cover image บทความ Mask Scuba Freedive Comparison

ความแตกต่างระหว่างหน้ากาก Scuba และหน้ากาก Freedive

ในปัจจุบัน หน้ากากดำน้ำนั้นมีตัวเลือกให้เราทุกคนได้เลือกสรรมากมาย ทั้งฝั่ง scuba และ ฝั่งของ freedive เอง ด้วย design รูปลักษณ์หรือขนาดเองก็ตามที่อาจจะทำให้ใครหลายๆ คนกำลังสงสัยว่าระหว่างหน้ากาก scuba กับ freedive นั้นมีข้อแตกต่างกันอย่างไร และเราสามารถใช้หน้ากาก scuba ในการ freedive ได้หรือไม่ หรือ หน้ากาก freedive ใช้สำหรับ scuba ได้หรือเปล่า Size (ขนาด) อย่างแรกที่ทุกคนจะเห็นได้ชัดถึงความแตกต่างเลย คือ “ขนาด” หน้ากาก scuba จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าหน้ากาก freedive ทั้งรูปร่าง, ขนาดของกรอบเลนส์ (frame), ขนาดของ skirt, รวมถึง ระยะห่างระหว่างเลนส์กับดวงตา และด้วยส่วนมากหน้ากาก scuba จะนิยมใช้เลนส์เดี่ยวมากกว่าเลนส์คู่ (แยกซ้าย-ขวา) แตกต่างกับหน้ากาก freedive ที่มีรูปแบบที่เพรียวกว่า กระชับรูปหน้ามากกว่า เมื่อมองจากขนาดแล้วและลักษณะของเลนส์แล้ว จะเห็นได้ว่า หน้ากากที่มีขนาดใหญ่กว่า ก็จะทำให้มีการต้านน้ำมากกว่า สำหรับการดำน้ำแบบ scuba ที่ไม่ค่อยใช้ความเร็วในการเคลื่อนที่มากนัก หน้ากากที่มีขนาดใหญ่ ได้ทัศนวิสัยกว้าง จึงเป็นที่นิยมสำหรับนักดำน้ำ scuba จำนวนมาก ส่วนการดำ freedive ที่ต้องการความคล่องตัวและใช้ความเร็วในการลงสู่ความลึก-ขึ้นสู่ผิวน้ำมากกว่า scuba จึงไม่นิยมใช้หน้ากาก scuba ในการ freedive สักเท่าไหร่นัก Air Volume, Air Space (ปริมาตรอากาศ) จากหัวข้อแรกเรื่องขนาดของหน้ากาก จึงส่งผลทำให้ “ปริมาตรอากาศ” ที่อยู่ภายในหน้ากากนั้นมีความแตกต่างกันไปด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วหน้ากาก freedive จะมีปริมาตรอากาศที่น้อยกว่า หรือที่หลายๆ คนคุ้นหูกันกับคำว่าหน้ากาก low-volume (หรือหน้ากาก low-profile) โดยคร่าวๆ แล้วหน้ากากประเภทนี้จะมีปริมาตรอากาศที่น้อยกว่า 100 ml. ส่วนหน้ากาก scuba จะมีปริมาตรอยู่ที่มากกว่า 110 ml. ขึ้นไป เพราะฉะนั้นถ้าหากนำหน้ากาก scuba ไปดำ freedive สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราดำลงสู่ความลึกด้วยความเร็ว นอกจากเรื่องของการต้านน้ำที่มากกว่าแล้ว ยังมีโอกาสที่จะทำให้เกิด mask squeeze ได้มากขึ้นด้วย (mask squeeze คือ อาการหน้ากากบีบหน้า เมื่อแรงดันภายนอกหน้ากากเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่าภายในหน้ากาก) การป้องกัน mask squeeze คือการเติมลมจากจมูกเข้าไปเคลียร์หน้ากาก แต่ถ้าหากเคลียร์หน้ากากไม่ทันหรือลมไม่พอที่จะเคลียร์หน้ากาก ก็อาจจะเป็นอันตรายส่งผลให้เกิดเส้นเลือดฝอยรอบดวงตาแตกได้…

