การดำน้ำ ช่วยให้ใช้ชีวิตเป็น และเข้าใจชีวิตมากขึ้น

จะว่าไปแล้ว ทักษะทุกอย่างในการใช้ชีวิต เมื่อเราทำเป็นประจำจนเกิดความเชี่ยวชาญ และพัฒนากลายเป็นความคุ้นเคย ย่อมน่าจะส่งผลให้เราได้รับประโยชน์อื่นๆ นอกเหนือจากทักษะที่เพิ่มขึ้น เราจึงสงสัยใคร่รู้ว่า สำหรับการดำน้ำ Scuba นั้น จะมีผลดีในด้านอื่น สำหรับผู้ที่นิยมชมชอบไปดำน้ำเป็นร้อยครั้งพันครั้งหรือไม่ ซึ่ง AWAY ได้รับเกียรติจาก ดร.พิชิต เมืองนาโพธิ์ หรือครูเบิ้ม นักจิตวิทยาการกีฬา และยังเป็น dive instructor ที่มีประสบการณ์ ในการดำน้ำมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี มาร่วมสนทนาพูดคุยในประเด็นที่เราสงสัย “หากจะถามว่า ทักษะในการดำน้ำมีผลต่อวิถีการใช้ชีวิต ช่วยให้ใช้ชีวิตได้ดีขึ้นหรือไม่นั้น คงต้องยกตัวอย่างในเรื่องของคนที่ขับรถ กับคนที่ไม่ได้ขับรถก่อน เพราะคนที่ขับรถ ย่อมต้องมีการวางแผนการเดินทางใช่ไหมครับ ว่าจะไปไหน เลือกใช้เส้นทางไหนถึงจะดี คือคนขับรถที่ดีมักมีการเตรียมการ คิด และวางแผนล่วงหน้า จนเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว คนที่ดำน้ำก็จะมีลักษณะที่คล้ายกัน แต่ที่พิเศษกว่าคือจะมีการเน้นในเรื่องประเด็นของ ความปลอดภัยมากกว่า เน้นเรื่องการให้ความสำคัญในการมีสมาธิ เพราะฉะนั้น ทักษะที่เกิดขึ้น จนกลายเป็นอุปนิสัย เป็นทักษะที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการคิดแล้ว คือสามารถทำได้ทันที เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ หรือมีผลกับเรื่อง ความปลอดภัย คนที่ดำน้ำมามากๆ จะมีทักษะในเรื่องนี้ค่อนข้างดีกว่าคนทั่วไป คือจะใจเย็น มีสติและมีสมาธิที่ดี