Banner - Mask on the sand beach

มารู้จักส่วนประกอบของหน้ากากดำน้ำกันเถอะ

รู้จักกับส่วนประกอบของหน้ากากดำน้ำเพื่อคุณจะได้เลือกซื้อและปรับการใช้งานได้อย่างถูกต้อง และถูกใจ

อ่าน มารู้จักส่วนประกอบของหน้ากากดำน้ำกันเถอะ
Banner - How to choose mask

เลือกหน้ากากดำน้ำอย่างไร ให้ถูกใจ ใช้ดี ดำน้ำสบาย

5 ข้อพิจารณเพื่อการเลือกหน้ากากดำน้ำที่ถูกใจ เหมาะกับการใช้งาน พอดีกับใบหน้าของคุณ และใช้ดำน้ำไปได้นานๆ

อ่าน เลือกหน้ากากดำน้ำอย่างไร ให้ถูกใจ ใช้ดี ดำน้ำสบาย

Neoprene, Elastane, Yamamoto, Geoprene, Yulex – เรื่องของวัสดุผลิตเว็ทสูท

บอกเล่าเรื่องราวของวัสดุประเภทต่างๆ ที่ใช้ผลิตเว็ทสูท ทั้งความเป็นมา คุณสมบัติ และผู้ผลิต เพื่อเป็นข้อมูลให้คุณเลือกซื้อเว็ทสูทได้ตรงใจ

