มาเลเซียขยายเวลาล็อกดาวน์ถึง 9 มิ.ย.63

เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 63 มูห์ยิดดิน ยัสซิน นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ประกาศขยายระยะเวลาบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ออกไปอีกจนถึง 9 มิ.ย. 63 เพื่อความปลอดภัยและสุขภาพของประชาชนจากเดิมที่มีกำหนดบังคับใช้ถึงวันที่ 12 พ.ค. 63 ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลามาตรการล็อกดาวน์เป็นครั้งที่ 5 นับตั้งแต่เริ่มบังคับใช้ครั้งแรกเมื่อ 18 มี.ค. 63 โดยจะพิจารณาต่อเวลามาตรการดังกล่าวทุก 14 วัน (เช่นเดียวกับในประเทศไทย) อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมาเลเซียเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการลงมากตั้งแต่ 4 พ.ค. 63 โดยอนุญาตให้สถานประกอบการกลับมาเปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไขการรักษาระยะห่างทางสังคม โดยเว้นระยะห่างไม่ต่ำกว่า 1 เมตร และต้องสวมหน้ากากอนามัย รวมถึงอนุญาตให้พาหนะส่วนบุคคลมีผู้ร่วมเดินทางได้ไม่เกิน 4 คน (รวมคนขับรถ) และยังคงห้ามการชุมนุมของคนจำนวนมาก ห้ามการเดินทางข้ามรัฐที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน มาเลเซียพบผู้ติดเชื้อยืนยันแล้ว 6,726 คน เสียชีวิต 109 คน และสถานการณ์ล่าสุดวันที่ 12 พ.ค. 63 พบผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวน 70 ราย ทั้งนี้ มาเลเซียได้ประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์บางส่วนทั่วประเทศมาตั้งแต่วันที่ 18 มี.ค. โดยมีการสั่งการให้ปิดชายแดน โรงเรียน และธุรกิจต่าง ๆ จนกระทั่งจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในประเทศเริ่มลดลงเหลือตัวเลขสองหลักตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา มาเลเซียเคยเป็นประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อช่วงกลางเดือนเมษายน แต่ปัจจุบันยอดจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมเริ่มลดลงจนอยู่ในลำดับที่ 9 ของอาเซียน (6,726 คน) ถัดมาเป็นประเทศไทย อยู่ในลำดับที่ 10 (3,017 คน) นับว่ามาเลเซียเป็นประเทศหนึ่งที่สามารถรับมือกับวิกฤติโควิดได้ดีทีเดียว หากมาเลเซียยังควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าได้ดีเช่นนี้ต่อไป ในอีกไม่นานพวกเรานักดำน้ำคงได้กลับไปดำน้ำที่ “สิปาดัน” แหล่งดำน้ำที่สวยติดอันดับโลกได้ในไม่ช้าแน่นอน ที่มา แถลงสถานการณ์ COVID-19 โดย ศบค. (12 พ.ค.63) ไทยโพสต์ เขียนโดย รัตติยา แวนวน เผยแพร่ครั้งแรก 12 พ.ค. 63  

