Hypoxia – อาการขาดออกซิเจนขณะดำน้ำ

เกริ่นนำ: เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่คุณ Wobbegong เล่าไว้ในเว็บ siamscubadiving.com และทาง FreedomDIVE เห็นว่ามีประโยชน์มาก จึงเอามาฝากให้นักดำน้ำทุกท่านได้อ่านกัน เมื่อเร็วๆ นี้ มีเหตุการณ์ประเภท Near Miss (เกือบจะเป็น Accident) เกิดขึ้นกับตัวเองมาครับ.. หลังจากได้คุยกับผู้รู้ เลยรู้ว่าจริงๆ แล้วเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง ตอนนี้ ก็เลยอยากมาบอกเล่าให้กับเพื่อนๆ ได้รับทราบกัน จะได้ระวังไว้ และรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น หากเกิดขึ้นกับตัวเอง เหตุการณ์เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2546 ที่ผ่านมานี่เองครับ ผมกับเพื่อนๆ อีกกลุ่มหนึ่ง ได้นัดกันไปดำน้ำที่ หินเพิง จ. ระยอง เพื่อทำการตัด และเก็บอวนที่เข้ามาติดอยู่ที่นั่นออก ในวันนั้น เดิมทีกำหนดกันไว้ว่าจะทำงานเก็บอวน 2 ไดฟ์ แล้วไดฟ์ที่ 3 จะไปดำเที่ยวกันที่อื่น ไดฟ์แรก ลงดำที่กองหินเพิงด้านตะวันออก พบเศษอวนขนาดเล็กบ้างประปราย ส่วนใหญ่เป็นอวนที่เริ่มเก่าแล้ว น้ำเริ่มซัดมาม้วนรวมกันเป็นมัดใหญ่ ทุกคนที่ลงดำน้ำ ใช้มีด กรรไกร และคัทเตอร์ ช่วยกันตัดให้เล็กลง ม้วนเป็นก้อน ผูกไว้ด้วยเชือก และใช้ถุงพลาสติก ทำเป็น Liftbag เพื่อปล่อยให้ลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ และจะใช้เรือตามเก็บภายหลัง ในไดฟ์นี้ ไม่มีปัญหาเท่าไร เศษอวนไม่มาก เราดำน้ำทั้งหมดประมาณ 30 – 45 นาที ความลึกจำไม่ได้ครับ ต้องไปเอาไดฟ์คอมมาดูอีกทีแล้วจะบอก หลังจากนั้น ก็ขึ้นมาทานข้าวกัน ประมาณบ่ายโมงนิดๆ ก็ลงดำไดฟ์ที่ 2 กัน ที่หินเพิงกองกลาง (หินเพิง มีเรียงกันอยู่ 3 ยอด แต่ละยอดห่างกันประมาณ 15 – 20 เมตรได้) กองกลางนี้ ยอดกองอยู่ลึกที่สุด เรือต้องใช้ Sounder กวาดหา ที่นี่ พบอวนมากกว่าที่คาดไว้ Liftbag ที่ทำจากถุงพลาสติกที่นำลงน้ำไปด้วย หมดก่อนที่จะเอาอวนขึ้นได้หมด รวมทั้งพบอวนผืนใหญ่ ซึ่งเมื่อแกะออกจากกองหิน และแนวปะการังแล้ว รวมกันเป็นก้อนสูงเกือบเท่าเอวผู้ใหญ่ ใช้ถุงพลาสติกผูกเข้าไปแล้ว 6 ถุง ก็ยกไม่ขึ้น เราจึงทดลองใช้ Dive Sausage ผูกเข้าไป เพื่อให้ช่วยในการยก ครั้งแรกเกือบสำเร็จ เชือกที่ผูกไว้ขาดไปก่อน ผมเลยเอา Sausage ของผม ผูกติดเข้าไปใหม่ เติมอากาศ…

อ่าน Hypoxia – อาการขาดออกซิเจนขณะดำน้ำ

บุหรี่กับการดำน้ำ ความตายที่อาจไม่ต้องผ่อนส่ง

ความเสี่ยงของการสูบบุหรี่ก่อนการดำน้ำ มาจากสารในบุหรี่ต่อร่างกายขณะดำน้ำ ได้แก่ นิโคตินที่ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด, คาร์บอนมอนอกไซด์ที่เกาะกับเม็ดเลือดแดงแทนออกซิเจน แนะนำให้นักดำน้ำพักผ่อนร่างกายให้เต็มที่ก่อนการดำน้ำ เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

อ่าน บุหรี่กับการดำน้ำ ความตายที่อาจไม่ต้องผ่อนส่ง
Diving with Manta - 001

ถ้าผมจะเรียนดำน้ำบนเรือ liveaboard จะได้ไหม

เป็นคำถามที่ดีนะครับ เพราะผมเชื่อว่านักดำน้ำมือใหม่แบบผมน้อยคนจะเข้าใจ
ความต้องการแบบนี้อาจหาได้ยากครับ บนเรือ liveaboard

อ่าน ถ้าผมจะเรียนดำน้ำบนเรือ liveaboard จะได้ไหม
Diving with current - 001

ดำน้ำในกระแสน้ำแรงทำอย่างไร

สรุปวิธีการดำน้ำในกระแสน้ำแรง โดยการเลือกเส้นทางที่เหมาะสมและการใช้ทักษะในการตีขาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความปลอดภัยและเหมาะสมกับความสามารถของตนเอง โดยเน้นการรักษาตัวเองไม่ให้เหนื่อยใต้น้ำ

