Safe Sea ครีมกันแดด ป้องกันแมงกะพรุน

รู้จักกับครีมกันแดด Safe Sea ที่สามารถป้องกันพิษจากแมงกะพรุนและแตนทะเลได้ด้วย โดยยับยั้งไม่ให้เข็มพิษของแมงกะพรุนทำงานได้

อ่าน Safe Sea ครีมกันแดด ป้องกันแมงกะพรุน

บุหรี่กับการดำน้ำ ความตายที่อาจไม่ต้องผ่อนส่ง

ความเสี่ยงของการสูบบุหรี่ก่อนการดำน้ำ มาจากสารในบุหรี่ต่อร่างกายขณะดำน้ำ ได้แก่ นิโคตินที่ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด, คาร์บอนมอนอกไซด์ที่เกาะกับเม็ดเลือดแดงแทนออกซิเจน แนะนำให้นักดำน้ำพักผ่อนร่างกายให้เต็มที่ก่อนการดำน้ำ เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

อ่าน บุหรี่กับการดำน้ำ ความตายที่อาจไม่ต้องผ่อนส่ง

การออกกำลังกายก่อน ระหว่าง และภายหลังการดำน้ำ

จากการศึกษาวิจัยในระยะหลังได้พบว่าความสัมพันธฺ์ระหว่างการออกกำลังกายกับการดำน้ำมีแนวทางอย่างไรบ้าง ซึ่งเรื่องการออกกำลังกายกับโอกาสเกิดโรคจาการลดความกดนั้นยังเป็นเรื่องที่ไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ไม่ใช่เพียงแต่เรื่องระยะเวลาระหว่างการออกกำลังกายและการดำน้ำเท่านั้น แต่ประเภท และความเข้มข้นของการออกกำลังกายก็ยังเป็นเรื่องที่ยังไม่แน่นอน คำแนะนำในช่วงก่อนหน้านี้ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จากหลักฐานทั่วไปและจากการคาดหมายจากวิชาการด้านชีวกลศาสตร์และชีวเคมี นอกจากนั้น เนื่องจากโรคจากการลดความกดนั้นเป็นเรื่องคาดเดาหรือทำนายได้ยากภายใต้การดำน้ำแบบระมัดระวังของการดำน้ำแบบนันทนาการ การจะกล่าวถึงอิทธิพลของการออกกำลังกายเรื่องเดียวจึงเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินได้ การออกกำลังกายนั้นมันมีผลทำให้เกิดการเพิ่มของอาการ หรือว่ามันเป็นการลดลงของอาการ เราก็ยังไม่รู้แน่ชัด แต่อย่างไรก็ดี ยังมีหลักฐานเกิดขึ้นมาซึ่งอาจจะทำให้เกิดการแนะแนวทางได้ ไม่นานมานี้ นักวิจัยได้ค้นพบข้อเท็จจริงบางอย่างเกี่ยวกับการออกกำลังกายและการดำน้ำ ซึ่งผลการวิจัยนี้น่าจะช่วยนักดำน้ำแบบนันทนาการวางแผนเวลาระหว่างการดำน้ำละการออกกำลังกายของตนได้อย่างมั่นใจ เมื่อพูดถึงการออกกำลังกาย ก็มีนักดำน้ำสองกลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือพวกคลั่งไคล้ความฟิตที่ต้องการออกกำลังกายทุกเวลาและโอกาสที่ทำได้ ความสนใจของนักดำน้ำกลุ่มนี้คือการลดการออกกำลังหรืออย่างน้อยไม่ออกกำลังมากเกินจนเกิดโรคได้ อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ต้องการรักษาสุขภาพหรือรวมเอากิจกรรมดำน้ำเข้ากับกิจกรรมทางกายอื่นๆ กลุ่มนี้จะต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของการเกิดโรคจากการลดความกด คำแนะนำต่อไปนี้จึงมุ่งตอบโจทย์ของนักดำน้ำสองกลุ่มนี้ เรื่องทั่วไป: สมรรถภาพทางกายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักดำน้ำแบบนันทนาการ ทำให้เกิดความปลอดภัยและความสนุกสนาของกิจกรรมในเวลาเดียวกันก็จะช่วยป้องกันโรคจากการลดความกด ประเภทการออกกำลัง: การออกกำลังแบบแอโรบิกความหนักปานกลาวงที่ไม่เกี่ยวกับการรับแรงรับน้ำหนักของกล้ามเนื้อและข้อต่อเป็นวิธีที่เหมาะสมท การเคลื่อนไหวรวดเร็ว (รอบขาสูงๆ) ของระยางค์ควรหลีกเลี่ยง