อากาศสำรอง (Gas Reserve)

ไม่ทราบว่าเพื่อนๆ นักดำน้ำเคยเจอเหตุการณ์ที่ต้องแชร์อากาศ หรือเคยเห็นคนแชร์อากาศเพื่อขึ้นสู่ผิวน้ำหรือไม่? จากประสบการณ์การดำน้ำเป็นเวลา 8 ปี จำนวน 1000 ไดฟ์+ ฉันเคยมีประสบการณ์เรื่องแชร์อากาศจาก buddy หรือให้ teammate แชร์อากาศ รวมถึงให้คนที่อากาศหมด แชร์อากาศของ buddy ฉันขึ้น เพราะฉันมีอากาศไม่พอที่จะให้คนที่อากาศน้อย แชร์อากาศขึ้นสู่ผิวน้ำ สิ่งที่น่าประทับใจคือ buddy ฉันไม่เคยต้องแชร์อากาศของฉันหรือคนอื่นขึ้นเลย เมื่อมานั่งวิเคราะห์จากประสบการณ์ตัวเอง ฉันบอกได้ว่า ฉันเป็นนักดำน้ำที่ไม่ดีนัก เหตุที่ต้องพูดแบบนี้เพราะ ฉันประมาท ฉันละเลยกฎของความปลอดภัย วันนี้ ฉันมานั่งคิดว่า หาก buddy ฉันเกิดเหตุฉุกเฉินที่ต้องการอากาศจากฉัน เช่น Regulator Free Flow กะทันหันที่ความลึก 30 เมตร ฉันเคยเผื่ออากาศไว้หรือไม่? คำตอบที่น่ากลัวของฉันคือ ฉันคงไม่มีอากาศเหลือพอ เพราะฉันใช้อากาศมากกว่า buddy ของฉัน ฉะนั้น หากเกิดปัญหากับ buddy ตอนปลายไดฟ์ ฉันรู้เลยว่า อากาศที่เหลืออยู่ในถังอากาศของฉันจะไม่สามารถที่จะพาตัวฉันเองและ buddy ขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างช้าๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิด Decompression Sickness ได้เลย อากาศสำรอง สำคัญขนาดไหน สำคัญขนาดที่ว่า หากจำเป็นต้องใช้แล้วไม่มีให้ใช้ สิ่งเดียวที่ทำได้ คือ ขึ้นสู่ผิวน้ำ คำถามต่อมาคือ เมื่อไม่มีอากาศ เราจะขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างรวดเร็ว หรือ อย่างช้าๆ ตามกฎของการดำน้ำ? และ ผลของการขึ้นสู่ผิวน้ำเร็ว คือ เราอาจเสี่ยงต่อการเป็น Decompression Sickness ได้ อากาศสำรองนั้นยังจำเป็นสำหรับการขึ้นเรือในขณะที่มีคลื่นสูงบนผิวน้ำ ด้วยว่าวิธีขึ้นเรือในขณะที่มีคลื่นสูง คือ การคาบ regulator ไว้ด้วย เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ที่เราพลัดหล่นจากบันไดเมื่อไม่สามารถยึดเกาะบันไดเรือได้อย่างมั่นคง หรือหากเราจมลงไปพร้อมบันไดเมื่อคลื่นโยนตัว เราก็จะยังมีอากาศให้หายใจได้อยู่ แต่หากเราไม่มีอากาศสำรองให้ใช้ระหว่างนั้น ในขณะที่ถูกดึงให้จมลงไปพร้อมบันไดนั้น เรามีโอกาสสูงที่จะสำลักน้ำก่อนขึ้นเรือ อากาศสำรอง เก็บไว้ให้ใคร คงไม่ต้องบอกว่า คนแรกที่เราเก็บไว้ให้ คือ ตัวเอง เก็บไว้เพื่อที่จะขึ้นสู่ผิวน้ำได้อย่างปลอดภัย เก็บไว้สำหรับว่ายน้ำกลับเรือ หรือไว้สำหรับขึ้นเรือ คนที่สอง คือ เราต้องเก็บไว้สำหรับ buddy หรือ teammate ในกรณีนี้ คนที่สองหมายถึง 2 คน คือ การสำรองอากาศให้ทั้งตัวเราและ buddy ให้ขึ้นสู่ผิวน้ำและสามารถทำ Safety Stop ได้อย่างเพียงพอ ฉันขอนำข้อคิดที่ดีข้อหนึ่งที่ฉันได้จากที่ได้ไปเรียน Course GUE-Fundamentals…

