การลดความเสี่ยงต่อ DCS ด้วยการดื่มน้ำ

ถึงแม้กิจกรรมการดำน้ำจะนับได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ปลอดภัยมากที่สุดกิจกรรมหนึ่ง แต่ทุกกิจกรรมต่างก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน หลายคนคงเคยได้ยินว่า การดื่มน้ำเยอะ ๆ จะช่วยทำให้การดำน้ำปลอดภัยขึ้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องและสำคัญมาก ที่นักดำน้ำทุกคนควรระวังและป้องกันโอกาสที่เกิดจากการเจ็บป่วยจากการดำน้ำให้ได้มากที่สุด โรคจากการดำน้ำที่หลายคนกังวลคือ โรคจากการลดความกด (Decompression sickness, DCS) หรือน้ำหนีบ หรือ bend หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของ DCS ที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุดและแก้ไขง่ายที่สุดคือ Dehydration หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ภาวะการขาดน้ำ การป้องกันทำได้หลายอย่าง โดยสิ่งที่สำคัญและแก้ไขง่ายที่สุดคือการ “ดื่มน้ำ”​ คำถามคือ ทำไมเราถึง “ขาดน้ำ” ตอนดำน้ำ มีหลายปัจจัย แต่อธิบายปัจจัยหลักง่าย ๆ คือ ระหว่างการดำน้ำ 40-60 นาที เราไม่สามารถดื่มน้ำได้ และหากมีการหายใจเอาละอองน้ำทะเลหรือกลืนน้ำทะเลเข้าไปเล็กน้อย จะทำให้ร่างกายเราขาดน้ำมากขึ้นเนื่องจากน้ำทะเลมีความเข้มข้นสูงกว่าเนื้อเยื่อของร่างกายเรา การออกกำลังกายระหว่างการดำน้ำ เช่น การว่ายน้ำ จะทำให้เพิ่มการสูญเสีย เหงื่อและเสียความร้อน โดยจะมีน้ำบางส่วนออกจากร่างกายเราเพื่อดึงความร้อนออกไป ขณะเราดำน้ำ มนุษย์จะมีปฏิกิริยาตอบสนองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่เรียกว่า ​Mammalian Diving Reflex ซึ่งจะมีหลายส่วน เช่น หัวใจเต้นช้าลง เส้นเลือดส่วนปลายหดตัว เลือดเพิ่มปริมาณการเลี้ยงอวัยวะสำคัญ และม้ามบีบตัว ซึ่งมีส่วนทำให้ไตเราเข้าใจว่าปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น (จริงแล้วลดลง) จะทำให้มีการส่งสัญญาณประสาทให้กรองเลือดออกมาเป็นปัสสาวะมากขึ้น จึงไม่แปลกที่เราปัสสาวะเพิ่มขึ้นเวลาว่ายน้ำ หรือดำน้ำ โดยเฉพาะน้ำเย็นจะมีการกระตุ้น reflex นี้มากขึ้น โดยการกระตุ้นมากที่สุดจะเกิดเมื่อน้ำที่เย็นสัมผัสบริเวณหน้าซึ่งจะกระตุ้นเส้นประสาทที่เรียกว่า Trigeminal nerve ซึ่งจะทำให้ reflex นี้ชัดเจนขึ้นมากในน้ำที่เย็นขึ้น และมีการสัมผัสน้ำโดยตรงเช่น ไม่ใส่ wetsuit หรือ ใส่ wetsuit ที่บาง จากที่เราทราบกันว่า silent bubble เกิดขึ้นตลอดในทุก dive ของการดำน้ำ จะมากน้อยขึ้นกับหลายปัจจัย การทำให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เป็นสิ่งสำคัญที่ป้องกันไม่ให้เลือดอยู่ในสภาวะข้นซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด DCS ที่อวัยวะต่าง ๆ สรุป การป้องกันการเกิด DCS มีหลายวิธี ตั้งแต่ปัจจัยส่วนบุคคล หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ การดำน้ำอย่าง conservative และปัจจัยที่ดูแลง่ายที่สุดอย่างนึงคือการ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ทั้งก่อนและหลังดำน้ำถึงแม้ไม่มีข้อมูลชัดเจนเรื่องปริมาณน้ำที่ควรดื่มก่อนหรือหลังดำน้ำ แต่อย่างน้อยควรทานตั้งแต่ก่อนลงซักพักและควรดื่มน้ำอีกครั้งหลังจากดำน้ำขึ้นมาทันที เพราะ silent bubbles และอุบัติการณ์ของ DCS เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทันทีจนถึงหลายชั่วโมงหลังดำน้ำ ปกติมนุษย์ผลิตปัสสาวะ ชั่วโมงละ 1.5 ถึง 2 ml/kg/hr…. ตัวผมเองทานอย่างน้อย​ 300 –…