ออกกำลังก่อนและหลังการดำน้ำ: ควรหลีกเลี่ยงเป็นเวลาสี่ถึงหกชั่วโมงก่อนและหลังการดำน้ำ ก่อนหน้านี้ มันถูกกำหนดไว้ว่าเป็น 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ การออกกำลังกายระหว่างการดำน้ำ: เป้าหมายคือการลดการสะสมแก๊สและทำให้การคลายแก๊สดีที่สุดในสภาวะที่จะมีโอกาสเกิดฟองอากาศน้อยที่สุด การออกแรงให้น้อยที่สุดจึงควรทำระหว่างช่วงการสะสมแก๊ส (ขณะที่ดำลงและช่วงเวลาใต้น้ำ) การออกแรงน้อยๆ ที่ไม่รุนแรงมากเกินไป (ขยับแขน ขา ว่ายน้ำเบาๆ) เป็นเรื่องที่ควรจะทำในช่วงคลายแก๊ส (ระหว่างขึ้นและการทำเซฟตี้สตอป) อย่างไรก็ดี ต้องระวังเมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำแล้วว่าจะต้องหลีกเลี่ยงการยกของหนักขึ้นบันได หลีกเลี่ยงการรับน้ำหนักที่แขนขาและข้อต่อ ควรถอดอุปกรณ์หนักๆ ถ้าทำได้ เช่นการส่งอุปกรณ์ให้กับคนบนเรือก่อนที่จะขึ้นบันได จากนั้นให้ผ่อนคลายให้นานที่สุดก่อนที่จะเริ่มทำงานอื่นๆ เช่นถอด เปลี่ยน อุปกรณ์ ยกของ หรือทำความสะอาด การออกกำลังกายระหว่างดำน้ำ: ให้ทำตัวให้อบอุ่นและรักษากิจกรรมทางกายเบาๆ ระหว่างและหลังการดำน้ำ การทำแบบนี้จะช่วยให้การคลายแก๊สออกได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น การนอนหลับทันทีหลังจากการดำน้ำไม่ใช่เรื่องที่ควรทำเพราะการไหลเวียนโลหิตอาจจะถูกขวางกั้นได้และหากมีอาการจากโรคลดความกดก็จะไม่รู้สึกตัว นอกจากนั้นยังมีผลการศึกษาของงานวิจัยอีกหลายงานที่ให้คำแรนะนำ การศึกษาในสัตว์ที่นอร์เวย์แสดงว่าหนูที่ออกกำลังกาย 24 ชม. ก่อนการดำน้ำมีฟองอากาศในเส้นเลือดดำน้อยกว่า ซึ่งถึงแม้ฟองอากาศเหล่านี้ไม่ได้เป็นเหตุโดยตรงของโรคลดความกด แต่แสดงให้เห็นว่าร่างกายมีความเครียดจากการลดความกดน้อยกว่าและเป็นปัจจัยที่นำมาใช้เปรียบเทียบระหว่างรูปแบบการดำน้ำที่ระมัดระวังหรือไม่ได้ นักวิจัยกลุ่มเดียวกันได้พบเพิ่มเติมจากงานวิจัยต่อเนื่อง ว่าผลสามารถใช้กับมนุษย์ได้ ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบหนักสลับพักสั้นๆ ด้วยการวิ่งบนลู่กลเป็นเวลา 40 นาที โดยทำ 24 ชั่วโมงก่อนการดำน้ำ 18 เมตร 80 นาทีในห้องปรับความดัน ผลออกมาว่าทำให้เกิดการลดฟองอากาศในหัวใจ จากนั้นมา การแข่งขันกันศึกษาว่าเวลาที่เหมาะสมของการออกกำลังกายก่อนการดำน้ำควรจะเป็นเท่าไรก็เริ่มขึ้น การศึกษาของนักดำน้ำทหารเรืออเมริกันทดสอบการออกกำลังกายเป็นเวลา 45 นาที สองชั่วโมงก่อนการดำน้ำ ใช้รูปแบบการออกกำลังกายต่างจากเดิมนิดหน่อย และดำน้ำลึก 30 เมตรเป็นเวลา 30 นาที ผลจองงานวิจัยนี้ยังพบว่ามีการลดระดับของฟองอากาศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นักวิจัยสรุปว่าการออกกำลังกายใกล้การดำน้ำเพียง 2 ชั่วโมงอาจจะคาดหมายว่าจะลดจำนวนของฟองอากาศ และลดโอกาศที่จะเกิดโรคจากการลดความกดได้ จากนั้นมีนักวิจัยของฝรั่งเศสทำการทดลองที่เข้มข้นกว่านั้นอีกด้วยการออกกำลังหนึ่งชั่วโมงก่อนการดำน้ำและสังเกตปริมาณฟองอากาศขณะที่ขึ้นมาจากน้ำ และเช่นเคย นักวิจัยพบว่ามีการลดของฟองอากาศทั้งระดับและปริมาณ ในปี 2006 นักดำน้ำกลุ่มหนึ่งทดลองออกกำลังกายเป็นเวลา 10 นาทีหลังจากการขึ้นมาจากน้ำที่ความลึก 30 เมตรเป็นเวลา 30 นาที หลังจากการใช้เครื่อง Doppler…

