Freediving - Keng Krob - 001

หลังดำสกูบ้าแล้วอย่าดำฟรีไดฟ์

หลังจากเรียนดำ Scuba ควรหลีกเลี่ยงการดำ Freedive ลงไปลึกๆ โดยเฉพาะหลังจากดำ Scuba เพราะเราอาจมีก๊าซไนโตรเจนค้างอยู่ในร่างกาย ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการดำ Freedive และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้น การดำ Skindive อาจเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า

อ่าน หลังดำสกูบ้าแล้วอย่าดำฟรีไดฟ์
Nudi - Keng Krob - 001

ข้อคิดจากเม็ดทรายบนตัวนูดี้

วันก่อนผมไปดำน้ำกับเพื่อนๆ เมื่อไดฟ์หลีด ชี้ให้ดูนูดี้ ด้วยความที่ตาผมไม่ค่อยดี ผมก็ให้เพื่อนๆ เข้าไปดูก่อน

อ่าน ข้อคิดจากเม็ดทรายบนตัวนูดี้
ภาพนักดำน้ำกำลังตัดเชือกลอบที่มาพันกับสายทุ่น

วันที่เจอเชือกลอบติดสายทุ่น

โดยปกติก่อนลงน้ำ เราก็จะมี mindset ไว้ว่า จะเผชิญหน้ากับความลึกด้วยจิตใจที่สงบ ผ่อนคลาย มีการฝึก psychological skill บางอย่างที่ประยุกต์มาจากโลกของกีฬามาใช้ก่อนลงเสมอ และมันก็ใช้ได้จริงเวลามีเหตุขึ้นมา