อ่าน การลดความเสี่ยงต่อ DCS ด้วยการดื่มน้ำ
Diving in coral - 001

วันไหนน้ำใส? วันไหนน้ำไม่แรง?

การเลือกเวลาดำน้ำควรคำนึงถึงสถานการณ์ของน้ำ และการวางแผนการดำน้ำให้เหมาะสมกับเวลาและสภาพอากาศ เพื่อความปลอดภัยและประสบการณ์ดีที่สุด การเรียนรู้และการตัดสินใจที่ดีก็เป็นสิ่งสำคัญในการดำน้ำอย่างมืออาชีพ แต่ยังคงมีความสนุกสนานและตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้ลงไปสำรวจใต้ผืนน้ำอันงดงามด้วย

อ่าน วันไหนน้ำใส? วันไหนน้ำไม่แรง?

Gradient Factors อธิบายแบบง่าย และวิธีใช้

วิธีการกำหนดความปลอดภัยในการดำน้ำโดยใช้ข้อมูลจากอัลกอริทึม Buhlmann โดย GF ช่วยให้นักดำน้ำสามารถกำหนดขีดความลึกได้อย่างละเอียด เช่นในการตั้งค่า Stop แรกและ Deco stop โดยมีตัวเลข 2 ชุด เช่น 45/85 ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ของ M value ที่มีผลต่อเวลาและความลึกของการดำน้ำ การปรับ GF สามารถช่วยเพิ่มระดับความปลอดภัยและควบคุมการเดินทางใต้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ่าน Gradient Factors อธิบายแบบง่าย และวิธีใช้
Coral - FreedomDIVE - 001

สีจริงๆ ของปะการังสวยกว่าตาเห็น

สีของปะการังในขณะที่เราดำน้ำกลางคืน จะสวยงามกว่าการดำน้ำกลางวันแล้วใช้ไฟฉายส่องไปที่มัน แนะนำให้ลองประสบการณ์ดำน้ำกลางคืนเพื่อเห็นความสวยงามของสีปะการังอย่างแท้จริง เพราะไฟฉายของเราจะกลายเป็นแหล่งกําเนิดแสงเพียงแหล่งเดียวที่มี ณ ตอนนั้น และจะทำให้สีของปะการังและสัตว์ทะเลปรากฎขึ้นได้ครบทุกสีเหมือนสีของพวกมันจริงๆ

อ่าน สีจริงๆ ของปะการังสวยกว่าตาเห็น
Hardeep - Keng Krob - 001

เรือจมสุทธาทิพย์ เสน่ห์ที่ลึกลับ

นำเสนอประสบการณ์การดำน้ำที่เรือจมสุทธาทิพย์ที่สัตหีบ ซึ่งเป็นจุดดำน้ำที่มีเสน่ห์ลึกลับและยากในการเข้าถึง ต้องระวังกระแสน้ำและความขุ่นของน้ำ เน้นความปลอดภัยและการประเมินความสามารถของตัวเองอย่างเหมาะสม เรียนรู้ความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎ

อ่าน เรือจมสุทธาทิพย์ เสน่ห์ที่ลึกลับ

กระแสน้ำแนวตั้ง (Vertcal Current)

