Role Model ที่นักดำน้ำรุ่นพี่ควรทำให้เด็กๆ ดู

สิ่งที่นักดำน้ำควรปฏิบัติ ทั้งเพื่อการดำน้ำที่ราบรื่นปลอดภัยของตัวเอง และเป็นต้นแบบที่ดี (role model) สำหรับนักดำน้ำน้องใหม่คนอื่นๆ

อ่าน Role Model ที่นักดำน้ำรุ่นพี่ควรทำให้เด็กๆ ดู

ขอเชิญนักดำน้ำมาพูดคุยกันเรื่อง DCS กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ใต้น้ำค่ะ

ชวนนักดำน้ำมาพูดคุยกันเรื่อง Decompression Sickness โดยครูหมอวัฒน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ใต้น้ำ และเวชศาสตร์ทางทะเล (และเป็นครูสอนดำน้ำด้วย)

อ่าน ขอเชิญนักดำน้ำมาพูดคุยกันเรื่อง DCS กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ใต้น้ำค่ะ
DAN Covid-19 Recommend

Covid-19 and Diving Operations

ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว และเตรียมตัว เพื่อความปลอดภัยในการดำน้ำ ในช่วง Covid-19 การออกมาตรการต่างๆ การระมัดระวังอุปกรณ์ดำน้ำ การอัดอากาศ

