มันไม่ใช่เรื่องสุดวิสัย

เรื่องราวของนักเรียนดำน้ำที่ได้รับการดูแลฝึกทักษะใต้น้ำจากครูผู้สอนอย่างไม่ถูกต้อง จนทำให้บาดเจ็บเยื่อแก้วหู และมีอาการเจ็บหูตลอดไป

อ่าน มันไม่ใช่เรื่องสุดวิสัย
Giant stride - Keng Krob - 001

ฉันจะเรียนดำน้ำได้ไหม?

แนะนำให้ลองดำน้ำดูก่อนว่าชอบหรือทำได้ไหม เรียกชื่อง่ายๆ ว่า Try Scuba หรือชื่อจริงๆ คือ DSD ไม่แพง และใช้เวลาไม่ถึง 4 ชม.

อ่าน ฉันจะเรียนดำน้ำได้ไหม?
Diving with current - 001

Check Dive ใครว่าไม่สำคัญ

ความสำคัญของการเช็คไดฟ์ก่อนการดำน้ำ โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน: การเช็คที่ผิวน้ำเพื่อตรวจสอบน้ำหนัก, การเช็คที่ 5 เมตรแรกเพื่อตรวจสอบอุปกรณ์, และการเช็คระหว่างดำที่ความลึกตามแผนเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในน้ำลึก

อ่าน Check Dive ใครว่าไม่สำคัญ

IANTD Cavern Diver Course

นักดำน้ำแบบ Scuba โดยทั่วไป จะถูกสอนไว้ว่าการดำน้ำในสถานที่มีสิ่งแวดล้อมเหนือศีรษะนั้นเป็นเรื่องต้องห้าม คำสอนที่ว่านั้นเป็นเรื่องจริงที่ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แต่สำหรับนักดำน้ำที่ชอบความท้าทาย ชอบการผจญภัยในระดับที่มากกว่าการดำน้ำทั่วไป การเรียนรู้และฝึกฝนในหลักสูตรดำน้ำระดับสูงขึ้น เช่นการเรียนหลักสูตร cavern diver course เป็นคำตอบที่ดีที่สุด

