คำถามที่มักถามบ่อยๆ เกี่ยวกับ Freediving

ปัจจุบันมีคนสนใจกีฬาเกี่ยวกับ ฟรีไดฟ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นกีฬาที่สนุก และท้าทายความสามารถ ทำให้คนท่องเที่ยวทะเล และดำน้ำลงไปชมธรรมชาติใต้ท้องทะเลได้อย่างใกล้ชิด และง่ายดาย หลายคนจึงอยากรู้จักกีฬาชนิดนี้มากขึ้น เกี่ยวกับ ฟรีไดฟ์ คำถามเกี่ยวกับฟรีไดฟ์อะไรบ้างที่น่าสนใจ ? ว่ายน้ำไม่เป็นเรียนฟรีไดฟ์ได้หรือไม่? ถ้าว่ายน้ำเป็นก็ดีครับ เหมือนคนขี่มอเตอร์ไซค์เป็นอยู่เเล้ว อยากไปเรียนขับรถยนต์เพิ่ม เวลาฝึกขับรถออกถนนใหญ่ รู้กฎจราจรดีอยู่เเล้ว ไม่ตกใจกลัวเวลาเจอรถบนถนน เเต่ทักษะที่ใช้ในการขับรถก็คนละเเบบ ทักษะ ดำน้ำ กับว่ายน้ำ เเตกต่างกัน ว่ายน้ำเก่งไม่ได้เเปลว่าจะดำน้ำฟรีไดฟ์ได้เก่ง เเต่คนที่ว่ายน้ำเป็นจะคุ้นเคยกับการลงน้ำมากกว่าทำให้ไม่กลัว สนใจเรียนฟรีไดฟ์ใครเคยเรียนรบกวนแชร์ประสบการณ์ ตอนนี้ในไทยก็มีสอน ฟรีไดฟ์หลายๆที่ ทั้งในกรุงเทพฯ กับตามเกาะต่างๆ เช่น เกาะเต่า เกาะช้าง การไป เรียนตามเกาะมีข้อดีคือ อยู่ใกล้ทะเล เรียนทฤษฎีเสร็จก็ออกทะเลได้เลย ไปทะเลทุกวัน แต่ข้อเสียก็มี คืออยู่ไกลบ้าน ถ้าเกิดสอบไม่ผ่านต้องกลับมาสอบที่เกาะอีก ส่วนเรียนในกรุงเทพฯก็มีข้อดี คืออยู่ใกล้ ไปซ้อม ฟรีไดฟ์ กับครูหรือเพื่อนๆที่เรียนด้วยกันได้บ่อยๆ แต่จะเว้นช่วงก่อนไปสอบจริงที่ทะเล บางคนก็ลืมที่เคยเรียนไปแล้ว และไม่ค่อยได้ออกไปทะเลบ่อยๆ สมัยก่อนจะมีแต่ครูฝรั่งทำให้บางทีมีอุปสรรคทางภาษา แต่เดี๋ยวนี้ก็มีครูคนไทยสอนฟรีไดฟ์กันมากขึ้น เวลาดำฟรีไดฟ์เคลียร์หูกันอย่างไร การเคลียร์หูหลักๆของฟรีไดฟ์มี 2 วิธี คือแบบ valsava maneuver เหมือนกับ Scuba คือปิดจมูกแล้วเป่าให้ลมออกหู กับอีกวิธีคือ frenzel maneuver วิธีนี้เป็นวิธีที่แนะนำให้ฝึกสำหรับฟรีไดฟ์วิธีการคือ ใช้โคนลิ้นอัดอากาศเข้าไปในหูชั้นกลาง แต่วิธีนี้ต้องใช้เวลาฝึกฝนถึงจะชำนาญ อุปสรรคสำคัญเวลาเคลียร์หูของคนฝึกฟรีไดฟ์คือ ท่อยูสเตเชียนปิดเลยเคลียร์หูไม่ได้ แต่ถ้าได้รับการฝึกฝนอย่างถูกต้องก็จะสามารถทำได้ในที่สุด อยากเรียนดำน้ำระหว่าง Scuba กับ Free dive ช่วยชี้แนะด้วยครับ โดยรวมๆ ฟรีไดฟ์จะต่างกับ Scuba ตรงที่ Scuba เป็นการเรียนดำน้ำโดยใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ ถ้าสามารถใช้อุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง โอกาสที่จะสอบตกมีน้อยกว่า แต่อุปกรณ์หลักของ ฟรีไดฟ์ คือร่างกายของผู้เรียนเอง คนส่วนมากจะเจอปัญหาเคลียร์หูไม่ได้ เพราะเวลาสอบ ฟรีไดฟ์ต้องเอาหัวลงพื้นแล้วเคลียร์หู ซึ่งจะยากกว่าดำแบบ Scuba ก่อนไปเรียนควรไปลองฝึกร่วมกับคนที่เคยเรียนมาแล้ว จะช่วยให้ไม่ตื่นเต้นเวลาสอบ เกี่ยวกับฟรีไดฟ์ สอบถาม อยากเริ่มต้นฝึก Free dive หรือ Snorkeling ฝึก snorkeling เริ่มต้นจากหา อุปกรณ์ฝึก 3 อย่างคือ mask snorkel fins เอาแบบไม่ต้องแพงมาก ลองฝึกลอยตัวหายใจผ่านท่อ snorkel กลั้นหายใจแล้วมุดน้ำดู พอโผล่พ้นน้ำก็เคลียร์ท่อ snorkel ส่วนฝึกฟรีไดฟ์ต้องหาครูหรือเพื่อนที่เคยเรียนมาแล้วให้คอยดูเวลาเราซ้อมกลั้นหายใจหรือดำน้ำลงไปลึกๆ เพราะดำฟรีไดฟ์มีความเสี่ยงพอสมควรนอกจากต้องมีคนคอยช่วยแล้ว คนที่ช่วยต้องเรียนรู้ฝึกฝนวิธีที่ถูกต้องมาพอสมควร…

