แชร์ประสบการณ์เกือบตายจาก Decompression Sickness (DCS) หรือ โรคน้ำหนีบ

ให้อ่านและอย่าทำตามโดยเด็ดขาด จากโพสก่อนหน้า(บ้านหมุนใต้น้ำ) : ได้ไปหาหมอมาทั้งหมด 3 รพ.แล้ว การวินิจฉัยส่วนใหญ่ คือ จะเป็นเกี่ยวกับหู มีหลายคนอินบ๊อกซ์มา หลายคนมากบอกว่าแนะนำให้เราเข้ารพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้าโดยด่วนที่สุด โดยเฉพาะคุณนัท ที่โทรมาอธิบายว่าเคยเป็นเหมือนกัน แต่อาการแสดงน้อยกว่าเรา อยากให้รีบไปตรวจและได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด จึงรีบไปตอนเย็นวันนั้นเลย พอถึงรพ.แจ้งว่าดำน้ำมา เค้าจะนำตัวเราเข้าสู่ห้อง ICU ให้ Oxygen โดยทันที มีการซักประวัติเยอะมากกก (ถ้าเอาไดฟ์คอมมาจะดีมาก) ทดสอบเบื้องต้นเรื่องการทรงตัว ประสาทสัมผัส มีเอ็กซเรย์ปอด, EKG วัดคลื่นหัวใจ, วัดชีพจร, ตรวจเลือด CBC แต่กรีนจะมีปัญหาเรื่องความดันสูง (ปกติจะไม่เป็น) หมอเลยแจ้งว่าต้องให้เราเข้าห้องแชมเบอร์ หรือ ห้องปรับแรงดันบรรยากาศสูง (Hyperbaric Chamber) ระหว่างการตรวจคุยกับคุณหมอ คุณหมอขอดู dive computer แต่เราบอกว่าไม่มี คุณหมอบอกไดฟ์คอมสำคัญต่อชีวิตมากเลยนะ เพราะมันจะเตือนเราทุกๆ อย่าง หลังจากนี้สอยแล้วค่ะ เข็ดมากๆๆๆๆๆๆ Dive Computer = ชีวิต ก่อนเข้าห้อง ก็จะมีทำแบบทดสอบความจำ ก่อนเข้าห้อง ถอดเครื่องประดับทุกชนิด สาวๆ แนะนำใส่ sport bra จะได้ไม่ต้อง no-bra นะคะ คอนแทคเลนส์สายตาสามารถใส่เข้าไปเฉพาะชนิด soft lens ของมีค่าแนะนำไว้ในรถ หรือ ไม่ควรเอามานะคะ ถ้ามาคนเดียว สามารถนำน้ำเปล่าเข้ามาจิบได้ค่ะ ใครติดมือถืองดเล่นยาวๆ ค่ะ ได้ใช้ชีวิตในยุค 90 บรรยากาศในห้อง ครั้งที่ 1 (6 ชั่วโมง นิดๆ) เย็นสบายตามราคา เป็นเตียงผู้ป่วย มีจอทีวีให้ดู เลือกหนังได้ค่ะ แต่เจ้าหน้าที่จะกดรีโมทให้นะคะ ตอนแรกจะมีการปรับระดับอยู่ที่ความลึก 60 ฟุต ภายใน 3 นาที ใครเคลียร์หูยากอาจจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่นิดนึงนะคะ แต่กรีนเคลียร์หูง่ายผ่านไปด้วยดี หลังจากนั้นก็ทำตามขั้นตอนมีการพัก 5 นาทีบ้าง 15 นาทีบ้าง โดยคุณหมอจะคอยสังเกตอาการเราอยู่เรื่อยๆ ค่ะ *ส่วนตัวนะคะ อยู่ดีๆ รู้สึกอึดอัด แพนิคหน่อยตอนท้ายๆ แล้วแต่คนนะคะ ถ้าเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ทันทีค่ะ ปล.ในห้องมีห้องน้ำนะคะ หลังจากการทำครั้งที่ 1 เหมือนวิ้งๆ เล็กน้อย สิวผุดขึ้นมาเต็มเลยค่ะ 555+ บางคนบอกหน้าใส แล้วแต่คนเลยค่ะ โดยรวมอาการดีขึ้นแต่ยังไม่ 100% มีการทำแบบทดสอบครั้งแรกอีกครั้ง…