ในชั้นเรียนดำน้ำ เราเคยเรียนการจัดการกับกระแสน้ำกันทุกคน ว่าให้เริ่มดำน้ำไปในทิศทางสวนกระแสน้ำ และกลับมาในทิศทางตามกระแสน้ำ หากกระแสน้ำนั้นไม่รุนแรงเกินไป แต่ในบางกรณี เราอาจจะพบกับกระแสน้ำในรูปแบบอื่น ไม่ใช่การพัดไปในแนวนอนแบบที่เราเคยเรียนรู้กันมา เข่น กระแสน้ำแนวตั้ง หรือที่เรียกกันว่า Vertical current กระแสน้ำแนวตั้งนี้ทั่วไปมีสองแบบ คือกระแสน้ำดึงขึ้น (Upwelling) และกระแสน้ำดันลง (Downwelling) ซึ่งการพบกับกระแสน้ำแบบนี้จะดูเป็นเรื่องตื่นเต้น ท้าทายกว่าการดำน้ำทั่วไป และอาจจะไม่เหมาะกับนักดำน้ำมือใหม่ ประสบการณ์และการเรียนรู้ยังน้อยครับ การเกิดกระแสน้ำแนวตั้งนั้นอาจจะมีปัจจัยหลากหลายแตกต่างกัน โดยส่วนมากมักจะในสถานที่ที่มีการทำให้เกิดการขวางทางของกระแสน้ำ เช่นตามกำแพงใต้น้ำ ซากเรือจมที่ขวางเส้นทางน้ำ หรือจากสภาพทางภูมิศาสตร์ ที่มีพื้นที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างกันอย่างมาก เป็นต้น กระแสน้ำกดลงนั้น จะกดเราลงไปลึก ไม่สามารถขึ้นสู่ความตื้นได้ จะทำให้เกิดปัญหาการดำลึกเกินแผนที่วางไว้ หรือเกินกำหนดของตารางดำน้ำ ส่วนกระแสน้ำดันขึ้นนั่นจะยิ่งอันตรายกว่า เพราะมันจะดันตัวนักดำน้ำขึ้นมาอย่างรวดเร็วสู่ผิวน้ำ และนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับโรค DCI การที่เราจะแก้ไขสถานการณ์ก็จำเป็นต้องตัดสินใจอย่างแน่นอน รวดเร็ว หากพบกับกระแสน้ำแนวตั้ง โดยทั่วไปนักดำน้ำควรแก้ไขด้วยการถอยกลับมาและว่ายกลับไปในทิศทางเดิม หากพบว่าตนตกอยู่ในการดูดลงหรือดันขึ้นของกระแสน้ำ ให้รีบหนีออกมาให้พ้นก่อนที่แรงดูดหรือดันจะแรงเกินไป สำหรับกระแสน้ำดันลง สิ่งแรกที่ต้องทำคือทำใจให้สงบ และตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างรวดเร็ว สิ่งที่ต้องทำคือให้ว่ายขึ้นเฉียงประมาณ 45 องศาในทิศทางออกจากกระแสน้ำ เติมลมเข้าใน BCD โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมากเกินไป เราจะสามารถจัดการกับมันได้ภายหลังจากเราแก้ไขสถานการณ์ได้แล้ว เพียงแต่ให้ถือ Inflator ไว้เตรียมที่จะปล่อยลมเมื่อเราพ้นจากเงื้อมมือของกระแสน้ำแล้ว นอกจากนั้น หากเราไม่สามารถขึ้นได้ด้วยวิธีนี้เพราะกระแสน้ำกดแรงเกินไป เราก็จะต้องคิดถึงการเกาะกับวัตถุใต้น้ำที่ทำให้เราสามารถดึงตัวขึ้นมาได้ ภายใต้กระแสน้ำกดลงนี้ โอกาสเดียวของเราคือออกมาให้พ้นจากแรงกดของมัน โชคดีที่ธรรมชาติของกระแสน้ำกดลงนี้ กระแสจะอ่อนกำลังลงเมื่อลงไปลึกมากขึ้น บางสถานการณ์เราต้องปล่อยตัวให้ไหลไปกับมันและขึ้นมาเมื่อกระแสน้ำเบาลงพอ ความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นคือนักดำน้ำไปว่ายต้านกระแสน้ำจนออกแรงเกินความสามารถของตนเอง และนำไปสู่อาการทางกายคือเหนื่อยเกินไป หรืออาการทางใจคือตกใจ สำหรับกระแสน้ำดันขึ้น อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือการถูกทำให้พุ่งขึ้นสู่ความตื้นด้วยความเร็วที่สูงเหินไป อาจจะก่อให้เกิดโรคเบนด์หรือการบาดเจ็บจากการขยายตัวของอากาศได้ เมื่อเราเจอกระแสน้ำดันขึ้น เราต้องทำใจให้สงบ และว่ายออกไปจากกระแสน้ำนั้นด้วยเทคนิคการว่ายลงเป็นมุม 45 องศาในขณะเดียวกันก็ปล่อยลมออกจากบีซีดีด้วย ถ้าบีซีดีของเราเป็นแบบมี Dump Valve ด้านล่างก็จะทำให้การปล่อยลมนี้สะดวกขึ้น ให้ว่ายไปแบบนี้เรื่อยๆ จนกว่าจะพ้นจากกระแสน้ำ เมื่อพ้นแล้ว ควรหยุดทำ Safety Stop ในความลึกนั้นสักครู่สั้นๆ และขึ้นตามปกติต่อไป กระแสน้ำแนวตั้งนี้มีไม่มากนัก เราควรศึกษาว่าสถานที่ใดมีกระแสน้ำดังกล่าวนี้ และระมัดระวังเมื่อไปดำน้ำตามสถานที่เหล่านั้นครับ แหล่งความรู้: Dive Training magazine

