Hypoxia – อาการขาดออกซิเจนขณะดำน้ำ

เกริ่นนำ: เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่คุณ Wobbegong เล่าไว้ในเว็บ siamscubadiving.com และทาง FreedomDIVE เห็นว่ามีประโยชน์มาก จึงเอามาฝากให้นักดำน้ำทุกท่านได้อ่านกัน เมื่อเร็วๆ นี้ มีเหตุการณ์ประเภท Near Miss (เกือบจะเป็น Accident) เกิดขึ้นกับตัวเองมาครับ.. หลังจากได้คุยกับผู้รู้ เลยรู้ว่าจริงๆ แล้วเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง ตอนนี้ ก็เลยอยากมาบอกเล่าให้กับเพื่อนๆ ได้รับทราบกัน จะได้ระวังไว้ และรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น หากเกิดขึ้นกับตัวเอง เหตุการณ์เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2546 ที่ผ่านมานี่เองครับ ผมกับเพื่อนๆ อีกกลุ่มหนึ่ง ได้นัดกันไปดำน้ำที่ หินเพิง จ. ระยอง เพื่อทำการตัด และเก็บอวนที่เข้ามาติดอยู่ที่นั่นออก ในวันนั้น เดิมทีกำหนดกันไว้ว่าจะทำงานเก็บอวน 2 ไดฟ์ แล้วไดฟ์ที่ 3 จะไปดำเที่ยวกันที่อื่น ไดฟ์แรก ลงดำที่กองหินเพิงด้านตะวันออก พบเศษอวนขนาดเล็กบ้างประปราย ส่วนใหญ่เป็นอวนที่เริ่มเก่าแล้ว น้ำเริ่มซัดมาม้วนรวมกันเป็นมัดใหญ่ ทุกคนที่ลงดำน้ำ ใช้มีด กรรไกร และคัทเตอร์ ช่วยกันตัดให้เล็กลง ม้วนเป็นก้อน ผูกไว้ด้วยเชือก และใช้ถุงพลาสติก ทำเป็น Liftbag เพื่อปล่อยให้ลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ และจะใช้เรือตามเก็บภายหลัง ในไดฟ์นี้ ไม่มีปัญหาเท่าไร เศษอวนไม่มาก เราดำน้ำทั้งหมดประมาณ 30 – 45 นาที ความลึกจำไม่ได้ครับ ต้องไปเอาไดฟ์คอมมาดูอีกทีแล้วจะบอก หลังจากนั้น ก็ขึ้นมาทานข้าวกัน ประมาณบ่ายโมงนิดๆ ก็ลงดำไดฟ์ที่ 2 กัน ที่หินเพิงกองกลาง (หินเพิง มีเรียงกันอยู่ 3 ยอด แต่ละยอดห่างกันประมาณ 15 – 20 เมตรได้) กองกลางนี้ ยอดกองอยู่ลึกที่สุด เรือต้องใช้ Sounder กวาดหา ที่นี่ พบอวนมากกว่าที่คาดไว้ Liftbag ที่ทำจากถุงพลาสติกที่นำลงน้ำไปด้วย หมดก่อนที่จะเอาอวนขึ้นได้หมด รวมทั้งพบอวนผืนใหญ่ ซึ่งเมื่อแกะออกจากกองหิน และแนวปะการังแล้ว รวมกันเป็นก้อนสูงเกือบเท่าเอวผู้ใหญ่ ใช้ถุงพลาสติกผูกเข้าไปแล้ว 6 ถุง ก็ยกไม่ขึ้น เราจึงทดลองใช้ Dive Sausage ผูกเข้าไป เพื่อให้ช่วยในการยก ครั้งแรกเกือบสำเร็จ เชือกที่ผูกไว้ขาดไปก่อน ผมเลยเอา Sausage ของผม ผูกติดเข้าไปใหม่ เติมอากาศ…

อ่าน Hypoxia – อาการขาดออกซิเจนขณะดำน้ำ
Diving with current - 001

ดำน้ำในกระแสน้ำแรงทำอย่างไร

สรุปวิธีการดำน้ำในกระแสน้ำแรง โดยการเลือกเส้นทางที่เหมาะสมและการใช้ทักษะในการตีขาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความปลอดภัยและเหมาะสมกับความสามารถของตนเอง โดยเน้นการรักษาตัวเองไม่ให้เหนื่อยใต้น้ำ

