9 ขั้นตอน Freedive ฝึก Frenzel Equalization

วิธีเคลียร์หูแบบ frenzel เป็นวิธีที่นิยมมากสำหรับคนที่ เรียน freedive เพราะเป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อหูมากกว่าวิธีการเคลียร์หูแบบ valsava และสามารถดำลงไปได้ลึกกว่ามาก แต่ก็ต้องใช้เวลาในการฝึกอยู่พอสมควรเพราะ มีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าวิธีอื่น เเต่มีขั้นตอนฝึกสำหรับผู้หัดใหม่ในบทความนี้ Freedive Physiology ส่วนต่างๆ ส่วนที่เชื่อมปอดและลำคอคือ trachea สามารถเปิด-ปิดโดย epiglottis ส่วนที่เชื่อมไปยังกระเพาะอาหารคือ esophagus โดยปกติจะปิด การหายใจเข้า-ออก จะผ่านเพดานอ่อน (soft palate) เข้าสู่ปอด ถ้าเพดานอ่อนอยู่ตำแหน่งกึ่งกลาง ลมจะสามารถถ่ายเทจากปากเข้าจมูกได้ ถ้าเพดานอ่อนยกขึ้น ลมจะผ่านเข้าปากได้ แต่ลมจะถูกกั้น ไม่สามารถเข้าไปในโพรงจมูกได้ ถ้าเพดานอ่อนลดลง ลมจะผ่านเข้าจมูกได้แต่ผ่านเข้าไปในช่องปากไม่ได้ ท่อยูสเตเชียนอยู่บริเวณด้านหลังโพรงจมูก การเคลียร์หูคือการดันลมให้เข้าไปในท่อนี้ จากรูปเป็นวิธีเคลียร์หูแบบ frenzel เราจะใช้มือปิดจมูก ใช้ลิ้นดันลมในช่องปาก ในขณะเดียวกันก็ปิดหลอดลมไว้ ลมจะถูกดันผ่านเพดานอ่อนที่เปิดอยู่เข้าไปในท่อยูสเตเชียน และเข้าไปในหูชั้นกลาง วิธีเคลียร์หู แบบ Frenzel ใช้มือปิดจมูก เอาลมจากปอดมาไว้ในปาก ปิดหลอดลม ทำให้เพดานอ่อนมาอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางหระหว่างโพรงจมูก กับ ช่องปาก ใช้ลิ้นดันลมให้เข้าไปในโพรงจมูก 9 ขั้นตอน ฝึก Frenzel Technique สำหรับคนเรียนฟรีไดฟ์ใหม่ๆอาจจะยังไม่รู้ว่าจะควบคุมหลอดลม เพดานอ่อน หรือใช้ลิ้นดันลมให้เข้าไปในท่อยูสเตเชียนได้อย่างไร ขั้นตอนด้านล่างจะเป็นวิธีฝึกเพื่อให้คุ้นเคยกับการควบคุมส่วนต่างๆที่ใช้ในการเคลียร์หู ขั้นตอนที่ 1 : ฝึกดึงลมจากปอดเข้ามาในปาก ให้ดันลมจากปอดเข้ามาไว้ในปาก จนกว่าจะเต็มกระพุ้งแก้ม ลองเคลื่อนลมจากเไป-มา ระหว่างปากกับปอดให้คล่อง ขั้นตอนที่ 2 : ฝึกเปิด-ปิด หลอดลม (Epiglottis) มีหลายวิธีที่ใช้ในการฝึกเปิด-ปิดหลอดลม วิธีที่ 1 : กลั้วคอด้วยน้ำ จิบน้ำไว้ในปาก แล้วเงยหน้าขึ้นให้น้ำไหลไปด้านหลังของปาก แต่อย่าให้น้ำไหลผ่านลำคอลงไป วิธีที่ 2 : หายใจออก และสะกัดลมไว้ไม่ให้ออกมา ให้อ้าปากออกแล้วหายใจออกผ่านปาก สะกัดลมไว้ไม่ให้ออกมา ลองใช้กระบังลมดันปอดถ้าลมไม่ไหลออกมาแสดงว่าปิดหลอดลมได้ วิธีที่ 3 : หายใจเข้าแล้ว สะกัดลมไว้ไม่ให้เข้าไป อ้าปากแล้วหายใจเข้า สะกัดลมไว้ ไม่ให้เข้าปอด เมื่อลมไม่สามารถเข้าไปในปอดได้จะรู้สึกตึงบริเวณ epiglottis วิธีที่ 4 : ปิดหลอดลมไว้แล้วหายใจออก ต่อจากวิธีที่ 2 อ้าปากไว้ แต่ปิดหลอดลมไว้ในขณะที่หายใจออก ออกแรงดันลมให้ออกทางปากแล้ว เปิดหลอดลม จะมีสียงลมที่ดันผ่านปากออกมา (ฝรั่งเรียก K sound) วิธีที่ 5 : ปิดหลอดลมไว้แล้วหายใจเข้า…

