Hardeep - Keng Krob - 001

เรือจมสุทธาทิพย์ เสน่ห์ที่ลึกลับ

ผมว่าเรือจมสุทธาทิพย์เป็นชื่อที่นักดำน้ำไทยส่วนมากจะรู้จัก เพราะอยู่ที่สัตหีบใกล้กับ กทม. มาก สามารถขับรถไปดำแบบเช้าเย็นกลับได้สบายๆ หรือจะค้างที่พัทยาก็ได้ ขับรถประมาณ 40 นาทีก็ถึง

อ่าน เรือจมสุทธาทิพย์ เสน่ห์ที่ลึกลับ

กระแสน้ำแนวตั้ง (Vertcal Current)

ในชั้นเรียนดำน้ำ เราเคยเรียนการจัดการกับกระแสน้ำกันทุกคน ว่าให้เริ่มดำน้ำไปในทิศทางสวนกระแสน้ำ และกลับมาในทิศทางตามกระแสน้ำ หากกระแสน้ำนั้นไม่รุนแรงเกินไป แต่ในบางกรณี เราอาจจะพบกับกระแสน้ำในรูปแบบอื่น ไม่ใช่การพัดไปในแนวนอนแบบที่เราเคยเรียนรู้กันมา เข่น กระแสน้ำแนวตั้ง หรือที่เรียกกันว่า Vertical current กระแสน้ำแนวตั้งนี้ทั่วไปมีสองแบบ คือกระแสน้ำดึงขึ้น (Upwelling) และกระแสน้ำดันลง (Downwelling) ซึ่งการพบกับกระแสน้ำแบบนี้จะดูเป็นเรื่องตื่นเต้น ท้าทายกว่าการดำน้ำทั่วไป และอาจจะไม่เหมาะกับนักดำน้ำมือใหม่ ประสบการณ์และการเรียนรู้ยังน้อยครับ การเกิดกระแสน้ำแนวตั้งนั้นอาจจะมีปัจจัยหลากหลายแตกต่างกัน โดยส่วนมากมักจะในสถานที่ที่มีการทำให้เกิดการขวางทางของกระแสน้ำ เช่นตามกำแพงใต้น้ำ ซากเรือจมที่ขวางเส้นทางน้ำ หรือจากสภาพทางภูมิศาสตร์ ที่มีพื้นที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างกันอย่างมาก เป็นต้น กระแสน้ำกดลงนั้น จะกดเราลงไปลึก ไม่สามารถขึ้นสู่ความตื้นได้ จะทำให้เกิดปัญหาการดำลึกเกินแผนที่วางไว้ หรือเกินกำหนดของตารางดำน้ำ ส่วนกระแสน้ำดันขึ้นนั่นจะยิ่งอันตรายกว่า เพราะมันจะดันตัวนักดำน้ำขึ้นมาอย่างรวดเร็วสู่ผิวน้ำ และนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับโรค DCI การที่เราจะแก้ไขสถานการณ์ก็จำเป็นต้องตัดสินใจอย่างแน่นอน รวดเร็ว หากพบกับกระแสน้ำแนวตั้ง โดยทั่วไปนักดำน้ำควรแก้ไขด้วยการถอยกลับมาและว่ายกลับไปในทิศทางเดิม หากพบว่าตนตกอยู่ในการดูดลงหรือดันขึ้นของกระแสน้ำ ให้รีบหนีออกมาให้พ้นก่อนที่แรงดูดหรือดันจะแรงเกินไป สำหรับกระแสน้ำดันลง สิ่งแรกที่ต้องทำคือทำใจให้สงบ และตอบสนองต่อสถานการณ์อย่างรวดเร็ว สิ่งที่ต้องทำคือให้ว่ายขึ้นเฉียงประมาณ 45 องศาในทิศทางออกจากกระแสน้ำ เติมลมเข้าใน BCD โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมากเกินไป เราจะสามารถจัดการกับมันได้ภายหลังจากเราแก้ไขสถานการณ์ได้แล้ว เพียงแต่ให้ถือ Inflator ไว้เตรียมที่จะปล่อยลมเมื่อเราพ้นจากเงื้อมมือของกระแสน้ำแล้ว นอกจากนั้น หากเราไม่สามารถขึ้นได้ด้วยวิธีนี้เพราะกระแสน้ำกดแรงเกินไป เราก็จะต้องคิดถึงการเกาะกับวัตถุใต้น้ำที่ทำให้เราสามารถดึงตัวขึ้นมาได้ ภายใต้กระแสน้ำกดลงนี้ โอกาสเดียวของเราคือออกมาให้พ้นจากแรงกดของมัน โชคดีที่ธรรมชาติของกระแสน้ำกดลงนี้ กระแสจะอ่อนกำลังลงเมื่อลงไปลึกมากขึ้น บางสถานการณ์เราต้องปล่อยตัวให้ไหลไปกับมันและขึ้นมาเมื่อกระแสน้ำเบาลงพอ ความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นคือนักดำน้ำไปว่ายต้านกระแสน้ำจนออกแรงเกินความสามารถของตนเอง และนำไปสู่อาการทางกายคือเหนื่อยเกินไป หรืออาการทางใจคือตกใจ สำหรับกระแสน้ำดันขึ้น อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือการถูกทำให้พุ่งขึ้นสู่ความตื้นด้วยความเร็วที่สูงเหินไป อาจจะก่อให้เกิดโรคเบนด์หรือการบาดเจ็บจากการขยายตัวของอากาศได้ เมื่อเราเจอกระแสน้ำดันขึ้น เราต้องทำใจให้สงบ และว่ายออกไปจากกระแสน้ำนั้นด้วยเทคนิคการว่ายลงเป็นมุม 45 องศาในขณะเดียวกันก็ปล่อยลมออกจากบีซีดีด้วย ถ้าบีซีดีของเราเป็นแบบมี Dump Valve ด้านล่างก็จะทำให้การปล่อยลมนี้สะดวกขึ้น ให้ว่ายไปแบบนี้เรื่อยๆ จนกว่าจะพ้นจากกระแสน้ำ เมื่อพ้นแล้ว ควรหยุดทำ Safety Stop ในความลึกนั้นสักครู่สั้นๆ และขึ้นตามปกติต่อไป กระแสน้ำแนวตั้งนี้มีไม่มากนัก เราควรศึกษาว่าสถานที่ใดมีกระแสน้ำดังกล่าวนี้ และระมัดระวังเมื่อไปดำน้ำตามสถานที่เหล่านั้นครับ แหล่งความรู้: Dive Training magazine