อ่าน กระแสน้ำแนวตั้ง (Vertcal Current)

เดือนนี้…ไปดำน้ำที่ไหนได้บ้าง

เดือนนี้ จะไปเที่ยวทะเลที่ไหนได้บ้าง จำเป็นต้องดูจากลมมรสุมประจำฤดู ซึ่งถ้าหากเราจำได้ ก็จะช่วยให้เราคิดได้ง่ายเลย ว่าตอนนี้เกาะไหนจะโดนลมมรสุมบ้าง แต่ส่วนใหญ่นานๆ จะเที่ยวซักทีนึง ถึงตอนนั้นก็คงลืมกันไปแล้วแน่ๆ ผมเลยทำสรุปรายเดือนไว้ให้ ด้วยรูปด้านล่างนี้ครับ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลนี้ เป็นการคาดการณ์ตามฤดูปกติเท่านั้น บางปีอากาศแปรปรวนก็ยากจะคาดเดา รวมถึงอากาศช่วงต้นเดือนและปลายเดือน ในช่วงรอยต่อฤดู สภาพอากาศก็ย่อมแตกต่างกันด้วย หากใครอยากศึกษาให้เข้าใจถึงที่มาที่ไปให้มากขึ้น สามารถอ่านเพิ่มเติมจากเนื้อหาด้านล่างได้นะครับ   เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเดือนนี้จะมีสภาพอากาศเป็นอย่างไร หากคุณได้ฟังพยากรณ์อากาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยา และได้เคยอ่าน Tips & Tricks หรือมีความเข้าใจ เรื่องลมมรสุม พายุหมุน และร่องความกดอากาศต่ำ จะทำให้คุณสามารถคาดการณ์ สภาพอากาศของแต่ละพื้นที่ของไทย ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น และยังช่วยวางแผนการเดินทาง และการเตรียมตัวท่องเที่ยว ได้เป็นอย่างดี แต่เพื่อให้ง่ายขึ้น เราจึงได้สรุปสภาพอากาศในแต่ละเดือน และสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเล ให้คุณสามารถเลือกไปได้ในเดือนต่างๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ก่อนอื่นต้องอธิบายถึงตัวย่อกันซักนิดครับ ลมมรสุม ตอ./น. หมายถึง ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลมที่พัดมาจากประเทศจีน พาอากาศแห้งและเย็น ลงมาปกคลุมตอนเหนือ ถึงตอนกลาง ของประเทศไทย แล้วหอบเอาความชื้นในอ่าวไทย ไปตกในแถบภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ลมมรสุม ตต./ต. หมายถึง ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เป็นลมที่พัดจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ประเทศไทย โดยหอบเอาความชื้นจากทะเล มาปะทะแนวเขา เกิดเป็นฝนตกชุกในแถบภาคใต้ฝั่งอันดามัน เดือนมกราคม เดือนนี้มีลมมรสุม ตอ./น. พัดจากประเทศจีนลงมา ก่อให้เกิดความหนาวเย็นในพื้นที่ตอนบนของไทย ส่วนการท่องเที่ยวทางทะเล ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ สำหรับทะเลอันดามัน ก็ไม่มีลมมรสุม ตต./ต. ฝั่งทะเลค่อนข้างสงบ สถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับเดือนมกราคม คือ อันดามันเหนือ (หมู่เกาะสิมิลัน เกาะบอน เกาะตาชัย หมู่เกาะสุรินทร์ กองหินริเชลิว) อันดามันใต้ (ภูเก็ต พีพี ทะเลกระบี่ ทะเลตรัง ลงไปถึงหมู่เกาะตะรุเตา) สำหรับฝั่งอ่าวไทย ถือเป็นช่วงที่ดีมาก สำหรับการดำน้ำที่ พัทยา สัตหีบ แสมสาร เกาะช้าง ส่วนเกาะเต่า และทะเลชุมพร ก็สามารถเริ่มไปได้ตั้งแต่ช่วงนี้ เดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุม ตอ./น. ที่พัดมาจากประเทศจีนเริ่มน้อยลง เป็นเดือนที่สามารถท่องเที่ยวทางทะเลได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย ทั้งฝั่งอ่าวไทย อันดามันเหนือ และอันดามันใต้ สถานที่ที่เหมาะสมที่สุด สำหรับฝั่ง อันดามัน คือ สิมิลัน – สุรินทร์ หินแดง หินม่วง พีพี ทะเลกระบี่…

