ที่พักในดูมาเกเต้: Mahi Mahi Dive Resort

มารู้จักกับรีสอร์ตดำน้ำเล็กๆ ใน Dauin, Dumaguete ของสองสามีภรรยาชาวรัสเซีย และเป็นช่างภาพใต้น้ำรางวัลระดับนานาชาติด้วย

อ่าน ที่พักในดูมาเกเต้: Mahi Mahi Dive Resort

ที่พักในดูมาเกเต้: Thalatta Resort

ทำความรู้จักรีสอร์ตดำน้ำอีกแห่งหนึ่งที่ราคาดี เพราะการจัดการแบบมืออาชีพ และอาหารนานาชาติ รสชาติดี (แอดไปชิมมาแล้ว)

อ่าน ที่พักในดูมาเกเต้: Thalatta Resort

ที่พักในดูมาเกเต้: Atlantis Dive Resort

รีสอร์ทดำน้ำขนาดใหญ่ในย่าน Dauin, Dumaguete เปิดให้บริการมานานแล้ว มืออาชีพมากๆ ในขณะที่อาหารก็อร่อยระดับโลกเลยทีเดียว

อ่าน ที่พักในดูมาเกเต้: Atlantis Dive Resort

ที่พักในดูมาเกเต้: Atmosphere Resorts & Spa Dumaguete

Atmosphere Resorts & Spa ตัวเลือกระดับ 5 ดาวที่น่าสนใจในโซน Dauin, Dumaguete ที่นี่ไม่เหมือนไดฟ์รีสอร์ทที่คุ้นเคย ที่ปกติจะมีความลุยๆ อยู่ แต่ house reef เด็ดมาก

อ่าน ที่พักในดูมาเกเต้: Atmosphere Resorts & Spa Dumaguete

หลักพื้นฐานเกี่ยวกับการลอยตัว เพื่อการดำน้ำ

เรียนรู้หลักการพื้นฐานที่เกี่ยวกับ การลอยตัว แรงยกของของเหลว เพื่อทำความเข้าใจต่อไปถึงการจมลอยของร่างกายเราในน้ำ