อ่าน คำถามที่มักถามบ่อยๆ เกี่ยวกับ Freediving

ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อการกลั้นหายใจมากที่สุด

เมื่อเราดำน้ำ สิ่งที่เป็นปัญหาหลักๆ คือ เราไม่สามารถหายใจใต้น้ำได้โดยไม่อาศัยเครื่องมือช่วย ซึ่งแตกต่างกับแมวน้ำที่สามารถกลั้นหายใจดำน้ำได้นานถึงสองชั่วโมง โดยไม่ต้องใช้ถังออกซิเจน แล้วถ้าถามว่าทำไมแมวน้ำถึงกลั้นหายใจได้นานขนาดนั้น นั่นก็เพราะว่า ร่างกายของแมวน้ำมีความสามารถในการกักเก็บ และใช้ออกซิเจนน้อยมากเวลาดำน้ำ โดยมีกลไกส่งออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ และสมอง เส้นเลือดในอวัยวะอื่นๆที่ไม่สำคัญจะหดตัว (peripheral constriction) และหัวใจจะเต้นช้าลง (bradycardia) เปรียบเทียบกับแมวน้ำแล้ว มนุษย์มีความสามารถในการดำน้ำน้อยกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งคนส่วนมากสามารถ กลั้นหายใจแบบสบายๆ ได้น้อยกว่า 1 นาที แต่ร่างกายของมนุษย์ก็มีระบบที่ใช้ในการดำน้ำเหมือนกับแมวน้ำ และโลมา ดังนั้นหากเรารู้ว่า กลไกอะไรที่ส่งผลต่อความสามารถของร่างกาย ในการกักเก็บออกซิเจน ก็จะทำให้เราฝึกฝน และสามารถดำฟรีไดฟ์ได้นานมากยิ่งขึ้น การทดลองปัจจัยในการกลั้นหายใจแต่ละแบบ การทดลองจะมุ่งเน้นไปที่ การวัดอัตราการเต้นของหัวใจที่ลดลง (Bradycardia) เนื่องจากเป็นสิ่งที่สังเกตได้ง่ายเพื่อเปรียบเทียบว่าปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อ mammalian dive reflex มากกว่ากัน โดยวัดผลระหว่างกลั้นหายใจเป็นเวลา 30 วินาที   สภาวะการกลั้นหายใจ No. เปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ สภาวะดำน้ำ กับ ไม่ดำน้ำ 1 หายใจธรรมดา กับ การกลั้นหายใจในน้ำ เปรียบเทียบการหายใจกับการกลั้นหายใจ 2 หายใจธรรมดา กับ การกลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ 3 หายใจผ่านท่อ snorkel ในน้ำ กับ กลั้นหายใจในน้ำ ใบหน้าสัมผัสน้ำ 4 หายใจผ่านท่อ snorkel โดยหน้าไม่เปียกน้ำ กับ หายใจผ่านท่อ snorkel ในน้ำ 5 กลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ กับ กลั้นหายใจในน้ำเย็น 6 กลั้นหายใจโดยหน้าไม่เปียกน้ำ กับ กลั้นหายใจในน้ำธรรมดา อุณหภูมิ 7 ใช้เจลประคบร้อนบริเวณใบหน้า กับ ใช้เจลประคบเย็นบริเวณใบหน้า 8 กลั้นหายใจในน้ำอุ่น กับ กลั้นหายใจในน้ำเย็น   ผลการทดลอง กลั้นหายใจ แบบต่างๆ 30 วินาที สภาวะการกลั้นหายใจ No. เปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจ วินาทีที่15 – 30 (ครั้ง / นาที) สภาวะดำน้ำ กับ ไม่ดำน้ำ 1 การหายใจแบบธรรมดา กับ 76 การกลั้นหายใจในน้ำ 56.1 เปรียบเทียบการหายใจกับการกลั้นหายใจ 2…

