Overbalanced Regulator from Apeks, Aqua Lung, ScubaPro

Overbalanced Regulator ดีอย่างไร จำเป็นต้องใช้หรือไม่

รู้จักกับ Overbalanced Regulator เทียบกับ Unbalanced และ Balanced แล้วไปหาคำตอบกันว่า นักดำน้ำอย่างเรา จำเป็นต้องใช้หรือไม่

อ่าน Overbalanced Regulator ดีอย่างไร จำเป็นต้องใช้หรือไม่

ทำไมจึงไม่ควรเอาหน้ากากดำน้ำไว้บนหน้าผาก

คำตอบสำหรับคำถามนี้ เป็นสิ่งที่ผู้สอนดำน้ำจำนวนมากบอกนักเรียนว่าไม่ควรทำ มาเป็นเวลายาวนาน แต่ในขณะเดียวกัน ก็พบว่านักดำน้ำจำนวนมากขึ้นที่ลงน้ำโดยมีหน้ากากวางไว้บนหน้าผาก และดูเหมือนว่าในปัจจุบัน นักดำน้ำที่เอาหน้ากากไว้บนหน้าผากจะมีจำนวนมากกว่าเดิม เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าด้วยซ้ำไป อันที่จริง ภาพต่างๆ ในนิตยสาร โฆษณา ฯลฯ ก็จะมีนายแบบนางแบบที่มีหน้ากากอยู่บนหน้าผากด้วย เรื่องที่ผู้สอนดำน้ำพยายามจะสอนนักเรียนดำน้ำว่า ไม่ควรเอาหน้ากากไว้บนหน้าผาก จึงดูเลือนรางเต็มทน เมื่อนักเรียนเป็นนักดำน้ำเต็มตัว เมื่อเรามาดูความเป็นจริงนั้น นักดำน้ำที่กำลังเดินบนชายหาดโดยมีหน้ากากอยู่บนหน้าผากนั้น ก็ไม่ได้แปลว่าเขากำลังตกใจหรือกำลังประสบปัญหา เช่นเดียวกันกับนักดำน้ำที่เอาหน้ากากไว้บนหน้าผากขณะขึ้นมาบนเรือ เวลาที่ผู้สอนดำน้ำจะบอกกับนักเรียนดำน้ำ ก็จึงควรจะบอกให้ชัดเจนกว่าเดิมว่า “ไม่ควรเอาหน้ากากไว้บนหน้าผากขณะที่อยู่บนผิวน้ำ เพราะการทำเช่นนั้น เป็นสิ่งบ่งชี้ว่านักดำน้ำกำลังมีปัญหา” เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ เมื่อนักดำน้ำกำลังประสบปัญหา เครียด หรือตื่นตกใจ เขาจะลืมทุกอย่างและใช้สัญชาตญาณแทน การใส่หน้ากากและมีเร็กฯ อยู่ในปากนั้นเป็นเรื่องไม่เป็นธรรมชาติ โดยทั่วไปนักดำน้ำที่มีปัญหาหรือตื่นตกใจอย่างมาก เมื่อขึ้นมาถึงผิวน้ำ พวกเขาจึงถอดหน้ากากออกและคายเร็กฯ จากปากทันที การมีหน้ากากอยู่บนหน้าผากนั้น