อ่าน ความแตกต่างระหว่างหน้ากาก Scuba และหน้ากาก Freedive

เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพฟิน เรื่องใกล้ตัวที่น่ารู้

ถ้าลองมองดูฟินดำน้ำลึกแบบใบเดียว (paddle fins) ที่เราใช้ดำน้ำกันอยู่ทุกวันนี้ เราคงพอจะคาดเดาได้ว่า มันน่าจะได้รับการออกแบบมาจากรูปเท้าของสัตว์จำพวกกบหรือเป็ด หรือใบพายสำหรับพายเรือนั่นเอง ซึ่งเริ่มต้นก็คงเลียนแบบออกมาได้เป็นฟินแบนๆ ธรรมดาๆ เท่านั้น ก่อนจะค่อยๆ พัฒนามาเป็นฟินที่มีลวดลายแปลกใหม่

อ่าน เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพฟิน เรื่องใกล้ตัวที่น่ารู้
cover image for Mares divign equipment or Avanti Quattro fins

รู้จักกับฟินรุ่นต่างๆ จาก Mares — เจ้าแห่งฟินดำน้ำลึก

รู้จักกับฟินรุ่นดั้งเดิมของ Mares หลากหลายรุ่น และพัฒนาการของเทคโนโลยีเกี่ยวกับฟิน ก่อนจะมาเป็นรุ่นที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน

อ่าน รู้จักกับฟินรุ่นต่างๆ จาก Mares — เจ้าแห่งฟินดำน้ำลึก
cover image of Mares gears in white

Mares แบรนด์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน คู่กับวงการดำน้ำโลก

เมื่อเอ่ยถึงแบรนด์อุปกรณ์ดำน้ำที่เก่าแก่ อยู่คู่กับวงการดำน้ำมาอย่างยาวนาน Mares จะเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่เรานึกถึง แม้อาจจะมีบางช่วงเวลาที่ชื่อเสียงของแบรนด์นี้แผ่วเบาลง โดนแบรนด์อื่นเป็นที่แซงหน้าไปบ้าง ก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่นักดำน้ำในยุค 10-20 ปีที่แล้วจะจำได้อย่างแน่นอน ก็คือ Mares เป็นผู้ผลิตฟินที่มีประสิทธิภาพสูงรายหนึ่งของโลก

อ่าน Mares แบรนด์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน คู่กับวงการดำน้ำโลก
Boots and Fins - Keng Krob - 001

การเลือกซื้อบูทกับฟิน

มีน้องมาถามว่า พี่ หนูไปซื้อบูทมา จะซื้อฟินอะไรดี
ผมเลยตอบไปว่า เดี๋ยวว่างๆ จะเขียนเรื่องนี้และก็ว่างแล้ว 555
“บูทกับฟิน เพราะเราคู่กัน”
คำเตือน!!!! นักดำน้ำมือใหม่ใจเย็นๆ อย่าเพิ่งรีบซื้อบูทก่อนฟิน

อ่าน การเลือกซื้อบูทกับฟิน

ทำไมเราจึงใช้เว็ทสูท? รู้จักทุกแง่มุมของเว็ทสูทและการเลือกซื้อ

ชวนนักดำน้ำทุกท่าน มาทำความรู้จักกับเว็ทสูทในแง่มุมต่างๆ เพื่อช่วยให้คุณหาคำตอบได้ว่า ควรใช้เว็ทสูทหรือไม่?