อ่าน IANTD Cavern Diver Course

สิ่งที่ควรระวังหรือไม่ควรทำ หลังการดำน้ำใหม่ๆ

นักดำน้ำอย่างเราคงจะได้เรียนรู้เรื่องสิ่งที่ควรทำ สิ่งที่ควรเช็คก่อนดำน้ำ และจดจำไว้ได้เป็นอย่างดี แต่เรื่องสิ่งที่ไม่ควรทำหลังดำน้ำ อาจเป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยได้ยินใครพูดถึง เราจึงขอใช้โอกาสนี้ เล่าถึงสิ่งที่ไม่ควรทำ หรือควรหลีกเลี่ยงหลังดำน้ำ เพื่อความปลอดภัยของทุกคนกัน การเดินทางโดยเครื่องบิน เรื่องนี้คงเป็นเรื่องที่นักดำน้ำทุกคนรู้อยู่แล้ว เพราะทริปดำน้ำส่วนใหญ่มักจะเดินทางไปด้วยเครื่องบิน สิ่งที่ต้องนึกถึงคือ ‘เวลาพักน้ำ’ ตามกฎดังนี้ หากเราดำน้ำหนึ่งไดฟ์ เราควรพัก 12 ชั่วโมงก่อนขึ้นเครื่องบิน หากเราดำน้ำหลายไดฟ์ในหนึ่งวันหรือดำน้ำหลายวัน ควรพักอย่างน้อย 18 ชั่วโมง พักอย่างน้อย 24 ชั่วโมง หากเราติดดีคอม หากไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ แนะนำให้พักนานกว่านี้ ก็ควรปฏิบัติตาม หากจำกฎหลายข้อแบบนี้ไม่ไหว อาจใช้กฎพื้นฐานก็ได้ คือ เราควรพัก 24 ชั่วโมงก่อนเดินทางโดยเครื่องบิน เรื่องนี้แม้นักดำน้ำใหม่ซึ่งอาจยังไม่แม่นยำ ไม่ทันระวังมากนัก แต่ร้านดำน้ำหรือครูดำน้ำก็มักจะจัดและตรวจสอบแผนการเดินทางให้กับนักดำน้ำที่มาร่วมทริปอยู่แล้ว ที่ผ่านมาจึงแทบไม่พบเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความผิดพลาดในเรื่องนี้ การปีนเขา การทำกิจกรรมบนที่สูง เรื่องนี้มีเหตุผลเช่นเดียวกับการขึ้นเครื่องบิน คือเมื่อขึ้นที่สูงมากหลังการดำน้ำใหม่ๆ ก๊าซไนโตรเจนที่ยังหลงเหลืออยู่ในร่างกายของเรา อาจนำไปสู่ decompression sickness (DCS) ได้ แม้ที่ความสูงไม่เท่ากับระดับเพดานบินปกติของเครื่องบินโดยสารทั่วไปก็ตาม (ความสูงที่ใช้ในการวิจัยเรื่องนี้อยู่ที่ประมาณ 600-2,400 เมตร) นอกจากการปีนเขาแล้ว กิจกรรมผจญภัยหลายประเภทก็มักจะจัดกันในที่สูง เช่น ไต่สะพานเชือกชมธรรมชาติ (canopy walk) บันจี้จัมพ์ (bungee jump) หรือ ซิปไลน์ (zipline) ดังนั้น หากคุณวางแผนท่องเที่ยว ทำกิจกรรมต่างๆ ภายหลังการดำน้ำ ควรอยู่ที่ระดับพื้นราบเดียวกับที่คุณเริ่มดำน้ำ สัก 18-24 ชั่วโมง ก่อนจะเริ่มขึ้นสู่ที่สูงเพื่อทำกิจกรรมอื่นๆ การดื่มหนักหลังดำน้ำทันที โดยปกติการดื่มเครื่องดื่มแลกอฮอล์พูดได้ว่าเป็นการเพิ่มสารพิษเข้าร่างกายอยู่แล้ว แต่สำหรับการดำน้ำแอลกอฮอล์ทำให้ร่างกายของเราสูญเสียน้ำมากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่า กระบวนการขับไนโตรเจนออกจากร่างกายจะยิ่งล่าช้ามากขึ้นอีก และเพิ่มโอกาสที่จะทำให้เกิด DCS ได้ง่ายขึ้น หลังดำน้ำ เราควรดื่มน้ำให้มาก และรอให้เวลาผ่านไปหลายชั่วโมง ก่อนที่จะเริ่มดื่มและปาร์ตี้กัน การดำฟรีไดฟ์ เป็นที่ทราบกันดีว่า การดำฟรีไดฟ์ต้องมีการลงสู่ที่ลึกและขึ้นสู่ที่ตื้นในเวลาอันรวดเร็วมาก ดังนั้นหลังการดำน้ำลึกแบบ scuba แล้วควรงดการดำฟรีไดฟ์ต่อเนื่องทันที ด้วยกฎการพักน้ำแบบเดียวกับการงดเดินทางด้วยเครื่องบิน นั่นคือ หากเราดำน้ำหนึ่งไดฟ์ เราควรพัก 12 ชั่วโมงก่อนดำฟรีไดฟ์ หากเราดำน้ำหลายไดฟ์ในหนึ่งวันหรือดำน้ำหลายวัน ควรพักอย่างน้อย 18 ชั่วโมง พักอย่างน้อย 24 ชั่วโมง หากเราติดดีคอม หากไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ แนะนำให้พักนานกว่านี้ ก็ควรปฏิบัติตาม การแช่น้ำร้อน น้ำอุ่น หรือซาวน่า ตอนที่เรานอนแช่น้ำร้อนอย่างสบายใจ เราอาจไม่รู้เลยว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้น จะเพิ่มโอกาสที่จะเกิดฟองก๊าซไนโตรเจนขึ้นในร่างกายด้วย และแม้ความร้อนก็ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตด้วย ซึ่งน่าจะช่วยระบายก๊าซไนโตรเจนจากร่างกายได้เร็วขึ้น แต่ที่จริงแล้วความร้อนแบบนี้ส่งผลต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อมากกว่าระบบไหลเวียนโลหิต จึงเพิ่มโอกาสการเกิด…

