DAN Covid-19 Recommend

Covid-19 and Diving Operations

ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว และเตรียมตัว เพื่อความปลอดภัยในการดำน้ำ ในช่วง Covid-19 การออกมาตรการต่างๆ การระมัดระวังอุปกรณ์ดำน้ำ การอัดอากาศ

อ่าน Covid-19 and Diving Operations

ให้ DiveAssure คุ้มครองการดำน้ำของพวกเรา

ก่อนลงรายละเอียดว่า Dive Assure คุ้มครองอะไรบ้าง ต้องขอทำความเข้าใจก่อนว่า DiveAssure มิใช่บริษัทประกันดำน้ำโดยตรง แต่ DiveAssure เป็นองค์กรที่รับสมัครสมาชิก และมีสิทธิประโยชน์ให้กับสมาชิก เป็นความคุ้มครองเกี่ยวกับความปลอดภัยในการดำน้ำ โดยให้ GBG Insurance Limited เป็นผู้ทำหน้าที่รับประกันในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลต่างๆ จ่ายเงินชดเชย สำหรับกรณีอุบัติต่างๆ โดย GBG Insurance Limited ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายต่างๆ อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการดำน้ำ แก่สมาชิกของ DiveAssure Association โดยบริษัท GBG (ผู้รับประกัน) จะจ่ายหรือชดใช้เงินให้ตามตารางในกรมธรรม์ ภายใต้ข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อจำกัดของกรรมธรรม์ ในกรณีที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากกิจกรรมที่คุ้มครองเท่านั้น (ดูรายละเอียดเพิ่มในกรมธรรม์) ประเภทของสมาชิก DiveAssure DiveSafe ความคุ้มครองที่ได้รับจากการเป็นสมาชิก DiveAssure ประเภท DiveSafe การดำน้ำทั้งในประเทศ และต่างประเทศ การเข้ารักษาตัวใน Hyperbaric Chamber ค่าเคลื่อนย้ายเพื่อการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน ค่ารักษาพยาบาลในระหว่างพักฟื้นที่บ้าน จ่ายตรงกับสถานพยาบาล ไม่ต้องสำรองเงินก่อน ค่าใช้จ่ายเดินทาง และที่พัก ส่วนเพิ่มเนื่องจากอุบัติเหตุ ผู้ช่วยเหลือ แนะนำการเดินทาง อุปกรณ์ดำน้ำสูญหาย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุการดำน้ำ ไม่จำกัดความลึก ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับอากาศที่ใช้ คุ้มครองการดำน้ำแบบ Technical Diving สามารถสมัครสมาชิกประเภท รายปี หรือรายวัน *หมายเหตุ: นักดำน้ำจะต้องปฎิบัติตาม 1) ระดับประกาศนียบัตรดำน้ำที่ได้รับ และ 2) มาตรฐานและกระบวนการดำน้ำที่กำหนดขึ้นโดย Agency ผู้ออกบัตรดำน้ำอย่างเคร่งครัด (ในตารางกรมธรรม์) 3) นักดำน้ำห้ามดำน้ำเกินความลึกที่กำหนด และ/หรือ เวลาใต้น้ำที่กำหนดจาก Agency ผู้ออกบัตรดำน้ำชนิดนั้นๆ << ข้อมูลเพิ่มเติม >> << สมัครสมาชิก >> Dive & Travel ความคุ้มครองที่ได้รับจากการเป็นสมาชิก DiveAssure ประเภท Dive & Travel คุ้มครองทั้งทริปดำน้ำ และไม่ดำน้ำ การถูกยกเลิกทริป สูงสุด 7,500 USD ต่อทริป การถูกยกเลิกในระหว่างทริป สูงสุด 3,750 USD ต่อทริป การพลาดการต่อเที่ยวบิน สูงสุด 500 USD ต่อทริป การลดจำนวนวันเดินทาง เนื่องจากเหตุผลด้านสภาพอากาศ และการรักษาพยาบาล ความสูญหาย…

อ่าน ให้ DiveAssure คุ้มครองการดำน้ำของพวกเรา

Dive Briefing สำคัญแค่ไหน?