อ่าน อากาศสำรอง (Gas Reserve)

Deep Stop: ความสำคัญในการทำการพักน้ำที่ความลึกหลายๆ ขั้น

ขอเริ่มต้นกล่าวถึงผู้เขียน นาย Richard L. Pyle ก่อนว่า เขาเป็นนักวิจัยปลา ต้องลงไปเก็บตัวอย่างปลาที่ความลึกต่างๆ ลึกสุดก็ช่วง 180-220 ฟุตหรือประมาณ 36-66 เมตร ลงบ่อยจนนับจำนวนไดฟ์ไม่ถ้วนแล้ว และเริ่มสังเกตถึงอาการป่วยเหมือนๆ กันที่เกิดหลังดำน้ำ คือหลังจากไดฟ์ก็จะเริ่มรู้สึกเหนื่อยหรือคลื่นเหียนวิงเวียนศีรษะ

อ่าน Deep Stop: ความสำคัญในการทำการพักน้ำที่ความลึกหลายๆ ขั้น

สปลิตฟิน (Split Fins) กับฟินธรรมดา (Paddle Fins) ใช้แบบไหนดี?

คำถามที่ร้านดำน้ำหรือครูสอนดำน้ำมักจะได้รับอยู่บ่อยๆ เกี่ยวกับฟินใบแยกหรือสปลิตฟิน (Split Fins) กับฟินใบเต็มแบบธรรมดาก็คือ แบบไหนดีกว่ากัน แบบไหนน่าใช้กว่ากัน

อ่าน สปลิตฟิน (Split Fins) กับฟินธรรมดา (Paddle Fins) ใช้แบบไหนดี?

Split Fins ทำงานอย่างไร ใช้งานอย่างไร

สปลิตฟิน (Split Fins) ที่หลายคนอยากลองใช้ หลายคนใช้อยู่แล้วแต่ก็ยังสงสัย ว่ามีหลักการทำงานอย่างไร หาคำตอบได้ในบทความนี้

อ่าน Split Fins ทำงานอย่างไร ใช้งานอย่างไร

เทคนิคการดำน้ำในกระแสน้ำ

เมื่ออยู่ในกระแสน้ำแรง และต้องสู้กระแสน้ำให้อยู่กับที่ หรือต้องเคลื่อนไปข้างหน้าด้วย หากใช้วิธีการตีฟินเต็มแรงตลอดเวลา ในที่สุดอาจพบกับความเหนื่อยล้า สูญเสียแรงและประสิทธิภาพในการตีฟินลงไปเรื่อยๆ … และบางทีวิธีการดำน้ำในกระแสน้ำแบบนี้ อาจฝึกฝนได้ไม่ยาก เพียงรู้วิธีการที่ต้องทำและทักษะที่ต้องฝึกฝนให้ดีไม่กี่ข้อเท่านั้น

อ่าน เทคนิคการดำน้ำในกระแสน้ำ

เจอเม่นทะเล ไม่ต้องกลัว แค่ระวังตัวนิดนึง

เรื่องของสัตว์ทะเลที่น่ากลัวที่สุด (สำหรับนักดำน้ำใหม่) รู้จักไว้ เพื่อไม่ต้องกลัวอีกต่อไป

อ่าน เจอเม่นทะเล ไม่ต้องกลัว แค่ระวังตัวนิดนึง

ความสำคัญ และความจำเป็นของ Log Book

log book ไม่เพียงเป็นบันทึกประสบการณ์และความทรงจำของนักดำน้ำผู้เป็นเจ้าของเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการดำน้ำและการพัฒนาทักษะการดำน้ำของนักดำน้ำด้วย

และในด้านสิ่งแวดล้อม log book ยังเป็นแหล่งข้อมูลที่ช่วยสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในพื้นที่ทางทะเลต่างๆ อีกด้วย

อ่าน ความสำคัญ และความจำเป็นของ Log Book