อ่าน กระแสน้ำแนวตั้ง (Vertcal Current)

เดือนนี้…ไปดำน้ำที่ไหนได้บ้าง

เดือนนี้ จะไปเที่ยวทะเลที่ไหนได้บ้าง จำเป็นต้องดูจากลมมรสุมประจำฤดู ซึ่งถ้าหากเราจำได้ ก็จะช่วยให้เราคิดได้ง่ายเลย ว่าตอนนี้เกาะไหนจะโดนลมมรสุมบ้าง แต่ส่วนใหญ่นานๆ จะเที่ยวซักทีนึง ถึงตอนนั้นก็คงลืมกันไปแล้วแน่ๆ ผมเลยทำสรุปรายเดือนไว้ให้ ด้วยรูปด้านล่างนี้ครับ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลนี้ เป็นการคาดการณ์ตามฤดูปกติเท่านั้น บางปีอากาศแปรปรวนก็ยากจะคาดเดา รวมถึงอากาศช่วงต้นเดือนและปลายเดือน ในช่วงรอยต่อฤดู สภาพอากาศก็ย่อมแตกต่างกันด้วย หากใครอยากศึกษาให้เข้าใจถึงที่มาที่ไปให้มากขึ้น สามารถอ่านเพิ่มเติมจากเนื้อหาด้านล่างได้นะครับ   เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเดือนนี้จะมีสภาพอากาศเป็นอย่างไร หากคุณได้ฟังพยากรณ์อากาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยา และได้เคยอ่าน Tips & Tricks หรือมีความเข้าใจ เรื่องลมมรสุม พายุหมุน และร่องความกดอากาศต่ำ จะทำให้คุณสามารถคาดการณ์ สภาพอากาศของแต่ละพื้นที่ของไทย ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น และยังช่วยวางแผนการเดินทาง และการเตรียมตัวท่องเที่ยว ได้เป็นอย่างดี แต่เพื่อให้ง่ายขึ้น เราจึงได้สรุปสภาพอากาศในแต่ละเดือน และสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเล ให้คุณสามารถเลือกไปได้ในเดือนต่างๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ก่อนอื่นต้องอธิบายถึงตัวย่อกันซักนิดครับ ลมมรสุม ตอ./น. หมายถึง ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลมที่พัดมาจากประเทศจีน พาอากาศแห้งและเย็น ลงมาปกคลุมตอนเหนือ ถึงตอนกลาง ของประเทศไทย แล้วหอบเอาความชื้นในอ่าวไทย ไปตกในแถบภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ลมมรสุม ตต./ต. หมายถึง ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เป็นลมที่พัดจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ประเทศไทย โดยหอบเอาความชื้นจากทะเล มาปะทะแนวเขา เกิดเป็นฝนตกชุกในแถบภาคใต้ฝั่งอันดามัน เดือนมกราคม เดือนนี้มีลมมรสุม ตอ./น. พัดจากประเทศจีนลงมา ก่อให้เกิดความหนาวเย็นในพื้นที่ตอนบนของไทย ส่วนการท่องเที่ยวทางทะเล ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ สำหรับทะเลอันดามัน ก็ไม่มีลมมรสุม ตต./ต. ฝั่งทะเลค่อนข้างสงบ สถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับเดือนมกราคม คือ อันดามันเหนือ (หมู่เกาะสิมิลัน เกาะบอน เกาะตาชัย หมู่เกาะสุรินทร์ กองหินริเชลิว) อันดามันใต้ (ภูเก็ต พีพี ทะเลกระบี่ ทะเลตรัง ลงไปถึงหมู่เกาะตะรุเตา) สำหรับฝั่งอ่าวไทย ถือเป็นช่วงที่ดีมาก สำหรับการดำน้ำที่ พัทยา สัตหีบ แสมสาร เกาะช้าง ส่วนเกาะเต่า และทะเลชุมพร ก็สามารถเริ่มไปได้ตั้งแต่ช่วงนี้ เดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุม ตอ./น. ที่พัดมาจากประเทศจีนเริ่มน้อยลง เป็นเดือนที่สามารถท่องเที่ยวทางทะเลได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย ทั้งฝั่งอ่าวไทย อันดามันเหนือ และอันดามันใต้ สถานที่ที่เหมาะสมที่สุด สำหรับฝั่ง อันดามัน คือ สิมิลัน – สุรินทร์ หินแดง หินม่วง พีพี ทะเลกระบี่…