อ่าน Neoprene, Elastane, Yamamoto, Geoprene, Yulex – เรื่องของวัสดุผลิตเว็ทสูท

เว็ทสูท (Wetsuit) ตัวแรก เลือกยังไงดีนะ

เว็ทสูทเป็นอุปกรณ์ดำน้ำชิ้นหนึ่งที่มีประโยชน์มากในการรักษาพลังงานของร่างกายไว้ให้เราทำกิจกรรมใต้น้ำได้นาน ช่วยรักษาสุขภาพของเรา ลดโอกาสเกิดความเจ็บป่วยจากการสูญเสียความร้อนในร่างกายด้วย ด้วยความที่เป็นสินค้าที่มีราคาเริ่มต้นไม่สูงนัก แต่เป็นสิ่งที่ต้องใช้ติดกับเนื้อตัวเราโดยตรง นักดำน้ำที่เริ่มดำน้ำจริงจังแล้วส่วนใหญ่จึงมักจะหาซื้อเว็ทสูทดำน้ำไว้เป็นของส่วนตัวมากกว่าจะเช่าจากร้านดำน้ำ บางคนก็มีเป็นของตัวเองตั้งแต่เริ่มต้นเรียนดำน้ำกันเลยทีเดียว มาดูกันดีกว่าว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่เราควรพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อเว็ทสูทตัวแรกของเรา 1. เริ่มจาก อุณหภูมิน้ำ และความขี้หนาวขี้ร้อนของเรา ลองดูว่า ปกติเราน่าจะไปดำน้ำแถบไหนบ้าง แล้วน้ำทะเลแถวนั้นมีอุณหภูมิประมาณเท่าไหร่ อย่างในบ้านเราน้ำทะเลมีอุณหภูมิระหว่าง 28-30 °c บางปีร้อนหน่อยก็ถึง 31 °c แต่น้อยปีที่จะมีน้ำเย็นเข้ามาจนทำให้ลดต่ำกว่า 27 °c มาก สำหรับอุณหภูมิน้ำระดับนี้ คนที่ไม่ขี้หนาวอาจใช้เว็ทสูทความหนาประมาณ 1-1.5 ม.ม. (ซึ่งมักจะเรียกว่า skin suit ให้รู้กันไปเลยว่า บางจริงๆ นะ) ก็ได้ หรือคนที่ขี้ร้อนอาจใช้แค่ rashguard ก็เพียงพอ (ชาวเมืองประเทศหนาว มาดำน้ำบ้านเรา ใส่แค่ชุดว่ายน้ำหรือชุดบิกินี่ก็แฮปปี้แล้ว) นอกจากนี้ บางคนที่ไม่ขี้หนาวอาจเลือกใช้เว็ทสูทแบบแขนสั้นขาสั้น แทนเว็ทสูทแบบเต็มตัว ก็ได้ อย่างน้อยก็ช่วยให้ความอบอุ่นบริเวณท้องและหน้าอกซึ่งเป็นส่วนแกนกลางของลำตัว มีอวัยวะภายในหลายอย่างที่ไม่ควรให้สูญเสียความร้อนไป แต่สำหรับคนไทยทั่วไป เว็ทสูทความหนา 2-3 ม.ม. เป็นขนาดมาตรฐานที่เหมาะกับการดำน้ำในอุณหภูมิระดับนี้ และบางคนที่ขี้หนาวมาก อาจใช้เว็ทสูทแบบผสม 3/5 (หรือ 5/3 คือเพิ่มความหนาช่วงท้องและอกเป็น 5 ม.ม.) เลยก็ได้ รวมถึงคนขี้ร้อนก็อาจใช้แบบ 2/3 (หรือ 3/2 แล้วแต่จะเรียก) ต่อจากนั้น ถ้าเห็นว่าเราน่าจะไปดำน้ำที่น้ำเย็นกว่านี้ เช่น แถบบาหลี หรือ ฟิลิปปินส์ ที่อุณหภูมิน้ำอยู่ระหว่าง 25-28 °c เพิ่มความหนาเว็ทสูทเข้าไปอีก 2-3 ม.ม. จากที่เล่าไปข้างต้นนี้ ก็จะเหมาะสมกับการใช้งานได้พอดี   2. เลือกคุณสมบัติวัสดุ และวิธีการตัดเย็บ แม้เว็ทสูทจะทำจากนีโอพรีนเป็นหลักเหมือนๆ กัน แต่เดี๋ยวนี้มีการพัฒนาคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำเว็ทสูทเพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง ทำให้ได้เว็ทสูทนีโอพรีนที่ดูเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกัน จะขอยกมาเล่าไว้ 2-3 อย่างที่สำคัญๆ ก่อน แล้วไว้ถ้ามีเวลาจะมาเล่าให้ฟังเพิ่มอีก หมายเหตุ แผ่นยางนีโอพรีนมีความยืดหยุ่นดี แต่ก็มีโอกาสฉีกขาดได้หากถูกดึงแรงๆ จึงมีการปิดผิว 2 ด้านด้วยผ้าชนิดต่างๆ ในที่นี้จะขอเรียกว่า “ผ้านีโอพรีน” เพื่อหมายถึงแผ่นยางนีโอพรีนที่ปิดผิวด้วยผ้าแล้ว ความหนาแน่นของเนื้อนีโอพรีน – แน่นกว่า ทนทานกว่า จากข้อแรก เราเลือกเว็ทสูทโดยดูความหนาของนีโอพรีนเป็นหลัก แต่นีโอพรีนหนาเท่ากัน อาจมีความหนาแน่นของเนื้อยางไม่เท่ากันก็ได้ และสำหรับเว็ทสูทดำน้ำลึกซึ่งใช้งานภายใต้ความกดดันมากกว่าปกตินั้น เมื่อใช้ไปนานๆ เนื้อนีโอพรีนก็จะยุบตัวลงเรื่อยๆ ซึ่งเท่ากับบางลงเรื่อยๆ นั่นเอง และความสามารถในการป้องกันการสูญเสียความร้อนก็จะลดลงตามไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นความหนาแน่นของนีโอพรีนที่ใช้จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดอายุการใช้งานของเว็ทสูทด้วย…

