ฟินฟรีไดฟ์ วัสดุไฟเบอร์กลาส

รู้จักฟินฟรีไดฟ์ (Freediving Fins) ก่อนตัดสินใจซื้อ

ก่อนที่เราจะคุยกันถึงเรื่องวิธีการเลือกซื้อฟินฟรีไดฟ์ที่เหมาะกับเรา ก็ต้องมาศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับฟินฟรีไดฟ์กันเสียก่อน ในที่นี้เราได้รวบรวมข้อมูลสำคัญๆ ที่จำเป็นต่อการเลือกซื้อฟินฟรีไดฟ์มาให้แล้ว ได้แก่
ชนิดของฟินฟรีไดฟ์ แยกตามวัสดุที่ใช้ทำใบฟิน (blade)
ความอ่อนแข็งของใบฟิน
เทคโนโลยีเสริมสมรรถนะ ของฟินแต่ละยี่ห้อ

อ่าน รู้จักฟินฟรีไดฟ์ (Freediving Fins) ก่อนตัดสินใจซื้อ

Safe Sea ครีมกันแดด ป้องกันแมงกะพรุน

รู้จักกับครีมกันแดด Safe Sea ที่สามารถป้องกันพิษจากแมงกะพรุนและแตนทะเลได้ด้วย โดยยับยั้งไม่ให้เข็มพิษของแมงกะพรุนทำงานได้

อ่าน Safe Sea ครีมกันแดด ป้องกันแมงกะพรุน
Freediving - Keng Krob - 001

หลังดำสกูบ้าแล้วอย่าดำฟรีไดฟ์

หลังจากเรียนดำ Scuba ควรหลีกเลี่ยงการดำ Freedive ลงไปลึกๆ โดยเฉพาะหลังจากดำ Scuba เพราะเราอาจมีก๊าซไนโตรเจนค้างอยู่ในร่างกาย ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการดำ Freedive และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้น การดำ Skindive อาจเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า

อ่าน หลังดำสกูบ้าแล้วอย่าดำฟรีไดฟ์

ปัญหาการเคลียร์หู สำหรับนักดำน้ำฟรีไดฟ์ขั้นเริ่มต้น

การเคลียร์หู (ear equalization หรือฝรั่งบางคนก็เรียกสั้นว่า ear clearing) นับเป็นโจทย์สำคัญของนักดำน้ำฟรีไดฟ์เกือบทุกคน…โดยเฉพาะมือใหม่ เกือบทั้งหมดของนักเรียนที่ไปออกทะเลสอบ freedive Level 1 แล้วไม่ผ่าน ก็เพราะไม่สามารถเคลียร์หูได้

อ่าน ปัญหาการเคลียร์หู สำหรับนักดำน้ำฟรีไดฟ์ขั้นเริ่มต้น

ความรู้เรื่องการเคลียร์หู (Ear Equalization หรือ Ear Clearing)