อ่าน ดำน้ำในกระแสน้ำแรงทำอย่างไร
Diving with dinghy - 001

ขึ้นจากดำน้ำแล้วของตกที่ท้ายเรือ ทำยังไงดี

วิธีการจัดการเมื่อของตกที่ท้ายเรือขณะดำน้ำ แนะนำให้ไม่ลงไปดำน้ำเพื่อเก็บของเองเนื่องจากความเสี่ยงและความอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ควรแจ้งเจ้าหน้าที่หรือครูดำน้ำเพื่อขอความช่วยเหลือในการค้นหาของที่ตกอยู่ท้ายเรือ การเลือกทำตามคำแนะนำเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยให้กับนักดำน้ำมือใหม่

อ่าน ขึ้นจากดำน้ำแล้วของตกที่ท้ายเรือ ทำยังไงดี
Freediving - Keng Krob - 001

หลังดำสกูบ้าแล้วอย่าดำฟรีไดฟ์

หลังจากเรียนดำ Scuba ควรหลีกเลี่ยงการดำ Freedive ลงไปลึกๆ โดยเฉพาะหลังจากดำ Scuba เพราะเราอาจมีก๊าซไนโตรเจนค้างอยู่ในร่างกาย ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการดำ Freedive และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้น การดำ Skindive อาจเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า

อ่าน หลังดำสกูบ้าแล้วอย่าดำฟรีไดฟ์

การลดความเสี่ยงต่อ DCS ด้วยการดื่มน้ำ

ถึงแม้กิจกรรมการดำน้ำจะนับได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ปลอดภัยมากที่สุดกิจกรรมหนึ่ง แต่ทุกกิจกรรมต่างก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน หลายคนคงเคยได้ยินว่า การดื่มน้ำเยอะ ๆ จะช่วยทำให้การดำน้ำปลอดภัยขึ้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องและสำคัญมาก ที่นักดำน้ำทุกคนควรระวังและป้องกันโอกาสที่เกิดจากการเจ็บป่วยจากการดำน้ำให้ได้มากที่สุด โรคจากการดำน้ำที่หลายคนกังวลคือ โรคจากการลดความกด (Decompression sickness, DCS) หรือน้ำหนีบ หรือ bend หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของ DCS ที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุดและแก้ไขง่ายที่สุดคือ Dehydration หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ภาวะการขาดน้ำ การป้องกันทำได้หลายอย่าง โดยสิ่งที่สำคัญและแก้ไขง่ายที่สุดคือการ “ดื่มน้ำ”​ คำถามคือ ทำไมเราถึง “ขาดน้ำ” ตอนดำน้ำ มีหลายปัจจัย แต่อธิบายปัจจัยหลักง่าย ๆ คือ ระหว่างการดำน้ำ 40-60 นาที เราไม่สามารถดื่มน้ำได้ และหากมีการหายใจเอาละอองน้ำทะเลหรือกลืนน้ำทะเลเข้าไปเล็กน้อย จะทำให้ร่างกายเราขาดน้ำมากขึ้นเนื่องจากน้ำทะเลมีความเข้มข้นสูงกว่าเนื้อเยื่อของร่างกายเรา การออกกำลังกายระหว่างการดำน้ำ เช่น การว่ายน้ำ จะทำให้เพิ่มการสูญเสีย เหงื่อและเสียความร้อน โดยจะมีน้ำบางส่วนออกจากร่างกายเราเพื่อดึงความร้อนออกไป ขณะเราดำน้ำ มนุษย์จะมีปฏิกิริยาตอบสนองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่เรียกว่า ​Mammalian Diving Reflex ซึ่งจะมีหลายส่วน เช่น หัวใจเต้นช้าลง เส้นเลือดส่วนปลายหดตัว เลือดเพิ่มปริมาณการเลี้ยงอวัยวะสำคัญ และม้ามบีบตัว ซึ่งมีส่วนทำให้ไตเราเข้าใจว่าปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น (จริงแล้วลดลง) จะทำให้มีการส่งสัญญาณประสาทให้กรองเลือดออกมาเป็นปัสสาวะมากขึ้น จึงไม่แปลกที่เราปัสสาวะเพิ่มขึ้นเวลาว่ายน้ำ หรือดำน้ำ โดยเฉพาะน้ำเย็นจะมีการกระตุ้น reflex นี้มากขึ้น โดยการกระตุ้นมากที่สุดจะเกิดเมื่อน้ำที่เย็นสัมผัสบริเวณหน้าซึ่งจะกระตุ้นเส้นประสาทที่เรียกว่า Trigeminal nerve ซึ่งจะทำให้ reflex นี้ชัดเจนขึ้นมากในน้ำที่เย็นขึ้น และมีการสัมผัสน้ำโดยตรงเช่น ไม่ใส่ wetsuit หรือ ใส่ wetsuit ที่บาง จากที่เราทราบกันว่า silent bubble เกิดขึ้นตลอดในทุก dive ของการดำน้ำ จะมากน้อยขึ้นกับหลายปัจจัย การทำให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เป็นสิ่งสำคัญที่ป้องกันไม่ให้เลือดอยู่ในสภาวะข้นซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด DCS ที่อวัยวะต่าง ๆ สรุป การป้องกันการเกิด DCS มีหลายวิธี ตั้งแต่ปัจจัยส่วนบุคคล หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ การดำน้ำอย่าง conservative และปัจจัยที่ดูแลง่ายที่สุดอย่างนึงคือการ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ทั้งก่อนและหลังดำน้ำถึงแม้ไม่มีข้อมูลชัดเจนเรื่องปริมาณน้ำที่ควรดื่มก่อนหรือหลังดำน้ำ แต่อย่างน้อยควรทานตั้งแต่ก่อนลงซักพักและควรดื่มน้ำอีกครั้งหลังจากดำน้ำขึ้นมาทันที เพราะ silent bubbles และอุบัติการณ์ของ DCS เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทันทีจนถึงหลายชั่วโมงหลังดำน้ำ ปกติมนุษย์ผลิตปัสสาวะ ชั่วโมงละ 1.5 ถึง 2 ml/kg/hr…. ตัวผมเองทานอย่างน้อย​ 300 –…