อ่าน วันที่เจอเชือกลอบติดสายทุ่น

การออกกำลังกายก่อน ระหว่าง และภายหลังการดำน้ำ

จากการศึกษาวิจัยในระยะหลังได้พบว่าความสัมพันธฺ์ระหว่างการออกกำลังกายกับการดำน้ำมีแนวทางอย่างไรบ้าง ซึ่งเรื่องการออกกำลังกายกับโอกาสเกิดโรคจาการลดความกดนั้นยังเป็นเรื่องที่ไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ไม่ใช่เพียงแต่เรื่องระยะเวลาระหว่างการออกกำลังกายและการดำน้ำเท่านั้น แต่ประเภท และความเข้มข้นของการออกกำลังกายก็ยังเป็นเรื่องที่ยังไม่แน่นอน คำแนะนำในช่วงก่อนหน้านี้ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จากหลักฐานทั่วไปและจากการคาดหมายจากวิชาการด้านชีวกลศาสตร์และชีวเคมี นอกจากนั้น เนื่องจากโรคจากการลดความกดนั้นเป็นเรื่องคาดเดาหรือทำนายได้ยากภายใต้การดำน้ำแบบระมัดระวังของการดำน้ำแบบนันทนาการ การจะกล่าวถึงอิทธิพลของการออกกำลังกายเรื่องเดียวจึงเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินได้ การออกกำลังกายนั้นมันมีผลทำให้เกิดการเพิ่มของอาการ หรือว่ามันเป็นการลดลงของอาการ เราก็ยังไม่รู้แน่ชัด แต่อย่างไรก็ดี ยังมีหลักฐานเกิดขึ้นมาซึ่งอาจจะทำให้เกิดการแนะแนวทางได้ ไม่นานมานี้ นักวิจัยได้ค้นพบข้อเท็จจริงบางอย่างเกี่ยวกับการออกกำลังกายและการดำน้ำ ซึ่งผลการวิจัยนี้น่าจะช่วยนักดำน้ำแบบนันทนาการวางแผนเวลาระหว่างการดำน้ำละการออกกำลังกายของตนได้อย่างมั่นใจ เมื่อพูดถึงการออกกำลังกาย ก็มีนักดำน้ำสองกลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือพวกคลั่งไคล้ความฟิตที่ต้องการออกกำลังกายทุกเวลาและโอกาสที่ทำได้ ความสนใจของนักดำน้ำกลุ่มนี้คือการลดการออกกำลังหรืออย่างน้อยไม่ออกกำลังมากเกินจนเกิดโรคได้ อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ต้องการรักษาสุขภาพหรือรวมเอากิจกรรมดำน้ำเข้ากับกิจกรรมทางกายอื่นๆ กลุ่มนี้จะต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของการเกิดโรคจากการลดความกด คำแนะนำต่อไปนี้จึงมุ่งตอบโจทย์ของนักดำน้ำสองกลุ่มนี้ เรื่องทั่วไป: สมรรถภาพทางกายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักดำน้ำแบบนันทนาการ ทำให้เกิดความปลอดภัยและความสนุกสนาของกิจกรรมในเวลาเดียวกันก็จะช่วยป้องกันโรคจากการลดความกด ประเภทการออกกำลัง: การออกกำลังแบบแอโรบิกความหนักปานกลาวงที่ไม่เกี่ยวกับการรับแรงรับน้ำหนักของกล้ามเนื้อและข้อต่อเป็นวิธีที่เหมาะสมท การเคลื่อนไหวรวดเร็ว (รอบขาสูงๆ) ของระยางค์ควรหลีกเลี่ยง ออกกำลังก่อนและหลังการดำน้ำ: ควรหลีกเลี่ยงเป็นเวลาสี่ถึงหกชั่วโมงก่อนและหลังการดำน้ำ ก่อนหน้านี้ มันถูกกำหนดไว้ว่าเป็น 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ การออกกำลังกายระหว่างการดำน้ำ: เป้าหมายคือการลดการสะสมแก๊สและทำให้การคลายแก๊สดีที่สุดในสภาวะที่จะมีโอกาสเกิดฟองอากาศน้อยที่สุด