การออกกำลังกายก่อน ระหว่าง และภายหลังการดำน้ำ

จากการศึกษาวิจัยในระยะหลังได้พบว่าความสัมพันธฺ์ระหว่างการออกกำลังกายกับการดำน้ำมีแนวทางอย่างไรบ้าง ซึ่งเรื่องการออกกำลังกายกับโอกาสเกิดโรคจาการลดความกดนั้นยังเป็นเรื่องที่ไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ไม่ใช่เพียงแต่เรื่องระยะเวลาระหว่างการออกกำลังกายและการดำน้ำเท่านั้น แต่ประเภท และความเข้มข้นของการออกกำลังกายก็ยังเป็นเรื่องที่ยังไม่แน่นอน

คำแนะนำในช่วงก่อนหน้านี้ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จากหลักฐานทั่วไปและจากการคาดหมายจากวิชาการด้านชีวกลศาสตร์และชีวเคมี นอกจากนั้น เนื่องจากโรคจากการลดความกดนั้นเป็นเรื่องคาดเดาหรือทำนายได้ยากภายใต้การดำน้ำแบบระมัดระวังของการดำน้ำแบบนันทนาการ การจะกล่าวถึงอิทธิพลของการออกกำลังกายเรื่องเดียวจึงเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินได้

การออกกำลังกายนั้นมันมีผลทำให้เกิดการเพิ่มของอาการ หรือว่ามันเป็นการลดลงของอาการ เราก็ยังไม่รู้แน่ชัด แต่อย่างไรก็ดี ยังมีหลักฐานเกิดขึ้นมาซึ่งอาจจะทำให้เกิดการแนะแนวทางได้
ไม่นานมานี้ นักวิจัยได้ค้นพบข้อเท็จจริงบางอย่างเกี่ยวกับการออกกำลังกายและการดำน้ำ ซึ่งผลการวิจัยนี้น่าจะช่วยนักดำน้ำแบบนันทนาการวางแผนเวลาระหว่างการดำน้ำละการออกกำลังกายของตนได้อย่างมั่นใจ

เมื่อพูดถึงการออกกำลังกาย ก็มีนักดำน้ำสองกลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือพวกคลั่งไคล้ความฟิตที่ต้องการออกกำลังกายทุกเวลาและโอกาสที่ทำได้ ความสนใจของนักดำน้ำกลุ่มนี้คือการลดการออกกำลังหรืออย่างน้อยไม่ออกกำลังมากเกินจนเกิดโรคได้ อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ต้องการรักษาสุขภาพหรือรวมเอากิจกรรมดำน้ำเข้ากับกิจกรรมทางกายอื่นๆ กลุ่มนี้จะต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของการเกิดโรคจากการลดความกด

คำแนะนำต่อไปนี้จึงมุ่งตอบโจทย์ของนักดำน้ำสองกลุ่มนี้

  • เรื่องทั่วไป: สมรรถภาพทางกายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักดำน้ำแบบนันทนาการ ทำให้เกิดความปลอดภัยและความสนุกสนาของกิจกรรมในเวลาเดียวกันก็จะช่วยป้องกันโรคจากการลดความกด
    ประเภทการออกกำลัง: การออกกำลังแบบแอโรบิกความหนักปานกลาวงที่ไม่เกี่ยวกับการรับแรงรับน้ำหนักของกล้ามเนื้อและข้อต่อเป็นวิธีที่เหมาะสมท การเคลื่อนไหวรวดเร็ว (รอบขาสูงๆ) ของระยางค์ควรหลีกเลี่ยง
  • ออกกำลังก่อนและหลังการดำน้ำ: ควรหลีกเลี่ยงเป็นเวลาสี่ถึงหกชั่วโมงก่อนและหลังการดำน้ำ ก่อนหน้านี้ มันถูกกำหนดไว้ว่าเป็น 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ
  • การออกกำลังกายระหว่างการดำน้ำ: เป้าหมายคือการลดการสะสมแก๊สและทำให้การคลายแก๊สดีที่สุดในสภาวะที่จะมีโอกาสเกิดฟองอากาศน้อยที่สุด การออกแรงให้น้อยที่สุดจึงควรทำระหว่างช่วงการสะสมแก๊ส (ขณะที่ดำลงและช่วงเวลาใต้น้ำ) การออกแรงน้อยๆ ที่ไม่รุนแรงมากเกินไป (ขยับแขน ขา ว่ายน้ำเบาๆ) เป็นเรื่องที่ควรจะทำในช่วงคลายแก๊ส (ระหว่างขึ้นและการทำเซฟตี้สตอป) อย่างไรก็ดี ต้องระวังเมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำแล้วว่าจะต้องหลีกเลี่ยงการยกของหนักขึ้นบันได หลีกเลี่ยงการรับน้ำหนักที่แขนขาและข้อต่อ ควรถอดอุปกรณ์หนักๆ ถ้าทำได้ เช่นการส่งอุปกรณ์ให้กับคนบนเรือก่อนที่จะขึ้นบันได จากนั้นให้ผ่อนคลายให้นานที่สุดก่อนที่จะเริ่มทำงานอื่นๆ เช่นถอด เปลี่ยน อุปกรณ์ ยกของ หรือทำความสะอาด
  • การออกกำลังกายระหว่างดำน้ำ: ให้ทำตัวให้อบอุ่นและรักษากิจกรรมทางกายเบาๆ ระหว่างและหลังการดำน้ำ การทำแบบนี้จะช่วยให้การคลายแก๊สออกได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น การนอนหลับทันทีหลังจากการดำน้ำไม่ใช่เรื่องที่ควรทำเพราะการไหลเวียนโลหิตอาจจะถูกขวางกั้นได้และหากมีอาการจากโรคลดความกดก็จะไม่รู้สึกตัว

