เทคนิคพื้นฐานการฝึก Freedive

Freedive เป็นกีฬาที่เรียนและฝึกฝนทักษะในการกลั้นหายใจในการดำน้ำ ถูกเเบ่งออกหลักๆได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เรียนรู้การกลั้นหายใจได้นาน , กลั้นหายใจดำน้ำได้ไกล เเละกลั้นหายใจดำน้ำได้ลึก เเต่ละแบบก็มีหัวข้อในการฝึกฝนเเตกต่างกันไปบ้าง ตามรูปแบบของการเเข่งขัน

1. Freedive กลั้นหายใจนาน (Static Apnea)

– Relaxation and Breathing Technic

Relaxation and breathing technic ส่วนเเรกที่ผู้เรียนฟรีไดฟ์จะได้ฝึกฝน เนื่องจากเป็นหัวใจของฟรีไดฟ์ คือ การไม่เครียด การฝึกนี้เป็นรากฐานของฟรีไดฟ์เเบบอื่นๆทั้งหมด ได้เเก่

1.หายใจโดยใช้กระบังลม /ท้องน้อย (Diaphragm / Belly Breathing)
เวลาหายใจเข้า หน้าท้องจะป่องออก เเละเวลาหายใจออก หน้าท้องจะยุบลง หายใจเข้าออกเเบบสบายๆ เหมือนเวลาปกติ (tidal volume) ไม่หายใจมากหรือถี่เกินไปเพราะ จะทำให้เกิด hyperventilation

***ถ้าฝึกใหม่ๆ ให้หายใจเข้า 1 ส่วน หายใจออก 2ส่วน โดยนับเลขเเทน เช่น หายใจเข้า 3 วินาที หายใจออก 6 วินาที เพื่อป้องกัน hyperventilation

2. การกลั้นหายใจ (Hold Breathing) การกลั้นหายใจ ประกอบไปด้วย 3 ช่วงคือ

2.1 ผ่อนคลาย (relax) : ช่วงเเรกร่างกายยังไม่มีผลกระทบ จากการกลั้นหายใจ มีเเค่ความคิดที่คอยรบกวนเเละทำให้จิตใจไม่สงบ

2.2 อุปสรรค (struggle) : ช่วงนี้จะเริ่มตั้งเเต่ เกิดการหดตัวของกระบังลม เป็นต้นไป ทำให้เกิดความยากลำบากในการกลั้นหายใจ เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซในเลือดเพิ่มขึ้น

2.3 อันตราย : ร่างกายจะเริ่มเกิดความรู้สึกทรมาน ริมฝีปากจะเริ่มเป็นสีม่วง เนื่องจากออกซิเจนในกระเเสเลือด ลดลงมาก ทำให้เสี่ยงต่อการเกิด LMC หรือ blackout

3. Recovery Breathing
หลังจากกลั้นหายใจจนออกซิเจนในเลือดลดลงต่ำ โดยให้หายใจเข้าให้เต็มปอดให้เร็วที่สุดเเล้วกลั้นหายใจไว้ 2 วินาที ทำซ้ำ 3-4 รอบ

– Full Lung Stretching

ยืดเหยียดกล้ามเนื้อรอบๆ ทรวงอก ด้วยการหายใจเข้าให้เต็มปอด เมื่อฝึกเป็นประจำ จะช่วยให้ปริมาตรความจุอากาศของปอดเพิ่มขึ้น

– CO2 Tolerance

เป็นการฝึกให้เกิดความเคยชินกับสภาวะ urge to breath ของร่างกาย เช่น กระบังลมหดตัว อันเนื่องมาจาก คาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายเพิ่มขึ้นสูง ไม่ควรฝึกติดต่อกันหลายๆวัน

– O2 Tolerance

ฝึกให้ร่างกาย เเละจิตใจคุ้นเคยกับ สภาวะออกซิเจนในร่างกายลดต่ำ มักเริ่มต้นจากการฝึก O2 table

2. แบบกลั้นหายใจดำน้ำได้ไกล (Dynamic Apnea)

ก่อนการฝึก dynamic จะต้องหา neutral buoyancy เสียก่อน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียเเรงไปกับการเตะขามากเกินไป เนื่องจากตัวลอย หรือจมตลอดเวลา การถ่วงน้ำหนัก มักใช้ตะกั่วแบบก้อนใส่เข็มขัดยาง หรือ นำตะกั่วเเบบเม็ดมาทำ neck weigh

– Dynamic Start

วิธีฝึกออกตัวโดยการมุดลงใต้น้ำ เเล้วไปให้ไกลที่สุด

– Finning Technic เเละ Body Streamline

ฝึกเตะขา โดยใช้เเรงให้น้อยที่สุด เเต่ได้เเรงส่งมากที่สุด เเละทำตัวให้ลู่ไปกับน้ำ

– การกลับตัว (Turnning)

ฝึกหมุนตัวเมื่อว่ายมาถึงปลายสระ เพื่อประหยัดเเรงให้มากที่สุด เเต่ใช้เวลาในการกลับตัวน้อย