อ่าน แชร์ประสบการณ์เกือบตายจาก Decompression Sickness (DCS) หรือ โรคน้ำหนีบ
Imaginary Dive Computer with Mathematics Equations as Background

รู้จักกับอัลกอริธึมคำนวณการดำน้ำในไดฟ์คอมพิวเตอร์

ไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในท้องตลาดทุกวันนี้ มีอยู่หลายรุ่น หลายแบรนด์ และแต่ละรุ่นก็ใช้อัลกอริธึมการคำนวณผลกระทบของการดำน้ำต่อร่างกายของเรา เช่นเรื่องไนโตรเจนหรือก๊าซอื่นๆ ที่สะสมในร่างกายนักดำน้ำ ตลอดจนความเป็นพิษของออกซิเจนที่ความกดสูง แตกต่างกันไป เพื่อบอกเราถึงเวลาดำน้ำที่เหลืออยู่ หรือความลึกและระยะเวลาที่ต้องทำ stop ก่อนขึ้นสู่ผิวน้ำ รวมถึงช่วยคำนวณการระบายก๊าซออกจากร่างกายระหว่างพักน้ำ เพื่อวางแผนการดำน้ำไดฟ์ถัดไป แม้อาจจะบอกได้ยากว่า วิธีการคำนวณของใครดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด แต่อย่างน้อยการได้เข้าใจคุณลักษณะของอัลกอริธึมเหล่านั้นและความแตกต่างระหว่างแต่ละอัน ก็น่าจะพอช่วยให้เราเลือกไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับเราได้ดียิ่งขึ้น หรือใช้งานไดฟ์คอมพิวเตอร์ด้วยความเข้าใจความหมายของการตั้งค่าต่างๆ ในนั้นได้ดียิ่งขึ้น ก่อนจะไปรู้จักกับอัลกอริธึมการคำนวณเหล่านี้ ต้องขอเล่าถึงทฤษฎีเกี่ยวกับการลดความกด (decompression theory) และโมเดลวิธีคิดที่จะช่วยป้องกันหรือลดอาการเจ็บป่วยจากการลดความกดนี้ เท่าที่วงการดำน้ำของเราได้ศึกษาค้นคว้าและพัฒนากันมาจนถึงปัจจุบัน ก่อนสักเล็กน้อย Decompression Theory อาการเจ็บป่วยจากการลดความกดถูกพบเมื่อราว 150 ปีที่แล้ว (ค.ศ. 1871) จากกรณีการสร้างสะพานบรุคลินที่นิวยอร์คด้วยการสร้างกล่องกักอากาศให้คนงานลงไปขุดดินใต้แม่น้ำเพื่อทำฐานรากของสะพานแล้วพบว่าคนงานมีอาการเจ็บป่วยคล้ายๆ กัน ต่อมาเมื่อการดำน้ำลึกแพร่หลายมากขึ้น ก็พบอาการเจ็บป่วยในนักดำน้ำด้วยเช่นกัน ในปี ค.ศ. 1906 ราชนาวีอังกฤษจึงได้ว่าจ้าง J. S. Haldane ให้วิจัยหาสาเหตุและวิธีการป้องกันอาการดังกล่าว และต่อมาก็ได้เผยแพร่ผลการวิจัยแก่สาธารณะ ทฤษฎีของ Haldane เสนอว่า เมื่อคนหรือสัตว์ได้รับอากาศความกดแตกต่างจากเดิม ก็จะมีการดูดซับเข้าหรือคายออกจากเนื้อเยื่อต่างๆ โดยที่อัตราการดูดซับและคายออกของเนื้อเยื่อจะแตกต่างกันไปหลายระดับ รวมทั้งค่าความอิ่มตัวสูงสุดที่เนื้อเยื่อแต่ละชนิดจะทนได้ก่อนจะแสดงอาการเจ็บป่วยก็แตกต่างกันไปด้วย เขาสรุปทฤษฎีออกมาเป็นโมเดลเนื้อเยื่อสมมติ (theoretical tissue compartment) 5 ชนิดที่มีอัตราการดูดซับแตกต่างกัน 5 ระดับเพื่อใช้เป็นตัวแทนในการคำนวณหาขีดจำกัดระยะเวลาที่จะดำน้ำได้ที่แต่ละระดับความลึก และเกิดเป็นตารางดำน้ำ (dive table) เพื่อใช้วางแผนการดำน้ำ จากนั้นก็ได้มีการปรับปรุงทฤษฎีนี้โดยนักวิจัยจากองค์กรต่างๆ อีกหลายครั้ง มีการเพิ่มเนื้อเยื่อสมมติเข้าไปอีก เป็น 6 ชนิด 9 ชนิด มีการปรับปรุงค่าความอิ่มตัวสูงสุดที่เนื้อเยื่อจะทนได้ ให้เป็นค่าที่แปรผันสัมพันธ์กับความกดที่เปลี่ยนแปลงไป (หรือก็คือความลึกนั่นเอง) ไม่ใช่ค่าคงที่ตายตัวของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด อย่างในทฤษฎีเดิม เรียกชื่อใหม่ว่า M-value ค่าความอิ่มตัวสูงสุดที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่นๆ แบบนี้ทำให้เหมาะจะใช้การคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ มากกว่าจะเป็นตารางคำนวณแบบตายตัวอย่างตอนแรกเริ่ม นักวิจัยคนสำคัญที่ทำให้ทฤษฎีนี้เข้าใกล้ความสมบูรณ์มากที่สุด ก็คือ Albert A. Bühlmann ที่ได้พยายามค้นหาเนื้อเยื่อที่มีอัตราการดูดซับมากที่สุด (นานที่สุดกว่าจะอิ่มตัว) ซึ่งมีผลต่อการคำนวณระยะเวลาการพักน้ำเพื่อการดำน้ำไดฟ์ถัดไป (repetitive dive) จนมีการเพิ่มเนื้อเยื่อสมมติเข้าไปอีกรวมทั้งหมดเป็น 16 ชนิด และยังได้พัฒนาต่อยอดทฤษฎีเดิมอีกหลายเรื่อง เพื่อการดำน้ำในที่สูง หรือใช้อากาศผสมก๊าซอื่นๆ ด้วย เมื่อทฤษฎีและโมเดลการคำนวณ ได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ตารางดำน้ำเดิมของ US Navy ก็ได้รับการปรับปรุงตามมาเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน เมื่อการดำน้ำเริ่มเป็นที่นิยมของบุคคลทั่วไปมากยิ่งขึ้น เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสันทนาการมากขึ้น นักวิจัยของ PADI ก็ได้ปรับปรุงแนวโมเดลการคำนวณใหม่เป็นของตัวเอง เรียกว่า DSAT Model หรือ DSAT Algorithm…