จึงอาจจะเป็นสิ่งบ่งชี้ว่านักดำน้ำผู้นั้นไม่ได้ทำตามที่ถูกสอนมา อย่างไรก็ดีการเอาหน้ากากไว้บนหน้าผากด้วยอาการปกตินั้น อาจจะไม่ใช่สิ่งบ่งชี้ว่า คนนั้นกำลังตกใจ เพราะคนที่ตกใจจริงๆ น่าจะถอดหน้ากากทิ้งเลยมากกว่า การตัดสินใจว่านักดำน้ำผู้นั้นกำลังประสบกับปัญหาหรือไม่นั้น จึงควรดูอาการอื่นๆ เช่น แขนขา การดิ้นรน ฯลฯ ด้วย เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าการให้เหตุผลว่า หน้ากากบนหน้าผากเป็นสัญญาณของการประสบปัญหาหรือตื่นตกใจ จะเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักน้อย แต่ก็ยังมีเหตุผลที่มีน้ำหนักมากอีกสองอย่าง ที่ไม่ควรเอาหน้ากากไว้บนหน้าผาก นั่นก็คือ การที่หน้ากากจะหลุดหายได้ง่าย และการที่หน้ากากจะเป็นฝ้าได้ง่ายขึ้นหากวางไว้บนหน้าผากเป็นเวลานาน ซึ่งทั้งสองเหตุผลนี้ สามารถยืนยันความน่าเชื่อถือได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เอาหน้ากากไว้ที่ไหนดี นักดำน้ำจำนวนมากก็อาจจะสงสัยว่า ถ้าอย่างนั้นจะเอาหน้ากากไว้ที่ไหนดีล่ะ ก่อนการดำน้ำ เราไม่ควรใส่หน้ากากไว้บนใบหน้านานเกินไป เพราะจะทำให้หน้ากากเป็นฝ้าได้ง่าย เช่นเดียวกันกับการวางไว้บนหน้าผากหรือหมุนไปไว้ที่ท้ายทอย ที่ที่ปลอดภัยที่สุดน่าจะเป็นคล้องไว้รอบคอของเรา เนื่องจากหน้ากากจะไม่หาย และสามารถนำมาใส่ได้โดยสะดวกก่อนจะลงน้ำ ส่วนเมื่อเวลาที่เราขึ้นจากน้ำมาแล้ว วิธีที่ดีที่สุดคือ ใส่มันไว้บนใบหน้าเราจนขึ้นมาบนเรือ พร้อมที่จะถอดอุปกรณ์ต่างๆ ออกแล้ว นักดำน้ำได้ใส่หน้ากากดำน้ำจนจบไดฟ์ ก็น่าจะทนใส่ต่อไปได้อีกสองสามนาทีโดยไม่มีปัญหาใดๆ การใส่หน้ากากไว้บนหน้าตั้งแต่เริ่มลงน้ำจนกระทั่งกลับขึ้นมาบนเรือหรือฝั่ง พร้อมที่จะถอดอุปกรณ์อื่นๆ แล้วจึงค่อยถอดหน้ากากออกจากหน้านั้น ทำให้แน่ใจได้ว่า หน้ากากดำน้ำของเราจะไม่สูญหายหรือเสียหายครับ เขียนโดย ดร. พิชิต เมืองนาโพธิ์ ข้อมูลจาก นิตยสาร Dive Training: October, 2006 เผยแพร่ครั้งแรก 5 ธ.ค. 2549