การออกแรงให้น้อยที่สุดจึงควรทำระหว่างช่วงการสะสมแก๊ส (ขณะที่ดำลงและช่วงเวลาใต้น้ำ) การออกแรงน้อยๆ ที่ไม่รุนแรงมากเกินไป (ขยับแขน ขา ว่ายน้ำเบาๆ) เป็นเรื่องที่ควรจะทำในช่วงคลายแก๊ส (ระหว่างขึ้นและการทำเซฟตี้สตอป) อย่างไรก็ดี ต้องระวังเมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำแล้วว่าจะต้องหลีกเลี่ยงการยกของหนักขึ้นบันได หลีกเลี่ยงการรับน้ำหนักที่แขนขาและข้อต่อ ควรถอดอุปกรณ์หนักๆ ถ้าทำได้ เช่นการส่งอุปกรณ์ให้กับคนบนเรือก่อนที่จะขึ้นบันได จากนั้นให้ผ่อนคลายให้นานที่สุดก่อนที่จะเริ่มทำงานอื่นๆ เช่นถอด เปลี่ยน อุปกรณ์ ยกของ หรือทำความสะอาด การออกกำลังกายระหว่างดำน้ำ: ให้ทำตัวให้อบอุ่นและรักษากิจกรรมทางกายเบาๆ ระหว่างและหลังการดำน้ำ การทำแบบนี้จะช่วยให้การคลายแก๊สออกได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น การนอนหลับทันทีหลังจากการดำน้ำไม่ใช่เรื่องที่ควรทำเพราะการไหลเวียนโลหิตอาจจะถูกขวางกั้นได้และหากมีอาการจากโรคลดความกดก็จะไม่รู้สึกตัว นอกจากนั้นยังมีผลการศึกษาของงานวิจัยอีกหลายงานที่ให้คำแรนะนำ การศึกษาในสัตว์ที่นอร์เวย์แสดงว่าหนูที่ออกกำลังกาย 24 ชม. ก่อนการดำน้ำมีฟองอากาศในเส้นเลือดดำน้อยกว่า ซึ่งถึงแม้ฟองอากาศเหล่านี้ไม่ได้เป็นเหตุโดยตรงของโรคลดความกด แต่แสดงให้เห็นว่าร่างกายมีความเครียดจากการลดความกดน้อยกว่าและเป็นปัจจัยที่นำมาใช้เปรียบเทียบระหว่างรูปแบบการดำน้ำที่ระมัดระวังหรือไม่ได้ นักวิจัยกลุ่มเดียวกันได้พบเพิ่มเติมจากงานวิจัยต่อเนื่อง ว่าผลสามารถใช้กับมนุษย์ได้ ประโยชน์ของการออกกำลังกายแบบหนักสลับพักสั้นๆ ด้วยการวิ่งบนลู่กลเป็นเวลา 40 นาที โดยทำ 24 ชั่วโมงก่อนการดำน้ำ 18 เมตร 80 นาทีในห้องปรับความดัน ผลออกมาว่าทำให้เกิดการลดฟองอากาศในหัวใจ จากนั้นมา การแข่งขันกันศึกษาว่าเวลาที่เหมาะสมของการออกกำลังกายก่อนการดำน้ำควรจะเป็นเท่าไรก็เริ่มขึ้น การศึกษาของนักดำน้ำทหารเรืออเมริกันทดสอบการออกกำลังกายเป็นเวลา 45 นาที สองชั่วโมงก่อนการดำน้ำ ใช้รูปแบบการออกกำลังกายต่างจากเดิมนิดหน่อย และดำน้ำลึก 30 เมตรเป็นเวลา 30 นาที ผลจองงานวิจัยนี้ยังพบว่ามีการลดระดับของฟองอากาศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นักวิจัยสรุปว่าการออกกำลังกายใกล้การดำน้ำเพียง 2 ชั่วโมงอาจจะคาดหมายว่าจะลดจำนวนของฟองอากาศ และลดโอกาศที่จะเกิดโรคจากการลดความกดได้ จากนั้นมีนักวิจัยของฝรั่งเศสทำการทดลองที่เข้มข้นกว่านั้นอีกด้วยการออกกำลังหนึ่งชั่วโมงก่อนการดำน้ำและสังเกตปริมาณฟองอากาศขณะที่ขึ้นมาจากน้ำ และเช่นเคย นักวิจัยพบว่ามีการลดของฟองอากาศทั้งระดับและปริมาณ ในปี 2006 นักดำน้ำกลุ่มหนึ่งทดลองออกกำลังกายเป็นเวลา 10 นาทีหลังจากการขึ้นมาจากน้ำที่ความลึก 30 เมตรเป็นเวลา 30 นาที หลังจากการใช้เครื่อง Doppler…