อ่าน สิ่งที่ควรระวังหรือไม่ควรทำ หลังการดำน้ำใหม่ๆ
cover image บทความ Mask Scuba Freedive Comparison

ความแตกต่างระหว่างหน้ากาก Scuba และหน้ากาก Freedive

ในปัจจุบัน หน้ากากดำน้ำนั้นมีตัวเลือกให้เราทุกคนได้เลือกสรรมากมาย ทั้งฝั่ง scuba และ ฝั่งของ freedive เอง ด้วย design รูปลักษณ์หรือขนาดเองก็ตามที่อาจจะทำให้ใครหลายๆ คนกำลังสงสัยว่าระหว่างหน้ากาก scuba กับ freedive นั้นมีข้อแตกต่างกันอย่างไร และเราสามารถใช้หน้ากาก scuba ในการ freedive ได้หรือไม่ หรือ หน้ากาก freedive ใช้สำหรับ scuba ได้หรือเปล่า Size (ขนาด) อย่างแรกที่ทุกคนจะเห็นได้ชัดถึงความแตกต่างเลย คือ “ขนาด” หน้ากาก scuba จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าหน้ากาก freedive ทั้งรูปร่าง, ขนาดของกรอบเลนส์ (frame), ขนาดของ skirt, รวมถึง ระยะห่างระหว่างเลนส์กับดวงตา และด้วยส่วนมากหน้ากาก scuba จะนิยมใช้เลนส์เดี่ยวมากกว่าเลนส์คู่ (แยกซ้าย-ขวา) แตกต่างกับหน้ากาก freedive ที่มีรูปแบบที่เพรียวกว่า กระชับรูปหน้ามากกว่า เมื่อมองจากขนาดแล้วและลักษณะของเลนส์แล้ว จะเห็นได้ว่า หน้ากากที่มีขนาดใหญ่กว่า ก็จะทำให้มีการต้านน้ำมากกว่า สำหรับการดำน้ำแบบ scuba ที่ไม่ค่อยใช้ความเร็วในการเคลื่อนที่มากนัก หน้ากากที่มีขนาดใหญ่ ได้ทัศนวิสัยกว้าง จึงเป็นที่นิยมสำหรับนักดำน้ำ scuba จำนวนมาก ส่วนการดำ freedive ที่ต้องการความคล่องตัวและใช้ความเร็วในการลงสู่ความลึก-ขึ้นสู่ผิวน้ำมากกว่า scuba จึงไม่นิยมใช้หน้ากาก scuba ในการ freedive สักเท่าไหร่นัก Air Volume, Air Space (ปริมาตรอากาศ) จากหัวข้อแรกเรื่องขนาดของหน้ากาก จึงส่งผลทำให้ “ปริมาตรอากาศ” ที่อยู่ภายในหน้ากากนั้นมีความแตกต่างกันไปด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วหน้ากาก freedive จะมีปริมาตรอากาศที่น้อยกว่า หรือที่หลายๆ คนคุ้นหูกันกับคำว่าหน้ากาก low-volume (หรือหน้ากาก low-profile) โดยคร่าวๆ แล้วหน้ากากประเภทนี้จะมีปริมาตรอากาศที่น้อยกว่า 100 ml. ส่วนหน้ากาก scuba จะมีปริมาตรอยู่ที่มากกว่า 110 ml. ขึ้นไป เพราะฉะนั้นถ้าหากนำหน้ากาก scuba ไปดำ freedive สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราดำลงสู่ความลึกด้วยความเร็ว นอกจากเรื่องของการต้านน้ำที่มากกว่าแล้ว ยังมีโอกาสที่จะทำให้เกิด mask squeeze ได้มากขึ้นด้วย (mask squeeze คือ อาการหน้ากากบีบหน้า เมื่อแรงดันภายนอกหน้ากากเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่าภายในหน้ากาก) การป้องกัน mask squeeze คือการเติมลมจากจมูกเข้าไปเคลียร์หน้ากาก แต่ถ้าหากเคลียร์หน้ากากไม่ทันหรือลมไม่พอที่จะเคลียร์หน้ากาก ก็อาจจะเป็นอันตรายส่งผลให้เกิดเส้นเลือดฝอยรอบดวงตาแตกได้…

