เทคนิคพื้นฐานการฝึก Freedive

Freedive เป็นกีฬาที่เรียนและฝึกฝนทักษะในการกลั้นหายใจในการดำน้ำ ถูกเเบ่งออกหลักๆได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เรียนรู้การกลั้นหายใจได้นาน , กลั้นหายใจดำน้ำได้ไกล เเละกลั้นหายใจดำน้ำได้ลึก เเต่ละแบบก็มีหัวข้อในการฝึกฝนเเตกต่างกันไปบ้าง ตามรูปแบบของการเเข่งขัน 1. Freedive กลั้นหายใจนาน (Static Apnea) – Relaxation and Breathing Technic Relaxation and breathing technic ส่วนเเรกที่ผู้เรียนฟรีไดฟ์จะได้ฝึกฝน เนื่องจากเป็นหัวใจของฟรีไดฟ์ คือ การไม่เครียด การฝึกนี้เป็นรากฐานของฟรีไดฟ์เเบบอื่นๆทั้งหมด ได้เเก่ 1.หายใจโดยใช้กระบังลม /ท้องน้อย (Diaphragm / Belly Breathing) เวลาหายใจเข้า หน้าท้องจะป่องออก เเละเวลาหายใจออก หน้าท้องจะยุบลง หายใจเข้าออกเเบบสบายๆ เหมือนเวลาปกติ (tidal volume) ไม่หายใจมากหรือถี่เกินไปเพราะ จะทำให้เกิด hyperventilation ***ถ้าฝึกใหม่ๆ ให้หายใจเข้า 1 ส่วน หายใจออก 2ส่วน โดยนับเลขเเทน เช่น หายใจเข้า 3 วินาที หายใจออก 6 วินาที เพื่อป้องกัน hyperventilation 2. การกลั้นหายใจ (Hold Breathing) การกลั้นหายใจ ประกอบไปด้วย 3 ช่วงคือ 2.1 ผ่อนคลาย (relax) : ช่วงเเรกร่างกายยังไม่มีผลกระทบ จากการกลั้นหายใจ มีเเค่ความคิดที่คอยรบกวนเเละทำให้จิตใจไม่สงบ 2.2 อุปสรรค (struggle) : ช่วงนี้จะเริ่มตั้งเเต่ เกิดการหดตัวของกระบังลม เป็นต้นไป ทำให้เกิดความยากลำบากในการกลั้นหายใจ เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซในเลือดเพิ่มขึ้น 2.3 อันตราย : ร่างกายจะเริ่มเกิดความรู้สึกทรมาน ริมฝีปากจะเริ่มเป็นสีม่วง เนื่องจากออกซิเจนในกระเเสเลือด ลดลงมาก ทำให้เสี่ยงต่อการเกิด LMC หรือ blackout 3. Recovery Breathing หลังจากกลั้นหายใจจนออกซิเจนในเลือดลดลงต่ำ โดยให้หายใจเข้าให้เต็มปอดให้เร็วที่สุดเเล้วกลั้นหายใจไว้ 2 วินาที ทำซ้ำ 3-4 รอบ – Full Lung Stretching ยืดเหยียดกล้ามเนื้อรอบๆ ทรวงอก ด้วยการหายใจเข้าให้เต็มปอด เมื่อฝึกเป็นประจำ จะช่วยให้ปริมาตรความจุอากาศของปอดเพิ่มขึ้น –…

อ่าน เทคนิคพื้นฐานการฝึก Freedive

Lung Stretching เพื่อเพิ่มความจุปอด

รู้จักกับวิธีการฝึก lung stretching เพื่อเพิ่มความจุของปอด เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอด และช่วยให้อยู่ใต้น้ำได้นานขึ้น

อ่าน Lung Stretching เพื่อเพิ่มความจุปอด