อ่าน ทำไมจึงไม่ควรเอาหน้ากากดำน้ำไว้บนหน้าผาก

28-29 November 2009 : My 2 Most Memorable Tec Diving Log

วันนี้เป็นวันที่ฉันได้นัดกลุ่มทีม Tec มาดำน้ำด้วยกันอีกครั้งหลังจากทุกคนได้ทำการสอบ Tec จบไปแล้วเมื่อสามเดือนที่แล้ว ได้ชื่อว่าเป็น Tec Divers ที่ไม่ใช่แค่ชื่อที่ทำให้ดำน้ำลึกได้ แต่ที่สามารถวางแผนดำน้ำได้อย่างละเอียดตามที่ได้เรียนมาเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและทีม “ครูดำ ไปดำน้ำ Tec ด้วยกันอาทิตย์นี้นะ ว่างป่าว” ถามไปก็คิดอยู่ในใจว่า ถ้าชวนเที่ยว theque คงตอบได้เร็วอย่างไม่ต้องคิด “เดี๋ยวเช็ค Visa ก่อน” ก็เป็นคำตอบแบบนี้ทุกครั้งที่ถาม ส่วนฉันได้แต่บอกแม่ (คุณ) ด้วยเสียงเบาๆ พอได้ยินว่า “อาทิตย์นี้ไปดำน้ำนะ” แค่เนี้ยะก็พอ คนต่อมา “พี่โต้ง ดำน้ำเสาร์-อาทิตย์นะ ไปได้ป่าว” หลังๆ นี้ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า คนโสดอย่างพี่โต้งทำไมต้องขอ Visa ด้วย บอกว่าดำน้ำวันเดียวได้ แต่สองวัน Visa ไม่ผ่าน ครั้งนี้หลังจาก 3 เดือนผ่านไป พี่โต้งไม่อิดออด บอกว่า “ได้” คำเดียวสั้นๆได้ใจความ “เจอกันที่เก่าเวลาเดิม” “อืม” พี่โต้งตอบ เมื่อคนพร้อม สิ่งที่ต้องจัดการต่อมาคือ ถังอากาศ Deco ซึ่งเอาไปไว้ที่ร้านให้อัด Oxygen ไว้ 80% ตั้งแต่ 3 เดือนที่แล้วเหมือนกัน ไม่ได้ดำน้ำ Tec ก็ไม่ได้แวะเวียนไปเอามาเลย จนคนอัดอากาศลืมไปแล้วเหมือนกัน โชคดีไปว่า ถังอากาศยังอยู่ อากาศยังอยู่ครบ และทีม Tec เราก็พร้อมเดินทางสู่แสมสาร หากเป็นนักดำน้ำที่ดำน้ำที่แสมสารอยู่เป็นประจำ ทุกคนจะรู้กันว่า ที่แสมสารมีหลุมกระทะลึกสุดถึง 70 เมตร ซึ่งความลึกนี้หาไม่ได้ง่ายๆ ในอ่าวไทย หลุมนี้ไม่ใช่ “รู” แต่เป็นหลุมใหญ่เหมือนกะทะทองแดงใหญ่ๆ ที่นี่คือที่ที่ส่วนมากนักดำน้ำ Technical ใช้ฝึกเพื่อหาความลึก เพื่อให้ทำการฝึกให้ตรงกับจุดประสงค์ หากแต่ที่นี่ไม่ได้ดำน้ำได้ง่ายๆ เหมือนกัน ที่ความลึก 40 เมตร ปากหลุม มักจะมีกระแสน้ำวน ตัวฉันเองเคยเจอบ้างตอนฝึก ที่เคยพบ มันไม่ใช่กระแสน้ำที่ดูดลง หากแต่แค่พาตัวเราไหลวนเป็นวงใหญ่ๆ หากไม่ได้ดูเข็มทิศคงไม่รู้ แต่เพื่อความไม่ประมาท หากไม่ได้เป็นนักดำน้ำที่ได้รับการฝึกฝนและมีทักษะที่ดี ขอแนะนำว่าอย่าไปดำน้ำที่นี่เลย วันนี้อากาศดี มีกัปตันเล็กเป็นคนขับเรือ “เนาวรัตน์” ซึ่งพวกเราทีม Tec ไว้ใจและเชื่อในฝีมือพี่เล็กในการปล่อยเราให้ตรงจุด และรอเก็บเราเมื่อถึงเวลานัดหมาย เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากพวกเราเป็นพวก ดำน้ำอึด (ตามคำของพี่เล็ก) ฉะนั้นอาจถูกลืมและปล่อยทิ้งไว้ที่นั้นได้ บนเรือเนาวรัตน์ยังมีครูเบิ้ม ครูที่สอนพวกเราดำน้ำแบบ Technical ซึ่งในวันนี้ครูไม่สามารถลงไปกับเราได้เนื่องจากติดสอน เมื่อเราวางแผนการดำน้ำแบบติดดีคอม (คือต้องอยู่ในน้ำนานกว่า…

อ่าน 28-29 November 2009 : My 2 Most Memorable Tec Diving Log

อากาศสำรอง (Gas Reserve)