กลุ่มนักดำน้ำกำลังนั่งฟังการบรรยายสรุป (briefing) จาก Divemaster เนื่องจากเป็นการดำน้ำกลางคืน ครั้งแรกของทริป และเป็นครั้งแรกในรอบหลายๆ เดือน ของนักดำน้ำหลายคน ที่ไม่ได้ดำน้ำกลางคืน หรือสำหรับบางคน ไม่ได้ดำน้ำมาเป็นระยะเวลานานพอดู บรรยากาศจึงค่อนข้าง สนุกสนานครื้นเครง ทำให้นักดำน้ำหลายคน ไม่ได้สนใจกับการบรรยายของ Divemaster เท่าไรนัก

อ่าน Dive Briefing สำคัญแค่ไหน?

4 สาเหตุหลัก ที่ทำให้นักดำน้ำเสียชีวิต (DAN)

สรุป 4 สาเหตุหลักที่ทำให้นักดำน้ำเสียชีวิต – ข้อมูลจาก รายงานอุบัติเหตุประจำปีของ Divers Alert Network (DAN) ฉบับล่าสุด

อ่าน 4 สาเหตุหลัก ที่ทำให้นักดำน้ำเสียชีวิต (DAN)

เราจะคาดคะเนกระแสน้ำก่อนลงดำน้ำได้อย่างไร

กระแสน้ำ เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่นักดำน้ำอยากรู้ก่อนจะกระโดดลงไปในน้ำ หรือแม้แต่ลีดดำน้ำ (dive lead หรือ dive guide) ก็ควรต้องรู้ก่อนเพื่อที่จะวางแผนจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดการดำน้ำแต่ละไดฟ์ ลีดดำน้ำที่รอบรู้และใส่ใจ จะมีความสามารถในการสังเกตสภาพแวดล้อมและทิศทางของกระแสน้ำก่อนการลงดำน้ำได้เป็นอย่างดี นำไปสู่การวางแผนเส้นทางการดำน้ำได้ดี ซึ่งนอกจากจะมีผลต่อความเพลิดเพลินในการดำน้ำไดฟ์นั้นแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ไม่คาดคิดใต้น้ำได้ เช่น การคลาดกันระหว่างลงสู่หมายดำน้ำแล้วต้องกลับมาลงใหม่ การพลัดหลงกันระหว่างดำน้ำ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ความสูญเสียถึงชีวิตด้วย วิธีการคาดคะเนกระแสน้ำมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน และก็แตกต่างกันไปตามจุดดำน้ำด้วย แต่ส่วนใหญ่ก็จะคล้ายๆ กันคือขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 3-4 อย่าง เช่น น้ำขึ้นน้ำลง กระแสลมผิวน้ำ ลักษณะของพื้นที่ เป็นต้น (อ่านเพิ่มเติม “กระแสน้ำในทะเลเกิดขึ้นจากอะไรบ้าง“) ถ้าเรามีโอกาสได้ดำน้ำกับไดฟ์ลีดที่ดูกระแสน้ำเป็น ลองสังเกตดูครับว่า เขาใช้วิธีใดบ้างในการคาดคะเนกระแสน้ำที่จุดดำน้ำนั้นๆ ดูตารางน้ำขึ้นน้ำลง ประกอบกับความรู้เรื่องจุดดำน้ำ น้ำขึ้นน้ำลงเป็นปัจจัยสำคัญของกระแสน้ำในทะเลแทบทุกจุดทั่วโลก และปัจจุบันการคาดการณ์น้ำขึ้นน้ำลงของพื้นที่ต่างๆ ในโลกทำได้ค่อนข้างแม่นยำจากการเก็บข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลมานานหลายสิบปี คาดการณ์ล่วงหน้าได้เป็นปีๆ เลยทีเดียว ดังนั้นการดูตารางน้ำขึ้นน้ำลงก่อนไปดำน้ำนับเป็นสิ่งที่นักดำน้ำทั่วไปสามารถทำได้ไม่ยาก หรืออย่างน้อยผู้จัดทริปก็ควรต้องรู้ก่อนออกทริปเพื่อกำหนดจุดดำน้ำได้อย่างเหมาะสมกับเวลาลงดำและทักษะของนักดำน้ำ ตารางน้ำขึ้นน้ำลงของจุดดำน้ำ (หรือถ้าไม่มีตรงเป๊ะ ก็ใช้จุดตรวจวัดใกล้เคียงได้ครับ) จะบอกเป็นความสูงของระดับน้ำในแต่ละช่วงเวลาของวัน ซึ่งช่วยบอกเป็นนัยแก่เราได้ว่า จะมีมวลน้ำเคลื่อนเข้า (น้ำขึ้น) หรือออก (น้ำลง) จากบริเวณนั้นมากน้อยเพียงใดในเวลาที่เรากำลังจะดำน้ำ (อ่านเพิ่มเติม “วิธีการดูตารางน้ำ”) เมื่อนำมาประกอบกับลักษณะของอ่าวและสภาพพื้นที่ใต้น้ำ ก็จะพอคาดคะเนได้ว่า กระแสใต้น้ำจะไหลไปในทิศทางใดและไหลแรงเพียงใด ทั้งนี้ ต้องเข้าใจด้วยครับว่า ระดับน้ำที่อ่านได้จากตารางน้ำของคนละพื้นที่ แม้จะเป็นตัวเลขเดียวกัน ก็มิได้หมายความว่ากระแสน้ำจะแรงใกล้เคียงกัน ตัวอย่างเช่น น้ำขึ้น 20 ซม. ต่อ 1 ชม. ที่ทะเลแสมสาร จะทำให้เกิดกระแสน้ำที่แรงกว่า น้ำขึ้นในอัตราเดียวกันที่สิมิลัน มากครับ และแน่นอนว่าทิศทางของกระแสน้ำก็แตกต่างกันไปตามลักษณะอ่าว ดังนั้น แม้จะอ่านตารางน้ำเป็นแล้ว แต่ก็ต้องรู้ลักษณะพื้นที่จุดดำน้ำประกอบด้วย ดูวัตถุหรือฟองอากาศที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ วิธีต่อมา หากไปอยู่ที่จุดดำน้ำแล้ว จะเช็คเพื่อความชัวร์อีกทีว่าตรงกับตารางน้ำที่ดูมาก่อนมั้ย (หรือถ้าไม่ได้ดูตารางน้ำมาก่อน ก็มาดูของจริงกันหน้างานนี่ล่ะ) สามารถทำได้โดยดูวัตถุที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ อาจเป็นเศษใบไม้หรือฟองอากาศ (ถ้าไม่มีก็สร้างฟองอากาศขึ้นเองเลยก็ได้) แล้วสังเกตทิศทางและความเร็วที่วัตถุเหล่านั้นลอยเคลื่อนไป ก็พอจะคาดคะเนความเร็วกระแสน้ำได้ ทั้งนี้ ต้องเข้าใจด้วยครับว่า กระแสน้ำจริงๆ จะไหลเร็วกว่าวัตถุที่ถูกกระแสน้ำพัดพาไป อีกพอสมควร กระแสน้ำที่ใต้น้ำ อาจมีทิศทางแตกต่างออกไปอีกเนื่องจากสภาพแวดล้อมใต้น้ำ เช่น หากเป็นร่องน้ำหรือช่องหิน กระแสน้ำก็จะไหลไปตามแนวช่องเหล่านั้น วิธีนี้ใช้ไม่ได้กับกรณีที่มีลมแรง จนกระทั่งกระแสน้ำที่ผิวน้ำเป็นไปตามทิศทางลมมากกว่าจะเป็นไปตามกระแสน้ำจริงด้านล่าง หมายเหตุ: บางท่านอาจคิดว่า เราดูจากแนวทิศทางที่เรือลอยลำอยู่ได้หรือไม่ ก็ต้องบอกว่า พอดูได้หากลมค่อนข้างสงบ แต่ถ้ามีลมพอประมาณ เรือจะหันทิศเข้าหาลม ทอดตัวตามแนวกระแสลมมากกว่าแนวกระแสน้ำครับ (ทิศผลลัพธ์จะเป็นผลรวมของแรงลมและแรงน้ำประกอบกัน โดยขึ้นกับพื้นที่รับลมและรับน้ำของเรือด้วย) กรณีที่ลมผิวน้ำแรง กระแสน้ำจะมีทิศทางเบนจากทิศทางลม ในกรณีที่กระแสลมเหนือผิวน้ำมีกำลังค่อนข้างแรงและเกิดขึ้นต่อเนื่องมาพักใหญ่ กระแสน้ำที่เราเห็นบนผิวน้ำจะได้รับอิทธิพลจากกระแสลม โดยมีทิศทางเบนไปจากทิศลมประมาณ 45 องศาและเบนมากขึ้นเรื่อยๆ ตามความลึก ถ้าเป็นซีกโลกเหนือ…

อ่าน เราจะคาดคะเนกระแสน้ำก่อนลงดำน้ำได้อย่างไร

ความรู้เรื่องการเคลียร์หู (Ear Equalization หรือ Ear Clearing)