อ่าน ทำไมเราจึงใช้เว็ทสูท? รู้จักทุกแง่มุมของเว็ทสูทและการเลือกซื้อ

“ถังออกซิเจน” ไม่ได้ใช้ในการดำน้ำลึก (ทั่วไป) … นะ จะบอกให้

อ่านข่าวทีไร ตกใจทู้กที เดี๋ยวเจอข่าวที่นั่นที่นี่ว่า นักดำน้ำแบกถังออกซิเจนลงไปดำน้ำบ้าง เจอร้านค้าออนไลน์ต่างๆ เสนอขายถังออกซิเจนขนาดเล็ก (ที่เติม “อากาศ” เข้าไปได้เองด้วยนะ) ไว้ใช้ดำน้ำบ้าง จึงต้องรีบออกมาบอกกันให้ชัดๆ ตรงนี้ว่า… นักดำน้ำไม่ได้ใช้ ถังออกซิเจน ลงไปดำน้ำลึก (นะจ๊ะ) นักดำน้ำไม่ได้ใช้ออกซิเจนบริสุทธิ์ในการดำน้ำโดยปกติ (แปลว่ามีบางกรณีที่ใช้เหมือนกัน ซึ่งเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังต่อไป) และถังที่นักดำน้ำใช้หายใจใต้น้ำก็บรรจุอากาศปกตินี่ล่ะ ดังนั้น เราจึงเรียกมันว่า “ถังอากาศ” เฉยๆ (หรือนักดำน้ำสายทหารเค้าจะเรียกกันว่า “ขวดอากาศ” ซึ่งก็เห็นภาพชัดดี เป็นขวดขนาดใหญ่ยักษ์เลยทีเดียว แต่…) ไม่ใช่ “ถังออกซิเจน” นะจ๊ะ หากใครได้ยินชื่อเรียกแบบนี้ แล้วเอาไปเติมออกซิเจนบริสุทธิ์กลับมาให้นักดำน้ำใช้งาน ก็จะงานเข้าได้ เพราะอันตรายถึงชีวิตเชียวนะ ทำไมจึงไม่ใช้ออกซิเจนในการดำน้ำลึก เหตุผลสำคัญมี 2 เรื่องอันตราย กับ 1 เรื่องปกติ อันตรายเรื่องแรก ออกซิเจนติดไฟได้ง่าย หากมีใครเปิดถังไว้ หรือเกิดการรั่วไหล แล้วรอบข้างเกิดมีประกายไฟขึ้นมา อาจเกิดอัคคีภัยกันกลางทะเลได้เลยทีเดียว อันตรายที่สอง ก๊าซออกซิเจนที่ละลายอยู่ในกระแสเลือดภายในร่างกายเราเองนี้ ที่ความลึกมากๆ กลับเป็นอันตรายต่อร่างกายของเรา โดยจะเพิ่มความเป็นกรดในกระแสเลือด แล้วส่งผลทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานผิดปกติ จนถึงขั้นล้มเหลวได้ ซึ่งนั่นหมายถึงชีวิตของเราเลยเชียว ส่วนเรื่องปกติ ก็คือ ปกติแล้ว มนุษย์เราก็ไม่ได้หายใจด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ซะหน่อย อากาศที่เราหายใจอยู่ทั่วไปประกอบด้วยออกซิเจนเพียงประมาณ 21% ส่วนใหญ่เป็นไนโตรเจนที่ 78% เป็นก๊าซอาร์กอน 1% และที่เหลือก็เป็นก๊าซอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ … การดำน้ำโดยทั่วไป ก็ไม่มีเหตุอะไรให้ต้องใช้ออกซิเจนบริสุทธิ์ซึ่งสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากๆ ในเมื่อสามารถใช้อากาศปกติได้อยู่แล้ว แล้วนักดำน้ำใช้อากาศอะไรดำน้ำ อากาศที่นักดำน้ำพกใส่ขวดอากาศ (ชอบคำนี้จัง เป็นศัพท์ที่ใช้กันในหมู่ทหาร) ลงไปดำน้ำ โดยทั่วไปก็คืออากาศปกติที่เราใช้หายใจบนบกนี่ล่ะ ถ้าไม่เชื่อ ลองไปดูที่เครื่องอัดอากาศลงถังก็ได้ ว่าเค้าต่อสายอากาศเข้ามาจากที่ไหน ลองไล่สายไปเรื่อยๆ จะพบว่าปลายของสาย ก็จ่อรับอากาศอยู่แถวๆ ชั้นบนหรือชั้นดาดฟ้าของเรือนั่นแหละ ไม่ได้ไปต่อมาจากถังออกซิเจนที่ไหนเลย แต่เนื่องจากอากาศปกติก็จะเริ่มเป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์ ที่ความลึกประมาณ 58 เมตรลงไป ลึกสุดไม่เกินราวๆ 66 เมตร (ขึ้นกับความสามารถในการทนพิษออกซิเจนได้ ของแต่ละคน) หากนักดำน้ำต้องการดำน้ำลงไปในที่ลึกกว่านี้ ก็ต้องหาวิธีจัดการกับปัญหานี้ให้ได้ ซึ่งในปัจจุบันทำได้ด้วยการลดปริมาณก๊าซออกซิเจนลงอีกนิด ช่วยให้ลงลึกต่อไปได้อีกหน่อย แต่ลดมากเกินไปก็ไม่ได้ เพราะที่สัดส่วนออกซิเจนต่ำเกินไป มนุษย์ก็จะหมดสติจากการขาดออกซิเจนได้เหมือนกัน ในการลดสัดส่วนออกซิเจนลงนี้ เขาจะไม่ทำโดยการเติมไนโตรเจนให้มากขึ้น เพราะที่จริงไนโตรเจนเป็นก๊าซที่มีโทษต่อนักดำน้ำอยู่แล้วทันทีที่เริ่มดำน้ำลงไปได้ไม่กี่เมตรเลยทีเดียว แต่เขาจะเติมก๊าซที่มีผลน้อยกว่าไนโตรเจนลงไปแทน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้ก๊าซฮีเลียม (Helium) อากาศแบบนี้มีชื่อเรียกว่า Trimix แต่ถ้าใช้ฮีเลียมบริสุทธิ์ผสมกับออกซิเจนบริสุทธิ์เท่านั้น ไม่ปนไนโตรเจนและก๊าซอื่นๆ เลย เขาก็จะเรียกชัดๆ ว่า Heliox…