อ่าน การลดความเสี่ยงต่อ DCS ด้วยการดื่มน้ำ
Diving in coral - 001

วันไหนน้ำใส? วันไหนน้ำไม่แรง?

การเลือกเวลาดำน้ำควรคำนึงถึงสถานการณ์ของน้ำ และการวางแผนการดำน้ำให้เหมาะสมกับเวลาและสภาพอากาศ เพื่อความปลอดภัยและประสบการณ์ดีที่สุด การเรียนรู้และการตัดสินใจที่ดีก็เป็นสิ่งสำคัญในการดำน้ำอย่างมืออาชีพ แต่ยังคงมีความสนุกสนานและตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้ลงไปสำรวจใต้ผืนน้ำอันงดงามด้วย

อ่าน วันไหนน้ำใส? วันไหนน้ำไม่แรง?
Diving with Manta - Keng Krob - 002

Refresh ความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้าม

เพราะโควิด​ทำให้นักดำน้ำหลายคนอดไปดำน้ำตามแผนที่วางไว้​ ว่างเว้นไปเกือบ 4 เดือน คำว่า​ refresh หรือ​ reactive เลยลอยมา​ตามลม

อ่าน Refresh ความปลอดภัยที่ไม่ควรมองข้าม

กระแสน้ำแนวตั้ง (Vertcal Current)