อ่าน Covid-19 and Diving Operations

เรื่องของ “พะยูน” ตำนานนางเงือกแห่งท้องทะเล

หากใครเคยไปเที่ยวที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี อาจแปลกใจไม่น้อยที่ได้เจอกับรูปปั้นพะยูนตั้งโชว์ไว้อย่างเงียบเหงาในมุมหนึ่งภายในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนของศูนย์ศึกษาฯ เนื่องจากครั้งหนึ่งในอดีต บริเวณนี้เคยเป็นแหล่งหญ้าทะเลอันอุดมสมบูรณ์และเป็นที่อยู่อาศัยชั้นดีของพะยูนมากมาย ดังข้อมูลการสำรวจย้อนหลังไป 60 ปีก่อนระบุว่ามีรายงานการพบเห็นพะยูนมากกว่า 40 ตัวที่อ่าวคุ้งกระเบน และเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว ยังเคยพบพะยูนฝูงใหญ่กว่า 20 ตัวหากินในบริเวณปากน้ำประแส จ.ระยอง อีกด้วย ดังจะเห็นได้จากการตั้งชื่อ “หาดพยูน” ไว้เป็นที่รำลึกถึงสถานที่อันเป็นที่กล่าวขานกันในอดีตว่าเคยมีพะยูนอาศัยจำนวนไม่น้อยในจ.ระยอง แต่ในเวลาต่อมา สภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเลเริ่มถูกคุกคามด้วยกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นของมนุษย์อย่างรวดเร็ว ทำให้จำนวนพะยูนเริ่มลดน้อยถอยลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมนุษย์มีความเชื่อผิดๆในการนำเขี้ยวพะยูนไปทำเครื่องรางของขลัง นำกระดูกไปยาโป๊ว นำน้ำตาพะยูนไปทำยาเสน่ห์ ทำให้มีการลักลอบล่าพะยูนเป็นจำนวนมาก แม้ว่าพะยูนจะถูกเลือกให้เป็นสัตว์ป่าสงวนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ก็ตาม แต่พวกเค้าก็ยังถูกไล่ล่าจนเกือบสูญพันธุ์ไปจากทะเลไทย โดยเฉพาะทะเลในฟากฝั่งตะวันออก ที่มีบันทึกว่าพะยูนได้สูญหายไปจากน่านน้ำย่านนี้มาเป็นเวลานานปลายปีแล้ว อนุสรณ์ “หมูดุด เจ้าแห่งคุ้งกระเบน” ในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี จนเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 63 ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในช่วงสถานการณ์ปิดเมืองในวิกฤติการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 มีผู้พบเห็นพะยูนแม่ลูก รวม 2 ตัว เข้ามาหากินบริเวณหน้าหาดสวนสน เกาะเสม็ด ใกล้เขื่อนกันคลื่นท่าเรือบ้านเพ จ.ระยอง จึงนับได้ว่าเป็นข่าวดีให้คนไทยได้ชื่นหัวใจในช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าเช่นนี้ บ้างก็กล่าวว่า อาจเป็นเพราะการหยุด Lockdown ทำให้กิจกรรมทางทะเลของมนุษย์ลดน้อยลง พะยูนจึงกล้าเข้ามาเล็มหาหญ้าทะเลกินใกล้พื้นที่ชายฝั่งมากขึ้น อย่างไรก็ตามในโอกาสดีเช่นนี้แอดมินจึงขอรวบรวมข้อมูลของพะยูนมานำเสนอเพื่อให้เพื่อนๆได้รู้จักพวกเค้ากันมากขึ้นนะคะ ภาพพะยูนจาก FB : ทิ้ง บ้านเพ เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 63 ที่ชายหาดสวนสน จ.ระยอง พะยูน หรือหมูน้ำ หรือวัวน้ำ (Dugong or Sea Cow) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในทะเล ตัวอ้วนกลมเทอะทะคล้ายแมวน้ำ ผิวหนังหนามีสีเทาอมชมพู มีขนสั้นๆทั่วลำตัวและมีขนหนาบริเวณปาก ออกลูกเป็นตัวครั้งละ 1-2 ตัว กินพืชทะเลเป็นอาหาร หากินเป็นฝูงตามแนวหญ้าทะเลชายฝั่งหรืออาจพบเจอหากินแบบเดี่ยวก็ได้เช่นกัน มีครีบหน้า 2 ครีบที่พัฒนามาจากขาหน้า ไม่มีครีบหลัง ตัวเมียมีเต้านม 2 เต้าถัดลงมาจากครีบหน้า ตัวผู้เมื่อโตเต็มวัยจะมีเขี้ยวงอกพ้นริมฝีปากออกมา ตาและหูมีขนาดเล็ก ไม่มีใบหู มีหางแฉกคล้ายโลมา (ญาติสนิทในสกุลใกล้ชิดกันคือ Manatee จะมีหางกลม) พะยูนวัยเด็กจะกินนมแม่จนถึง 8 เดือน จากนั้นแม่พะยูนจะยังคงดูแลลูกจนถึงอายุ 2 ปีจึงจะแยกจากแม่ได้ พะยูนมีขนาดยาวสุดได้ถึง 3 เมตรและหนักได้ถึง 400 กิโลกรัม มีอายุยืนยาวถึง 70 ปี พะยูนไม่ใช่ปลา เราจึงไม่เรียกพวกเค้าว่าปลาพะยูน แต่จะเรียกว่า…

อ่าน เรื่องของ “พะยูน” ตำนานนางเงือกแห่งท้องทะเล

ดำน้ำที่ดูมาเกเต (Dumaguete)

Dumaguete สวรรค์ของนักดำน้ำทั้งมือใหม่ที่ชอบดูปะการังสวยๆ ปลาน่ารักๆ หรือสัตว์ทะเลขนาดปกติ ไปจนถึงมือเก่าที่ชอบมองหาสัตว์ขนาดจิ๋ว

อ่าน ดำน้ำที่ดูมาเกเต (Dumaguete)
Losin Rock and Malaysia-Thailand Joint Development Area