อ่าน การออกกำลังกายก่อน ระหว่าง และภายหลังการดำน้ำ

การลดความเสี่ยงต่อ DCS ด้วยการดื่มน้ำ

ถึงแม้กิจกรรมการดำน้ำจะนับได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ปลอดภัยมากที่สุดกิจกรรมหนึ่ง แต่ทุกกิจกรรมต่างก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน หลายคนคงเคยได้ยินว่า การดื่มน้ำเยอะ ๆ จะช่วยทำให้การดำน้ำปลอดภัยขึ้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องและสำคัญมาก ที่นักดำน้ำทุกคนควรระวังและป้องกันโอกาสที่เกิดจากการเจ็บป่วยจากการดำน้ำให้ได้มากที่สุด โรคจากการดำน้ำที่หลายคนกังวลคือ โรคจากการลดความกด (Decompression sickness, DCS) หรือน้ำหนีบ หรือ bend หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของ DCS ที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุดและแก้ไขง่ายที่สุดคือ Dehydration หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ภาวะการขาดน้ำ การป้องกันทำได้หลายอย่าง โดยสิ่งที่สำคัญและแก้ไขง่ายที่สุดคือการ “ดื่มน้ำ”​ คำถามคือ ทำไมเราถึง “ขาดน้ำ” ตอนดำน้ำ มีหลายปัจจัย แต่อธิบายปัจจัยหลักง่าย ๆ คือ ระหว่างการดำน้ำ 40-60 นาที เราไม่สามารถดื่มน้ำได้ และหากมีการหายใจเอาละอองน้ำทะเลหรือกลืนน้ำทะเลเข้าไปเล็กน้อย จะทำให้ร่างกายเราขาดน้ำมากขึ้นเนื่องจากน้ำทะเลมีความเข้มข้นสูงกว่าเนื้อเยื่อของร่างกายเรา การออกกำลังกายระหว่างการดำน้ำ เช่น การว่ายน้ำ จะทำให้เพิ่มการสูญเสีย เหงื่อและเสียความร้อน โดยจะมีน้ำบางส่วนออกจากร่างกายเราเพื่อดึงความร้อนออกไป ขณะเราดำน้ำ มนุษย์จะมีปฏิกิริยาตอบสนองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่เรียกว่า ​Mammalian Diving Reflex ซึ่งจะมีหลายส่วน เช่น หัวใจเต้นช้าลง เส้นเลือดส่วนปลายหดตัว เลือดเพิ่มปริมาณการเลี้ยงอวัยวะสำคัญ และม้ามบีบตัว ซึ่งมีส่วนทำให้ไตเราเข้าใจว่าปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น (จริงแล้วลดลง) จะทำให้มีการส่งสัญญาณประสาทให้กรองเลือดออกมาเป็นปัสสาวะมากขึ้น