อ่าน ปัจจัยอะไรที่ส่งผลต่อการกลั้นหายใจมากที่สุด

14 ข้อควรระวังที่คน เรียน Freedive ต้องรู้

การเรียนฟรีไดฟ์ จะทำให้เราเป็นอิสระมากกว่าที่เคย เมื่ออยู่ในทะเล ได้รู้สึกสนุกกับการไปเที่ยวทะเลสามารถดำลงไปชมความสวยงามใต้ท้องทะเลด้วยตัวเอง แต่ก็มีข้อควรระวัง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้และนำไปปฏิบัติ 1.ห้ามหายใจแบบ hyperventilation Hyperventilation เป็นการหายใจที่มากเกินกว่าการหายใจแบบปกติตามธรรมชาติ ทำให้ระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดลดลงต่ำเกินไป ซึ่งทำให้เวลาเราดำฟรีไดฟ์ไม่รู้ตัวว่าออกซิเจนกำลังจะหมดแล้ว ทำให้เกิดการหมดสติใต้น้ำ นอกจากการหายใจแบบ hyperventilation จะไม่ช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น ยังไปขัดขวาง mammalian dive reflex ซึ่งเป็นผลเสียมากกว่าจะเป็นประโยชน์ แค่หายใจมากกว่าปกติเพียง 6 – 7 ครั้งก็อาจทำให้เกิดอาการ hyperventilation ได้ ถ้าสังเกตให้ดีจะรู้ได้ถึงความผิดปกติ เช่น มือชา เท้าชา รู้สึกมึนๆนิดๆ ถ้ามีอาการเหล่านี้ ควรงดดำน้ำสัก 3 – 4 นาทีเพื่อรอให้ร่างกายกลับสู่สภาวะปกติ ก่อนดำน้ำใหม่อีกครั้ง 2.อย่าดำน้ำคนเดียว ต้องมีเพื่อนที่ช่วยเราได้ never freedive alone อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอในขณะฟรีไดฟ์ คือ หมดสติขณะดำน้ำ วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันก่อนที่เรื่องจะเกิด นักดำน้ำต้องรู้จักขีดจำกัดและธรรมชาติ ของร่างกายตนเอง โดยปกติการหมดสติขณะดำน้ำ ไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรง จนถึงแก่ชีวิต มันเป็นกลไกตามธรรมชาติ ที่ช่วยไม่ให้เราจมน้ำ สามารถแก้ไขอาการได้อย่างง่ายๆ ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม ไม่ควรดำน้ำคนเดียว ควรมีเพื่อนที่ผ่านการเรียนฟรีไดฟ์ ไปดำน้ำกับเราด้วยเสมอเพื่อความปลอดภัย 3.ถ้าจะให้ดี ควรเอาบุย (buoy) ไปด้วย เรือที่ผ่านไปมาในทะเล มองเห็นคนในทะเลได้ยากเนื่องจากสภาพแวดล้อมในทะเลแตกต่างจากบนบก ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงเวลาดำฟรีไดฟ์ ยิ่งเราดำขึ้นลงระหว่างผิวน้ำกับใต้น้ำ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากกว่าปกติเพราะตอนเราอยู่ใต้น้ำไม่มีอะไร เป็นที่สังเกตได้ ดังนั้นหากเราต้องไป ฟรีไดฟ์ควรนำบุยไปด้วย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าบริเวณนี้มีคนกำลังดำน้ำอยู่ทำให้เรือที่ผ่านไปมาจะสังเกตได้ และระวังมากขึ้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่พักหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 4.อย่าคาบท่อ snorkel ไว้ในปากเวลาฟรีไดฟ์ การคาบ snorkel ไว้ในปากอาจน้ำให้เราหายใจได้สะดวกตอนลอยอยู่บนผิวน้ำ แต่จะเป็นอุปสรรคเวลาดำน้ำเนื่องจากทำให้เคลียร์หูไม่สะดวก และเมื่อกลับสู่ผิวน้ำแล้วยังเป็นอุปสรรคต่อการทำ Recovery breath เนื่องจากต้องใช้แรงเป่าเคลียร์น้ำในท่อ snorkel ออกไป และหายใจเอาอากาศเข้ามาใหม่ต้องใช้แรงมากกว่าปกติ นอกจากนี้หากหมดสติใต้น้ำ ก็อาจทำให้น้ำไหลเข้าปากได้ เป็นอุปสรรคต่อการช่วยเหลือของเพื่อน เพราะเวลาคนหมดสติปากมักจะปิดโดยอัตโนมัติ การเอาท่อ snorkel ออกจากปากก็จะทำได้ยาก ทำให้ recovery breath ไม่ได้ 5.ห้าม เคลียร์หู (equalize) แรงๆ หรือฝืน equalize “การเคลียร์หูที่ถูกต้อง” จะต้องไม่ใช้ความพยายาม หรือแรงมากจนเกินไป ถ้าหากไม่มีอะไรไปกีดขวางการทำงานของท่อยูสเตเชียน อากาศจะสามารถผ่านเข้าไปในหูชั้นกลางได้ การเคลียร์หูแรงๆ อาจทำให้เยื่อแก้วหูได้รับบาดเจ็บ อาจถึงกับทะลุได้ หรือในกรณีที่ร้ายแรงหูชั้นในได้รับความเสียหาย ทำให้มีปัญหาในการได้ยิน ดังนั้นถ้าหากดำน้ำลงไปแล้วพบความผิดปกติ ไม่สามารถเคลียร์หูได้ไม่ควรฝืนเป่าแรงๆ…

