Wreck Specialty

  การเรียนในหลักสูตรนี้ ทำให้นักดำน้ำที่หลงใหลในการดำน้ำในซากเรือและซากอื่นๆ ใต้น้ำ สามารถดำน้ำได้อย่างปลอดภัย สนุกสนาน และประทับใจกับความตื่นเต้น กับบรรยากาศของการผจญภัยใต้น้ำ เรือจมและซากยานพาหนะอื่นๆ ที่จมอยู่ใต้น้ำนั้น มีเสน่ห์ มีแรงดึงดูด มีความน่าสนใจในตัวของมัน การได้มีโอกาสเข้าไปใกล้ชิดกับวัตถุที่เปรียบเสมือนตู้บันทึกแห่งกาลเวลา การสนุกกับการค้นคว้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านไป การได้เห็นอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ ของคนในยุคก่อน เป็นสิ่งที่นักดำน้ำจำนวนมากปรารถนาประสบการณ์อันเลิศนั้น สัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในบริเวณซากก็มักจะมีขนาดและจำนวนที่น่าประทับใจ แสง เงา และแง่มุมของโครงสร้างของซากก็มักจะทำให้การถ่ายภาพใต้น้ำมีผลงานออกมาอย่างมีชีวิตชีวา ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาทั้งหมด การดำน้ำแบบ wreck diving จึงเป็นสาขาหนึ่งที่นักดำน้ำสนใจกันมากเป็นพิเศษ แต่ภายใต้ความสนุกสนานและประสบการณ์อันล้ำเลิศนั้น การดำน้ำแบบ wreck diving ก็มีความเสี่ยงที่แอบแฝงอยู่ นักดำน้ำที่ไม่มีความรู้และ/หรือประสบการณ์ อาจจะพบพานกับอันตรายที่มีอยู่มากมายตามธรรมชาติของซากโบราณวัตถุที่อยู่ใต้น้ำเป็นเวลานาน   การดำน้ำแบบนี้จึงเหมาะกับนักดำน้ำที่มีความรอบรู้ มีความเชี่ยวชาญ การเรียนวิชา wreck specialty จึงเป็นหลักสูตรยอดนิยมหลักสูตรหนึ่งในสังคมดำน้ำ ผู้เข้ามาเรียนจะได้รับความรู้และประสบการณ์เรื่องการสำรวจซาก การนำทางอย่างปลอดภัย การระมัดระวังป้องกันอันตรายต่างๆ และที่น่าสนุกตื่นเต้นคือการเรียนรู้วิธีการดำน้ำเข้าไปใต้สิ่งกีดขวางเหนือศีรษะ และการเข้าสำรวจภายในซากอย่างปลอดภัย การจบวิชานี้ จะทำให้นักดำน้ำสามารถมั่นใจได้ว่า จะดำสำรวจ ศึกษา หาประสบการณ์ในการดำน้ำตามซากต่างๆ ได้อย่างสนุกสนานและปลอดภัยได้ตลอดเวลาครับ Cr: Ryan Rod ชั้นเรียน Wreck Specialty@Suddhadib •เรียนรู้การสำรวจซากใต้น้ำ การมองหาอันตรายและจุดสนใจ •เรียนรู้เทคนิกการเข้าใจโครงสร้างของซากจนอยู่ในใจ ฝังใจ หลับตาเห็น ด้วยการฝึกวาดแผนที่ของซาก •เรียนรู้วิธีการใช้รอกและ guideline ภายใต้เหตุการณ์ฉุกเฉิน •เรียนรู้เทคนิกการปรับการจมลอย การเคลื่อนที่ สำหรับการเข้าไปใต้สิ่งแวดล้อมเหนือศีรษะ การฝึกฝนในหลักสูตรนี้ นอกจากจะทำให้ผู้เรียนเป็นนักดำน้ำที่มีความสามารถเพิ่มขึ้น มีจิตใจมั่นคง ไม่กลัวเพราะเตรียมพร้อมมาดี แล้วยังจะถ่ายโยงไปยังการใช้ชีวิตจริง ที่ต้องเตรียมการก่อนที่จะทำเรื่องสำคัญ เป็นหลักสูตรในระดับ Recreation diving ที่พัฒนานักดำน้ำ ยกระดับการตระหนักรู้ถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้อย่างดีครับ #WeDiveForAGreaterLife Cr: Kittithat Gle Srifa

อ่าน Wreck Specialty

การทำงานของฟินแฉก (Split Fins)