อ่าน หลักพื้นฐานเกี่ยวกับการลอยตัว เพื่อการดำน้ำ

แบ่งปันประสบการณ์บ้านหมุนใต้น้ำ

แบ่งปันประสบการณ์บ้านหมุนใต้น้ำ เวลาดำน้ำอย่าซ่า ยาวหน่อยอยากให้อ่าน Day1 เมื่อวันเสาร์มีโอกาสได้ไปดำ Scuba ที่ชุมพร ก็ดำน้ำ dive 1 ไม่เป็นไร พอขึ้น dive 2 อาการมาเลยจ้า คือ ขึ้นมาถึงผิวน้ำปุ๊บอ้วกหนักมาก มากจนไม่เหลืออาหารตอนกลางวันเลย จนต้อง skip dive 3 อาการที่เกิดขึ้นคือ หลับตาไม่ได้ กินอะไรอ้วกหมด ภาพตรงหน้าคือหมุนหมด มือชา เกร็ง ไม่มีแรง เหมือนเวลาเมาเหล้าอ่ะ คิดว่าแฮงค์ทรมานขนาดไหน อาการนี่คูณ 5 ไปเลยจ้า หมดแรง ขาอ่อนแรง ต้องมีคนช่วยพยุง ถอดเวทสูทเองยังถอดไม่ได้เลย กินยาแก้เมาเรือรอดูอาการไปอีกคืน (เพราะถ้าเมาเรือ เมาบก อีกวันต้องหาย) Day2 ตื่นขึ้นมา คิดว่าตัวเองหายแล้วเพราะเหลือดำน้ำอีก 2 dive เลยลองเดิน เชี่ย!!! เอียงจะล้ม เป็นไรวะเนี่ย เลยรู้ตัวเองละว่าไม่ไหว เลยนอนต่อไปอีก โชคดีในกรุ๊ปที่ไปดำด้วยกันมีหมอมาด้วย เลยเขียนใบให้ไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ตอนนั้นยังอ้วกไม่หยุด (ยังไม่ได้กินอะไรเพิ่ม เพราะกินแล้วอ้วกตลอด) กินแต่ยาแก้เมาเรือประคองอาการ จนมาถึงรพ. เข้าห้องฉุกเฉินตอนนั้นหมดแรง มือเย็น ตัวซีดเหลือง ความดันสูง น้ำตาลตก หมอก็จะมีการทดสอบตา หมอแจ้งว่าตาเรากระตุก ทำให้เราบ้านหมุน ส่วนจะเป็นข้างไหนต้องไปตรวจอีกที มีการเจาะเลือดให้ยา (ตอนให้ยาคือทรมานมาก มันแสบไปทั้งตัว น้ำตาไหลกันเลยทีเดียว) ตอนนั้นก็รอดูอาการ หมอยืนยันต้องการให้เราแอดมิตที่รพ. แต่เราก็ยืนยันว่าต้องการกลับกทม. สรุปหมอก็ต้องยอมในความดื้อของเรา Day3 ยังอึน เอียงๆ เดินไกลๆ ไม่ได้ เดินไม่ตรง Day4 วันนี้มาตรวจแบบละเอียดกัน คุณหมอที่รพ.ภูมิพล คือตรวจละเอียดมาก มีการทดสอบหลายอย่าง หลายอย่างที่คิดว่าตัวเองทำได้กลับทำไม่ได้ แต่หมอบอกว่าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นจากเราขึ้นสู่ผิวน้ำเร็วเกินไป ต้องช้าลงกว่านี้ ทำให้แรงดันในหูปรับไม่ทัน อีกอย่างคือไม่ได้เคลียร์หูบ่อยๆ ด้วย วันนี้หมอบอกว่าเราเป็นโรคการบาดเจ็บจากแรงดันต่อหู (Otitic Barotrauma) แล้วทำให้มีอาการบ้านหมุนแบบ Alternobaric vertigo Alternobaric vertigo (reverse squeeze) เกิดจากอากาศในหูชั้นกลางขยายตัวขณะดำขึ้น แต่ Eustachian tube ไม่เปิดให้อากาศระบายออกมาก จนเยื่อแก้วหูฉีกขาดได้ ซึ่งพบได้น้อย อาจเป็นภาวะแทรกซ้อนต่อมาจาก middle ear squeeze ขณะดำน้ำลงหรือการใช้ nasal decongestant แล้วยาหมดฤทธิ์ก่อนที่จะดำน้ำขึ้น จะมีอาการเวียนหัวบ้านหมุน…

อ่าน แบ่งปันประสบการณ์บ้านหมุนใต้น้ำ

แชร์ประสบการณ์เกือบตายจาก Decompression Sickness (DCS) หรือ โรคน้ำหนีบ

จากโพสก่อนหน้า(บ้านหมุนใต้น้ำ) : ได้ไปหาหมอมาทั้งหมด 3 รพ.แล้ว การวินิจฉัยส่วนใหญ่ คือ จะเป็นเกี่ยวกับหู มีหลายคนอินบ๊อกซ์มา หลายคนมากบอกว่าแนะนำให้เราเข้ารพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้าโดยด่วนที่สุด