อ่าน 14 ข้อควรระวังที่คน เรียน Freedive ต้องรู้

ไป Freedive เกาะช้าง ไปยังไง ได้เจออะไรบ้าง

“Freedive เกาะช้าง” ไปแค่สองวันไปได้หรือไม่ โดยทั่วไปคนจะคิดว่าต้องมีวันหยุดยาวๆ ถึงจะไปที่นี่ได้ แต่โดยมากมักจะหาวันหยุดหรือลางานได้ยาก ทริปนี้เลยตัดสินใจไปเที่ยววันหยุด เสาร์-อาทิตย์ เกาะช้าง เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศไทย รองจากเกาะภูเก็ต ตั้งอยู่ในทะเลทางด้านภาคตะวันออกของไทยอยู่ในเขตจังหวัดตราด ระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 400 กิโลเมตร ถ้าชอบไป freedive ,snorkeling ไปเที่ยวที่ที่มี ทะเล ภูเขา น้ำตก ป่าไม้ร่มรื่น ขี่มอเตอร์ไซค์เที่ยวรอบเกาะ แนะนำที่นี่เลยครับ มีครบ วิธีไป freedive เกาะช้าง โดยรถทัวร์ การเดินทางไปเกาะช้าง สามารถเดินทางไปได้หลายวิธี แต่รอบนี้ไปเที่ยววันหยุด เสาร์-อาทิตย์ เลยนั่งรถทัวร์ไปจะได้ไม่เหนื่อยมาก เนื่องจากนอนหลับบนรถได้ ตื่นเช้ามาก็ไปเที่ยวได้เลย เริ่มต้นที่เดินทางที่ ขนส่งหมอชิต โดยจองตั๋วรถทัวร์ 999 ของ บขส. ราคาประมาณ 200 บาท ออกเดินทางตอนกลางคืนเพื่อที่จะได้ไปถึงเกาะตอนเช้า รถทัวร์ออกตอน 4 ทุ่ม สภาพของรถทัวร์ไม่ได้ดีมากจนนอนได้อย่างสบาย แต่ก็ไม่ได้แย่จนรับไม่ได้ พอขึ้นรถทัวร์ปุ๊บก็เตรียมตัวนอนเพื่อจะได้มีแรงไปดำน้ำตอนเช้า รถวิ่งไปเรื่อยๆจนมาถึง บขส. ตราด ตอนตี 3 ลงจากรถทัวร์มา ยังไม่มีรถไปท่าเรือ เลยนอนต่อที่เก้าอี้ยาว ใน บขส รอรถไปท่าเรือ รถไปท่าเรือจะออกประมาณ ตี 5 ค่ารถคนละ 80 บาท รถจะไปส่งที่ท่าเรือเซ็นเตอร์พอยต์เฟอรี่ ระยะทางไกลพอสมควร นั่งรถประมาณ 30 นาที พอถึงก็ลงมาซื้อตั๋วเรือขาไป 80 บาท ที่จุดขายตั๋ว มีตั๋วรถตู้ไปส่งที่พักบนเกาะขายด้วย แต่ถ้าจะเช่ามอเตอร์ไซค์บนเกาะ เมื่อไปถึงเกาะก็สามารถเช่าได้ตรงท่าเรือ หรือมีรถจากโรงแรมมารับก็ไม่ต้องซื้อ พอใกล้ๆ 6 โมงจะมีรถสองแถว ไปส่งที่เรือ หรือถ้าใครขับรถมาเอง ก็ไปต่อแถวรอเอารถขึ้นเรือได้เลย ใช้เวลานั่งเรือข้ามไปเกาะช้างประมาณ 30 นาที ก็จะถึงเกาะ ออกไปดำน้ำ ก่อนมาเกาะช้าง ติดต่อเรือของ BB freedive ไว้ ถ้ามาคนเดียวต้องจ้างไกด์ไปดำน้ำด้วย วันละ 2,500 บาท ถ้ามากับเพื่อน ไม่จ้างไกด์ก็คิดคนละ 1,500 บาท บอกเขาให้มารับที่ท่าเรือเซ็นเตอร์พอยต์ หลังจากลงจากเรือ ก็จะเจอร้านค้า มานั่งกินข้าวรอรถมารับไปดำน้ำ ที่นี่มีให้เช่ามอเตอร์ไซค์ด้วย ค่าเช่าวันละ 200 บาท ค่ามัดจำ 1000 บาท รถจากร้านดำน้ำจะมารับประมาณ…

อ่าน ไป Freedive เกาะช้าง ไปยังไง ได้เจออะไรบ้าง

Freedive ในทะเลใสๆ มันมีอะไรที่ เกาะสุรินทร์

เกาะสุรินทร์ เป็นที่ที่แรก ที่ทำให้ผมสนใน freedive ตอนนั้นยังไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าจะดำน้ำลงไปได้ยังไงโดยไม่ต้องใส่เสื้อชูชีพ ได้แต่ลอยอยู่บนผิวน้ำ แต่ก็ยังรู้สึกทึ่งกับความสวยงามที่อยู่ใต้ทะเลมาก ถ้าใครได้ไปจะรู้สึกคุ้มค่าที่ได้ไปแน่นอน