– Anaerobic Training

วิธีการออกกำลังกายโดยที่ร่างกาย เเบบไม่ใช้ออกซิเจนในการผลิตพลังงาน เพื่อทำให้ร่างกาย ทนทานต่อความเมื่อยล้าเนื่องจากกรด lactic โดยทั่วไปจะออกกำลังเเบบ HIIT (high intensity interval training)

3.แบบกลั้นหายใจดำน้ำลึก (Depth Apnea)

รูปแบบการดำน้ำลึกของฟรีไดฟ์มีหลากหลายเเบบเช่น การดึงเชือกลงไปให้ลึกที่สุด (free immersion) การใช้ fins ดำลงลึก (constant weight with fins) etc. อุปสรรคสำคัญของการดำลึกทุกเเบบ คือเเรงดันน้ำที่เปลี่ยนเเปลง

– Equalization (เคลียร์หู)

ปัญหาอันดับเเรกของการฝึก depth คือการเคลียร์หู การฝึกเริ่มเเรกให้เคลียร์หูบนบกดู ว่าเคลียร์ได้หรือไม่ ถ้าหูปกติให้ฝึกโดยค่อยๆดึงเชือก เเบบ free immersion ลงในท่า head down ช่วงเเรกเน้นให้ฝึกท่าทางให้ถูกต้อง เเละผ่อนคลายเวลาเอาศีรษะลงพื้น “แต่ถ้าหากติดปัญหาเคลียร์หูไม่ได้ ต้องมาดูกันว่าเคลียร์ไม่ได้แบบไหน เพื่อจะแก้ปัญหานี้

– Duck Dive

มุดน้ำโดย ให้ศรีษะดิ่งลงพื้นเพื่อ ช่วยประหยัดเเรงในการดำลงสู่ที่ลึก มี 5 ขั้นตอนคือ
เริ่มต้นโดยการหายใจเข้าเต็มปอด ให้เอา snorkel ออกจากปาก pre- equalization 1 ครั้ง เเล้วจึงเริ่ม duck dive

ขั้นตอนที่ 1 ให้เคลื่อนตัวไปข้างหน้าเพื่อสร้าง momentum ทำให้เกิดเเรงส่ง พับตัวดำลงไปใต้น้ำ

ขั้นตอนที่ 2 ชี้เเขนลงไปด้านล่าง

ขั้นตอนที่ 3 พับสะโพกให้ลำตัวตั้งฉากกับขา

ขั้นตอนที่ 4 ยกขาขึ้นให้ตั้งฉากกับพื้น

ขั้นตอนที่ 5 ทำ arm stroke 1 ครั้งเพื่อดึงตัวลงไปใต้น้ำ

หลังจาก arm stroke ให้เริ่ม equalization เเละเตะขา

– Free Fall

ก่อนที่จะฝึก free fall จะต้องถ่วงน้ำหนัก ให้ได้ Neutral buoyancy ที่ 10 – 13 เมตรเสียก่อน เมื่อได้น้ำหนักที่ต้องการเเล้วให้ใส่น้ำหนักเพิ่มอีก 2 กิโลกรัม ระยะ free fall จะอยู่ที่ 5 เมตร เป็นการฝึกเพื่อ หาจุดที่ร่างกายมี streamline เเละ การผ่อนคลายดีที่สุด เพื่อดำได้ลึกขึ้นในอนาคต

– Empty Lung Stretching

ยืดเหยียดกล้ามเนื้อรอบๆ ทรวงอก ในขณะที่หายใจเอาอากาศออกจนหมดปอด ฝึกเป็นประจำจะช่วยให้ equalization ในที่ลึกได้ง่ายมากขึ้น และป้องกันอาการปอดแฟบ (lung squeez)

– Turning at Depth

การกลับตัวเมื่อถึงจุดสิ้นสุดความลึกที่กำหนด ถ้ากลับตัวได้ดี จะใช้เเรงน้อย ช่วยให้มีเเรงส่งเพื่อว่ายกลับไปสู่ผิวน้ำ ป้องกันอาการบาดเจ็บที่ปอดได้

– Buddy System and Rescue

การทำทุกอย่างในน้ำ จะต้องมีเพื่อนคอยดูอยู่ด้วยเสมอ เเละต้องคอยสื่อสารว่าเรากำลังจะทำอะไร เช่น ถ้าเราจะฝึกโดย การ hang ที่ 15 เมตร 1 นาที ก็ต้องบอกเพื่อนก่อน เพื่อที่จะได้ประมาณเวลา safety ได้ถูก

วิธีต่างๆที่กล่าวมาเป็นวิธีที่ใช้ฝึกสำหรับ ดำลงไปได้ลึก 30 เมตร รายละเอียดการฝึกใน post นี้เพียงพื่อรวบรวมหัวข้อการฝึกเเบบ คร่าวๆ วิธีการฝึกแบบละเอียดจะมานำเสนอในโอกาสต่อไป

Never Dive Alone , Free diving safe , having fun.