ในชั้นเรียนดำน้ำ เราเคยเรียนการจัดการกับกระแสน้ำกันทุกคน ว่าให้เริ่มดำน้ำไปในทิศทางสวนกระแสน้ำ และกลับมาในทิศทางตามกระแสน้ำ หากกระแสน้ำนั้นไม่รุนแรงเกินไป แต่ในบางกรณี เราอาจจะพบกับกระแสน้ำในรูปแบบอื่น ไม่ใช่การพัดไปในแนวนอนแบบที่เราเคยเรียนรู้กันมา เข่น กระแสน้ำแนวตั้ง หรือที่เรียกกันว่า Vertical current กระแสน้ำแนวตั้งนี้ทั่วไปมีสองแบบ คือกระแสน้ำดึงขึ้น (Upwelling) และกระแสน้ำดันลง (Downwelling) ซึ่งการพบกับกระแสน้ำแบบนี้จะดูเป็นเรื่องตื่นเต้น ท้าทายกว่าการดำน้ำทั่วไป และอาจจะไม่เหมาะกับนักดำน้ำมือใหม่ ประสบการณ์และการเรียนรู้ยังน้อยครับ การเกิดกระแสน้ำแนวตั้งนั้นอาจจะมีปัจจัยหลากหลายแตกต่างกัน โดยส่วนมากมักจะในสถานที่ที่มีการทำให้เกิดการขวางทางของกระแสน้ำ เช่นตามกำแพงใต้น้ำ ซากเรือจมที่ขวางเส้นทางน้ำ หรือจากสภาพทางภูมิศาสตร์ ที่มีพื้นที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างกันอย่างมาก เป็นต้น กระแสน้ำกดลงนั้น จะกดเราลงไปลึก ไม่สามารถขึ้นสู่ความตื้นได้ จะทำให้เกิดปัญหาการดำลึกเกินแผนที่วางไว้ หรือเกินกำหนดของตารางดำน้ำ ส่วนกระแสน้ำดันขึ้นนั่นจะยิ่งอันตรายกว่า เพราะมันจะดันตัวนักดำน้ำขึ้นมาอย่างรวดเร็วสู่ผิวน้ำ และนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับโรค DCI การที่เราจะแก้ไขสถานการณ์ก็จำเป็นต้องตัดสินใจอย่างแน่นอน รวดเร็ว หากพบกับกระแสน้ำแนวตั้ง โดยทั่วไปนักดำน้ำควรแก้ไขด้วยการถอยกลับมาและว่ายกลับไปในทิศทางเดิม หากพบว่าตนตกอยู่ในการดูดลงหรือดันขึ้นของกระแสน้ำ ให้รีบหนีออกมาให้พ้นก่อนที่แรงดูดหรือดันจะแรงเกินไป สำหรับกระแสน้ำดันลง สิ่งแรกที่ต้องทำคือทำใจให้สงบ และตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างรวดเร็ว สิ่งที่ต้องทำคือให้ว่ายขึ้นเฉียงประมาณ 45 องศาในทิศทางออกจากกระแสน้ำ เติมลมเข้าใน BCD โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมากเกินไป เราจะสามารถจัดการกับมันได้ภายหลังจากเราแก้ไขสถานการณ์ได้แล้ว เพียงแต่ให้ถือ Inflator ไว้เตรียมที่จะปล่อยลมเมื่อเราพ้นจากเงื้อมมือของกระแสน้ำแล้ว นอกจากนั้น หากเราไม่สามารถขึ้นได้ด้วยวิธีนี้เพราะกระแสน้ำกดแรงเกินไป เราก็จะต้องคิดถึงการเกาะกับวัตถุใต้น้ำที่ทำให้เราสามารถดึงตัวขึ้นมาได้ ภายใต้กระแสน้ำกดลงนี้ โอกาสเดียวของเราคือออกมาให้พ้นจากแรงกดของมัน โชคดีที่ธรรมชาติของกระแสน้ำกดลงนี้ กระแสจะอ่อนกำลังลงเมื่อลงไปลึกมากขึ้น บางสถานการณ์เราต้องปล่อยตัวให้ไหลไปกับมันและขึ้นมาเมื่อกระแสน้ำเบาลงพอ ความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นคือนักดำน้ำไปว่ายต้านกระแสน้ำจนออกแรงเกินความสามารถของตนเอง และนำไปสู่อาการทางกายคือเหนื่อยเกินไป หรืออาการทางใจคือตกใจ สำหรับกระแสน้ำดันขึ้น อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือการถูกทำให้พุ่งขึ้นสู่ความตื้นด้วยความเร็วที่สูงเหินไป อาจจะก่อให้เกิดโรคเบนด์หรือการบาดเจ็บจากการขยายตัวของอากาศได้ เมื่อเราเจอกระแสน้ำดันขึ้น เราต้องทำใจให้สงบ และว่ายออกไปจากกระแสน้ำนั้นด้วยเทคนิคการว่ายลงเป็นมุม 45 องศาในขณะเดียวกันก็ปล่อยลมออกจากบีซีดีด้วย ถ้าบีซีดีของเราเป็นแบบมี Dump Valve ด้านล่างก็จะทำให้การปล่อยลมนี้สะดวกขึ้น ให้ว่ายไปแบบนี้เรื่อยๆ จนกว่าจะพ้นจากกระแสน้ำ เมื่อพ้นแล้ว ควรหยุดทำ Safety Stop ในความลึกนั้นสักครู่สั้นๆ และขึ้นตามปกติต่อไป กระแสน้ำแนวตั้งนี้มีไม่มากนัก เราควรศึกษาว่าสถานที่ใดมีกระแสน้ำดังกล่าวนี้ และระมัดระวังเมื่อไปดำน้ำตามสถานที่เหล่านั้นครับ แหล่งความรู้: Dive Training magazine

อ่าน กระแสน้ำแนวตั้ง (Vertcal Current)
DAN Covid-19 Recommend

Covid-19 and Diving Operations

ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว และเตรียมตัว เพื่อความปลอดภัยในการดำน้ำ ในช่วง Covid-19 การออกมาตรการต่างๆ การระมัดระวังอุปกรณ์ดำน้ำ การอัดอากาศ

อ่าน Covid-19 and Diving Operations