อ่าน 9 ขั้นตอน Freedive ฝึก Frenzel Equalization

Spleen Effect เคล็ดไม่ลับ ทำให้กลั้นหายใจได้นาน

รู้จักกับ “ม้าม” และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการดำฟรีไดฟ์ จนถึงวิธีการฝึกฝนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำฟรีไดฟ์

อ่าน Spleen Effect เคล็ดไม่ลับ ทำให้กลั้นหายใจได้นาน

Wetsuit Freedive เเตกต่างจาก Scuba อย่างไร

ทำไมเราใช้ wetsuit freedive ? เวลาที่เราแช่น้ำนานๆ ร่างกายจะสูญเสียความร้อนออกไปเรื่อยๆ เนื่องจากการถ่ายเทอุณหภูมิในน้ำมีมากกว่า เวลาที่เราอยู่บนบกถึง 25 เท่า ถ้าเราต้องอยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ wetsuit จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันเราจากความหนาวเย็นจนเป็นไข้ และเป็น อุปกรณ์ freedive ทำให้สามารถฝึกฝนได้อย่างสบายมากขึ้น ข้อเเตกต่างระหว่าง Wetsuit Freedive กับ Scuba หลายคนเกิดข้อสงสัยว่า ทำไมคนฝึก freedive ไม่นิยมใช้ wetsuit scuba เหตุผลก็เนื่องมาจาก ชุดของ scuba จะออกแบบมาให้น้ำสามารถซึมเข้าไปขังอยู่ในชุดได้ กลายเป็นชั้นแบ่งระหว่างร่างกาย กับชุด เมื่อคนดำ scuba เคลื่อนไหวร่างกายมากๆ ร่างกายจะสร้างความร้อนขึ้นมา และเก็บความร้อนไว้ในชุดได้ แต่คนฝึก freedive หรือ spearfishing ไม่ต้องการเคลื่อนไหวร่างกายมาก เพื่อทำให้ร่างกายใช้ออกซิเจนให้น้อยที่สุด มักลอยอยู่นิ่งๆ ใช้เวลาในกการหายใจ เพื่อเตรียมตัวดำลงไปใต้น้ำ ดังนั้นหากใช้ wetsuit ของ scuba ก็จะไม่ช่วยในเรื่องของอุณหภูมิ และความยืดหยุ่นของชุด scuba จะน้อยกว่าชุดสำหรับ ฟรีไดฟ์ ทำให้เคลื่อนไหวไม่สะดวกเท่าที่ควร วัตถุประสงค์การใช้งานของ Wetsuit สำหรับ Freedive การเลือกใช้งานจะขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมในการดำน้ำ เช่น ระยะเวลาที่อยู่ในน้ำ อุณหภูมิของน้ำ ยิ่งอุณหภูมิของน้ำต่ำเท่าไหร่ ความหนาของชุดก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น โดยปกติ ชุดจะแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนบนของร่างกาย และ hood กับ ส่วนของกางเกง วัสดุที่ใช้ในการทำชุดจะ ทำมาจาก neoprene แบ่งออกหลักๆได้ 3 ชนิด Double-lining: ทำมาจาก neoprene หุ้มด้วยไนลอนทั้งสองด้าน ด้านในและด้านนอกชุด ข้อดีคือ ราคาถูกกว่าแบบอื่น และมีความทนทาน ง่ายต่อการดูแลรักษา สะดวกเวลาใส่และถอดออก แต่ก็มีข้อเสียคือ น้ำซึมเข้าไปได้ง่าย และชุดต้านน้ำ กว่าแบบอื่น Single-lining: หรือเรียก อีกอย่างหนึ่งว่าแบบ open-cell มีไนลอนเพียงด้านเดียว ด้านที่สัมผัสร่างกายจะไม่มีไนลอน ทำให้neoprene แนบกับผิวหนังได้สนิท มีข้อดีคือ น้ำจะไม่เข้าไปในชุด เหมาะสำหรับ spearfishing และใส่ฝึกซ้อม freedive เนื่องจากชุดจะมีความ ทนทานกว่าแบบ no lining ข้อเสีย คือ ชุดต้านน้ำและไม่ยืดหยุ่น เท่าชุดแบบ…

