อากาศที่เราหายใจบนบกนั้นมีองค์ประกอบของ Nitrogen 78%, Oxygen 21% และ gas อื่นๆ อีก 1% เวลาที่เรา
ดำน้ำเราให้ความสนใจไปที่ Nitrogen เป็นหลัก ร่างกายของเรานั้นจะมีการสะสมและการขจัด Nitrogen ผ่านระบบการหายใจและระบบการหมุนเวียนโลหิต
ร่างกายเกิดการสะสม gas และขจัด gas ได้อย่างไร?
เมื่อเราเริ่มดำน้ำร่างกายได้รับแรงดันเพิ่มมากขึ้นตามความลึกที่เพิ่มขึ้น ส่งผมให้จุดอิ่มตัวของ gas ในเนื้อเยื่อนั้นสูงขึ้นตามไปด้วย อากาศที่เราหายใจเวลาดำน้ำก็มีความหนาแน่นเพิ่มมากขึ้นตามความลึกเช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้อากาศที่เราหายใจมีแรงดันของ gas ที่สูงกว่าแรงดันที่อยู่ในเนื้อเยื่อ ส่งผลให้ในร่างกายเราเกิดการรับ และสะสม Nitrogen สถานะนี้ว่า “On Gases”
เมื่อเราดำน้ำผ่านไปเวลาหนึ่ง หรือกลับขึ้นสู่ที่ตื้น จนกระทั่งแรงดันรอบๆ ตัวเราเท่ากับแรงดันของ gas ที่สะสมอยู่ในเนื้อเยื่อ จะไม่เกิดการรับและสะสม gas เราเรียกสถานะนี้ว่า “Saturation”
หากเรายังกลับขึ้นสู่ที่ตื้นต่อไป ความดันรอบๆ ตัวเรานั้นจะน้อยกว่าแรงดันของ gas ในเนื้อเยื่อ เราเรียกสถานะนี้ว่า “Supersaturation” ส่งผลให้เกิดการขจัด gas ส่วนเกินออกจากเนื้อเยื่อหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Off Gases”
หากความแตกต่างของ gas เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมก็จะก่อให้เกิดการขจัด Nitrogen ส่วนเกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากความแตกต่างมีมากจนเกินไปก็ส่งผลต่อความเสี่ยงการเกิดโรค Decompression Sickness (DCS)
จากข้อมูลข้างต้นนี้เราสังเกตได้ว่า ในช่วงเวลาที่เราเพิ่งขึ้นสู่ผิวน้ำ ร่างกายของเราก็ยังอยู่ในสถานะ Supersaturation อยู่ การที่เราลดการออกแรงและไม่ทำกิจกรรมที่มีความหนักหลังการดำน้ำทันที เป็นการลดอัตราการก่อตัวของ Silent Bubble ภายในร่างกายหลังการดำน้ำ ทำให้การดำน้ำมีความปลอดภัยมากขึ้นเช่นกัน
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักดำน้ำทุกคนนะครับ
บทความจาก Facebook: Tecrew