เป็นที่ทราบกันดีว่า ตีนกบ (Fins) หรือที่เราเรียกกันทับศัพท์ว่า ” ฟิน ” นั้น มีอยู่ 2 ลักษณะใหญ่ๆ นั่นคือ
ฟินแบบธรรมดา (Paddle Fin)
ฟินแบบแฉก (Split Fin)
ซึ่งทั้งสองลักษณะ มีวิธีการทำงานค่อนข้างแตกต่างกันอย่างมาก ใช้แรงในการตีฟินต่างกัน และให้ประสิทธิภาพ ต่างกันด้วย

อ่าน การทำงานของฟินแฉก (Split Fins)

Sheck Exley กับการดำน้ำในถ้ำ

นอกเหนือจากการมีสัตว์ทะเลจำนวนมากมายแล้ว เมือง Jacksonville ก็ยังมีชื่อเสียงในโลกของการดำน้ำอีกด้วย ว่าเป็นบ้านเกิดของ Sheck Exley และ Octopus อุปกรณ์ดำน้ำชิ้นสำคัญ ที่ได้รับการออกแบบโดย Exley เอง อันที่จริง หากท่านไม่ได้อยู่ในแวดวงดำน้ำ ท่านคงไม่เคยได้ยินชื่อเสียงของ Exley

อ่าน Sheck Exley กับการดำน้ำในถ้ำ

Hypoxia – อาการขาดออกซิเจนขณะดำน้ำ

เกริ่นนำ: เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่คุณ Wobbegong เล่าไว้ในเว็บ siamscubadiving.com และทาง FreedomDIVE เห็นว่ามีประโยชน์มาก จึงเอามาฝากให้นักดำน้ำทุกท่านได้อ่านกัน เมื่อเร็วๆ นี้ มีเหตุการณ์ประเภท Near Miss (เกือบจะเป็น Accident) เกิดขึ้นกับตัวเองมาครับ.. หลังจากได้คุยกับผู้รู้ เลยรู้ว่าจริงๆ แล้วเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง ตอนนี้ ก็เลยอยากมาบอกเล่าให้กับเพื่อนๆ ได้รับทราบกัน จะได้ระวังไว้ และรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น หากเกิดขึ้นกับตัวเอง เหตุการณ์เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2546 ที่ผ่านมานี่เองครับ ผมกับเพื่อนๆ อีกกลุ่มหนึ่ง ได้นัดกันไปดำน้ำที่ หินเพิง จ. ระยอง เพื่อทำการตัด และเก็บอวนที่เข้ามาติดอยู่ที่นั่นออก ในวันนั้น เดิมทีกำหนดกันไว้ว่าจะทำงานเก็บอวน 2 ไดฟ์ แล้วไดฟ์ที่ 3 จะไปดำเที่ยวกันที่อื่น ไดฟ์แรก ลงดำที่กองหินเพิงด้านตะวันออก พบเศษอวนขนาดเล็กบ้างประปราย ส่วนใหญ่เป็นอวนที่เริ่มเก่าแล้ว น้ำเริ่มซัดมาม้วนรวมกันเป็นมัดใหญ่ ทุกคนที่ลงดำน้ำ ใช้มีด กรรไกร และคัทเตอร์ ช่วยกันตัดให้เล็กลง ม้วนเป็นก้อน ผูกไว้ด้วยเชือก และใช้ถุงพลาสติก ทำเป็น Liftbag เพื่อปล่อยให้ลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ และจะใช้เรือตามเก็บภายหลัง ในไดฟ์นี้ ไม่มีปัญหาเท่าไร เศษอวนไม่มาก เราดำน้ำทั้งหมดประมาณ 30 – 45 นาที ความลึกจำไม่ได้ครับ ต้องไปเอาไดฟ์คอมมาดูอีกทีแล้วจะบอก หลังจากนั้น ก็ขึ้นมาทานข้าวกัน ประมาณบ่ายโมงนิดๆ ก็ลงดำไดฟ์ที่ 2 กัน ที่หินเพิงกองกลาง (หินเพิง มีเรียงกันอยู่ 3 ยอด แต่ละยอดห่างกันประมาณ 15 – 20 เมตรได้) กองกลางนี้ ยอดกองอยู่ลึกที่สุด เรือต้องใช้ Sounder กวาดหา ที่นี่ พบอวนมากกว่าที่คาดไว้ Liftbag ที่ทำจากถุงพลาสติกที่นำลงน้ำไปด้วย หมดก่อนที่จะเอาอวนขึ้นได้หมด รวมทั้งพบอวนผืนใหญ่ ซึ่งเมื่อแกะออกจากกองหิน และแนวปะการังแล้ว รวมกันเป็นก้อนสูงเกือบเท่าเอวผู้ใหญ่ ใช้ถุงพลาสติกผูกเข้าไปแล้ว 6 ถุง ก็ยกไม่ขึ้น เราจึงทดลองใช้ Dive Sausage ผูกเข้าไป เพื่อให้ช่วยในการยก ครั้งแรกเกือบสำเร็จ เชือกที่ผูกไว้ขาดไปก่อน ผมเลยเอา Sausage ของผม ผูกติดเข้าไปใหม่ เติมอากาศ…