อ่าน เว็ทสูท (Wetsuit) ตัวแรก เลือกยังไงดีนะ

ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อการกลั้นหายใจมากที่สุด

เมื่อเราดำน้ำ สิ่งที่เป็นปัญหาหลักๆ คือ เราไม่สามารถหายใจใต้น้ำได้โดยไม่อาศัยเครื่องมือช่วย ซึ่งแตกต่างกับแมวน้ำที่สามารถกลั้นหายใจดำน้ำได้นานถึงสองชั่วโมง โดยไม่ต้องใช้ถังออกซิเจน แล้วถ้าถามว่าทำไมแมวน้ำถึงกลั้นหายใจได้นานขนาดนั้น นั่นก็เพราะว่า ร่างกายของแมวน้ำมีความสามารถในการกักเก็บ และใช้ออกซิเจนน้อยมากเวลาดำน้ำ โดยมีกลไกส่งออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ และสมอง เส้นเลือดในอวัยวะอื่นๆที่ไม่สำคัญจะหดตัว (peripheral constriction) และหัวใจจะเต้นช้าลง (bradycardia) เปรียบเทียบกับแมวน้ำแล้ว มนุษย์มีความสามารถในการดำน้ำน้อยกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งคนส่วนมากสามารถ กลั้นหายใจแบบสบายๆ ได้น้อยกว่า 1 นาที แต่ร่างกายของมนุษย์ก็มีระบบที่ใช้ในการดำน้ำเหมือนกับแมวน้ำ และโลมา ดังนั้นหากเรารู้ว่า กลไกอะไรที่ส่งผลต่อความสามารถของร่างกาย ในการกักเก็บออกซิเจน ก็จะทำให้เราฝึกฝน และสามารถดำฟรีไดฟ์ได้นานมากยิ่งขึ้น การทดลองปัจจัยในการกลั้นหายใจแต่ละแบบ การทดลองจะมุ่งเน้นไปที่ การวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่ลดลง (Bradycardia) เนื่องจากเป็นสิ่งที่สังเกตได้ง่ายเพื่อเปรียบเทียบว่าปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อ mammalian dive reflex มากกว่ากัน โดยวัดผลระหว่างกลั้นหายใจเป็นเวลา 30 วินาที   สภาวะการกลั้นหายใจ No. เปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ สภาวะดำน้ำ กับ ไม่ดำน้ำ 1 หายใจธรรมดา กับ การกลั้นหายใจในน้ำ เปรียบเทียบการหายใจกับการกลั้นหายใจ 2 หายใจธรรมดา กับ การกลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ 3 หายใจผ่านท่อ snorkel ในน้ำ กับ กลั้นหายใจในน้ำ ใบหน้าสัมผัสน้ำ 4 หายใจผ่านท่อ snorkel โดยหน้าไม่เปียกน้ำ กับ หายใจผ่านท่อ snorkel ในน้ำ 5 กลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ กับ กลั้นหายใจในน้ำเย็น 6 กลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ กับ กลั้นหายใจในน้ำธรรมดา อุณหภูมิ 7 ใช้เจลประคบร้อนบริเวณใบหน้า กับ ใช้เจลประคบเย็นบริเวณใบหน้า 8 กลั้นหายใจในน้ำอุ่น กับ กลั้นหายใจในน้ำเย็น   ผลการทดลอง กลั้นหายใจ แบบต่างๆ 30 วินาที สภาวะการกลั้นหายใจ No. เปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจ วินาทีที่15 – 30 (ครั้ง / นาที) สภาวะดำน้ำ กับ ไม่ดำน้ำ 1 การหายใจแบบธรรมดา กับ 76 การกลั้นหายใจในน้ำ 56.1 เปรียบเทียบการหายใจกับการกลั้นหายใจ 2…

อ่าน ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อการกลั้นหายใจมากที่สุด

ไดฟ์คอมพิวเตอร์รุ่นใด ใช้อัลกอริธึมอะไร

ข้อมูลอัลกอริธึมคำนวณการดำน้ำของไดฟ์คอมพิวเตอร์ทุกยี่ห้อ สรุปเป็นตาราง อ่านงาน เข้าใจเร็ว เปรียบเทียบได้ง่าย