อ่าน แชร์ประสบการณ์เกือบตายจาก Decompression Sickness (DCS) หรือ โรคน้ำหนีบ

รีวิวเรือจมสันทัดสมุทร 4

สันทัดสมุทร 4 เป็นเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ขนาดไม่ใหญ่มาก ยาว 79 ม. กว้าง 12 ม. จมในระดับความลึกประมาณ 35-40 ม. สาเหตุที่จมก็เพราะเผชิญกับคลื่นลมที่มีความรุนแรง จมวันเดียวกันกับเรือหลวงสุโขทัยนั่นแหละครับ การที่เราจะไปดำน้ำที่เรือสันทัดสมุทร 4 ไม่ง่ายอย่างที่ทุกคนเข้าใจ แต่ก็ไม่ยากอย่างที่ทุกคนคิด เดี๋ยวผมจะมาอธิบายให้เพื่อนๆได้ฟังกันครับ ทริปนี้ผมไปกับเรือชุมพรสคูบาของครูก็อต เป็นเรือน้องใหม่ลำใหญ่ของชุมพร เรือกว้างขวางนั่งสบาย มีห้องซาลูนติดแอร์เย็นฉ่ำให้ด้วยนะ เราออกเดินทางกันแต่เช้า ด้วยความที่เข้าใจว่ามันจมอยู่หลังเกาะแรด แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่อย่างที่เราคิดเลย เพราะจุดที่เรือจมนั้น อยู่เกือบกึ่งกลางเส้นทางระหว่างปากน้ำชุมพรกับเกาะเต่า เรือใช้เวลาเดินทางเกือบ 2:30 ชั่วโมง ถือว่านานพอสมควรทีเดียว พอไปถึงจุดหมาย ทีมเรือวางแผนส่งหน่วยกล้าตายลงไปผูกเชือกทุ่นให้ก่อน ครูก็อตบอกว่าเคยผูกเอาไว้แล้ว แต่มันขาด อาจจะโดนตัดหรือไม่ก็เชือกเล็กจนเกินไป เมื่อถึงเวลา ทุ่นพร้อม คนพร้อม โดดสิครับรออะไร เราค่อยๆ ไต่ลงตามเชือกไปสู่ความลึก จากระดับความลึกตั้งแต่ผิวน้ำไปจนถึงความลึกประมาณ 10 ม. น้ำมีตะกอนเยอะพอสมควร ในใจก็คิดว่าเอาแล้วกรู!!! เจอน้ำราดหน้าอีกแล้ว แต่พอเราผ่านความลึกตั้งแต่ 10 ม.ลงไป น้ำกลับใสอย่างเหลือเชื่อ ลงตามสายทุ่นไปอีกนิด เงาทะมึนของเรือสันทัดสมุทร 4 ก็ปรากฏตัวขึ้น พร้อมกับขนาดอันใหญ่โตของเรือก็เผยโฉมให้เราได้เห็น สิ่งที่ผมเจอที่เรือสันทัดสมุทร 4 ก็คือฝูงปลาอันมากมายมหาศาล แหวกว่ายไปมาเยอะแยะเต็มไปหมด บางครั้งมันเยอะมากๆ จนบดบังตัวเรือไปจนหมด ไม่ว่าจะเป็นฝูงปลาสากเหลือง ปลาสากดำ ฝูงปลากะพง ปลาหูช้าง ปลาข้างเหลือง เเละยังแอบเห็นปลาเก๋าตัวใหญ่ๆ อีกหลายตัว ไม่น่าเชื่อว่าเพียงแค่ไม่กี่เดือน จะมีฝูงปลามากมายขนาดนี้ และด้วยขนาดตัวเรือที่ยาว 79 ม. กว้างกว่า 12 ม. เราจึงไม่สามารถดำจบในไดฟ์เดียวได้เลยครับ การมาดำน้ำที่นี่แนะนำว่าต้องอย่างน้อย 2 ไดฟ์ ขอบคุณครูก็อต ครูป๊อก และน้องๆ ทีมงานเรือชุมพรสคูบา ที่ช่วยดูแลและอำนวยความสะดวกให้ เดี๋ยวได้จังหวะดีๆ จะไปจัดอีกครั้ง เพื่อนๆ ท่านใดสนใจ ติดต่อที่ครูก็อตได้โดยตรง ทราบข่าวว่า 27 พ.ด.นี้จะไปดำที่เรือจมสันทัดสมุทร 4 อีกครั้งครับ เดี๋ยวผมทิ้งเบอร์โทรเอาไว้ให้นะ ครูก็อต ชุมพรสคูบา: 095-2677929 เครดิตภาพโดย: Pongsakorn Pruktara ลิงก์ต้นเรื่อง: facebook.com/Jakkee Wongkeawprasert