อ่าน มาเลเซียขยายเวลาล็อกดาวน์ถึง 9 มิ.ย.63

Air Asia ขยายระยะเวลาการเก็บวงเงินเครดิต ได้สูงสุด 2 ปี

จากการประกาศ หยุดทำการบินในเส้นทางต่างๆ ที่ประกาศโดยผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท. หรือ CAAT) เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 63 ที่ผ่านมา ตามมาตรการการป้องกันการระบาดของโรค COVID-19 ที่ผ่านมานั้น เพื่อนนักดำน้ำหลายๆท่านอาจได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า ตอนนี้ทาง Air Asia ได้ประกาศนโยบายสำหรับผู้โดยสารที่ถูกยกเลิกตั๋วมาเพิ่มเติมค่ะ เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 63 ที่ผ่านมา สายการบินแอร์เอเชียประกาศขยายระยะเวลาการเก็บวงเงินเครดิต สำหรับผู้โดยสารที่ถูกยกเลิกเที่ยวบินในช่วงสถานการณ์ COVID-19 โดยสามารถจองตั๋วได้ใหม่ภายใน 730 วัน (2 ปี) นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนแปลงวันเดินทางได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง สำหรับผู้โดยสารที่ได้สำรองที่นั่งไว้แล้ว ก่อนหรือภายในวันที่ 17 เมษายน 2563 โดยมีกำหนดการเดินทางวันที่ตั้งแต่ 23 มี.ค.63 – 30 มิ.ย. 63 โดย เปลี่ยนแปลงวันเดินทางได้ไม่จำกัดครั้งในเส้นทางเดิม : โดยมีกำหนดการเดินทางใหม่ไม่เกินวันที่ 31 ต.ค. 63 โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่งว่างในแต่ละเที่ยวบิน หมายเหตุ: กรณีที่ผู้โดยสารต้องการเปลี่ยนแปลงวันเดินทางด้วยตัวเองโดยสายการบินฯ ยังคงให้บริการเที่ยวบินนั้นอยู่  จะต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้เรียบร้อยก่อนกำหนดวันเดินทางเดิม การเก็บวงเงินไว้ใช้: ผู้โดยสารสามารถเก็บมูลค่าบัตรโดยสารไว้ในบัญชีสะสมวงเงินเครดิตใน AirAsia BIG เพื่อใช้สำรองที่นั่งในอนาคตกับแอร์เอเชียได้ โดยต้องทำการสำรองที่นั่งใหม่ภายใน 730 วันปฏิทิน นับจากวันที่วงเงินเครดิตได้รับการอนุมัติ ทั้งนี้ วันเดินทางใหม่อาจเกิดขึ้นหลังจากวันหมดอายุของวงเงินเครดิตได้ตามตารางบินที่มีให้บริการ สำหรับผู้โดยสารที่ได้ยื่นเรื่องขอรับวงเงินเครดิตไปแล้วก่อนหน้าประกาศฉบับนี้ สามารถขอขยายระยะเวลาการใช้วงเงินเครดิตได้ผ่านทาง AVA โดยมีเงื่อนไข คือ ต้องเป็นผู้โดยสารที่ทำการสำรองที่นั่งผ่านช่องทางออนไลน์ของแอร์เอเชียโดยตรง (airasia.com) เท่านั้น สำหรับผู้โดยสารที่สำรองที่นั่งผ่านตัวแทนจำหน่ายหรือตัวแทนการท่องเที่ยวออนไลน์จะต้องดำเนินการผ่านตัวแทนที่ทำการจองนั้นๆ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ แอร์เอเชียขยายระยะเวลาการเก็บวงเงินเครดิต ดำเนินการจองใหม่ได้ภายใน 2 ปี! คู่มือการรับข้อเสนอกรณีได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ข้อมูลที่ต้องรู้เกี่ยวกับบัญชีบัตรเครดิต ช่องทางการส่งเรื่องร้องเรียน ที่มา Air Asia รูปประกอบจาก Flickr เขียนโดย รัตติยา แวนวน เผยแพร่ครั้งแรก 8 พ.ค. 63  