ไม่ทราบว่าเพื่อนๆ นักดำน้ำเคยเจอเหตุการณ์ที่ต้องแชร์อากาศ หรือเคยเห็นคนแชร์อากาศเพื่อขึ้นสู่ผิวน้ำหรือไม่? จากประสบการณ์การดำน้ำเป็นเวลา 8 ปี จำนวน 1000 ไดฟ์+ ฉันเคยมีประสบการณ์เรื่องแชร์อากาศจาก buddy หรือให้ teammate แชร์อากาศ รวมถึงให้คนที่อากาศหมด แชร์อากาศของ buddy ฉันขึ้น เพราะฉันมีอากาศไม่พอที่จะให้คนที่อากาศน้อย แชร์อากาศขึ้นสู่ผิวน้ำ สิ่งที่น่าประทับใจคือ buddy ฉันไม่เคยต้องแชร์อากาศของฉันหรือคนอื่นขึ้นเลย เมื่อมานั่งวิเคราะห์จากประสบการณ์ตัวเอง ฉันบอกได้ว่า ฉันเป็นนักดำน้ำที่ไม่ดีนัก เหตุที่ต้องพูดแบบนี้เพราะ ฉันประมาท ฉันละเลยกฎของความปลอดภัย วันนี้ ฉันมานั่งคิดว่า หาก buddy ฉันเกิดเหตุฉุกเฉินที่ต้องการอากาศจากฉัน เช่น Regulator Free Flow กะทันหันที่ความลึก 30 เมตร ฉันเคยเผื่ออากาศไว้หรือไม่? คำตอบที่น่ากลัวของฉันคือ ฉันคงไม่มีอากาศเหลือพอ เพราะฉันใช้อากาศมากกว่า buddy ของฉัน ฉะนั้น หากเกิดปัญหากับ buddy ตอนปลายไดฟ์ ฉันรู้เลยว่า อากาศที่เหลืออยู่ในถังอากาศของฉันจะไม่สามารถที่จะพาตัวฉันเองและ buddy ขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างช้าๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิด Decompression Sickness ได้เลย อากาศสำรอง สำคัญขนาดไหน สำคัญขนาดที่ว่า หากจำเป็นต้องใช้แล้วไม่มีให้ใช้ สิ่งเดียวที่ทำได้ คือ ขึ้นสู่ผิวน้ำ คำถามต่อมาคือ เมื่อไม่มีอากาศ เราจะขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างรวดเร็ว หรือ อย่างช้าๆ ตามกฎของการดำน้ำ? และ ผลของการขึ้นสู่ผิวน้ำเร็ว คือ เราอาจเสี่ยงต่อการเป็น Decompression Sickness ได้ อากาศสำรองนั้นยังจำเป็นสำหรับการขึ้นเรือในขณะที่มีคลื่นสูงบนผิวน้ำ ด้วยว่าวิธีขึ้นเรือในขณะที่มีคลื่นสูง คือ การคาบ regulator ไว้ด้วย เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ที่เราพลัดหล่นจากบันไดเมื่อไม่สามารถยึดเกาะบันไดเรือได้อย่างมั่นคง หรือหากเราจมลงไปพร้อมบันไดเมื่อคลื่นโยนตัว เราก็จะยังมีอากาศให้หายใจได้อยู่ แต่หากเราไม่มีอากาศสำรองให้ใช้ระหว่างนั้น ในขณะที่ถูกดึงให้จมลงไปพร้อมบันไดนั้น เรามีโอกาสสูงที่จะสำลักน้ำก่อนขึ้นเรือ อากาศสำรอง เก็บไว้ให้ใคร คงไม่ต้องบอกว่า คนแรกที่เราเก็บไว้ให้ คือ ตัวเอง เก็บไว้เพื่อที่จะขึ้นสู่ผิวน้ำได้อย่างปลอดภัย เก็บไว้สำหรับว่ายน้ำกลับเรือ หรือไว้สำหรับขึ้นเรือ คนที่สอง คือ เราต้องเก็บไว้สำหรับ buddy หรือ teammate ในกรณีนี้ คนที่สองหมายถึง 2 คน คือ การสำรองอากาศให้ทั้งตัวเราและ buddy ให้ขึ้นสู่ผิวน้ำและสามารถทำ Safety Stop ได้อย่างเพียงพอ ฉันขอนำข้อคิดที่ดีข้อหนึ่งที่ฉันได้จากที่ได้ไปเรียน Course GUE-Fundamentals…

อ่าน อากาศสำรอง (Gas Reserve)