อ่าน ไดฟ์คอมพิวเตอร์รุ่นใด ใช้อัลกอริธึมอะไร
Imaginary Dive Computer with Mathematics Equations as Background

รู้จักกับอัลกอริธึมคำนวณการดำน้ำในไดฟ์คอมพิวเตอร์

ไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในท้องตลาดทุกวันนี้ มีอยู่หลายรุ่น หลายแบรนด์ และแต่ละรุ่นก็ใช้อัลกอริธึมการคำนวณผลกระทบของการดำน้ำต่อร่างกายของเรา เช่นเรื่องไนโตรเจนหรือก๊าซอื่นๆ ที่สะสมในร่างกายนักดำน้ำ ตลอดจนความเป็นพิษของออกซิเจนที่ความกดสูง แตกต่างกันไป เพื่อบอกเราถึงเวลาดำน้ำที่เหลืออยู่ หรือความลึกและระยะเวลาที่ต้องทำ stop ก่อนขึ้นสู่ผิวน้ำ รวมถึงช่วยคำนวณการระบายก๊าซออกจากร่างกายระหว่างพักน้ำ เพื่อวางแผนการดำน้ำไดฟ์ถัดไป แม้อาจจะบอกได้ยากว่า วิธีการคำนวณของใครดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด แต่อย่างน้อยการได้เข้าใจคุณลักษณะของอัลกอริธึมเหล่านั้นและความแตกต่างระหว่างแต่ละอัน ก็น่าจะพอช่วยให้เราเลือกไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับเราได้ดียิ่งขึ้น หรือใช้งานไดฟ์คอมพิวเตอร์ด้วยความเข้าใจความหมายของการตั้งค่าต่างๆ ในนั้นได้ดียิ่งขึ้น ก่อนจะไปรู้จักกับอัลกอริธึมการคำนวณเหล่านี้ ต้องขอเล่าถึงทฤษฎีเกี่ยวกับการลดความกด (decompression theory) และโมเดลวิธีคิดที่จะช่วยป้องกันหรือลดอาการเจ็บป่วยจากการลดความกดนี้ เท่าที่วงการดำน้ำของเราได้ศึกษาค้นคว้าและพัฒนากันมาจนถึงปัจจุบัน ก่อนสักเล็กน้อย Decompression Theory อาการเจ็บป่วยจากการลดความกดถูกพบเมื่อราว 150 ปีที่แล้ว (ค.ศ. 1871) จากกรณีการสร้างสะพานบรุคลินที่นิวยอร์คด้วยการสร้างกล่องกักอากาศให้คนงานลงไปขุดดินใต้แม่น้ำเพื่อทำฐานรากของสะพานแล้วพบว่าคนงานมีอาการเจ็บป่วยคล้ายๆ กัน ต่อมาเมื่อการดำน้ำลึกแพร่หลายมากขึ้น ก็พบอาการเจ็บป่วยในนักดำน้ำด้วยเช่นกัน ในปี ค.