อ่าน การออกกำลังกายก่อน ระหว่าง และภายหลังการดำน้ำ

การดำน้ำด้วยอุปกรณ์ Sidemount

การดำน้ำแบบนี้ จะใช้ถังอากาศไปอยู่ด้านข้างของลำตัวนักดำน้ำ แตกต่างกับการใช้อุปกรณ์ปกติ ที่ถังอากาศจะอยู่บนหลังของนักดำน้ำ วิธีการนี้มีใช้กันมานานแล้วในหมู่นักดำน้ำในถ้ำหรือในเรือจม ที่จำเป็นจะต้องเข้าไปในที่คับแคบ ถังดำน้ำบนหลังของนักดำน้ำอาจจะเป็นอุปสรรคในการมุด ลอด ช่องต่างๆ ได้ ในระยะหลัง การใช้อุปกรณ์ sidemount ได้เกิดเป็นที่นิยมในหมู่นักดำน้ำทั่วไปที่ไม่ได้เป็นนักดำน้ำในถ้ำหรือในเรือจม เนื่องจากระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดำน้ำแบบนี้ได้เสนอทางเลือกให้ทำอะไรได้มากกว่า และที่สำคัญคือทำให้การลู่น้ำ (stremeline) ของนักดำน้ำดีกว่ามาก นักดำน้ำที่มีข้อจำกัด ไม่สามารถแบกถังอากาศหนักๆ ก่อนจะลงน้ำได้ สามารถใช้อุปกรณ์แบบนี้ลงไปใส่ถังอากาศในน้ำได้อย่างง่ายดาย การใช้อุปกรณ์แบบนี้ทำให้ดำน้ำได้ด้วยถังอากาศใบเดียว หรือหลายๆ ใบ ตามความจำเป็นได้โดยง่าย และการลู่น้ำที่มากกว่าจากการใช้อุปกรณ์แบบนี้ ทำให้นักดำน้ำรู้สึกอิสระ คล่องตัว เคลื่อนไหวไปในน้ำได้อย่างลื่นไหล โดยนักดำน้ำทุกคนที่ทดลองเรียนและดำน้ำด้วยอุปกรณ์ sidemount จะพูดกันเสมอว่ามันทำให้รู้สึกดีและสนุกกับการดำน้ำมากกว่า เมื่อเราไปถามนักดำน้ำ sidemount ว่าอะไรที่พวกเขาชอบมากที่สุดกับการดำน้ำแบบนี้ เรามักจะได้คำตอบคล้ายคลึงกันว่า ‘Freedom” เพราะการดำน้ำแบบ sidemount นี้จะคล้ายกับ Freediving อย่างมาก นั่นคือนักดำน้ำจะรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับผืนน้ำ สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระในทุกทิศทาง ความรู้สึกอิสระภายใต้ภาวะไร้น้ำหนักนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การดำน้ำแบบ sidemount นี้เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในยุคหลังนี้ คุณประโยชน์หลักๆ ของการดำน้ำแบบ sidemount มีดังต่อไปนี้ การลู่น้ำ การทำให้ตัวลู่น้ำนั้นเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการดำน้ำ เพราะถ้าเราต้องต้านกระแสน้ำตลอดเวลา นอกจากจะใช้อากาศเปลืองกว่าแล้ว สิ่งสำคัญมากกว่านั้นคืออาจจะทำให้เกิดอาการเหนื่อย อาการเครียด ซึ่งจำนำไปสู่ปัญหาใหญ่ๆ อีกมากมายขึ้นมากได้ อุปกรณ์ sidemount ที่ติดตั้งข้างลำตัวนั้นจะช่วยลดพื้นที่ในการต้านกระแสน้ำ ผลก็คือการเคลื่อนไหวจะเบา ง่าย ลื่นไหลมากขึ้น นักดำน้ำก็จะผ่อนคลายและสบายมากขึ้นนั่นเอง การ Trim & Balance  การ Trim หมายถึงทิศทางของศีรษะและเท้า in trim คือการที่ระดับของศีรษะและเท้าอยู่ในระนาบเดียวกัน head down คือศีรษะต่ำกว่าเท้า และ feet down คือเท้าต่ำกว่าศีรษะ การที่นักดำน้ำสามารถ in trim เป็นเรื่องสำคัญในการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพใต้น้ำ ถึงแม้ว่านักดำน้ำที่ใช้อุปกรณ์ธรรมดาจะสามารถทำตัวให้ in trim ได้เช่นกัน แต่การ in trim นี้เรียกได้ว่าเป็นสัญญลักษณ์ของนักดำน้ำแบบ sidemount ที่ดี เนื่องจากในหลักสูตรการดำน้ำแบบนี้ การเรียนการสอนจะเน้นทักษะมากขึ้นกว่าการดำน้ำปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมรูปทรง ความสมดุลย์ และความมั่นคงในน้ำ (ในขณะเดียวกัน ตัวอุปกรณ์ที่มีถังอากาศอยู่ด้านข้างลำตัวนี้ จะช่วยส่งเสริมให้นักดำน้ำ in trim ได้ง่ายขึ้นอย่างมากอีกด้วย) อุปกรณ์ข้างลำตัวนี้จะช่วยให้นักดำน้ำมี balance ที่ดีกว่าด้วย เนื่องจากถังจะอยู่ต่ำและอยู่ข้างลำตัว การพลิกไปทางซ้ายหรือทางขวาก็จะยากกว่าไม่ว่าจะใช้ถังเดียวหรือถังคู่สองข้างก็ตาม (ถึงแม้ใช้ถังด้านข้างลำตัวทั้งสองข้างจะดีกว่า) อุปกรณ์ sidemount นี้จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้นักดำน้ำนิ่ง มั่นคง และลื่นไหลเวลาอยู่ใต้น้ำ…