สามารถควบคุมอารมณ์ได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ ที่ไม่คาดคิดขึ้นอย่างทันท่วงที และโดยเฉพาะนักดำน้ำที่พัฒนาจากนักดำน้ำทั่วไป มาเป็น dive master ในส่วนนี้จะเห็นได้ชัดเจน พูดได้เลยว่าทั้ง 100% เต็ม อุปนิสัยการใช้ชีวิตจะเปลี่ยนไปเลย จะกลายเป็นคนละคน รู้จักดูแลตัวเอง และห่วงใย คนอื่นมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการดำน้ำถูกสอนให้ต้องคอยดูแลบัดดี้ ไม่ปล่อยให้ คนที่อยู่ตรงหน้าเราต้องคลาดสายตา และด้วยหน้าที่ของคนที่มาเป็น dive master ที่ต้องเป็นครูสอนในเรื่องทักษะการดำน้ำ ก็จะมีความใจเย็น เข้าใจความแตกต่างของคน แต่ละคน รู้ว่าบางคนเขาใจร้อน บางคนเขาไม่มีกำลังใจ ก็ต้องหาวิธีที่จะช่วยให้เขา สามารถมีทักษะในการดำน้ำที่ดีจนได้ ถือว่าก้าวสู่การเติบโตเป็นคนที่มีความเมตตาสูง ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการได้เริ่มมาดำน้ำ ย่อมเป็นพื้นฐานในการปรับเปลี่ยนอุปนิสัย หลายๆ อย่าง ให้ใจเย็น กลายเป็นคนไม่เร่งรีบในการตัดสินใจ มีความใส่ใจ ที่จะดูแลคนอื่นมากขึ้น อีกส่วนหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือเรื่องระบบการหายใจ เพราะการดำน้ำนั้น ต้องหายใจ เข้าออกให้เหมาะสม และส่วนมากจะเป็นการหายใจยาว ลึก ช้า และสม่ำเสมอ ซึ่งจากประสบการณ์ของผมที่มีโอกาสได้สอนคนที่มาเรียนดำน้ำ พบว่าคนเมือง ส่วนใหญ่หายใจสั้นมากๆ จนเป็นปกตินิสัย การหายใจสั้นนั้น ส่วนหนึ่งก็น่าจะมาจาก ภาวะความเครียดจากการทำงาน ซึ่งบางคนอายุยังน้อยมากแค่ 20 ต้นๆ เท่านั้น แต่หายใจสั้นเหมือนคนแก่เลย แต่หลังจากที่ได้มาเรียนดำน้ำแล้ว ก็จะค่อยๆ มีการควบคุมการหายใจที่ดีขึ้น ใจเย็นขึ้น ผ่อนคลายมากขึ้น…