อ่าน เดือนนี้…ไปดำน้ำที่ไหนได้บ้าง

เรื่องของ “พะยูน” ตำนานนางเงือกแห่งท้องทะเล

หากใครเคยไปเที่ยวที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี อาจแปลกใจไม่น้อยที่ได้เจอกับรูปปั้นพะยูนตั้งโชว์ไว้อย่างเงียบเหงาในมุมหนึ่งภายในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนของศูนย์ศึกษาฯ เนื่องจากครั้งหนึ่งในอดีต บริเวณนี้เคยเป็นแหล่งหญ้าทะเลอันอุดมสมบูรณ์และเป็นที่อยู่อาศัยชั้นดีของพะยูนมากมาย ดังข้อมูลการสำรวจย้อนหลังไป 60 ปีก่อนระบุว่ามีรายงานการพบเห็นพะยูนมากกว่า 40 ตัวที่อ่าวคุ้งกระเบน และเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว ยังเคยพบพะยูนฝูงใหญ่กว่า 20 ตัวหากินในบริเวณปากน้ำประแส จ.ระยอง อีกด้วย ดังจะเห็นได้จากการตั้งชื่อ “หาดพยูน” ไว้เป็นที่รำลึกถึงสถานที่อันเป็นที่กล่าวขานกันในอดีตว่าเคยมีพะยูนอาศัยจำนวนไม่น้อยในจ.ระยอง แต่ในเวลาต่อมา สภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเลเริ่มถูกคุกคามด้วยกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นของมนุษย์อย่างรวดเร็ว ทำให้จำนวนพะยูนเริ่มลดน้อยถอยลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมนุษย์มีความเชื่อผิดๆในการนำเขี้ยวพะยูนไปทำเครื่องรางของขลัง นำกระดูกไปยาโป๊ว นำน้ำตาพะยูนไปทำยาเสน่ห์ ทำให้มีการลักลอบล่าพะยูนเป็นจำนวนมาก แม้ว่าพะยูนจะถูกเลือกให้เป็นสัตว์ป่าสงวนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ก็ตาม แต่พวกเค้าก็ยังถูกไล่ล่าจนเกือบสูญพันธุ์ไปจากทะเลไทย โดยเฉพาะทะเลในฟากฝั่งตะวันออก ที่มีบันทึกว่าพะยูนได้สูญหายไปจากน่านน้ำย่านนี้มาเป็นเวลานานปลายปีแล้ว อนุสรณ์ “หมูดุด เจ้าแห่งคุ้งกระเบน” ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี จนเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 63 ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในช่วงสถานการณ์ปิดเมืองในวิกฤติการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 มีผู้พบเห็นพะยูนแม่ลูก รวม 2 ตัว เข้ามาหากินบริเวณหน้าหาดสวนสน เกาะเสม็ด ใกล้เขื่อนกันคลื่นท่าเรือบ้านเพ จ.ระยอง จึงนับได้ว่าเป็นข่าวดีให้คนไทยได้ชื่นหัวใจในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าเช่นนี้ บ้างก็กล่าวว่า อาจเป็นเพราะการหยุด Lockdown ทำให้กิจกรรมทางทะเลของมนุษย์ลดน้อยลง พะยูนจึงกล้าเข้ามาเล็มหาหญ้าทะเลกินใกล้พื้นที่ชายฝั่งมากขึ้น อย่างไรก็ตามในโอกาสดีเช่นนี้แอดมินจึงขอรวบรวมข้อมูลของพะยูนมานำเสนอเพื่อให้เพื่อนๆได้รู้จักพวกเค้ากันมากขึ้นนะคะ ภาพพะยูนจาก FB : ทิ้ง บ้านเพ เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 63 ที่ชายหาดสวนสน จ.ระยอง พะยูน หรือหมูน้ำ หรือวัวน้ำ (Dugong or Sea Cow) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในทะเล ตัวอ้วนกลมเทอะทะคล้ายแมวน้ำ ผิวหนังหนามีสีเทาอมชมพู มีขนสั้นๆทั่วลำตัวและมีขนหนาบริเวณปาก ออกลูกเป็นตัวครั้งละ 1-2 ตัว กินพืชทะเลเป็นอาหาร หากินเป็นฝูงตามแนวหญ้าทะเลชายฝั่งหรืออาจพบเจอหากินแบบเดี่ยวก็ได้เช่นกัน มีครีบหน้า 2 ครีบที่พัฒนามาจากขาหน้า ไม่มีครีบหลัง ตัวเมียมีเต้านม 2 เต้าถัดลงมาจากครีบหน้า ตัวผู้เมื่อโตเต็มวัยจะมีเขี้ยวงอกพ้นริมฝีปากออกมา ตาและหูมีขนาดเล็ก ไม่มีใบหู มีหางแฉกคล้ายโลมา (ญาติสนิทในสกุลใกล้ชิดกันคือ Manatee จะมีหางกลม) พะยูนวัยเด็กจะกินนมแม่จนถึง 8 เดือน จากนั้นแม่พะยูนจะยังคงดูแลลูกจนถึงอายุ 2 ปีจึงจะแยกจากแม่ได้ พะยูนมีขนาดยาวสุดได้ถึง 3 เมตรและหนักได้ถึง 400 กิโลกรัม มีอายุยืนยาวถึง 70 ปี พะยูนไม่ใช่ปลา เราจึงไม่เรียกพวกเค้าว่าปลาพะยูน แต่จะเรียกว่า…

อ่าน เรื่องของ “พะยูน” ตำนานนางเงือกแห่งท้องทะเล
Banner for Article 'Netflix Documentaries Screen on YouTube'

ติดแหง็กอยู่กับบ้าน ดูสารคดีทางทะเลให้ตัวเปียกกันไปเลย Netflix เปิดสารคดีให้ดูฟรีทาง YouTube

Netflix เปิดภาพยนตร์สารคดี 34 ตอน มีเรื่องของท้องทะเลถึง 3 ตอน และทะเลน้ำแข็งที่ขั้วโลกอีก 1 ตอน พร้อมซับไตเติ้ลภาษาไทยแบบ original ให้ดูฟรีทาง YouTube

อ่าน ติดแหง็กอยู่กับบ้าน ดูสารคดีทางทะเลให้ตัวเปียกกันไปเลย Netflix เปิดสารคดีให้ดูฟรีทาง YouTube

อยู่บ้าน ลดขยะ ลดภาระให้ทะเล ♻️

ในช่วงเวลาที่ทุกคนต้องทำงานและกักตัวอยู่ที่บ้านเพื่อช่วยชาติหยุดการแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่า หลายๆคนก็สรรหากิจกรรมมาทำแก้เบื่อ บ้างก็ปลูกต้นไม้ บ้างก็เล่น TikTok บ้างก็ทำอาหาร แต่สำหรับคนที่ไม่มีทักษะเรื่องงานครัวอย่างแอดมินเองก็มักจะเรียกใช้บริการ Food Delivery วนๆไป นานวันเข้าก็เริ่มรู้สึกว่านอกจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นแล้ว ขยะที่บ้านเราก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษรายงานว่า ในปี 2561 ประเทศไทยมีปริมาณขยะสูงถึง 28 ล้านตันปี ในขณะที่ความสามารถในการจัดเก็บขยะทั้งหมดรองรับได้เพียง 70% เท่านั้น ดังนั้นจึงมีขยะตกค้างอยู่ในที่ต่างๆจำนวนมาก โดยเฉพาะในท่อระบายน้ำ ซึ่งปลายทางของท่อระบายน้ำเหล่านี้ก็คือทะเลนั่นเอง จากข้อมูลของสำนักการระบายน้ำกทม.ระบุว่า เพียงแค่หน้าสถานีอุโมงค์ระบายน้ำพระราม 9 จุดเดียว ก็สามารถเก็บขยะที่มาจากท่อระบายน้ำได้มากถึงวันละ 1 ตัน โดยเฉพาะในสถานการณ์วิกฤติ COVID-19 ระบาดเช่นนี้ พบว่ามีปริมาณขยะจากบรรจุภัณฑ์ในกระบวนการ Delivery เพิ่มสูงกว่าในภาวะปกติถึง 15% เลยทีเดียว (ข้อมูลระหว่าง ม.ค.-มี.ค.63) นี่ยังไม่รวมถึงขยะติดเชื้อที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ประกอบกับข้อมูลจากเพจ Thon Thamrongnawasawat  ของอาจารย์ธรณ์ที่ให้ข้อมูลว่า “ขยะทะเล 80% มาจากแผ่นดินผ่านแม่น้ำลำคลอง ไม่ได้เกิดจากกิจกรรมในทะเล” ยิ่งทำให้อดคิดไม่ได้ว่ากล่องข้าวในมือที่เราสร้างขึ้นทุกวันจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของขยะทะเลในวันพรุ่งนี้หรือไม่ วันนี้แอดมินจึงอยากชวนทุกคนมาทำกิจกรรมใหม่ในช่วงกักตัวด้วยกัน นั่นคือ “การลดและคัดแยกขยะ” เพื่อที่อย่างน้อยเราได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดขยะในทะเล ซึ่งใครๆก็สามารถทำได้ง่ายๆ หรือบางทีอาจจะสร้างรายได้จากขยะอีกด้วยนะ เลือกใช้หน้ากากอนามัยผ้า ที่สามารถซักใช้ซ้ำได้แทนการใช้หน้ากากแบบใช้แล้วทิ้ง นอกจากจะช่วยลดขยะแล้ว ยังลดค่าใช้จ่ายได้ด้วย หากเป็นไปได้ แจ้งผู้ให้บริการร้านอาหารเดลิเวอรี่ว่าไม่รับ ช้อน, ส้อม, หลอดพลาสติก หรือใช้ภาชนะส่วนตัวในการซื้ออาหารมาทานที่บ้าน กล่องเครื่องดื่มยูเอชที จากผลิตภัณฑ์จำพวก นม, นมเปรี้ยว, นมถั่วเหลือง, น้ำผลไม้, ชากาแฟ หรือเครื่องดื่มอื่นๆ สามารถนำไปบริจาคให้กับ ”โครงการหลังคาเขียว” เพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นแผ่นหลังคาให้มูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภา)ยามยาก โดยมีบริการจุดรับบริจาคที่ บิ๊กซี (ตรวจสอบสาขาที่เข้าร่วมก่อนนะคะ) ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โครงการหลังคาเขียว แยกถุงหรือฟิล์มพลาสติก นำมารีไซเคิลกับ “โครงการวน” โดยทุกๆ 1 กิโลกรัมจะมีมูลค่า 5 บาท เพื่อนำไปต่อยอดบริจาคให้กับมูลนิธิด้านสิ่งแวดล้อม พลาสติกชนิดที่โครงการรับบริจาคหาได้รอบตัวเลยค่ะ ส่วนใหญ่เป็นพลาสติกประเภทที่ร้านรับซื้อของเก่าไม่รับทั้งนั้น สังเกตุง่ายๆจากพลาสติกชนิดที่ยืดได้ เช่น ถุงหิ้ว, พลาสติก wrap สินค้าแบบแพค, ถุงน้ำตาลหรือข้าวสาร, ถุงซิป, ห่อทิชชู่หรือผ้าอ้อมเด็ก, bubble กันกระแทก อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในเพจ โครงการวนได้เลยค่ะ เศษอาหาร ผักผลไม้ เทส่วนที่เป็นของเหลวทิ้งไป ส่วนที่เป็นของแข็งเอามาทำปุ๋ยหมักปลูกผัก สมัยนี้เค้ามีถังหมักปุ๋ยจากครัวเรือนขายแล้วนะ มีหลายขนาดให้เลือกใช้ตามจำนวนคนในบ้าน วิธีใช้ก็ง่ายมากๆเลย เหมาะสำหรับสายเขียวที่ชอบปลูกผัก เพราะเราจะได้ปุ๋ยหมักไว้ใช้ด้วย ใครสนใจลองศึกษาเพิ่มเติมในเพจ ผัก Done Thailand ได้เลย…