อ่าน Air Asia ขยายระยะเวลาการเก็บวงเงินเครดิต ได้สูงสุด 2 ปี

เรื่องของ “พะยูน” ตำนานนางเงือกแห่งท้องทะเล

หากใครเคยไปเที่ยวที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี อาจแปลกใจไม่น้อยที่ได้เจอกับรูปปั้นพะยูนตั้งโชว์ไว้อย่างเงียบเหงาในมุมหนึ่งภายในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนของศูนย์ศึกษาฯ เนื่องจากครั้งหนึ่งในอดีต บริเวณนี้เคยเป็นแหล่งหญ้าทะเลอันอุดมสมบูรณ์และเป็นที่อยู่อาศัยชั้นดีของพะยูนมากมาย ดังข้อมูลการสำรวจย้อนหลังไป 60 ปีก่อนระบุว่ามีรายงานการพบเห็นพะยูนมากกว่า 40 ตัวที่อ่าวคุ้งกระเบน และเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว ยังเคยพบพะยูนฝูงใหญ่กว่า 20 ตัวหากินในบริเวณปากน้ำประแส จ.ระยอง อีกด้วย ดังจะเห็นได้จากการตั้งชื่อ “หาดพยูน” ไว้เป็นที่รำลึกถึงสถานที่อันเป็นที่กล่าวขานกันในอดีตว่าเคยมีพะยูนอาศัยจำนวนไม่น้อยในจ.ระยอง แต่ในเวลาต่อมา สภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเลเริ่มถูกคุกคามด้วยกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นของมนุษย์อย่างรวดเร็ว ทำให้จำนวนพะยูนเริ่มลดน้อยถอยลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมนุษย์มีความเชื่อผิดๆในการนำเขี้ยวพะยูนไปทำเครื่องรางของขลัง นำกระดูกไปยาโป๊ว นำน้ำตาพะยูนไปทำยาเสน่ห์ ทำให้มีการลักลอบล่าพะยูนเป็นจำนวนมาก แม้ว่าพะยูนจะถูกเลือกให้เป็นสัตว์ป่าสงวนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ก็ตาม แต่พวกเค้าก็ยังถูกไล่ล่าจนเกือบสูญพันธุ์ไปจากทะเลไทย โดยเฉพาะทะเลในฟากฝั่งตะวันออก ที่มีบันทึกว่าพะยูนได้สูญหายไปจากน่านน้ำย่านนี้มาเป็นเวลานานปลายปีแล้ว อนุสรณ์ “หมูดุด เจ้าแห่งคุ้งกระเบน” ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี จนเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 63 ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในช่วงสถานการณ์ปิดเมืองในวิกฤติการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 มีผู้พบเห็นพะยูนแม่ลูก รวม 2 ตัว เข้ามาหากินบริเวณหน้าหาดสวนสน เกาะเสม็ด ใกล้เขื่อนกันคลื่นท่าเรือบ้านเพ จ.ระยอง จึงนับได้ว่าเป็นข่าวดีให้คนไทยได้ชื่นหัวใจในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าเช่นนี้ บ้างก็กล่าวว่า อาจเป็นเพราะการหยุด Lockdown ทำให้กิจกรรมทางทะเลของมนุษย์ลดน้อยลง พะยูนจึงกล้าเข้ามาเล็มหาหญ้าทะเลกินใกล้พื้นที่ชายฝั่งมากขึ้น อย่างไรก็ตามในโอกาสดีเช่นนี้แอดมินจึงขอรวบรวมข้อมูลของพะยูนมานำเสนอเพื่อให้เพื่อนๆได้รู้จักพวกเค้ากันมากขึ้นนะคะ ภาพพะยูนจาก FB : ทิ้ง บ้านเพ เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 63 ที่ชายหาดสวนสน จ.ระยอง พะยูน หรือหมูน้ำ หรือวัวน้ำ (Dugong or Sea Cow) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในทะเล ตัวอ้วนกลมเทอะทะคล้ายแมวน้ำ ผิวหนังหนามีสีเทาอมชมพู มีขนสั้นๆทั่วลำตัวและมีขนหนาบริเวณปาก ออกลูกเป็นตัวครั้งละ 1-2 ตัว กินพืชทะเลเป็นอาหาร หากินเป็นฝูงตามแนวหญ้าทะเลชายฝั่งหรืออาจพบเจอหากินแบบเดี่ยวก็ได้เช่นกัน มีครีบหน้า 2 ครีบที่พัฒนามาจากขาหน้า ไม่มีครีบหลัง ตัวเมียมีเต้านม 2 เต้าถัดลงมาจากครีบหน้า ตัวผู้เมื่อโตเต็มวัยจะมีเขี้ยวงอกพ้นริมฝีปากออกมา ตาและหูมีขนาดเล็ก ไม่มีใบหู มีหางแฉกคล้ายโลมา (ญาติสนิทในสกุลใกล้ชิดกันคือ Manatee จะมีหางกลม) พะยูนวัยเด็กจะกินนมแม่จนถึง 8 เดือน จากนั้นแม่พะยูนจะยังคงดูแลลูกจนถึงอายุ 2 ปีจึงจะแยกจากแม่ได้ พะยูนมีขนาดยาวสุดได้ถึง 3 เมตรและหนักได้ถึง 400 กิโลกรัม มีอายุยืนยาวถึง 70 ปี พะยูนไม่ใช่ปลา เราจึงไม่เรียกพวกเค้าว่าปลาพะยูน แต่จะเรียกว่า…

