เริ่มต้นอย่างนุ่มนวล สะดวก สบาย สำหรับท่านที่ต้องการก้าวผ่านประตูไปสู่โลกของนักดำน้ำแบบเทคนิคอลนี้ ด้วยหลักสูตรเบื้องต้น ที่เรียกกันว่าหลักสูตร “Tec 40” หลักสูตรนี้จะเป็นสะพานอันเรียบง่ายและงดงามในการเชื่อมระหว่างการดำน้ำแบบนันทนาการไปสู่การดำน้ำแบบเทคนิคอล ผู้เรียนจะได้รับการฝึกทักษะ ความรู้ ความสามารถอย่างค่อยเป็นค่อยไป ได้สร้างพื้นฐาน ฝึกทักษะกลไก (Motor Skill) และฝึกสภาพจิตใจ ในการที่จะก้าวไปเป็นนักดำน้ำเทคนิคอลชั้นดีต่อไป เมื่อจบการเรียนหลักสูตร Tec 40 ผู้เรียนจะมีศักยภาพในการดำน้ำลึกถึง 40 เมตรด้วยการใช้อากาศปกติหรืออากาศที่มีความเข้มข้นของอ๊อกซิเจนสูง (Enriched Air) สามารถดำน้ำแบบ Decompression ได้ถึง 10 นาที และสามารถใช้ Enriches air nitrox ได้ถึง 50% ในการทำ Decompression เพื่อให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น นักดำน้ำที่จบหลักสูตร Tec 40 จะมีศักยภาพในการดำน้ำที่สนุกและท้าทายกว่าเดิม จะได้ไปยังสถานที่ที่น่าตื่นเต้น แปลกใหม่ และมีความพร้อมทั้งทักษะ ร่างกาย และจิตใจที่จะก้าวต่อไปในหลักสูตรขั้นสูงยิ่งขึ้นครับ

อ่าน ทำไมถึงจะอยากเป็นนักดำน้ำแบบเทคนิคอล?

PADI TecRec มันคืออะไร

หลักสูตรการเรียนดำน้ำแบบเทคนิคอลนี้เป็นหลักสูตรระดับเริ่มต้นของการดำน้ำแบบเทคนิคอลด้วยอุปกรณ์ระบบเปิด (Open circuit) หากจะดูจากความหมายของคำว่าเทคนิคอลไดว์วิ่งแล้ว มันหมายความว่าเป็นการดำน้ำที่นำนักดำน้ำไปเกินขีดจำกัดของการดำน้ำแบบนันทนาการ (Recreational Diving) การดำน้ำแบบเทคนิคอลนั้นใช้กระบวนการดำน้ำในระดับสูง ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า และมีการฝึกฝนอย่างหนักเพื่อจะจัดการกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงอันดับต้นๆ ของการดำน้ำแบบเทคนิคอลก็คือการที่ไม่สามารถจะขึ้นสู่ผิวน้ำได้ทันทีในทุกเวลาเนื่องจากในการดำน้ำแบบนี้จะมี “เพดาน” ที่มองไม่เห็นแต่ถูกกำหนด อันเกิดจากความจำเป็นที่ต้องทำการลดความกด (Decompression) หรือแม้กระทั่งการมี “เพดาน” จริงๆ ที่จับต้องได้เช่นการอยู่ในถ้ำหรือในเรือจม นักดำน้ำส่วนมากดำน้ำแบบเทคนิคอลเพราะความสนุกและท้าทายมากกว่าที่จะทำเป็นอาชีพ เราจึงเรียกการดำน้ำแบบนี้ (ที่เป็นการดำระดับเทคนิคอล แต่ไม่ใช่เพื่ออาชีพ) ว่าเป็นการดำน้ำแบบนันทนาการอยู่ แต่เนื่องจากระดับการดำน้ำที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ เทคนิค และการฝึกฝนในระดับสูงทำให้การดำน้ำแบบนี้ถูกจัดให้เป็นแบบเทคนิคอล เพื่อป้องกันความสับสนเกี่ยวกับขีดจำกัด จึงเกิดคำว่า TecRec ขึ้นมาโดย PADI TecRec ถูกก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 2000 โดยใช้ชื่อว่า Tec Deep Diver Course และได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมดำน้ำทั่วโลกว่าเป็นหลักสูตรการดำน้ำแบบเทคนิคอลระดับเบื้องต้นที่เข้มข้นและน่าเชื่อถือมากที่สุดหลักสูตรหนึ่ง หลักสูตรนี้แต่เดิมมีสองหลักสูตรย่อยอยู่ในตัวของมัน คือหลักสูตร Tec Deep Diver Course (12 dives) และหลักสูตรย่อยชื่อว่า Apprentice Tec Diver Course หลักสูตรนี้ในภายหลังถูกตั้งชื่อใหม่ว่าหลักสูตร Tec Diver Level 1 และในที่สุด ก็ถูกแบ่งออกไปอีก (dive 1 & 2) เป็นหลักสูตร Tec Basics ในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงชื่อของหลักสูตร โดยหลักสูตร Tec Deep Diver นั้นเปลี่ยนเป็น Tec 50 (เพราะมีขีดจำกัดของความลึกที่ 50 เมตร) และก็มีหลักสูตรย่อยก่อนหน้าที่จะจบหลักสูตรนี้อีกสองหลักสูตร (คือ Tec 45 และ Tec 40) โดยจุดมุ่งหมายของ PADI เพื่อสร้างหลักสูตรที่เล็กกว่า ง่ายต่อการจัดการ และขยายความสามารถ ขยายคุณสมบัติในแต่ละระดับที่เรียน วิธีการนี้ซึ่งเป็นวิธีการปกติในการดำเนินการทั้งในวงการดำน้ำและในด้านอื่นๆ ทำให้ผู้เรียนสร้างศักยภาพของตนอย่างเป็นลำดับขั้นตอนและได้รับผลประโยชน์เต็มที่จากแต่ละขั้นของการฝึกฝน อย่างไรก็ดี เป้าหมายหลักในการบรรลุถึงระดับ Tec 50 นั้นก็ยังคงอยู่โดยไม่เปลี่ยนแปลง