อ่าน Wetsuit Freedive เเตกต่างจาก Scuba อย่างไร

เทคนิคพื้นฐานการฝึก Freedive

Freedive เป็นกีฬาที่เรียนและฝึกฝนทักษะในการกลั้นหายใจในการดำน้ำ ถูกเเบ่งออกหลักๆได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เรียนรู้การกลั้นหายใจได้นาน , กลั้นหายใจดำน้ำได้ไกล เเละกลั้นหายใจดำน้ำได้ลึก เเต่ละแบบก็มีหัวข้อในการฝึกฝนเเตกต่างกันไปบ้าง ตามรูปแบบของการเเข่งขัน 1. Freedive กลั้นหายใจนาน (Static Apnea) – Relaxation and Breathing Technic Relaxation and breathing technic ส่วนเเรกที่ผู้เรียนฟรีไดฟ์จะได้ฝึกฝน เนื่องจากเป็นหัวใจของฟรีไดฟ์ คือ การไม่เครียด การฝึกนี้เป็นรากฐานของฟรีไดฟ์เเบบอื่นๆทั้งหมด ได้เเก่ 1.หายใจโดยใช้กระบังลม /ท้องน้อย (Diaphragm / Belly Breathing) เวลาหายใจเข้า หน้าท้องจะป่องออก เเละเวลาหายใจออก หน้าท้องจะยุบลง หายใจเข้าออกเเบบสบายๆ เหมือนเวลาปกติ (tidal volume) ไม่หายใจมากหรือถี่เกินไปเพราะ จะทำให้เกิด hyperventilation ***ถ้าฝึกใหม่ๆ ให้หายใจเข้า 1 ส่วน หายใจออก 2ส่วน โดยนับเลขเเทน เช่น หายใจเข้า 3 วินาที หายใจออก 6 วินาที เพื่อป้องกัน hyperventilation 2. การกลั้นหายใจ (Hold Breathing) การกลั้นหายใจ ประกอบไปด้วย 3 ช่วงคือ 2.1 ผ่อนคลาย (relax) : ช่วงเเรกร่างกายยังไม่มีผลกระทบ จากการกลั้นหายใจ มีเเค่ความคิดที่คอยรบกวนเเละทำให้จิตใจไม่สงบ 2.2 อุปสรรค (struggle) : ช่วงนี้จะเริ่มตั้งเเต่ เกิดการหดตัวของกระบังลม เป็นต้นไป ทำให้เกิดความยากลำบากในการกลั้นหายใจ เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซในเลือดเพิ่มขึ้น 2.3 อันตราย : ร่างกายจะเริ่มเกิดความรู้สึกทรมาน ริมฝีปากจะเริ่มเป็นสีม่วง เนื่องจากออกซิเจนในกระเเสเลือด ลดลงมาก ทำให้เสี่ยงต่อการเกิด LMC หรือ blackout 3. Recovery Breathing หลังจากกลั้นหายใจจนออกซิเจนในเลือดลดลงต่ำ โดยให้หายใจเข้าให้เต็มปอดให้เร็วที่สุดเเล้วกลั้นหายใจไว้ 2 วินาที ทำซ้ำ 3-4 รอบ – Full Lung Stretching ยืดเหยียดกล้ามเนื้อรอบๆ ทรวงอก ด้วยการหายใจเข้าให้เต็มปอด เมื่อฝึกเป็นประจำ จะช่วยให้ปริมาตรความจุอากาศของปอดเพิ่มขึ้น –…

อ่าน เทคนิคพื้นฐานการฝึก Freedive

Lung Stretching เพื่อเพิ่มความจุปอด

รู้จักกับวิธีการฝึก lung stretching เพื่อเพิ่มความจุของปอด เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอด และช่วยให้อยู่ใต้น้ำได้นานขึ้น