อ่าน เรื่องของ “พะยูน” ตำนานนางเงือกแห่งท้องทะเล

ชาวเกาะเต่าเตรียมเฮ สถานการณ์ COVID-19 มีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ

เมื่อวันที่ 2พ.ค.63 ที่ผ่านมา นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ลงนามในคำสั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ ๒๗๒๗/๒๕๖๓ เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) (ฉบับที่๑๕) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีแนวโน้มสถานการณ์ที่ดีขึ้น โดยไม่พบผู้ป่วยรายใหม่เป็นระยะเวลาติดต่อกันเกินกว่า 14 วันแล้ว และเพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตในสถานการณ์ดังกล่าวได้ จึงออกประกาศให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ทุกประเภท และสถานประกอบการที่เปิดให้บริการที่พักในลักษณะเดียวกันทุกแห่ง เปิดให้บริการเฉพาะการให้บริการห้องพักและห้องอาหารหรือร้านอาหาร โดยให้ปิดการให้บริการห้องประชุม สระว่ายน้ำ ฟิตเนส สปา และแผนกนวดเพื่อสุขภาพหรือนวดแผนโบราณ และให้ถือปฏิบัติภายใต้เงื่อนไขการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด ได้แก่ ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกออล์ เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค อย่างทั่วถึงและเพียงพอต่อจำนวนผู้ใช้บริการ ให้ผู้ประกอบการ พนักงาน ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา ให้มีการลงทะเบียนผู้เข้าพักในบัตรทะเบียนผู้เข้าพักโรงแรม (ร.ร.๓) และทะเบียนผู้พักในโรงแรม (ร.ร.๔) ทุกรายอย่างเคร่งครัด ให้มีการเว้นระยะห่างของผู้รับบริการอย่างน้อย 1 เมตร ให้ทำความสะอาดบริเวณจุดบริการและพื้นผิวสัมผัสทุก 2 ชั่วโมง และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน สำหรับร้านอาหารภายในโรงแรมให้ถือปฏิบัติภายใต้เงื่อนไขการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด ดังนี้ ห้ามมิให้มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในร้าน ห้ามจัดให้มีการบริการอาหารในรูปแบบอาหารบุฟเฟ่ต์ ให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกออล์ เจล หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค อย่างทั่วถึงและเพียงพอต่อจำนวนผู้ใช้บริการ ทำความสะอาดพื้น พื้นผิวสัมผัสบ่อยๆ ได้แก่ พื้นโต๊ะ เก้าอี้ ทั้งก่อนและหลังการให้บริการ และให้กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน ให้ผู้ประกอบการ พนักงาน ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า ให้เว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะ และระหว่างที่นั่ง รวมถึงระยะระหว่างการเดินอย่างน้อย 1 เมตร ให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการ มิให้แออัด และให้จัดระบบถ่ายเทอากาศอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดสุราษฎร์ธานี, FB : ที่ว่าการอำเภอส่วนหน้าเกาะเต่า เผยแพร่เมื่อ : 4 พ.ค.63