อ่าน ความแตกต่างระหว่างหน้ากาก Scuba และหน้ากาก Freedive
Diving with shark - FreedomDive - 001

NDL เธอเหลือเท่าไร?

ความสำคัญของการเช็ค NDL ในการดำน้ำ และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อ NDL เฉียดๆ จริงๆ นักดำน้ำที่ดีควรรู้จักการใช้ไดฟ์คอมของตนเองให้แม่นยำ เพื่อป้องกันการติด decomp หรือ NDL เหลือน้อยลงขณะดำน้ำ

อ่าน NDL เธอเหลือเท่าไร?

เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพฟิน เรื่องใกล้ตัวที่น่ารู้

ถ้าลองมองดูฟินดำน้ำลึกแบบใบเดียว (paddle fins) ที่เราใช้ดำน้ำกันอยู่ทุกวันนี้ เราคงพอจะคาดเดาได้ว่า มันน่าจะได้รับการออกแบบมาจากรูปเท้าของสัตว์จำพวกกบหรือเป็ด หรือใบพายสำหรับพายเรือนั่นเอง ซึ่งเริ่มต้นก็คงเลียนแบบออกมาได้เป็นฟินแบนๆ ธรรมดาๆ เท่านั้น ก่อนจะค่อยๆ พัฒนามาเป็นฟินที่มีลวดลายแปลกใหม่

อ่าน เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพฟิน เรื่องใกล้ตัวที่น่ารู้
cover image for Mares divign equipment or Avanti Quattro fins

รู้จักกับฟินรุ่นต่างๆ จาก Mares — เจ้าแห่งฟินดำน้ำลึก

รู้จักกับฟินรุ่นดั้งเดิมของ Mares หลากหลายรุ่น และพัฒนาการของเทคโนโลยีเกี่ยวกับฟิน ก่อนจะมาเป็นรุ่นที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน

อ่าน รู้จักกับฟินรุ่นต่างๆ จาก Mares — เจ้าแห่งฟินดำน้ำลึก
cover image of Mares gears in white

Mares แบรนด์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน คู่กับวงการดำน้ำโลก

เมื่อเอ่ยถึงแบรนด์อุปกรณ์ดำน้ำที่เก่าแก่ อยู่คู่กับวงการดำน้ำมาอย่างยาวนาน Mares จะเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่เรานึกถึง แม้อาจจะมีบางช่วงเวลาที่ชื่อเสียงของแบรนด์นี้แผ่วเบาลง โดนแบรนด์อื่นเป็นที่แซงหน้าไปบ้าง ก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่นักดำน้ำในยุค 10-20 ปีที่แล้วจะจำได้อย่างแน่นอน ก็คือ Mares เป็นผู้ผลิตฟินที่มีประสิทธิภาพสูงรายหนึ่งของโลก

อ่าน Mares แบรนด์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน คู่กับวงการดำน้ำโลก