อ่าน Lung Stretching เพื่อเพิ่มความจุปอด
Banner for the article "Brands of Freediving Fins in Thailand 2022"

แนะนำฟินฟรีไดฟ์หลายแบรนด์น่าสนใจ ประจำปี 2566

ฟินฟรีไดฟ์ที่มีจำหน่ายในเมืองไทย มีด้วยกันหลายแบรนด์ และแต่ละแบรนด์ก็ยังมีหลายรุ่น ที่มีคุณสมบัติต่างกัน เหมาะกับการใช้งานหรือความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกันด้วย เราจะพาคุณไปรู้จักกับฟินฟรีไดฟ์แต่ละแบรนด์ว่า มีคุณสมบัติอย่างไรกันบ้าง

อ่าน แนะนำฟินฟรีไดฟ์หลายแบรนด์น่าสนใจ ประจำปี 2566

สิ่งที่ควรระวังหรือไม่ควรทำ หลังการดำน้ำใหม่ๆ

นักดำน้ำอย่างเราคงจะได้เรียนรู้เรื่องสิ่งที่ควรทำ สิ่งที่ควรเช็คก่อนดำน้ำ และจดจำไว้ได้เป็นอย่างดี แต่เรื่องสิ่งที่ไม่ควรทำหลังดำน้ำ อาจเป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยได้ยินใครพูดถึง เราจึงขอใช้โอกาสนี้ เล่าถึงสิ่งที่ไม่ควรทำ หรือควรหลีกเลี่ยงหลังดำน้ำ เพื่อความปลอดภัยของทุกคนกัน การเดินทางโดยเครื่องบิน เรื่องนี้คงเป็นเรื่องที่นักดำน้ำทุกคนรู้อยู่แล้ว เพราะทริปดำน้ำส่วนใหญ่มักจะเดินทางไปด้วยเครื่องบิน สิ่งที่ต้องนึกถึงคือ ‘เวลาพักน้ำ’ ตามกฎดังนี้ หากเราดำน้ำหนึ่งไดฟ์ เราควรพัก 12 ชั่วโมงก่อนขึ้นเครื่องบิน หากเราดำน้ำหลายไดฟ์ในหนึ่งวันหรือดำน้ำหลายวัน ควรพักอย่างน้อย 18 ชั่วโมง พักอย่างน้อย 24 ชั่วโมง หากเราติดดีคอม หากไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ แนะนำให้พักนานกว่านี้ ก็ควรปฏิบัติตาม หากจำกฎหลายข้อแบบนี้ไม่ไหว อาจใช้กฎพื้นฐานก็ได้ คือ เราควรพัก 24 ชั่วโมงก่อนเดินทางโดยเครื่องบิน เรื่องนี้แม้นักดำน้ำใหม่ซึ่งอาจยังไม่แม่นยำ ไม่ทันระวังมากนัก แต่ร้านดำน้ำหรือครูดำน้ำก็มักจะจัดและตรวจสอบแผนการเดินทางให้กับนักดำน้ำที่มาร่วมทริปอยู่แล้ว ที่ผ่านมาจึงแทบไม่พบเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความผิดพลาดในเรื่องนี้ การปีนเขา การทำกิจกรรมบนที่สูง เรื่องนี้มีเหตุผลเช่นเดียวกับการขึ้นเครื่องบิน คือเมื่อขึ้นที่สูงมากหลังการดำน้ำใหม่ๆ ก๊าซไนโตรเจนที่ยังหลงเหลืออยู่ในร่างกายของเรา อาจนำไปสู่ decompression sickness (DCS) ได้ แม้ที่ความสูงไม่เท่ากับระดับเพดานบินปกติของเครื่องบินโดยสารทั่วไปก็ตาม (ความสูงที่ใช้ในการวิจัยเรื่องนี้อยู่ที่ประมาณ 600-2,400 เมตร) นอกจากการปีนเขาแล้ว กิจกรรมผจญภัยหลายประเภทก็มักจะจัดกันในที่สูง เช่น ไต่สะพานเชือกชมธรรมชาติ (canopy walk) บันจี้จัมพ์ (bungee jump) หรือ ซิปไลน์ (zipline) ดังนั้น หากคุณวางแผนท่องเที่ยว ทำกิจกรรมต่างๆ ภายหลังการดำน้ำ ควรอยู่ที่ระดับพื้นราบเดียวกับที่คุณเริ่มดำน้ำ สัก 18-24 ชั่วโมง ก่อนจะเริ่มขึ้นสู่ที่สูงเพื่อทำกิจกรรมอื่นๆ การดื่มหนักหลังดำน้ำทันที โดยปกติการดื่มเครื่องดื่มแลกอฮอล์พูดได้ว่าเป็นการเพิ่มสารพิษเข้าร่างกายอยู่แล้ว แต่สำหรับการดำน้ำแอลกอฮอล์ทำให้ร่างกายของเราสูญเสียน้ำมากขึ้น ซึ่งก็หมายความว่า กระบวนการขับไนโตรเจนออกจากร่างกายจะยิ่งล่าช้ามากขึ้นอีก และเพิ่มโอกาสที่จะทำให้เกิด DCS ได้ง่ายขึ้น หลังดำน้ำ เราควรดื่มน้ำให้มาก และรอให้เวลาผ่านไปหลายชั่วโมง ก่อนที่จะเริ่มดื่มและปาร์ตี้กัน การดำฟรีไดฟ์ เป็นที่ทราบกันดีว่า การดำฟรีไดฟ์ต้องมีการลงสู่ที่ลึกและขึ้นสู่ที่ตื้นในเวลาอันรวดเร็วมาก ดังนั้นหลังการดำน้ำลึกแบบ scuba แล้วควรงดการดำฟรีไดฟ์ต่อเนื่องทันที ด้วยกฎการพักน้ำแบบเดียวกับการงดเดินทางด้วยเครื่องบิน นั่นคือ หากเราดำน้ำหนึ่งไดฟ์ เราควรพัก 12 ชั่วโมงก่อนดำฟรีไดฟ์ หากเราดำน้ำหลายไดฟ์ในหนึ่งวันหรือดำน้ำหลายวัน ควรพักอย่างน้อย 18 ชั่วโมง พักอย่างน้อย 24 ชั่วโมง หากเราติดดีคอม หากไดฟ์คอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ แนะนำให้พักนานกว่านี้ ก็ควรปฏิบัติตาม การแช่น้ำร้อน น้ำอุ่น หรือซาวน่า ตอนที่เรานอนแช่น้ำร้อนอย่างสบายใจ เราอาจไม่รู้เลยว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้น จะเพิ่มโอกาสที่จะเกิดฟองก๊าซไนโตรเจนขึ้นในร่างกายด้วย และแม้ความร้อนก็ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตด้วย ซึ่งน่าจะช่วยระบายก๊าซไนโตรเจนจากร่างกายได้เร็วขึ้น แต่ที่จริงแล้วความร้อนแบบนี้ส่งผลต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อมากกว่าระบบไหลเวียนโลหิต จึงเพิ่มโอกาสการเกิด…