การเคลียร์หู แม้จะเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุด และจำเป็นมากที่สุด สำหรับการดำน้ำทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น scuba diving, technical diving หรือ freedive ก็ตาม แต่หลายคนก็ยังเข้าใจเรื่องของการเคลียร์หูไม่ครบถ้วนนัก โดยเฉพาะในเรื่องผลที่อาจเกิดขึ้นได้หากเคลียร์หูไม่สำเร็จแล้วยังฝืนดำลงสู่ความลึกต่อไป ทำให้เรายังคงได้รับฟังเรื่องราวนักเรียนดำน้ำเจ็บหู เลือดกำเดาออก เป็นจำนวนมากในระหว่างการสอบในทะเลครั้งแรกๆ ยิ่งในบางรายถึงกับมีผลกระทบต่อการได้ยินกันเลยทีเดียว ทำไมเราจึงเจ็บหู เมื่อลงสู่ความลึก (เราเคลียร์หูเพื่ออะไร) หูของมนุษย์ไม่ได้เปิดออกสู่โลกภายนอกโดยตรง แต่มีเยื่อบางๆ ที่เรียกว่าเยื่อแก้วหู (ear drum หรือ Tympanic Membrane) กั้นเอาไว้ ส่วนภายในอาจแบ่งได้เป็นอีก 2 ส่วนเรียกว่า หูชั้นกลาง กับ หูชั้นใน โดยหูชั้นกลางเป็นช่องว่างที่มีกระดูก 3 ชิ้นหลักส่งต่อคลื่นเสียงไปสู่หูชั้นใน และหูชั้นในก็เป็นส่วนของระบบประสาทรับสัญญาณเสียงมาเปลี่ยนเป็นสัญญาณประสาทส่งต่อไปยังสมองอีกที บริเวณหูชั้นกลางนี้เอง (ในรูปเป็นสีแดงตรงกลาง) เป็นโพรงอากาศที่และเปลี่ยนกับอากาศภายนอกได้ ผ่านทางท่อยูสเตเชียน (Eustachian Tube) ที่มีปลายเปิดอีกข้างอยู่ข้างลำคอ เมื่อความดันอากาศภายในหูชั้นกลางกับภายนอกแตกต่างกัน มนุษย์สามารถปรับสมดุลความดันนี้ได้ โดยส่งอากาศผ่านลำคอเข้าไป ในสภาวะปกติ หรือบนบก ความกดอากาศภายนอกกับภายในหูเท่ากัน เยื่อแก้วหูไม่ต้องรับแรงกระทำจากฝั่งใดทั้งสิ้น หรือถ้าต่างกันไม่มาก (เช่น เคลื่อนที่เร็วๆ หรือมีลมพัดแรง) การกลืนน้ำลายจะทำให้ท่อยูสเตเชียนเปิดออก และอากาศถ่ายเทกันได้ เท่ากับว่าเราได้เคลียร์หูไปเองโดยอัตโนมัติ (เสียงขลุกๆ กับความรู้สึกที่หู ซึ่งเราจะรู้สึกได้ตอนกลืนน้ำลายนั่นเอง) แต่เมื่อเราดำลงสู่ความลึก (ไม่ว่าเป็นการดำน้ำแบบสคูบ้าหรือฟรีไดฟ์ก็ตาม) น้ำทะเลจะไหลเข้ามาในโพรงหูจนถึงเยื่อแก้วหู ความกดดันภายนอกจะสูงกว่าภายในหูชั้นกลาง น้ำก็จะดันเยื่อแก้วหูเข้ามา ถ้าความดันแตกต่างกันมาก เราจะรู้สึกตึงหรือเจ็บ แต่ถ้าความดันยังคงเพิ่มขึ้นจนต่างกันมากๆ เยื่อแก้วหูอาจจะฉีกขาดและทะลุได้ เราจึงต้องเคลียร์หูหรือปรับสมดุลความดันภายในหูกับภายนอกให้เท่ากัน เพื่อไม่ให้เยื่อแก้วหูฉีกขาด ด้วยการเติมอากาศผ่านท่อยูสเตเชียนเข้าไปนั่นเอง การปรับสมดุลโพรงไซนัส (Sinus Equalization) นอกจากโพรงอากาศในหูชั้นกลางแล้ว การเคลียร์หูยังทำเพื่อปรับสมดุลอากาศในโพรงอากาศในกระโหลกศีรษะหรือที่เราเรียกว่าไซนัส อีกด้วย ไซนัสเป็นโพรงอากาศที่ทำให้กระโหลกศีรษะมีน้ำหนักเบาโดยไม่เสียความแข็งแรง และทำให้เสียงของเรากังวาน เมื่อเราดำลงสู่ความลึก ความกดดันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ปริมาตรอากาศในโพรงเหล่านี้หดตัวเล็กลง แต่เนื่องจากโพรงอากาศเหล่านี้มีช่องทางเชื่อมต่อกับปากและจมูก การปรับสมดุลอากาศจึงเกิดขึ้นพร้อมกันกับการเคลียร์หูได้โดยไม่ต้องทำอะไรเป็นพิเศษ แต่หากคุณมีอาการหวัดหรือภูมิแพ้ หรือมีน้ำมูกหรือสิ่งอุดตันอยู่ตามช่องทางที่เชื่อมต่อกับโพรงอากาศเหล่านี้ ก็อาจทำให้ไม่สามารถปรับสมดุลอากาศได้สำเร็จ หากเกิดขณะดำน้ำลงสู่ความลึก จะเรียกว่า sinus squeeze หากเกิดขณะขึ้นสู่ที่ตื้นหรือผิวน้ำ จะเรียกว่า reverse block ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือเนื้อเยื่อบุในโพรงเหล่านี้จะเกิดการฉีกขาดและอาจมีเลือดออกมาพอสมควรได้ ส่วนความเจ็บปวดส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่ามีเลือดกำเดาออก จะรู้ก็เมื่อเพื่อนดำน้ำเห็นและบอกให้ทราบ (ไว้มีโอกาสจะเขียนถึงเรื่องนี้โดยละเอียดอีกทีนะครับ) อาการ sinus squeeze และ reverse block นี้อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์อื่นๆ ได้อีกเช่น บนเครื่องบิน หรือระหว่างการรักษาใน hyperbaric chamber เป็นต้น จึงมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น aerosinusitis หรือ…