อ่าน การดำน้ำด้วยอุปกรณ์ Sidemount

การลดความเสี่ยงต่อ DCS ด้วยการดื่มน้ำ

ถึงแม้กิจกรรมการดำน้ำจะนับได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ปลอดภัยมากที่สุดกิจกรรมหนึ่ง แต่ทุกกิจกรรมต่างก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน หลายคนคงเคยได้ยินว่า การดื่มน้ำเยอะ ๆ จะช่วยทำให้การดำน้ำปลอดภัยขึ้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องและสำคัญมาก ที่นักดำน้ำทุกคนควรระวังและป้องกันโอกาสที่เกิดจากการเจ็บป่วยจากการดำน้ำให้ได้มากที่สุด โรคจากการดำน้ำที่หลายคนกังวลคือ โรคจากการลดความกด (Decompression sickness, DCS) หรือน้ำหนีบ หรือ bend หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของ DCS ที่อยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุดและแก้ไขง่ายที่สุดคือ Dehydration หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ภาวะการขาดน้ำ การป้องกันทำได้หลายอย่าง โดยสิ่งที่สำคัญและแก้ไขง่ายที่สุดคือการ “ดื่มน้ำ”​ คำถามคือ ทำไมเราถึง “ขาดน้ำ” ตอนดำน้ำ มีหลายปัจจัย แต่อธิบายปัจจัยหลักง่าย ๆ คือ ระหว่างการดำน้ำ 40-60 นาที เราไม่สามารถดื่มน้ำได้ และหากมีการหายใจเอาละอองน้ำทะเลหรือกลืนน้ำทะเลเข้าไปเล็กน้อย จะทำให้ร่างกายเราขาดน้ำมากขึ้นเนื่องจากน้ำทะเลมีความเข้มข้นสูงกว่าเนื้อเยื่อของร่างกายเรา การออกกำลังกายระหว่างการดำน้ำ เช่น การว่ายน้ำ จะทำให้เพิ่มการสูญเสีย เหงื่อและเสียความร้อน โดยจะมีน้ำบางส่วนออกจากร่างกายเราเพื่อดึงความร้อนออกไป ขณะเราดำน้ำ มนุษย์จะมีปฏิกิริยาตอบสนองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่เรียกว่า ​Mammalian Diving Reflex ซึ่งจะมีหลายส่วน เช่น หัวใจเต้นช้าลง เส้นเลือดส่วนปลายหดตัว เลือดเพิ่มปริมาณการเลี้ยงอวัยวะสำคัญ และม้ามบีบตัว ซึ่งมีส่วนทำให้ไตเราเข้าใจว่าปริมาณเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น (จริงแล้วลดลง) จะทำให้มีการส่งสัญญาณประสาทให้กรองเลือดออกมาเป็นปัสสาวะมากขึ้น จึงไม่แปลกที่เราปัสสาวะเพิ่มขึ้นเวลาว่ายน้ำ หรือดำน้ำ โดยเฉพาะน้ำเย็นจะมีการกระตุ้น reflex นี้มากขึ้น โดยการกระตุ้นมากที่สุดจะเกิดเมื่อน้ำที่เย็นสัมผัสบริเวณหน้าซึ่งจะกระตุ้นเส้นประสาทที่เรียกว่า Trigeminal nerve ซึ่งจะทำให้ reflex นี้ชัดเจนขึ้นมากในน้ำที่เย็นขึ้น และมีการสัมผัสน้ำโดยตรงเช่น ไม่ใส่ wetsuit หรือ ใส่ wetsuit ที่บาง จากที่เราทราบกันว่า silent bubble เกิดขึ้นตลอดในทุก dive ของการดำน้ำ จะมากน้อยขึ้นกับหลายปัจจัย การทำให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เป็นสิ่งสำคัญที่ป้องกันไม่ให้เลือดอยู่ในสภาวะข้นซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด DCS ที่อวัยวะต่าง ๆ สรุป การป้องกันการเกิด DCS มีหลายวิธี ตั้งแต่ปัจจัยส่วนบุคคล หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ การดำน้ำอย่าง conservative และปัจจัยที่ดูแลง่ายที่สุดอย่างนึงคือการ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ทั้งก่อนและหลังดำน้ำถึงแม้ไม่มีข้อมูลชัดเจนเรื่องปริมาณน้ำที่ควรดื่มก่อนหรือหลังดำน้ำ แต่อย่างน้อยควรทานตั้งแต่ก่อนลงซักพักและควรดื่มน้ำอีกครั้งหลังจากดำน้ำขึ้นมาทันที เพราะ silent bubbles และอุบัติการณ์ของ DCS เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทันทีจนถึงหลายชั่วโมงหลังดำน้ำ ปกติมนุษย์ผลิตปัสสาวะ ชั่วโมงละ 1.5 ถึง 2 ml/kg/hr…. ตัวผมเองทานอย่างน้อย​ 300 –…