อ่าน สิ่งที่ควรระวังหรือไม่ควรทำ หลังการดำน้ำใหม่ๆ
cover image บทความ Mask Scuba Freedive Comparison

ความแตกต่างระหว่างหน้ากาก Scuba และหน้ากาก Freedive

ในปัจจุบัน หน้ากากดำน้ำนั้นมีตัวเลือกให้เราทุกคนได้เลือกสรรมากมาย ทั้งฝั่ง scuba และ ฝั่งของ freedive เอง ด้วย design รูปลักษณ์หรือขนาดเองก็ตามที่อาจจะทำให้ใครหลายๆ คนกำลังสงสัยว่าระหว่างหน้ากาก scuba กับ freedive นั้นมีข้อแตกต่างกันอย่างไร และเราสามารถใช้หน้ากาก scuba ในการ freedive ได้หรือไม่ หรือ หน้ากาก freedive ใช้สำหรับ scuba ได้หรือเปล่า Size (ขนาด) อย่างแรกที่ทุกคนจะเห็นได้ชัดถึงความแตกต่างเลย คือ “ขนาด” หน้ากาก scuba จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าหน้ากาก freedive ทั้งรูปร่าง, ขนาดของกรอบเลนส์ (frame), ขนาดของ skirt, รวมถึง ระยะห่างระหว่างเลนส์กับดวงตา และด้วยส่วนมากหน้ากาก scuba จะนิยมใช้เลนส์เดี่ยวมากกว่าเลนส์คู่ (แยกซ้าย-ขวา) แตกต่างกับหน้ากาก freedive ที่มีรูปแบบที่เพรียวกว่า กระชับรูปหน้ามากกว่า เมื่อมองจากขนาดแล้วและลักษณะของเลนส์แล้ว จะเห็นได้ว่า หน้ากากที่มีขนาดใหญ่กว่า ก็จะทำให้มีการต้านน้ำมากกว่า สำหรับการดำน้ำแบบ scuba ที่ไม่ค่อยใช้ความเร็วในการเคลื่อนที่มากนัก หน้ากากที่มีขนาดใหญ่ ได้ทัศนวิสัยกว้าง จึงเป็นที่นิยมสำหรับนักดำน้ำ scuba จำนวนมาก ส่วนการดำ freedive ที่ต้องการความคล่องตัวและใช้ความเร็วในการลงสู่ความลึก-ขึ้นสู่ผิวน้ำมากกว่า scuba จึงไม่นิยมใช้หน้ากาก scuba ในการ freedive สักเท่าไหร่นัก Air Volume, Air Space (ปริมาตรอากาศ) จากหัวข้อแรกเรื่องขนาดของหน้ากาก จึงส่งผลทำให้ “ปริมาตรอากาศ” ที่อยู่ภายในหน้ากากนั้นมีความแตกต่างกันไปด้วย โดยส่วนใหญ่แล้วหน้ากาก freedive จะมีปริมาตรอากาศที่น้อยกว่า หรือที่หลายๆ คนคุ้นหูกันกับคำว่าหน้ากาก low-volume (หรือหน้ากาก low-profile) โดยคร่าวๆ แล้วหน้ากากประเภทนี้จะมีปริมาตรอากาศที่น้อยกว่า 100 ml. ส่วนหน้ากาก scuba จะมีปริมาตรอยู่ที่มากกว่า 110 ml. ขึ้นไป เพราะฉะนั้นถ้าหากนำหน้ากาก scuba ไปดำ freedive สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราดำลงสู่ความลึกด้วยความเร็ว นอกจากเรื่องของการต้านน้ำที่มากกว่าแล้ว ยังมีโอกาสที่จะทำให้เกิด mask squeeze ได้มากขึ้นด้วย (mask squeeze คือ อาการหน้ากากบีบหน้า เมื่อแรงดันภายนอกหน้ากากเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่าภายในหน้ากาก) การป้องกัน mask squeeze คือการเติมลมจากจมูกเข้าไปเคลียร์หน้ากาก แต่ถ้าหากเคลียร์หน้ากากไม่ทันหรือลมไม่พอที่จะเคลียร์หน้ากาก ก็อาจจะเป็นอันตรายส่งผลให้เกิดเส้นเลือดฝอยรอบดวงตาแตกได้…

อ่าน ความแตกต่างระหว่างหน้ากาก Scuba และหน้ากาก Freedive

ทำไมเราจึงใช้เว็ทสูท? รู้จักทุกแง่มุมของเว็ทสูทและการเลือกซื้อ

ชวนนักดำน้ำทุกท่าน มาทำความรู้จักกับเว็ทสูทในแง่มุมต่างๆ เพื่อช่วยให้คุณหาคำตอบได้ว่า ควรใช้เว็ทสูทหรือไม่?

อ่าน ทำไมเราจึงใช้เว็ทสูท? รู้จักทุกแง่มุมของเว็ทสูทและการเลือกซื้อ
cover image to emphasize freediving fins

เลือกซื้อฟินฟรีไดฟ์ให้ถูกใจ เพื่อไปกับคุณทุกทริป

ฟินฟรีไดฟ์ คืออุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เราสามารถเคลื่อนที่ไปในน้ำได้อย่างใจต้องการ ดังนั้น การเลือกซื้อฟินฟรีไดฟ์ที่เหมาะกับคุณ ทั้งร่างกายและหัวใจ จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก

อ่าน เลือกซื้อฟินฟรีไดฟ์ให้ถูกใจ เพื่อไปกับคุณทุกทริป