อ่าน การดำน้ำ ช่วยให้ใช้ชีวิตเป็น และเข้าใจชีวิตมากขึ้น

ทำไมถึงจะอยากเป็นนักดำน้ำแบบเทคนิคอล?

ดำน้ำเทคนิคอลเป็นอย่างไร ? เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า เราสามารถเป็นนักดำน้ำชั้นยอดที่ประสบความสำเร็จในการดำน้ำตลอดชีวิตโดยไม่ต้องดำน้ำแบบเทคนิคอล การเป็นนักดำน้ำแบบนันทนาการนั้นเป็นเรื่องยอดเยี่ยมอยู่แล้ว แต่สำหรับคนบางประเภท ที่มีความรู้สึกอยากจะสำรวจ ค้นหา มากไปกว่าภายใต้ขีดจำกัดของการดำน้ำแบบนันทนาการทั่วๆไป ในโลกใต้น้ำยังมีเรือจมที่น่ามหัศจรรย์ ที่ผู้คนไม่ค่อยมีโอกาสได้ไปสัมผัส จมอยู่อีกมากมายในที่ลึก มีแนวปะการังน้ำลึกที่มีสัตว์ทะเลที่ยากจะพบพานที่เราจะไม่เจอในที่ตื้นกว่านั้น นักดำน้ำบางคนก็ชื่นชอบกับความท้าทายและสมาธิที่ต้องใช้ในการดำน้ำประเภทนี้ หรือบางคนก็ชอบมากที่จะดำน้ำด้วยอุปกรณ์และกระบวนการที่ทันสมัย หลายคนมีความต้องการที่จะนำเอาความรู้ความสามารถและทักษะของการดำน้ำแบบเทคนิคอลนี้ไปถ่ายโยงใช้กับการทำงานและชีวิตประจำวัน เหตุผลเหล่านี้คือสิ่งที่ทำให้การดำน้ำแบบเทคนิคอลดึงดูดใจนักดำน้ำหลายคน การดำน้ำแบบเทคนิคอลต้องใช้ความพยายาม วินัย และอุปกรณ์ที่มากกว่าการดำน้ำแบบนันทนาการทั่วๆไป ซึ่งหมายความว่ามันไม่ได้เหมาะกับทุกคน แต่สำหรับท่านที่มีความใฝ่ฝันที่จะฝึกฝน ชอบความท้าทาย มีความทุ่มเทในการฝึกฝนตนเอง การเรียนและการดำน้ำแบบเทคนิคอลนี้จะให้รางวัลแก่ชีวิตของท่านอย่างไม่น่าเชื่อ ก้าวแรกของการเริ่มต้นทำอย่างไร? PADI มีหลักสูตรที่น่าสนใจ ที่เริ่มต้นอย่างนุ่มนวล สะดวก สบาย สำหรับท่านที่ต้องการก้าวผ่านประตูไปสู่โลกของนักดำน้ำแบบเทคนิคอลนี้ ด้วยหลักสูตรเบื้องต้น ที่เรียกกันว่าหลักสูตร “Tec 40” หลักสูตรนี้จะเป็นสะพานอันเรียบง่ายและงดงามในการเชื่อมระหว่างการดำน้ำแบบนันทนาการไปสู่การดำน้ำแบบเทคนิคอล ผู้เรียนจะได้รับการฝึกทักษะ ความรู้ ความสามารถอย่างค่อยเป็นค่อยไป ได้สร้างพื้นฐาน ฝึกทักษะกลไก (Motor Skill) และฝึกสภาพจิตใจ ในการที่จะก้าวไปเป็นนักดำน้ำเทคนิคอลชั้นดีต่อไป เมื่อจบการเรียนหลักสูตร Tec 40 ผู้เรียนจะมีศักยภาพในการดำน้ำลึกถึง 40 เมตรด้วยการใช้อากาศปกติหรืออากาศที่มีความเข้มข้นของอ๊อกซิเจนสูง (Enriched Air) สามารถดำน้ำแบบ Decompression ได้ถึง 10 นาที และสามารถใช้ Enriches air nitrox ได้ถึง 50% ในการทำ Decompression เพื่อให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น นักดำน้ำที่จบหลักสูตร Tec 40 จะมีศักยภาพในการดำน้ำที่สนุกและท้าทายกว่าเดิม จะได้ไปยังสถานที่ที่น่าตื่นเต้น แปลกใหม่ และมีความพร้อมทั้งทักษะ ร่างกาย และจิตใจที่จะก้าวต่อไปในหลักสูตรขั้นสูงยิ่งขึ้นครับ