Technical Diving ตอนที่ 4

การดำน้ำ Decompression Dive ทักษะเบื้องต้นในการดำน้ำที่เคยเรียนมาแล้ว จะเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งขึ้นในการดำน้ำแบบลดแรงกด (Decompression Dive) เช่น การควบคุมการจมลอย มีความสำคัญสำหรับการดำน้ำแบบนี้ เพราะนักดำจะมีปริมาณไนโตรเจนในร่างกายมากจนใกล้จะเกิดฟองอากาศ การขึ้นหรือลงอย่างไม่ได้ตั้งใจเพียงเล็กน้อย อาจจะทำให้เกิดอาการของโรคอันเกิดจากแรงกดดันได้ และการแก้ไขก็จะเสียทั้งเวลาและปริมาณอากาศที่จะใช้หายใจ นอกจากนั้น การดำด้วยถังอากาศหลายใบก็จะมีการเปลี่ยนแปลง ระดับการจมลอยระหว่างถังอากาศที่เต็ม (ทำให้ตัวหนัก) กับถังอากาศที่ใช้แล้ว (ทำให้ตัวเบา) การควบคุมความเร็วในการขึ้น เป็นส่วนสำคัญของการทำ Deco การขึ้นเร็วเกินไปมีผลให้เป็นโรคอันเกิดจากแรงกดดันได้มากเท่ากับการไม่ทำ Decompression Stop ทีเดียว การควบคุมการหายใจ ก็มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากการหายใจที่ถูกต้องจะประหยัดอากาศ การหายใจถี่กระชั้นนั้นไม่เพียงแต่เปลืองอากาศเท่านั้น แต่จะทำให้การขับไล่ไนโตรเจนจากร่างกายช้าลงไปด้วย รวมทั้งยังเพิ่มระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกาย ซึ่งทำให้เกิดอาการเมาไนโตรเจนได้ง่ายขึ้น และสุดท้าย การหายใจถี่กระชั้นใต้น้ำนั้นจะเหนื่อยมาก ทำให้นักดำน้ำมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาน้อยลง การควบคุมตนเอง มีความจำเป็นมาก เพราะนักดำน้ำที่เผชิญหน้ากับอันตรายร้ายแรง จำเป็นต้องควบคุมอารมณ์และวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ทักษะที่จะใช้ต้องถูกเรียนรู้และฝึกฝนมาเป็นอย่างดี นี่คือสาเหตุว่าทำไมนักดำน้ำแบบ Tec จึงจำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการดำน้ำแบบ Recreation มาก่อนเป็นจำนวนมาก การระมัดระวังตัวเอง นักดำน้ำที่จะทำ Deco ต้องหมั่นสังเกตตนเองเสมอ โดยเฉพาะในเรื่องความพร้อมของร่างกาย พลังงานที่มี และระดับความวิตกกังวล ทักษะการสื่อสาร ก็สำคัญ เพราะการดำน้ำแบบ Deco นี้มักกระทำเป็นทีม การสื่อสารอาจจะไม่เหมือนเดิม ภายใต้ความกดดันของงานที่มีปริมาณมาก การใช้อุปกรณ์ที่ยุ่งยากกว่าปกติ แผนการดำน้ำที่ซับซ้อนกว่าเดิม หรือการเมาไนโตรเจน ขั้นตอนในการดำ เริ่มจากการวางแผนการดำน้ำ ซึ่งส่วนมากในปัจจุบันจะใช้โปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ สร้างตารางดำน้ำเฉพาะขึ้นมา โปรแกรมเหล่านี้จะมีการให้ใส่ข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ตั้งแต่รายละเอียดของบุคคลจนถึงแผนการดำน้ำ โดยเฉพาะเรื่องความลึกและเวลา และจะคำนวณ profile การดำน้ำออกมา ให้เป็นรูปของตารางดำน้ำเฉพาะให้นักดำนำไปใช้ เมื่อได้ตารางมาแล้ว นักดำน้ำก็จะทำการดำน้ำตามตารางที่ได้มา โดยมีการกำหนดความลึก/เวลาที่จะใช้ในการดำน้ำ ความลึก/เวลาที่จะทำ Deco ในแต่ละขั้น นักดำน้ำจะดำตามที่ตารางกำหนดมาให้นั้นอย่างเคร่งครัด ทักษะการควบคุมการจมลอยและการรักษาระดับความลึกให้สม่ำเสมอเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานจึงเป็นทักษะสำคัญยิ่งในการดำน้ำแบบนี้ ระดับความลึกที่ตารางกำหนดมานั้น ต้องรักษาไว้ให้เที่ยงตรงมาก จะขึ้นๆ ลงๆ ทีละเมตรสองเมตรอย่างการทำ Safety Stop ปกตินั้นไม่ได้ นอกจากนั้น ท่าทางในการทำ Deco ที่ถูกต้องนั้นคือการทำตัวขนานกับพื้น ก็ยิ่งทำได้ยากขึ้นไปอีกครับ ดร. พิชิต เมืองนาโพธิ์ 9 ก.ย. 2546