ศ. 1906 ราชนาวีอังกฤษจึงได้ว่าจ้าง J. S. Haldane ให้วิจัยหาสาเหตุและวิธีการป้องกันอาการดังกล่าว และต่อมาก็ได้เผยแพร่ผลการวิจัยแก่สาธารณะ ทฤษฎีของ Haldane เสนอว่า เมื่อคนหรือสัตว์ได้รับอากาศความกดแตกต่างจากเดิม ก็จะมีการดูดซับเข้าหรือคายออกจากเนื้อเยื่อต่างๆ โดยที่อัตราการดูดซับและคายออกของเนื้อเยื่อจะแตกต่างกันไปหลายระดับ รวมทั้งค่าความอิ่มตัวสูงสุดที่เนื้อเยื่อแต่ละชนิดจะทนได้ก่อนจะแสดงอาการเจ็บป่วยก็แตกต่างกันไปด้วย เขาสรุปทฤษฎีออกมาเป็นโมเดลเนื้อเยื่อสมมติ (theoretical tissue compartment) 5 ชนิดที่มีอัตราการดูดซับแตกต่างกัน 5 ระดับเพื่อใช้เป็นตัวแทนในการคำนวณหาขีดจำกัดระยะเวลาที่จะดำน้ำได้ที่แต่ละระดับความลึก และเกิดเป็นตารางดำน้ำ (dive table) เพื่อใช้วางแผนการดำน้ำ จากนั้นก็ได้มีการปรับปรุงทฤษฎีนี้โดยนักวิจัยจากองค์กรต่างๆ อีกหลายครั้ง มีการเพิ่มเนื้อเยื่อสมมติเข้าไปอีก เป็น 6 ชนิด 9 ชนิด มีการปรับปรุงค่าความอิ่มตัวสูงสุดที่เนื้อเยื่อจะทนได้ ให้เป็นค่าที่แปรผันสัมพันธ์กับความกดที่เปลี่ยนแปลงไป (หรือก็คือความลึกนั่นเอง) ไม่ใช่ค่าคงที่ตายตัวของเนื้อเยื่อแต่ละชนิด อย่างในทฤษฎีเดิม เรียกชื่อใหม่ว่า M-value ค่าความอิ่มตัวสูงสุดที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่นๆ แบบนี้ทำให้เหมาะจะใช้การคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ มากกว่าจะเป็นตารางคำนวณแบบตายตัวอย่างตอนแรกเริ่ม นักวิจัยคนสำคัญที่ทำให้ทฤษฎีนี้เข้าใกล้ความสมบูรณ์มากที่สุด ก็คือ Albert A. Bühlmann ที่ได้พยายามค้นหาเนื้อเยื่อที่มีอัตราการดูดซับมากที่สุด (นานที่สุดกว่าจะอิ่มตัว) ซึ่งมีผลต่อการคำนวณระยะเวลาการพักน้ำเพื่อการดำน้ำไดฟ์ถัดไป (repetitive dive) จนมีการเพิ่มเนื้อเยื่อสมมติเข้าไปอีกรวมทั้งหมดเป็น 16 ชนิด และยังได้พัฒนาต่อยอดทฤษฎีเดิมอีกหลายเรื่อง เพื่อการดำน้ำในที่สูง หรือใช้อากาศผสมก๊าซอื่นๆ ด้วย เมื่อทฤษฎีและโมเดลการคำนวณ ได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ตารางดำน้ำเดิมของ US Navy ก็ได้รับการปรับปรุงตามมาเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน เมื่อการดำน้ำเริ่มเป็นที่นิยมของบุคคลทั่วไปมากยิ่งขึ้น เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสันทนาการมากขึ้น นักวิจัยของ PADI ก็ได้ปรับปรุงแนวโมเดลการคำนวณใหม่เป็นของตัวเอง เรียกว่า DSAT Model หรือ DSAT Algorithm…