อ่าน ชาวเกาะเต่าเตรียมเฮ สถานการณ์ COVID-19 มีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ

1 พ.ค.63 สายการบินในประเทศเตรียมพร้อมเปิดให้บริการอีกครั้ง

เมื่อวันที่ 23 เม.ย.63 ที่ผ่านมา สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ได้ทำการหารือกับผู้ประกอบการสายการบินต่างๆ ก่อนที่จะเริ่มกลับมาทำการบินอีกครั้งภายในวันที่ 1 พ.ค. 2563 หลังจากที่ก่อนหน้านี้สายการบินส่วนใหญ่ได้ประกาศหยุดให้บริการชั่วคราว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 แต่อย่างไรก็ตาม ทุกสายการบินจะต้องปฏิบัติตามมาตรการการควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด เช่น การขายบัตรโดยสารแบบที่นั่งเว้นที่นั่ง เพื่อรักษาระยะห่างระหว่างผู้โดยสาร (Social Distancing) ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเช็คอิน การเข้าออกห้องโดยสาร และงดบริการอาหารและเครื่องดื่มระหว่างเที่ยวบิน นอกจากนี้ ลูกเรือจะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย ถุงมือ และ Face Shield ส่วนผู้โดยสารก็ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดการเดินทาง รวมถึงไม่สามารถนำอาหารของตนเองมารับประทานในเครื่องบินได้ ตารางการเปิดให้บริการของสายการบิน สายการบิน เที่ยวบินภายในประเทศ เที่ยวบินระหว่างประเทศ การบินไทย 25 ตุลาคม 2563 1 มิถุนายน 2563 ไทยสมายล์แอร์เวย์ 1 มิถุนายน 2563 1 มิถุนายน 2563 บางกอกแอร์เวย์ส 1 พฤษภาคม 2563 (ภูเก็ต-กรุงเทพฯ, ภูเก็ต-สมุย) 25 ตุลาคม 2563 แอร์เอเชีย 1 พฤษภาคม 2563 1 มิถุนายน 2563 นกแอร์ 1 พฤษภาคม 2563 1 มิถุนายน 2563 ไทยไลอ้อนแอร์ 1 พฤษภาคม 2563 1 มิถุนายน 2563 (ภูเก็ต) *ปิดชั่วคราว ไม่มีกำหนด* อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกท่านหมั่นตรวจสอบตารางบิน หรือรอประกาศอย่างเป็นทางการของแต่ละสายการบินอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากอาจจะยังไม่เปิดให้บริการในทุกเส้นทาง และสามารถติดตามประกาศการเดินทางทางอากาศที่เกี่ยวกับ COVID-19 ได้ที่ www.caat.or.th/corona ที่มา : trueid.net เผยแพร่เมื่อ : 26 เม.ย.63

อ่าน 1 พ.ค.63 สายการบินในประเทศเตรียมพร้อมเปิดให้บริการอีกครั้ง

Dive Briefing สำคัญแค่ไหน?

กลุ่มนักดำน้ำกำลังนั่งฟังการบรรยายสรุป (briefing) จาก Divemaster เนื่องจากเป็นการดำน้ำกลางคืน ครั้งแรกของทริป และเป็นครั้งแรกในรอบหลายๆ เดือน ของนักดำน้ำหลายคน ที่ไม่ได้ดำน้ำกลางคืน หรือสำหรับบางคน ไม่ได้ดำน้ำมาเป็นระยะเวลานานพอดู บรรยากาศจึงค่อนข้าง สนุกสนานครื้นเครง ทำให้นักดำน้ำหลายคน ไม่ได้สนใจกับการบรรยายของ Divemaster เท่าไรนัก