อ่าน Technical Diving ตอนที่ 4

Technical Diving ตอนที่ 3

การจัดการกับอากาศที่ใช้ (Gas Planning) นักดำน้ำแบบ Tec โดยทั่วไป จะต้องเลือกส่วนผสมของอากาศที่จะใช้ในการดำน้ำ ความรู้เบื้องต้นของคนที่ดำน้ำแบบนี้ เรื่องแรกจึงเป็นเรื่องของการดำน้ำโดยใช้อากาศที่มีส่วนผสมของออกซิเจนที่แตกต่างกับอากาศธรรมดา (Enriched Air Nitrox) นักดำน้ำจะเลือกส่วนผสมของอากาศที่เหมาะสมกับความลึก เวลา และลักษณะของการทำ Decompression ในการดำน้ำแต่ละครั้ง โดยทั่วไปแล้ว อากาศธรรมดาจะไม่ใช่ก๊าซที่เหมาะสมที่สุดในการดำน้ำแบบ Tec โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำ Deco ด้วยอากาศธรรมดานั้นจะลำบากกว่าใช้ Nitrox เช่น อาจจะเสี่ยงต่อการเป็นเบนด์มากกว่า หรือว่าต้องใช้อากาศมากจนไม่สามารถนำอากาศในปริมาณที่พอเพียงลงไปได้ เป็นต้น นักดำน้ำแบบ Tec จึงมักต้องใช้อากาศที่มีส่วนผสมแตกต่างกันไป เพื่อให้มีเวลาในการดำน้ำให้นานเพื่อลดเวลาในการทำ Deco หรือเร่งรัดกระบวนการทำ Deco นั่นเองครับ อันดับแรกเลย นักดำน้ำแบบ Tec จะต้องมีความรู้เรื่องความลึกที่นำมาใช้คำนวณ (Equivalent Air Depth: EAD) และความลึกสูงสุดของก๊าซที่ใช้หายใจ (Maximum Depth: MOD) ซึ่งความรู้เหล่านี้จะเรียนมาก่อนในหลักสูตร Enriched Air Nitrox Diver Course แล้ว จากนั้น จึงหัดหาอัตราการบริโภคอากาศที่ผิวน้ำ (Surface Air Consumption: SAC) ของตัวเอง ซึ่ง SAC ของแต่ละคนก็จะไม่เท่ากัน จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่เริ่มต้นก็ต้องเริ่มคำนวณหาอะไรกันเยอะแยะไปหมดแล้ว นักดำน้ำแบบ Tec จะต้องรู้หลายเรื่องมากเลยก่อนที่จะเริ่มดำน้ำ เช่น ต้องรู้ว่าตนมีอากาศลงไปในปริมาณเท่าไร เพียงพอต่อการใช้ดำน้ำในแต่ละครั้งและมีสำรองในกรณีฉุกเฉินหรือเปล่า อากาศในแต่ละถังสามารถใช้ได้ในความลึกเท่าไร ฯลฯ นอกจากนั้น ยังต้องวางแผนไว้เผื่อการเมาไนโตรเจน การวางแผนเพื่อป้องกันออกซิเจนเป็นพิษ หลายเรื่องที่ต้องนำมาใช้ในที่นีจะได้เรียนมาก่อนแล้วในหลักสูตร Enriched Air Diver Specialty และหลักสูตร Deep Diver Specialty ซึ่งผู้ที่จะก้าวเข้ามาเรียน Tec จำเป็นต้องผ่านหลักสูตรเหล่านี้เสียก่อน การจะดำน้ำแบบนี้ ความคิดและเจตคติของนักดำน้ำ จึงต้องมีความแตกต่างกับนักดำน้ำแบบ Rec โดยทั่วไปพอสมควร การที่จะดำน้ำแบบวางแผนตามคอมพิวเตอร์ ดำจนอากาศเกือบหมด หรือดำตามสบาย แล้วค่อยจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นภายหน้า กลายเป็นเรื่องอันตรายร้ายแรงสำหรับการดำน้ำแบบ Tec นักดำน้ำแบบ Tec จำเป็นต้องวางแผนล่วงหน้าและดำน้ำตามแผนอย่างเคร่งครัด เช่น ต้องวางแผนเรื่องปริมาณก๊าซที่จะใช้หายใจอย่างที่กล่าวมาแล้ว ต้องวางแผนเรื่องความลึกและเวลา เรื่องระดับการทำ Deep Stop และ Deco Stop จนกระทั่ง ต้องมีการวางแผน และเขียน Run Time ว่า ณ เวลานี้ จะต้องมาอยู่ ณ จุดไหนของความลึกที่ดำน้ำ…

อ่าน Technical Diving ตอนที่ 3

Technical Diving ตอนที่ 1

รู้จักกับการดำน้ำแบบ เทคนิคอล ไดวิ่ง (Technical Diving) ที่ต่างจากการดำน้ำแบบพักผ่อน (Recreational Diving) ทั้งในแง่วิธีการและขีดจำกัด และความเสี่ยงอันตรายก็แตกต่างกันอย่างมากด้วย

อ่าน Technical Diving ตอนที่ 1