อ่าน ทำไมถึงจะอยากเป็นนักดำน้ำแบบเทคนิคอล?

28-29 November 2009 : My 2 Most Memorable Tec Diving Log

วันนี้เป็นวันที่ฉันได้นัดกลุ่มทีม Tec มาดำน้ำด้วยกันอีกครั้งหลังจากทุกคนได้ทำการสอบ Tec จบไปแล้วเมื่อสามเดือนที่แล้ว ได้ชื่อว่าเป็น Tec Divers ที่ไม่ใช่แค่ชื่อที่ทำให้ดำน้ำลึกได้ แต่ที่สามารถวางแผนดำน้ำได้อย่างละเอียดตามที่ได้เรียนมาเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและทีม “ครูดำ ไปดำน้ำ Tec ด้วยกันอาทิตย์นี้นะ ว่างป่าว” ถามไปก็คิดอยู่ในใจว่า ถ้าชวนเที่ยว theque คงตอบได้เร็วอย่างไม่ต้องคิด “เดี๋ยวเช็ค Visa ก่อน” ก็เป็นคำตอบแบบนี้ทุกครั้งที่ถาม ส่วนฉันได้แต่บอกแม่ (คุณ) ด้วยเสียงเบาๆ พอได้ยินว่า “อาทิตย์นี้ไปดำน้ำนะ” แค่เนี้ยะก็พอ คนต่อมา “พี่โต้ง ดำน้ำเสาร์-อาทิตย์นะ ไปได้ป่าว” หลังๆ นี้ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า คนโสดอย่างพี่โต้งทำไมต้องขอ Visa ด้วย บอกว่าดำน้ำวันเดียวได้ แต่สองวัน Visa ไม่ผ่าน ครั้งนี้หลังจาก 3 เดือนผ่านไป พี่โต้งไม่อิดออด บอกว่า “ได้” คำเดียวสั้นๆได้ใจความ “เจอกันที่เก่าเวลาเดิม” “อืม” พี่โต้งตอบ เมื่อคนพร้อม สิ่งที่ต้องจัดการต่อมาคือ ถังอากาศ Deco ซึ่งเอาไปไว้ที่ร้านให้อัด Oxygen ไว้ 80% ตั้งแต่ 3 เดือนที่แล้วเหมือนกัน ไม่ได้ดำน้ำ Tec ก็ไม่ได้แวะเวียนไปเอามาเลย จนคนอัดอากาศลืมไปแล้วเหมือนกัน โชคดีไปว่า ถังอากาศยังอยู่ อากาศยังอยู่ครบ และทีม Tec เราก็พร้อมเดินทางสู่แสมสาร หากเป็นนักดำน้ำที่ดำน้ำที่แสมสารอยู่เป็นประจำ ทุกคนจะรู้กันว่า ที่แสมสารมีหลุมกระทะลึกสุดถึง 70 เมตร ซึ่งความลึกนี้หาไม่ได้ง่ายๆ ในอ่าวไทย หลุมนี้ไม่ใช่ “รู” แต่เป็นหลุมใหญ่เหมือนกะทะทองแดงใหญ่ๆ ที่นี่คือที่ที่ส่วนมากนักดำน้ำ Technical ใช้ฝึกเพื่อหาความลึก เพื่อให้ทำการฝึกให้ตรงกับจุดประสงค์ หากแต่ที่นี่ไม่ได้ดำน้ำได้ง่ายๆ เหมือนกัน ที่ความลึก 40 เมตร ปากหลุม มักจะมีกระแสน้ำวน ตัวฉันเองเคยเจอบ้างตอนฝึก ที่เคยพบ มันไม่ใช่กระแสน้ำที่ดูดลง หากแต่แค่พาตัวเราไหลวนเป็นวงใหญ่ๆ หากไม่ได้ดูเข็มทิศคงไม่รู้ แต่เพื่อความไม่ประมาท หากไม่ได้เป็นนักดำน้ำที่ได้รับการฝึกฝนและมีทักษะที่ดี ขอแนะนำว่าอย่าไปดำน้ำที่นี่เลย วันนี้อากาศดี มีกัปตันเล็กเป็นคนขับเรือ “เนาวรัตน์” ซึ่งพวกเราทีม Tec ไว้ใจและเชื่อในฝีมือพี่เล็กในการปล่อยเราให้ตรงจุด และรอเก็บเราเมื่อถึงเวลานัดหมาย เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากพวกเราเป็นพวก ดำน้ำอึด (ตามคำของพี่เล็ก) ฉะนั้นอาจถูกลืมและปล่อยทิ้งไว้ที่นั้นได้ บนเรือเนาวรัตน์ยังมีครูเบิ้ม ครูที่สอนพวกเราดำน้ำแบบ Technical ซึ่งในวันนี้ครูไม่สามารถลงไปกับเราได้เนื่องจากติดสอน เมื่อเราวางแผนการดำน้ำแบบติดดีคอม (คือต้องอยู่ในน้ำนานกว่า…