อ่าน Freedive ในทะเลใสๆ มันมีอะไรที่ เกาะสุรินทร์

5 สาเหตุทำไมคนถึงสนใจ เรียน Freedive

หลายคนสนใจว่าทำไมใครๆถึงมาเรียนฟรีไดฟ์ในเมื่อการดำสกูบ้าสามารถอยู่ใต้น้ำได้นานกว่ามาก แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมสนใจฟรีไดฟ์นอกเหนือจากความสะดวกในการดำน้ำแล้วคือ ความท้าทายทั้งทางร่างกายและ จิตใจ นับตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ดูคลิปวิดีโอ ก็รู้สึกประทับใจในความอิสระใต้ท้องทะเลโดยปราศจากอุปกรณ์มากมาย สามารถว่ายน้ำ ดำขึ้นลง และสัมผัสธรรมชาติใต้ทะเลได้อย่างสะดวกตามที่ใจต้องการ ในขณะที่สกูบ้าจะได้ประสบการณ์ความสนุกใต้ท้องทะเลผ่านอุปกรณ์ แต่ฟรีไดฟ์จะได้ประสบการณ์นั้นผ่านทางด้านจิตใจ ที่ใช้ควบคุมร่างกายให้สามารถผ่อนคลายและกลั้นหายใจได้นานเมื่อดำน้ำ คุณจะได้รู้ว่าคุณสามารถทำมันได้ ประโยชน์ของฟรีไดฟ์ที่ช่วยทางด้านร่างกาย คือ การฝึกลมหายใจที่ถูกต้อง ซึ่งทำให้ปอดได้รับออกซิเจนมากขึ้น และทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายได้ง่ายมากขึ้น ทำให้มีสมาธิ ประโยชน์ 5 ข้อของการ เรียน Freedive 1. Freedive คือ กีฬาอย่างหนึ่ง เป็นกีฬาทางน้ำเหมือนกับการว่ายน้ำ การเล่นฟุตบอล และกีฬาชนิดอื่นๆ ยิ่งคุณฝึกกลั้นหายใจมากขึ้นเท่าไหร่ปอดของคุณยิ่งแข็งแรงยิ่งขึ้นเท่านั้น ในกรณีของฟรีไดฟ์จะเน้นไปในการฝึกควบคุมลมหายใจทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจะทำให้ปอดมีออกซิเจนมากขึ้นและทำให้สามารถกลั้นหายใจได้นานมากขึ้น ฟรีไดฟ์กับสกูบ้าต่างกันตรงที่ฟรีไดฟ์ไม่มีอุปกรณ์ในการช่วยหายใจ ใช้เพียงปอดในการเก็บอากาศเวลาอยู่ใต้น้ำ เป็นกีฬาที่มีความท้าทายทั้งทางด้านร่างกาย และทางด้านจิตใจ ซึ่งต้องการการเรียนรู้ และการฝึกฝน ขึ้นอยู่กับว่าเป้าหมายของแต่ละคนในการเล่นกีฬาชนิดนี้คืออะไร ถ้าหากเป้าหมายคือการลงแข่งเพื่อสร้างสถิติ การฝึกซ้อมก็ต้องมีวินัยและมากกว่าคนทั่วไป หรือถ้าหากเป้าหมายคือการไปเที่ยวทะเล ดำน้ำเล่นเพื่อการพักผ่อน การไปลงคอร์สเรียนฟรีไดฟ์เท่านั้นก็เพียงพอ การเรียนฟรีไดฟ์และฝึกซ้อมเป็นประจำสม่ำเสมอ รวมถึงต้องตระหนักถึงขีดจำกัดของร่างกายของแต่ละคน ไม่แต่เพียงเท่านั้นยังต้องใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อไปเที่ยวทะเล และปฏิบัติตามกฎของความปลอดภัยในกีฬาชนิดนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุอันตรายของเราและเพื่อนได้ 2. Freedive คือ ความท้าทายไปสู่ขีดจำกัดและเหนือกว่าความเชื่อของตัวเอง เพราะคุณจะได้ฝึกฝน และพัฒนา โดยผ่านการเรียนรู้และฝึกฝนวิธีต่างๆในกีฬาฟรีไดฟ์จะช่วยสร้างความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และก้าวข้ามขีดจำกัด จนเอาชนะข้อจำกัดของตัวเองได้ และทำได้มากขึ้นเรื่อยๆ คุณคิดว่า “คุณกลั้นหายใจได้นานเท่าไหร่” คำตอบต่อคำถามนี้เป็นเพียงความเชื่อในใจของคุณเอง แต่เมื่อคุณ ได้ลองตั้งเป้าหมายลงมือเรียนรู้และฝึกฝนเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง คุณก็จะยิ่งมีความเชื่อมากขึ้นเรื่อยๆเอาชนะขีดจำกัดของตัวเองได้ในท้ายที่สุด ทั้งทางด้านความคิด และทางด้านร่างกาย สามารถกลั้นหายใจได้นานขึ้น ดำน้ำได้ลึกกว่าเดิม 3. ได้ดูแลตัวเอง ให้มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี การดูแลสุขภาพ และการออกกำลังกาย เป็นส่วนหนึ่งของฟรีไดฟ์รวมไปถึงการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง และการพักผ่อนอย่างเพียงพอด้วย ซึ่งทำให้คนที่ฝึกซ้อมฟรีไดฟ์เป็นประจำ มีวิถีชีวิตที่ดี การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างต่อเนื่องในน้ำของ ฟรีไดฟ์ ไม่เพียงแต่ทำให้กล้ามเนื้อของคุณแข็งแรงและพัฒนาขึ้นแต่มันยังช่วยให้ความอดทนของร่างกายเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย ฟรีไดฟ์ไม่ได้อยู่กับขีดจำกัดของตัวเลขหรือปริมาณครั้งที่ดำน้ำ แต่หลายๆครั้งการเอาชนะขีดจำกัดของจิตใจตัวเองทำให้ร่างกายยอมทำตามเพื่อบรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการไปให้ถึง ในสภาพที่มีแรงดันน้ำกดดัน กล้ามเนื้อมัดต่างๆจะถูกแรงดัน ทำให้หดตัว ยิ่งดำลงไปลึกมากขึ้นเท่าไหร่แรงดันน้ำก็ยิ่งเพิ่มขึ้น ทำให้ร่างกายต้องปรับตัวและออกแรงว่ายน้ำลงไปสู่ความลึกที่ต้องการ ในสภาวะที่ต้องประหยัดออกซิเจนไปด้วย และจากผลการศึกษาพบว่า การใช้เวลาอยู่ในน้ำจะช่วยให้ข้อกระดูกต่างๆในร่างกายไม่ต้องรับภาระมากเกินไป ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเป็นอิสระมากยิ่งขึ้น ซื่งกิจกรรมอย่างอื่นทำให้เกิดแรงกระแทกต่อส่วนต่างๆในร่างกายอาจจะทำให้คุณได้รับบาดเจ็บในข้อกระดูกได้ในระยะยาว 4. ได้รู้สึกถึงความอิสระคลายความเครียด การดำน้ำตัวเปล่าให้ความรู้สึกเหมือนกับว่ากำลังบินอยู่บนท้องฟ้า รูสึกเหมือนกับว่าร่างกายอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก สามารถเคลื่อนไหวไปได้ทุกทิศทางโดย ไม่ถูกแรงโน้มถ่วงมาผูกมัดเอาไว้ ผ่านการใช้รูปแบบการหายใจแบบโยคะ ช่วยให้เกิดความสงบและรู้สึกสบาย ทำให้อารมณ์แจ่มใส ในขณะที่เฝ้าสังเกตร่างกายไปด้วย ในขณะอยู่ใต้น้ำก็ได้ปลดปล่อยและเป็นอิสระจากต้นเหตุของความเครียดต่างๆ สามารถลอยอยู่บนผิวน้ำดำขึ้น ลงรวดเร็วแค่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องพักน้ำ สะดวกในการเดินทาง สามารถขึ้นเครื่องบินได้ทันที และใช้อุปกรณ์เพียงไม่กี่ชิ้น ถ้าหากคุณได้สัมผัสประสบการณ์ท่ามกลางฝูงปลามากมายในมหาสมุทร ไม่เพียงแต่คุณจะรับรู้ความงามผ่านทางสายตาเท่านั้นแต่คุณจะได้มองเห็นอิสระของทะเลอีกด้วย คนที่ฝึกฝนฟรีไดฟ์จะมีระดับของความเครียดที่น้อยกว่าคนอื่นๆทั่วไปทำให้จิตคุณมีสมาธิมากขึ้นคุณจะได้ฝึกที่จะอยู่กับตัวเอง จดจ่ออยู่กับลมหายใจ ร่างกาย และความรู้สึกต่างๆ การดำน้ำโดยไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยใดๆ จะทำให้คุณรู้จักทั้งโลกภายนอกและโลกภายใน โลกภายนอกคือสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ…