การเคลียร์หู แม้จะเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุด และจำเป็นมากที่สุด สำหรับการดำน้ำทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น scuba diving, technical diving หรือ freedive ก็ตาม แต่หลายคนก็ยังเข้าใจเรื่องของการเคลียร์หูไม่ครบถ้วนนัก โดยเฉพาะในเรื่องผลที่อาจเกิดขึ้นได้หากเคลียร์หูไม่สำเร็จแล้วยังฝืนดำลงสู่ความลึกต่อไป ทำให้เรายังคงได้รับฟังเรื่องราวนักเรียนดำน้ำเจ็บหู เลือดกำเดาออก เป็นจำนวนมากในระหว่างการสอบในทะเลครั้งแรกๆ ยิ่งในบางรายถึงกับมีผลกระทบต่อการได้ยินกันเลยทีเดียว ทำไมเราจึงเจ็บหู เมื่อลงสู่ความลึก (เราเคลียร์หูเพื่ออะไร) หูของมนุษย์ไม่ได้เปิดออกสู่โลกภายนอกโดยตรง แต่มีเยื่อบางๆ ที่เรียกว่าเยื่อแก้วหู (ear drum หรือ Tympanic Membrane) กั้นเอาไว้ ส่วนภายในอาจแบ่งได้เป็นอีก 2 ส่วนเรียกว่า หูชั้นกลาง กับ หูชั้นใน โดยหูชั้นกลางเป็นช่องว่างที่มีกระดูก 3 ชิ้นหลักส่งต่อคลื่นเสียงไปสู่หูชั้นใน และหูชั้นในก็เป็นส่วนของระบบประสาทรับสัญญาณเสียงมาเปลี่ยนเป็นสัญญาณประสาทส่งต่อไปยังสมองอีกที บริเวณหูชั้นกลางนี้เอง (ในรูปเป็นสีแดงตรงกลาง) เป็นโพรงอากาศที่และเปลี่ยนกับอากาศภายนอกได้ ผ่านทางท่อยูสเตเชียน (Eustachian Tube) ที่มีปลายเปิดอีกข้างอยู่ข้างลำคอ เมื่อความดันอากาศภายในหูชั้นกลางกับภายนอกแตกต่างกัน มนุษย์สามารถปรับสมดุลความดันนี้ได้ โดยส่งอากาศผ่านลำคอเข้าไป ในสภาวะปกติ หรือบนบก ความกดอากาศภายนอกกับภายในหูเท่ากัน เยื่อแก้วหูไม่ต้องรับแรงกระทำจากฝั่งใดทั้งสิ้น หรือถ้าต่างกันไม่มาก (เช่น เคลื่อนที่เร็วๆ หรือมีลมพัดแรง) การกลืนน้ำลายจะทำให้ท่อยูสเตเชียนเปิดออก และอากาศถ่ายเทกันได้ เท่ากับว่าเราได้เคลียร์หูไปเองโดยอัตโนมัติ (เสียงขลุกๆ กับความรู้สึกที่หู ซึ่งเราจะรู้สึกได้ตอนกลืนน้ำลายนั่นเอง) แต่เมื่อเราดำลงสู่ความลึก (ไม่ว่าเป็นการดำน้ำแบบสคูบ้าหรือฟรีไดฟ์ก็ตาม) น้ำทะเลจะไหลเข้ามาในโพรงหูจนถึงเยื่อแก้วหู ความกดดันภายนอกจะสูงกว่าภายในหูชั้นกลาง น้ำก็จะดันเยื่อแก้วหูเข้ามา ถ้าความดันแตกต่างกันมาก เราจะรู้สึกตึงหรือเจ็บ แต่ถ้าความดันยังคงเพิ่มขึ้นจนต่างกันมากๆ เยื่อแก้วหูอาจจะฉีกขาดและทะลุได้ เราจึงต้องเคลียร์หูหรือปรับสมดุลความดันภายในหูกับภายนอกให้เท่ากัน เพื่อไม่ให้เยื่อแก้วหูฉีกขาด ด้วยการเติมอากาศผ่านท่อยูสเตเชียนเข้าไปนั่นเอง การปรับสมดุลโพรงไซนัส (Sinus Equalization) นอกจากโพรงอากาศในหูชั้นกลางแล้ว การเคลียร์หูยังทำเพื่อปรับสมดุลอากาศในโพรงอากาศในกระโหลกศีรษะหรือที่เราเรียกว่าไซนัส อีกด้วย ไซนัสเป็นโพรงอากาศที่ทำให้กระโหลกศีรษะมีน้ำหนักเบาโดยไม่เสียความแข็งแรง และทำให้เสียงของเรากังวาน เมื่อเราดำลงสู่ความลึก ความกดดันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ปริมาตรอากาศในโพรงเหล่านี้หดตัวเล็กลง แต่เนื่องจากโพรงอากาศเหล่านี้มีช่องทางเชื่อมต่อกับปากและจมูก การปรับสมดุลอากาศจึงเกิดขึ้นพร้อมกันกับการเคลียร์หูได้โดยไม่ต้องทำอะไรเป็นพิเศษ แต่หากคุณมีอาการหวัดหรือภูมิแพ้ หรือมีน้ำมูกหรือสิ่งอุดตันอยู่ตามช่องทางที่เชื่อมต่อกับโพรงอากาศเหล่านี้ ก็อาจทำให้ไม่สามารถปรับสมดุลอากาศได้สำเร็จ หากเกิดขณะดำน้ำลงสู่ความลึก จะเรียกว่า sinus squeeze หากเกิดขณะขึ้นสู่ที่ตื้นหรือผิวน้ำ จะเรียกว่า reverse block ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือเนื้อเยื่อบุในโพรงเหล่านี้จะเกิดการฉีกขาดและอาจมีเลือดออกมาพอสมควรได้ ส่วนความเจ็บปวดส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่ามีเลือดกำเดาออก จะรู้ก็เมื่อเพื่อนดำน้ำเห็นและบอกให้ทราบ (ไว้มีโอกาสจะเขียนถึงเรื่องนี้โดยละเอียดอีกทีนะครับ) อาการ sinus squeeze และ reverse block นี้อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์อื่นๆ ได้อีกเช่น บนเครื่องบิน หรือระหว่างการรักษาใน hyperbaric chamber เป็นต้น จึงมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น aerosinusitis หรือ…