อ่าน ดำน้ำในกระแสน้ำแรงทำอย่างไร
Diving with dinghy - 001

ขึ้นจากดำน้ำแล้วของตกที่ท้ายเรือ ทำยังไงดี

วิธีการจัดการเมื่อของตกที่ท้ายเรือขณะดำน้ำ แนะนำให้ไม่ลงไปดำน้ำเพื่อเก็บของเองเนื่องจากความเสี่ยงและความอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ควรแจ้งเจ้าหน้าที่หรือครูดำน้ำเพื่อขอความช่วยเหลือในการค้นหาของที่ตกอยู่ท้ายเรือ การเลือกทำตามคำแนะนำเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยให้กับนักดำน้ำมือใหม่

อ่าน ขึ้นจากดำน้ำแล้วของตกที่ท้ายเรือ ทำยังไงดี
Freediving - Keng Krob - 001

หลังดำสกูบ้าแล้วอย่าดำฟรีไดฟ์

หลังจากเรียนดำ Scuba ควรหลีกเลี่ยงการดำ Freedive ลงไปลึกๆ โดยเฉพาะหลังจากดำ Scuba เพราะเราอาจมีก๊าซไนโตรเจนค้างอยู่ในร่างกาย ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการดำ Freedive และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้น การดำ Skindive อาจเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า

อ่าน หลังดำสกูบ้าแล้วอย่าดำฟรีไดฟ์
Nudi - Keng Krob - 001

ข้อคิดจากเม็ดทรายบนตัวนูดี้

วันก่อนผมไปดำน้ำกับเพื่อนๆ เมื่อไดฟ์หลีด ชี้ให้ดูนูดี้ ด้วยความที่ตาผมไม่ค่อยดี ผมก็ให้เพื่อนๆ เข้าไปดูก่อน

อ่าน ข้อคิดจากเม็ดทรายบนตัวนูดี้

ขอเชิญนักดำน้ำมาพูดคุยกันเรื่อง DCS กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ใต้น้ำค่ะ

ชวนนักดำน้ำมาพูดคุยกันเรื่อง Decompression Sickness โดยครูหมอวัฒน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ใต้น้ำ และเวชศาสตร์ทางทะเล (และเป็นครูสอนดำน้ำด้วย)

อ่าน ขอเชิญนักดำน้ำมาพูดคุยกันเรื่อง DCS กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ใต้น้ำค่ะ

ข้อปฏิบัติสำหรับการเดินทางเข้าภูเก็ตในสถานการณ์ Covid-19

นักดำน้ำที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปจังหวัดภูเก็ตในช่วงเวลานี้ คงมีความกังวลอยู่ไม่น้อยว่ายังสามารถเดินทางได้ไหม ต้องกักตัว 14 วันหรือไม่ และต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการระบาดของ Covid-19 ตามคำแนะนำของภาครัฐ วันนี้แอดมินมีคำตอบค่ะ ตามประกาศคำสั่งจังหวัดภูเก็ตที่ 101/2564 เรื่อง มาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) สำหรับบุคคลที่เดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ต ซึ่งลงนามโดยผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 9 ม.ค.64 ที่ผ่านมา สรุปใจความได้ว่า ผู้ที่ต้องการเดินทางเข้าภูเก็ตแบบชั่วคราว (ไม่เกิน 14 วัน) และมาจากพื้นที่ควบคุม ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ ดาวน์โหลดแอพ “หมอชนะ” ก่อนการเดินทาง (Play store คลิก / App Store คลิก) ลงทะเบียนรายงานตัวการเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ตในเวบไซต์  gophuget.com กรอกข้อมูลลงในแบบบันทึกการติดตามผู้เดินทางรายบุคคล Covid-19 ไม่เดินทางไปยังแหล่งชุมชน เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัยและหมั่นล้างมือตลอดการเดินทาง เมื่อเดินทางไปถึงเรือ จะมีเจ้าหน้าฝ่ายปกครองมาช่วยอำนวยความสะดวกในการคัดกรอง วัดไข้ และเก็บประวัติผู้เดินทาง โดยประกาศนี้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 9-31 ม.ค. 64 หรือจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย หากเราปฏิบัติตามขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น ก็สามารถเดินทางผ่านจังหวัดภูเก็ตได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ ผู้เดินทางก็ควรป้องกันตัวเองและผู้อื่นให้ห่างไกลจากไวรัสโคโรน่า รักษาระยะห่างตามหลัก Social distancing กินร้อน ช้อนกลาง หมั่นล้างมือบ่อยๆ และสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา แต่ถ้าหากผู้เดินทางอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ก็ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงนี้ไปก่อน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19  หากพวกเราทุกคนร่วมมือร่วมใจช่วยกันลดความเสี่ยงในการระบาดของโคโรน่าไวรัส เชื่อว่าเราจะผ่านสถานการณ์นี้ไปได้อย่างรวดเร็วในไม่ช้า ที่มา :  สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต เขียนโดย รัตติยา แวนวน เผยแพร่ครั้งแรก 10 ม.ค. 64  

อ่าน ข้อปฏิบัติสำหรับการเดินทางเข้าภูเก็ตในสถานการณ์ Covid-19
Diving in coral - 001

วันไหนน้ำใส? วันไหนน้ำไม่แรง?

การเลือกเวลาดำน้ำควรคำนึงถึงสถานการณ์ของน้ำ และการวางแผนการดำน้ำให้เหมาะสมกับเวลาและสภาพอากาศ เพื่อความปลอดภัยและประสบการณ์ดีที่สุด การเรียนรู้และการตัดสินใจที่ดีก็เป็นสิ่งสำคัญในการดำน้ำอย่างมืออาชีพ แต่ยังคงมีความสนุกสนานและตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้ลงไปสำรวจใต้ผืนน้ำอันงดงามด้วย

อ่าน วันไหนน้ำใส? วันไหนน้ำไม่แรง?