อ่าน รู้จักกับอัลกอริธึมคำนวณการดำน้ำในไดฟ์คอมพิวเตอร์
Blood Cells with Air Bubbles and Physics Equations (as banner for article)

ความเป็นมาของทฤษฎีการลดความกดในการดำน้ำ (Dive Decompression Theory)

ความเป็นมาของการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายของมนุษย์ ภายใต้ความกดอากาศสูงกว่าปกติ เพื่อออกแบบมาตรการความปลอดภัยในการดำน้ำ

อ่าน ความเป็นมาของทฤษฎีการลดความกดในการดำน้ำ (Dive Decompression Theory)

สิ่งที่ควรระวังหรือไม่ควรทำ หลังการดำน้ำใหม่ๆ

นักดำน้ำอย่างเราคงจะได้เรียนรู้เรื่องสิ่งที่ควรทำ สิ่งที่ควรเช็คก่อนดำน้ำ และจดจำไว้ได้เป็นอย่างดี แต่เรื่องสิ่งที่ไม่ควรทำหลังดำน้ำ อาจเป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยได้ยินใครพูดถึง เราจึงขอใช้โอกาสนี้ เล่าถึงสิ่งที่ไม่ควรทำ หรือควรหลีกเลี่ยงหลังดำน้ำ เพื่อความปลอดภัยของทุกคนกัน การเดินทางโดยเครื่องบิน เรื่องนี้คงเป็นเรื่องที่นักดำน้ำทุกคนรู้อยู่แล้ว เพราะทริปดำน้ำส่วนใหญ่มักจะเดินทางไปด้วยเครื่องบิน สิ่งที่ต้องนึกถึงคือ ‘เวลาพักน้ำ’ ตามกฎดังนี้ หากเราดำน้ำหนึ่งไดฟ์ เราควรพัก 12 ชั่วโมงก่อนขึ้นเครื่องบิน หากเราดำน้ำหลายไดฟ์ในหนึ่งวันหรือดำน้ำหลายวัน ควรพักอย่างน้อย 18 ชั่วโมง พักอย่างน้อย 24 ชั่วโมง หากเราติดดีคอม หากไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ แนะนำให้พักนานกว่านี้ ก็ควรปฏิบัติตาม หากจำกฎหลายข้อแบบนี้ไม่ไหว อาจใช้กฎพื้นฐานก็ได้ คือ เราควรพัก 24 ชั่วโมงก่อนเดินทางโดยเครื่องบิน เรื่องนี้แม้นักดำน้ำใหม่ซึ่งอาจยังไม่แม่นยำ ไม่ทันระวังมากนัก แต่ร้านดำน้ำหรือครูดำน้ำก็มักจะจัดและตรวจสอบแผนการเดินทางให้กับนักดำน้ำที่มาร่วมทริปอยู่แล้ว ที่ผ่านมาจึงแทบไม่พบเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความผิดพลาดในเรื่องนี้ การปีนเขา การทำกิจกรรมบนที่สูง เรื่องนี้มีเหตุผลเช่นเดียวกับการขึ้นเครื่องบิน คือเมื่อขึ้นที่สูงมากหลังการดำน้ำใหม่ๆ ก๊าซไนโตรเจนที่ยังหลงเหลืออยู่ในร่างกายของเรา อาจนำไปสู่ decompression sickness (DCS) ได้ แม้ที่ความสูงไม่เท่ากับระดับเพดานบินปกติของเครื่องบินโดยสารทั่วไปก็ตาม (ความสูงที่ใช้ในการวิจัยเรื่องนี้อยู่ที่ประมาณ 600-2,400 เมตร) นอกจากการปีนเขาแล้ว กิจกรรมผจญภัยหลายประเภทก็มักจะจัดกันในที่สูง เช่น ไต่สะพานเชือกชมธรรมชาติ (canopy walk) บันจี้จัมพ์ (bungee jump) หรือ ซิปไลน์ (zipline) ดังนั้น หากคุณวางแผนท่องเที่ยว ทำกิจกรรมต่างๆ ภายหลังการดำน้ำ ควรอยู่ที่ระดับพื้นราบเดียวกับที่คุณเริ่มดำน้ำ สัก 18-24 ชั่วโมง ก่อนจะเริ่มขึ้นสู่ที่สูงเพื่อทำกิจกรรมอื่นๆ การดื่มหนักหลังดำน้ำทันที โดยปกติการดื่มเครื่องดื่มแลกอฮอล์พูดได้ว่าเป็นการเพิ่มสารพิษเข้าร่างกายอยู่แล้ว แต่สำหรับการดำน้ำแอลกอฮอล์ทำให้ร่างกายของเราสูญเสียน้ำมากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่า กระบวนการขับไนโตรเจนออกจากร่างกายจะยิ่งล่าช้ามากขึ้นอีก และเพิ่มโอกาสที่จะทำให้เกิด DCS ได้ง่ายขึ้น หลังดำน้ำ เราควรดื่มน้ำให้มาก และรอให้เวลาผ่านไปหลายชั่วโมง ก่อนที่จะเริ่มดื่มและปาร์ตี้กัน การดำฟรีไดฟ์ เป็นที่ทราบกันดีว่า การดำฟรีไดฟ์ต้องมีการลงสู่ที่ลึกและขึ้นสู่ที่ตื้นในเวลาอันรวดเร็วมาก ดังนั้นหลังการดำน้ำลึกแบบ scuba แล้วควรงดการดำฟรีไดฟ์ต่อเนื่องทันที ด้วยกฎการพักน้ำแบบเดียวกับการงดเดินทางด้วยเครื่องบิน นั่นคือ หากเราดำน้ำหนึ่งไดฟ์ เราควรพัก 12 ชั่วโมงก่อนดำฟรีไดฟ์ หากเราดำน้ำหลายไดฟ์ในหนึ่งวันหรือดำน้ำหลายวัน ควรพักอย่างน้อย 18 ชั่วโมง พักอย่างน้อย 24 ชั่วโมง หากเราติดดีคอม หากไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ แนะนำให้พักนานกว่านี้ ก็ควรปฏิบัติตาม การแช่น้ำร้อน น้ำอุ่น หรือซาวน่า ตอนที่เรานอนแช่น้ำร้อนอย่างสบายใจ เราอาจไม่รู้เลยว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้น จะเพิ่มโอกาสที่จะเกิดฟองก๊าซไนโตรเจนขึ้นในร่างกายด้วย และแม้ความร้อนก็ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตด้วย ซึ่งน่าจะช่วยระบายก๊าซไนโตรเจนจากร่างกายได้เร็วขึ้น แต่ที่จริงแล้วความร้อนแบบนี้ส่งผลต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อมากกว่าระบบไหลเวียนโลหิต จึงเพิ่มโอกาสการเกิด…