โลซิน กองหินแห่งประวัติศาสตร์ของแหล่งก๊าซธรรมชาติไทย

กองหินโลซิน นอกจากจะเป็นจุดดำน้ำที่ขึ้นชื่อในเรื่องความสมบูรณ์ของปะการัง จนมีนักดำน้ำทั้งไทยและต่างชาติหาทริปดำน้ำลึกไปกันมากมายทุกๆ ปีแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญด้านทรัพยากรพลังงานของไทยในฐานะเป็นจุดอ้างอิงที่ทำให้เราได้มีส่วนแบ่งในแหล่งก๊าซธรรมชาติ MTJDA (Malaysia-Thailand Joint Development Area) บริเวณขอบใต้สุดของอ่าวไทยอีกด้วย หากไม่มีกองหินโลซินแล้ว เราคงไม่สามารถอ้างสิทธิ์เพื่อแบ่งผลประโยชน์ในแหล่งก๊าซธรรมชาติมูลค่าหลายแสนล้านบาทนี้ได้เลย เริ่มต้นจากความต้องการใช้ทรัพยากรใต้ทะเล เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับกองหินโลซินและการอ้างสิทธิ์ในแหล่งก๊าซธรรมชาติแห่งนี้ เริ่มต้นในยุคที่มีการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทยและทะเลอันดามันกันอย่างจริงจังราวปี พ.ศ. 2511 เมื่อทางการไทยประกาศพิกัดแนวเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยโดยประมาณ เพื่อกำหนดแปลงสำรวจให้เอกชนมายื่นขอนุญาตดำเนินการสำรวจได้ ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้นเอง ทางมาเลเซียก็เริ่มออกแปลงสำรวจปิโตรเลียมของตนเองบ้าง โดยอาศัยแผนที่แนวเขตไหล่ทวีปของไทยเป็นแนวอ้างอิงและให้สิทธิ์แก่เอกชนลงมือสำรวจ จนในปีพ.ศ. 2514 บริษัท Esso Production Malaysia Inc. (EPMI) ก็ได้สำรวจพบก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ MTJDA นี้ ก่อนหน้านั้น การใช้พื้นที่ในทะเลเพื่อประโยชน์ของประเทศต่างๆ ในแถบนี้ยังไม่ได้เคร่งครัดในเรื่องเขตแดนมากนัก แม้จะมีข้อตกลงเรื่องนี้อยู่ในอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501) แล้วก็ตาม แต่ละประเทศก็ยังไม่ได้มาทำความตกลงกันให้เรียบร้อย เรือประมงของแต่ละชาติยังคงออกเรือทำประมงกันได้ทั่วไป จนกระทั่งเมื่อมีความตื่นตัวในเรื่องทรัพยากรปิโตรเลียมใต้พื้นทะเลนี่เอง (มีการสำรวจพบแหล่งน้ำมันในเขตไหล่ทวีปหลายแห่งทั่วโลก รวมถึงประเทศอินโดนีเซียที่อยู่ใกล้ไทยกับมาเลเซียด้วย) ไทยเราและประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม จึงเริ่มนัดประชุมทำข้อตกลงเรื่องอาณาเขตทางทะเลกันเป็นการใหญ่ แผนที่อาณาเขตที่เลือกใช้ต่างกัน ในปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) ซึ่งทางการไทยประกาศเชิญชวนให้เอกชนมายื่นคำขออนุญาตสำรวจปิโตรเลียมกันนั้น ได้มีการจัดทำแผนที่หมายเลข 68 A ขึ้นมาเพื่อแสดงขอบเขตแปลงสำรวจด้วย แผนที่นี้แสดงแนวขอบเขตไหล่ทวีป (continental shelf หรืออีกนัยหนึ่งคือเขตแดนทางทะเล) ของไทยโดยประมาณ ซึ่งมิได้กำหนดพิกัดของจุดต่างๆ อย่างชัดเจน และมิได้ระบุว่าไทยจะยึดเอาแผนที่ดังกล่าวเป็นขอบเขตไหล่ทวีปทั้งหมดของประเทศไทยในอ่าวไทยแต่อย่างใด ทั้งยังเป็นการอ้างกรรมสิทธิ์แต่ฝ่ายเดียว (unilateral claim) ไม่ใช่ข้อสรุปร่วมกันระหว่างประเทศ เมื่อทางการไทยตระหนักว่า ต้องมีการเจรจาตกลงกันในเรื่องขอบเขตทางทะเลกันก่อนที่จะดำเนินการสำรวจต่างๆ ต่อไปจะเป็นการดีกว่าในระยะยาว จึงได้พิจารณาปรับปรุงแผนที่แนวขอบเขตไหล่ทวีปให้มีความถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อเตรียมใช้ในการตกลงร่วมกัน ก็ได้มีการสำรวจและจัดทำแผนที่ฉบับใหม่ออกมาในปี พ.ศ. 2514 (ฉบับ ป.2, ป.3, และ ป.4) โดยครั้งนี้ใช้อิทธิพลของกองหินโลซิน (หรือเรียกว่า “เกาะโลซิน” ในสมัยนั้น) ซึ่งยังถือว่าเป็นหมายที่ใช้เป็นแนวเขตแผ่นดินได้ตามนิยามของอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 (ดู Part II: Territorial Sea and Contiguous Zone) ทำให้แนวเขตไหล่ทวีปเปลี่ยนไปจากแผนที่ 68 A คือกินพื้นที่ลงทางใต้มากขึ้นและได้พื้นที่เขตแดนทางทะเลเพิ่มขึ้นมาอีก ฝ่ายมาเลเซียนั้น เมื่อไทยประกาศใช้แผนที่ 68 A (พ.ศ. 2511) ทางมาเลเซียเองพิจารณาแล้วเห็นว่าตนเองไม่เสียประโยชน์อะไรจากที่ควรจะเป็น ก็ได้ประกาศแนวขอบเขตไหล่ทวีปของตนเองในปีเดียวกัน โดยกำหนดแนวเขตสอดคล้องกับแนวของไทยในแผนที่ 68 A…