นอกจากนั้นยังมีผลการศึกษาของงานวิจัยอีกหลายงานที่ให้คำแรนะนำ การศึกษาในสัตว์ที่นอร์เวย์แสดงว่าหนูที่ออกกำลังกาย 24 ชม. ก่อนการดำน้ำมีฟองอากาศในเส้นเลือดดำน้อยกว่า ซึ่งถึงแม้ฟองอากาศเหล่านี้ไม่ได้เป็นเหตุโดยตรงของโรคลดความกด แต่แสดงให้เห็นว่าร่างกายมีความเครียดจากการลดความกดน้อยกว่าและเป็นปัจจัยที่นำมาใช้เปรียบเทียบระหว่างรูปแบบการดำน้ำที่ระมัดระวังหรือไม่ได้

นักวิจัยกลุ่มเดียวกันได้พบเพิ่มเติมจากงานวิจัยต่อเนื่อง ว่าผลสามารถใช้กับมนุษย์ได้ ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบหนักสลับพักสั้นๆ ด้วยการวิ่งบนลู่กลเป็นเวลา 40 นาที โดยทำ 24 ชั่วโมงก่อนการดำน้ำ 18 เมตร 80 นาทีในห้องปรับความดัน ผลออกมาว่าทำให้เกิดการลดฟองอากาศในหัวใจ จากนั้นมา การแข่งขันกันศึกษาว่าเวลาที่เหมาะสมของการออกกำลังกายก่อนการดำน้ำควรจะเป็นเท่าไรก็เริ่มขึ้น

การศึกษาของนักดำน้ำทหารเรืออเมริกันทดสอบการออกกำลังกายเป็นเวลา 45 นาที สองชั่วโมงก่อนการดำน้ำ ใช้รูปแบบการออกกำลังกายต่างจากเดิมนิดหน่อย และดำน้ำลึก 30 เมตรเป็นเวลา 30 นาที ผลจองงานวิจัยนี้ยังพบว่ามีการลดระดับของฟองอากาศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นักวิจัยสรุปว่าการออกกำลังกายใกล้การดำน้ำเพียง 2 ชั่วโมงอาจจะคาดหมายว่าจะลดจำนวนของฟองอากาศ และลดโอกาศที่จะเกิดโรคจากการลดความกดได้

จากนั้นมีนักวิจัยของฝรั่งเศสทำการทดลองที่เข้มข้นกว่านั้นอีกด้วยการออกกำลังหนึ่งชั่วโมงก่อนการดำน้ำและสังเกตปริมาณฟองอากาศขณะที่ขึ้นมาจากน้ำ และเช่นเคย นักวิจัยพบว่ามีการลดของฟองอากาศทั้งระดับและปริมาณ

ในปี 2006 นักดำน้ำกลุ่มหนึ่งทดลองออกกำลังกายเป็นเวลา 10 นาทีหลังจากการขึ้นมาจากน้ำที่ความลึก 30 เมตรเป็นเวลา 30 นาที หลังจากการใช้เครื่อง Doppler Ultrasund 20 นาทีต่อมาผลพบว่าระหว่างการปั่นจักรยานและหลังจากการปั่น การออกกำลังกายได้ลดการเกิดฟองอากาศขึ้นมาได้ นักวิจัยทำการสรุปว่าผลนั้นนำมาจากบุคคลที่มีการฝึกสมรรถภาพทางกายมาแล้วอย่างดีเยี่ยม เป็นกลุ่มประชากรทหารเรือ จึงทำให้การศึกษาเพิ่มเติมต่อไปมีความจำเป็นก่อนที่จะนำมาใช้กับนักดำน้ำแบบนันทนาการปกติได้

ถึงแม้ผลงานวิจัยจะดูดี ก็ยังจำเป็นที่ต้องมีการศึกษาในระดับใหญ่กว่านี้ ในกลุ่มประชากรกว้างกว่านี้ก่อนที่คำแนะนำจะถูกนำมาใช้เป็นมาตรฐานได้

คำแนะนำสำหรับเวลานี้ก็คือรอให้พ้นเวลาสักสี่ชั่วโมงหลังจากการดำน้ำ (ซึ่งใช้ข้อมูลศึกษาในอดีตว่าฟองอากาศจะลดลงหลังการดำน้ำ ควรเป็นมาตรฐานไปก่อน จนกว่าการศึกษาเรื่องนี้จะชี้ชัดไปกว่านี้
Zelda Dujic กล่าวไว้ในบทความ Exercise, Endothelium and Diving Physiology ว่า จากการศึกษาที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าการออกกำลังกายความเข้มข้นสูงก่อนการดำน้ำ และการออกกำลังกายปานกลางระหว่างช่วงคลายแก๊สจะเป็นวิธีที่ฉลาดในการลดจำนวนฟองอากาศในเส้นเลือดดำหลังการดำน้ำด้วยอากาศ อย่างไรก็ดีก่อนที่กระบวนการนี้จะได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีป้องกันโรคจากการลดความกด เราจำเป็นต้องมีการวางมาตรฐานเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวกับระยะเวลาและความเข้มข้นของการออกกำลังกาย