อ่าน Dive Briefing สำคัญแค่ไหน?
Banner for Article 'Netflix Documentaries Screen on YouTube'

ติดแหง็กอยู่กับบ้าน ดูสารคดีทางทะเลให้ตัวเปียกกันไปเลย Netflix เปิดสารคดีให้ดูฟรีทาง YouTube

Netflix เปิดภาพยนตร์สารคดี 34 ตอน มีเรื่องของท้องทะเลถึง 3 ตอน และทะเลน้ำแข็งที่ขั้วโลกอีก 1 ตอน พร้อมซับไตเติ้ลภาษาไทยแบบ original ให้ดูฟรีทาง YouTube

อ่าน ติดแหง็กอยู่กับบ้าน ดูสารคดีทางทะเลให้ตัวเปียกกันไปเลย Netflix เปิดสารคดีให้ดูฟรีทาง YouTube

4 สาเหตุหลัก ที่ทำให้นักดำน้ำเสียชีวิต (DAN)

สรุป 4 สาเหตุหลักที่ทำให้นักดำน้ำเสียชีวิต – ข้อมูลจาก รายงานอุบัติเหตุประจำปีของ Divers Alert Network (DAN) ฉบับล่าสุด

อ่าน 4 สาเหตุหลัก ที่ทำให้นักดำน้ำเสียชีวิต (DAN)