อ่าน โลซิน กองหินแห่งประวัติศาสตร์ของแหล่งก๊าซธรรมชาติไทย

ปัญหาการเคลียร์หู สำหรับนักดำน้ำฟรีไดฟ์ขั้นเริ่มต้น

การเคลียร์หู (ear equalization หรือฝรั่งบางคนก็เรียกสั้นว่า ear clearing) นับเป็นโจทย์สำคัญของนักดำน้ำฟรีไดฟ์เกือบทุกคน…โดยเฉพาะมือใหม่ เกือบทั้งหมดของนักเรียนที่ไปออกทะเลสอบ freedive Level 1 แล้วไม่ผ่าน ก็เพราะไม่สามารถเคลียร์หูได้

อ่าน ปัญหาการเคลียร์หู สำหรับนักดำน้ำฟรีไดฟ์ขั้นเริ่มต้น
Skin Eruption Woman

ผื่นคันเวลาไปดำน้ำหรือเล่นน้ำทะเล (Sea Bather’s Eruption หรือ “แตนทะเล” ที่คนไทยนิยมเรียกกัน)

อาการผื่นคันในขณะที่อยู่ในน้ำหรือขึ้นจากน้ำไม่นาน… ที่มักเรียกกันว่าเป็นการคันจาก “แตนทะเล”…….จริงๆแล้วมันมีสาเหตุจากอะไรและมีวิธีการรักษาอย่างไร

อ่าน ผื่นคันเวลาไปดำน้ำหรือเล่นน้ำทะเล (Sea Bather’s Eruption หรือ “แตนทะเล” ที่คนไทยนิยมเรียกกัน)
Overbalanced Regulator from Apeks, Aqua Lung, ScubaPro

Overbalanced Regulator ดีอย่างไร จำเป็นต้องใช้หรือไม่

รู้จักกับ Overbalanced Regulator เทียบกับ Unbalanced และ Balanced แล้วไปหาคำตอบกันว่า นักดำน้ำอย่างเรา จำเป็นต้องใช้หรือไม่

อ่าน Overbalanced Regulator ดีอย่างไร จำเป็นต้องใช้หรือไม่