อ่าน สิ่งที่ควรระวังหรือไม่ควรทำ หลังการดำน้ำใหม่ๆ
DCS Case Kitthanes - EP2 - chamber

เปิดประสบการณ์กับการเป็น DCS Type 2 EP.3 + Final

ผลการรักษา DCS type 2 คุณหมอหาสาเหตุของอาการ ไขข้อสงสัยจากผู้มีประสบการณ์เป็น DCS และความสำคัญในการซื้อประกันดำน้ำ

อ่าน เปิดประสบการณ์กับการเป็น DCS Type 2 EP.3 + Final
DCS Case Kitthanes - EP2 - 010

เปิดประสบการณ์กับการเป็น DCS Type 2 EP.2

เปิดประสบการณ์การรักษา DCS กับทีมงานกองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน บอกเล่าความต่างของตู้ chamber 2 แบบ คือแบบ multiplace และ monoplace

อ่าน เปิดประสบการณ์กับการเป็น DCS Type 2 EP.2
DCS Case Kitthanes - Multiplace chamber

เปิดประสบการณ์กับการเป็น DCS Type 2 EP.1

เปิดประสบการณ์ใหม่หลังจากดำน้ำมา 20 ปี กับการเป็น DCS type 2 ครั้งแรกในชีวิต บอกเล่าการรักษาที่กองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน

อ่าน เปิดประสบการณ์กับการเป็น DCS Type 2 EP.1

ขอเชิญนักดำน้ำมาพูดคุยกันเรื่อง DCS กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ใต้น้ำค่ะ

ในช่วงที่นักดำน้ำหลายๆท่านต้องทำงานอยู่ที่บ้าน ทำให้เราอาจจะห่างเหินการดำน้ำกันไปบ้าง แต่ก็เป็นช่วงเวลาดีที่เราจะได้มีเวลาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อที่การดำน้ำครั้งต่อไปของเราจะปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ในวันนี้แอดมินมีข่าวจากคุณหมอวัฒน์มาประชาสัมพันธ์สำหรับนักดำน้ำทุกท่านค่ะ คุณหมอวัฒน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ใต้น้ำ และเวชศาสตร์ทางทะเล (และเป็นครูสอนดำน้ำด้วย)  จะมาคุยให้นักดำน้ำฟังเรื่อง  “การลดความเสี่ยงจาก DCI, DCS”​ (เช่น ปอดฉีก, Bend และการเจ็บป่วยจากการลดความดัน) เพื่อที่จะทำให้ดำน้ำได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น -เนื้อหาโดยประมาณ สาเหตุของการป่วย / สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำเมื่อไปดำน้ำ / การสังเกตอาการ / สถานพยาบาล ในพื้นที่ต่างๆ วันพฤหัส ที่ 21 ม.ค. เวลา 19.00 – 20.30 น. (เนื้อหาประมาณ 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นเป็น ถาม/ตอบ) เข้าห้องได้ตั้งแต่เวลา 18.50 น. เข้าห้องก่อนมีสิทธิ์ก่อน (ห้องเรียนรับได้ 100 ท่าน) เข้าห้องทางนี้​นะคะ Topic: Dive Safe :: by Dr Wat Time: Jan 21, 2021 07:00 PM Bangkok Join Zoom Meeting https://us02web.zoom.us/j/81115625742?pwd=dk5hVHZTekhIT0pJMVNOWExEeXRaUT09 Meeting ID: 811 1562 5742 Passcode: 121212 สำหรับนักดำน้ำท่านใดที่อาจจะหลงๆลืมๆไปแล้วว่า DSC คืออะไร ลองมาหาอ่านเพื่อทวนความจำก่อนไปเข้าห้องเรียนฟังความรู้ดีๆจากคุณหมอวัฒน์ได้ทางนี้ค่ะ Cutaneous DCS, Skin DCS, Skin Bend … คือ มาทำความรู้จักกับ …Decompression Sickness (DCS)… อีกซักครั้ง  เขียนโดย รัตติยา แวนวน เผยแพร่ครั้งแรก 15 ม.ค. 64  

อ่าน ขอเชิญนักดำน้ำมาพูดคุยกันเรื่อง DCS กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ใต้น้ำค่ะ