อ่าน เดือนนี้…ไปดำน้ำที่ไหนได้บ้าง

กระแสน้ำย้อนกลับ (Rip Current)

กระแสน้ำย้อนกลับ หรือที่เรามักได้ยินชื่อเรียกทับศัพท์ว่า rip current เป็นกระแสน้ำรุนแรงที่เกิดขึ้นช่วงสั้นตามชายหาด จากการที่คลื่นทะเลซัดเข้าหาฝั่ง แล้วเมื่อมวลน้ำเหล่านั้นจะไหลลงทะเล กลับเจอสิ่งกีดขวาง เช่นโขดหินหรือสันทรายขวางอยู่ (โดยเฉพาะสันทรายใต้น้ำซึ่งมองเห็นได้ยากจากผิวน้ำ) ก็จะไหลรวมกันผ่านช่องแคบๆ ระหว่างสิ่งกีดขวางเหล่านั้นกลับลงทะเลไปด้วยความเร็วสูงกว่าตอนที่คลื่นซัดเข้ามา ในบ้านเรา มีชื่อเรียกกระแสน้ำแบบนี้ว่า คลื่นทะเลดูด หรือ คลื่นดูด ซึ่งไม่ใช่คลื่นหรือกระแสน้ำที่ดูดลงใต้ทะเล แต่เป็นกระแสน้ำที่ไหลลงทะเลอย่างรวดเร็ว ซึ่งสำหรับคนคนที่ติดอยู่ในกระแสน้ำ ไม่เข้าใจกลไกหรือกำลังตื่นตกใจ พยายามว่ายทวนน้ำเพื่อจะเข้าฝั่งอย่างเต็มกำลัง ในที่สุดก็จะหมดแรง หรือเหนื่อยหอบจนสำลักน้ำ แล้วจมลงใต้น้ำเสียชีวิต กระแสน้ำแบบนี้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตส่วนใหญ่ของนักท่องเที่ยวเล่นน้ำทะเลชายหาดในหลายประเทศทั่วโลก! และเนื่องจากสันทรายใต้น้ำย่อมเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามแต่คลื่นที่ซัดเข้ามาหาฝั่ง รวมทั้งหากเป็นคลื่นลูกเล็กๆ เบาๆ ซัดเข้ามาก็อาจไม่เกิดเป็นกระแสน้ำรุนแรงเมื่อไหลกลับออกไปก็ได้ การเกิด rip current จึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำนายตำแหน่งและความรุนแรงล่วงหน้าได้ มีเพียงสถิติของชายหาดบางแห่งที่อาจเกิดขึ้นได้บ่อย เนื่องจากสภาพภูมิประเทศบางอย่าง เช่น หาดแม่รำพึง จ. ระยอง ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ วิธีการสังเกตตำแหน่งที่เกิด Rip Current สังเกตสีของน้ำทะเล ซึ่งจะขุ่นขาวกว่าบริเวณอื่น เนื่องจากกระแสน้ำ rip current มักจะพาเอาตะกอนใต้น้ำฟุ้งขึ้นมาและไหลตามกระแสน้ำลงไปด้วย สังเกตแนวน้ำที่ไหลวนปั่นป่วนอยู่ปลายกระแสน้ำ ซึ่งมักเป็นรูปล้ายดอกเห็ด