อ่าน รีวิวเรือจมสันทัดสมุทร 4

14 ข้อควรระวังที่คน เรียน Freedive ต้องรู้

การเรียนฟรีไดฟ์ จะทำให้เราเป็นอิสระมากกว่าที่เคย เมื่ออยู่ในทะเล ได้รู้สึกสนุกกับการไปเที่ยวทะเลสามารถดำลงไปชมความสวยงามใต้ท้องทะเลด้วยตัวเอง แต่ก็มีข้อควรระวัง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้และนำไปปฏิบัติ 1.ห้ามหายใจแบบ hyperventilation Hyperventilation เป็นการหายใจที่มากเกินกว่าการหายใจแบบปกติตามธรรมชาติ ทำให้ระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดลดลงต่ำเกินไป ซึ่งทำให้เวลาเราดำฟรีไดฟ์ไม่รู้ตัวว่าออกซิเจนกำลังจะหมดแล้ว ทำให้เกิดการหมดสติใต้น้ำ นอกจากการหายใจแบบ hyperventilation จะไม่ช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น ยังไปขัดขวาง mammalian dive reflex ซึ่งเป็นผลเสียมากกว่าจะเป็นประโยชน์ แค่หายใจมากกว่าปกติเพียง 6 – 7 ครั้งก็อาจทำให้เกิดอาการ hyperventilation ได้ ถ้าสังเกตให้ดีจะรู้ได้ถึงความผิดปกติ เช่น มือชา เท้าชา รู้สึกมึนๆนิดๆ ถ้ามีอาการเหล่านี้ ควรงดดำน้ำสัก 3 – 4 นาทีเพื่อรอให้ร่างกายกลับสู่สภาวะปกติ ก่อนดำน้ำใหม่อีกครั้ง 2.อย่าดำน้ำคนเดียว ต้องมีเพื่อนที่ช่วยเราได้ never freedive alone อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอในขณะฟรีไดฟ์ คือ หมดสติขณะดำน้ำ วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันก่อนที่เรื่องจะเกิด นักดำน้ำต้องรู้จักขีดจำกัดและธรรมชาติ ของร่างกายตนเอง โดยปกติการหมดสติขณะดำน้ำ ไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรง จนถึงแก่ชีวิต มันเป็นกลไกตามธรรมชาติ ที่ช่วยไม่ให้เราจมน้ำ สามารถแก้ไขอาการได้อย่างง่ายๆ ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม ไม่ควรดำน้ำคนเดียว ควรมีเพื่อนที่ผ่านการเรียนฟรีไดฟ์ ไปดำน้ำกับเราด้วยเสมอเพื่อความปลอดภัย 3.ถ้าจะให้ดี ควรเอาบุย (buoy) ไปด้วย เรือที่ผ่านไปมาในทะเล มองเห็นคนในทะเลได้ยากเนื่องจากสภาพแวดล้อมในทะเลแตกต่างจากบนบก ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงเวลาดำฟรีไดฟ์ ยิ่งเราดำขึ้นลงระหว่างผิวน้ำกับใต้น้ำ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากกว่าปกติเพราะตอนเราอยู่ใต้น้ำไม่มีอะไร เป็นที่สังเกตได้ ดังนั้นหากเราต้องไป ฟรีไดฟ์ควรนำบุยไปด้วย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าบริเวณนี้มีคนกำลังดำน้ำอยู่ทำให้เรือที่ผ่านไปมาจะสังเกตได้ และระวังมากขึ้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่พักหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 4.อย่าคาบท่อ snorkel ไว้ในปากเวลาฟรีไดฟ์ การคาบ snorkel ไว้ในปากอาจน้ำให้เราหายใจได้สะดวกตอนลอยอยู่บนผิวน้ำ แต่จะเป็นอุปสรรคเวลาดำน้ำเนื่องจากทำให้เคลียร์หูไม่สะดวก และเมื่อกลับสู่ผิวน้ำแล้วยังเป็นอุปสรรคต่อการทำ Recovery breath เนื่องจากต้องใช้แรงเป่าเคลียร์น้ำในท่อ snorkel ออกไป และหายใจเอาอากาศเข้ามาใหม่ต้องใช้แรงมากกว่าปกติ นอกจากนี้หากหมดสติใต้น้ำ ก็อาจทำให้น้ำไหลเข้าปากได้ เป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือของเพื่อน เพราะเวลาคนหมดสติปากมักจะปิดโดยอัตโนมัติ การเอาท่อ snorkel ออกจากปากก็จะทำได้ยาก ทำให้ recovery breath ไม่ได้ 5.ห้าม เคลียร์หู (equalize) แรงๆ หรือฝืน equalize “การเคลียร์หูที่ถูกต้อง” จะต้องไม่ใช้ความพยายาม หรือแรงมากจนเกินไป ถ้าหากไม่มีอะไรไปกีดขวางการทำงานของท่อยูสเตเชียน อากาศจะสามารถผ่านเข้าไปในหูชั้นกลางได้ การเคลียร์หูแรงๆ อาจทำให้เยื่อแก้วหูได้รับบาดเจ็บ อาจถึงกับทะลุได้ หรือในกรณีที่ร้ายแรงหูชั้นในได้รับความเสียหาย ทำให้มีปัญหาในการได้ยิน ดังนั้นถ้าหากดำน้ำลงไปแล้วพบความผิดปกติ ไม่สามารถเคลียร์หูได้ไม่ควรฝืนเป่าแรงๆ…

อ่าน 14 ข้อควรระวังที่คน เรียน Freedive ต้องรู้