อ่าน 28-29 November 2009 : My 2 Most Memorable Tec Diving Log

อากาศสำรอง (Gas Reserve)

ไม่ทราบว่าเพื่อนๆ นักดำน้ำเคยเจอเหตุการณ์ที่ต้องแชร์อากาศ หรือเคยเห็นคนแชร์อากาศเพื่อขึ้นสู่ผิวน้ำหรือไม่? จากประสบการณ์การดำน้ำเป็นเวลา 8 ปี จำนวน 1000 ไดฟ์+ ฉันเคยมีประสบการณ์เรื่องแชร์อากาศจาก buddy หรือให้ teammate แชร์อากาศ รวมถึงให้คนที่อากาศหมด แชร์อากาศของ buddy ฉันขึ้น เพราะฉันมีอากาศไม่พอที่จะให้คนที่อากาศน้อย แชร์อากาศขึ้นสู่ผิวน้ำ สิ่งที่น่าประทับใจคือ buddy ฉันไม่เคยต้องแชร์อากาศของฉันหรือคนอื่นขึ้นเลย เมื่อมานั่งวิเคราะห์จากประสบการณ์ตัวเอง ฉันบอกได้ว่า ฉันเป็นนักดำน้ำที่ไม่ดีนัก เหตุที่ต้องพูดแบบนี้เพราะ ฉันประมาท ฉันละเลยกฎของความปลอดภัย วันนี้ ฉันมานั่งคิดว่า หาก buddy ฉันเกิดเหตุฉุกเฉินที่ต้องการอากาศจากฉัน เช่น Regulator Free Flow กะทันหันที่ความลึก 30 เมตร ฉันเคยเผื่ออากาศไว้หรือไม่? คำตอบที่น่ากลัวของฉันคือ ฉันคงไม่มีอากาศเหลือพอ เพราะฉันใช้อากาศมากกว่า buddy ของฉัน ฉะนั้น หากเกิดปัญหากับ buddy ตอนปลายไดฟ์ ฉันรู้เลยว่า อากาศที่เหลืออยู่ในถังอากาศของฉันจะไม่สามารถที่จะพาตัวฉันเองและ buddy ขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างช้าๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิด Decompression Sickness ได้เลย อากาศสำรอง สำคัญขนาดไหน สำคัญขนาดที่ว่า หากจำเป็นต้องใช้แล้วไม่มีให้ใช้ สิ่งเดียวที่ทำได้ คือ ขึ้นสู่ผิวน้ำ คำถามต่อมาคือ เมื่อไม่มีอากาศ เราจะขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างรวดเร็ว หรือ อย่างช้าๆ ตามกฎของการดำน้ำ? และ ผลของการขึ้นสู่ผิวน้ำเร็ว คือ เราอาจเสี่ยงต่อการเป็น Decompression Sickness ได้ อากาศสำรองนั้นยังจำเป็นสำหรับการขึ้นเรือในขณะที่มีคลื่นสูงบนผิวน้ำ ด้วยว่าวิธีขึ้นเรือในขณะที่มีคลื่นสูง คือ การคาบ regulator ไว้ด้วย เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ที่เราพลัดหล่นจากบันไดเมื่อไม่สามารถยึดเกาะบันไดเรือได้อย่างมั่นคง หรือหากเราจมลงไปพร้อมบันไดเมื่อคลื่นโยนตัว เราก็จะยังมีอากาศให้หายใจได้อยู่ แต่หากเราไม่มีอากาศสำรองให้ใช้ระหว่างนั้น ในขณะที่ถูกดึงให้จมลงไปพร้อมบันไดนั้น เรามีโอกาสสูงที่จะสำลักน้ำก่อนขึ้นเรือ อากาศสำรอง เก็บไว้ให้ใคร คงไม่ต้องบอกว่า คนแรกที่เราเก็บไว้ให้ คือ ตัวเอง เก็บไว้เพื่อที่จะขึ้นสู่ผิวน้ำได้อย่างปลอดภัย เก็บไว้สำหรับว่ายน้ำกลับเรือ หรือไว้สำหรับขึ้นเรือ คนที่สอง คือ เราต้องเก็บไว้สำหรับ buddy หรือ teammate ในกรณีนี้ คนที่สองหมายถึง 2 คน คือ การสำรองอากาศให้ทั้งตัวเราและ buddy ให้ขึ้นสู่ผิวน้ำและสามารถทำ Safety Stop ได้อย่างเพียงพอ ฉันขอนำข้อคิดที่ดีข้อหนึ่งที่ฉันได้จากที่ได้ไปเรียน Course GUE-Fundamentals…

อ่าน อากาศสำรอง (Gas Reserve)