อ่าน 5 สาเหตุทำไมคนถึงสนใจ เรียน Freedive

2 วิธีฝึก Freedive กลั้นหายใจ ได้นานและสบายกว่าเดิม

หนึ่งในปัญหาที่ทรมานคนที่ฝึกฟรีไดฟ์ใหม่ๆ คือ อาการ contraction ซึ่งเป็นอุปสรรคในการกลั้นหายใจ และสิ่งที่คิดจะทำเป็นอย่างแรกเพื่อทำให้ร่างกายทนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้น คือ ให้ฝึกตาราง CO2 โดยมีความเชื่อผิดๆว่าจะทำให้ contraction มาช้าลงกว่าเดิม เพราะเชื่อว่ายิ่งฝึกร่างกายจะยิ่งทนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น ฝึก Freedive อย่างไรให้ Contraction มาช้าลง ในการเรียนฟรีไดฟ์ระดับเริ่มต้น เราจะถูกสอนให้ฝึกร่างกายให้ทนต่อระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อทำให้กลั้นหายใจได้นานขึ้นโดยไม่ทำ hyperventilation ซึ่งนั่นเป็นวิธีที่ถูกต้องและปลอดภัย แต่ความคิดที่ว่ายิ่งฝึกให้ทนต่อ คาร์บอนไดออกไซด์นานขึ้นเรื่อยๆ เพื่อทำให้สามารถกลั้นหายใจได้นานขึ้นไปเรื่อยๆ หรืออีกนัยหนึ่งก็เป็นการฝึกฝืนจิตใจให้ทนได้มากกว่าเดิม ทนทรมานได้มากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเป็นความคิดที่ผิดถนัด แน่นอนว่าการฝึกตาราง CO2 เป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้คุ้นเคยกับอาการ contraction แต่มันมีประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจให้ดี ประเด็นแรก คือการฝึกจิตใจให้คุ้นเคยกับอาการ Contraction เป้าหมายการฝึกนี้คือ ทำให้เกิดความเข้าใจและรู้สึกเฉยๆในสภาวะของการเกิด contraction ว่าเกิดมาจากระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้นไม่ได้เกิดเพราะกำลังขาดออกซิเจน และกำลังจะตาย ปัญหาคือเราไม่มีทางที่จะรู้สึกสบายได้จากการที่คาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่ได้มาจากการฝึกตาราง CO2 คือเราสามารถฝืนทนความทรมานได้มากขึ้น เเต่ผลเสียที่เกิดขึ้นจากวิธีแบบนี้ คือเราไม่มีทางที่จะรู้สึกดีได้เลย จิตใจจะต่อต้านการฝึก เกิดความเบื่อหน่ายและเลิกฝึกไปในที่สุด การฝึกที่ให้ประสิทธิผลมากกว่าคือ การฝึกให้จิตใจผ่อนคลาย ฝึกเพื่อให้เกิดความรู้สึกดี และเกิดเชื่อมั่นว่าเราสามารถทำได้ เช่นการกลั้นหายใจพียง 2-3 รอบ ให้สามารถกลั้นหายใจได้ตามระยะเวลา contraction ที่กำหนด เป็นการฝึกเพียงให้เกิดความเข้าใจ ว่าเราสามารถทำได้ก็พอ ไม่จำเป็นต้องทำถึง 8 รอบ ประเด็นต่อมาคือการฝึกร่างกายให้เคยชินกับ CO2 เป้าหมายในการฝึกคือ ทำให้ คาร์บอนไดออกไซด์มีผลกระทบต่อ อาการ contraction หรือ อาการ urge to breath ของร่างกายในขณะกลั้นหายใจน้อยลง แล้วคิดว่า contraction จะมาช้าลง ซึ่งในความจริงเป็นความเข้าใจผิด สิ่งที่ส่งผลต่ออาการ urge to breath ไม่ใช่คาร์บอนไดออกไซด์ ซะทีเดียว แต่สิ่งที่ร่างกายตรวจจับ และส่งผลให้กิด contraction ตามมา คือ ความเป็นกรดในกระแสเลือด ยิ่งเลือดเป็นกรดมากเท่าไหร่ เวลากลั้นหายใจอาการ urge to breath จะยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ซึ่งค่า ph ในกระแสเลือดนั้น มีปัจจัยมาจากหลายสาเหตุ ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ระดับ ph ในร่างกายมาจาก 2 สาเหตุหลักๆ คือ เปอร์เซ็นต์ของ CO2 และ ปริมาณ lactic acid ในร่างกาย ดังนั้น การฝึกตาราง CO2 เพื่อทำให้ร่างกาย…