ยื่นจากชายฝั่งลงไปในทะเล ซึ่งถ้ามีขนาดใหญ่หรือระยะทางไกล ก็แสดงว่ามีกำลังมาก สังเกตเศษสิ่งของที่ลอยออกจากชายหาดหรือฟองคลื่นที่ไหลกลับลงทะเล เป็นแนวตั้งฉากกับหน้าคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ซึ่งก็คือแนวของกระแสน้ำ สังเกตหน้าคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ถูกตัดแหว่งเป็นร่องๆ เนื่องจากกระแส rip current ไหลสวนทางตัดกับคลื่นที่ซัดเข้ามา แนวที่คลื่นถูกตัดก็คือแนวของกระแสน้ำ วิธีการป้องกันอันตรายจาก Rip Current ก่อนลงเล่นน้ำที่ชายหาดใดก็ตาม ลองมองหาเจ้าหน้าที่หรือยามชายฝั่ง (coast guard) เพื่อสอบถามสถานการณ์ของ rip current ในบริเวณนั้น รวมถึงสภาพคลื่นลมในขณะนั้นด้วย หรือสังเกตธงเตือนภัยสีแดงที่มีปักอยู่ริมชายหาดเพื่อเตือน สังเกตคลื่นและน้ำทะเลว่ามีจุดใดมีลักษณะคล้ายกับที่เล่าไปในหัวข้อก่อนหน้านี้หรือไม่ ถ้ามี ก็ไม่ควรเล่นน้ำใกล้บริเวณนั้น ถ้าสภาพอากาศไม่ดี มีคลื่นลูกใหญ่ๆ เข้ามาบ่อยๆ ก็ไม่ควรลงเล่นน้ำ (ยกเว้น ถ้าคุณเป็นนักโต้คลื่น หรือทำกิจกรรมกับคลื่นขนาดใหญ่ มีความรู้เข้าใจในคลื่นและทะเลเป็นอย่างดี) วิธีแก้ไขสถานการณ์เมื่อเข้าไปอยู่ใน Rip Current ตั้งสติ ไม่ต้องว่ายทวนกระแสน้ำ ไม่ต้องกลัวว่าน้ำจะซัดไปไกล เพราะยิ่งห่างจากฝั่งไปเรื่อยๆ กระแสน้ำจะเบาลงจนหายไปในที่สุด พยายามลอยตัวให้ศีรษะอยู่เหนือน้ำ หายใจได้ มองหาทิศทางของชายฝั่ง แล้วว่ายน้ำขนานกับชายฝั่งไปก่อน จนกระทั่งพ้นจากแนวกระแส rip current แล้วค่อยว่ายกลับเข้าหาฝั่ง หรือให้คลื่นพาเรากลับเข้าฝั่ง ถ้าว่ายน้ำไม่ได้ หรือไม่มีแรงว่ายน้ำ ก็ประคองตัวให้อยู่เหนือน้ำไว้ และโบกมือขอความช่วยเหลือ การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ ถ้าไม่แน่ใจว่า ตนเองเข้าใจและทราบวิธีการช่วยเหลือ อย่าว่ายน้ำลงไปช่วยเด็ดขาด หากมีสิ่งของที่ลอยน้ำได้ เช่น ห่วงยาง เสื้อชูชีพ ให้โยนลงไปตามกระแสน้ำ…

อ่าน กระแสน้ำย้อนกลับ (Rip Current)

