วันนี้ TECREW จะมาพูดถึงเรื่องแรงดันขณะที่เราอยู่ใต้น้ำ โดยแรงดันที่เราพบเจอเวลาที่เราดำน้ำนั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่
แรงดันชั้นบรรยากาศ (Atmospheric Pressure)
แรงดันที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำกับตัวเรา มีค่าเท่ากับ 1 ATM โดยส่วนใหญ่วัดค่าที่ระดับน้ำทะเล หากเราขึ้นไปอยู่ที่ยอดเขาสูง ก็จะมีแรงดันกระทำกับตัวเราน้อยกว่า 1 ATM
แรงดันของน้ำ (Hydrostatic Pressure)
แรงดันของของเหลวที่กระทำกับตัวเรา หากเราอยู่ในน้ำทะเลแรงดันนี้จะเพิ่มขึ้น 1 ATM ในทุกๆ 10 เมตร ส่วนน้ำจืดนั้น แรงดันจะเพิ่มขึ้นทุกๆ 10.3 เมตร เนื่องจากน้ำจืดมีน้ำหนักต่อ 1 ลิตรน้อยกว่าน้ำทะเล
เมื่อเรารู้จักแรงดันทั้ง 2 ส่วนนี้แล้ว เวลาที่เราดำน้ำเราจะเจอกับแรงดันทั้ง 2 ส่วนนี้ เราเรียกแรงดันที่กระทำกับตัวเราในขณะที่เราอยู่ใต้น้ำว่า แรงดันรอบตัวเรา (Ambient Pressure) โดยแรงดันนี้เป็นผลมาจาก
แรงดันชั้นบรรยากาศบวกกับแรงดันจากของเหลวที่กระทำกับตัวเรา
(Ambient Pressure = Atmospheric Pressure + Hydrostatic Pressure)
ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เราได้เรียนตั้งแต่การเริ่มดำน้ำ ยกตัวอย่างเช่น เราอยู่ที่ความลึก 20 เมตรในทะเล แรงดันรอบตัวเราก็จะมาจาก แรงดันชั้นบรรยากาศ 1 ATM และแรงดันจากของเหลว 2 ATM รวมเป็นแรงดันรอบตัวเท่ากับ 3 ATM เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงของแรงดันก็มีผลกับหลายส่วนในขณะที่เราดำน้ำ เช่น การที่เรารู้สึกเจ็บหูเวลาที่เราลงสู่ความลึก, การเปลี่ยนแปลงของ buoyancy เวลาที่เราดำน้ำ, เวลาของ NDL, อัตราการสะสมและการกำจัด Nitrogen ฯลฯ เมื่อเราเข้าใจกับเรื่องนี้แล้วเราก็จะดำน้ำได้สนุกและปลอดภัยมากขึ้นอีกเยอะเลย
บทความจาก Facebook: Tecrew