อ่าน “ถังออกซิเจน” ไม่ได้ใช้ในการดำน้ำลึก (ทั่วไป) … นะ จะบอกให้
cover image to emphasize freediving fins

เลือกซื้อฟินฟรีไดฟ์ให้ถูกใจ เพื่อไปกับคุณทุกทริป

ฟินฟรีไดฟ์ คืออุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เราสามารถเคลื่อนที่ไปในน้ำได้อย่างใจต้องการ ดังนั้น การเลือกซื้อฟินฟรีไดฟ์ที่เหมาะกับคุณ ทั้งร่างกายและหัวใจ จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก

อ่าน เลือกซื้อฟินฟรีไดฟ์ให้ถูกใจ เพื่อไปกับคุณทุกทริป
ฟินฟรีไดฟ์ วัสดุไฟเบอร์กลาส

รู้จักฟินฟรีไดฟ์ (Freediving Fins) ก่อนตัดสินใจซื้อ

ก่อนที่เราจะคุยกันถึงเรื่องวิธีการเลือกซื้อฟินฟรีไดฟ์ที่เหมาะกับเรา ก็ต้องมาศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับฟินฟรีไดฟ์กันเสียก่อน ในที่นี้เราได้รวบรวมข้อมูลสำคัญๆ ที่จำเป็นต่อการเลือกซื้อฟินฟรีไดฟ์มาให้แล้ว ได้แก่
ชนิดของฟินฟรีไดฟ์ แยกตามวัสดุที่ใช้ทำใบฟิน (blade)
ความอ่อนแข็งของใบฟิน
เทคโนโลยีเสริมสมรรถนะ ของฟินแต่ละยี่ห้อ

อ่าน รู้จักฟินฟรีไดฟ์ (Freediving Fins) ก่อนตัดสินใจซื้อ
Tray - Keng Krob - 001

Tray คืออะไร แล้วมีไว้ทำไม

แนะนำการใช้ tray เพื่อติดตั้งและจัดเก็บอุปกรณ์ถ่ายภาพใต้น้ำ ความจำเป็นในการใช้ tray เพื่อความสะดวกในการใช้งานใต้น้ำ เมื่อมีอุปกรณ์มากขึ้นที่ต้องใช้พร้อมกัน การใช้ tray จะช่วยลดความยุ่งเหยิงและเพิ่มความสะดวกสบายในการถ่ายภาพใต้น้ำมากขึ้น

อ่าน Tray คืออะไร แล้วมีไว้ทำไม