อ่าน ความรู้เรื่องการเคลียร์หู (Ear Equalization หรือ Ear Clearing)
Freediver ascending to the surface

Decompression Sickness เกิดกับนักดำน้ำฟรีไดฟ์ได้ไหม?

การดำน้ำแบบฟรีไดฟ์จะมีความเสี่ยงต่ออาการ decompression sickness (DCS) แบบเดียวกับการดำน้ำสคูบ้าหรือไม่? มีตัวอย่างหรืองานวิจัยบ้างแล้วรึเปล่า?

อ่าน Decompression Sickness เกิดกับนักดำน้ำฟรีไดฟ์ได้ไหม?

เรียนอะไรดี ระหว่างฟรีไดฟ์ (Freediving) กับสคูบ้า (Scuba Diving)

คำถามที่เกิดขึ้นในใจของใครหลายคนที่ยังไม่เคยเรียนดำน้ำทั้ง freediving และ scuba diving เลย เรามีข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจมาให้

อ่าน เรียนอะไรดี ระหว่างฟรีไดฟ์ (Freediving) กับสคูบ้า (Scuba Diving)

เรียน Freediving ตอนที่ 3

วันรุ่งขึ้นก็ตื่นแต่เช้า ทำการฝึกหายใจและเหยียดยืดกล้ามเนื้อตามที่ครูสอนมา ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงเห็นจะได้ ที่สามารถทำได้ก็เพราะครูสั่งห้ามไม่ให้ไปวิ่งตอนเช้าตามปกติที่ผมทำ เพราะมันจะมีผลกับการดำน้ำ ทำให้เราไม่เข้ากับน้ำเท่าที่ควร

อ่าน เรียน Freediving ตอนที่ 3

เรียน Freediving ตอนที่ 2

หลังจากทำการเตรียมตัวพร้อมทั้งอธิบายเรื่องความปลอดภัยต่างๆ พอสมควร ครูก็ให้ลงน้ำตรงชายหาดนั่นเลยครับ ก่อนลงครูก็ไปจัดสถานที่โดยการเอาเชือกยาวประมาณ 25 เมตรไปขึงไว้ใต้น้ำ โดยมีทุ่นตะกั่วถ่วงให้เชือกอยู่ใต้น้ำ อีกด้านหนึ่งจะมีเชือกและทุ่นลอยให้จับ ช่วงแรกเราก็ทำการเรียนกันตรงทุ่นลอยนั่นแหละครับ

อ่าน เรียน Freediving ตอนที่ 2