อ่าน Hypoxia – อาการขาดออกซิเจนขณะดำน้ำ

บุหรี่กับการดำน้ำ ความตายที่อาจไม่ต้องผ่อนส่ง

ความเสี่ยงของการสูบบุหรี่ก่อนการดำน้ำ มาจากสารในบุหรี่ต่อร่างกายขณะดำน้ำ ได้แก่ นิโคตินที่ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด, คาร์บอนมอนอกไซด์ที่เกาะกับเม็ดเลือดแดงแทนออกซิเจน แนะนำให้นักดำน้ำพักผ่อนร่างกายให้เต็มที่ก่อนการดำน้ำ เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

อ่าน บุหรี่กับการดำน้ำ ความตายที่อาจไม่ต้องผ่อนส่ง
Diving with current - 001

ดำน้ำในกระแสน้ำแรงทำอย่างไร

สรุปวิธีการดำน้ำในกระแสน้ำแรง โดยการเลือกเส้นทางที่เหมาะสมและการใช้ทักษะในการตีขาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความปลอดภัยและเหมาะสมกับความสามารถของตนเอง โดยเน้นการรักษาตัวเองไม่ให้เหนื่อยใต้น้ำ

อ่าน ดำน้ำในกระแสน้ำแรงทำอย่างไร

การดำน้ำ ช่วยให้ใช้ชีวิตเป็น และเข้าใจชีวิตมากขึ้น

จะว่าไปแล้ว ทักษะทุกอย่างในการใช้ชีวิต เมื่อเราทำเป็นประจำจนเกิดความเชี่ยวชาญ และพัฒนากลายเป็นความคุ้นเคย ย่อมน่าจะส่งผลให้เราได้รับประโยชน์อื่นๆ นอกเหนือจากทักษะที่เพิ่มขึ้น เราจึงสงสัยใคร่รู้ว่า สำหรับการดำน้ำ Scuba นั้น จะมีผลดีในด้านอื่น สำหรับผู้ที่นิยมชมชอบไปดำน้ำเป็นร้อยครั้งพันครั้งหรือไม่ ซึ่ง AWAY ได้รับเกียรติจาก ดร.พิชิต เมืองนาโพธิ์ หรือครูเบิ้ม นักจิตวิทยาการกีฬา และยังเป็น dive instructor ที่มีประสบการณ์ ในการดำน้ำมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี มาร่วมสนทนาพูดคุยในประเด็นที่เราสงสัย “หากจะถามว่า ทักษะในการดำน้ำมีผลต่อวิถีการใช้ชีวิต ช่วยให้ใช้ชีวิตได้ดีขึ้นหรือไม่นั้น คงต้องยกตัวอย่างในเรื่องของคนที่ขับรถ กับคนที่ไม่ได้ขับรถก่อน เพราะคนที่ขับรถ ย่อมต้องมีการวางแผนการเดินทางใช่ไหมครับ ว่าจะไปไหน เลือกใช้เส้นทางไหนถึงจะดี คือคนขับรถที่ดีมักมีการเตรียมการ คิด และวางแผนล่วงหน้า จนเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว คนที่ดำน้ำก็จะมีลักษณะที่คล้ายกัน แต่ที่พิเศษกว่าคือจะมีการเน้นในเรื่องประเด็นของ ความปลอดภัยมากกว่า เน้นเรื่องการให้ความสำคัญในการมีสมาธิ เพราะฉะนั้น ทักษะที่เกิดขึ้น จนกลายเป็นอุปนิสัย เป็นทักษะที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการคิดแล้ว คือสามารถทำได้ทันที เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ หรือมีผลกับเรื่อง ความปลอดภัย คนที่ดำน้ำมามากๆ จะมีทักษะในเรื่องนี้ค่อนข้างดีกว่าคนทั่วไป คือจะใจเย็น มีสติและมีสมาธิที่ดี สามารถควบคุมอารมณ์ได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ ที่ไม่คาดคิดขึ้นอย่างทันท่วงที