อ่าน การลดความเสี่ยงต่อ DCS ด้วยการดื่มน้ำ
Diving in coral - 001

วันไหนน้ำใส? วันไหนน้ำไม่แรง?

การเลือกเวลาดำน้ำควรคำนึงถึงสถานการณ์ของน้ำ และการวางแผนการดำน้ำให้เหมาะสมกับเวลาและสภาพอากาศ เพื่อความปลอดภัยและประสบการณ์ดีที่สุด การเรียนรู้และการตัดสินใจที่ดีก็เป็นสิ่งสำคัญในการดำน้ำอย่างมืออาชีพ แต่ยังคงมีความสนุกสนานและตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้ลงไปสำรวจใต้ผืนน้ำอันงดงามด้วย

อ่าน วันไหนน้ำใส? วันไหนน้ำไม่แรง?

Gradient Factors อธิบายแบบง่าย และวิธีใช้

วิธีการกำหนดความปลอดภัยในการดำน้ำโดยใช้ข้อมูลจากอัลกอริทึม Buhlmann โดย GF ช่วยให้นักดำน้ำสามารถกำหนดขีดความลึกได้อย่างละเอียด เช่นในการตั้งค่า Stop แรกและ Deco stop โดยมีตัวเลข 2 ชุด เช่น 45/85 ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ของ M value ที่มีผลต่อเวลาและความลึกของการดำน้ำ การปรับ GF สามารถช่วยเพิ่มระดับความปลอดภัยและควบคุมการเดินทางใต้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ่าน Gradient Factors อธิบายแบบง่าย และวิธีใช้
Coral - FreedomDIVE - 001

สีจริงๆ ของปะการังสวยกว่าตาเห็น

สีของปะการังในขณะที่เราดำน้ำกลางคืน จะสวยงามกว่าการดำน้ำกลางวันแล้วใช้ไฟฉายส่องไปที่มัน แนะนำให้ลองประสบการณ์ดำน้ำกลางคืนเพื่อเห็นความสวยงามของสีปะการังอย่างแท้จริง เพราะไฟฉายของเราจะกลายเป็นแหล่งกําเนิดแสงเพียงแหล่งเดียวที่มี ณ ตอนนั้น และจะทำให้สีของปะการังและสัตว์ทะเลปรากฎขึ้นได้ครบทุกสีเหมือนสีของพวกมันจริงๆ

อ่าน สีจริงๆ ของปะการังสวยกว่าตาเห็น
Diving in Fish Tank

แอลกอฮอล์กับการดำน้ำ

แอลกอฮอล์กับการดำน้ำ – ปัญหาในทริปดำน้ำ ที่ผลเสียอาจไม่ได้เกิดเพียงกับนักดื่มเท่านั้น หากต้องยุติทริปแล้วกลับเข้าฝั่งก่อนเวลาอันควร

อ่าน แอลกอฮอล์กับการดำน้ำ