ทำไมบางวันน้ำขึ้นน้ำลงเกิดแค่รอบเดียว และบางวันก็มีมากกว่า 2 รอบ

เรารู้กันมานานแล้วว่า น้ำขึ้นน้ำลงเกิดขึ้นจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ แต่ทำไมบางแห่งเกิดไม่เหมือนกับที่อื่น และบางแห่งก็ไม่เหมือนกันในแต่ละวัน

อ่าน ทำไมบางวันน้ำขึ้นน้ำลงเกิดแค่รอบเดียว และบางวันก็มีมากกว่า 2 รอบ

เราจะคาดคะเนกระแสน้ำก่อนลงดำน้ำได้อย่างไร

กระแสน้ำ เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่นักดำน้ำอยากรู้ก่อนจะกระโดดลงไปในน้ำ หรือแม้แต่ลีดดำน้ำ (dive lead หรือ dive guide) ก็ควรต้องรู้ก่อนเพื่อที่จะวางแผนจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดการดำน้ำแต่ละไดฟ์ ลีดดำน้ำที่รอบรู้และใส่ใจ จะมีความสามารถในการสังเกตสภาพแวดล้อมและทิศทางของกระแสน้ำก่อนการลงดำน้ำได้เป็นอย่างดี นำไปสู่การวางแผนเส้นทางการดำน้ำได้ดี ซึ่งนอกจากจะมีผลต่อความเพลิดเพลินในการดำน้ำไดฟ์นั้นแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ไม่คาดคิดใต้น้ำได้ เช่น การคลาดกันระหว่างลงสู่หมายดำน้ำแล้วต้องกลับมาลงใหม่ การพลัดหลงกันระหว่างดำน้ำ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ความสูญเสียถึงชีวิตด้วย วิธีการคาดคะเนกระแสน้ำมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน และก็แตกต่างกันไปตามจุดดำน้ำด้วย แต่ส่วนใหญ่ก็จะคล้ายๆ กันคือขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 3-4 อย่าง เช่น น้ำขึ้นน้ำลง กระแสลมผิวน้ำ ลักษณะของพื้นที่ เป็นต้น (อ่านเพิ่มเติม “กระแสน้ำในทะเลเกิดขึ้นจากอะไรบ้าง“) ถ้าเรามีโอกาสได้ดำน้ำกับไดฟ์ลีดที่ดูกระแสน้ำเป็น ลองสังเกตดูครับว่า เขาใช้วิธีใดบ้างในการคาดคะเนกระแสน้ำที่จุดดำน้ำนั้นๆ ดูตารางน้ำขึ้นน้ำลง ประกอบกับความรู้เรื่องจุดดำน้ำ น้ำขึ้นน้ำลงเป็นปัจจัยสำคัญของกระแสน้ำในทะเลแทบทุกจุดทั่วโลก และปัจจุบันการคาดการณ์น้ำขึ้นน้ำลงของพื้นที่ต่างๆ ในโลกทำได้ค่อนข้างแม่นยำจากการเก็บข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลมานานหลายสิบปี คาดการณ์ล่วงหน้าได้เป็นปีๆ เลยทีเดียว ดังนั้นการดูตารางน้ำขึ้นน้ำลงก่อนไปดำน้ำนับเป็นสิ่งที่นักดำน้ำทั่วไปสามารถทำได้ไม่ยาก หรืออย่างน้อยผู้จัดทริปก็ควรต้องรู้ก่อนออกทริปเพื่อกำหนดจุดดำน้ำได้อย่างเหมาะสมกับเวลาลงดำและทักษะของนักดำน้ำ ตารางน้ำขึ้นน้ำลงของจุดดำน้ำ (หรือถ้าไม่มีตรงเป๊ะ ก็ใช้จุดตรวจวัดใกล้เคียงได้ครับ) จะบอกเป็นความสูงของระดับน้ำในแต่ละช่วงเวลาของวัน