อ่าน PADI TecRec มันคืออะไร
Petchburi Bremen Wreck - Marlin Divers

เรือจม “เพชรบุรี เบรเมน” หรือเรือ ”แก้วสมุทร”

เรือ “เพชรบุรี เบรเมน” ถูกรัฐบาลสยามเปลี่ยนชื่อเป็น “แก้วสมุทร” อัปปางลงบริเวณระหว่างเกาะอีร้าและเกาะคราม ความยาวเรือ 88.5 เมตร ยาวกว่าเรือจมสุทธาทิพย์ถึงสิบเมตร สภาพของเรือในปัจจุบัน มีปะการังเกาะหนาแน่น มีอุปกรณ์ต่างๆ อยู่ค่อนข้างครบครัน

อ่าน เรือจม “เพชรบุรี เบรเมน” หรือเรือ ”แก้วสมุทร”
Petchburi Bremen Wreck - Marlin Divers

เรือจม “เพชรบุรีเบรเมน”

เรือเพชรบุรีเบรเมนจมลงเมื่อประมาณ พ.ศ. 2463 จุดน่าสนใจของเรือลำนี้มีอยู่มากมาย ห้องระวางและรอกกว้านสินค้าสามชุดยังคงตั้งอยู่อย่างสมบูรณ์ สัตว์ทะเลมีมากมายหลายชนิด มากกว่าเรือจมลำอื่นๆ ที่นักดำน้ำนิยมไปดำกัน

อ่าน เรือจม “เพชรบุรีเบรเมน”

ระบบการคำนวณของ Dive Computer

รูปแบบของการคำนวณ ปริมาณไนโตรเจนในร่างกาย ของ dive computer นั้น ไม่ได้แตกต่างไป กับที่ใช้ในตารางดำน้ำ หรือจาก The Wheel แต่อย่างใด เพียงแต่ dive computer จะคำนวณจากความลึก และเวลาจริงที่นักดำน้ำทำการดำน้ำ รวมทั้งจากการพักน้ำด้วย ทำให้เวลาในการดำน้ำ มีมากกว่าการใช้ตารางดำน้ำทั่วไป เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลากับความลึกที่ไม่ได้ดำ dive computer ก็มีความแตกต่างกันไปในการคำนวณ เราสามารถแบ่งกลุ่ม dive computer ออกได้เป็นสามกลุ่มหลักๆ ดังนี้ Spencer Limit, EE Washout dive computer กลุ่มนี้ จะมีค่า M-Value คล้ายกันกับตารางดำน้ำทั่วไป และค่าขีดจำกัดของเวลาในการดำน้ำ สำหรับการดำน้ำครั้งเดียว ก็ไม่แตกต่างจากของตารางดำน้ำ เช่นกัน ในขณะที่พักน้ำ เวลาในการกำจัดไนโตรเจนในร่างกาย ก็จะใช้การคำนวณ halftime เท่ากันกับเวลา ที่ไนโตรเจนเข้าสู่ร่างกาย (EE จึงหมายถึง Exponential Uptake, Exponential Release) Spencer Limit, 60 Minutes Washout dive computer กลุ่มนี้ ใช้การคำนวณแบบเดียวกันกับตารางดำน้ำ เช่นเดียวกันกับแบบแรก แตกต่างจากแบบแรก เพียงเรื่องของการคำนวณ การกำจัดไนโตรเจนในร่างกาย ซึ่งจะคำนวณให้ compartment ที่มี halftime เท่ากับหรือน้อยกว่า 60 นาที ใช้การสลายไนโตรเจนออกจากร่างกายที่ระดับ halftime 60 นาที ส่วน compartment ที่ใช้เวลาช้ากว่านี้ ให้ใช้การสลายไนโตรเจนออกจากร่างกาย ตามเวลา halftime ของแต่ละ compartment นั้นๆ dive computer กลุ่มนี้ จะมีความคล้ายคลึงกับตารางดำน้ำทั่วไปมากที่สุด Buhlmann Limit, EE Washout dive computer กลุ่มนี้ จะใช้ค่า M-Value ที่ต่ำกว่า ตามการคำนวณของ Dr Buhlmann และเวลาในการกำจัดไนโตรเจนออกจากร่างกาย จะเป็นไปตามเวลา halftime ของแต่ละ compartment นั้น dive computer กลุ่มนี้ จึงให้เวลาขีดจำกัดในการดำน้ำ น้อยกว่าตารางดำน้ำทั่วไป dive computer รุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบัน สามารถคำนวณ และลดเวลาในการดำน้ำให้เราได้ หากเรามีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็น…

อ่าน ระบบการคำนวณของ Dive Computer