อ่าน อยู่บ้าน ลดขยะ ลดภาระให้ทะเล ♻️

11 เหตุผล… ที่บอกว่าปลิงทะเลเป็นสัตว์ที่โคตรเจ๋ง

ปลิงทะเล สัตว์ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา อย่าดูเพียงแค่หน้าตา เพราะยังมีเรื่องน่าทึ่งมากมายในตัวเค้า

อ่าน 11 เหตุผล… ที่บอกว่าปลิงทะเลเป็นสัตว์ที่โคตรเจ๋ง

7 สกิลที่ต้องร้องโอ้โห!… ของเจ้าหมึก Octopus

ทักษะอันน่าเหลือเชื่อของหมึกสาย (หรือหมึกยักษ์) ไม่ว่าจะเป็นการพรางตัว หลบหนี ต่อสู้ ไปจนถึงยียวนกวนประสาท

อ่าน 7 สกิลที่ต้องร้องโอ้โห!… ของเจ้าหมึก Octopus

ยาพ่นจมูกช่วยลดอาการเจ็บหูระหว่างดำน้ำได้อย่างไร?

ยาพ่นจมูกทำงานอย่างไร เพื่อนๆ scuba มาถามว่า “มันช่วยเคลีย์หูได้ไหม??” … เราขอมาขยายความนิ้ดนุง

อ่าน ยาพ่นจมูกช่วยลดอาการเจ็บหูระหว่างดำน้ำได้อย่างไร?

ไอลิเอดิน (iliadin) ดีจริงหรือ ดีหรือไม่ ใช้ยังไง แล้วมีข้อเสียอย่างไร

ไอลิเอดิน (iliadin) ดีจริงหรือ ดีหรือไม่ ใช้ยังไง แล้วมีข้อเสียอย่างไร หาคำตอบได้ในโพสนี้

อ่าน ไอลิเอดิน (iliadin) ดีจริงหรือ ดีหรือไม่ ใช้ยังไง แล้วมีข้อเสียอย่างไร