ซึ่งช่วยบอกเป็นนัยแก่เราได้ว่า จะมีมวลน้ำเคลื่อนเข้า (น้ำขึ้น) หรือออก (น้ำลง) จากบริเวณนั้นมากน้อยเพียงใดในเวลาที่เรากำลังจะดำน้ำ (อ่านเพิ่มเติม “วิธีการดูตารางน้ำ”) เมื่อนำมาประกอบกับลักษณะของอ่าวและสภาพพื้นที่ใต้น้ำ ก็จะพอคาดคะเนได้ว่า กระแสใต้น้ำจะไหลไปในทิศทางใดและไหลแรงเพียงใด ทั้งนี้ ต้องเข้าใจด้วยครับว่า ระดับน้ำที่อ่านได้จากตารางน้ำของคนละพื้นที่ แม้จะเป็นตัวเลขเดียวกัน ก็มิได้หมายความว่ากระแสน้ำจะแรงใกล้เคียงกัน ตัวอย่างเช่น น้ำขึ้น 20 ซม. ต่อ 1 ชม. ที่ทะเลแสมสาร จะทำให้เกิดกระแสน้ำที่แรงกว่า น้ำขึ้นในอัตราเดียวกันที่สิมิลัน มากครับ และแน่นอนว่าทิศทางของกระแสน้ำก็แตกต่างกันไปตามลักษณะอ่าว ดังนั้น แม้จะอ่านตารางน้ำเป็นแล้ว แต่ก็ต้องรู้ลักษณะพื้นที่จุดดำน้ำประกอบด้วย ดูวัตถุหรือฟองอากาศที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ วิธีต่อมา หากไปอยู่ที่จุดดำน้ำแล้ว จะเช็คเพื่อความชัวร์อีกทีว่าตรงกับตารางน้ำที่ดูมาก่อนมั้ย (หรือถ้าไม่ได้ดูตารางน้ำมาก่อน ก็มาดูของจริงกันหน้างานนี่ล่ะ) สามารถทำได้โดยดูวัตถุที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ อาจเป็นเศษใบไม้หรือฟองอากาศ (ถ้าไม่มีก็สร้างฟองอากาศขึ้นเองเลยก็ได้) แล้วสังเกตทิศทางและความเร็วที่วัตถุเหล่านั้นลอยเคลื่อนไป ก็พอจะคาดคะเนความเร็วกระแสน้ำได้ ทั้งนี้ ต้องเข้าใจด้วยครับว่า กระแสน้ำจริงๆ จะไหลเร็วกว่าวัตถุที่ถูกกระแสน้ำพัดพาไป อีกพอสมควร กระแสน้ำที่ใต้น้ำ อาจมีทิศทางแตกต่างออกไปอีกเนื่องจากสภาพแวดล้อมใต้น้ำ เช่น หากเป็นร่องน้ำหรือช่องหิน กระแสน้ำก็จะไหลไปตามแนวช่องเหล่านั้น วิธีนี้ใช้ไม่ได้กับกรณีที่มีลมแรง จนกระทั่งกระแสน้ำที่ผิวน้ำเป็นไปตามทิศทางลมมากกว่าจะเป็นไปตามกระแสน้ำจริงด้านล่าง หมายเหตุ: บางท่านอาจคิดว่า เราดูจากแนวทิศทางที่เรือลอยลำอยู่ได้หรือไม่ ก็ต้องบอกว่า พอดูได้หากลมค่อนข้างสงบ แต่ถ้ามีลมพอประมาณ เรือจะหันทิศเข้าหาลม ทอดตัวตามแนวกระแสลมมากกว่าแนวกระแสน้ำครับ (ทิศผลลัพธ์จะเป็นผลรวมของแรงลมและแรงน้ำประกอบกัน โดยขึ้นกับพื้นที่รับลมและรับน้ำของเรือด้วย) กรณีที่ลมผิวน้ำแรง กระแสน้ำจะมีทิศทางเบนจากทิศทางลม ในกรณีที่กระแสลมเหนือผิวน้ำมีกำลังค่อนข้างแรงและเกิดขึ้นต่อเนื่องมาพักใหญ่ กระแสน้ำที่เราเห็นบนผิวน้ำจะได้รับอิทธิพลจากกระแสลม โดยมีทิศทางเบนไปจากทิศลมประมาณ 45 องศาและเบนมากขึ้นเรื่อยๆ ตามความลึก ถ้าเป็นซีกโลกเหนือ…

อ่าน เราจะคาดคะเนกระแสน้ำก่อนลงดำน้ำได้อย่างไร