จึงไม่แปลกที่เราปัสสาวะเพิ่มขึ้นเวลาว่ายน้ำ หรือดำน้ำ โดยเฉพาะน้ำเย็นจะมีการกระตุ้น reflex นี้มากขึ้น โดยการกระตุ้นมากที่สุดจะเกิดเมื่อน้ำที่เย็นสัมผัสบริเวณหน้าซึ่งจะกระตุ้นเส้นประสาทที่เรียกว่า Trigeminal nerve ซึ่งจะทำให้ reflex นี้ชัดเจนขึ้นมากในน้ำที่เย็นขึ้น และมีการสัมผัสน้ำโดยตรงเช่น ไม่ใส่ wetsuit หรือ ใส่ wetsuit ที่บาง จากที่เราทราบกันว่า silent bubble เกิดขึ้นตลอดในทุก dive ของการดำน้ำ จะมากน้อยขึ้นกับหลายปัจจัย การทำให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เป็นสิ่งสำคัญที่ป้องกันไม่ให้เลือดอยู่ในสภาวะข้นซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด DCS ที่อวัยวะต่าง ๆ สรุป การป้องกันการเกิด DCS มีหลายวิธี ตั้งแต่ปัจจัยส่วนบุคคล หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ การดำน้ำอย่าง conservative และปัจจัยที่ดูแลง่ายที่สุดอย่างนึงคือการ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ทั้งก่อนและหลังดำน้ำถึงแม้ไม่มีข้อมูลชัดเจนเรื่องปริมาณน้ำที่ควรดื่มก่อนหรือหลังดำน้ำ แต่อย่างน้อยควรทานตั้งแต่ก่อนลงซักพักและควรดื่มน้ำอีกครั้งหลังจากดำน้ำขึ้นมาทันที เพราะ silent bubbles และอุบัติการณ์ของ DCS เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทันทีจนถึงหลายชั่วโมงหลังดำน้ำ ปกติมนุษย์ผลิตปัสสาวะ ชั่วโมงละ 1.5 ถึง 2 ml/kg/hr…. ตัวผมเองทานอย่างน้อย​ 300 –…

อ่าน การลดความเสี่ยงต่อ DCS ด้วยการดื่มน้ำ
Diving in Fish Tank

แอลกอฮอล์กับการดำน้ำ

แอลกอฮอล์กับการดำน้ำ – ปัญหาในทริปดำน้ำ ที่ผลเสียอาจไม่ได้เกิดเพียงกับนักดื่มเท่านั้น หากต้องยุติทริปแล้วกลับเข้าฝั่งก่อนเวลาอันควร

อ่าน แอลกอฮอล์กับการดำน้ำ

ยาพ่นจมูกช่วยลดอาการเจ็บหูระหว่างดำน้ำได้อย่างไร?

ยาพ่นจมูกทำงานอย่างไร เพื่อนๆ scuba มาถามว่า “มันช่วยเคลีย์หูได้ไหม??” … เราขอมาขยายความนิ้ดนุง

อ่าน ยาพ่นจมูกช่วยลดอาการเจ็บหูระหว่างดำน้ำได้อย่างไร?