อ่าน รู้จักกับอัลกอริธึมคำนวณการดำน้ำในไดฟ์คอมพิวเตอร์

Wetsuit Freedive เเตกต่างจาก Scuba อย่างไร

ทำไมเราใช้ wetsuit freedive ? เวลาที่เราแช่น้ำนานๆ ร่างกายจะสูญเสียความร้อนออกไปเรื่อยๆ เนื่องจากการถ่ายเทอุณหภูมิในน้ำมีมากกว่า เวลาที่เราอยู่บนบกถึง 25 เท่า ถ้าเราต้องอยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ wetsuit จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันเราจากความหนาวเย็นจนเป็นไข้ และเป็น อุปกรณ์ freedive ทำให้สามารถฝึกฝนได้อย่างสบายมากขึ้น ข้อเเตกต่างระหว่าง Wetsuit Freedive กับ Scuba หลายคนเกิดข้อสงสัยว่า ทำไมคนฝึก freedive ไม่นิยมใช้ wetsuit scuba เหตุผลก็เนื่องมาจาก ชุดของ scuba จะออกแบบมาให้น้ำสามารถซึมเข้าไปขังอยู่ในชุดได้ กลายเป็นชั้นแบ่งระหว่างร่างกาย กับชุด เมื่อคนดำ scuba เคลื่อนไหวร่างกายมากๆ ร่างกายจะสร้างความร้อนขึ้นมา และเก็บความร้อนไว้ในชุดได้ แต่คนฝึก freedive หรือ spearfishing ไม่ต้องการเคลื่อนไหวร่างกายมาก เพื่อทำให้ร่างกายใช้ออกซิเจนให้น้อยที่สุด มักลอยอยู่นิ่งๆ ใช้เวลาในกการหายใจ เพื่อเตรียมตัวดำลงไปใต้น้ำ ดังนั้นหากใช้ wetsuit ของ scuba ก็จะไม่ช่วยในเรื่องของอุณหภูมิ และความยืดหยุ่นของชุด scuba จะน้อยกว่าชุดสำหรับ ฟรีไดฟ์ ทำให้เคลื่อนไหวไม่สะดวกเท่าที่ควร วัตถุประสงค์การใช้งานของ Wetsuit สำหรับ Freedive การเลือกใช้งานจะขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมในการดำน้ำ เช่น ระยะเวลาที่อยู่ในน้ำ อุณหภูมิของน้ำ ยิ่งอุณหภูมิของน้ำต่ำเท่าไหร่ ความหนาของชุดก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น โดยปกติ ชุดจะแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนบนของร่างกาย และ hood กับ ส่วนของกางเกง วัสดุที่ใช้ในการทำชุดจะ ทำมาจาก neoprene แบ่งออกหลักๆได้ 3 ชนิด Double-lining: ทำมาจาก neoprene หุ้มด้วยไนลอนทั้งสองด้าน ด้านในและด้านนอกชุด ข้อดีคือ ราคาถูกกว่าแบบอื่น และมีความทนทาน ง่ายต่อการดูแลรักษา สะดวกเวลาใส่และถอดออก แต่ก็มีข้อเสียคือ น้ำซึมเข้าไปได้ง่าย และชุดต้านน้ำ กว่าแบบอื่น Single-lining: หรือเรียก อีกอย่างหนึ่งว่าแบบ open-cell มีไนลอนเพียงด้านเดียว ด้านที่สัมผัสร่างกายจะไม่มีไนลอน ทำให้neoprene แนบกับผิวหนังได้สนิท มีข้อดีคือ น้ำจะไม่เข้าไปในชุด เหมาะสำหรับ spearfishing และใส่ฝึกซ้อม freedive เนื่องจากชุดจะมีความ ทนทานกว่าแบบ no lining ข้อเสีย คือ ชุดต้านน้ำและไม่ยืดหยุ่น เท่าชุดแบบ…

อ่าน Wetsuit Freedive เเตกต่างจาก Scuba อย่างไร
Banner for the article "Brands of Freediving Fins in Thailand 2022"

แนะนำฟินฟรีไดฟ์หลายแบรนด์น่าสนใจ ประจำปี 2566

ฟินฟรีไดฟ์ที่มีจำหน่ายในเมืองไทย มีด้วยกันหลายแบรนด์ และแต่ละแบรนด์ก็ยังมีหลายรุ่น ที่มีคุณสมบัติต่างกัน เหมาะกับการใช้งานหรือความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกันด้วย เราจะพาคุณไปรู้จักกับฟินฟรีไดฟ์แต่ละแบรนด์ว่า มีคุณสมบัติอย่างไรกันบ้าง

อ่าน แนะนำฟินฟรีไดฟ์หลายแบรนด์น่าสนใจ ประจำปี 2566