อยู่บ้าน ลดขยะ ลดภาระให้ทะเล ♻️

ในช่วงเวลาที่ทุกคนต้องทำงานและกักตัวอยู่ที่บ้านเพื่อช่วยชาติหยุดการแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่า หลายๆคนก็สรรหากิจกรรมมาทำแก้เบื่อ บ้างก็ปลูกต้นไม้ บ้างก็เล่น TikTok บ้างก็ทำอาหาร แต่สำหรับคนที่ไม่มีทักษะเรื่องงานครัวอย่างแอดมินเองก็มักจะเรียกใช้บริการ Food Delivery วนๆไป นานวันเข้าก็เริ่มรู้สึกว่านอกจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นแล้ว ขยะที่บ้านเราก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษรายงานว่า ในปี 2561 ประเทศไทยมีปริมาณขยะสูงถึง 28 ล้านตันปี ในขณะที่ความสามารถในการจัดเก็บขยะทั้งหมดรองรับได้เพียง 70% เท่านั้น ดังนั้นจึงมีขยะตกค้างอยู่ในที่ต่างๆจำนวนมาก โดยเฉพาะในท่อระบายน้ำ ซึ่งปลายทางของท่อระบายน้ำเหล่านี้ก็คือทะเลนั่นเอง จากข้อมูลของสำนักการระบายน้ำกทม.ระบุว่า เพียงแค่หน้าสถานีอุโมงค์ระบายน้ำพระราม 9 จุดเดียว ก็สามารถเก็บขยะที่มาจากท่อระบายน้ำได้มากถึงวันละ 1 ตัน โดยเฉพาะในสถานการณ์วิกฤติ COVID-19 ระบาดเช่นนี้ พบว่ามีปริมาณขยะจากบรรจุภัณฑ์ในกระบวนการ Delivery เพิ่มสูงกว่าในภาวะปกติถึง 15% เลยทีเดียว (ข้อมูลระหว่าง ม.ค.-มี.ค.63) นี่ยังไม่รวมถึงขยะติดเชื้อที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ประกอบกับข้อมูลจากเพจ Thon Thamrongnawasawat  ของอาจารย์ธรณ์ที่ให้ข้อมูลว่า “ขยะทะเล 80% มาจากแผ่นดินผ่านแม่น้ำลำคลอง ไม่ได้เกิดจากกิจกรรมในทะเล” ยิ่งทำให้อดคิดไม่ได้ว่ากล่องข้าวในมือที่เราสร้างขึ้นทุกวันจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของขยะทะเลในวันพรุ่งนี้หรือไม่ วันนี้แอดมินจึงอยากชวนทุกคนมาทำกิจกรรมใหม่ในช่วงกักตัวด้วยกัน นั่นคือ “การลดและคัดแยกขยะ” เพื่อที่อย่างน้อยเราได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดขยะในทะเล ซึ่งใครๆก็สามารถทำได้ง่ายๆ หรือบางทีอาจจะสร้างรายได้จากขยะอีกด้วยนะ เลือกใช้หน้ากากอนามัยผ้า ที่สามารถซักใช้ซ้ำได้แทนการใช้หน้ากากแบบใช้แล้วทิ้ง นอกจากจะช่วยลดขยะแล้ว ยังลดค่าใช้จ่ายได้ด้วย หากเป็นไปได้ แจ้งผู้ให้บริการร้านอาหารเดลิเวอรี่ว่าไม่รับ ช้อน, ส้อม, หลอดพลาสติก หรือใช้ภาชนะส่วนตัวในการซื้ออาหารมาทานที่บ้าน กล่องเครื่องดื่มยูเอชที จากผลิตภัณฑ์จำพวก นม, นมเปรี้ยว, นมถั่วเหลือง, น้ำผลไม้, ชากาแฟ หรือเครื่องดื่มอื่นๆ สามารถนำไปบริจาคให้กับ ”โครงการหลังคาเขียว” เพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นแผ่นหลังคาให้มูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภา)ยามยาก โดยมีบริการจุดรับบริจาคที่ บิ๊กซี (ตรวจสอบสาขาที่เข้าร่วมก่อนนะคะ) ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โครงการหลังคาเขียว แยกถุงหรือฟิล์มพลาสติก นำมารีไซเคิลกับ “โครงการวน” โดยทุกๆ 1 กิโลกรัมจะมีมูลค่า 5 บาท เพื่อนำไปต่อยอดบริจาคให้กับมูลนิธิด้านสิ่งแวดล้อม พลาสติกชนิดที่โครงการรับบริจาคหาได้รอบตัวเลยค่ะ ส่วนใหญ่เป็นพลาสติกประเภทที่ร้านรับซื้อของเก่าไม่รับทั้งนั้น สังเกตุง่ายๆจากพลาสติกชนิดที่ยืดได้ เช่น ถุงหิ้ว, พลาสติก wrap สินค้าแบบแพค, ถุงน้ำตาลหรือข้าวสาร, ถุงซิป, ห่อทิชชู่หรือผ้าอ้อมเด็ก, bubble กันกระแทก อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในเพจ โครงการวนได้เลยค่ะ เศษอาหาร ผักผลไม้ เทส่วนที่เป็นของเหลวทิ้งไป ส่วนที่เป็นของแข็งเอามาทำปุ๋ยหมักปลูกผัก สมัยนี้เค้ามีถังหมักปุ๋ยจากครัวเรือนขายแล้วนะ มีหลายขนาดให้เลือกใช้ตามจำนวนคนในบ้าน วิธีใช้ก็ง่ายมากๆเลย เหมาะสำหรับสายเขียวที่ชอบปลูกผัก เพราะเราจะได้ปุ๋ยหมักไว้ใช้ด้วย ใครสนใจลองศึกษาเพิ่มเติมในเพจ ผัก Done Thailand ได้เลย…

อ่าน อยู่บ้าน ลดขยะ ลดภาระให้ทะเล ♻️

ประกาศปิดการท่องเที่ยวในเขตอุทยานฯ ตั้งแต่ 25 มี.ค. 63 เป็นต้นไป

ประกาศปิดการท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติและวนอุทยานทุกแห่ง ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะเข้าสู่สภาวการณ์ปกติ (ประกาศ ณ วันที่ 23 มี.ค.63)

อ่าน ประกาศปิดการท่องเที่ยวในเขตอุทยานฯ ตั้งแต่ 25 มี.ค. 63 เป็นต้นไป