ไอลิเอดิน (iliadin) ดีจริงหรือ ดีหรือไม่ ใช้ยังไง แล้วมีข้อเสียอย่างไร

ไอลิเอดิน (iliadin) ดีจริงหรือ ดีหรือไม่ ใช้ยังไง แล้วมีข้อเสียอย่างไร หาคำตอบได้ในโพสนี้

อ่าน ไอลิเอดิน (iliadin) ดีจริงหรือ ดีหรือไม่ ใช้ยังไง แล้วมีข้อเสียอย่างไร

ความรู้เรื่องการเคลียร์หู (Ear Equalization หรือ Ear Clearing)

การเคลียร์หู แม้จะเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุด และจำเป็นมากที่สุด สำหรับการดำน้ำทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น scuba diving, technical diving หรือ freedive ก็ตาม แต่หลายคนก็ยังเข้าใจเรื่องของการเคลียร์หูไม่ครบถ้วนนัก โดยเฉพาะในเรื่องผลที่อาจเกิดขึ้นได้หากเคลียร์หูไม่สำเร็จแล้วยังฝืนดำลงสู่ความลึกต่อไป ทำให้เรายังคงได้รับฟังเรื่องราวนักเรียนดำน้ำเจ็บหู เลือดกำเดาออก เป็นจำนวนมากในระหว่างการสอบในทะเลครั้งแรกๆ ยิ่งในบางรายถึงกับมีผลกระทบต่อการได้ยินกันเลยทีเดียว ทำไมเราจึงเจ็บหู เมื่อลงสู่ความลึก (เราเคลียร์หูเพื่ออะไร) หูของมนุษย์ไม่ได้เปิดออกสู่โลกภายนอกโดยตรง แต่มีเยื่อบางๆ ที่เรียกว่าเยื่อแก้วหู (ear drum หรือ Tympanic Membrane) กั้นเอาไว้ ส่วนภายในอาจแบ่งได้เป็นอีก 2 ส่วนเรียกว่า หูชั้นกลาง กับ หูชั้นใน โดยหูชั้นกลางเป็นช่องว่างที่มีกระดูก 3 ชิ้นหลักส่งต่อคลื่นเสียงไปสู่หูชั้นใน และหูชั้นในก็เป็นส่วนของระบบประสาทรับสัญญาณเสียงมาเปลี่ยนเป็นสัญญาณประสาทส่งต่อไปยังสมองอีกที บริเวณหูชั้นกลางนี้เอง (ในรูปเป็นสีแดงตรงกลาง) เป็นโพรงอากาศที่และเปลี่ยนกับอากาศภายนอกได้ ผ่านทางท่อยูสเตเชียน (Eustachian Tube) ที่มีปลายเปิดอีกข้างอยู่ข้างลำคอ เมื่อความดันอากาศภายในหูชั้นกลางกับภายนอกแตกต่างกัน มนุษย์สามารถปรับสมดุลความดันนี้ได้ โดยส่งอากาศผ่านลำคอเข้าไป ในสภาวะปกติ หรือบนบก ความกดอากาศภายนอกกับภายในหูเท่ากัน เยื่อแก้วหูไม่ต้องรับแรงกระทำจากฝั่งใดทั้งสิ้น หรือถ้าต่างกันไม่มาก (เช่น เคลื่อนที่เร็วๆ หรือมีลมพัดแรง) การกลืนน้ำลายจะทำให้ท่อยูสเตเชียนเปิดออก และอากาศถ่ายเทกันได้ เท่ากับว่าเราได้เคลียร์หูไปเองโดยอัตโนมัติ (เสียงขลุกๆ กับความรู้สึกที่หู ซึ่งเราจะรู้สึกได้ตอนกลืนน้ำลายนั่นเอง) แต่เมื่อเราดำลงสู่ความลึก (ไม่ว่าเป็นการดำน้ำแบบสคูบ้าหรือฟรีไดฟ์ก็ตาม) น้ำทะเลจะไหลเข้ามาในโพรงหูจนถึงเยื่อแก้วหู ความกดดันภายนอกจะสูงกว่าภายในหูชั้นกลาง น้ำก็จะดันเยื่อแก้วหูเข้ามา