Technical Diving ตอนที่ 4

This entry is part 1 of 4 in the series Technical Diving

การดำน้ำ Decompression Dive ทักษะเบื้องต้นในการดำน้ำที่เคยเรียนมาแล้ว จะเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งขึ้นในการดำน้ำแบบลดแรงกด (Decompression Dive) เช่น การควบคุมการจมลอย มีความสำคัญสำหรับการดำน้ำแบบนี้ เพราะนักดำจะมีปริมาณไนโตรเจนในร่างกายมากจนใกล้จะเกิดฟองอากาศ การขึ้นหรือลงอย่างไม่ได้ตั้งใจเพียงเล็กน้อย อาจจะทำให้เกิดอาการของโรคอันเกิดจากแรงกดดันได้ และการแก้ไขก็จะเสียทั้งเวลาและปริมาณอากาศที่จะใช้หายใจ นอกจากนั้น การดำด้วยถังอากาศหลายใบก็จะมีการเปลี่ยนแปลง ระดับการจมลอยระหว่างถังอากาศที่เต็ม (ทำให้ตัวหนัก) กับถังอากาศที่ใช้แล้ว (ทำให้ตัวเบา) การควบคุมความเร็วในการขึ้น เป็นส่วนสำคัญของการทำ Deco การขึ้นเร็วเกินไปมีผลให้เป็นโรคอันเกิดจากแรงกดดันได้มากเท่ากับการไม่ทำ Decompression Stop ทีเดียว การควบคุมการหายใจ ก็มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากการหายใจที่ถูกต้องจะประหยัดอากาศ การหายใจถี่กระชั้นนั้นไม่เพียงแต่เปลืองอากาศเท่านั้น แต่จะทำให้การขับไล่ไนโตรเจนจากร่างกายช้าลงไปด้วย รวมทั้งยังเพิ่มระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดอาการเมาไนโตรเจนได้ง่ายขึ้น และสุดท้าย การหายใจถี่กระชั้นใต้น้ำนั้นจะเหนื่อยมาก ทำให้นักดำน้ำมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาน้อยลง การควบคุมตนเอง มีความจำเป็นมาก เพราะนักดำน้ำที่เผชิญหน้ากับอันตรายร้ายแรง จำเป็นต้องควบคุมอารมณ์และวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ทักษะที่จะใช้ต้องถูกเรียนรู้และฝึกฝนมาเป็นอย่างดี นี่คือสาเหตุว่าทำไมนักดำน้ำแบบ Tec จึงจำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการดำน้ำแบบ Recreation มาก่อนเป็นจำนวนมาก การระมัดระวังตัวเอง นักดำน้ำที่จะทำ Deco ต้องหมั่นสังเกตตนเองเสมอ โดยเฉพาะในเรื่องความพร้อมของร่างกาย พลังงานที่มี และระดับความวิตกกังวล ทักษะการสื่อสาร ก็สำคัญ เพราะการดำน้ำแบบ Deco นี้มักกระทำเป็นทีม การสื่อสารอาจจะไม่เหมือนเดิม ภายใต้ความกดดันของงานที่มีปริมาณมาก การใช้อุปกรณ์ที่ยุ่งยากกว่าปกติ แผนการดำน้ำที่ซับซ้อนกว่าเดิม หรือการเมาไนโตรเจน ขั้นตอนในการดำ เริ่มจากการวางแผนการดำน้ำ ซึ่งส่วนมากในปัจจุบันจะใช้โปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ สร้างตารางดำน้ำเฉพาะขึ้นมา โปรแกรมเหล่านี้จะมีการให้ใส่ข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ตั้งแต่รายละเอียดของบุคคลจนถึงแผนการดำน้ำ โดยเฉพาะเรื่องความลึกและเวลา และจะคำนวณ profile การดำน้ำออกมา ให้เป็นรูปของตารางดำน้ำเฉพาะให้นักดำนำไปใช้ เมื่อได้ตารางมาแล้ว นักดำน้ำก็จะทำการดำน้ำตามตารางที่ได้มา โดยมีการกำหนดความลึก/เวลาที่จะใช้ในการดำน้ำ ความลึก/เวลาที่จะทำ Deco ในแต่ละขั้น นักดำน้ำจะดำตามที่ตารางกำหนดมาให้นั้นอย่างเคร่งครัด ทักษะการควบคุมการจมลอยและการรักษาระดับความลึกให้สม่ำเสมอเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานจึงเป็นทักษะสำคัญยิ่งในการดำน้ำแบบนี้ ระดับความลึกที่ตารางกำหนดมานั้น ต้องรักษาไว้ให้เที่ยงตรงมาก จะขึ้นๆ ลงๆ ทีละเมตรสองเมตรอย่างการทำ Safety Stop ปกตินั้นไม่ได้ นอกจากนั้น ท่าทางในการทำ Deco ที่ถูกต้องนั้นคือการทำตัวขนานกับพื้น ก็ยิ่งทำได้ยากขึ้นไปอีกครับ ดร. พิชิต เมืองนาโพธิ์ 9 ก.ย. 2546