อ่าน ความรู้เรื่องการเคลียร์หู (Ear Equalization หรือ Ear Clearing)

เรียนอะไรดี ระหว่างฟรีไดฟ์ (Freediving) กับสคูบ้า (Scuba Diving)

คำถามที่เกิดขึ้นในใจของใครหลายคนที่ยังไม่เคยเรียนดำน้ำทั้ง freediving และ scuba diving เลย เรามีข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจมาให้

อ่าน เรียนอะไรดี ระหว่างฟรีไดฟ์ (Freediving) กับสคูบ้า (Scuba Diving)
แผนที่เกาะ Kulapuan, Semporna, Sabah, Malaysia

นักท่องเที่ยวจีนและไกด์ดำน้ำเสียชีวิตที่ Semporna มาเลเซีย

นักดำน้ำท่องเที่ยวชาวจีน 2 คนอายุ 26 ปี และไกด์ดำน้ำชาวมาเลเซีย เสียชีวิตระหว่างการดำน้ำที่เกาะ Kulapuan เขตเมือง Semporna รัฐซาบาห์ (Sabah) ประเทศมาเลเซีย

อ่าน นักท่องเที่ยวจีนและไกด์ดำน้ำเสียชีวิตที่ Semporna มาเลเซีย
Overbalanced Regulator from Apeks, Aqua Lung, ScubaPro

Overbalanced Regulator ดีอย่างไร จำเป็นต้องใช้หรือไม่

รู้จักกับ Overbalanced Regulator เทียบกับ Unbalanced และ Balanced แล้วไปหาคำตอบกันว่า นักดำน้ำอย่างเรา จำเป็นต้องใช้หรือไม่

อ่าน Overbalanced Regulator ดีอย่างไร จำเป็นต้องใช้หรือไม่
Diver Clutching Head

ดำน้ำเสร็จขึ้นมาแล้วปวดหัว?

สาเหตุของอาการปวดหัวหลังการดำน้ำและวิธีการป้องกัน มีหลายปัจจัยที่อาจทำให้เกิดปวดหัว เช่น การออกแรงมากๆ ใต้น้ำ, การควบคุมการลอยตัวและการหายใจไม่ถูกต้อง เรียนรู้เทคนิคที่ถูกต้องในการดำน้ำอาจช่วยลดอาการปวดหัวได้มากขึ้น

อ่าน ดำน้ำเสร็จขึ้นมาแล้วปวดหัว?