ถ้าความดันแตกต่างกันมาก เราจะรู้สึกตึงหรือเจ็บ แต่ถ้าความดันยังคงเพิ่มขึ้นจนต่างกันมากๆ เยื่อแก้วหูอาจจะฉีกขาดและทะลุได้ เราจึงต้องเคลียร์หูหรือปรับสมดุลความดันภายในหูกับภายนอกให้เท่ากัน เพื่อไม่ให้เยื่อแก้วหูฉีกขาด ด้วยการเติมอากาศผ่านท่อยูสเตเชียนเข้าไปนั่นเอง การปรับสมดุลโพรงไซนัส (Sinus Equalization) นอกจากโพรงอากาศในหูชั้นกลางแล้ว การเคลียร์หูยังทำเพื่อปรับสมดุลอากาศในโพรงอากาศในกระโหลกศีรษะหรือที่เราเรียกว่าไซนัส อีกด้วย ไซนัสเป็นโพรงอากาศที่ทำให้กระโหลกศีรษะมีน้ำหนักเบาโดยไม่เสียความแข็งแรง และทำให้เสียงของเรากังวาน เมื่อเราดำลงสู่ความลึก ความกดดันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ปริมาตรอากาศในโพรงเหล่านี้หดตัวเล็กลง แต่เนื่องจากโพรงอากาศเหล่านี้มีช่องทางเชื่อมต่อกับปากและจมูก การปรับสมดุลอากาศจึงเกิดขึ้นพร้อมกันกับการเคลียร์หูได้โดยไม่ต้องทำอะไรเป็นพิเศษ แต่หากคุณมีอาการหวัดหรือภูมิแพ้ หรือมีน้ำมูกหรือสิ่งอุดตันอยู่ตามช่องทางที่เชื่อมต่อกับโพรงอากาศเหล่านี้ ก็อาจทำให้ไม่สามารถปรับสมดุลอากาศได้สำเร็จ หากเกิดขณะดำน้ำลงสู่ความลึก จะเรียกว่า sinus squeeze หากเกิดขณะขึ้นสู่ที่ตื้นหรือผิวน้ำ จะเรียกว่า reverse block ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือเนื้อเยื่อบุในโพรงเหล่านี้จะเกิดการฉีกขาดและอาจมีเลือดออกมาพอสมควรได้ ส่วนความเจ็บปวดส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่ามีเลือดกำเดาออก จะรู้ก็เมื่อเพื่อนดำน้ำเห็นและบอกให้ทราบ (ไว้มีโอกาสจะเขียนถึงเรื่องนี้โดยละเอียดอีกทีนะครับ) อาการ sinus squeeze และ reverse block นี้อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์อื่นๆ ได้อีกเช่น บนเครื่องบิน หรือระหว่างการรักษาใน hyperbaric chamber เป็นต้น จึงมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น aerosinusitis หรือ…

อ่าน ความรู้เรื่องการเคลียร์หู (Ear Equalization หรือ Ear Clearing)
Skin Eruption Woman

ผื่นคันเวลาไปดำน้ำหรือเล่นน้ำทะเล (Sea Bather’s Eruption หรือ “แตนทะเล” ที่คนไทยนิยมเรียกกัน)

อาการผื่นคันในขณะที่อยู่ในน้ำหรือขึ้นจากน้ำไม่นาน… ที่มักเรียกกันว่าเป็นการคันจาก “แตนทะเล”…….จริงๆแล้วมันมีสาเหตุจากอะไรและมีวิธีการรักษาอย่างไร

อ่าน ผื่นคันเวลาไปดำน้ำหรือเล่นน้ำทะเล (Sea Bather’s Eruption หรือ “แตนทะเล” ที่คนไทยนิยมเรียกกัน)