อ่าน 2 วิธีฝึก Freedive กลั้นหายใจ ได้นานและสบายกว่าเดิม

9 ขั้นตอน Freedive ฝึก Frenzel Equalization

วิธีเคลียร์หูแบบ frenzel เป็นวิธีที่นิยมมากสำหรับคนที่ เรียน freedive เพราะเป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อหูมากกว่าวิธีการเคลียร์หูแบบ valsava และสามารถดำลงไปได้ลึกกว่ามาก แต่ก็ต้องใช้เวลาในการฝึกอยู่พอสมควรเพราะ มีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าวิธีอื่น เเต่มีขั้นตอนฝึกสำหรับผู้หัดใหม่ในบทความนี้ Freedive Physiology ส่วนต่างๆ ส่วนที่เชื่อมปอดและลำคอคือ trachea สามารถเปิด-ปิดโดย epiglottis ส่วนที่เชื่อมไปยังกระเพาะอาหารคือ esophagus โดยปกติจะปิด การหายใจเข้า-ออก จะผ่านเพดานอ่อน (soft palate) เข้าสู่ปอด ถ้าเพดานอ่อนอยู่ตำแหน่งกึ่งกลาง ลมจะสามารถถ่ายเทจากปากเข้าจมูกได้ ถ้าเพดานอ่อนยกขึ้น ลมจะผ่านเข้าปากได้ แต่ลมจะถูกกั้น ไม่สามารถเข้าไปในโพรงจมูกได้ ถ้าเพดานอ่อนลดลง ลมจะผ่านเข้าจมูกได้แต่ผ่านเข้าไปในช่องปากไม่ได้ ท่อยูสเตเชียนอยู่บริเวณด้านหลังโพรงจมูก การเคลียร์หูคือการดันลมให้เข้าไปในท่อนี้ จากรูปเป็นวิธีเคลียร์หูแบบ frenzel เราจะใช้มือปิดจมูก ใช้ลิ้นดันลมในช่องปาก ในขณะเดียวกันก็ปิดหลอดลมไว้ ลมจะถูกดันผ่านเพดานอ่อนที่เปิดอยู่เข้าไปในท่อยูสเตเชียน และเข้าไปในหูชั้นกลาง วิธีเคลียร์หู แบบ Frenzel ใช้มือปิดจมูก เอาลมจากปอดมาไว้ในปาก ปิดหลอดลม ทำให้เพดานอ่อนมาอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางหระหว่างโพรงจมูก กับ ช่องปาก ใช้ลิ้นดันลมให้เข้าไปในโพรงจมูก 9 ขั้นตอน ฝึก Frenzel Technique สำหรับคนเรียนฟรีไดฟ์ใหม่ๆอาจจะยังไม่รู้ว่าจะควบคุมหลอดลม เพดานอ่อน หรือใช้ลิ้นดันลมให้เข้าไปในท่อยูสเตเชียนได้อย่างไร ขั้นตอนด้านล่างจะเป็นวิธีฝึกเพื่อให้คุ้นเคยกับการควบคุมส่วนต่างๆที่ใช้ในการเคลียร์หู ขั้นตอนที่ 1 : ฝึกดึงลมจากปอดเข้ามาในปาก ให้ดันลมจากปอดเข้ามาไว้ในปาก จนกว่าจะเต็มกระพุ้งแก้ม ลองเคลื่อนลมจากเไป-มา ระหว่างปากกับปอดให้คล่อง ขั้นตอนที่ 2 : ฝึกเปิด-ปิด หลอดลม (Epiglottis) มีหลายวิธีที่ใช้ในการฝึกเปิด-ปิดหลอดลม วิธีที่ 1 : กลั้วคอด้วยน้ำ จิบน้ำไว้ในปาก แล้วเงยหน้าขึ้นให้น้ำไหลไปด้านหลังของปาก แต่อย่าให้น้ำไหลผ่านลำคอลงไป วิธีที่ 2 : หายใจออก และสะกัดลมไว้ไม่ให้ออกมา ให้อ้าปากออกแล้วหายใจออกผ่านปาก สะกัดลมไว้ไม่ให้ออกมา ลองใช้กระบังลมดันปอดถ้าลมไม่ไหลออกมาแสดงว่าปิดหลอดลมได้ วิธีที่ 3 : หายใจเข้าแล้ว สะกัดลมไว้ไม่ให้เข้าไป อ้าปากแล้วหายใจเข้า สะกัดลมไว้ ไม่ให้เข้าปอด เมื่อลมไม่สามารถเข้าไปในปอดได้จะรู้สึกตึงบริเวณ epiglottis วิธีที่ 4 : ปิดหลอดลมไว้แล้วหายใจออก ต่อจากวิธีที่ 2 อ้าปากไว้ แต่ปิดหลอดลมไว้ในขณะที่หายใจออก ออกแรงดันลมให้ออกทางปากแล้ว เปิดหลอดลม จะมีสียงลมที่ดันผ่านปากออกมา (ฝรั่งเรียก K sound) วิธีที่ 5 : ปิดหลอดลมไว้แล้วหายใจเข้า…