และโดยเฉพาะนักดำน้ำที่พัฒนาจากนักดำน้ำทั่วไป มาเป็น dive master ในส่วนนี้จะเห็นได้ชัดเจน พูดได้เลยว่าทั้ง 100% เต็ม อุปนิสัยการใช้ชีวิตจะเปลี่ยนไปเลย จะกลายเป็นคนละคน รู้จักดูแลตัวเอง และห่วงใย คนอื่นมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการดำน้ำถูกสอนให้ต้องคอยดูแลบัดดี้ ไม่ปล่อยให้ คนที่อยู่ตรงหน้าเราต้องคลาดสายตา และด้วยหน้าที่ของคนที่มาเป็น dive master ที่ต้องเป็นครูสอนในเรื่องทักษะการดำน้ำ ก็จะมีความใจเย็น เข้าใจความแตกต่างของคน แต่ละคน รู้ว่าบางคนเขาใจร้อน บางคนเขาไม่มีกำลังใจ ก็ต้องหาวิธีที่จะช่วยให้เขา สามารถมีทักษะในการดำน้ำที่ดีจนได้ ถือว่าก้าวสู่การเติบโตเป็นคนที่มีความเมตตาสูง ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการได้เริ่มมาดำน้ำ ย่อมเป็นพื้นฐานในการปรับเปลี่ยนอุปนิสัย หลายๆ อย่าง ให้ใจเย็น กลายเป็นคนไม่เร่งรีบในการตัดสินใจ มีความใส่ใจ ที่จะดูแลคนอื่นมากขึ้น อีกส่วนหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือเรื่องระบบการหายใจ เพราะการดำน้ำนั้น ต้องหายใจ เข้าออกให้เหมาะสม และส่วนมากจะเป็นการหายใจยาว ลึก ช้า และสม่ำเสมอ ซึ่งจากประสบการณ์ของผมที่มีโอกาสได้สอนคนที่มาเรียนดำน้ำ พบว่าคนเมือง ส่วนใหญ่หายใจสั้นมากๆ จนเป็นปกตินิสัย การหายใจสั้นนั้น ส่วนหนึ่งก็น่าจะมาจาก ภาวะความเครียดจากการทำงาน ซึ่งบางคนอายุยังน้อยมากแค่ 20 ต้นๆ เท่านั้น แต่หายใจสั้นเหมือนคนแก่เลย แต่หลังจากที่ได้มาเรียนดำน้ำแล้ว ก็จะค่อยๆ มีการควบคุมการหายใจที่ดีขึ้น ใจเย็นขึ้น ผ่อนคลายมากขึ้น…

อ่าน การดำน้ำ ช่วยให้ใช้ชีวิตเป็น และเข้าใจชีวิตมากขึ้น
Diving with dinghy - 001

ขึ้นจากดำน้ำแล้วของตกที่ท้ายเรือ ทำยังไงดี

วิธีการจัดการเมื่อของตกที่ท้ายเรือขณะดำน้ำ แนะนำให้ไม่ลงไปดำน้ำเพื่อเก็บของเองเนื่องจากความเสี่ยงและความอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ควรแจ้งเจ้าหน้าที่หรือครูดำน้ำเพื่อขอความช่วยเหลือในการค้นหาของที่ตกอยู่ท้ายเรือ การเลือกทำตามคำแนะนำเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยให้กับนักดำน้ำมือใหม่

อ่าน ขึ้นจากดำน้ำแล้วของตกที่ท้ายเรือ ทำยังไงดี
Freediving - Keng Krob - 001

หลังดำสกูบ้าแล้วอย่าดำฟรีไดฟ์

หลังจากเรียนดำ Scuba ควรหลีกเลี่ยงการดำ Freedive ลงไปลึกๆ โดยเฉพาะหลังจากดำ Scuba เพราะเราอาจมีก๊าซไนโตรเจนค้างอยู่ในร่างกาย ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการดำ Freedive และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้น การดำ Skindive อาจเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า

อ่าน หลังดำสกูบ้าแล้วอย่าดำฟรีไดฟ์