Tissue Graph - Cover - Tecrew - 670124

Tissue Graph บน Dive com “Shearwater”

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว TECREW วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง function หนึ่งใน dive computer
นักดำน้ำมือใหม่หลายๆ คนที่เลือกใช้ dive computer Shearwater เนื่องจากขนาดหน้าจอที่ใหญ่ ทำให้มองเห็นได้ชัดเจนขณะดำน้ำ คงจะเห็นผ่านตาว่ามันมี function หนึ่งบน Shearwater ที่เป็นแถบ bar graph สีเขียว เหลือง แดง แถมมีเส้นย่อยๆ อีกหลายเส้น วันนี้เรามาทำความเข้าใจในเรื่องนี้กัน

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจพื้นฐานกันก่อนนะ dive computer ในปัจจุบันนั้นใช้ algorithm model (เพื่อให้เข้าใจง่ายมันคือวิธีคำนวณ NDL นั่นแหละ) ZHL-16C ซึ่งได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
model นี้ถูกพัฒนาโดย Bühlmann โดยมีพื้นฐานมาจากแบบจำลองของ Haldane โดย

ZH หมายถึง เมืองซูริก, ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
L หมายถึง สมการเชิงเส้นตรง
16C หมายถึง เนื้อเยื่อทางทฤษฎีที่ใช้ควบคุม
(สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ใน Wikipedia เรื่อง “Bühlmann decompression algorithm”)

มาเข้าเรื่อง tissue graph กันดีกว่า เรามาเข้าใจ zone ของแถบสีกันก่อนนะ
Tissue Graph - color - Tecrew - 670124

zone-เขียว

หมายถึง zone ของแรงดันที่น้อยกว่าแรงดันโดยรอบตัวเรา สุดขอบของ zone นี้ก็คือแรงดันรอบตัว (Ambient Pressure)

zone-เหลือง

หมายถึง zone ของแรงดันที่ที่อยู่ในสถานะเกินจุดอิ่มตัว (Supersaturate) แต่ยังไม่เกิดการก่อตัวเป็นฟองอากาศ (bubble) ซึ่งสุดขอบของ zone นี้ก็คือค่าสูงสุดที่เนื้อเยื่อจะทนต่อการก่อตัวของฟองอากาศ หรือก็คือค่า
“M-Value” นั่นแหละ

zone-แดง

หมายถึง zone ที่อยู่ในสถานะเกินจุดอิ่มตัวที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดฟองอากาศในเนื้อเยื่อ

แถบเส้นต่างๆ

Tissue Graph - inert gas line - Tecrew - 670124

หมายถึง สถานะของ inert gas ที่สะสมอยู่ในเนื้อเยื่อทางทฤษฎีต่างๆ โดย model ZHL-16C ใช้เนื้อเยื่อทางทฤษฎี 16 แบบ ก็เลยมี 16 เส้น (หาอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่)

แถบเส้นสีดำที่ตัดขวาง

Tissue Graph - inert gas - Tecrew - 670124

เป็นเส้นที่แสดงแรงดันของ inert gas ที่เราใช้หายใจอยู่ในขณะนั้น

พอเราเข้าใจความหมายของส่วนต่างๆ ของ graph แล้วก็จะสามารถดูสถานะ inert gas ในเนื้อเนื่อต่างๆ (จากการคำนวณ) ได้และเข้าใจมากขึ้นนะ

ถ้าเพื่อนๆ อยากเข้าใจลึกซึ้งจริงๆ หัวข้อนี้เราจะได้เรียนกันในภาคทฤษฎีของคอร์ส  Divemaster และคอร์ส Technical Diving

หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับหลายคนที่สงสัยว่า graph นี้มันคืออะไร? ยังไงถ้าใครถูกใจบทความ admin ฝาก like ฝาก share page เพื่อเป็นกำลังให้ด้วยนะ

บทความจาก Facebook: Tecrew