อ่าน 9 ขั้นตอน Freedive ฝึก Frenzel Equalization

Spleen Effect เคล็ดไม่ลับ ทำให้กลั้นหายใจได้นาน

รู้จักกับ “ม้าม” และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการดำฟรีไดฟ์ จนถึงวิธีการฝึกฝนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำฟรีไดฟ์

อ่าน Spleen Effect เคล็ดไม่ลับ ทำให้กลั้นหายใจได้นาน

Wetsuit Freedive เเตกต่างจาก Scuba อย่างไร

ทำไมเราใช้ wetsuit freedive ? เวลาที่เราแช่น้ำนานๆ ร่างกายจะสูญเสียความร้อนออกไปเรื่อยๆ เนื่องจากการถ่ายเทอุณหภูมิในน้ำมีมากกว่า เวลาที่เราอยู่บนบกถึง 25 เท่า ถ้าเราต้องอยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ wetsuit จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันเราจากความหนาวเย็นจนเป็นไข้ และเป็น อุปกรณ์ freedive ทำให้สามารถฝึกฝนได้อย่างสบายมากขึ้น ข้อเเตกต่างระหว่าง Wetsuit Freedive กับ Scuba หลายคนเกิดข้อสงสัยว่า ทำไมคนฝึก freedive ไม่นิยมใช้ wetsuit scuba เหตุผลก็เนื่องมาจาก ชุดของ scuba จะออกแบบมาให้น้ำสามารถซึมเข้าไปขังอยู่ในชุดได้ กลายเป็นชั้นแบ่งระหว่างร่างกาย กับชุด เมื่อคนดำ scuba เคลื่อนไหวร่างกายมากๆ ร่างกายจะสร้างความร้อนขึ้นมา และเก็บความร้อนไว้ในชุดได้ แต่คนฝึก freedive หรือ spearfishing ไม่ต้องการเคลื่อนไหวร่างกายมาก เพื่อทำให้ร่างกายใช้ออกซิเจนให้น้อยที่สุด มักลอยอยู่นิ่งๆ ใช้เวลาในกการหายใจ เพื่อเตรียมตัวดำลงไปใต้น้ำ ดังนั้นหากใช้ wetsuit ของ scuba ก็จะไม่ช่วยในเรื่องของอุณหภูมิ และความยืดหยุ่นของชุด scuba จะน้อยกว่าชุดสำหรับ ฟรีไดฟ์ ทำให้เคลื่อนไหวไม่สะดวกเท่าที่ควร วัตถุประสงค์การใช้งานของ Wetsuit สำหรับ Freedive การเลือกใช้งานจะขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมในการดำน้ำ เช่น ระยะเวลาที่อยู่ในน้ำ อุณหภูมิของน้ำ ยิ่งอุณหภูมิของน้ำต่ำเท่าไหร่ ความหนาของชุดก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น โดยปกติ ชุดจะแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนบนของร่างกาย และ hood กับ ส่วนของกางเกง วัสดุที่ใช้ในการทำชุดจะ ทำมาจาก neoprene แบ่งออกหลักๆได้ 3 ชนิด Double-lining: ทำมาจาก neoprene หุ้มด้วยไนลอนทั้งสองด้าน ด้านในและด้านนอกชุด ข้อดีคือ ราคาถูกกว่าแบบอื่น และมีความทนทาน ง่ายต่อการดูแลรักษา สะดวกเวลาใส่และถอดออก แต่ก็มีข้อเสียคือ น้ำซึมเข้าไปได้ง่าย และชุดต้านน้ำ กว่าแบบอื่น Single-lining: หรือเรียก อีกอย่างหนึ่งว่าแบบ open-cell มีไนลอนเพียงด้านเดียว ด้านที่สัมผัสร่างกายจะไม่มีไนลอน ทำให้neoprene แนบกับผิวหนังได้สนิท มีข้อดีคือ น้ำจะไม่เข้าไปในชุด เหมาะสำหรับ spearfishing และใส่ฝึกซ้อม freedive เนื่องจากชุดจะมีความ ทนทานกว่าแบบ no lining ข้อเสีย คือ ชุดต้านน้ำและไม่ยืดหยุ่น เท่าชุดแบบ…

อ่าน Wetsuit Freedive เเตกต่างจาก Scuba อย่างไร