อ่าน Technical Diving ตอนที่ 4

Technical Diving ตอนที่ 3

This entry is part 2 of 4 in the series Technical Diving

การจัดการกับอากาศที่ใช้ (Gas Planning) นักดำน้ำแบบ Tec โดยทั่วไป จะต้องเลือกส่วนผสมของอากาศที่จะใช้ในการดำน้ำ ความรู้เบื้องต้นของคนที่ดำน้ำแบบนี้ เรื่องแรกจึงเป็นเรื่องของการดำน้ำโดยใช้อากาศที่มีส่วนผสมของออกซิเจนที่แตกต่างกับอากาศธรรมดา (Enriched Air Nitrox) นักดำน้ำจะเลือกส่วนผสมของอากาศที่เหมาะสมกับความลึก เวลา และลักษณะของการทำ Decompression ในการดำน้ำแต่ละครั้ง โดยทั่วไปแล้ว อากาศธรรมดาจะไม่ใช่ก๊าซที่เหมาะสมที่สุดในการดำน้ำแบบ Tec โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำ Deco ด้วยอากาศธรรมดานั้นจะลำบากกว่าใช้ Nitrox เช่น อาจจะเสี่ยงต่อการเป็นเบนด์มากกว่า หรือว่าต้องใช้อากาศมากจนไม่สามารถนำอากาศในปริมาณที่พอเพียงลงไปได้ เป็นต้น นักดำน้ำแบบ Tec จึงมักต้องใช้อากาศที่มีส่วนผสมแตกต่างกันไป เพื่อให้มีเวลาในการดำน้ำให้นานเพื่อลดเวลาในการทำ Deco หรือเร่งรัดกระบวนการทำ Deco นั่นเองครับ อันดับแรกเลย นักดำน้ำแบบ Tec จะต้องมีความรู้เรื่องความลึกที่นำมาใช้คำนวณ (Equivalent Air Depth: EAD) และความลึกสูงสุดของก๊าซที่ใช้หายใจ (Maximum Depth: MOD) ซึ่งความรู้เหล่านี้จะเรียนมาก่อนในหลักสูตร Enriched Air Nitrox Diver Course แล้ว จากนั้น จึงหัดหาอัตราการบริโภคอากาศที่ผิวน้ำ (Surface Air Consumption: SAC) ของตัวเอง ซึ่ง SAC ของแต่ละคนก็จะไม่เท่ากัน จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่เริ่มต้นก็ต้องเริ่มคำนวณหาอะไรกันเยอะแยะไปหมดแล้ว นักดำน้ำแบบ Tec จะต้องรู้หลายเรื่องมากเลยก่อนที่จะเริ่มดำน้ำ เช่น ต้องรู้ว่าตนมีอากาศลงไปในปริมาณเท่าไร เพียงพอต่อการใช้ดำน้ำในแต่ละครั้งและมีสำรองในกรณีฉุกเฉินหรือเปล่า อากาศในแต่ละถังสามารถใช้ได้ในความลึกเท่าไร ฯลฯ นอกจากนั้น ยังต้องวางแผนไว้เผื่อการเมาไนโตรเจน การวางแผนเพื่อป้องกันออกซิเจนเป็นพิษ หลายเรื่องที่ต้องนำมาใช้ในที่นีจะได้เรียนมาก่อนแล้วในหลักสูตร Enriched Air Diver Specialty และหลักสูตร Deep Diver Specialty ซึ่งผู้ที่จะก้าวเข้ามาเรียน Tec จำเป็นต้องผ่านหลักสูตรเหล่านี้เสียก่อน การจะดำน้ำแบบนี้ ความคิดและเจตคติของนักดำน้ำ จึงต้องมีความแตกต่างกับนักดำน้ำแบบ Rec โดยทั่วไปพอสมควร การที่จะดำน้ำแบบวางแผนตามคอมพิวเตอร์ ดำจนอากาศเกือบหมด หรือดำตามสบาย แล้วค่อยจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นภายหน้า กลายเป็นเรื่องอันตรายร้ายแรงสำหรับการดำน้ำแบบ Tec นักดำน้ำแบบ Tec จำเป็นต้องวางแผนล่วงหน้าและดำน้ำตามแผนอย่างเคร่งครัด เช่น ต้องวางแผนเรื่องปริมาณก๊าซที่จะใช้หายใจอย่างที่กล่าวมาแล้ว ต้องวางแผนเรื่องความลึกและเวลา เรื่องระดับการทำ Deep Stop และ Deco Stop จนกระทั่ง ต้องมีการวางแผน และเขียน Run Time ว่า ณ เวลานี้ จะต้องมาอยู่ ณ จุดไหนของความลึกที่ดำน้ำ…

อ่าน Technical Diving ตอนที่ 3

Technical Diving ตอนที่ 1

This entry is part 4 of 4 in the series Technical Diving

รู้จักกับการดำน้ำแบบ เทคนิคอล ไดวิ่ง (Technical Diving) ที่ต่างจากการดำน้ำแบบพักผ่อน (Recreational Diving) ทั้งในแง่วิธีการและขีดจำกัด และความเสี่ยงอันตรายก็แตกต่างกันอย่างมากด้วย

อ่าน Technical Diving ตอนที่ 1